ความแตกต่างระหว่างฌาน


           เมื่อกล่าวถึงภาวะแหงจิตในขณะที่ถึงภาวะแห่งจิตในขณะท่ี่ลุถึงปฐมฌานแล้ว จะได้กล่าวถึงภาวะของจิตในขณะแห่งฌานที่สุงขึ้นเป็นลำดับไป กล่าวคื อในขณะแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุุตถฌาน

           ความแตกต่างระหว่างฌานหนึ่งๆ อยู่ที่มการมีองค์เานมากน้อยกว่ากันก็จริง แต่ใจควมสำคัญนั้น อยู่ที่มันสงบระงับหรือประณีตย่ิงกว่ากันตามลำดับ เป็นลำดับไป ตั้งแต่ปฐมฌานจนกระทั่งถึงจุตถฌาน ข้อที่ฌานสูงขึ้นไปย่อมมีจำนวนองค์แห่งฌานน้อยลงๆ กว่าฌานที่ต่ำกว่า นันแหละคือความที่สงบกว่า หรือประณีตหว่า โดยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า ปฐมฌานมีองค์แห่งฌานมากว่าเานอื่นและฌานต่อไปก็มีองค์แห่งฌานน้อยลงไปตามลำดับดังนี้

         องค์แห่งฌานคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ได้กล่าวแล้วข้งต้น พึงย้อนไปดุใที่นั้น ๆในที่นี้ จะกล่าวแต่เฉพาะ อาการที่องค์ฌานนั้นๆ จะละไปได้อย่างไร สืบไป แต่ในขึ้นต้นนี้ ควรจะทำการกำหนดกันเสียก่อน ว่าฌานไหนมีองค์เท่าไร

         ตามหลักในบาลีทั่วไป และที่เป็นพุทธภาษิตโยตรงนั้น มีหลักเกณฑ์ที่อาจสรุปได้ ปรากฎชัดอยู่ ดังนี้

        - ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ห้า คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา 

        - ทุติยฌานประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข และเอดัคคตา

        - ตติยฌาน ประกอบด้วยองค์สองคือ สุข และเอกัคคตา

        - จตุตถฌาน ประกอบด้วยองค์สองคือ อุเบกขา และเอกัคคตา

       ส่วนหลักเกณฑ์ฝ่ายอภิธรรม ตลอดถึง คัมภีร์ชั้นหลังที่อิงอาศัยคัมภีร์อภิธรรม ได้กำหนดองค์แห่งฌานไว้แตกต่างกันบ้างบางอย่าง คื อปฐมฌานประกอบด้วองค์ห้า และมีรายชื่อเหมือนกัน ส่วนทุติฌาน มีองค์สี่โดยเว้นวิตกเสียเพียงอย่างเดียว ตติยฌาน มีองค์สาม คือเว้นวิตกและวิจารเสีย จตุตถฌาน มีองค์สอง คือ เว้นวิตก วิจาร และปีติเสีย ส่วนสุข กลายเป็นอุเบกขา

      โดยนัยนี้จะเห็ฯได้ว่า มีการลดหลั่นกันลวมาตามลำดับัวเลข ือ ๕ . ๔. ๓. ๒ ตามลำดับ ชะรอยท่านจะห็ฯว่าความเป็นลำดับนี้จะเป็นความเหมาะสมกว่า ความแกต่างกัน แม้โดยทั้งนิตินัยและพฤตินัยเช่นนี้ หาได้ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกลายปเป็นของผิดไปได้ หากแ่เป็นการบัญญํติวางกฎเกณฑ์ต่างกันด้วยการขยับโน่นนิด ร่นี้หน่อยเท่านั้น คงมีความเป็นสมาธิที่อาจใ้เป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาได้เท่ากัน

       อีกนัยหนึ่ง ทางฝ่ายอภิธรรม ได้ขยายฌานออกไปเป็นห้า คือ แทนที่จะมีเพียงสี่ ดังที่หล่วแล้ว ได้เพ่ิมเข้าอีกขึ้นหนึ่ง เป็นฌานที่ห้า เรียกว่าปัญจมฌาน  กล่าวคือ ปฐมฌานมีองค์ครบท้งห้า ทุติยฌาน เหลือสี่คือเว้นวิตกเสีย ตติยฌาน เหลือสาม คือ เว้นวิตก วิจารเสีย จตุตถฌานเหลื่อสอง คือเว้น วิตก วิจารและปีติ ปัญจมเาเหลือสอง คือ เว้นวิตก วิจาร และปีติเสีย ส่วนสุขนั้นกลายเป็นอุเบกขา ดังนี้ การแบ่งฌานในทำนองนี้ไม่เคยพบในพะสูตรที่เป็นพุทธภาษิต มีอยู่แต่ในอภิธรรม ฉะนั้น จะเว้นเสีย ไม่ทำการวินิจฉัยในที่นี้แม้การจัดองค์แห่งฌานทั้งสี่ชนิดแตกต่างไปจากพุทะภาษิต ที่กล่าวแลวก่อนหน้าแต่นี้ ก็จะได้เว้นเสียดุจกัน ทั้งนี้ มิใช่ว่าเป็นเพราะไม่เชื่อถือกฎเกณฑ์หรือการบญญัตินั้นๆ หากแต่เป็นเพราะว่า แม้จะจัดอย่างไร เรื่องก็ยังเป้อย่งเดียวกันนั่นเอง คือองคืฌานทั้งหมด ยังคงมีอยู่เพียงห้าองค์ใคจะไปบัญญัติการละองค์ไหนไปได้อีกองค์ๆ แล้วจัดความประณีตของจิตในชั้นนั้นๆ ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ใจ จะแบ่งสักกี่ชั้นก็ตามใจ ชั้นหนึ่งๆ จะละอง์ฌานอะไรบ้าง หรือจะเหลือองค์อะไรไว้ก็ตามใจ แต่ขั้นสุดท้ายหรือขั้นสูงสุด ก็ต้องยังเหลืออยู่แต่อุเบกขากับเอกัคคตาโดยเท่ากันหมดทุกพวก

        โดยนัยนี้ ผู้ศึกษาจะสังเกตุเห็นได้ว่า การแบ่งฌานออกไปเท่านไรหรือกำหนดองค์ฌานอย่างไรนั้นไม่สู้สำัญ ข้อสำคัญมันอยู่ตรงที่จะปฏิบัติมันอย่างไร จึงจะเกิดองค์ฌานขึ้นมาครบถ้วน แล้วละมันออกไปเสียที่ละองค์ สององค์ตามแต่ถนัด จนกว่าจะเหลือยู่เท่าที่จำเป็นในลักษณะที่สงบและประณีตที่สุดเท่านั้นเอง ฉะนั้นในที่นี้จงถือเอาเแต่แนวที่อยู่ในรูปของพระพุทธภาษิตเป็นหลักเพียงแนวเดียว ดังที่ได้ยกมากล่วไว้เป็นอันดับแรก และได้วินิจฉัยกันสืบไปถึงความแตกต่างของฌานทั้งสี่ ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของฌานนั้นอย่างชัดแจ้งพร้อมกันไปในตัวดังต่อไปนี้...

หมายเลขบันทึก: 644312เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2018 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2018 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท