บทความจากรายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561


รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ตอนนี้คำว่าหลากหลายสำคัญ ถ้าคนไทยเปิดกว้างขึ้นก็จะมีหลายมุมมอง เวลาทำงานก็ปรึกษาคนอื่น อย่าคิดคนเดียว ชีวิตศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็มีปัญหาเหมือนกัน ตอนทำงานใหม่ๆ คิดเอง ทำเอง เวลาที่คนอื่นออกความเห็น ก็มี Ego สูง มั่นใจตัวเอง แต่พออายุมากขึ้น ฟังคนอื่นมากๆก็ดี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กับคุณวิชัย วรธานีวงศ์ก็จะปรึกษากัน คุณวิชัย วรธานีวงศ์ให้เกียรติศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสมอ

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า จากการที่ได้ติดตามศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้โลกทัศน์กว้างขึ้น เพราะว่าประสบการณ์การทำงานลงพื้นที่จริงของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในการติดตามข่าวสารต่างๆ เชื่อว่า ต้องตามผู้ใหญ่เพื่อให้รู้อะไรมากกว่าที่เรารู้ ตอนหลังจึงเข้าใจเรื่องทุนมนุษย์มากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวว่า ประการแรก ต้องยอมรับว่า สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยไม่ค่อยปกติ

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า เรื่องนี้ก็คือความเสี่ยงใหม่ๆที่เกิดขึ้นแต่คนไทยต้องมีสติ ตอนนี้ก็จะกลายเป็นว่ากลุ่มที่พยายามดิ้นออกมา เละเทะไปหมด ก็ต้องคอยศึกษาพฤติกรรมคนกลุ่มต่างๆไว้ดี อย่าให้บ้านเมืองย้อนกลับไปสู่วันเวลาที่มีปัญหาอีก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวว่า ในเมืองไทย เมื่อฝ่ายหนึ่งมีจุดอ่อน อีกฝ่ายหนึ่งก็โจมตีได้ ก็ต้องแก้ปัญหา บางทีฝ่ายที่เป็นรัฐบาลปัจจุบันคิดว่า ตนเองทำดีอยู่แล้วแต่ก็ต้องแก้ปัญหาต่างๆ บางครั้งรัฐบาลก็ใจเย็นเกินไปทั้งที่มีความดีมากมายไปหมด เมื่อเจอปัญหาเล็กๆน้อยๆก็ประมาท คิดว่า ตนทำดีอยู่แล้ว รัฐบาลควรเห็นคุณค่าของคนที่เสนอความคิดเห็นต่างๆแล้วก็หาทางปรับปรุงให้มันดีขึ้น รายการวิทยุ Human Talk นี้ก็มองทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันนี้ บางกลุ่มก็โจมตีว่า ขาลง พอบางสำนักก็บอกว่า ตกต่ำ ก็คงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียคือถ้าเราไม่จัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างทันท่วงที ก็อาจจะทำให้เสียความรู้สึก ก็ต้องยอมรับว่า คนที่สนับสนุนรัฐบาลนี้ก็เริ่มมีความคิดในทางที่เป็นลบมากขึ้น แล้วคนเหล่านี้ก็เป็นคนดี วันนี้ เมืองไทยก็ต้องมีหลัก ประเทศจึงจะอยู่ได้ หลักอันนี้ไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้งอย่างเดียว เลือกตั้งมาอาจจะไม่ดีก็ได้ วันนี้ทุกคนก็คิดว่าเลือกตั้งไปก่อน ประเทศไทยต้องมีหลักการไว้มิฉะนั้นวันหนึ่งเราอาจจะเป็นซีเรีย อัฟกานิสถานหรืออิรัก ซึ่งอันนี้เราต้องไม่ให้เกิดขึ้น ต้องรักษาสถาบันสำคัญในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2561 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดูเทนนิสหญิงเดี่ยวโอเพ่น ที่ออสเตรเลียที่เมลเบิร์น เทนนิสมี Grand Slam อยู่ 4 ครั้งด้วยกัน ออสเตรเลียนโอเพน เฟรนช์โอเพน วิมเบิลดัน ยูเอสโอเพน เป็นการเล่นแบบเมเจอร์ เริ่มต้นที่แรกก็ไปเมลเบิร์น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เคยไปประชุมที่เมลเบิร์นหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เคยไป เมื่อมีอายุมากขึ้นแล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ไปหรือไม่ 

แต่ที่เมลเบิร์นเมื่อวันที่ 27มกราคม 2561 เป็นการชิงชนะเลิศการแข่งขันของนักเทนนิสหญิง 2 คน คนหนึ่งชื่อCaroline Wozniacki และ Simona Halep 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ใช้ทฤษฎี Chira Way วิเคราะห์การแข่งขันครั้งนี้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เคยมีทฤษฎีหนึ่งคือคนเราต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวจากความเจ็บปวด Learning from Pain หรือ Adversity ความลำบาก  Wozniacki เริ่มต้นเล่นตั้งแต่เด็ก เล่นดีมาก อายุ 19 ปีก็ได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกตอนนี้ Wozniacki มีอายุ 27 ปีแล้ว เคยเป็นอันดับหนึ่งของโลกปีหนึ่งแม้ไม่เคยชนะอันดับหนึ่งของ  GrandSlam จะเป็นอันดับหนึ่งของโลกต้องชนะเมเจอร์ด้วย เหมือนอย่าง Tigerเขาก็ล้มเหลวมาโดยตลอดและมีปีหนึ่งเขาจากทางเธอได้เป็นคนเล่นแบบยืดเยื้อไม่ยอมบุก ลูกเสิร์ฟและเทคนิคต่างๆไม่ดี พอคู่แข่งจับทางได้เธอก็มีปัญหาเคยตกไปอยู่อันดับ 74 ของโลก ที่มันน่าสนใจก็เหมือนไทยแลนด์ 4.0 วันหนึ่งเธอก็ปรับตัวขึ้นมา เรื่องนี้น่าสนใจสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน อะไรที่เราเคยทำอยู่แล้วทำไม่สำเร็จหรือเคยสำเร็จแล้วมันล้มเหลวอย่าไปยอมแพ้ ต้องปรับตัวตลอดเวลาหรือจะเรียกว่า นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ หรือ ความคิดนอกกรอบก็ตามถึงจุดหนึ่งจะทำงานแบบเดิมไม่ได้แล้ว Wozniacki ตัวอย่างของการเห็นคุณค่าในการปรับตัวแต่ก่อนเธอเล่นดีไม่ชนะระดับสูงสุดแล้ว เมื่อคนจับทางได้ ก็แพ้ไปเรื่อยๆ เพราะไม่ได้รุกไปข้างหน้า ลูกเสิร์ฟก็ไม่ดีอ่อนแอ ตีผิดพลาด ต้องปรับวิธีการเล่นให้ดีขึ้น ในช่วง 2ปีที่ผ่าน ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเธอ ทั้งในสนามและนอกสนามกีฬาไม่ได้อยู่ในสนามอย่างเดียว นอกสนามเขามีความสุขหรือไม่ Wozniacki เคยหมั้นกับนักกอล์ฟชื่อ McIlroy แล้วก็เลิกกันไปรู้สึกเสียใจตอนนี้มีคู่หมั้นใหม่เป็นนักบาสเกตบอลชื่อ David Lee

ชีวิตในสนามและชีวิตนอกสนามของเธอมีความสมดุล คนเล่นกีฬาก็มักจะมองเฉพาะในสนาม แต่หลังจากเล่นเสร็จไปแล้ว เขาทำอะไร ถ้าเขาไม่มีความสุข เขาเครียด ไม่มีความสมดุลในชีวิต มาเล่นอีกครั้งหนึ่งก็กดดัน เหมือนนักกีฬาไทยที่เล่นอยู่ในปัจจุบัน อยากให้ดูความสมดุลทั้งในสนามและนอกสนาม เพราะฉะนั้น Wozniacki ก็เลยชนะมือ 1 ของโลก ชื่อ Halep มาจากโรมาเนีย คือให้เห็นถึงการปรับตัวของคน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีว่า เราต้องปรับตัวจากความล้มเหลวของเรา การที่เราล้มเหลวในชีวิต ไม่ได้แปลว่า เราจะต้องยอมแพ้มัน นี่เป็นบทเรียนที่สำคัญเรียกว่า Learning from Pain หรือ Adversity คือคนไทยอ่อนแอเจอปัญหาหน่อยก็บ่นว่าไม่ไหวแล้ว ฉันสู้ชีวิตไม่ได้แล้ว ไม่มีวันได้กลับมา แต่ก่อนนี้เรารู้ว่า เธอจะเสิร์ฟอย่างไรและไม่มีวันฆ่าใครได้ ต่อมาเธอเปลี่ยนวิธีการเสิร์ฟ และสามารถเสิร์ฟลูกได้แรงขึ้น ขึ้นมาหน้าเน็ตและเล่นได้ดีขึ้น บทเรียนแรกคือ คนที่ทำงานหรือจะอยู่ในช่วงชีวิตไหนก็ตาม ไม่ควรหยุดการพัฒนาตัวเอง หรือยอมแพ้ วันนี้มีหลายคนบอกว่าไม่ได้เรียนโรงเรียนรัฐ ทำให้ต้องไปเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏ และคิดว่า ตนหมดหวังแล้ว อันที่จริงแล้ว ไม่มีอะไรหมดหวัง มันอยู่ที่ตัวเอง จึงอยากให้กำลังใจ ดูกีฬามันสนุกตรงที่มีพลังแล้วก็มีอารมณ์

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า นักกีฬาถือเป็นบุคคลต้นแบบ ที่จะทำให้คนไม่ว่าช่วงอายุไหนหรืออาชีพ คิดอะไรก็ตามได้ศึกษาสิ่งที่เขาทำให้เห็น เพราะฉะนั้นนักเทนนิสหรือกีฬาประเภทใดๆที่เราชื่นชอบเป็น Influencers ผู้มีบทบาทในการสร้างกำลังใจสู้ชีวิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวว่า มีหนังสือออกมาเล่มหนึ่งเรื่องนี้คือผู้มีอิทธิพล คุณวิชัย วรธานีวงศ์ใช้คำพูดดีมาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ติดตามหนังสือ Influencer มานานแล้ว คือคนเราเกิดมาต้องสร้างอิทธิพล เมื่อรายการนี้ดี ก็มีผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆให้คนติดตาม

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า ถ้าเราเรียนรู้จากชีวิตพวกเขาก็เป็นการเรียนลัดแบบหนึ่ง ทำให้เราไม่ต้องไปเสียเวลากับความผิดพลาด เราก็ต้องฟื้นฟูกำลังใจของตัวเราเอง  ถ้าคนไทยสามารถรู้ข้อดีและข้อเสีย พัฒนาข้อดีแก้ไขข้อด้อย สามารถสู้เกาหลีใต้ได้สบาย ที่ผ่านมา คนไทยคอยแต่ดูถูกตัวเอง เมื่อไหร่เราจะไปแข่งกับคนอื่นได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ตอนปีใหม่ได้ซื้อหนังสือเล่มนี้ให้แก่ลูกศิษย์ปริญญาเอกชื่อ ดร.ธนพล ก่อฐานะ 


หนังสือเล่มนี้พูดถึงการวิจัยของ Gallop’s Poll เป็นหน่วยงานวิจัยที่วิจัยเป็นแสนๆ database ค้นพบว่า ถ้าคนเราใช้จุดแข็งของตัวเองมากกว่าจุดอ่อน บางทีเราก็ไปแก้ปัญหาที่จุดอ่อน จึงลืมจุดแข็ง เขาบอกว่าแต่ละคนมีจุดแข็งอยู่แล้ว อย่าไปมองจุดอ่อนตัวเองว่าเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ตนเองมาจากครอบครัวยากจน ไม่มีโอกาส อยู่ที่ทำงานเจ้านายไม่รัก เมื่อพูดถึงสิ่งเหล่านี้จิตใจก็จะเศร้าหมอง ใจของคนเราสำคัญ ขั้นกว่าร่างกายอีก พอใจเราตกก็รู้สึกหดหู่ แล้วก็คิดหลายรอบในมุมลบ เมื่อคิดไปเรื่อยๆก็หาทางออกไม่ได้ ก็ต้องหยุดคิดแล้วถามตัวเองว่า จุดแข็งของเรามีหรือเปล่า มนุษย์เราต้องใช้จุดแข็ง เราทุกคนต้องมีจุดแข็ง เมื่อมนุษย์เกิดมาไม่จำเป็นว่าทุกอย่างต้องล้มเหลว นี่ก็เป็นกรณีศึกษาที่แท้จริงของการเล่นกีฬาของผู้หญิงคนนี้ ผู้หญิงคนนี้เคยลงไปที่อันดับ 74 ของโลกแล้วถ้าเขาไม่ปรับวิธีการเล่นของเธอ ถ้าเธอไม่ปรับชีวิตทั้งในสนามและนอกสนามให้สมดุลกัน แต่ก่อนนี้พ่อของเธอเป็นโค้ช เมื่อออกนอกสนามก็เจอแต่พ่อของเธอ เมื่อเธอมีความรักครั้งใหม่กับดาราบาสเกตบอลจึงรักเขาจริง ไม่เหมือนคนที่แล้วที่หนีไปตอนจะแต่งงาน คนเราต้องมีชีวิตที่สมดุลกันทั้งงานและครอบครัว ก็เหมือนนักกีฬาวันนี้ไม่ว่าจะเล่นหรือเก็บตัวอย่างไร ถ้าไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว ไม่มีชีวิตที่เต็มไปด้วยความรักความผูกพัน ในสนามก็ไม่สำเร็จ เหมือนวันนี้เวลาไปทำงาน เบื้องหลังชีวิตที่บ้านครอบครัวล้มเหลว ดีแต่งาน พอไปถามชีวิตครอบครัว มีแต่โหดร้ายต่อครอบครัวของตัวเอง ลูกก็ติดยา ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ปัญหาของ Wozniacki ไม่ได้แก้ในสนามอย่างเดียว อาจจะแก้ในสนามแค่ 50% แต่นอกสนามเขามีความสุข ช่วงที่เราไม่ได้ออกรายการวิทยุ ก็มีงานที่มีคุณค่า เมื่อมาเจอกันก็นำประสบการณ์เหล่านี้มาแบ่งปันกัน

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า Wozniacki เป็นแฟนของลิเวอร์พูลด้วย รู้มากเกี่ยวกับลิเวอร์พูล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า Wozniacki เขามีเชื้อสายชาวโปแลนด์ แต่อพยพมาอยู่เดนมาร์ก เธอข้อดีตรงที่ว่าพ่อรักเธอ ข้อเสียคือพอมีพ่อเป็นโค้ช จึงมีความกดดัน การที่มีแฟนทำให้ชีวิตเธอมีความสุข ความรักก็อาจจะช่วยให้กีฬาไปได้ดี

1 สัปดาห์ก่อนหน้าการออกอากาศรายการวิทยุครั้งนี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจบินไปที่ ดาวอสซึ่งเป็นเมืองเล็กอยู่ทางตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์ ถ้าลงเครื่องบินที่ซูริค เดินทางด้วยรถไฟหรือเฮลิคอปเตอร์ ระยะทางกว่า 120 กว่ากิโลเมตร 

เมื่อ 40 ปีที่แล้วมี Professor คนหนึ่งชื่อ Professor Klaus Schwab เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการจัดการประชุมในครั้งแรกใช้คำว่า European Management จัดครั้งแรกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีผู้เข้าร่วมประชุม 400 กว่าคน เป็นการประชุมที่ไม่ได้จัดโดยรัฐบาล แต่ดึงเอาพลังของภาคธุรกิจ และภาครัฐเข้าไปร่วมกัน โดยมากจะเป็นนักธุรกิจที่มีธุรกิจใหญ่ๆ ตอนที่โดนัลด์ ทรัมป์เป็นนักธุรกิจก็ไปดาวอสบ่อย เขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงเพราะฉะนั้นเขารู้จักดาวอสดี เป็นองค์กรส่งเสริมโลกาภิวัตน์ เป็นองค์กรที่ร่วมมือกันสร้างความร่ำรวยจากการค้าเสรี ทรัมป์เน้น America First เขาต่อต้านโลกาภิวัตน์ จึงน่าแปลกใจว่าทำไมเขาไปที่นี่ ผมจึงมีทฤษฎีว่าเขาไปที่นี่ด้วยเหตุผลสองอย่าง หนึ่งเขาคิดว่าเขาเป็นผู้นำของโลก สอง Ego ของเขาสูง เขาจึงคิดว่าสิ่งที่เขาคิดอยู่ซึ่งเขาได้ทำไปเช่น ลดภาษี ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น เขาก็น่าจะนำเสนอเรื่องนี้ให้แก่คนในโลกเห็นว่า บางเรื่องเขาทำสำเร็จ ถึงแม้ว่าคนในดาวอสบางส่วนก็ไม่ได้ชอบเขา เขาคิดว่า ตัวเขาเป็นผู้นำโลกอยู่

เรื่องนี้ก็เข้ากับทฤษฎี 3 วงกลมของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ทรัมป์มีแรงจูงใจต้องการให้เห็นว่า คนอื่นต้องเห็นด้วยกับการกระทำของเขา เพราะเขาเป็นผู้นำ แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับวิธีของเขา แต่เขาก็จะพยายามมีอิทธิพล เป็นเรื่องน่าสนใจ ตามปกติโอบามาก็ไม่เคยไป ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนล่าสุดที่เคยไปคือ คลินตัน เมื่อประมาณ 17  ปีที่แล้ว คำพูดของเขาไม่มีอะไรใหม่ พูดถึงเรื่อง การพยายามทำธุรกิจเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาให้มันดี เขาไปคุยว่าดัชนีตลาดหุ้นขึ้นเพราะลดหย่อนภาษีไป คือไป Show Off แต่ที่นี่ต้องการถามทรัมป์ว่า ถ้าเขาเป็นผู้นำเบอร์ 1 ของโลก จะทำอะไรให้แก่โลกบ้าง ไม่ใช่ทำอะไรให้แก่ตัวเอง ปัจจุบันนี้อย่างเรื่องภาวะโลกร้อนเรื่องเดียวทรัมป์ก็ถอนตัวไปแล้ว ในปัจจุบันในโลกมีอะไรที่โลกรวมตัวกันนอกเหนือจากโลกาภิวัตน์ ที่เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน ถ้าคิดแต่ America First ชายแดนก็มีแต่สหรัฐอเมริกา ไม่สนใจเรื่องคนอื่น สหรัฐอเมริกาจะมีบทบาทได้อย่างไร มีประเด็นหนึ่งสำคัญมาก คือ เขาบอกว่า เศรษฐกิจอเมริกาดีขึ้นแล้ว การจ้างงานดีขึ้นแล้ว หลุดมาจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตอนนี้ก็เริ่มมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เมื่ออเมริกาเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแล้ว เรียกว่า Capacity คือศักยภาพของประเทศเขา แต่ขาดวิสัยทัศน์ว่า โลกในอนาคตต้องเป็นโลกแบบใดที่จะต้องร่วมมือกัน เช่น เรื่องความยากจนของคนในโลก ภาวะโลกร้อน ความเหลื่อมล้ำ การนำเทคโนโลยีไปช่วยคนยากจน Robotics, Artificial Intelligence ทรัมป์ไม่รู้เรื่องต่างๆเหล่านี้ ก่อนหน้านั้นก็มีประธานาธิบดีฝรั่งเศสไปพูด ปีนี้ ประธานาธิบดีอินเดียไปพูด ก่อนที่กลับไปพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทุกคนก็พูดถึงอนาคตของโลก แต่ไม่ได้พูดถึงสหรัฐอเมริกาของตัวเอง America First โลกในยุคต่อไปต้องช่วยกันแก้ปัญหา เราเป็นพลเมืองโลกด้วยไม่ได้เป็นเฉพาะพลเมืองไทย น่าสนใจตรงที่ว่า เขามีความสามารถแต่ไม่รู้จะไปตรงไหน ความจริงทรัมป์เป็นนักธุรกิจ เอานักธุรกิจมาเป็นนักการเมืองก็มีแต่ปัญหาเหมือนทักษิณ เขาจะมองแต่มุมแคบ ถ้านำนักการเมืองทั่วไปมาก็มองกว้างแบบอภิสิทธิ์ บางทีก็ไม่มีศักยภาพในการดำเนินนโยบาย ก็ได้อย่าง เสียอย่าง ทำอย่างไรจึงจะมีคนที่มีความพร้อมทั้ง 2 อย่าง คือมีทั้งความสามารถและวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์เป็นเรื่องสำคัญ ตอนนี้เยอรมนีเป็นประเทศเดียวที่มีวิสัยทัศน์ดี หรือฝรั่งเศส Macron ก็ดี  มีวิสัยทัศน์ดีมันไม่พอ ก็มันลากประเทศเหล่านี้ไปร่วมกับเขาไม่ได้

ขณะที่สหรัฐอเมริกาเศรษฐกิจดีมีศักยภาพ ทำอะไรคนก็ยอมรับ แต่ทรัมป์ขาดวิสัยทัศน์ เขารู้ว่าจะไปที่ไหนในสหรัฐอเมริกาเพราะต้องเอาใจคนลงคะแนนให้เขาถ้าสหรัฐอเมริกาจะอยู่แบบเดิม ก็จะมีการสร้างกำแพงกันไม่ให้คนจากเม็กซิโกเข้ามา วิสัยทัศน์ต้องมาจากความกว้างความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงวันนี้ถ้าเราจะเลือกใครเป็นผู้นำแต่ผู้นำคนนั้นคิดแบบอยู่ในกะลาครอบจะให้เขาเป็นผู้นำหรือไม่

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า ผู้นำคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาอยู่ในโลกของการมโนและโดดเดี่ยวตัวเองในสังคมโลกโดยที่ไม่พยายามยอมรับความจริงว่าวันนี้สหรัฐอเมริกาพูดอะไรต่างจากเรา เราได้เห็นพฤติกรรมผู้นำแล้วสังคมโลกพร้อมจะพึ่งพาตัวเองหรือพึ่งพากันเองมากกว่าพึ่งพาสหรัฐอเมริกาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาเพราะฉะนั้นจะมีจุดหนึ่งที่ทำให้เราเห็นการเคลื่อนตัวของความร่วมมือที่มองว่าสหรัฐอเมริกาคนแยกตัวออกไปเป็นเอกเทศน่าจะมีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นในฐานะที่ไทยเป็นพลเมืองโลกและเป็นประเทศที่ร่วมมือกับประเทศอื่นๆได้คงต้องมองอนาคตของไทยด้วยอาจจะไม่ต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกาหรือบางประเทศมากเกินไปแล้ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า โดยนโยบายปัจจุบันนี้ประเทศไทยก็พึ่งพาประเทศจีน อินเดีย อาเซียนมากขึ้น แต่ก่อน ทูตสหรัฐอเมริกาพูดอะไรก็มีน้ำหนักทรัมป์พูดว่า การที่เขาถอนตัวจาก Trans-pacific Partnership ซึ่งไทยยังไม่ได้เป็นสมาชิก ก็คล้ายเอเปค เขาก็กำลังจะกลับเข้ามาตอนนี้เขาเจรจา NAFTA อยู่ก็คือเม็กซิโก แคนาดาและสหรัฐอเมริกาแต่ก่อน เขาด่า WTO  ไปร่วมมือการค้าเเต่สหรัฐอเมริกาก็เสียดุลการค้าในความเป็นจริงแล้ว การเสียดุลการค้าไม่ใช่ปัญหาการค้าระหว่างประเทศ แต่เป็นปัญหาของความสามารถในการแข่งขันมากกว่าถ้าขายสินค้าได้น้อยกว่าอย่างไทยก็เสียดุลการค้ากับต่างประเทศ บางประเทศไทยก็ได้ดุลการค้า สหรัฐอเมริกาต้องปรับเศรษฐกิจของตัวเองเพราะมีคนเก่งอยู่กระจุกเดียวคือคนที่ทำทางด้านไอทีไม่ว่าจะเป็น Google, Microsoft, Amazon แปลว่าธุรกิจเดิมๆที่เขาทำอยู่เช่นรถยนต์ขณะนี้ก็ขาดความสามารถในการแข่งขันแล้ว

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดาวน์โหลดไฟล์สำหรับปริ๊นท์

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/285/751/original_Human_Talk_28012018.pdf?1518185879

ที่มา: บทความจากรายการวิทยุ Human Talkประจำวันที่ 28มกราคม 2561

หมายเลขบันทึก: 644632เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2018 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2018 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท