ห้องเรียนปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 16


สวัสดีครับ นศ.ป.เอก รุ่นที่ 16 และผู้ที่ติดตาม Blog

ผมได้รับเกียรติจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 16 ในรายวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม ผมได้เปิด Blog นี้มาเพื่อเป็นที่แรกเปลี่ยนการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับทุกท่านครับ

ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.  2561

ครั้งที่ 2

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                จากการที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้คุยกับคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทำให้ยกความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ขึ้นไป

                ถ้าวันนี้หลักสูตรนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบริหารงานบุคคล ก็คงไม่มีใครมาเรียน อาจารย์จีระไม่เคยละเลยเรื่องการบริหารคนในองค์กร เวลาที่สัมภาษณ์คุณพารณว่าทำไมทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญ เพราะ คนเป็นปรัชญา ความเชื่อว่า คนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร นี่เป็นเรื่องสำคัญมากในเมืองไทย แต่คนมักให้ความสำคัญเงิน การตลาดและเทคโนโลยีมากกว่าเรื่องคน แต่หลักสูตรนี้ยกระดับความสำคัญเรื่องคนขึ้นมา เวลาอ่านปรัชญาเหล่านี้ จึงมีความสำคัญ เวลาที่มองคน ก็มองคนในฐานะที่เป็นคนที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ไม่ได้มองเป็นปัจจัยการผลิต ในด้านทรัพยากรมนุษย์มีการลงทุนตั้งแต่ครอบครัว การศึกษา เมื่อลงทุนแล้ว เมื่อสามารถทำประโยชน์ได้ ก็ประสบความสำเร็จ ในอดีต เมืองไทยไม่ได้มีคนเรียนจบมหาวิทยาลัยเท่ากับวันนี้  แต่คนในเมืองไทยปัจจุบันมีคุณภาพไม่ดี  อาจารย์จีระโชคดีที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่ปลูกฝังเป็นหลัก ไม่ได้ปลูกฝังด้วยสื่อปัจจุบัน อย่าง HR Architecture ต้องสำรวจว่า สื่อปัจจุบันสร้างคุณสมบัติอย่างไร เมื่อเร็วๆนี้ มีการวิเคราะห์ว่า Social Media สร้างประโยชน์หรือโทษให้แก่เรา ควรจะมีการวิจัยว่า Social Media หรือการลงทุนทางด้านสื่อดิจิตอลต่างๆ จะทำให้ประเทศไทยไปในทิศทางใดในอนาคต ต้องใช้มันให้เป็น ควรหาความรู้ต่างๆจากสื่อเหล่านั้นได้ตลอดเวลา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                อาจารย์จีระไม่ได้ละเลยเรื่องการบริหารทุนมนุษย์แนว Chira Way ประกอบด้วย

                1.การปลูก คือ HR Development  ต้องพัฒนาตลอดเวลา

                2.เก็บเกี่ยว พัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท

                3.ทำให้สำเร็จ มีวิธีการคือ ดูเรื่อง Mindset ของคน ในบริบท แต่ละคนก็คิดต่อได้ว่าจะนำอะไรมาทำให้สำเร็จ อาจจะเป็นความสำเร็จเล็กๆรายวัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ครั้งที่แล้วเรียน 4L’s วิธีเรียนคือกระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศการเรียนสนุก มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา ทุกคนออกความเห็นมาที่นี่เพื่ออะไร เป็นการเรียนที่สำคัญ อาจารย์ที่ดีต้องสนใจลูกศิษย์

หลักสูตรนี้ต้องมองนโยบายรัฐบาลด้วย ก่อนมาถึงองค์กร ทรัพยากรมนุษย์เมืองไทยผ่านอะไรมาบ้าง Garbage in, Garbage out เวลามองทุนมนุษย์ต้องคิดถึงประเทศด้วย อาจารย์จีระได้รับเชิญประชุมอุปนายกบาสเกตบอลนานาชาติ ท่านอุปนายกซีเรียบอกว่า คนซีเรียอายุ 12-16 ปี ไม่มีการศึกษา ไอซิสเน้นความรุนแรง ของไทยมีการศึกษายังปรับปรุงได้ แต่ถ้าวัยรุ่นไม่มีเป้าหมาย เมืองไทยก็มีปัญหา

                ในการปะทะกันทางปัญญา ที่มีภาครัฐ เอกชน ชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่ออกความเห็น ผู้ว่าพูดคนเดียว การมีตัวละคร 4 กลุ่มต้องมี Respect and Dignity

                ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลามีแนวคิดทันเหตุการณ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลาทำให้อาจารย์จีระไม่ได้ยึดติดทฤษฎีอย่างเดียว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                จะได้แนวคิดในการปฏิรูปประเทศ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                นำการศึกษามาเป็นหัวข้อเพราะเป็นการปลูก ต้องโยงไปถึงอนาคต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                สำหรับรุ่น 16 ควรเน้นเรื่องการศึกษา แบ่ง 3 กลุ่ม เสนอกลุ่มละ 3 ประเด็น เพื่อนำไปสู่เพื่อการปฏิบัติ เมืองไทยไม่ได้ขาดแผน แต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติ เพราะขาดความต่อเนื่อง ไม่มีการทำเป็นขั้นตอน

                รุ่นที่แล้ว ก็ไปปะทะทางปัญญาที่มหิดล ซึ่งมหิดลลงลึกทฤษฎี แล้วก็ได้หารือกับอาจารย์จีระ

ที่สวนสุนันทาเป็นการร่วมมือระหว่างอาจารย์จีระ อาจารย์อเนกและอาจารย์สมชาย รุ่น 16 อาจจะไปปะทะกับศศินทร์หรือจุฬา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                ทุกวันนี้ข้อมูลมาทุกวันและเปลี่ยนทุกวัน อาจารย์ไปสอนผู้นำม.อ.ให้เข้าใจบริบทการศึกษา George Soros มองว่า Google and Facebook ทำลายประชาธิปไตย ทำให้ไม่ต้องเรียนในห้อง อาจารย์จรัสสอนว่า จะต้องเลือกว่าจะเก็บความรู้อะไร องค์ความรู้ลึกในตัวเอง ทำให้ขาดการเลือกความรู้แนวกว้าง เมื่อเลือกความรู้แล้วนำมาปฏิบัติ อาจารย์จรัสบอกว่า ผลที่มากระทบคือพายุ อาจารย์จีระบอกว่า เส้นขอบฟ้าเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก็เหมือนการเปลี่ยนแปลงในโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                หลักสูตรนี้เป็น wisdom  เกิดจากการแบ่งปันความรู้แล้วสร้างความรู้ใหม่ นำไปประยุกต์กับความจริง ต้องมีนิสัยในการอ่านอย่างบ้าคลั่ง เพราะจะเป็นวัตถุดิบ แล้วนำไปปะทะความจริงซึ่งยากเพราะคนไทยอยู่ด้าน Supply side ผลิตคนได้ แต่การจ้างงานในภาคต่างๆจะรับคนที่จบจากภาคการศึกษาหรือไม่ เรียนจบแล้วทำงานได้หรือไม่ คนเรียนหลักสูตรนี้ต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                อาจารย์จรัสมองว่า ความรู้มีชีวิต จัดการยากขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลง

                ประเทศไทย 4.0 เคลื่อนไปตามกระแสโลก ถ้าเลือกเรื่องที่จะใช้โดยอยู่บนพื้นฐานที่มีอยู่ จะทำให้ชีวิตง่าย

                การศึกษาไม่ได้อยู่ในห้องเรียนอีกต่อไป แต่เรียนในห้องเพื่อให้มีกรอบไปเป็นหลักจับประเด็น

วีดิโอเทปอาจารย์จีระและอาจารย์ธงทอง รายการไทยมุง

                พ่อแม่คาดหวังให้ครูให้ความรู้เด็กเท่านั้น แต่ในความจริงต้องเป็นความร่วมมือของโรงเรียนและผู้ประเทศในการให้ความรู้

                การปฏิรูปการศึกษาไม่ควรสร้างกรอบปฏิบัติเพราะเป็นการล้มละลายทางปัญญาของสังคมไทยอย่างช้าๆ

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                การศึกษาสร้างคนเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ การศึกษาแต่ละยุคมีความเปลี่ยนแปลงไป เนื้อหาก็เปลี่ยนแปลงไป วิธีการเรียนการสอนต่างกันไป ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็ตาย

                เมื่อ 9-10 ปีที่แล้วมีการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 1 เมื่อผ่านมาแล้วก็ต้องทบทวน มีการสานต่อในสิ่งที่ดี อาจจะปรับในสิ่งที่ยังไม่ดี ต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อรับฟังความเห็น

                อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธรบอกว่า ให้เลือกว่าอยากให้เด็กมีคุณธรรมหรือเรียนเก่ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ควรเลือกคนดีก่อนแล้วพัฒนาให้เก่งได้

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                ทุกคนเลือกคนดีก่อน แต่ความเก่งก็พัฒนาได้โดยมีหลายฝ่ายช่วยกัน

                การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดชีวิต เด็กเข้าใจว่าเรียนจบแล้วไม่ต้องหาความรู้ต่อ คำว่า กศน. คือต้องเรียนรู้ทุกอย่างตลอดชีวิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ขอชมเชยอาจารย์ธงทองที่นำเรื่องนี้มา เวลาพูดเรื่องการศึกษา คนไม่ค่อยตื่นเต้น ยุคอาจารย์ธงทองต้องทำให้ประเด็นที่ทำเกิดพลังในสังคม

                พลังการศึกษายุคนี้ต้องมีกระทรวงอื่นๆมาช่วยด้วย  การศึกษามีความสำคัญกว่ามีแค่การศึกษาของกระทรวงหรือข้าราชการ

                ปัญหาคือ ต่างคนต่างทำ ขาดความต่อเนื่อง

                อยากให้ค่านิยมในสังคมมาสนใจความดี การต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลง มีความคิดสร้างสรรค์  ยุคต่อไปเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์

                น.พ.เกษม บอกว่า ต้องให้ modern management แก่เกษตรกร อาจารย์จีระจะไปทำร่วมกับกระทรวงศึกษาทำเรื่องนี้ เวลาสอนผู้นำเกษตรกร ต้องฟังชาวบ้านก่อนเกี่ยวกับภูมิปัญญา แล้วถามว่า เขาต้องการ modern management หรือไม่ ต้องปรับพฤติกรรมครู มีพฤติกรรมแบ่งปันและแสวงหาความรู้

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                เราต้องการคนดีและเก่งเป็นเป้าหมายปลายทาง

                ปัจจัยที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้น

                1.การบริหารจัดการ มีเครือข่าย

                2.งบประมาณ ลงทุนมากแต่ได้ผลน้อย

                3.หลักสูตร

                เด็กญี่ปุ่นและเกาหลีเรียนในโรงเรียนเป็นเวลาน้อยกว่าเด็กไทย แล้วไปเรียนระดับมหาวิทยาลัย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เวลาเรียน เด็กก็ต้องมีความสุข เคยถามนักเรียนว่า ตอนอายุ 45 ปีจะทำอะไร เขาก็จะรู้จักคิด อยากให้เด็กไม่บ้าวิชาการเกินไป สิ่งสำคัญต้องมี Life Skill

                คนญี่ปุ่นบอกว่า ตอนเรียน คุณสอบเทอมละ 2 ครั้ง แต่ตอนทำงาน สอบทุกวัน

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                แม้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูก็ต้องให้การสนับสนุนด้วย ตอนนี้ครูเกินบางที่ ขาดบางที่ และก็ขาดคุณภาพ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ครูไม่ใฝ่รู้ ไม่ทันเหตุการณ์ ชอบให้เด็กทำตามคำสั่ง เด็กจึงไม่มีความคิดสร้างสรรค์

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                ทุกกระทรวงก็ขอให้ครูกรอกแบบฟอร์ม ทำให้เป็นภาระ ครูขาดขวัญกำลังใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                การมียุทธศาสตร์ไม่พอ ต้องเอาชนะอุปสรรค ต้องทุ่มเท ต่อเนื่อง ผนึกกำลังกันอย่างจริงจังแล้วใช้ศักยภาพคนในสังคม แล้ววัดผล ชนะเล็กๆ

                เรื่องพฤติกรรมครูต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                วันนี้เทคโนโลยีก้าวไกลมาก เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต สื่อทางไกล มาเลเซียมีมหาวิทยาลัยไซเบอร์เป็นการระดมหลายมหาวิทยาลัยมาช่วยกันสร้างหลักสูตรโปรแกรมสำเร็จรูป เด็กกลับไปทำการบ้านเรียนเองได้ด้วยความเพลิดเพลิน

ความคิดเห็นประชาชน

                1.การให้กู้ยืมเรียนเป็นเรื่องที่ดี อยากให้ดูแลเรื่องอนุบาลด้วย คนไม่มีเงินก็ไม่ได้เรียน

                2.ออสเตรเลียเปิดให้เรียนตามที่ชอบ

                3.ครูแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ครูขายของ สอนพิเศษ

                3.โรงเรียนต่างจังหวัดตั้งหลักสูตรเอง ควรเป็นอย่างนี้จะดีกว่า

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                โรงเรียนเอกชนมีไม่ถึง 25% ที่เหลือเป็นโรงเรียนรัฐ มีโรงเรียนเล็กจำนวนมาก โรงเรียนเล็กเป็นโรงเรียนประถม มีจำนวนเด็กลดลงเพราะอัตราการเกิดน้อยลง แต่ละโรงไม่ว่าใหญ่หรือเล็กมีค่าใช้จ่ายคงที่เท่ากัน ควรมีกลุ่มโรงเรียนทำบางกิจกรรมร่วมกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เรื่องนี้เป็นแก่นความรู้ของสภาการศึกษา

                เรื่องโรงเรียนเล็กๆ ครูคนหนึ่งต้องสอนหลายวิชา สิ่งสำคัญอยู่ที่วิธีการเรียน

                ได้คุยกับอาจารย์ยงยุทธ์ ทำให้ทราบว่า สิ่งที่ปฏิรูปมันไปรวมศูนย์ การปฏิรูปการศึกษาปฏิรูปตัวเองลำบาก มีข้าราชการ แม้กระทรวงใหญ่ขึ้น การสั่งการควรมีน้อยลง ควรจะฝึกข้าราชการ C8 ซึ่งเป็นผู้สั่งการ ฝึกให้บูรณาการเพื่อฟังลูกค้าและให้เกียรติมากขึ้น

                การปฏิรูปครั้งที่สอง ควรเน้นปฏิรูปพฤติกรรมการมีส่วนร่วมกันทำงาน

                ต้องมีการพัฒนาผู้นำและการบริหารจัดการสมัยใหม่ให้ข้าราชการด้วย

                โลกทัศน์ของผู้สอนต้องกว้าง ผู้นำจึงจะมีโลกทัศน์กว้างด้วย

                ต้องมีความสุขก่อน ยกย่องคนร่วมงาน ทำให้มีศักดิ์ศรี อยู่ด้วยกันยั่งยืน แต่ติดขัดงบประมาณและจำนวนคนเข้าโครงการ

                ในการเรียน ต้องมีการแบ่งปันความรู้ หารือกันกรณีศึกษาชุมชน มีการส่งการบ้านทางอินเตอร์เน็ต

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                ยุคเบบี้บูม มีคนเกิดมาก มีสถานศึกษาผลิตครูมาก แต่อีก 5-10 ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณ 1 ใน 3 ต้องมีการเตรียมความพร้อม ตอนนี้คณะครุศาสตร์ต่างๆผลิตครูปีละ 12,000 คน แต่ได้งาน 3,000 คน มีหลายคนมาเรียนครูแต่ไม่ได้มีใจรัก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ผู้อำนวยการมักบริหารครูไม่เป็น แต่ควรให้มีส่วนร่วม มีแนวร่วมข้างนอกเพื่อสร้างความรู้ใหม่ เรื่องเครือข่ายก็เป็นเรื่องสำคัญ

                Networking ทำให้มีความรู้ที่เปิดกว้าง

                คุณภาพยุคต่อไปไม่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดิน

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                ต้องพัฒนาครู เชิงสาระ พฤติกรรมและทั้งระบบ เราจะพยายามยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

                ตอนนี้ เด็กมีหูตากว้างขวาง บางครั้งก็ต้องฟัง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ครูต้องรู้ทัน รู้จริง กระตุ้นเด็กให้เป็นเลิศ ครูต้องรักอาชีพครูอย่างแท้จริง ครูต้องทำงานเป็นทีม

รศ.ธงทอง จันทรางศุ

                ปฏิรูปประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปการศึกษา ต้องพยายามเติมคุณภาพและแรงให้การศึกษา ต้องทำแบบเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนโดยทุกฝ่าย

ช่วงสรุปและให้ข้อเสนอแนะ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                การสนทนาเน้นการปฏิรูปการศึกษา บางอย่างก็เปลี่ยน มีการกล่าวว่า มีโรงเรียนมาก แต่นักเรียนมีน้อย ตอนนี้มีโรงเรียนควบรวมกัน เวลาวิเคราะห์ต้องดูเงื่อนเวลาด้วยว่ามีบริบทอย่างไร แต่ครูเปลี่ยนหรือยัง ครูต้องเปลี่ยนพฤติกรรม

                การศึกษาในระบบเคลื่อนช้า แต่การศึกษานอกระบบแบบกศน. ก็เดินไปไกลไปดูแลเกษตรกร on the job training

                การแก้ปัญหาต้องมีวิธีการเรียน learn, share, care แล้วต้องคิดด้วย แต่วัฒนธรรมจำกัดไม่ให้เด็กออกความเห็น

                การศึกษาไทยต้องปรับเปลี่ยนตลอด ตอนนี้อาชีวะเด่นขึ้น

                คนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

                การมีส่วนร่วมและบูรณาการเป็นเครื่องมือ

                มีเทคโนโลยีแล้ว พฤติกรรมต้องเปลี่ยนด้วยจึงจะช่วยได้

                อาจารย์จีระไปสอนภาวะผู้นำเทพศิรินทร์ 9 ให้เด็กทำ workshop ว่า ชอบผู้นำคนใด เด็กชอบทักษิณเพราะมีเมตตากับคนจน มีการพยุงราคาสินค้าเกษตร เป็นเพราะเด็กไม่เข้าใจ เด็กอีกคนชอบ Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเพราะสนใจสิทธิมนุษยชน รับคนอพยพเข้าประเทศ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เด็กคนนี้มีพ่อแม่อพยพมาจึงสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน เด็กที่ชอบทักษิณเพราะแม่ปลูกลำไย

                การปฏิรูปก็ต้องลงไปที่ครู ต้องส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น

                รัชกาลที่ 9 ใช้ครูตู้แล้ว พาเด็กลงพื้นที่ ให้เด็กมีทักษะชีวิตจริงๆ

                หลายอย่างเปลี่ยนมาก แต่พฤติกรรมครูบางคนยังไม่เปลี่ยน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เราเรียนเพื่อไปจัดการนวัตกรรม ต้องมีพฤติกรรมสร้างกระบวนการนวัตกรรม

                วิชานี้มอง Macro ไปสู่ Micro รุ่น 16 ควรมีกรณีศึกษา Macro 1 เรื่อง จึงเลือกเรื่องการศึกษา เพราะทำมามากแต่ยังไม่สำเร็จ

อาจารย์จีระชอบตรงประเด็น เอาชนะอุปสรรค มีตัวละคร ซึ่งได้อิทธิพลมาจากเชคสเปียร์ การศึกษาเน้นตัวละครภาครัฐมากเกินไป แต่ภาคสาธารณสุขกระจายไปองค์กรอิสระด้วย แต่ภาคการศึกษามีองค์กรอิสระน้อย  ถ้าศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง ก็พัง

Workshop

เสนอแนวทางปฏิรูปการศึกษา 3 เรื่อง เน้นปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลว

กลุ่ม 3

แนวทางปฏิรูปการศึกษา

ปัจจัยความสำเร็จ

ปัจจัยความล้มเหลว

1. ปฏิรูปผู้เรียน

พวกที่ไม่ได้เรียนจะทำอย่างไร เช่น เรียนนอกระบบ เอกชนก็ต้องมีส่วนร่วม

ถ้าได้เรียน ก็แก้ปัญหาได้

ปัญหา

ให้เรียนภาคบังคับ บางครั้งนักเรียนออกกลางคัน ครูไม่ได้ติดตาม พ่อแม่ไม่ได้ดูแลเพราะทำงานอย่างเดียว พ่อแม่มีลูกก่อนวันทำให้ดูแลไม่ได้ จึงให้โรงเรียนดูแล

จากทำจพฐ. เด็กขาดการศึกษาส่วนใหญ่มาก ต้องมีการวิจัยว่าเด็กเรียนแล้วจบกี่คน

2.ประเมินครู

ต้องใช้ความสำเร็จของเด็กเป็นสำคัญในการประเมิน

ต้องดูความจริง วิธีการทำอย่างไรให้ตรงประเด็น ต้องใช้ HR architecture เกิด โตขึ้นมาเรียนแล้วไปทำงาน

เชิญคนทำงานในแต่ละอาชีพมาแนะแนวอาชีพแก่เด็ก ทำให้เด็กค้นพบตัวเอง

 

ใช้ความสำเร็จครูเป็นที่ตั้ง

เด็กจากโรงเรียนประจำจังหวัดสกลนครได้เกรดเอทั้งหมด ไม่ต้องสอบก็ได้

เด็กสงสัยว่าเรียนพิเศษเพราะติวเตอร์ให้ความรู้ที่ทันสมัยกว่าในโรงเรียน

3. หลักสูตร

ดู Mindset ปรับตามสมัยแล้วหรือไม่

ดูว่าสังคมต้องการอะไร  ทำหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการนายจ้าง

เรียนจบแล้วเด็กตกงานเพราะหลักสูตรไม่ตรงกับการทำงาน เรียนแต่ตำรา

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นประเด็นที่ดี

กลุ่ม 2

แนวทางปฏิรูปการศึกษา

ปัจจัยความล้มเหลว

ปัจจัยความสำเร็จ

1.ใช้ตามแนวซีพี นำหัวหน้ามาอบรมก่อน

 

ผู้บริหาร

ต้องเรียนรู้เรื่องปัจจุบัน

เชิญคนเก่งมาพูด

กระทรวงศึกษามีออนไลน์ไปทุกแห่ง

เวียดนามเชิญอาจารย์สิงคโปร์และจุฬาไปออกแบบหลักสูตร

คุณสรรเสริญประสบความสำเร็จเรื่องนี้ ซีพีเชิญไปบรรยายเพื่อให้เห็นอนาคต

2.มีกิจกรรมนอกหลักสูตร เพิ่มทักษะ

เด็กเป้าหมายขาดแรงจูงใจและทักษะปฏิบัติจริง

ลดเวลาเรียน

มีคอร์สออนไลน์ให้เด็ก

สร้างแรงบันดาลใจ

มีกรรมการกำหนดเนื้อหา

3.เพิ่มแรงจูงใจครู

ครูขาดแรงจูงใจและวิธีการถ่ายทอด

ให้เงินเดือนสูงขึ้น

ไม่ให้ครูมีการสอนพิเศษ

อาจจะเพิ่มโอกาส โดยหาสื่อดิจิตอล อาจหาคนเก่งที่บรรยายทางวีดิโอมาให้ฟัง

เปลี่ยนความคิดครูว่าต้องทำให้เด็กใช้ความรู้ได้จริง

กระทรวงศึกษาต้องมี focus ว่า ต้องการอะไรแล้วลงทุนเรื่องนั้น

ใช้เทคโนโลยีมาช่วยแล้วจะประหยัดงบมาก

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจทำวิทยานิพนธ์เรื่อง education+digital

ขอบคุณที่ใช้ 2R’s ตลอด

กลุ่ม 1

แนวทางปฏิรูปการศึกษา

ปัจจัยความล้มเหลว

ปัจจัยความสำเร็จ

1. ปฏิรูปเด็กและครอบครัว

ทำได้แค่เป็นช่วง

ทำให้เด็กแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน

ใช้ HRDS เคารพความคิดเด็ก เพราะเด็กทุกคนมีความคิด

สามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้

เมื่อเคารพเด็กแล้ว เด็กก็มีความสุข ความภาคภูมิใจ

สุดท้ายจะเกิดความคิดสร้างสรรค์เป็นแนวคำเนินชีวิตและอาชีพ

2.ปฏิรูปสภาพแวดล้อม ครู นักเรียน โรงเรียน

สมัยก่อนมีครูแนะแนว มีเฉพาะช่วงต่อการศึกษา ยังไม่มีตัวอย่างอาชีพนำเสนอให้เด็กเห็น

เด็กอาจจะเบื่อตำรา

การเรียนปริญญาเอกและโท มักนำอาชีพมาสนทนาการเรียน ตรงกับความจริง น่าสนใจ

3. หลักสูตร

 

นำดิจิตอลมา

เด็กนักเรียนนานาชาติเรียนทางอินเตอร์เน็ตได้

เด็กประถมก็ส่งการบ้านทางอินเตอร์เน็ต

เรียนน้อย มีการเล่นกีฬา

เวลามีการบ้าน ทุกคนหาข้อมูล ไม่ต้องเรียนพิเศษแล้ว

การนำออนไลน์ไปใช้จะทำให้เรียนรู้ได้เท่ากันทั่วประเทศ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

               ทั้งสามกลุ่มดีแล้ว นี่น่าจะเป็นภูมิปัญญาเรา

               ครูรู้แต่วิชาการแต่ไม่เข้าใจเด็ก เด็กอ่อนแอเพราะปัจจัยครอบครัว

               อยากให้นำความคิดนี้ไปแปรเป็นนโยบายของประเทศ

               ไม่ควรประมาทเรื่องสื่อเพราะดิจิตอลอาจมีอิทธิพลทางลบก็ได้

ดร.ทรงวุฒิ กันภัย

                อาจารย์จีระเน้นความต่อเนื่อง ปัญหาคือ คนเรียนแล้วหยุดพัฒนาการ เมื่อมีวิจัยมาเกี่ยวข้องมาก ก็จะไม่อ่านหนังสือและทำการบ้าน แล้วก็จะไม่ต่อเนื่อง เวลาที่เรียนก็สนุกได้เจอเพื่อน เมื่อ 3 เทอมผ่านไปก็ต้องสอบคิวอี ต้องทำเอง

                จากการหารือ ก็มีความหลากหลาย งานวิจัยดร.ทรงวุฒิมีเรื่องการเตรียมกำลังคนของประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  เวลาทำดุษฎีนิพนธ์ ต้องอ่านให้มาก เป็นการ review literature อาจารย์จีระเน้นความต่อเนื่อง 3ต.

                มีนักวิชาการชื่อ Charles Windom กล่าวถึง Implementalism เรามีนโยบายภาครัฐ แต่เราไม่เคยทำตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

                จากการที่เรียนที่สหรัฐอเมริกา อาจารย์ก็พูดไปเรื่อย ต้องจับประเด็นเอง

                ขอแนะนำ 5 Disciplines ของ Peter Senge เกี่ยวกับ Learning Organization เช่น บางกลุ่มบอกว่า ครูไม่มีความต่อเนื่อง

                จากการลงพื้นที่จันทบุรี ได้ทำเรื่องการบริจาคทุนการศึกษา ที่จันทบุรีมีครู 4 คน อุปกรณ์พร้อม นักเรียน 102 คน มีนักเรียนออร์โธปิดิกส์ด้วย ซึ่งต่างจากนักเรียนในกรุงเทพ มีอินเตอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

                จากการทำงานภาคอุตสาหกรรม พบว่า คนเรียนจบก็ทำงานไม่ได้ทันที ตอนนี้มี Human resource and machine partnership ทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานมาก ที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบสแกนตาเวลาเข้าทำงาน มี software คิดเงินเดือน การเรียนปริญญาเอกต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                จากประสบการณ์การทำงานเป็น HR และทนายความ ได้มีโอกาสทำงานกับบริษัทของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

                บริษัทของญี่ปุ่นเน้นทำให้กรอบประสบความสำเร็จ ใช้ QCDMSE ประกอบด้วย

                1. Quality มีคุณภาพสร้างสินค้าไหม

                2. Cost ลงทุนมาเรียน ทำอย่างไรให้เป็นประโยชน์

                3. Delivery หรือ on time เวลาญี่ปุ่นมี Product line รถคันหนึ่งใช้ชิ้นส่วนมากมาย ก็จะวิ่งผ่าน Supply Chain

                4. Man ต้องทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยลง

                5. Safety ต้องทำให้เกิดความปลอดภัย เช่น พยายามเรียนจบให้ตรงเวลา

                6. Environment จะเกิดจาก 4L’s sharing knowledge

                ต้องกลับไปดูว่า สร้างคนได้ดีหรือยัง อาจารย์จีระได้กล่าวถึงบทบาทครอบครัวเป็น supply side แม้จะมี demand มากในประเทศไทย ถ้าครอบครัวยังสร้างคนได้ไม่ดี ก็ยังทำนวัตกรรมไม่ได้

                กระทรวงศึกษามีข้อมูลว่า ประเทศไทยมีนักเรียนจบ 5 แสนคนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือ 3 แสนกว่าคนที่เข้าสู่ระบบอุดมศึกษา ส่วนที่ตกหล่นไปที่ไหน

                งานที่จะต้องทำต่อไปคือ หันไปดูความถนัดของตนเอง ดร.ทรงวุฒิทำเรื่องความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ในการเตรียมกำลังคนของประเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม มี Keywords คือ Collaboration, Manpower, Efficiency, Labor และ Industry ก็ต้องกลับไปดูนิยามว่าจะทำอะไร

                สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องอ่านหนังสือ หนังสือเรื่อง shift ดีมาก เป็นเรื่อง innovation จะ shift ตัวเอง ประเทศและบริษัทอย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                วันนี้มี Value Diversity มีคุณค่าจากความหลากหลาย ชอบหลักสูตรปริญญาเอกที่สวนสุนันทา

                การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของ HR architecture เป็นเรื่องสำคัญของทุนมนุษย์ ต้องเรียนรู้ที่จะเรียน ใช้ learn, share and care

                Environment เป็นบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกัน แค่การเรียนครั้งที่ 2 เห็นโอกาสที่ได้พูดคุยกัน

                Learning Community ไม่ได้เรียนคนเดียว เรื่องเด็กตกหล่นเป็นเรื่องที่เราไม่เคยคาดคิด เมื่อมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีก็มีการเก็บเกี่ยว ฟังแล้วเกิดแรงบันดาลใจ ไอทีช่วยเรื่องเด็กตกหล่นได้มาก ทุกเรื่องเชื่อมกันหมด

                การประเมินกลับด้าน ประเมินเด็กแทนครู ว่าครูสอนแล้วเด็กประสบความสำเร็จอย่างไร เป็นการย่นระยะทางถ้าใช้กรณีศึกษา

                มีประเด็นทิ้งท้าย คุณแอนนา เวย์ก็ฝากเรื่องไอที เด็กรุ่นใหม่เป็นปัจเจกมาก จึงควรมีเรื่องสังคมมาเกี่ยวข้อง

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2561

ครั้งที่ 3

…………………………………………………………………………………………

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน


ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                แต่ละสัปดาห์ที่ผ่านไปขอให้ทุกคนทบทวนให้รอบคอบว่าทำอะไรไปบ้างและมีประโยชน์ต่อตนเอง

                สัปดาห์แรกก็พูดถึงหลักสูตรนี้ Chira Way ทุกคนได้แนะนำตัวแล้วแบ่งความรู้

                ครั้งที่สอง ฟังเทปการศึกษาแล้วทุกคนออกความเห็นด้านการปฏิรูปการศึกษา

                นอกจากการศึกษา มีตัวอย่างอื่นๆที่ลงทุนเรื่องคนด้วย เช่น บทบาทของครอบครัวที่ต้องปลูกฝัง เรื่องสุขภาพ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงาน ในอนาคต หลักสูตรแบบนี้ก็ขยายเป็น Macro และ Micro

                เรื่อง Macro อีกเรื่องคือสื่อ ตอนนี้มีวิเคราะห์แล้ว social media มีดีและเสีย ทำให้เด็กยุคต่อไปถูกอิทธิพลเหล่านี้ ตอนนี้สังคมไทยคิดไม่เป็น เมื่อทำเรื่องการปฏิรูปการศึกษาแล้ว จะนำความเห็นทุกคนมาเป็นแก่นแล้วแบ่งปันไปให้คนอื่นเป็นผลงานรุ่นด้วย

                การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีต้องมาจากการปลุกฝังมาตั้งแต่ก่อนทำงาน ต้องช่วยกันทำ นวัตกรรมเป็นเป้าหมาย แต่ขึ้นกับปลูก เก็บเกี่ยวและเอาชนะอุปสรรค

                อาจารย์จีระได้ขอให้อาจารย์พิชญ์ภูรีร่างแนวทาง Chira Way ขอให้นักศึกษาวิจารณ์

                ลูกศิษย์ชื่อ คุณศรัณย์ไปเยี่ยมอาจารย์จีระที่บ้าน ก็สนใจฟังรายวิทยุแล้วส่งไลน์มาบอกว่า อาจารย์มีประสบการณ์ที่ธรรมศาสตร์แล้วก็เดินทางบ่อยมี global view เคยเป็นประธาน APEC HRD กลุ่ม APEC เป็นการรวมตัวของ 21 เศรษฐกิจ มีการประชุม summit ทุกปี มีกรรมการรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง อาจารย์จีระทำ HRD  จึงมีโอกาสได้ปะทะทางปัญญา เวลาคนที่คนผิวเหลืองเป็นประธาน มี Bias มาก คนผิวขาวรวมตัวโหวตเป็นบล๊อก

                ในด้านการปฏิรูปการศึกษา อาจารย์จีระถามลูกน้องว่ามีความเห็นอย่างไร คุณวราพรบอกว่า ควรพัฒนาภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระบอกว่า ควรสอนให้ประยุกต์การศึกษาให้ใช้กับสภาพความเป็นจริงให้ได้ คนไทยควรมีความสามารถไปพูดในการประชุมภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระเคยจัดการประชุมนานาชาติที่เมืองไทย

                ชาวบ้านก็ยังคิดถึงอาจารย์จีระเมื่อได้ไปให้ความรู้แล้ว

                อาจารย์จีระจะรับหน้าที่สอนปริญญาเอกให้ดีที่สุด หลักการเรียนคือทำให้เกิดปัญญาแล้วพัฒนาตัวเรา หลักสูตรนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ได้ปริญญาอีกใบ อยากให้เป็นบรรยากาศการเรียนที่มีคุณค่าต่อนักศึกษา แม้เรียนแค่หลักสูตรเดียวก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คนที่ไม่ได้มาเรียน ก็ขอให้ติดตามใกล้ชิด

                Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรนำคิดว่ามีผลกระทบอย่างไร ใช้ 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมในช่วงที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทความเรื่อง ศาสตร์พระราชา ทรงเน้นทุนนิยมให้ทุกคนมีส่วนร่วมที่เต็มไปด้วยจริยธรรม มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีความรักและความยั่งยืน

ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์บทเรียนจากความจริง วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                บทความนี้ลึกซึ้ง มีตัวอย่างหลายเรื่องประกอบ

                ในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ควรทำเรื่องคนตกหล่นในระบบการศึกษา ควรทำเรื่อง 4L’s ในการปฏิรูประบบการศึกษา

                ทุกคนควรส่งไลน์ตอบว่า ควรจะปฏิรูปการศึกษาในด้านใดบ้างเพื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริง

                อาจารย์ส่วนใหญ่สอนมีแต่สาระ แต่ขาดการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา

คนที่ 1

                บทความกล่าวถึงเรื่อง Trump บริหารประเทศเน้นเศรษฐกิจและ America First ตอนที่ไปพูด Davos ก็บอกว่าทำอะไรให้อเมริกาบ้าง ทำให้บางบริษัทจ่ายโบนัสได้ ในส่วนทุนนิยมที่เขาทำเน้นความโลภ แต่เศรษฐกิจพอเพียงลดความเหลื่อมล้ำ ให้ทางเลือกด้านจิตใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ควรทำวิทยานิพนธ์ ศาสตร์พระราชา

                อเมริกาเป็นทุนนิยมสอนให้ทำกำไรสูงสุด แต่ตอนนี้เศรษฐศาสตร์ต้องเป็น Multidisciplinary

อาจารย์จีระใช้เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ความสุข เวลาที่มาเรียนแต่ละคนจะได้อิทธิพลจากเพื่อนที่มาร่วมด้วย

คุณพูดเหมือนคนที่อ่านหนังสือ เป็น wisdom ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทความนี้

คนที่ 2

                Trump มองประโยชน์ของอเมริกาเป็นหลัก แต่ Macron มองโลกเป็นหลัก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ดีมาก

                Trump นำอเมริกาออกจากข้อตกลง Climate change อเมริกาควรช่วยเรื่องนี้

คนที่ 3

                Trump ทำตัวเป็นผู้นำโลกว่า นำเสนอเป็นตัวเลขเปรียบเทียบ มองตนเองว่าประสบความสำเร็จ คนผิวดำไม่ได้เห็นด้วย

ต่างจากศาสตร์พระราชา คิดถึงระดับรากหญ้าด้วยนอกเหนือจากเศรษฐกิจอย่างเดียว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ควรแยกสิ่งที่วัดได้และวัดไม่ได้

                สิ่งที่วัดไม่ได้มีใน HRDS ความสุข การเคารพนับถือ เกียรติและศักดิ์ศรีและความยั่งยืน

                ถูกใจความเห็นนี้มาก

คนที่ 4

                บทความนี้สะท้อนว่า ศาสตร์พระราชาเติมเต็มทุนนิยม  อเมริกาสุดโต่งไป ต้องมีความยั่งยืนด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ตอนที่จัดสัมมนาระดับนานาชาติ มีทูตยุโรปจะเชิญอาจารย์จีระไปพูดที่ยุโรป ควรจะมีคนระดับหมอเกษมและดร.สุเมธไปพูดในระดับ Davos ด้วย ตอนนี้ระดับ UN เข้าใจแล้ว แต่นักธุรกิจยังไม่เข้าใจ ยังวัดจากตัวเลขมากกว่า

คนที่ 5

                น่าเห็นใจ Trump ถ้าเขาได้เรียน Chira Way กับอาจารย์คงไม่ถูกโจมตี Trump มองแต่ทุนนิยม และผลประโยชน์ต่ออเมริกา ไม่ได้มองความยั่งยืนของโลก ไม่รู้ว่าอเมริกาให้อะไรกับโลก HRDS, 2R’s สามารถนำไปตอบโจทย์ในโลกได้ จากการได้เรียนก็นำทฤษฎีไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                รุ่นนี้ได้ Chira Way และ แรงบันดาลใจ ควรเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้ฝรั่งอ่านบ้าง

                มารยาททางการเมืองสำคัญมาก ในการประชุม APEC มีอคติเกิดขึ้นตลอดเวลา

                ถ้าเรารู้น้อย ก็ทำได้ยาก หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนให้เป็นอาจารย์หรือทำวิจัยเท่านั้น Wisdom ก็นำไปใช้ในชีวิตก็ได้

                ถ้า Trump คิดว่า คนอื่นเหมือนเขา ประเทศอยู่ไม่รอด

คนที่ 6

                ศาสตร์พระราชา เติมเต็มความเป็นมนุษย์ ถ้าเราคิดพัฒนาแล้วแบ่งปันให้คนอื่นเจริญ มีจิตใจมีคุณธรรม

                Trump เน้นต่างคนต่างทำ มองที่ตัวเลข ไม่คิดถึงคนอื่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                Trump ต้องคิดถึงเกิดแก่เจ็บตาย คนแบบ Trump ไม่ได้มีบ่อย แสดงว่า ในอเมริกามีคนผิวขาวคลั่งความยิ่งใหญ่ในอดีต คนผิวขาวเหล่านี้เรียนจบมัธยมแล้วทำงานในโรงงานรถยนต์ ตอนหลังมีต่างชาติเข้ามาธุรกิจจึงล่ม เขาแค้นชาติอื่นๆ คนผิวขาวลืมตัวว่าเป็นผู้อพยพเหมือนกัน คนผิวขาวขวาจัด บ้าคลั่งศาสนา แต่สังคมไทยไม่เป็นแบบนั้น คนไทยมีความอดทนสูง มีหมอ ดาราเป็นเพศที่สามมากขึ้น แต่คนผิวขาวไม่เข้าใจพหุวัฒนธรรม Value Diversity คือการเข้าใจความหลากหลาย สังคมไทยไม่ควรจะเกิดการแบ่งแยกอีกครั้ง คนเราแตกต่างกันได้แต่ไม่ควรจะฆ่ากัน

                Wisdom ต้องนำมาประยุกต์กับความจริง โดยมาจากฐานข้อมูลที่มาเรียบเรียง ตอนท่ฟองสบู่แตก ถ้าไทยไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่รอด

                พูดดีมาก

คนที่ 7

                Trump อยู่ในช่วง honeymoon มีอีโก้สูงมาก จะเน้นตัวเลขที่ดีขึ้นและคนชอบมาเสนอ

ศาสตร์พระราชาเน้นความยั่งยืนมากกว่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                Professor ที่ Harvard บอกว่า ความสำเร็จที่แท้จริงคือ Happiness and Sustainability คนที่เรียนจบ Harvard 5 ปีแรกมีความสุขงานทำดี ต่อมามีปัญหาครอบครัว โรคร้าย บางคนเข้าคุก เช่น ประธานเอ็นรอน ตอนหลังสังคมมีคนเข้าคุกมากขึ้น

                ตอนนี้มี Fintech ทำให้ธนาคารปลดคน ทำให้คิดถึง Employment and Employability ต้องมีความสามารถในการจ้างงานตนเองด้วย ช่วยกันทำงาน ไม่ควรประมาทกับชีวิต

คนที่ 7

                Trump อยู่ในช่วงที่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้

                ความดีกับความยั่งยืนนั้นวัดยาก คนที่ดูศาสตร์พระราชาที่ต่างจังหวัดก็ไม่เข้าใจแก่น

แล้ว Trump ก็จะเรียนรู้ทีหลัง

                นักธุรกิจมักดูผลลัพธ์วัตถุนิยม บางบริษัทก็ทำ CSR แต่ประชาชนก็ไม่ได้เรียนรู้ นายกรัฐมนตรีก็ดูแลความสุขของประชาชน มีศูนย์ดำรงธรรม โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประสานความร่วมมือ 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ควรทำวิจัยเรื่อง ศูนย์ดำรงธรรม ควรแก้ปัญหาเด็กออกจากโรงเรียนกลางคัน

 

การนำเสนอหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

กลุ่ม 1

                แนวคิดทรัพยากรมนุษย์

                แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์คิดถึงเรื่องแรงงานสัมพันธ์ มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน ยังเห็นว่าคนเป็นต้นทุนการผลิต ตอนนี้แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงว่า คนเป็นมูลค่าเพิ่ม คนเป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพคนอย่างจริงจังและเป็นระบบ

                แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณมองทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ ต้องมีการกระทำตนเป็นต้นแบบมีอยู่ 4 หัวข้อด้วยกัน

                1. มีแนวคิด 4 เก่ง 4 ดี

                    4 เก่งคือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

                    4 ดี ก็คือประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

                2. ตระหนักในคุณค่าของคน คนมีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาคนเรื่อยๆ และรักษาคนให้ดี มีการลงทุนพัฒนาอบรม โดยที่ในปูนซิเมนต์ไทย มีการอบรมระดับล่าง กลาง บน นอกจากนั้นยังพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด เช่น Supplier ผู้รับเหมา ลูกค้า จะได้รับการพัฒนาได้รู้อะไรใหม่ๆอยู่เสมอ

                3.สุดท้ายแนวคิดการทำงานเป็นทีม คุณพารณชอบให้ทำงานแบบ Participative

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของคุณพารณ

                1. Remind Management ทัศนคติการตักเตือนผู้บริหาร เวลาที่ส่งใครไปนอกองค์กรเพื่อเป็นผู้บุกเบิกในการทำกิจกรรมใหม่ ตอนที่คุณพารณยังไม่ได้มาทำงานในเรื่องการบริหารงานบุคคล ก็ปล่อยผู้บุกเบิกออกไปไม่รู้ว่าจะกลับมาส่วนกลางเมื่อใด แนวคิดนี้สร้าง Remind Management

                2. สร้าง Corporate Culture อุดมการณ์ในการทำธุรกิจ

                3. การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

HR concept ของอาจารย์จีระ

                มีความเชื่อว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่า เป็นทุนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นต้องยกระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือต้องมองในลักษณะองค์รวม มีการเงิน การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต้องมีการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์

                ต้องพัฒนามนุษย์ให้เรียนรู้กระบวนการ ให้ชี้นำตัวเองและผู้อื่นได้ด้วย ไม่ต้องรอให้ใครมาสอน ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้

ต้องสนใจเรื่องผลลัพธ์ เรื่องเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องสำคัญ

                ต้องมีการรับมือความเปลี่ยนแปลงได้

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของอาจารย์จีระ

                1.ในช่วงแรกที่ทำงาน มีเรื่อง labor productivity และแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน

                2.โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย

                3. การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปรัชญาทรัพยากรมนุษย์

                ไม่ใช่ Training แต่เป็นการเรียนรู้ ต้องรู้ตนเองก่อนว่า ตนอยู่ในระดับใด World Bank มีตัวชี้วัดเรื่องของคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีกรอบคือ

                1.คุณภาพของคน  อ่านออกเขียนได้เท่านั้นถือว่าไม่มีคุณภาพ

                2.คุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องของการอยู่รอดในยุคโลกาภิวัตน์และเรื่องระบบการบริหารจัดการ

                ถ้าต้องการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ต้องใช้การศึกษาสร้างและลงทุน แล้วจะได้คนที่มีความสามารถในการเพิ่มผลผลิตก็คือการเก็บเกี่ยว ประเทศไทยมีปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ไม่เห็นผล นอกจากนั้นการเก็บเกี่ยวจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ชัดเจน เมื่อลงทุนไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปจากองค์กรหรือไม่ ต้องมีการบริหารจัดการคนโดยจะให้ความรู้และพัฒนาด้านจิตใจ และทุนทางปัญญาไปพร้อมกัน ถ้าให้ความรู้เฉพาะ คนก็จะอยู่กับองค์กร ถ้าให้ความรู้ทั่วไป คนมีสิทธิ์ที่จะลาจากองค์กร คุณธรรมทำให้มีความรักในองค์กรและอยู่กับองค์กรได้

ตัวอย่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของปูนซิเมนต์ไทย

                สะท้อนในอุดมการณ์การทำธุรกิจของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยคือ ต้องมีตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน  ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วแปรออกมาเป็นปรัชญาของปูนซิเมนต์ไทยคือ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน พนักงานเปรียบเสมือนคนในครอบครัว และต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทำให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทยประสบความสำเร็จได้

                เมื่อมีทรัพยากรมนุษย์แล้ว ผู้บริหารระดับสูงต้องเชื่อว่าคนเป็น Asset และหัวใจขององค์กร มี 8K’s+5K’s สำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

                8K’s ทุนมนุษย์ต้องมีปัญญา คุณธรรม ความสุข มีสังคม ความยั่งยืน ความเชี่ยวชาญดิจิตอล มีความสามารถ

เมื่อมีโลกาภิวัตน์ ก็มี 5K’s ใหม่ ต้องความคิดสร้างสรรค์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ในการสอบจะเน้น HR architecture ต้องเข้าใจรากฐาน 8K’s+5K’s ก่อน มีรากมาจาก Gary Becker ซึ่งเป็น Professor จากชิคาโก ซึ่งได้รางวัลโนเบล รุ่น 16 จะขยาย 8K’s+5K’s มากขึ้น หนังสือแต่ละเล่มที่เรียนมีแรงบันดาลใจ

                หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ มาจากการเห็นคุณค่าคุณพารณ

                หนังสือ 8K’s+5K’s  ได้แรงบันดาลใจจากการที่อาจารย์จีระไปสอนที่ภูเก็ต

                หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ท่านว.วชิรเมธีให้เกียรติอาจารย์จีระเพราะยกตัวอย่างอธิการบดี 4 คนคือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านวรรณ และ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

                หนังสือเล่มที่ 4 ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลและคุณวราพร ชูภักดี

                รุ่น 15 ทำเรื่องภาวะผู้นำ ส่วนรุ่น 16 ในขณะเดียวกัน จะร่วมทำเรื่อง Chira Way

                คุณพูดถูกว่าหลักของอาจารย์คือ 8K’s+5K’s  อยากจะให้ลูกศิษย์ช่วยกันเขียนหนังสือด้วย ถ้ามาช่วยกันเขียนจะได้เป็นมรดกไว้ หนังสือทั้ง 3 เล่มเป็นภูมิปัญญาของคนไทย

กลุ่ม 1

                ในส่วน 5K’s มีทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์และทุนทางวัฒนธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ยังไม่เคยเปลี่ยนลำดับ 8K’s 5K’s นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มาหลังจากการมีพื้นฐานจริยธรรมและความรู้ใน 8K’s

กลุ่ม 1

                ตัวอย่างส่วนผสม 8K’s+5K’s ออกมาในแนวคิดเรื่องคุณภาพคนของปูนซิเมนต์ไทย

                1. ใช้ระบบ Merit ใช้ระบบคุณธรรมรับคน

                2. ให้ผู้บริหารระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงาน ทุกสิ่งดำเนินไปได้อย่างสำเร็จ

                3. ทัศนคติฝ่ายบริหารจัดการ เน้นดูแลคนอย่างดีตั้งแต่แรกเข้าถึงเกษียณ ดูแลให้คนพัฒนาตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ระหว่างอาจารย์จีระกับคุณพารณคือคุณพารณไม่ใช่นักวิชาการแต่อาจารย์จีระมาจากสถาบันวิจัย ซึ่งตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตอนที่คิดก็ไม่ได้คิดเป็นสถาบันทรัพยากรมนุษย์ แต่คิดเป็นสถาบันแรงงาน ที่มาช่วยคิดชื่ออาจารย์นิคม จันทรวิทุร ตั้งใจไว้ให้เป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์แต่เสนอไปที่รัฐบาล รัฐบาลบอกว่าธรรมศาสตร์เป็นคอมมิวนิสต์ ตั้งสถาบันแรงงานไม่ได้จึงให้อาจารย์จีระเป็นประธานก่อตั้ง เขาจึงถามว่าจะใช้ชื่อใหม่หรือไม่ สถาบันประชากรศาสตร์มีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์จีระใช้คำว่า สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เขาเห็นด้วยแต่สมัยนั้นตัดคำว่า พัฒนา ออกเพราะพัฒนาเป็นการเมือง ทำให้ผู้ใช้แรงงาน นี่คือค่านิยมคนยุคเก่า ถ้าได้ทรัพยากรมนุษย์ ก็ได้พฤติกรรมด้วย ถ้าใช้ประชากรศาสตร์ก็ได้แต่ Technical ทำแต่เรื่องโครงสร้างประชากร ทำให้ไม่มี Impact แต่ทรัพยากรมนุษย์ทำให้ได้ life cycle ทำตั้งแต่เกิดถึงตาย

กลุ่ม 1

                ทรัพยากรมนุษย์มีลักษณะเป็น Strategic Resources หมายความว่า ทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความเป็นเลิศและทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ ทำได้โดยต้องเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์ให้เป็น knowledge worker คือมอง HR เป็นยุทธศาสตร์ ดึงศักยภาพคนให้เป็น global citizen

                บันไดความสำเร็จ

                1. ระดับ Macro เน้นคนเป็นสำคัญ มีวิสัยทัศน์วางแผนให้สอดคล้องกับธุรกิจในอนาคต ลงทุนในศักยภาพคนให้มีแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร นำ ICT มาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน เรื่องสุขภาพก็สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต้องมีสุขภาพกายใจดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มี global knowledge เช่น ภาษา เทคโนโลยี

                2. ระดับ Micro (องค์กร) ต้องพัฒนาความรู้ด้านธุรกิจ พัฒนาพนักงานในเรื่องการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ให้ทุนการศึกษาไปต่างประเทศคือการลงทุนด้านปัญญา กำหนดจำนวนวันเข้าฝึกอบรมและกำหนดทิศทางส่งเสริมพัฒนาคน ซึ่งส่วนนี้ปูนซิเมนต์ไทยก็ได้ทำ

                บันไดความสำเร็จ PPCO

                1. PDCA (Plan, Do, Check, Act) เป็นแผนที่วางไว้ก่อน

                2. Priority จัดลำดับความสำคัญ

                3. Participation ให้พนักงานและผู้บริหารในองค์กรมีส่วนร่วม

                4. Ownership การสร้างความเป็นเจ้าของแล้วจะรู้สึกว่า จงรักภักดีในองค์กร

                นำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีในองค์กร ได้แก่ สร้างอย่างไร ทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์

                วิธีการสร้างความจงรักภักดีในองค์กร

                1. สร้าง long-term employment แทนระบบพันธะสัญญาที่เน้น Performance อย่างเดียว ดูแลตั้งแต่เข้าทำงานวันแรกจนถึงเกษียณ

                2. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพนักงานและประวัติศาสตร์องค์กร ให้ตระหนักคุณค่าประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานและต้องรักษา

                3. การมีส่วนร่วมของคนทุกระดับในองค์กร

                4. มองความภักดีเป็นหนึ่งเดียวเป็นทรัพย์สินทางปัญญา

                การทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์ (Win-Win Situation)

                1. สร้างองค์กรให้มีชีวิต นอกจากให้เงินแล้ว ต้องให้ความรัก ให้เกียรติ ให้งานที่ท้าทายความสามารถ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม แล้วทุกคนจะมีความสุขที่จะอยู่ในองค์กร

                2. ทำให้ Knowledge Workers เป็น Global Citizens

                    2.1 มีวิสัยทัศน์ว่า จะเปลี่ยนคนไทยเป็นผู้เรียนรู้และกลายเป็นพลเมืองของโลก

                    2.2 เปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นพันธกิจคือ ให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง

                คุณสมบัติ Global Citizens

               เป็นคนที่สามารถค้นหาข้อมูล เปลี่ยนออกมาเป็นข่าวสารและพัฒนาไปเป็นความรู้ คล่องภาษาไทยและอังกฤษ มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม

                ตัวอย่างการสร้าง Global Citizens ด้วยการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นการลงทุน

                คุณพารณใช้ Learning Organization และ Constructionism ออกมาในรูปโรงเรียนดรุณสิกขาลัยและโรงเรียนบ้านสันกำแพง

                1. Learning Organization ทุกคนเรียนรู้ได้และเรียนรู้ตลอดชีวิต แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎี 4L’s เริ่มตั้งแต่หมู่บ้านไปที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม แล้วไปสู่ Nation that learns ประเทศแห่งการเรียนรู้

                2. Constructionism ผู้เรียนทำในสิ่งอยากรู้ ครูก็บูรณาการวิชาการ ให้คุณค่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เตรียมความพร้อมให้เด็กเป็นพลเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องสนับสนุน ทำให้เด็กรุ่นใหม่เป็น Global Citizens ด้วยการศึกษา

                โรงเรียนดรุณสิกขาลัยและโรงเรียนบ้านสันกำแพงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมคือกลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มเยื่อกระดาษแล้วไปจบที่ประเทศชาติ คือจาก Micro ไปสู่ Macro

                กรณีศึกษาการพัฒนาคนสู่ความเป็นเลิศ

                อาจารย์จีระมีตัวอย่างความสำเร็จคือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ อาจารย์จีระใช้ 4L’s 8K’s 5K’s กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (Eager to learn) บวกกับนวัตกรรม

                Eager to learn คือสามารถคิดวิเคราะห์ วิธีการสอนน่าสนใจ มีการคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดนวัตกรรมซึ่งมีคุณสมบัติความใหม่ ต้องมีการลงมือ ทำต่อเนื่องและวัดผลได้

                ผลผลิตที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการคือ

                1.มีหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร 48 ชั่วโมง

                2.มีหลักสูตรการเรียนการสอนในธุรกิจอุตสาหกรรม ให้นักเรียนเรียนอย่างมีแผนแล้วสุดท้ายมีงานทำ เป็น 2R’s คือ Reality และ Relevance

                3.เปลี่ยนภาพลักษณ์ของโรงเรียนให้ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัล

                การรักษาคนในองค์กร

                1.เป็นการดูแลคนในองค์กรตั้งแต่เดินเข้ามาจนออกจากองค์กร

                2.บริหารด้วยความรัก นอกจากจะให้เงินที่ใช้เลี้ยงชีพ ต้องมีคุณค่าทางด้านจิตใจด้วย

                การแก้ปัญหาในองค์กรและฝึกฝนให้มีการเรียนรู้

                คนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็น แก้ปัญหาเองได้ ตรงกับ Learning Organization ทุกคนเป็นองค์กรการเรียนรู้และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

เวลาที่นำเรื่องคนไปใช้องค์กร มีเสาหลักในการบริหารงานบุคคล

                 ต้องเชื่อมั่นศรัทธาในคน

                 1. ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารคนเป็นหัวใจขององค์กร คนเป็นทั้งผู้สร้างปัญหาและแก้ปัญหา ถ้าบริหารคนได้ ทุกอย่างก็ราบรื่น

                 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ คนเป็นผู้สร้างงาน ถ้าบริหารคนได้ ธุรกิจเองก็เจริญก้าวหน้าได้ดี คนเป็นทรัพยากรที่ใช้ไปก็มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ถ้ารู้จักพัฒนาคนก็จะมีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย

                 3. ด้านเทคโนโลยี คนเป็นคนสร้างขึ้นมา เทคโนโลยีจึงเป็นผู้สนับสนุน เพราะฉะนั้นต้องเน้นเรื่องการใช้คนไปสร้างความสำเร็จในองค์กร

                 ปัจจัยที่ทำให้งาน HR ของคุณพารณและอาจารย์จีระลุล่วงไป

                 1. แม้ไม่ได้เรียน HR แต่คนเห็นคุณค่าความสามารถของท่าน จึงทำงาน HR ได้อย่างลุล่วง

                 2. ทั้งสองท่านมีความแน่วแน่มุ่งมั่น

                 3. มีอิทธิพลต่อสังคม

                 4. มีวิสัยทัศน์มองไปข้างหน้า ในเรื่องความเป็นจริงและบริบทที่เกี่ยวข้อง

                 5. มีความเป็นผู้ให้ ไม่ได้ต้องการผลอะไรตอบแทนนอกจากให้ปัญญาแก่สังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลในด้านการทำวิทยานิพนธ์อย่างไร

กลุ่ม 1

                ทฤษฎีต่างๆ สามารถย่อยออกไปเป็นหัวข้อได้ เช่น 8K’s 5K’s เป็นฐานทฤษฎีได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                หนังสือเล่มนี้เป็นประวัติอาจารย์จีระที่ธรรมศาสตร์ ได้ไปปรึกษาคุณพารณ เชื่อว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญที่สุด แรงบันดาลใจนี้ทำให้รู้สึกว่าเรื่องคนสำคัญ

                ปัญหาไทยเป็น factor proportion นำทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นสัดส่วนทรัพยากรมนุษย์ ไทยเคยมีทรัพยากรสมบูรณ์ จึงลงทุนเรื่องคนน้อย แต่ลงทุนทรัพยากรธรรมชาติมากในอดีต แต่สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากร ตอนนี้ซาอุดิอาระเบีย บรูไนมีปัญหาทรัพยากรมนุษย์

                ทรัพยากรธรรมชาติลดลง แต่ทรัพยากรมนุษย์ไทยในอดีตมีคุณภาพน้อย การขับเคลื่อนต้องมีคนที่คิดเป็นวิเคราะห์เป็น อาจารย์มีหน้าที่ยกบทบาททรัพยากรมนุษย์เป็นแบรนด์ประเทศผ่านการจัดการประชุมนานาชาติตลอดเวลา และมีคนระดับโลกมาพูด

                เป้าหมายอาจารย์จีระและคุณพารณเหมือนกัน แต่คนละเส้นทาง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                จากที่นำเสนอ กลุ่มนี้เด่นในการนำเสนอแบบ KM ดูแล้วเข้าใจง่าย ผู้นำเสนอมีความเข้าใจดีมาก KM คือนำความรู้มาจัดการ

                อาจารย์จีระจะเชิญรุ่น 16 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มใหม่ Chira Way ของดร.จีระ ก็จะทำคล้ายๆ Harvard Business Review มีรวบรวมงานมาจากปริญญาเอก

                เราได้ยิน Toyota Way, Chira Way เป็นเรื่องที่ต้องเก็บสะสม ต้องเลือกว่า เก่งอะไร แล้วนำมาเป็น Way ของตน การเลือกเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องเป็นเรื่องที่เราเก่งและสังคมสนใจ คนอื่นได้ประโยชน์แล้วนำไปใช้ได้

                การอ่านหนังสือเป็นการทบทวนวรรณกรรม ในวิทยานิพนธ์ต้องมีการสังเคราะห์งานที่ทบทวนวรรณกรรมต่อยอดองค์ความรู้

                ในชั่วโมงต่อไปต้องคิดต่อ SCG เปลี่ยนไปมากจากหนังสือ ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม ช่วงเวลาที่ต่าง บริบทเปลี่ยน

                รุ่น 16 ต้องคิดเพิ่มเวลาที่ทำหนังสือ

                คุณพารณต้องการให้เป็นองค์กรการเรียนรู้  

                เวลาที่ทำหนังสือ ต้องเริ่มจากประเด็นเดิม เช่น เด็กออกนอกระบบ คุณแม่วัยใส จะต้องดูว่า จะดึงกลับเข้าระบบ ต้องดูอาชีพที่คนกลุ่มนี้ชอบ เช่น ครูสอนการแสดง ขายเครื่องสำอางค์ หรือเป็นช่างแต่งหน้า ไม่ใช่แค่เอากศน.เข้าไปทำขนม ซึ่งเชย

                เมื่อบริบทเปลี่ยน โจทย์ก็เปลี่ยน ความจริงคือกระบวนความจริง ไม่ใช่ความจริงก้อนๆ สิ่งที่เป็น Way ก็ยังคงมี DNA อยู่

                SCG มี DNA อยู่คือ เป็นองค์กรการเรียนรู้   จากการที่ดูงาน SCG เหมือนเขาให้ไม่หมด ไม่ได้หัวใจมา เขาเริ่มตีเป็นทรัพย์สินทางปัญญาต่างจากในอดีต เป็นเพราะผู้บริหารเปลี่ยน

                เมื่อบริบทเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน แต่คนปัจจุบันไม่ต้องให้ดูแลตลอดชีวิต เด็กรุ่นใหม่เน้นความสมดุลงานและชีวิต 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                อาจารย์พิชญ์ภูรีมีประสบการณ์มาก ในเมืองไทยมักแยกสมองซีกขวาและและซีกซ้าย ต่างจากอเมริกา คนทำการเงินเรียนจบวรรณคดีอังกฤษ

กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3

                ความแตกต่าง

                คุณพารณมีพื้นฐานการทำงานเป็นภาคเอกชน เป็นนักปฏิบัติ ทำงานบริษัทเชลล์ บริษัทต่างชาติ แล้วมาเป็นผู้บริหาร SCG คุณพารณให้คุณค่าทุนมนุษย์ ทำให้คนในองค์กรพัฒนาตลอดเวลา มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

                อาจารย์จีระเป็นนักวิชาการ เป็นนักปฏิบัติแล้วจึงมาเป็นอาจารย์ มีส่วนเกี่ยวข้อง HR ตอนเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ข้อดีคือมองลึก

กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3

                ความแตกต่าง

                อาจารย์จีระมีการจัดประชุมนานาชาติ สามารถให้ความรู้หรือองค์กรการเรียนรู้ไปได้อย่างกว้างขวาง ตอนแรกสนใจแรงงานแล้วต่อมาสนใจทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์จีระมองทรัพยากรมนุษย์เป็นสินทรัพย์มากกว่าต้นทุน

                ความเหมือน

ทั้งสองท่านมีความตระหนักในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ มองเป็นทุนหรือสินทรัพย์มากกว่าต้นทุน ทั้งสองท่านมีชื่อเสียงในวงการ HR และสังคม

                สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก            

                1.ทำให้ตระหนักว่า โลกเปลี่ยนแปลง หลังแผน 8 เน้นทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการพัฒนาคน อาจารย์จีระเน้นภาษาและเทคโนโลยี ประเทศไทยยังขาดการผลิตเทคโนโลยีและการออกแบบ

                2. ในการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์แน่นอนพวกเราต้องสนใจหนังสือเล่มนี้เพื่อนำหัวข้อหรือทฤษฎีต่างๆ ไปทำวิจัยตามเรื่องที่ถนัด เมื่อสนใจแล้วก็ต้องกำหนดกรอบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เมื่อเรียนแล้ว ต้องนำไปใช้ในวิทยานิพนธ์ด้วย หนังสือ 3 เล่มและงานเขียนอาจารย์จีระเป็นหลักฐานทางวิชาการและต่อยอดได้ สิ่งสำคัญคือต้องเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์นั้น

กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3

                สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก            

                3.ทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงทุนเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากร เอกชนให้ความสำคัญพัฒนาทุนมนุษย์ ราชการจะสั่งจากบนลงล่าง เมื่อเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากร เป็นการเพิ่มคุณค่าให้องค์กร แล้วทุกอย่างจะยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                วิชานี้เป็นทุนมนุษย์ตอบโจทย์นวัตกรรม ตอบโจทย์ 4.0 ปลูก เก็บเกี่ยวเรื่องคน นวัตกรรมเกิดขึ้น นวัตกรรมเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทำอะไรให้ดีขึ้น

กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3

                สิ่งที่หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก            

                4.การเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีความคิดหลากหลาย เกิดเป็น Wisdom เป็นนวัตกรรม

ที่สำคัญที่สุด ถ้าทำแล้วต้องมีความต่อเนื่อง

                หนังสือเล่มนี้เป็นต้นทุนมนุษย์แท้จริง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                กลุ่มนี้เน้นเฉพาะจุดเด่นคน เมื่อ 2 กลุ่มเชื่อมโยงกันจะทำให้เห็นภาพกว้าง อาจจะเตรียม Way ของตนเองแล้วนำพวกนี้ไปจับ

                Way ของคนไทยต้องเป็นที่ยอมรับในสากล ต้องเลือกประเด็นที่เด่นและเป็นที่สนใจในต่างประเทศด้วย จากเว็บไซต์สหรัฐ ตอนนี้ไทยเป็นอันดับหนึ่งด้านความสะดวกสบายในการลงทุน ลงทุนแล้วสามารถส่งต่อไป CLMV อาจจะไปอาเซียนใต้ก็ได้

                อาจารย์จีระกล่าวถึงวรรณกรรมไทย อาจารย์บางท่านไม่ยอมรับ ต้องนำเสนอให้อาจารย์เข้าใจว่า ตรงกับความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ถ้ารวมตัวกันได้ก็มีโอกาสสำเร็จ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                3 วงกลมสามารถ run equation ได้ จับบริบทนำเสนอ

                ก็เชื่อในความสามารถคนไทย คนไทยไม่ทำ how to

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ขอชมเชย

                หนังสือภาษาอังกฤษจะเน้นนวัตกรรมเป็นหลัก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                หนังสือที่จะทำใหม่ชื่อ หนังสือ ChiraWay วิถีแห่งการพัฒนาและจัดการทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน

บทนำ 

การที่"บุคคล"หรือ"องค์กร"หนึ่งใด จะสามารถสร้าง"วิถี"หรือ"แนวทาง"ในการบริหารจัดการใดๆ ให้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ ว่าเป็นอัตลักษณ์ หรือลายเซ็นต์ (Signature) เพียงหนึ่งเดียวนั้น ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์จริงของความล้มเหลว และความสำเร็จของบุคคลหรือองค์กรนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง จนก่อเกิดเป็นทักษะเฉพาะ ซึ่งนำไปสร้างเป็น"ระบบการจัดการความสำเร็จ" ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ การดำเนินการ หรือสถานการณ์ต่างๆได้

 

"ChiraWay" คือ "วิถีแห่งจีระ" คือแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษในการดำเนินงานวิชาการ และการทำงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับทุนมนุษย์ไทย ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศไทย และในระดับสากล

 

ChiraWay สามารถสรุปได้โดยย่อจากกรอบแนวคิด และปรัชญาพื้นฐานด้านทุนมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สามประการ ที่ว่าด้วย "การปลูก การเก็บเกี่ยว และการทำให้เกิดความสำเร็จ" เป็นสามประการหลัก ที่เป็นทั้งปรัชญาขั้นมูลฐาน ที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มองเห็นจากประสบการณ์ทางวิชาการ และผลสัมฤทธิ์จากการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเป็นกรอบการดำเนินงาน และกระบวนการความสำเร็จ ที่เป็น "DNA" หรือ "รหัสพันธุกรรม" ในรูปแบบของ ChiraWay

 

ChiraWay ซึ่งเกิดขึ้นจากรหัสพันธุกรรมหรือDNA ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์นี้ ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวของผู้ก่อตั้งเอง และแนวคิดรวมถึงประสบการณ์อันแตกต่างหลากหลาย ของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นรูปแบบที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ยึดมั่น และรังสรรค์ให้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ เพื่อสามารถนำไปจัดการทุนมนุษย์ไทย ให้สามารถเผชิญกับความท้าทายนานาประการ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ภาคที่หนึ่ง ความสำเร็จและที่มาของChiraWay

บทที่ 1 ความสำเร็จ และที่มาของChiraWay 

- ความสำเร็จในอดีตที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เล่าผ่านสังคมแห่งการเรียนรู้ของลูกศิษย์หลายกลุ่ม และหลายรูปแบบ

- ความเป็นมาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งด้านวิชาการ ประสบการณ์การทำงาน ทั้งของท่านเอง และนักวิชาการด้านทุนมนุษย์ที่ท่านสนใจ ที่ผสานและสังเคราะห์จนก่อให้เกิดปรัชญาและกรอบแนวคิดต่างๆ อันเป็นที่มาของ "วิถีแห่งจีระ" หรือ "Chira Way"

 

บทที่ 2 กรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์ แบบChiraWay

- เป็นบทที่รวบรวมกรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์แบบ ChiraWayไว้เป็นหมวดหมู่ โดยจัดเรียงในกรอบของ "การปลูก การเก็บเกี่ยว และการทำให้สำเร็จ" ซึ่งบางทฤษฎีสามารถนำไปใช้ได้กับทุกหมวดหมู่ มีที่มาและคำอธิบายของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล 

 

บทที่ 3 การปลูก (Human Capital Development)

จะกล่าวถึงที่มา และกรอบแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการปลูกแบบChiraWay ซึ่งเน้นที่"สามเสาหลัก"อย่างเด่นชัด คือ

 1) Learning How to Learn. 

 2) Life Long Learning.

 3) Learning Communities.

- 8K's ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 ประเภท

- 5K's ทฤษฎีทุนมนุษย์ 5 ประเภท ( New Theory)

- ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 L' s

- ทฤษฎีการเรียนรู้ 3 L' s

และบทสรุป ด้วยบทสัมภาษณ์ รวมถึงกรณีศึกษาจากความสำเร็จจริงที่พิสูจน์ได้

 

บทที่ 4 การเก็บเกี่ยว (Human Capital Management)

บทนี้จะว่าด้วย"กรอบแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และ เครื่องมือ" ในการเก็บเกี่ยว หรือการบริหารจัดการทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ แบบChiraWay ที่เน้นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า อาทิ 

- ทฤษฎี 2 R' s (Reality & Relevance)

- ทฤษฎี 2 I' s (Inspiration & Imagination)

- ทฤษฎี H R D S

- ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารจัดการทุนมนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทที่ 3 Execution หรือ การลงมือทำให้สำเร็จ 

ประกอบด้วยกรอบแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และเครื่องมือแบบ ChiraWay ประกอบกับกรณีศึกษา ประสบการณ์ แนวคิดและยุทธศาสตร์ต่างๆ ทั้งของศ.ดร.จีระ และกูรูชั้นนำ ซึ่งเน้นการเอาชนะอุปสรรค และการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือผู้นำ ตัวละครต่างๆ สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และสภาวะแวดล้อม 

 

ทฤษฎีเพื่อการลงมือทำให้สำเร็จ

- Leadership

- CEO / HR./ Non HR

- Networking

- TEAMwork 

- ทฤษฎี 3 V.

- ทฤษฎี C- U -V

- C&E Theory

- ทฤษฎี 3 ต. ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

- ทฤษฎี 3 ต.(ใหม่) แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

- ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง แห่งความยั่งยืน

 

ภาคที่ 2 กรณีศึกษาความสำเร็จในภาพMacro และ Micro

บทที่ 5 ทุนมนุษย์ไทย 4.0 

-โลกในยุคคลื่นลูกที่ 4 และบริบทประเทศไทย 4.0

- Change / Social Communities / Internet of Things

-มุมมองของศ.ดร.จีระ ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลง ความท้าทายและเครื่องมือสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์ ยุค 4.0

 

บทที่ 6 ผู้นำในโหล

กล่าวถึงกรณีศึกษา การสร้างผู้นำเพื่ออนาคตอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการแบบ ChiraWay ใน 12 องค์กร 12 รูปแบบ ซึ่งจะอธิบายถึงผลสัมฤทธิ์ ที่เหมือนกัน คล้ายคลึง หรือแตกต่างกัน ไปตามความแตกต่างของบริบท ประกอบด้วย

1) ผู้นำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2) ผู้นำที่เป็นข้าราชการ (อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงศึกษาธิการ ) 3) ผู้นำของคณะแพทยศาสตร์ และ 4) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5) ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ 6) ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7) ผู้นำจากต้วละคร 4 กลุ่ม งานท่องเที่ยวโดยชุมชน (โครงการของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา) 8 ) ผู้นำในโครงการนักศึกษาปริญญาเอก 9) ผู้นำเยาวชน (โรงเรียน เทพศิรินทร์) 10) ผู้นำAsean  และ CLMV.ในบริบทของการท่องเที่ยว 11) ผู้นำ Asean ในบริบทอื่นๆ 12) การสร้างภาวะผู้นำในห้องเรียนผู้นำระยะสั้น

 

บทที่ 7 การทูตภาคประชาชน

เป็นกรณีศึกษาการจัดการทุนมนุษย์ไทย เพื่อการร่วมมือกับต่างประเทศ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                จากการไปบรรยายให้กระทรวงเกษตร ก็ทำเรื่องแรงบันดาลใจ

                Imagination สำคัญกว่า เป็นการมองนามธรรมและจับให้เป็นรูปธรรมให้ได้

                เหมือนรวมหนังสือ 10 เล่มมาไว้ในเล่มเดียว

ารบ้าน ขอให้คิดถึงบทบาทรุ่น 16

คุณวราพร ชูภักดี

                นักศึกษาสามารถช่วยได้ในบทที่ 5 อาจจะเน้นหน่วยงานที่กำลังทำงานอยู่ ในภาคเอกชนหรือราชการควรพัฒนาทุนมนุษย์ไปในทิศทางใด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ประเทศไทยไม่ขาดการเขียนแผนแต่ขาดการนำแผนไปปะทะกับความจริง น.พ.วิจารณ์เห็นด้วยว่า ต้องตั้งวิสัยทัศน์ว่าทำอะไร ม.อ.เน้นคุณภาพแต่มีไซโลสกัดกั้นคุณภาพ

                รุ่นนี้มี Execution

                อาจารย์จีระได้เปรียบเพราะความต่อเนื่อง สอนทั้งแพทย์และวิศวะแล้ว และสอนปริญญาเอกมาเป็นรุ่น 16 แล้ว

คุณวราพร ชูภักดี

                หนังสือเล่มนี้ อาจารย์พิชญ์ภูรีออกแบบได้ดีมาก

                อาจารย์อยากเห็นพลังนักศึกษาปรับเปลี่ยนพัฒนาประเทศ ความคิดเห็นทุกท่านเป็นประโยชน์ถ้าได้มารวมหนังสือเล่มนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                เรื่องช่วยเหลือเด็กออกจากโรงเรียนกลางคันควรจะเป็นนโยบายต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 4

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สำหรับรุ่น 16 จะวิจารณ์หนังสืออีก 2 เล่ม คือ 8K’s และพลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม แล้วจะได้อ่าน Harvard Business Review on Innovation

จากรายการวิทยุ อาจารย์จีระ แนะนำให้ถามตนเองว่าเรียนๆ แล้วได้อะไร

หนังสือ 8K’s เป็นแนวโนเบลอยู่แล้ว วันนี้เป็นการอธิบายการเกิด 8K’s และ 5K’s

        วิธีการเรียนรุ่น 16 ต้องใกล้ชิดกับอาจารย์และจะมีความรู้ลึก มีแนวคิดที่ดี

8K’s และ 5K’s มาจาก Prof. Gary Becker

พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรมเป็นหนังสือลูกเล่มเดียวของ 8K’s และ 5K’s ควรทำวิทยานิพนธ์จาก 8K’s และ 5K’s

        ทุนมนุษย์เกิดในสมัย Prof. Gary Becker

        ทุนมนุษย์เป็น 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีปัญหาการพัฒนาคนเพราะมีทรัพยากรอื่นๆ มากเกินไป ถ้าดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 1-5 เน้นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จนมีคำพูดว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ตอนนี้กระทรวงเกษตรใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด แต่คนในภาคเกษตรยากจน แต่ก่อนมีกระทรวงเกษตรศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ อาจารย์จีระตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมา HR Architecture ครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย ควรศึกษาคนหลังเกษียณเปรียบเทียบชีวิตคนมีงานทำและไม่มีงานทำ

        ทุนทางการเงิน เมืองไทย ใครอยู่ในสาขาการเงินได้เปรียบ จะได้รับการยอมรับมากกว่าคนสาขาทรัพยากรมนุษย์ เช่น กองการเจ้าหน้าที่และกองการฝึกอบรม อาจารย์ชาติชาย ณ เชียงใหม่ก็เก่ง ถ้าเรามีเงินออม มันก็จะกลายเป็นทุนทางการเงิน แต่ถ้าบริโภคเกินตัว ก็เป็นหนี้ เมืองไทย สิ่งสำคัญที่สุด คนไทยไม่เคยคิดที่จะออม เมื่อทำงานแล้วก็จะกู้เท่านั้น ไม่รู้ว่าอนาคตจะจัดการการกู้อย่างไร ควรสอนความรู้ทางเงิน (Financial Literacy) แต่เด็กจะดีมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยควรทำหลักสูตรแบบนี้

        ทุนจากโรงงานอุตสาหกรรม คนไทยทำมาก

        ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน ทุนมนุษย์ต้องอยู่ในทุกทุน ทุนมนุษย์ต้องเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม

        8K’s และ 5K’s แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของคนในอนาคต

        ทำไม 5K’s ต้องมาหลังจาก 8K’s

        มนุษย์ไม่ได้วัดจาก Tangible     

        8K’s และ 5K’s ไม่ได้ครบทุกเรื่อง รุ่น 16 อาจจะเสริมได้แต่ต้องมีการอ้างอิง

        อาจารย์จีระได้ฝึกข้าราชการแทบทุกกระทรวง เมื่อได้ 2I’s Inspiration ก็พัฒนาขึ้น

        ทุนมนุษย์แตกต่างกับอีก 3 ทุนคือ หายใจได้ คิดได้ วิเคราะห์ได้ มนุษย์มีทุกอย่างที่วัตถุไม่มี ขณะนี้คนเริ่มมองว่า Artificial Intelligence และ Robotics เริ่มทดแทนงานบางอย่างของมนุษย์ มนุษย์ต้องทำงานร่วมกับ Machine มากขึ้น Machine เก็บข้อมูลได้หมด แต่มนุษย์เข้าใจบางส่วน มีหนังสือของนักประวัติศาสตร์อิสราเอลบอกว่า ใน 50 ปีข้างหน้าหรือน้อยกว่านั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่าง Homo sapiens และ machine

        คนที่กล่าวถึงทุนมนุษย์ไม่ได้มีแค่ Prof. Gary Becker แต่ยังมี Adam Smith เข้าใจทุนมนุษย์แต่ไม่ได้เรียกเป็นทุนมนุษย์โดยตรง เขายกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างค่าจ้างของสองคน เป็นเพราะคุณสมบัติของคนไม่เท่ากัน ต้องวัดจากค่าจ้าง อาจจะเป็นเพราะแต่ละคนมีความรู้และทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง วุฒิการศึกษาต่างกันก็ค่าจ้างต่างกัน

        Prof. Gary Becker ก็วิเคราะห์เรื่องของคน แต่ก่อนนักจิตวิทยาวิเคราะห์เรื่องคน Prof. Gary Becker ตั้งโจทย์ว่า คน 2 คนเกิดมาเท่ากัน (เหมือน HR Architecture) ได้รับการลงทุนการศึกษา โภชนาการ ครอบครัวไม่เท่ากัน เมื่อเข้าทำงานแล้ว ค่าจ้างอาจจะไม่เท่ากัน คนมีการศึกษาสูงก็มีรายได้มากขึ้น การวิเคราะห์ของ Prof. Gary Becker เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล

        ทุนทางจริยธรรมที่เสนอโดยอาจารย์จีระเป็นส่วนประกอบของทุนมนุษย์ เป็น 2R’s คนที่เรียนจบปริญญาตรีอาจจะฉลาดกว่าปริญญาเอกก็ได้

        Paul Schultz เป็นอาจารย์ของอาจารย์จีระ เขาค้นพบว่า ถ้านำชาวนา 2 คนมาเปรียบเทียบ และถ้าคนใดมีความรู้และปัญญามากกว่า ผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า เป็นที่มาของ Smart Farmers คือเกษตรกรที่ใช้ความรู้เป็น

        การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ได้เปลี่ยนไปมาก การมองปริมาณปีที่เรียนและวุฒิการศึกษามีความสำคัญน้อย แต่พบว่า คนเรียนน้อยอาจจะมีคุณภาพดีมากกว่าคนที่เรียนมากก็ได้ จึงคำพูดว่า “ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” ตัวอย่างที่ดีคือ Bill Gates และ Mark Zuckerberg คนที่มีปัญญาไม่จำเป็นต้องเรียนจากมหาวิทยาลัยก็ได้ การเรียนในห้องเรียนควรจะให้ทั้งปัญญาและปริญญาด้วยจึงจะคุ้ม

        อาจารย์จีระจึงบอกว่า คนเรียนจบปริญญาเอกอาจไม่ได้ดีกว่าคนจบปริญญาตรีมากเท่าไร แต่ขึ้นอยู่กับว่ามีคุณสมบัติอะไร

        Karl Mark เขียนหนังสือ The Kapital

        อาจารย์จีระเพิ่งอธิบาย 8K’s เป็นรูปธรรมเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว Human Capital ต้องบวกปริมาณและคุณภาพเข้าด้วยกัน ประเทศไทยมีคนจบปริญญาตรีเป็น 3 เท่าของเวียดนาม แต่ปัญญาคนไทยสู้คนเวียดนามไม่ได้ นักศึกษาปริญญาเอกควรไปดูงานที่โรงเรียน ถ้าเขาทำให้เด็กคิดเป็นได้ก็ดี เมื่อเน้นคุณภาพทุนมนุษย์ ก็มีอีก 7 ทุนตามมา

        คนที่ประสบความสำเร็จเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม สีจิ้นผิงบอกว่า ต้องการให้คนจีนมีคุณธรรม จริยธรรมและเป็นมืออาชีพ เรื่องนี้สำคัญมาก การเป็นมืออาชีพไม่เหมือนกับการได้ปริญญา คนจบปริญญาอาจทำอะไรไม่เป็นก็ได้

        ทุนทางปัญญาเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ หมายถึง คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น มองอนาคตเป็น

        ทุนแห่งความสุข ไม่เหมือนกับ Happy Workplace (มีความสุขในการทำงานที่องค์กร) เป็นการเก็บเกี่ยว แต่ทุนแห่งความสุขเป็น Happiness at work หมายถึงคนชอบทำงาน เป็นการปลูก Happiness at work มาแรงเพราะแนวโน้มโลกคือ ทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา

        ต้องถามว่า งานที่ทำมีสิ่งเหล่านี้หรือไม่

        1. Passion

        2. Purpose

        3. Meaning

        เมื่อคนทำอะไรซ้ำจะเกิด Law of Diminishing Return ต้องทำให้เกิด Law of Increasing Return คือหาความรู้เพิ่ม

        มีนักศึกษาปริญญาเอกรามคำแหงทำวิทยานิพนธ์สำรวจว่า คนมีความสุขในการทำงานจะทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่

        เมื่อคนมีความสุขก็จะทำงานได้ดี ไม่เครียด ไม่เจ็บป่วยง่าย ระบบที่เจ้านายมากำกับดูแลที่ทำงานอาจทำให้ทำงานอย่างไม่มีความสุข

        ทุนทางสังคม ยุคต่อไปไม่มีทุนมนุษย์ใดอยู่รอดโดยไม่มีเครือข่าย Networking เป็นการทำงานแบบหลวมแต่ต้องมีคุณสมบัติ

        1.Trust ซึ่งกันและกัน

        2.อดทน

        3.แบ่งปันต้นทุนและกำไร

เครือข่ายพวกนี้ ในทุนธุรกิจคือ Linked in  ในอนาคตจะเป็น Hollywood Model รวมตัวกันทำงานใหญ่ ในที่สุดงานประจำลดลง กลายเป็นงานรายชิ้นมากกว่า

        ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นพฤติกรรม ไม่ว่าจะทำอะไรต้องคิดถึงระยะยาว เรียนแล้วได้ความรู้และปัญญาจริงหรือไม่ ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ให้มากขึ้น ประเทศไทยต้องอยู่ด้วยความยั่งยืน

        5K’s ใหม่ ตอบโจทย์ Thailand 4.0

        เบื้องหลังของการทำ 8K’s และ 5K’s คือ อาจารย์จีระมีพื้นฐานดีใน 8K’s แล้วลงลึกใน 5K’s นวัตกรรมต้องมาจากพื้นฐานที่ดี เช่น จริยธรรม เครือข่าย ฯลฯ

        ทุนทางอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ได้แปลว่า ไม่มีอารมณ์เลย บางคนเก่งมากแต่อารมณ์ร้อน จึงไม่ประสบความสำเร็จ ทรัมป์อารมณ์รุนแรงแล้วไม่ประสบความสำเร็จ

Workshop

กลุ่ม 1

1.วิเคราะห์ข้อดีของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และจะนำมาใช้ได้อย่างไรในยุค 4.0

2. วิเคราะห์ข้อเสียทฤษฎี 8K’s และ 5K’s มีจุดอ่อนอะไรบ้างและจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

8K’s เป็นเรื่องพื้นฐาน ส่วน 5K’s เป็นเรื่องที่เสริมโลกาภิวัตน์เข้ามา ส่วนที่ดีของ 8K’s และ 5K’s คือการมีการสร้างความสมดุลระหว่างคุณสมบัติด้าน Tangible และ Intangible Asset เกี่ยวกับเรื่องของทุนมนุษย์ ทั้ง 8K’s และ 5K’s มีส่วนผสมของความเป็น 4.0 เรื่องของการใช้เทคโนโลยีไอที 8k มีทุนทางดิจิตอลอยู่แล้ว ในส่วนของ 5K’s มีทุนทางความรู้ จากการรวบรวมส่วนของ Data มาเป็น Information และจาก Information มาเป็น Knowledge โดย 5K’s ใช้ส่วนเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ จึงเป็นแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในยุค 4.0

มนุษย์เรามีหลายวัย ตั้งแต่เด็กมาก็ถูกปลูกฝัง อาจจะทำไม่ทันทุกข้อ อาจจะมี guidelines เป็นกระบวนการที่จะนำข้อใดมาใช้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเด็นข้อแรกดีแล้ว ส่วนประเด็นข้อสอง วันนี้ คนรู้จัก 2R’s มาก แต่รุ่นนี้ชอบ 2I’s

รุ่นนี้ควรทำ 8K’s ให้กระชับขึ้น  ในทางวิชาการ สามารถนำมาทำวิทยานิพนธ์ได้

ท่านผู้ตรวจกล่าวถึง Health ซึ่งอยู่ใน Happiness Capital แล้ว เรื่อง Health สำคัญมาก

ในรุ่น 16 นำ 8K’s ไปใช้ในเรื่องวิชาการได้แล้ว 2R’s วงกว้าง

ทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน Talented Capital เรื่อง Attitude สำคัญ คล้าย mindset เชื่อมโยงกับทุกอย่าง ทุกคนมี Talented Capital ควรช่วยกันคิดให้ชาวบ้านและเด็กเรียนโดยแบ่งระดับตามการเรียนรู้ 8K’s และ 5K’s

กลุ่ม 1

การได้รับการศึกษาอาจจะไม่ทำให้เกิดปัญญา อาจารย์บอกว่า ปัญญามาจากการคิดเป็น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปัญหาคือ คนรุ่นใหม่บ้าปริญญา ผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้เกิดปัญญา

กลุ่ม 1

ทุกคนต้องปฏิบัติและทำอย่างต่อเนื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุกเรื่องที่อาจารย์จีระสอนก็ขยายได้มากขึ้น

อาจารย์จีระยังไม่เคยเปลี่ยน 8K’s และ 5K’s จริยธรรมต้องมาก่อน จริยธรรมและทุนทางอารมณ์ทำให้ไม่ทำอะไรใหญ่โต มีความระมัดระวังมากขึ้น

ทุนทางอารมณ์คือการควบคุมอารมณ์ เวลาที่เจอวิกฤติ โต้ตอบสื่อมวลชน เรื่องสีหน้าก็สำคัญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ แต่เป็นคนวางแผนดีมีการเตรียมพร้อมในการทำงาน

การจัดลำดับทุนทำให้เข้าใจว่าอะไรมาก่อนหรือหลัง

กลุ่ม 1

8K’s และ 5K’s เป็น Guidelines ที่จุดประกาย

กลุ่ม 2

1.วิเคราะห์ข้อดีของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และจะนำมาใช้ได้อย่างไรในยุค 4.0

2.วิเคราะห์ข้อเสียทฤษฎี 8K’s และ 5K’s มีจุดอ่อนอะไรบ้างและจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

8K’s คือพื้นฐาน ถ้าจะติดวิทยายุทธ์เพิ่มขึ้นก็ต้องต่อยอดด้วย 5K’s

ข้อดีคือ 8K’s และ 5K’s ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง แล้วต่อเนื่องไปยัง ครอบครัว กระจายไปสังคม จนสามารถแข่งกับต่างประเทศได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้ควรนำ 8K’s และ 5K’s ไปให้เยาวชนได้รับทราบ บางโรงเรียนยัดความรู้ที่ไม่

Relevance ต่อเด็ก มีการบ้านมาก

จะปลูกฝังแนว 8K’s และ 5K’s ในครอบครัวและให้สังคมอื่นได้อย่างไร

กลุ่ม 2

จะเกิดการพัฒนาตนแล้วขยายวงออกไปเรื่อยๆ

คนต้องผสมผสานการใช้ 8K’s และ 5K’s จึงไม่สามารถใส่เปอร์เซ็นต์ในการใช้แต่ละทุนได้ จริยธรรมสำคัญมากกว่าทุนอื่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจจะจับคู่จัดกลุ่มทุนให้ไปด้วยกัน

ทุนทางจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ต้องคู่กับนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มีคุณค่าต่อสังคม ในอดีตมีนวัตกรรมเพื่อความคอรัปชั่น

คานธีบอกว่า การเมืองแบบไม่มีหลักการก็ไม่ได้ การค้าขายโดยไม่มีสำนึกก็ไม่ได้

ถ้ากลุ่ม 1 อยากให้ 8K’s และ 5K’s กระชับ อาจจะใช้แนวสีจิ้นผิง เป็นแนวทางในการจัดกลุ่มให้กระชับ

กลุ่ม 2

อิตัลไทยประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญญา ความสุข แต่สังคมไม่ยอมรับ ตอนที่บริษัทแย่อยู่ประธานบริษัทก็ได้บริษัทมาร่วมทุน เมื่อได้ข้อมูลหุ้นใหญ่ก็นำข้อมูลมาใช้ทำให้หุ้นขึ้น 30 % ภายในอาทิตย์เดียว ถือเป็นมายา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในวงการการเงิน ถ้าไม่มีจริยธรรม ก็อยู่ไม่รอด

กลุ่ม 2

ทุกคนมี knowhow

อารมณ์สำคัญมาก จะบริหารสิ่งแวดล้อมอย่างไร นายกชวน หลีกภัยเป็นคนตั้งหลักก่อนโต้ตอบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องควบคุมอารมณ์ก่อน แล้วจะมีวิธีการตอบที่ดี ถ้ามีการควบคุมอารมณ์ที่ดี ก็ได้เปรียบคนอื่นในการดำเนินชีวิต

8K’s และ 5K’s ก็มีข้อเสีย คนพื้นฐานที่เกิดมาไม่เท่ากัน ทำอย่างไรให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ

เรื่องความยั่งยืน สังคมมีนโยบายประชานิยมเน้นระยะสั้นทำให้ไม่ให้ยั่งยืน

บางคนมีจริยธรรมในชีวิตแต่ไม่มีในอาชีพ นวัตกรรมบางอย่างทำให้คนอื่นเดือดร้อน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8K’s และ 5K’s ถูกกำหนดให้เป็นคุณสมบัติคนทำงาน ต้องทำให้สมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวและงาน คนประสบความสำเร็จต้องมีความสมดุลด้วย

ในเรื่องกีฬา ต้องดูนอกสนามว่า นักกีฬาทำอะไรเมื่ออยู่บ้าน มีความสมดุลชีวิตและงานหรือไม่

8K’s และ 5K’s ต้องเป็นองค์รวม

อาจารย์หมอ ม.อ. บอกว่า ต้องฟังความคิดเห็นอาจารย์จีระตอนที่ไม่คาดมาก่อน ซึ่งคนไทยไม่ค่อยมี คนไทยมักหยุดที่การฟัง ไม่มีการต่อยอด

คนต้องมีการคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ความแตกฉานสำคัญ

กลุ่ม 2

8K’s และ 5K’s ถ้าต่อยอดให้คนมีความรู้ ก็ยากเพราะคนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน

จากการอยู่ที่ต่างจังหวัด ชนบท ทำให้เห็นความแตกต่างของศีลธรรมและจริยธรรม ศีลธรรมคือศีล 5 แต่จริยธรรมรวมการทำงานด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Morality คือความถูกต้อง

กลุ่ม 2

เราให้ความรู้ได้เท่านั้น ในชีวิต บางคนก็เข้าบ่อน ยังมีจุดอ่อน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนที่เคยเป็นผู้ว่าก็ประยุกต์จาก 2R’s Reality

กลุ่ม 2

มนุษย์ก็มีความหลากหลาย สิ่งที่ให้ก็ไม่ใช่ตรงประเด็น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นการเริ่มต้นกระบวนการแบบ Chira Wayการเรียนแบบ 4L’s, Constructionism นำไปสู่ปัญญา

กลุ่ม 2

บางคนขาด Attitude มักทำเพื่อตนเอง ไม่ได้รักองค์กร

การแก้ไขข้อเสีย 8K’s และ 5K’s ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา และกับทุกกลุ่ม แล้วจะเป็นสังคมการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว อาจารย์จีระก็ได้รับโทรศัพท์มาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตที่มีอาจารย์มาเรียนปริญญาเอกกับอาจารย์จีระเชิญไปชุมชนบ้านม่าหนิก ในอำเภอถลางมีชลประทานอยู่ เชิญอาจารย์จีระไปบรรยายให้ชาวบ้านฟัง ถ้าคนมีโลกเปิด มีความตั้งใจแม้ไม่จบปริญญาเอก ก็ได้ทำ workshop เรื่องทุนมนุษย์ จริยธรรมและการทำงานเป็นทีม แล้ว 2 ปีต่อไป ชุมชนนี้ทำสิ่งประดิษฐ์คือสบู่และแชมพูกระเจี๊ยบเขียว ได้รางวัลจากสภาวิจัย กำลังจะจดสิทธิบัตร เขาได้ 2I’s เมืองไทยต้องมีจุดเล็กๆที่สามารถจุดประกายเขาให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง

เมื่อจุดอ่อน ต้องพูดความจริงกัน หนังสือ 8K’s ถ้าปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็มีส่วนดี 4L’s กระตุ้นให้คิด

กลุ่ม 2

ปัญหาไอที มีทุนเรื่องนี้เข้ามามาก ต่างจังหวัดใช้น้อยมาก ใช้ไอทีในทางไม่สร้างสรรค์ ไอทีเป็นทุนที่ดี แต่ใช้ไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร

ถ้าจะต่อยอดพื้นฐานทุนมนุษย์ ก็ต้องเกี่ยวข้องกับอีกหลายทุน เป็นสิ่งที่ต้องใช้

การพัฒนาบางอย่าง ต้องใช้เวลามาก สิ่งที่ให้หรือเกิดขึ้นในสังคมยังช้า ไม่เข้าเป้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้ได้ความรู้มาก ในห้องนี้มี 3V’s

ทุกคนได้มูลค่าเพิ่มแล้ว

Value Creation เริ่มมีความคิดสร้างสรรค์

Wisdom ไม่ได้เกิดจากทฤษฎีเท่านั้นแต่มาจากการนำไปประยุกต์กับความจริงด้วย

 

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 5

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

กลุ่ม 1

เริ่มด้วย การนำเสนอเส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์จีระ

ขั้นที่ 1 การตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขั้นที่ 2 มูลนิธิการพัฒนทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขั้นที่ 3 โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มประเทศแม่น้ำโขง

ขั้นที่ 4 APEC HRD Working Group

ขั้นที่ 5 แผนธุรกิจแห่งชาติ นำไปสู่ การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ

ขั้นที่ 6 APEC HRD Working Group

ขั้นที่ 7 สร้างสรรค์งาน “สื่อ” สร้างคุณภาพทุนมนุษย์

สรุปได้ว่า เส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์จีระนำความรู้ และ ประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม

ต่อมาหนังสือได้อธิบายทฤษฎี 8K’s พื้นฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ 8K’s มีรากฐานมาจาก Prof. Gary Becker ในเรื่อง Human Capital 

8K’s ประกอบด้วย

Human Capital                         ทุนมนุษย์

Intellectual Capital                 ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                         ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital                   ทุนแห่งความสุข

Social Capital                           ทุนทางสังคม

Sustainability Capital       ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                         ทุนทาง IT

Talented Capital             ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Human Capital มีรากฐานมาจาก Prof. Gary Becker โดยมีข้อแตกต่างจาก Human Capital ของอาจารย์จีระดังนี้

Prof. Gary Becker

อาจารย์จีระ

เน้นการทุ่มเงินไปพัฒนาคน ลงทุนการศึกษาให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา

มนุษย์ต้องมีสมรรถนะและทักษะในการทำงาน

Intellectual Capital แบ่งเป็น

1.การมองเชิงยุทธศาสตร์

2. เห็นอนาคต อันนี้ยังเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยเพราะระบบการศึกษายังขาดการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การคิดนอกกรอบและการคิดสร้างสรรค์

ถ้าจะทำให้เกิดทุนทางปัญญาต้องทำให้คิดเป็น โดยใช้เครื่องมือคือ

4L’s

1. Learning Methodology   มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2. Learning Environment    สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities   สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4. Learning Communities   สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2R’s

1. Reality - มองความจริง      

2. Relevance - ตรงประเด็น   เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับความต้องการที่แท้จริงในปัจจุบัน

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คิดดี ทำดี เพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะทำได้โดยมีศีล สมาธิ ปัญญา

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ควรมีความสมดุลในชีวิตและการงาน ชีวิตมีคุณค่า ใช้ชีวิตสอดคล้องกับงานที่ทำ เรื่องนี้สามารถนำไปทำวิทยานิพนธ์ได้ เรื่องนี้น่าสนใจโดยส่วนตัวแล้วมาจากสายกฎหมาย มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัท International Law Firm บริษัทกฎหมายไม่มีสินค้าอย่างอื่นนอกจากความรู้ ทำงานในบริษัทกฎหมายเป็นงานที่หนักมาก ล่าสุดมีบริษัท Weerawong ที่แตกออกมาจาก White & Case กำหนดนโยบายใหม่ว่าจะให้ทนายความลดชั่วโมงการทำงาน ชั่วโมงการทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะเข้างานเวลาใดก็ไม่สำคัญแต่ต้องทำงานครบวันละ 8 ชั่วโมง แล้วต้องมีผลงานดี

Social Capital ทุนทางสังคม ถ้าต้องการทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพก็ต้องมีเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงานเริ่มจากใกล้ตัวเรา ขยายออกไปให้กว้างขึ้นจะมีต้นทุนเครือข่ายที่น้อยที่สุด

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นศักยภาพการมองอนาคตเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนฐานความรู้คู่คุณธรรม จะทำให้พัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT จะต้องมีเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี การสื่อสารเข้าถึงลูกค้าได้มากและเร็ว มีการแบ่งปันข้อมูล และมีภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการหาความรู้จากเว็บไซต์ต่างประเทศก็จะนำไปสู่ Talented Capital

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ มีอัจฉริยภาพในตัว สามารถพัฒนาทักษะความรู้ของตัวเองตลอด และ พร้อมทำงานเชิงรุก

เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์เข้ามาก็จะมีอีก 5 ทุนที่มีความสำคัญ

5K’s ประกอบด้วย

Creativity Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

Knowledge Capital ทุนทางความรู้ มาจาก 2R’s เปลี่ยน Data เป็น Information และไปยัง Knowledge ได้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ ต้องระวัง Overlearning ข้อมูลมากเกินไป

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม ความสามารถในการทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ และ มีคุณค่า

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของนวัตกรรมที่เป็นรากฐานของการดำรงชีวิตมนุษย์

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ การรู้จักควบคุมอารมณ์ และ มีภาวะผู้นำ

เมื่อ 8K’s + 5K’s กลายเป็นการสร้างทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์

                เมื่อ 8K’s + 5K’s มาประสานกับ AEC

                1. ความเข้าใจใน AEC ว่า AEC ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียวแต่มีแรงงานมาเกี่ยวข้องด้วย

2. รู้ขีดความสามารถในการแข่งขัน

3. รู้ช่องว่างประชาคมอาเซียน

4. บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก แล้วนำ 8K’s+5K’s ปรับจุดอ่อนของทรัพยากรมนุษย์ให้ประเทศอยู่รอดและแข่งขันกับโลกภายนอกได้

นอกจากนี้ ต้องกลับมาดูอุปสรรคในการพัฒนาทุนมนุษย์

1. ในอดีต แผนพัฒนาเศรษฐกิจเดิมไม่มีการพัฒนาทุนมนุษย์ หน่วยงานที่เกี่ยวกับกับการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ต้องทำงานแบบบูรณาการสร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

2. นโยบายการศึกษา และ ค่านิยมให้ความสำคัญกับ “คุณภาพมนุษย์” สายอาชีพ              

3. เอาชนะความไม่ใฝ่รู้ โดย 4L’s 2R’s 2I’s เพื่อนำไปสู่ชุมชนการเรียนรู้ได้

มุมมองนักคิดเรื่อง AEC+ทุนมนุษย์

นักคิด

มุมมอง

อาจารย์สมชาย

ยกระดับขีดความสามารถมนุษย์ = Cultural, Digital, Innovative Capital

คุณดนัย

White Ocean = Ethical Capital

ความยั่งยืน = Sustainable Capital

ม.ล.ชาญโชติ

การจัดการให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืน โดดเด่นเหนือคู่แข่ง ไม่เสียเอกลักษณ์ พัฒนาเรื่องภาษา = 8K’s+5K’s

คุณฉัตรชัย

ทุนมนุษย์ภาคบริการ รวมจุดแข็งเป็น package = prompt to ASEAN = 8K’s+5K’s

ดร.รัชดา

Team Thailand ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในทุกองคาพยพ = Social Capital

คุณสุดใจ

สร้างวัฒนธรรมการอ่านเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ = Intellectual, Knowledge Capital

จุดกำเนิด 8K’s + 5K’s

ด้าน

ตัวอย่าง

ครอบครัว

มีต้นแบบ

การศึกษา

ได้รับการศึกษาที่ดีทำให้มีวิสัยทัศน์ มองโลกกว้าง เรียนรู้จากความจริง

กีฬา

ดูกีฬาเชิงวิเคราะห์

การทำงาน

การทดสอบความรู้

                2R’s

                3L’s

สมาธิ

ทบทวนเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความใฝ่รู้

การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด เกิดจากการอ่าน และ การสนทนากับผู้รู้

 

ลูกศิษย์นำไปใช้

1. การนำแนวคิด Digital Capital พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสายอาชีวะ

2. การยกระดับการแข่งขันของประเทศในระดับประชาคม และ ระดับโลกโดยใช้ 8K’s 5K’s

3. การนำเสนอ Happiness Capital ในระดับนานาชาติ

4. ความรู้เรื่อง คน = Core ขององค์กร

5. การบริหารธุรกิจโดยใช้ 8K’s และ 5K’s เพื่อขจัดจุดอ่อนก่อนเข้าสู่ AEC

6. การใช้ 4L’s ในภาคปฏิบัติ

ทุนมนุษย์ไทย และ AEC ต้องพัฒนา “ทุนมนุษย์” โดยให้ความรู้โดย

1.เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน

2.สำรวจตนเอง องค์กร ชุมชน สังคม ในด้านโอกาส ความเสี่ยงและภูมิคุ้มกัน

3.เร่งพัฒนาทุนมนุษย์ = 8K’s+5K’s

4.ช่วยครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม และ ประเทศให้พัฒนาโดยผ่านกระบวนการศึกษา สำรวจ ทำ เอาชนะอุปสรรค วัดผลแล้วทำอย่างต่อเนื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรรวมพลัง กลุ่มนี้สรุปได้ดี ในอดีตไม่เคยให้อ่านหนังสือ 8K’s แล้วนำเสนอ

หนังสือเล่มนี้ทำให้รู้จักความคิดอาจารย์จีระ รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ได้ทำ

อาจารย์จีระกล้าที่จะมีแนวคิดของตัวเอง 8K’s 5K’s เป็นเอกสารที่ไม่ใช่หนังสือมาตั้งแต่รุ่น 1-8

กระทรวงพาณิชย์เชิญอาจารย์จีระเป็นประธานอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ จึงคิดนำ 8K’s+5K’s มาใช้ในวงการธุรกิจ

วันนี้ควรคุยกันลึกๆ ว่า ที่อ่านหนังสือมีแก่นอะไร

อาจารย์จีระมีแนวคิดที่ดีจากพื้นฐานเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนี้เรียนนวัตกรรมจึงมีเหตุผล อธิบายได้ เบื้องหลังคืออะไร คุณพิชญ์ภูรีคิดเป็น คนคิดเป็นไม่จำเป็นต้องเรียนมาก คิดเป็นคือต้องรู้ว่าในโลกมีตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ อยู่ในสมมติฐาน ซึ่งอาจเกิดจากทฤษฎีหรือความจริงที่เกิดเป็นประจำ เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ ราคาสินค้าเพิ่ม ปริมาณการใช้สินค้านั้นลดลง อาจใช้อันนี้เป็นสมมติฐาน แล้วทดสอบมัน ควรมีสมมติฐานหลัก 1 อัน

การอ่านหนังสือเป็นการค้นหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ควรต่อยอดจากการทบทวนวรรณกรรม

สิ่งสำคัญต้องมี 2R’s ปะทะกับความจริงให้มาก อาจารย์ต้องออกไปเจอลูกค้าที่นอกเหนือจากนักศึกษา

ตอนที่เรียนต่างประเทศ ข้อสอบไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง ทำให้ได้คิด ในโลกความจริง คำตอบขึ้นอยู่กับสมมติฐาน ต้องตีโจทย์ให้แตก วิทยานิพนธ์อาจารย์จีระได้ความคิดมาจากเบน โมรัม และจากการอ่านหนังสือ เวลาทำ coursework ก็จะรู้จักอาจารย์หลายคน แล้วนำความฉลาดของแต่ละคนที่พบมาผสมผสานกันเป็นความฉลาดของตนเองแล้วจะค้นพบหัวข้อวิทยานิพนธ์ ในการเขียนวิทยานิพนธ์ต้องตั้งสมมติฐาน มีตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ บางครั้งมีตัวแปรอิสระมาก วิทยานิพน์มหาวิทยาลัยรามคำแหงกำหนดทุนแห่งความสุขผ่านความผูกพันในองค์กร ทุนแห่งความสุขต้องไปอยู่ที่ผลประกอบการด้วย บางครั้งคนทำงานมากก็ฆ่าตัวตายถ้าไม่สมดุลในชีวิต

ต้องวิเคราะห์ความสำเร็จอาจารย์จีระให้ออก 5 ปีที่แล้วก็ฝึกคนระดับ Ph.D. ถ้าสอนตามตำรา ก็ไม่ได้ คนเหล่านี้มีความสามารถแล้ว แต่เน้น learning how to learn กระตุ้นให้คนเป็นเลิศ

ทุนทางปัญญา ทำให้แก้ปัญหา วิเคราะห์เป็น มองอนาคต การศึกษาต้องสอนให้เด็กคิดเป็นและได้อะไร 2 อย่าง ขอให้นักศึกษาคิดถึง Contribution ของอาจารย์จีระต่อนักศึกษา ไม่ใช่เหมือนแค่ที่ฮาร์วาร์ด แต่อาจจะมากกว่านั้น อะไรที่แตกต่างจากคนอื่น ยิงเข้า DNA อย่างไร รุ่นนี้น่าจะขยายผลจากหนังสือ 8K’s

ถ้าเราใช้เศรษฐศาสตร์ทุกเรื่อง ก็จะได้ความจริงไม่ต่ำกว่า 50% จึงต้องมี 8K’s 5K’s ในโลกตะวันตก ใส่เงินในการศึกษามาก ครูดี แต่ในเมืองไทย บางครั้งเรียนมากก็ไม่ได้ประโยชน์ บางคนเรียนโรงเรียนนานาชาติเพราะทำให้คิดเป็นวิเคราะห์เป็น นักเศรษฐศาสตร์วัดทุกอย่างด้วยวัตถุ แต่คนที่ได้รางวัลโนเบลในรอบ 10 ปี เป็นเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม วัดโดย intangible ก็ได้

 

กลุ่ม 1

Prof. Gary Becker

อาจารย์จีระ

เน้น Market Drive approach

ผสานระหว่าง “การลงทุน” และ ความรู้สึก

                Happiness

                Emotion

                Ethics

มุ่งใส่เม็ดเงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาการศึกษา

เน้นความสำคัญเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม

                Culture

                Network

 

จุดปรับปรุง

การผสาน 8k’s และ 5k’s โดยรวมสิ่งที่สามารถนำมารวมกัน หรือ group เป็นกลุ่มเดียวกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

จุดที่ควรเพิ่มเติม

Core Value (หลักยึดเหนี่ยวจิตใจที่ไม่ใช่ศาสนา)

Growth Mindset (กรอบความคิดที่ไม่ยึดติด)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นี่เป็น contribution ของรุ่นนี้

กลุ่ม 1

ความรู้ และ intelligence รวมกันได้ ส่วนทุนอื่นๆก็รวมกันเองได้

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

ควรมีการสัมภาษณ์เชิงลึกคนเก่ง Expert Opinion Survey เป็นวิธีการที่ดีมาก ทำให้รู้จักคนเก่ง

ไม่ขัดข้องเรื่อง core value เป็นประโยชน์มาก

                4 เรื่องนี้สำคัญ

1.Mindset

2.Attitude

3. Habit

4. Belief

4 เรื่องนี้เกี่ยวกัน Growth คือพร้อมเรียนรู้ Mindset เปลี่ยนได้จากการเรียนรู้

Mindset เป็นที่ 1

Attitude ผลของ Mindset

Habit อยู่ตรงไหนก็ได้

Belief มาจาก Mindset และ Attitude

คนจะเปลี่ยนพฤติกรรมต้องเปลี่ยน Mindset ก่อนเพราะเกิดขึ้นมาตั้งแต่ครอบครัว

 กลุ่ม 1

กรณี weerawong Wonderful ways เป็นบริษัทกฎหมายคิดเป็นเงินเป็นทอง Turnover สูงด้วยปัญหาสุขภาพ ครอบครัว บริษัทกฎหมายมีวิธีคิดใหม่ให้ทำงานที่บ้านได้ ตรงทุนทางความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้มีการหารือ แนวโน้มการทำงานในอนาคต คือ ทำที่ใดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีวินัย คนสิงคโปร์บ้างานไม่มีความสุข แต่มีความสุขเวลามาเที่ยวเมืองไทยแล้วกลับไปทำงานที่เครียดต่อ

ล่าสุดมีหนังสือออกมาว่า performance อันตราย ต้องวัดโดยคิดถึงด้านความสุขด้วย

ก่อนเรียนจบควรรู้ 2-3 ประเด็นกระเด้งมาจากชั้นเรียน

ผู้นำคนใดไม่มีจริยธรรม ปัญญาและความสุข ก็ไม่ควรไปสู่นวัตกรรม คอรัปชั่นคือนวัตกรรมเชิงลบ

ก่อน 8K’s 5K’s มีหนังสือ Intellectual Capital เขียนโดยฝรั่ง Happiness ฝรั่งเน้นแค่ Happy Workplace ต่างจาก Happy at Work สิงคโปร์กังวลว่า คนที่เป็น Talent อ่อนเรื่องทัศนคติ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เคยเสนอให้มีทุนทางสุขภาพ แต่อาจารย์จีระบอกว่าอยู่ในทุนแห่งความสุข

อาจารย์จีระเคยไปสอนคณะแพทย์ ม.อ. ระดับผู้บริหาร เขามีปัญหาบุคลากรลาออก เพราะงานเครียด ติดเชื้อ

คณะแพทย์ ม.อ.กำลังวิเคราะห์งานวิจัยทำอย่างไรให้คนอยู่กับองค์กรนานๆ อาจารย์จีระสอนทุนแห่งความสุข Happy at work สำคัญเกิดใน Mindset ถ้าคนไม่มี ก็ต้องหาเครื่องมือเสริมความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Happiness ต้องคิดถึง

1. Passion ชอบงานที่ทำ

2. Purpose ต้องมีความสูงส่ง ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น อีลอน มัสก์เป็นผู้นำที่มีเป้าหมายสูงส่ง ไป space industry เพราะโลกจะมีทรัพยากรไม่พอ คิดว่าชีวิตต้อง collaborative ทุกเรื่องคิด simple แต่จะไป space industry เขาบอกว่า เขาจะดูแลคนทำงานเอง แล้วให้ทำงานที่เหมาะสม มี job description ถ้าทำงานนั้นไม่สำเร็จ ก็ต้องให้คนอื่นทำ

3. Meaning ทำแล้วมีความหมายต่อผู้อื่น แนวโน้มของโลกมาทาง internal happiness

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

8K’s มาก่อน

ยุคนี้มีความกดดันมาก ทุนทางอารมณ์สำคัญทำให้มีสติในการตัดสินใจทำอะไร

ฝรั่งค้นพบว่า คนจะมีความคิดสร้างสรรค์ต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เช่นเปลี่ยนจากการซื้อของจากในซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นตลาดสด

ความสุขในใจเป็นความสุขที่แท้ ทำให้คนกระตือรือร้น

ทฤษฎีคนไทยก็ใช้ได้ เหมาะสมกับประเทศไทย Bloomberg วิเคราะห์แล้วพบว่า ประเทศไทยมีความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เขียนเรื่องทุนทางอารมณ์เพราะตอนหนุ่มก็ใจร้อน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คนเราต้องลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ ทุกคนมีสิทธิ์จะคิดเรื่องทุนต่างๆเพิ่มเติมจาก 8K’s และ 5K’s

ฝรั่งบอกว่า ยุคนี้ต้องเติมไฟ เติมความรู้แล้วต้องนำไปจุดประกายทำให้สำเร็จ

8K’s และ 5K’s วิเคราะห์ตัวตนของคน

ควรทำวิจัยเด็ก Gen Y ว่ามีเป้าหมายในชีวิตอย่างไร แล้วจัดระบบการทำงานให้เหมาะสม

ควรหาคนประสานกับคนรุ่นใหม่

เวลาที่คนออกจากองค์กรแบบจากกันด้วยดี ก็จะนำโครงการมาให้องค์กรเดิมด้วย

ต้องทำให้คนรุ่นใหม่มีความภาคภูมิใจที่อยู่ในองค์กร

ต้องวางแผนถ้าคนหนึ่งลาออก จะฝึกคนแบบใดขึ้นมาทดแทน

บางครั้งคนลาออกไปแล้ว ก็ต้อง outsource มาได้

ยุคปัจจุบัน ก็ทำงานเป็น alliance กันได้

ควรทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง Gen Y

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอบคุณการวิจารณ์หนังสือครั้งนี้

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาความสุข ต้องนำไปปฏิบัติ ต้องเป็นของวัดได้จริง การพูดเรื่องทุนแห่งความสุขต้องเน้น การนำไปปฏิบัติไม่ใช่นามธรรม   ทุนแห่งความสุขต้อง Authentic คือเป็นของแท้ไม่ใช่จอมปลอม และอยู่อย่างยั่งยืน

Happiness Capital ไม่ใช่แนวคิดแบบก้อน ๆ จะต้องเน้นเปรียบเทียบจาก Happy มาเป็น Happier หรือ เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ  Relative Happiness Capital     

การมีทุนแห่งความสุข เป็นจุดเริ่มต้น คือ จำเป็น แต่เป็นสิ่งที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆ เช่น มี Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ต้องทำให้สำเร็จ               คล้ายกับทฤษฎี Fact หรือ Feeling แต่การมี Happiness อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Strategy ต้องมี Data ด้วย จึงไปสู่ความสำเร็จ 

การเรียนรู้เรื่องทุนแห่งความสุขมีความสำคัญ..ที่มหาวิทยาลัย Harvard เริ่มหลักสูตรนี้ เมื่อ 1998 ปัจจุบัน เด็ก Harvard ทั้งมหาวิทยาลัย กว่า 20 %  ลงทะเบียนเรียน

Concept: ทุนแห่งความสุข

(1) แนวคิดทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) ความสุขเป็นเป้าหมาย แต่ต้องมีพฤติกรรมไปสู่ความสุขนั้น

ในทฤษฎี 8K’s  Happiness Capital ได้มาจากตัวอาจารย์จีระเองที่ทำงานมาก แต่ขาดความสุขในการทำงาน จนกระทั่งช่วง 10 ปีที่แล้วจึงได้วิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญของทุกคน

(2) ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace” ซึ่งในการสำรวจวรรณกรรม 95% เน้น Happy Workplace ซึ่งหมายความว่า Unit of Analysis จะเป็นองค์กร คือ CEO+HR สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข แต่ Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน

(3) เพื่อให้เกิด Outcome หรือ Impact ต่อองค์กร การมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้นำต้องทำให้เขามีบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace ด้วย ก็จะเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++”

แต่ก็ยังมีสถานการณ์แบบที่ 2 คือ มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่ไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ +-” ซึ่งก็จะทำให้ Impact ที่ได้น้อยลง

และสถานการณ์แบบที่ 3 คือไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่องค์กรพยายามสร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ -+” ซึ่งก็ทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงเช่นกัน

และสถานการณ์แบบสุดท้ายซึ่งแย่ที่สุด คือ ไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานและองค์กรก็ไม่สร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ --” ซึ่งก็ทำให้เกิด Impact ด้านลบมากมาย

(4) ปัจจุบันมีการนำเอาแนวคิดของผมไปทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมากขึ้น โดยให้ Human Capital เป็นตัวแปรตาม (Dependence Variable) ซึ่งต้องหาปัจจัยที่ทำให้ทุนแห่งความสุขสูงขึ้น เช่น ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน 

ซึ่งถ้าจะมีการวิจัยก็ต้องสำรวจ ทำ Questionnaires ขึ้นมา

Happiness Capital (Dr. Chira Hongladarom’s Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

               อาจนำกฎนี้ไปให้เด็กใช้ก็ได้

อาจารย์จีระได้เขียนแนวทางการสร้างทุนแห่งความสุข (แสดง 2 ตาราง)

              ตารางหนึ่งเป็นวิธีคิดจากประสบการณ์ของอาจารย์จีระในช่วงเวลากว่า 30 ปี และอีกตารางหนึ่งท่านได้ปรับปรุงจากแนวคิดของDr.Timothy Sharp นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลียที่สนใจเรื่องความสุข หรือ Happiness ผู้เขียนหนังสือ เรื่อง 100 Ways to Happiness. (A guide for busy people)

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขแบบ (Sharp/Hongladarom’s Model)

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom’s Model)

Happiness Capital

 (Sharp/Hongladarom’s Model)

1.สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม  (Healthy)

2.ชอบงานที่ทำ (Passion)

3.รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4.รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5.มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ

(Capability)

6.เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา

(Learning)

7.เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8.ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9.ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม

(Coaching)

10.ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11.ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)

2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

(Put down your burden)

3.ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

(Communicate Effectively)

4.ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

(Recognize your strengths)

5.มุ่งมั่นในงาน (Keep Focus)

6.ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

(Reduce the ‘shoulds’)

7.ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล(Overcome worry and stress)

9.บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

(Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

(Create good environment)

ส่วนงานวิจัยอีกแนวหนึ่งก็จะทำให้ Happiness Capital เป็นตัวแปรอิสระ เพื่อวัด Outcome ขององค์กร ซึ่งเทรนด์ล่าสุด คือ การวัด 3 V ประกอบด้วย

Value added

Value Creation

Value Diversity

ทฤษฎี 8 H ของคุณหญิงทิพาวดี..ก็เน้นความสุข

8 H

8 K

•                   Heritage

•                   Home

•                   Hand

•                   Head

•                   Heart

•                   Happiness

•                   Harmony

•                   Health

Human Capital     

Intellectual Capital           

Ethical Capital   

Happiness Capital

Social Capital                     

Sustainability Capital

Digital Capital   

Talented Capital

 

 

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9  เป้าหมาย คือ ความสุขและความสมดุลของชีวิต

หนังสือ Tal Ben-Shahar มีประเด็นดีมาก การทำงานที่เน้นทุนแห่งความสุขไว้ 3 - 4 เรื่อง 

  • ทุนความสุข เกิดจากงานที่ทำใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่
  • งานที่ทำ อย่าให้ทำเป็นท่อน ๆ ให้เข้าใจ Process ตลอด
  • งานที่ทำต้องมี Impact ต่อคนอื่น
  • และสุดท้าย..การทำงานอย่างมีความสุขต้องถามตัวเองว่า เวลาทำงานต้องการเน้นเรื่องอะไร?
    • Job (งาน)/Career(อาชีพ)/Calling (ความปรารถนา ทำแบบสุดฝีมือ แบบทิ้งมรดกไว้)

อาจารย์จีระต้องเปลี่ยนจากการเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาชีพมาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมูลค่ายังไม่สูงเท่าทุกวันนี้ เพราะคนไม่เห็นความสำคัญ

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

1. ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด

2. ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น  ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย 

3. ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง 

4. มองโลกในแง่ดี (Optimism) 

5. มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น

6.ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7.ไม่ค่อยจะป่วย

8.สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

9.มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ

10.ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

ล่าสุด.. หนังสือ เรื่อง How To Be Happy ของ Liggy Webb เปรียบเทียบกับตารางของ ดร.จีระ

ทุนแห่งความสุข มี 5 ข้อที่สำคัญ คือ

1.ต้องมีความมั่นใจในตัวเอง (Self Confidence)

2.ทำงานไป..แต่ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ด้วย (Eager to learn from work)

3.มีทัศนคติที่เน้นความกตัญญู (Gratitude) ต่อผู้ร่วมงานและผู้บริหาร

4.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน (Healthy Relations)

แนวทาง 5 K’s คือ ใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด

ดังนั้น ตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องมีความสามารถและจะต้องทำงานร่วมกันกลุ่มแรก คือ CEO – ต้องเป็นคนที่มีความสุขด้วยไม่ใช่เป็น “Unhappy CEO” ก็คงไม่มีใครอยากทำงานด้วย แต่มี “Happy CEO” ก็ไม่พอต้องมี “Smart and Happy CEO” คือ รู้จักใช้ศักยภาพของเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ เช่น

มอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย)

ลดการขัดแย้งในองค์กร

ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้

กลุ่มที่ 2 คือ HR นอกจาก Smart HR แล้วในองค์กรยังต้องมี Smart and Happy HR” บุคคลที่ทำงานกับ Happy People ในองค์กรก็ต้องรู้จัก “ทุนแห่งความสุข” ดี

กลุ่มสุดท้าย คือ Line Managers หรือ Non-HR ก็คงจะต้องเน้นความสามารถในการบริหารพนักงานให้เปลี่ยนจาก สุขน้อย เป็น สุขมาก” หรือ “มีความสุขแล้วได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเต็มที่”

สรุป

คำว่า งาน หรือ Work ภาษา Hebrew แปลว่า Slave คนไทยส่วนมากจะเป็นทาสของงาน  อย่าให้งานมากำหนดชะตาชีวิตเรา  เราต้องกำหนดทางเลือกของอนาคต    

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ที่อาจารย์จีระไปสอนคณะแพทย์ ก็มีวิชาความสุขในองค์กร จึงเชิญอาจารย์จากมหิดลสอน happynometer วัดความสุข อาจารย์จีระสอน happy at work คณะแพทย์คิดว่า happynometer ไม่พอที่จะดึงดูดคนในองค์กรจึงทำตารางใหม่ว่า คณะแพทย์ ม.อ.มีอะไรดึงดูดคนทำงานได้ ชื่อ magneto meter ถือเป็นแรงบันดาลใจ

เราต้องรู้กระบวนการทั้งหมด แต่ไม่ต้องทำเอง นำข้อมูลป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์

สร้างแรงบันดาลใจและตั้งคำถาม จะทำให้เก่งขึ้น

magneto meter ต้องมีการเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆเพื่อค้นหาปัจจัยที่ทำให้คนออกจากงานจะได้แก้ปัญหา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จุดแข็งของ happiness capital ของดร.จีระคือการค้นหาตัวเอง

คนที่เรียนปริญญาเอกควรนำความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องนี้ถูกใส่เข้าไปทุกเรื่อง

การทำสวนน้ำต้องศึกษาให้กว้าง เช่น คิดแบบ Theme Park แม้จะทำเล็กๆในไทยก็ตาม

ต้องมีความช่างสังเกต คิดแล้วต่อยอดไปใช้เรื่องอื่นๆ ดุษฎีนิพนธ์ควรจะเป็นเรื่องที่ยังเป็นปัญหาในใจ

กรมพระยานราธิป “กลึงเข้าไปแล้วระเหยมาเป็นเหงื่อ” ไม่ว่าจะทำอะไรมีแนวคิดดีก็ใส่เข้าไป ก็ออกมาเป็นงานของเรา

อาจเสนอบางงานให้มหาวิทยาลัยทำวิจัยก็ได้ แต่ทุกเรื่องต้องทำเกี่ยวข้องกับเรื่องคน

เวลาทำงานถ้าทำเป็นเครือข่าย จะดีที่สุด ได้งาน ความรักและ CSR ถ้าบริหารเครือข่ายดี

กรณีศึกษากฟผ. อาจารย์จีระมีลูกศิษย์เป็นผู้ใหญ่บ้านและชุมชน ตามปกติชุมชนสีเขียวไม่ชอบการไฟฟ้าอยู่แล้ว อาจารย์จีระนำชุมชนเกาะพิทักษ์มาคุยกับกฟผ. เขาก็จะเจรจากับชุมชนได้ ทำให้เห็นประโยชน์ของ social capital

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณที่กล้าวิจารณ์หนังสือ ทำให้เกิดประโยชน์มาก ขอให้ทุกคนกลับไปเขียนใน blog ว่าได้ประโยชน์อะไร

อาทิตย์หน้า ก็วิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เป็นเรื่องของอธิการธรรมศาสตร์ 4 คน ท่านว.วชิรเมธีช่วยวิเคราะห์ทุกครั้ง ใช้เวลาเกือบ 3 ปีกว่าจะเสร็จ

แล้วอาจารย์จะสอนเรื่องทุนทางสังคม networking ต้องทำแล้วมีประโยชน์ แล้วจะวิจารณ์หนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งกล่าวถึงความหมาย Relevance แล้วจะวิจารณ์ Harvard 2 ครั้ง แล้วสอบ

ในอนาคตอาจจะทำหนังสือด้านทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางอารมณ์

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 6

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การสอบ

1. ระยะเวลาในการสอบ 1 ชั่วโมงครึ่ง

2. จะมีแนวข้อสอบให้เตรียมตัวข้อสอบ 8-10 ข้อ

3. หัวข้อที่จะสอบ

3.1 เน้น Macro มากหน่อย 40% ของ Micro

3.2 นำทุนมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม โดยเป็น Input หลักสูตรนี้ต้องการทำให้ทุนมนุษย์มีประโยชน์ในการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้น นวัตกรรมเป็นตัวแปรอิสระ ทุนมนุษย์เป็นตัวแปรตาม

3.3 ส่วนประกอบทุนมนุษย์

3.3.1 มองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ Micro ต้องรู้ HR Architecture

ตัวอย่างเรื่องระดับ Macro มีการจ้างงานซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ตอนที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี มีฐานเสียงคือคนทำงานในอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียม เมื่อมีการค้าเสรี คือมีภาษีศุลกากรเป็น 0 การขาดดุลการค้าไม่ใช่เรื่องเสียหาย แค่แสดงว่าเป็นการขายมากหรือขายน้อย การที่มองว่า การขาดดุลการค้าเป็นเรื่องเสียหายถือเป็นทฤษฎีสมัยเก่า คือ Mercantilism หมายถึง ถ้าประเทศใดส่งสินค้าไปขายยังประเทศอื่นแล้วมี Balance of Trade Surplus คือกำไร เช่น ไทยส่งสินค้าไปขายที่อินโดนีเซียได้กำไร แม้อินโดนีเซียขาดดุลการค้าแต่ก็นำสินค้านั้นไปเป็นปัจจัยการผลิตต่อ ถ้าไม่มีภาษี ก็ทำให้ Input ของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ Production Function ของประเทศเหล่านั้นมีประสิทธิภาพแล้วเกิดการจ้างงานสูงขึ้น การที่ทรัมป์คิดแต่อุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐอเมริกา เมื่อตั้งกำแพงภาษี ก็แสดงว่า อุตสาหกรรมนั้นมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ก็มีปัญหาคือ เหล็กไม่ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ แต่เป็นวัตถุดิบผลิตสิ่งต่างๆ การจ้างงานจึงไม่ทดแทนตรง 1 ต่อ 1 แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น พบว่า การจ้างงานโดยตรงของอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น 20% แต่การจ้างงานอ้อมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ลดลง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะคิดว่า Tariff มีผลต่อเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามา แต่อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนราคาแพงก็เป็นต้นทุนการผลิตของธุรกิจอื่น

ดังนั้นต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า การจ้างงานเกิดขึ้นหรือลดลง ถ้าเป็นการจ้างงานโดยตรงก็จะมีปัญหา จะมีเรื่องเกี่ยวกับภาษีนำเข้า ต้องมองอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบเหล่านั้น เมื่อต้นทุนแพงขึ้น ก็จ้างงานลดลง การค้าระหว่างประเทศมีผลหลายด้านโดยเฉพาะการจ้างงาน

จะมีการวิจารณ์ว่า แรงงานต่างด้าว และสังคมผู้สูงอายุจะอยู่ตรงไหนใน HR Architecture เมื่อแบ่งโครงสร้างอายุ ทำให้ศึกษา HR Architecture ชัดเจนขึ้น กรมอนามัยมีทฤษฎี Miracle 1,000 วัน ควรจะมีการดูแลเรื่องสมองตั้งแต่เด็ก แต่อบจ. อบต.ต่างจังหวัดจะไม่ได้ดูแลทรัพยากรมนุษย์ในวัยเด็ก บางคนขาดสารอาหารและไอโอดีน จึงจะมีปัญหาด้านสมองในอนาคต

อาจารย์จีระได้แนะนำให้อาจารย์จากมหิดลทำวิจัยเรื่อง สุขภาพและทุนมนุษย์มากๆ

3.3.2 ระดับ Micro

3.3.2.1 ปลูก (HRD) ทำทุกช่วงเวลา ตั้งแต่เกิด เข้าโรงเรียน ทำงาน มี lifelong learning

3.3.2.2 เก็บเกี่ยว ทฤษฎี 3 วงกลม

3.3.2.3 เอาชนะอุปสรรค คือ Execution ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำเล็กๆ ชนะเล็กๆ ก่อน

3.4 Happiness Capital

3.5 8K’s 5K’s คือ Micro จำเป็นอยู่ ควรมองนวัตกรรมให้กว้างขึ้น อย่ามองแค่ระดับองค์กร

3.6 สิ่งที่มาแรงมากคือความสัมพันธ์ระหว่างคนในวัยต่างกัน

3.7 เราได้เคยพูดถึงเรื่องปฏิรูปการศึกษา สิ่งสำคัญคือ ปฏิรูป Mindset จะเรียงสี่ข้อนี้อย่างไร

3.7.1 Mindset

3.7.2 Attitude

3.7.3 Habit

3.7.4 Belief

ตามความเห็นของอาจารย์จีระ Mindset มาเป็นอันดับที่หนึ่ง Attitude เป็นผลจาก Mindset แต่ Mindset เปลี่ยนได้

เนื้อหา

นโยบายรัฐเรื่องไทยนิยม ส่งคน 7 พันกว่าทีมเข้าไปในหมู่บ้าน อาจารย์จีระเสนอที่จะเข้าไปเสริม โดยจะสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ต่างจังหวัด ถ้าให้ 7 พันทีมใช้ 4L’s ก็ดี กระตุ้นให้คิด ปะทะกันทางปัญญา สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ นักวิชาการที่ดีควรจะเข้าไปเสริมรัฐบาล ควรนำภูมิปัญญาชาวบ้านขึ้นมาต่อยอดให้เป็นประโยชน์ก็จะได้เรียนรู้ขึ้นมา อาจารย์จีระสร้าง Platform กระตุ้นให้คนเป็นเลิศ อาจจะทำวิทยานิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับชุมชนก็ได้

การนำเสนอหนังสือ 8K’s

กลุ่ม 2

1. รากของ Becker เหมือนและแตกต่างจาก 8K’s และ 5K’s อย่างไร

Becker เน้น

1.การลงทุนการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัวซึ่งทำให้เกิดคุณภาพของทุนมนุษย์ 2.เน้นเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ในการวัดระดับการศึกษา คนมีระดับการศึกษาสูงมีรายได้มากกว่า แต่ปัจจุบันคนไม่จบปริญญาก็มีรายได้สูงได้ เช่น Bill Gates หรือ Steve Jobs

สิ่งที่ Becker ตรงกับ 8K’s และ 5K’s

1.การสร้างทุนมนุษย์ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว ตรงกับทุนมนุษย์

2.การมีปัญญาไม่ใช่ปริญญา เช่น Bill Gates หรือ Steve Jobs หรือ Jack Ma  แม้ไม่จบปริญญา ก็สามารถสร้างรายได้ นำไปสู่ทุนทางปัญญา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยู่ที่วิธีเรียน learning how to learn คนมีเงินส่งลูกไปเรียนโรงเรียนนานาชาติ เรียนแล้วประยุกต์ มีกรณีศึกษาให้คิดวิเคราะห์เป็น ประเทศไทยยังสอนให้คนรู้ สอบได้ สอบมาก

50 ปีที่แล้ว ต้องวัดการลงทุนทุนมนุษย์ด้วยปริมาณ  สมัยนี้ นอกจากจำนวนปีที่เรียน ต้องมีวิธีการเรียนที่ดีด้วย ความแตกต่างคือ วิธีการ กระบวนการคืออะไร ไม่ใช่แค่ได้ปริญญาอีกใบ ถ้ากระทรวงศึกษานำหลัก Becker และอาจารย์จีระไปจับก็จะเกิดผลดี

ทุนมนุษย์จะต้องทันเหตุการณ์

แต่ก่อนคนคิดว่า ทุนทางวัฒนธรรมไม่ได้คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์เป็นตัวแม่ อีก 7K’s เป็นลูกมาก่อน 5K’s ทั้ง 7K’s และ 5K’s ต้องตอบโจทย์ทุนมนุษย์ด้วย

เราสร้างความคิดได้ตลอดเวลา  เกิดเป็นภูมิปัญญา

กลุ่ม 2

ประเด็นของดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าวถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจ การพัฒนาทุนมนุษย์ต้องมี work skill (ทักษะการทำงาน)  innovation skill (ทักษะการสร้างนวัตกรรม) และ life skill (ทักษะชีวิต) ทำให้ได้ white ocean ได้จาก 8K’s และ 5K’s ต้องมีจริยธรรม คือ มี ISR คนต้องมีคุณธรรมในการทำธุรกิจด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สีจิ้นผิงเป็นผู้นำจีนเน้น

1.คนจีนต้องปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอนและทายไม่ได้ เมื่อเกิดแล้ว ต้องจัดการมัน 

2.มนุษย์ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

3.ต้องการให้คนจีนเป็นมืออาชีพเพื่อปกป้องประเทศตน เป็นพลเมืองดี

กลุ่ม 2

Dr.Timothy Sharp กล่าวถึงวิธีทำงานให้มีความสุข ในทุกงานจะมีองค์ประกอบว่า ทำอย่างไรให้ทำงานอย่างมีความสุข ปัจจุบัน คนทำงานเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น 

อาจารย์จีระเน้นว่า ต้องทำตัวตัวเราให้มีความสุขก่อน เช่น การไม่โกรธ การมีสมาธิ การใช้หลักจริยธรรม ศีลธรรม เข้ามาในการทำงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องแยก happy workplace และ happy at work

ข้อเสียคือ ดร.จีระมองเรื่องงานมาก จึงไม่ได้ดูความสมดุลงานและชีวิต คนที่เล่นฟุตบอลสำเร็จ นอกสนามก็สำคัญ ถ้าเป็นไปได้น่าจะมีสมมติฐานระหว่าง happy at work and work-life balance ต้องนำ happy workplace (ตัวองค์กร) และ happy at work (บุคคล) มาเปรียบเทียบกัน

ดร.จีระเน้น P and M คือ

Passion ทำงานแบบมีความสุข หลงใหลในการทำงานนั้น

Purpose เป้าหมายการทำงานเป็นเป้าหมายที่สูง เช่น Elon Musk, Steve Job

Meaning แต่ก่อนคนดูถูกอาจารย์มหาวิทยาลัยและข้าราชการ แต่คนเหล่านี้ทำงานที่มีความหมายและคุณค่า

ข้อดีของกลุ่มนี้คือจับประเด็นมาให้ฟัง

ควรศึกษา Becker และดูทฤษฎีอาจารย์จีระ K2-8 ทำไมคนที่ไม่ได้เรียนมีรายได้สูง การเรียนยุคใหม่ต้องเป็นแบบนิเวศวิทยา เรียนที่ไหนอย่างไรก็ได้

คนจบสแตนฟอร์ดต้องสร้างความคิดใหม่แล้วนำไปประยุกต์กับความจริง ทุกอย่างอยู่ที่โลกแห่งความจริง 2R’s จึงสำคัญ

หนังสือเล่มต่อไปที่จะอ่านคือ Relevance

2. 8K’s และ 5K’s มีคุณค่าต่อทุนมนุษย์อย่างไรบ้าง อธิบายที่เป็นจุดแข็ง

กลุ่ม 2

1.สร้างโอกาส

2.ความเสี่ยง

3.หาวิธีป้องกัน

4. 8K’s และ 5K’s ช่วยขยายไปสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องนี้ควรเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ ถ้าคิดถึงประโยชน์ของ 8K’s และ 5K’s

ยุคต่อไป วิศวกรกฟผ.ต้องคิดเรื่องชุมชน ยกย่องให้เกียรติชาวบ้าน สร้างชุมชนการเรียนรู้ ทำให้ชาวบ้านเห็นความจำเป็นของไฟฟ้าและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

กลุ่ม 2

5. 8K’s และ 5K’s ช่วยพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการแข่งขันระหว่างประเทศใน AEC, GMS, CLMVT

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นวัตกรรมเป็นทั้งพฤติกรรม means and end  ส่วน Sustainability เป็นทั้งทุน work and objective

นวัตกรรมไม่ใช่ผลสุดท้ายเท่านั้น แต่รวมถึง Innovative Management ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แม้ไม่มีนวัตกรรมแต่ Innovative Behaviors ก็ยังคงต้องมี

Social Innovation เป็นการเข้าไปอยู่ในชุมชนแล้วทำให้ชุมชนคิดดีกับเรา การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ชุมชนเข้าใจสิ่งแวดล้อมมีปัญหาแต่ก็ควรมาแลกเปลี่ยนกัน ถ้าไม่มีชุมชนการเรียนรู้ จะมีทั้งคนต้านและสนับสนุนโรงไฟฟ้า

นวัตกรรมไม่ได้เป็นก้อนแต่เป็นกระบวนการวิ่งไปสู่นวัตกรรม เช่น มีความคิดใหม่ที่ยังไม่สำเร็จก็จะเกิดการสร้างให้ดีขึ้น

นวัตกรรมการเรียนถือเป็นเรื่องใหม่

กลุ่ม 2

8K’s และ 5K’s พัฒนาทุนมนุษย์ของตนเองและขยายวงกว้างขึ้น โดยค้นหาจุดอ่อน วางแผนยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคม การศึกษา ในเรื่องของการอบรมเลี้ยงดู สิ่งสำคัญคือ การประเมินผล ทำให้ขับเคลื่อนการพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างมีคุณภาพ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดีมาก พูดถูก

8K’s และ 5K’s สามารถขยายเป็นหนังสือได้อีกหลายเล่ม เล่มนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น

ความสำเร็จของปริญญาเอกคือลูกศิษย์ต้องเก่งกว่าอาจารย์

3. จุดอ่อนของ 8K’s และ 5K’s มีอะไรบ้าง ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร

กลุ่ม 2

หนังสือเล่มนี้ดีอยู่แล้ว อาจจะนำไปต่อยอดเรื่องการสอนและวิจัยที่ทำกับชุมชน

อาจเพิ่มประเด็น Edward Deming คือ PDCA ประกอบด้วย Plan, Do. Check, Act  อาจจะนำทฤษฎีอาจารย์จีระมาทำเป็น Prototype แล้วขยายวงกว้างให้นักศึกษานำไปใช้เชื่อมโยงได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีคนเคยแนะนำให้กระจายทฤษฎีไปยังจุดต่างๆ อาจารย์ริเริ่ม แต่ลูกศิษย์เป็นคนทำ

8K’s และ 5K’s ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง อาจจะเพิ่มอย่างอื่นเข้ามาได้ตามความเหมาะสม

4. หนังสือ 8K’s และ 5K’s ช่วยในการเขียนวิทยานิพนธ์อย่างไร

กลุ่ม 2

2I’s ทำให้มีแรงบันดาลใจคิดจาก 8K’s และ 5K’s สู่วิทยานิพนธ์ และต้องมีจินตนาการจาก 8K’s และ 5K’s แล้วต่อยอดงาน

Thinking outside the box ฝึกคิดนอกกรอบขยายจาก 8K’s และ 5K’s

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิเคราะห์ได้ดี อาจจะต้องแยกส่วน 8K’s และ 5K’s เป็นเรื่องคน ตัวตั้งต้น เป็นเศรษฐศาสตร์เชิงวิเคราะห์

Happiness วัดไม่ได้ เป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาตามวิถีในแต่ละช่วงของสังคม

7K’s และ 5K’s อาจจะวัดไม่ได้ แต่ต้องมี จึงอยู่ในส่วนการปลูก ส่วน 4L’s, 2R’s, 2I’s เป็นเครื่องมือ

ชุมชนการเรียนรู้คือเรียนรู้ร่วมกัน เกิดขึ้นเรื่อย ทำให้เกิด 8K’s และ 5K’s ตลอด

Happy at work เป็น intangible ทำให้ยึดติดเครื่องมือน้อยลง

เมื่อกลับไปดู 3 วงกลม บริบทเป็น happy workplace วงที่ 2 เป็น competency ถ้าวงที่ 1 มีมาก ก็มีวงที่ 2 มาก แต่ Happy at work อยู่ใน Motivation  ทำงานที่ใดก็ได้ ไฟดับ ก็ไปทำงานที่ร้านกาแฟ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องนี้ควรเป็นวิจัยในอนาคตว่าคนจะทำงานในรูปแบบใด ไม่มี full-time workers แต่มี alliance

ควรพยายามเข้าใจความแตกต่าง แต่บางครั้งก็อาจจะมีการคาบเกี่ยวกันบ้าง

กลุ่ม 2 (นักวิชาการคุณภาพ รามา)

ทางกลุ่มมองการเชื่อมโยงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ หลายข้อเป็น management  เช่น การนำองค์กรที่ดี การบริหารเชิงกลยุทธ์ การฟังเสียงลูกค้า สิ่งสำคัญคือต้องนำทฤษฎีอาจารย์ไปปฏิบัติ มีการ monitor มีตัววัด

ในองค์กรก็มี Talent ในคณะแพทย์ รามามีการวัดบุคลากรในด้านความผูกพันในองค์กร การลาออก การมาสาย การประเมินบุคลากร แต่ละคนมี Career Path ขึ้นสู่ระดับบริหารได้

หนังสืออาจารย์แต่ละเล่มมีการเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบและนำไปปฏิบัติได้ชัดเจน

กลุ่ม 2 (ผู้ตรวจ)

สิ่งที่ยากคือ คนในชุมชน เพราะความรู้พื้นฐานไม่เท่ากัน เมื่อนำเป้าหมายไปใส่ กระบวนการก็เป็นเรื่องยาก ก็ต้องทำร่วมกัน

กลุ่ม 2 (นักวิชาการคุณภาพ รามา)

ในแง่ชุมชน ต้องมี Engagement Community ต้องมี Segment Community วิธีปฏิบัติต้องดูเป้าหมายของแต่ละชุมชน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การเป็นนักวิทยาศาสตร์มักมองว่าต้องมีตัวชี้วัด แต่คนเราต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์

จากการที่อาจารย์จีระลงชุมชน ก็วางตัวละคร มองตัวละคร 4 กลุ่ม

1. รัฐมาก่อนเพราะบอกว่าประเทศจะเคลื่อนไปทางใด ต้องการนำสิ่งที่ชุมชนมีมาต่อยอด

2. ชุมชนเป็นเจ้าของพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม อปท.ก็อยู่ในส่วนชุมชนเป็นทีม แต่ชุมชนเป็น network

3. เอกชน ทำให้มีความทันสมัย ถ้าเข้าใจชุมชน ก็จะช่วยดูแลชุมชนด้วย

4. วิชาการ ตอบโจทย์ ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลอย่างยั่งยืน นักวิชาการก็มีปราชญ์ชาวบ้านด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชาวบ้านมีมุมมองที่ต่าง ก็ถือเป็น Value Diversity แล้วต้องทำอย่างต่อเนื่อง อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ต้องมีความเข้าใจ ในอนาคตอาจจะไปดูงาน บางชุมชนพึ่งตนเองได้แล้ว

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องมีกระบวนการ เช่น learning how to learn ชาวบ้านมีทุนทางวัฒนธรรม มีทุนแห่งความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณจินตนาที่ชุมพรบอกว่า ดร.จีระเข้าใจเขา เวลาไปที่ชุมชน ก็กระตุ้นให้ชาวบ้านแสดงความเห็น สรุปให้ทุกคนเข้าใจ ชาวบ้านมีภูมิปัญญาอยู่แล้ว

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คุณจินตนาอยู่ชุมพร เป็นจังหวัดที่ใช้เศรษฐกิจพอเพียง มีโครงการจากภูผาสู่มหานทีที่ เราเคยไปแนะนำให้ทำน้ำส้มจี๊ดขาย เขาจึงไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อทำขาย ตอนนี้มีหมู่บ้านส้มจี๊ด ที่ทอน-อม มีการเชิญคนมาดูงานถ้ารองรับเชิงพาณิชย์ได้ ก็เดินไป  การทำงานต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจแล้วนำไปสู่ทุนแห่งความสุข

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 7

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

----

ช่วงเช้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้ทุกคนทำงานกลุ่มทำหนังสือ Chira Way ร่วมกับอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลและคุณวราพร ชูภักดี ในแต่ละอาทิตย์ อาจารย์จะกำหนดให้นักศึกษาทำหนังสือแต่ละบท อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลและคุณวราพร ชูภักดีเป็นบรรณาธิการ

ช่วงเช้าวิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

ช่วงบ่าย เรียนเรื่อง Networking มีการเปิดวีดิโอโครงการที่ทำร่วมกับม.อ.เรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เห็น Networking ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องความมั่นคงภาคใต้น่าเป็นห่วง ประเทศไทยใช้เงิน 3-4 หมื่นล้านบาท ดูแลแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้

หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ท่านว.วชิรเมธีนำข้อมูลของท่านไปลงอินเตอร์เน็ต ท่านพูดถึงดร.ปรีดี พนมยงค์ด้วยความเข้าใจ อาจารย์จีระทำงานร่วมกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

ดร.ป๋วยมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ ท่านเคยอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ขอมาเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์เป็นรุ่นพี่ของบิดาอาจารย์จีระเมื่อไปเรียนที่อังกฤษ ท่านเป็นอธิการบดีที่มีความเมตตา

ตอนหลังอาจารย์จีระรู้จักธิดาพระองค์วรรณ

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

กลุ่ม 2

ทุนทางจริยธรรมมีรากมาจากอะไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าคิดร่วมกันเรื่องรากทุนทางจริยธรรม ก็จะดี ถ้าผู้ใหญ่บ้าน กำนันนำเล่มนี้ไปอ่าน จะคิดดี ทำดี โปร่งใส ทุนนิยมสามานย์ทำให้คนเห็นแก่เงิน

การเรียนยุคใหม่ต้องสร้างความคิดใหม่ซึ่งมาจาก Reality ของแต่ละคน นักศึกษาควรมีแนวคิดของตนที่กระเด้งมาจากแนวคิดอาจารย์จีระ และหนังสือที่ให้อ่าน แล้วนำไปทดสอบกับ Reality

ยุคนี้ต้องส่งเสริมทุนทางปัญญา มองอนาคตเป็น สร้างนวัตกรรมเป็น

กลุ่ม 2

หนังสือเล่มนี้มี 10 กว่าท่านมาวิจารณ์เรื่อง คุณงามความดี พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมของอดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ท่านว.วชิรเมธี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี

นายชวน หลีกภัย

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

รศ.สุขุม นวลสกุล

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์

ทั้ง 10 ท่านอยู่ธรรมศาสตร์ บางท่านเคยทำงานใกล้ชิดกับทั้ง 4 ท่าน

ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ 8K’sและ 5K’s

การริเริ่มทางจริยธรรม ก็มาจากปัญหาการเมือง

การเข้าใจความหมายเชิงลึก สามารถนำคุณธรรมจริยธรรมไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

จริยธรรมคือการประพฤติดี นำไปสู่สังคมประเทศชาติได้

การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อที่ดี ภูมิปัญญา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรจะเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมอิสลามบ้าง เป็นศาสนาไม่เน้นวัตถุนิยม ชาวมุสลิมค่อนข้างประหยัดและมีวินัย ละหมาดวันละ 5 ครั้ง มีกฎหมายอิสลาม

หนังสือเล่มต่อไปควรเน้นคุณธรรมจริยธรรมของศาสนาอื่นด้วย

กลุ่ม 2

ความเชื่อ ภูมิปัญญา จารีต การเรียนรู้ ค่านิยม ข้อห้าม เป็นสิ่งที่ปลูกฝังทุนทางวัฒนธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้อ่านส่วนเนื้อหาท่านว.วชิรเมธีอีกครั้ง สามารถนำไปทำวิทยานิพนธ์ได้ ท่านมีการเรียนรู้เชิงญาณ

กลุ่ม 2

ท่านว.วชิรเมธีพยายามสอดแทรกธรรมะ ท่านเป็นนักอ่าน รู้เรื่องบริหารจัดการทางโลก นำไปผสมผสานได้ดี

จุดแข็ง 4 อธิการบดีเป็นต้นแบบทุนทางจริยธรรม

พระองค์วรรณ

ดร.ปรีดี พนมยงค์

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มหาวิทยาลัยของโลกมีจุดเด่นที่ทุนมนุษย์ ไม่ใช่ตึก อธิการทั้ง 4 ท่าน ไม่มีใครเทียบได้ กลุ่มนี้วิจารณ์ได้ดี

กลุ่ม 2

จุดแข็ง 4 อธิการบดี ทำงานเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ ยึดยุทธศาสตร์เดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

ดร.ปรีดี พนมยงค์ มีคุณธรรมและความกล้าหาญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2475

ให้เกียรติท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ซึ่งแก้ปัญหาและสู้ชีวิตร่วมกัน เป็นคนที่มีจิตสาธารณะ เสียสละ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค เวลาทำงานก็ทำเป็นตัวอย่าง

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ กล้าหาญ ยุติธรรม เมตตา เน้นคุณธรรมผ่านธรรมะ ระบบสหายธรรม ใช้ธรรมะผสมผสานกฎหมาย

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีคุณธรรม กล้าหาญ ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้โอกาสคนอื่นตลอด ขยายธรรมศาสตร์ไปรังสิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์เชิญอาจารย์ฝรั่งมาและหางบได้ด้วยแล้วนำมาช่วยเหลือประเทศ

กลุ่ม 2

ทั้ง 4 ท่านเป็นต้นแบบนักการเมือง มีความกล้าหาญ คุณธรรม จริยธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรให้กกต.แจกหนังสือเล่มนี้ให้นักการเมือง

ดร.ป๋วย เวลาจอมพลถนอม จอมพลประภาสปฏิวัติ ท่านก็ไปสอนเคมบริดจ์ เขียนจดหมายในนามเข้ม เย็นยิ่ง สะท้อนความกล้าหาญ กลับไทยก็ชีวิตปั่นป่วน มีรถทหารขับตาม การเป็นผู้นำที่มีคุณภาพและเสียสละ มีต้นทุนต่อครอบครัวสูง ชีวิตไม่สงบ ท่านเสนอให้มีการปกครองโดยธรรม

อาจารย์สัญญาสนใจศาสนาพุทธ มีจดหมายน้อยสนทนาธรรมท่านพุทธทาส ท่านกล้านำพลเอกสุรจิตเข้าคุก

ดร.ปรีดีเป็นคนฉลาด ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงเร็วมาก ไม่ใช่คนหัวรุนแรง เมื่อหมดมลทินการเมือง ก็สามารถกลับไทยได้

กลุ่ม 2

ความกล้าหาญทั้ง 4 ท่าน ท่านปรีดีและดร.ป๋วยไปร่วมกับเสรีไทย

นักศึกษา

มีเสรีไทยบางส่วนอยู่ที่ระนอง ตรงสิ้นสุดหัวรถจักร

กลุ่ม 2

อ่านเล่มนี้แล้ว คนไทยต้องค้นหาตนเอง หว่านเมล็ดพันธุ์ความดีให้สังคม

Local สร้างแรงบันดาลใจ นำไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ขยายวงไปสังคมแต่ละระดับ

Global เรื่อง good governance มุ่งประเทศไทยใสสะอาด ปฏิรูปจิตสำนึก โครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา กฎหมาย ตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง

อธิการ 4 ท่านเน้นความโปร่งใส

ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนด้วยพลังคุณธรรม จริยธรรมทุกระดับ

คุณธรรม จริยธรรมเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำการเมือง

ท่านว.วชิรเมธี บอกว่า เวลาขอพรพระ

ขออย่าให้โลภจนหน้ามืด

ขออย่าให้โกรธจนทำร้ายตนเอง

ขออย่าให้หลงจนไม่รู้ดีรู้ชั่ว

ขออย่าให้ตายในสงครามระหว่างคนไทยด้วยกันเอง

ความคิดเห็น

คุณวราพร ชูภักดี

ประทับใจที่วิเคราะห์ได้ดีมาก เชื่อมโยงทุนทางจริยธรรมและวัฒนธรรม

อยากให้ใส่บทวิจารณ์นักศึกษาลงหนังสือด้วย

คนที่ 1

วิจารณ์ดีมาก

ค่านิยมไทยเริ่มเปลี่ยน คนเก่งไม่จำเป็นต้องมีจริยธรรม ควรนำเรื่องนี้มาปลูกฝังตั้งแต่พื้นฐานและครอบครัว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปัญหาคือคนสนใจแต่วัตถุนิยม

การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมมาจากหลายแหล่ง เช่น ครอบครัว วัด โรงเรียน 

คนที่ 2

อยากให้เล่มนี้ไปอยู่ในบทเรียนเด็กทุกระดับชั้น จัดเป็นทอล์คโชว์ก็ได้

คนที่ 3

ผู้นำต้องซื่อสัตย์และทำงานเพื่อส่วนรวม

ศาสนาคริสต์เน้นรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง รักพระเจ้า

คนที่ 4

ผู้นำทั้ง 4 ท่านเป็นคนเก่งทั้งหมด เล่มนี้บอกได้ คนเก่งสร้างได้ แต่คนดีสร้างยาก

ผู้นำทั้ง 4 เน้นความโปร่งใส

คนที่ 5

การสร้างคุณธรรม จริยธรรมต้องทำร่วมกันทุกภาคส่วน ต้องปลูกฝังให้เป็นธรรมชาติในตัวคน

คนที่ 6

เล่มนี้สอนให้กล้าทำดี ทำให้สังคมยั่งยืนและมีความสุข

คนที่ 7

ศาสนาสอนแบบพิธีกรรม แต่ท่านว.วชิรเมธีสอนในสิ่งที่จับต้องได้

จากการฟังวิจารณ์ ทำให้รู้สึกดี

ในอดีต คนมีคุณธรรมมากกว่า คนไปเรียนในวัด ในโรงเรียนมีการสอนคุณธรรมจริยธรรม ตอนหลังสื่อก็ไม่มีคุณธรรมจริยธรรม มีวิกฤติศรัทธา ต้องมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมจริง

สังคมไทยเริ่มตื่นตัวทำเรื่องนี้มากขึ้น จะให้เจ้าคณะจังหวัดไปพูดเรื่องนี้ให้นักเรียนฟังแบบง่ายๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะทำรายการโทรทัศน์เรื่องนี้ก่อน

คนที่ 8

ควรยกตัวอย่างให้เห็นชัด เม็ดเงินมหาศาลไม่ได้ทำให้คนมีคุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมจริยธรรมแทรกทุกจุด

คนที่ 9

ภาพรวม หลักแนวคิดมีหลายทาง มีจริยธรรมมาใช้ในการตัดสินใจ น่าจะนำแนวคิดมาทำงาน ท่านสัญญาใช้ธรรมะระงับความขัดแย้ง ทุกเรื่องขึ้นกับพื้นฐานจิตใจของคน ปลูกฝังมาโดยครอบครัว เริ่มจากตนเอง สอนลูกหลาน นำแนวคิดมาบริหารองค์กร โตขึ้นมาก็เห็นภาพใหญ่

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

กลุ่ม 1

ที่มาของการขาดคุณธรรมคือ

ผู้นำขาดคุณธรรมทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้น

ขาดการยกย่องคนดี

สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม

วิธีแก้ปัญหา

ผู้นำขาดคุณธรรม แก้โดย ให้ความสำคัญ ส่งเสริมพัฒนา

ขาดการยกย่องคนดี แก้โดย นำบุคคลต้นแบบมาวิเคราะห์หลักการและแนวคิดอย่างไร

สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม

การปลูกฝัง

คุณธรรม จริยธรรมที่ควรประยุกต์ใช้ได้กับความเป็นจริงของชีวิต

ครอบครัวประสานโรงเรียนและศาสนาหรือ ค่านิยมที่ยึดถือและสังคมจุดประกาย

สื่อ ต้องสื่อสารเพื่อปวงชน สื่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้รับสื่อต้องใช้วิจารณญาณมาก (Media Literacy)

สังคม ควรให้ความสำคัญกับคนดี เชิดชูคนดี

วิเคราะห์บุคคลต้นแบบ

 

ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์

เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติภรรยา

สร้างโอกาสให้คนในสังคม ท่านเป็นผู้ประศาสน์การธรรมศาสตร์ คนจนเข้าถึงการศึกษาได้

 

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

เน้นธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ

ยุติธรรมคือยุติโดยธรรม

มีเมตตา

 

พระองค์วรรณ

มีปิยวาจา เป็นราชบัณฑิตและนักการทูต

ฟังทุกอย่างรอบด้าน ไม่ว่าเป็นคนระดับใด

 

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

มีความกล้า

วิสัยทัศน์

ปฏิบัติจริง

แสดงจุดยืนโดยสันติ

 

ทั้ง 4 ท่าน มีความดีภายใต้ความแตกต่างของอาชีพ แต่ละท่านผ่านสิ่งต่างๆ กว่าจะบรรลุเป้าหมาย แสดงถึง passion ที่จะทำ

ทุกท่านเมื่อพบอุปสรรคก็ทำต่อให้คนสานต่อได้

 

เล่มนี้สะท้อนมุมมองจากนักคิดและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง มีเกร็ดประสบการณ์ต่างๆ

คุณชวนบอกว่า อาจารย์สัญญามาจอดรถที่เน ให้คุณชวนติดรถไปด้วย

อิทธิพลหนังสือ

สร้างความประทับใจ ทำให้เห็นความสำคัญแล้วค้นหา สร้างกระตุ้นคุณธรรมจริยธรรมให้เกิด แล้วพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

 

ความคิดเห็นนักศึกษา

ผู้ตรวจ

นำเสนอได้ยอดเยี่ยม

เริ่มจากความประทับใจ

ในสังคมไทย ไม่มีคนดี 100% แต่มีอะไรบอกที่อะไรควรหรือไม่ควรทำ ทุกคนต้องแข่งขันไปถึงเป้าหมาย

อยากให้มีตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรม

วัดควรมาหาโรงเรียน เพราะยากที่จะนำเด็กเข้าวัด

คนแก่เข้าวัดตักเตือนลูกหลานได้บ้าง

การที่สังคมมองว่าไม่ถูกจะเกิดการ boycott ทางสังคม ทำให้คนทำผิดน้อยลงแล้วสังคมจะดีขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลายท่านได้เห็นการนำเสนอของทั้งสองกลุ่ม

จากการวิจารณ์ครั้งนี้ โปรดตอบคำถาม

1.เสนอแนะบุคคลตัวอย่างด้านคุณธรรมที่ไม่ใช่ 4 คน แล้วอธิบายเหตุผล

2.ถ้านำเล่มนี้ให้เป็นประโยชน์มากกว่าเรียนปริญญาเอก นำไปปรับปรุงอย่างไรให้เด็กรุ่นใหม่ได้รับทราบ

คนที่ 1

อธิการ ดร.ฤๅเดช ท่านเน้นวิจัย มีงานวิจัยมาก ท่านให้ความช่วยเหลือทุกคน

คนที่ 2

นายกชวน มีเมตตา ไม่ถือตัว ให้ความเป็นกันเอง นิด้าแม็กซ์ก็เชิญท่านมาเรียนและเป็นวิทยากรด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายกชวนบอกว่า อย่าลืมให้บัณฑิตเป็นคนดีด้วย

คนที่ 3

ปอ ทฤษฎี เป็นตัวอย่างตั้งแต่รุ่นเด็กจนถึงคนแก่ นำแนวพระราชดำริมาดำเนินชีวิต และเป็นสุภาพบุรุษ ซื้อที่ให้เกษตรกรทำกินแบบฟรี ปอได้รางวัลช่วยเหลือสัตว์ ช่วยเหลือทุกคน

อาจารย์จีระ กำลังสอน

คนที่ 4

ณเดชณ์ ไม่เที่ยวเตร่ แม่ส่งเสริมให้เขาทำบุญนั่งสมาธิ

อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เป็นแบบอย่างที่ดี สอนแนวคิดศีลธรรม

คนที่ 5

น.พ.สงวน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง รับนโยบาย 30 บาท ตอนที่เป็นมะเร็ง อุทิศร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ทำงานจนวาระสุดท้าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรมีอีกหลายเล่มที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม

คนที่ 6

สืบ นาคะเสถียร ซื่อสัตย์ ช่วยเหลือประชาชน

คนที่ 7

ท่านพุทธทาส ท่านให้ตั้งรับความเปลี่ยนแปลง วัตรปฏิบัติล้วนเกี่ยวกับธรรมะ เป็นเสาหลักของพุทธศาสนา

คนที่ 8

ท่านปัญญานันทภิกขุ เทศน์เข้าใจง่าย เป็นการสอนคุณธรรม จริยธรรมดี

คนที่ 9

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เน้นปลูกจิตสำนึกคนไทย

คนที่ 10

นายกอานันท์ ปันยารชุร ประกาศเป็นรัฐบาลที่โปร่งใส รับใช้สังคม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้ประโยชน์อะไรจากหนังสือเล่มนี้

คนที่ 1

เป็นแนวทางให้เรามีความสุขและอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีสุข

คนที่ 2

ทำให้เห็นภาพชัด ไม่ใช่เข้าวัด ฟังธรรม แต่เรื่องนี้นำมาใช้ได้จริง

คนที่ 3

แต่ละตัวอย่างทำให้เห็นคุณภาพของชีวิตที่ดี คนดีบางทีก็พูดยาก ทำให้ทราบลักษณะคุณธรรม แก่นที่ดี ทำให้ทราบว่า เป็นคุณภาพที่ดี ทำให้คนเป็นคนดี อยู่ร่วมกันแล้วสังคมสงบสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์พระราชา ส่งเสริมคนดีให้มีบทบาท

ซีเรีย อัฟกานิสถาน อิรักเกิดความวุ่นวาย เป็นรัฐที่ล้มเหลว ไทยโชคดีเวลามีวิกฤติแล้วมีบางองค์กรมาช่วย

ควรนำเล่มนี้ไปคิดแล้วไปเผยแพร่ให้คนอื่นได้รับทราบ

คนที่ 4

เห็นแนวทางดำเนินชีวิต ทุกท่านทำเพื่อส่วนรวม ต้องมีคนยกย่องคนดี

คนที่ 5

ประทับใจจุดยืนแต่ละท่านยึดมุ่นคุณธรรม จริยธรรมในการเผชิญชีวิต ทุกท่านมี passion แล้วจุดยืนนำไปสู่ความยั่งยืนของสังคม

คนที่ 6

ไทยยังขาดธรรมาภิบาล การปลูกฝังการต่อต้านคอรัปชั่น เล่มนี้ช่วยแก้ปัญหานี้

คนที่ 7

การบูรณาการความคิด 4 ท่านคือ ท่านมีความพอเพียงในการดำรงชีวิต นำคุณธรรมจริยธรรมเข้ามา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้ง 4 ท่านเป็นผู้นำสมถะ เสียสละ

คนที่ 7

ทำให้ได้รับทราบประวัติแต่ละท่าน รวมถึงประวัติอาจารย์ ที่ลงรถแล้วก็เดินเข้าไปเองในโรงเรียน ไม่ได้ให้รถมาจอดหน้าโรงเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นค่านิยมที่ไม่ฟุ้งเฟ้อ

ต้องทำตัวให้มีความพอเพียง

ตอนอาจารย์อยู่มัธยม เอาสมุดพกไปซ่อน พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกหลอกลวง

คนที่ 8

พลเอกเปรมให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็นำไปสู่การแสดงออกทางคุณธรรม จริยธรรม

คนที่ 9

การรักษาความดีของแต่ละคนให้อยู่ตลอดไปทำอย่างไร

คนที่ 10

อาจารย์ต้องการให้หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนใจคนให้เป็นคนดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเป็นคนดีทำให้มีชีวิตยั่งยืน มีเกียรติและศักดิ์ศรี

รัชกาลที่ 9 ทรงมีความพอเพียง ใช้ยาสีฟันประหยัด

ทุกคนควรจะศึกษาประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง

ช่วงบ่าย

ชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ และการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

ทำให้เห็นวิธีการทำ networking

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การสร้างเครือข่าย เจ้าภาพหลักคือศูนย์อาเซียนม.อ. อาจารย์จีระเป็นบทบาท และศูนย์อาเซียนเป็นผู้สนับสนุนจึงประสบความสำเร็จ ตอนนั้นยังไม่มีงบประมาณ แต่เป็นความร่วมมือระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ แสดงว่า เราไม่จำเป็นผู้นำที่ 1 ในการนำบทบาท แต่ต้องมีคนที่เป็นที่ยอมรับเป็นผู้นำ ประเด็นยุทธศาสตร์ชายแดนใต้เป็นเรื่องที่คม ที่ชูโดยอาจารย์จีระบวกเครือข่าย คนในชุมชนประกาศตัวสร้างสันติสุขในชายแดนใต้ ถ้าคนทำท่องเที่ยวชุมชน จะไม่เกิดความรุนแรง คนจะปกป้องพื้นที่ สำคัญที่สุดต้องเป็นเครือข่ายที่ไปสู่ประโยชน์สุขร่วมกัน

ในเรื่องภาวะผู้นำ ทุกคนต้องมี แล้วจะเกิดการช่วยเหลือ ผู้นำต้องรู้กาลเทศะ แล้วลุกขึ้นมาพูดด้วยกัน ชาวบ้านถูกบรรจุให้ทำ workshop ปะทะกันทางปัญญา ในการทำงานมาทุกครั้งก็พบประเด็นแหลมคม เป็นทฤษฎีกระเด้งของอาจารย์จีระ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ คือ เครือข่าย

ความจริงคือความจริงในพื้นที่ คนในชุมชนไม่ได้ต้องการให้ภาครัฐนำ แต่ต้องการให้ถามความต้องการชุมชน ต้องมีทิศทางชัดเจน และต้องมีการสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนที่จะมา คิดจะนำยูทูปมาประกอบการสอน เลือกเรื่องเกี่ยวกับเครือข่าย และมีความสำคัญต่อปริญญาเอกด้วย เพราะเป็นเครื่องมือทำวิจัย ถ้าทุกคนรวมตัวกันเรื่องสังคม กิจกรรม แต่รวมถึงวิชาการด้วย วิชาการเป็นเรื่องความจริง ต้องค้นหาตัวเอง และดูว่ารู้จริงหรือไม่

คุณวราพร ชูภักดี

เรื่องแรกที่ดูเป็นงานกระทรวงการท่องเที่ยว ในวิจัยเราก็ค้นหาแนวทางพัฒนาเครือข่าย  เมื่อได้วิจัยแล้ว ก็ลงพื้นที่ พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ มี 4 ตัวละคร พยายามหาโจทย์ให้ชุมชนคิดสิ่งสร้างคุณค่าใหม่ๆร่วมกัน แต่ละจังหวัดมีของดีต่างๆ เชื่อมโยงแล้วเกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ทุกคนได้ความคิดไปทำเองโดยไม่ต้องรอภาครัฐ กลยุทธ์จากวิจัย จากอาจารย์จีระ แนวทางต่างๆสำเร็จได้จริง

เรื่องผู้นำ 5 จังหวัด ศูนย์อาเซียนมาปรึกษาทีมเรา จึงมองว่าสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวได้ง่ายที่สุดเริ่มจากผู้นำมีเครือข่ายเข้มแข็ง เมื่อจบโครงการ ภาครัฐเห็นโครงการ จึงให้งบมาสนับสนุนการทำงานต่อ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รายการแบบนี้ต้องยกย่องคน ให้ผู้ว่ามาเปิด อาจารย์จีระมาเป็นส่วนร่วม

เรื่องที่จะสอบเพิ่มคือหนังสือพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมและ Networking

Networking ดีต่อการธุรกิจด้วย แต่ละองค์กรต้องพึ่งพากัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Networking อยู่ในทุนทางสังคมใน 8K’s ทุกทุนต้องเกี่ยวกัน ต้องมีทุนทางปัญญาคิด

โครงการที่ม.อ.ได้มีมูลค่า 10 ล้านบาท

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องให้เกียรติทุกคนตามแนว HRDS

ทุนมนุษย์เป็น Intangible

ตอนหลังเน้น ทุนแห่งความสุข ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นพลังแฝงแห่งความสำเร็จ

ผู้ใหญ่ต้องไม่ดูถูกคน

คุณวราพร ชูภักดี

รายการโทรทัศน์เสนอเทคนิคการทำเครือข่ายให้สำเร็จ เมื่อทำแล้วต้องมีเป้าหมาย ทำให้เครือข่ายมีพลังเดินต่อหรือเดินได้ด้วยตัวเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรามีตัวละคร 4 ตัว ต้องให้ทุกคนเสมอภาคกันเป็นอันดับแรก มีความศรัทธากัน มีผลประโยชน์ร่วมกัน อย่าให้คนอื่นรู้สึกต่ำต้อย ควรให้เกียรติผู้อื่นและรับฟังเขา วิธีการไทยนิยมน่าเป็นห่วง ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมเพราะต้องฟังอย่างเดียว ควรจะให้คนอื่นมีส่วนร่วม

เวลาทำหลักสูตร ต้องศึกษาให้รอบคอบ ไม่ควรมองผิวเผิน แล้วจะพบคำตอบ อาจารย์จีระเน้นความจริงและตรงประเด็น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หลักสูตรอาจารย์จีระมีศาสตร์และศิลป์ บางครั้งคนเก่งเหมือนมีดินแล้ว แต่ต้องพรวนดิน ใส่ปุ๋ยและอากาศ ต้องพัฒนาตนเอง แล้วจะทำให้เติบโตอย่างยั่งยืน

องค์ประกอบของเครือข่าย ต้องมีความแตกต่าง มาจาก 4 กลุ่ม ใช้แล้วครอบคลุม ภาควิชาการและชุมชนสำคัญ วิชาการต้องช่วยเติมความรู้ให้ชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของพื้นที่

คนในกลุ่มมีความชอบหลากหลาย นำมาซึ่งความสามารถไม่เหมือนกัน บางคนเป็นผู้ประสานเชื่อมเครือข่าย

นักศึกษา

สนใจวิจัย sport tourism ในอนาคต การท่องเที่ยวน่าจะเป็นแบบใด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นไปได้ทุกเรื่อง เช่น health, cultural tourism อาจจะเป็นเรื่องอาหารหรือศาสนา อาจนำมุสลิมและพุทธมาพบที่นครศรีธรรมราช

แนวโน้มคือท่องเที่ยวที่ใช้ภูมิปัญญา เป็นท่องเที่ยวชุมชนที่มีความสบาย

กีฬาเชื่อมกับการท่องเที่ยวจะไปได้เร็ว คนมาดูกีฬามี feeling สูง แต่การท่องเที่ยวเชิงกีฬาต้องมีการวางแผนล่วงหน้า

เนื้อหา กฎ 19 ข้อเรื่อง Networking จากประสบการณ์ของ ดร.จีระ

1.เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ “How to Win Friend and  Influence People” แต่งโดย Dale Carnegie ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎี Networking

2.หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจและมีชื่อเสียงมาก คือ “Never Eat Alone” โดย Keith Ferrazzi หนังสือเล่มนี้เป็นจุดที่ทำให้เกิด Motivation ว่า เขาน่าจะศึกษาเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ – How to create friends and keep friends และบริหาร Relationship ให้เกิดคุณค่า

3.  มี Quotations ที่น่าจะนำมาพูด ได้แก่ “High Tech and High Touch” ซึ่งมีความหมายว่า มี Hardware ก็ต้องมี Software มีเครื่องจักร มี Technology ก็ต้องมีมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี จึงจะเกิดประโยชน์ และบริหารความสัมพันธ์ให้ได้มูลค่าเพิ่ม รู้จักบริหารความสัมพันธ์ที่เหมาะสม มีเพื่อนมากก็มีอิทธิพลมาก ทำอย่างไรจึงจะชอบและพอใจในความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

4. Network และ Partnership เพราะงานที่ทำอยู่ทุกๆ วัน ก็เน้นความสำคัญเรื่องนี้ ก็น่าจะนำมาเล่าให้ฟัง ไม่ว่าสมัยที่ทำงานที่ธรรมศาสตร์ หรือการทำงานในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการเป็นอาจารย์เก่าและ การมีโอกาสสร้าง Network ในต่างประเทศ

5. Networking and Partnership จำเป็น เพราะ

          - โลกยุคเปลี่ยนแปลง

          - โลกยุคโลกาภิวัตน์

          - โลกยุคการแข่งขัน

          - โลกที่ต้องเน้นความสมดุล และความยั่งยืน

          - โลกที่เน้นธรรมาภิบาล

6. Networking เป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ผมเรียกว่า “Social Capital”

7. วันนี้วัตถุประสงค์น่าจะดูว่า คำจำกัดความของ Networking and Partnership คืออะไร

          - ทำอย่างไรจึงจะปลูกฝังให้เกิด

          - จะหลีกเลี่ยงปัญหา และสร้างประโยชน์ต่อตัวเอง และองค์กรได้อย่างไร

8. Network คือ การที่เรารู้จักบุคคลจากหลายๆ วงการ นอกจากเครือญาติ หรือเพื่อนฝูงแล้ว ความรู้จัก และความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

  ดังนั้น โดยหลักแล้ว มี Network ที่มีคุณภาพและลึก  ก็มีโอกาสสร้างพันธมิตรได้มากขึ้น     และตัวเราเองก็ต้องได้ประโยชน์ และองค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน และอยู่รอด

9. การจะสร้างเครือข่ายที่ดี จะต้อง..

คบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม

มีทัศนคติที่พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

มีโลกทัศน์ที่กว้าง

มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย

เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราอยากจะรู้จัก เช่น ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง วิถีชีวิตของเขา

ทำงานเป็นทีม ทำกิจกรรม และเล่นกีฬา

ไม่ชอบอยู่คนเดียว หรือใช้ชีวิตสันโดษมากเกินไป

มีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking)

ชอบความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่างๆ

มีการติดตาม (Follow up) การสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด

10. หลักการที่สำคัญของการสร้างเครือข่าย คือ

จะต้องสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ลึก โดยเน้น..

การจะคบกับใครอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้น

ความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุข และความสบายใจที่คบหากัน (Comfort Level)

ค่อยๆไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน

ต้องเน้น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ และนับถือในบุคคลเหล่านี้ (Respect) ไม่ได้มองจากบุคคลเหล่านั้นแค่ภายนอก หรือวัตถุ และเพิ่มคำว่า ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Diversity) และการสร้างความเสมอภาค

และน่าจะเน้นความแตกต่างกันทางความรู้ หรือทักษะ และศักยภาพ เพื่อสร้าง Synergy ให้ได้จริงๆ

11. ต้อง Clear Concept ให้ดี อย่าสับสน Networkingแตกต่างจาก Teamwork

12. Cooperation หรือ Collaboration บางเรื่องเหมือน บางเรื่องแตกต่าง Networking คือ สร้างความสัมพันธ์อย่างหลวม ๆ ก่อนให้เกิด Trust และจึงไปมีเป้าหมาย อาจจะสร้างประโยชน์ได้ต่อมา

13. แรก ๆ ยังไม่ต้องมี Agenda ว่าจะทำอะไร การจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คือ Relationship ที่ดี แต่สร้างบรรยากาศให้สบาย ๆ ทุกคนมีความสุข (Happiness) ที่อยู่ใน Network นี้ อย่าเครียด และในที่สุดจะเกิดคุณค่าขึ้นมาได้

14. ตัวละครที่สำคัญ ต้องเน้น Diversity หรือเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า “Competitive Advantage” คือ มีศักยภาพ เพราะจุดแข็งแตกต่างกัน แต่ตัวละครเหล่านั้นอาจจะไม่ได้มีบทบาทเท่ากัน ก็อาจจะมาเป็นช่วง ๆ แล้วแต่สถานการณ์

15. Case Study ของจีระ เรื่อง เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน โดยเฉพาะที่เกาะพิทักษ์ที่วันนี้ได้ต่อยอดไปร่วมกับ กฟผ. ด้วย เรียกว่าเป็น Networking   ยกกำลัง 2 ยกกำลัง 3

8 องค์ประกอบ แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

องค์ประกอบที่ 1 การสร้างความตระหนักและการพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น สำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

องค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารและการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

องค์ประกอบที่ 3 การแบ่งปันคุณค่าร่วมเพื่อประสานผลประโยชน์ร่วมกัน

องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาโครงการความร่วมมือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติ

องค์ประกอบที่ 5 การแบ่งปันความรู้และข่าวสารด้วยการสร้างศูนย์ข้อมูล    

องค์ประกอบที่ 6 การจัดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย       

องค์ประกอบที่ 7 การติดตามและการประเมินผล

องค์ประกอบที่ 8 การขยายการพัฒนาด้านท่องเที่ยวและกีฬาไปสู่เครือข่ายอื่น

5 ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

Relations : สร้างความสัมพันธ์อันดี

Trust: สร้างศรัทธา

Mutual Benefits: สร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน

Synergy: ผนึกกำลังกัน เสริมแรงกัน

Results Oriented -Turn networks ideas into action with 3V’s : มุ่งสู่ผลลัพธ์ – เปลี่ยนไอเดียในการพัฒนาเครือข่ายต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดคุณค่าและมูลค่า

(อาจใช้แนวคิด 3 V คือ V1: การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added), V2: การสร้างมูลค่า/คุณค่าใหม่ และ

V3: การสร้างมูลค่า/คุณค่าจากความหลากหลาย)

17. ปัจจัยสำเร็จ.. เพราะ

ต่อเนื่อง

Trust ร่วมกัน

ผลประโยชน์ร่วมกัน

Mutual Respect

Mutual Benefits

มี Equality

มี Equity

เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข   อย่างฉลาด

18. ไม่หยุดในการพัฒนา Network เหล่านั้น เรียกว่า “Capacity Building” และ Learn - Share - Care ทำให้ Network มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างในกรณีของท่องเที่ยว เน้นเรื่องภาวะผู้นำ IT การเงิน การตลาด และการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

19. การปรับ Mindset จึงเป็นหัวใจสำคัญ หลักสูตรนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะหาทางไปสู่ Networking ที่มีคุณภาพ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การบริหารจัดการเครือข่ายยากกว่าทีม ในองค์กรตั้งทีมได้ แต่ในเครือข่ายเป็นอิสระจากกัน ผู้นำต้องมีบทบาทบริหารจัดการจากข้างหลัง ต้องเริ่มจากเครือข่ายไม่เป็นทาการ แล้วจะพบประเด็นที่ดีในการร่วมมือกัน

เครือข่ายเป็นเรื่องที่บังคับไม่ได้

คุณวราพร ชูภักดี

จากการวิจัย ได้มีแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และจากข้อเสนอผู้เชี่ยวชาญ พบว่า

การทำเครือข่ายให้สำเร็จต้องมี 8 องค์ประกอบที่สลับกันได้

8 องค์ประกอบ แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

องค์ประกอบที่ 1 การสร้างความตระหนักและการพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น สำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

องค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารและการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

องค์ประกอบที่ 3 การแบ่งปันคุณค่าร่วมเพื่อประสานผลประโยชน์ร่วมกัน

องค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาโครงการความร่วมมือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติ

องค์ประกอบที่ 5 การแบ่งปันความรู้และข่าวสารด้วยการสร้างศูนย์ข้อมูล    

องค์ประกอบที่ 6 การจัดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย       

องค์ประกอบที่ 7 การติดตามและการประเมินผล

องค์ประกอบที่ 8 การขยายการพัฒนาด้านท่องเที่ยวและกีฬาไปสู่เครือข่ายอื่น ทำเมื่อเครือข่ายเราเข้มแข็งแล้ว ถ้าทำในประเทศสำเร็จ ก็ขยายไป CLMV

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในการวิจัย อาจจะทำการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ เมื่อทำแล้ว ก็ควรดูว่าเกิดโมเดลอะไรขึ้นมา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การทำเครือข่ายมีต้นทุนต่ำกว่าตั้งทีม

ความคิดเห็นนักศึกษา

คนที่ 1

ได้ความรู้มาก ที่คุณวราพรพูดน่าสนใจ ที่อาจารย์พิชญ์ภูรีสรุป คิดว่า น่าจะได้ใช้เครือข่ายทำงานโดยตรงและใช้มาก ต่อยอดธุรกิจในหลายเรื่องแล้วสร้างเครือข่ายใหม่ ดีใจที่ได้มาฟัง การรวมตัวสร้างสิ่งใหม่ เครือข่ายต่อยอดมาจากเครือข่ายหลายกลุ่ม ขอขอบคุณที่ให้โอกาสมาฟัง

คนที่ 2

จากการทำงาน ภาวะผู้นำสำคัญในการผลักดัน ไม่ต้องเด่น อยู่เบื้องหลังก็ได้ แต่ต้องรู้จักบทบาท ผลงานสำเร็จ ตัวเราสำเร็จด้วย นำมาใช้ในชีวิตได้

คนที่ 3

แต่ก่อนเป็นการทำโดยระบบ ระบบราชการไม่มีตัวละคร ตอนนี้ราชการนำมาใช้มากขึ้น บางครั้งมีปัญหาบ้าง แต่ก็พยายามทำเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์โดยราชกรไปสร้างองค์ความรู้ให้

การท่องเที่ยวสำคัญเชื่อมโยงกับหลายเรื่อง การเรียนวันนี้ทำให้ได้รับรู้เรื่องระดับประเทศ

คนที่ 4

เราได้ใช้เครือข่ายในฐานะหัวหน้าสาขา เครือข่ายไม่มีต้นทุนแต่เกิดมาจากการสร้างความสัมพันธ์ ทำโดยเชิญอาจารย์ที่มีความชำนาญพิเศษมาสอน มีกระเช้าให้

คนที่ 5

เมื่อมาเป็นอาจารย์ ก็ต้องใช้เครือข่ายเช่น การดูแลนักศึกษา ส่งนักศึกษาประกวด ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับเอกชน ทำให้การฝึกงานดี ทำให้รับรับเด็กเราเข้าทำงาน

คนที่ 6

เครือข่ายระดับบุคคล ก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง

เครือข่ายระดับองค์กร เราไปให้ความรู้ชุมชน ชุมชนสามารถยืนได้เอง

การมีเครือข่ายไม่ว่าระดับใดก็สำคัญ และทุกองค์กรควรจะมี

คนที่ 7

การมีเครือข่ายเป็นเรื่องที่ดี ทำให้ขยายความเป็นอยู่ เวลาร่วมงานจังหวัดจะได้ทราบความเห็นฝ่ายต่างๆ ระนองกำลังจะเกิดร่องน้ำ ท่าเรือระนองจะเกิดเส้นทางขนถ่ายสินค้าและการท่องเที่ยว เครือข่ายสำคัญมาก เราควรพร้อมไปเชื่อมด้วย

คนที่ 8

2-3 ปีหลังๆ เราแปรจากผู้ขายมาเป็นตัวกลาง เราใช้ 5 ยุทธศาสตร์ แต่เราก็มีจุดอ่อน เราทำร่วมกับ supplier ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ และเชื่อมั่นเรา เรามีหุ้นส่วนญี่ปุ่นอยู่แล้ว ทำให้ทำงานง่าย

คนที่ 9

ในแง่การสร้างเครือข่ายจำเป็นทั้งภายในและนอก บริษัทสามารถมีหลายบริษัทในเครือ ภายนอกก็ต้องมี partner วันนี้ที่ได้คือ เวลาร่วมมือกัน ทุกภาคส่วนต้องเสมอภาค ให้ศรัทธากัน อ่อนน้อมสำคัญที่สุด และทุกคนต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR architecture

มีวงจรชีวิต human capital

เป็นโครงสร้างอายุ HRD แต่ละช่วง ล้มเหลวแต่เด็ก ก็จะล้มเหลวเมื่อเป็นผู้ใหญ่

Investment เป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ถ้าลงทุนในด้านที่เหมาะสม ก็ได้คนมีคุณภาพดี เป็นการปลูก

ตลาดแรงงานมีหลาย sector ทุกคนเข้าตลาดแรงงานเป็นระดับ Micro

ปัญหาคือ คุณสมบัติทุนมนุษย์ไทยยังเน้น copy

การแข่งขันไม่เกิด ความยากจนมากขึ้น ขาดคุณธรรม

ในที่สุดมีเป้าหมายไปสู่ความยั่งยืน

การลงทุนอยู่ที่ how to do it?

ในกรณีมีปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงมากระทบ ถ้า CEO ไม่สนใจพัฒนาคน ก็ไม่มีคุณภาพ

ประชากรมาจากการย้ายถิ่นด้วย ไม่ใช่การเกิดอย่างเดียว ในอนาคต จะมีการย้ายถิ่นระหว่างอาเซียนมากขึ้น และจะมีมาจากจีนด้วย

การที่ทรัมป์ตั้งกำแพงภาษีเหล็กและอลูมิเนียม ทำให้การจ้างงานเหล็กและอลูมิเนียมเพิ่ม แต่ธุรกิจที่ใช้ปัจจัยจากเหล็กและอลูมิเนียมจะจ้างน้อยลงเพราะต้นทุนภาษีแพงขึ้น

ทุกองค์กรต้องลงทุนเรื่องคนเมื่อจบการศึกษาแล้ว กระทรวงแรงงานควรลงทุนพัฒนาคนอายุ 60-65 ปีด้วย


วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 8

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

----

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2561 อาจารย์จีระได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ มาบรรยายหัวข้อ HR for Business International and Thailand 4.0 ให้กับนักศึกษาปริญญาโทจากหลายๆประเทศ เช่น จีน ไนจีเรีย ไต้หวัน รวมถึงนักศึกษาไทย กว่า 40 คน

รายละเอียดในลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/2338702089488567/

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/2338786742813435/

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2338755842816525.1073741957.100000463969628&type=3

มีหนังสือที่เขียนโดย Dave Ulrich ได้ระบุว่าต่อไป HR จะเป็น Global Business

เขาสรุปออกมาว่า HR ไม่ว่าจะเป็นของ Ulrich หรือของอาจารย์จีระ ก็สามารถประยุกต์ใช้กับทุกประเทศได้ มีเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดอยู่คือ 2R’s เราต้องเข้าใจบริบทประเทศเหล่านั้น เช่น ปัญหาในระดับ Macro ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข HR Architecture รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับประเทศเหล่านั้น สำคัญที่สุดก็คือวัฒนธรรม วิถีชีวิต กฎหมายแรงงาน

ถ้าออกข้อสอบว่า เหมืองบ้านปูไปทำธุรกิจที่อินโดนีเซีย จะใช้หลักการที่เรียนในวิชานี้ได้หรือไม่

หลักการก็คือดูเรื่อง

1. Macro กับ Micro

2. HR Architecture ประเทศนั้นมีการผลิตบุคลากรอย่างไร โครงสร้างอายุ ประชากรสูงอายุ ตลาดแรงงาน

นอกจากนี้ ยังมีการปลูกระดับ ครอบครัว การศึกษา Lifelong Learning มีการเน้น 8K’s 5K’s เป็นการมองทุนมนุษย์ระดับคุณภาพ อย่างน้อยเรื่องจริยธรรม Networking เรื่องความสุข ดิจิตอล ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรมด้วย อย่างเช่น ละครบุพเพสันนิวาสนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้าง

อาจารย์จีระมองทุนทางวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ วัฒนธรรมก็มีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างก็ยกเลิกไป บางอย่างก็ต้องนำขึ้นมา

ถ้ามีข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องทุนทางวัฒนธรรม ต้องมองทุนทางวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเน้นภูมิสังคม ทุนทางวัฒนธรรมแต่ละภาคแตกต่างกัน

ทุนทางวัฒนธรรมแบ่งออกเป็นระดับชาติ อาจจะรวมท้องถิ่นและระดับการทำงาน เช่น วัฒนธรรม ค่านิยมองค์กร องค์กรการเรียนรู้ (Learning Culture)

หลักการ HR แต่ละประเทศเหมือนกันคือ ปลูก เก็บเกี่ยว Execution

Execution คือ การเอาชนะอุปสรรค ทำแล้วต้องประสบความสำเร็จ ชนะเล็กๆ Human Capital ต้องดูกรณีศึกษาความสำเร็จ

การเอาชนะอุปสรรคต้องมีผู้นำ เพราะขจัดอุปสรรคต่างๆได้ ผู้นำต้องอยู่ในระดับสูงด้วย CEO ต้องเก่งเรื่องคน บริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีพื้นฐานเป็นการเงินและวิศวกร เมืองไทยมองคนเป็นปัญหาไม่ใช่โอกาส คนที่ทำงานเรื่องคนต้องทำงานต่อเนื่อง

หลักการ แต่ละประเทศมีตัวละครเหมือนกันคือ

1.HR Manager

2.Non-HR คนในบริษัทฝ่ายอื่นๆ ต้องได้รับการฝึกให้เข้าใจ

3.CEO เจ้านายต้องให้การสนับสนุน

HR ในที่นี่เป็น 3V’s ทำงานเป็น Strategic partner กับหน่วยต่างๆ

ความคิดเห็น

ผู้แทนจากสามารถ

ที่ดีสุดที่สามารถไปคือที่กัมพูชา เป็นเรื่องวิทยุการบิน เจ้านายศึกษาประเทศไทยก่อน แล้วไปดูว่าในต่างประเทศ ธุรกิจเหล่านี้เป็นอย่างไร ในไทย วิทยุการบินเป็นรัฐวิสาหกิจ สามารถไปทำด้านวิทยุการบินให้กัมพูชา ในเรื่อง HR ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมและบุคลากร ตอนแรกคนไทยระดับผู้นำไป แล้วระดับรองลงมาก็จ้างคนในท้องถิ่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องรู้สภาพแวดล้อมด้วย

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไปสร้างโรงพยาบาลที่ดูไบ ปัญหาคือ ไม่มีหมอแต่มีเครื่องมือแพทย์ หมอไทยไม่ไป หมอดูไบก็ไม่อยากมาทำงานด้วย จึงไม่สำเร็จ

เวลาที่คนไทยไปต่างประเทศ ก็ต้องเข้าใจชาวต่างชาติเชิงประวัติศาสตร์ด้วย ปัจจัย intangible แม้ไทยจะเป็นมิตรกับเวียดนามในปัจจุบัน อย่ากล่าวถึงตาคลี อู่ตะเภา อุดรธานีเพราะเป็นฐานทัพอเมริกันที่ไปโจมตีเวียดนาม แต่ควรพูดถึงนครพนมเพราะลุงโฮเคยมาอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้นนักศึกษาปริญญาเอกต้องรู้ประวัติศาสตร์ให้ครบถ้วน

ผู้แทนจากรามา

ที่ขยายไปคือ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ แต่ด้านต่างประเทศ มี MOU แลกเปลี่ยนหมอระหว่างประเทศ จึงมีทั้งหมอและพยาบาลมาฝึกงาน

ได้มีการเปิดสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ที่บางปูซึ่งเป็นพื้นที่พระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 วัตถุประสงค์คือ สร้างเป็นโรงพยาบาลฝึกนักศึกษาแพทย์ปีที่ 1 ให้บริการรักษาโรคปฐมภูมิเท่านั้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้เคยดู Rama Channel เป็น Telemedicine ซึ่งช่วยได้มาก คนไทยมักไปหาหมอ

ผู้ตรวจ

มีโครงการที่ชายแดนกัมพูชาร่วมกับโครงการพระราชดำริ ทำเรื่องการพัฒนาการศึกษาชายแดน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก่อนจะเข้าไปต้องมีการศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ นักเรียนเรียนเช้าและบ่าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักการ HR เหมือนกัน แต่บริบทต่างกัน นำปลูก เก็บเกี่ยว Execution และ HR Architecture มาใช้ได้ตลอด

การบ้าน

แบ่ง 2 กลุ่ม นำเสนอหนังสือ Shift Ahead

กลุ่ม 1 อ่านบทที่ 2 อธิบายว่า หนังสือ Shift Ahead กล่าวถึง 2R’s อย่างไรแล้วเปรียบเทียบอย่างไร

กลุ่ม 2 อ่านบทที่ 3 วิเคราะห์ว่า 2R’s ของอาจารย์จีระคืออะไร หลังจากอ่านหนังสือ Shift Ahead ต้องวิเคราะห์อุปสรรค

แล้วนำเสนออาทิตย์ต่อไป

สำหรับ Shift Ahead นี้ 2R’s คือ individual กับ company แต่ 2R’s ของอาจารย์จีระคือทุนมนุษย์

สำหรับ Shift Ahead นี้ 2R’s เป็นเรื่อง branding and marketing

R หมายถึง ตราบใดที่บุคคลหรือองค์กรเหล่านั้นปรับตัวให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจนั้นจะมีความหมาย

ผู้นำต้องมองอนาคตตลอดเวลาเพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยเรื่องคนสนับสนุน branding and marketing

การเปลี่ยนแปลงทำให้ relevance กลายเป็น Irrelevance

วิธีการทำงาน ควรคลิกเข้าไปดู Book review on Shift Ahead

ต้องแยกระหว่าง Relevance กับ Irrelevance

Relevance เป็นการทำให้ธุรกิจอยู่รอดอย่างยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

จะมีข้อสอบให้แปลคำว่า Execution

ประเทศไทยมักสนใจ What and how แต่ควรสนใจ How to do it successfully? (Overcome difficulties)

Execution คือทำแล้วมีคุณภาพและมีความยั่งยืน

Sustainability capital ทำวันนี้แล้วอยู่รอดในวันข้างหน้า

เรียนจบปริญญาเอกแล้วต้องทำชีวิตให้มีคุณค่า

อาจจะมีข้อสอบให้นักศึกษาเขียนทฤษฎีของตนเอง อาจจะขยายจาก 8K’s 5K’s ก็ได้

การพัฒนาองค์กรการเรียนรู้

การมี Knowledge แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่มี Learning Organization

ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organization ได้

เริ่มที่การเก็บความรู้มีทั้ง Tacit (ความรู้ในตัวบุคคล) และ Explicit (ความรู้ที่เขียนออกมาเป็นผลงานและยุทธศาสตร์) ต้องมี Tacit Interview ช่วยเก็บข้อมูลเพื่อเปลี่ยน Tacit เป็น Explicit เพราะมูลค่าองค์กรมาจาก Tacit

ถ้าองค์กรใดก็ตาม เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร และสามารถแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เท่ากับเป็นการเพิ่ม KM

กฟผ.มี KM ด้านการสร้างโรงไฟฟ้า ใช้วัตถุดิบและซ่อมบำรุง

ในอนาคต โลกเปลี่ยน ก็ต้องนำอดีตและอนาคตมาร่วมกัน ต้องนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน อ่านหนังสือด้วยความอยากรู้อยากเห็น จะทำให้ทราบแนวโน้มในอนาคตซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ขึ้นอดีตเท่านั้น นำแนวโน้มอดีตมาทำกราฟเป็น Projection อย่างเดียวไม่ได้ บางสิ่งก็ต้องเปลี่ยนแปลง

กรณีศึกษา กฟภ. ให้อาจารย์จีระฝึกคน 4,000 คน เรื่อง Knowledge Audit มีการทำแบบสอบถามว่า ก่อนเรียนและหลังเรียนได้มูลค่าเพิ่มหรือไม่ ออกมาเฉลี่ย 17% แล้วมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ถ้าผู้นำองค์กรอื่นกล้าทำโครงการแบบนี้ ก็จะได้ประโยชน์

อาจารย์จีระเข้าไปทำที่การรถไฟ เขาอยากทำแต่ไม่สำเร็จเพราะมีปัญหามาก

ต่อไปก็ไปทำให้กลุ่มไทยซัมมิท กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

เรื่ององค์กรการเรียนรู้น่าจะเป็นวิทยานิพนธ์ชั้นยอด

องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ สำคัญ อย่างน้อยๆ จะตอบโจทย์ได้ 3-4 เรื่อง

จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้

– จะเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)

– จาก Good อาจจะไปสู่ Great

– พนักงานจะภูมิใจและมีความสุขในการทางาน

– การทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต

องค์กรส่วนใหญ่มี Training แต่เราไม่ค่อยจะมี Learning

Learning ถ้ามี Training

Training เราไม่ได้ไปสร้าง

– Change

– Value added Value added

– กระจายไม่ทุกกลุ่ม

– ผู้บริหารระดับสูงในอดีตยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง

– และไม่ทำอย่างต่อเนื่อง

การเรียนปริญญาเอกต้องลึกและรู้เรื่อง คำนึงถึงภูมิสังคม ทำงานแล้วต้องมีการถ่ายทอด ประสานงาน บูรณาการ มีความเป็นเจ้าของ

รู้จริง รักงาน ทำงานเป็นทีม

กฎของ Peter Senge

-Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง ปัญหาคือ คนไทยชอบลอก แต่ควรทำความเข้าใจ

-Mental Models Mental Models Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด มีการคิดหลากหลาย

-Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

-Team Learning เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน ปะทะกันทางปัญญา

-System Thinking มีระบบการคิดมีเหตุมีผล

เมื่อเรียนแล้ว ควรไปหาข้อมูลว่า แต่ละเรื่องที่ Peter Senge คิดว่า มีเพราะอะไร และอาจจะนำไปใช้ได้ ความรู้ต้องแตกฉานและประยุกต์ให้เข้ากับความจริงขององค์กรทำให้ขับเคลื่อนองค์กรได้

7 Habits: 7อุปนิสัยของผู้ทรงประสิทธิผลสูงของ Dr. Stephen Covey

1 Be proactive

2 Think with the end in mind

3 Put first thing first

4 Think win -win

5 Try to understand and then be understood

6 Synergy

7 Sharpen the saw

Edwards De Beno กล่าวไว้ถึงเรื่อง

Lateral Thinking ซึ่งแปลว่าการเป็นผู้เรียนรู้ที่ฉลาดและได้ผลซึ่งจะต้อง

-ถามว่าที่ผ่านมาหรือเป็นมา ถูก หรือ ผิด

-ท้าทายความคิดที่ถูกยอมรับ เช่น ในอดีตมีการ ถกเถียงว่าโลกแบนหรือโลกกลม

-หาทางออกใหม่ๆเช่นพยาบาลหรือหมอรู้ลึกและแคบ ควรฝึกคิดให้กว้างขึ้นเอาศาสตร์ต่างๆมาใช้

อาจจะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้หลายเรื่อง

แนวคิดใหม่ของ Grid คือ ทุกคนในสังคมต้องมีความเสมอภาคในรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ต้องมีประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร

4L’s

-Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

-Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

-Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา

-Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา กัดไม่ปล่อย ติดตามใกล้ชิด

3L’s

-Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

-Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

-Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

เจ้านายแอฟริกาก็เหมือนประเทศอื่นคือไม่ค่อยฟัง

และการเป็นสังคมการเรียนรู้ได้..ก็จะเกิดความมีคุณภาพของทุนมนุษย์ โดยเฉพาะการมีทุนแห่งความสุข+ทุนแห่งความยั่งยืน

เมื่อมีความเข้าใจในทฤษฎีและแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ แล้วจะทำอย่างไรให้ Awareness เกิดขึ้น

อย่างจริงจัง น่าจะวิเคราะห์

1.ผู้นำเป็นอย่างไร

2.บรรยากาศในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

3.ทำสำเร็จแล้วได้อะไร (Incentives)

4.สร้าง facilities ใหม่, e-learning และ ห้องสมุด

5.ทำโทษถ้าไม่ดำเนินการ

6.มี learning coach and mentor

7.มีการวัดผล และเครื่องชี้

8.โยงไปสู่ความสุขและ Blue Ocean

วีดิโอสัมภาษณ์ Peter Senge (รายการ สู่ประชาคมอาเซียน)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: คุณ Peter Senge ยินดีต้อนรับสู่รายการของผม!

Peter Senge: ขอบคุณครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: คุณมาเมืองไทยครั้งนี้เป็นครั้งแรกใช่ไหม

Peter Senge: ไม่ได้มาครั้งแรก ผมเคยมาเมื่อหลายปีก่อนแล้ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: คนไทยตื่นเต้นกับการมาเยือนของคุณครั้งนี้

Peter Senge: 2-3 วันนี้สนุกมาก ผมรู้สึกสนุกมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ฉลองครบรอบ 50 ปีด้วย

Peter Senge: ครับ เป็นงานใหญ่สำหรับ PMAT

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ในฐานะเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ผมสนับสนุนองค์กรนี้

เรามาเข้าเรื่องกันเลย เกี่ยวกับ The Fifth Discipline ที่คุณมี Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง และอื่นๆ

จากมุมมองของคุณ ขอให้แนะนำท่านผู้ชมได้ไหมว่า จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรในระดับบุคคลหรือองค์กร และถือโอกาสที่คุณอยู่ที่นี่อ่านหนังสือได้ได้รับความรู้จากคุณ

Peter Senge: ก่อนอื่น มันไม่มีกฎตายตัว มันไม่ใช่การทำอะไรอย่างเดียว สองอย่าง หรือสามอย่าง

เมื่อผมมาที่นี่ ก็ได้ทำ workshop ร่วมกับผู้ฟังตลอดระยะเวลา 2 วันครึ่ง สิ่งที่ผมได้พยายามทำเป็นพิเศษคือช่วยให้คนมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจนสามารถนำไปใช้ได้ทันที สิ่งที่คนทำอย่างแรกใน Workshop

พวกเขาใช้เวลาในการหารือกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับสิ่งที่มีความสำคัญในชีวิต คุณเพิ่งบอกว่า ต้องทำจนเป็นส่วนหนึ่งของงาน แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ในชีวิต คุณรู้ไหมว่า คนไม่ใช่เด็กแล้วที่จะต้องยึดอะไรเป็นที่พึ่ง

คุณทำสิ่งต่างๆและเรียนรู้ที่จะทำมันคำ ถามแรก “ผมจะทำอะไรเป็นอันดับแรก” สิ่งที่จะทำอันดับแรกอยู่ใน Workshop เมื่อวานนี้ เราหารือกันเป็นกลุ่มเล็กๆเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญในชีวิตของเรา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ในชีวิต ไม่ใช่ในงานใช่ไหม

Peter Senge: ในชีวิต แต่อาจจะรวมถึงในงานด้วยก็ได้ ผมอยากจะบอกว่า จะเน้นด้านใดก็ได้ มันเป็นธรรมชาติจริงๆ ในบริบทมืออาชีพ เราหมายถึงด้านการงาน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพวกเขา ที่จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่สำคัญต่อเขา เราเริ่ม Workshop ด้วยวิธีต่างๆแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันก็ตาม เพราะการเรียนรู้ทุกอย่างจะเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริงเมื่อผู้เรียนมีแรงบันดาลใจในระดับหนึ่งที่จะร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่มีใครบังคับได้ คุณต้องตัดสินใจเอง ผมคิดว่า การเดินหรือวิธีอื่นๆอาจเป็นความคิดที่ดี แต่กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องเข้าถึงแก่นข้างใน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: เรามีข้อสรุปที่ตรงกัน เมื่อผมทำ Workshop ผมมักขอให้เขาค้นหาตัวเอง เพราะบางครั้งเขายังยึดติดทฤษฎีอยู่มาก

Peter Senge: ใช่แล้ว พวกเขาพูดถึงแต่ปัญหา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ทฤษฎีการเรียนรู้ของผม

ประการแรก ต้องเน้นความจริง

ประการที่สอง เลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและงานของคุณ

ผมเรียกว่า ทฤษฎี 2R’s: เน้นความจริงและตรงประเด็น

สำหรับคุณคือ การค้นพบตัวเอง personal mastery หรือรู้อะไร รู้ให้จริง เป็นการเข้าใจในสิ่งที่คุณอ่าน

การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ใช่ไหม

Peter Senge: ไม่ใช่แค่ผม บางคนได้เรียนรู้มากจากการอ่าน แต่บางคนอาจจะไม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: คุณให้คะแนนการอ่านในฐานะการเรียนรู้กี่เปอร์เซ็นต์

Peter Senge: สำหรับคนส่วนมากน่าจะเป็น 10-20%

คุณทราบไหม เวลาที่อ่านหนังสืออย่างผิวเผินหรือเพื่อความเข้าใจในเชิงลึก คุณก็ได้ข้อมูลทั้งนั้น

บางทีข้อมูลจุดประกายความคิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ใช่

Peter Senge: บางครั้ง ความคิดที่คุณค้นพบอาจจะมีความสำคัญต่อคุณ นี่สำคัญมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ใช่แล้ว

Peter Senge: และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ ประการแรกสุด การเรียนรู้ทุกอย่างมาจากการปฏิบัติ คุณจะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใดได้ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ ขอให้ดูวิธีการเรียนรู้ของเรา โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญ เช่น การเดิน ขี่จักรยาน หรือ เรียนคณิตศาสตร์ขั้นสูง สิ่งนี้สำคัญ บางทีคุณอาจจะเรียนรู้จากการปฏิบัติ แต่การอ่านเป็นการจุดประกาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ใช่

Peter Senge: หรือจุดเทียนส่องสว่างไปยังการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: คุณต้องรักการเรียนรู้ด้วยใช่ไหม

Peter Senge: ผมจะอธิบายให้คุณฟัง ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องซับซ้อน มันให้ข้อมูลแก่คุณ คุณดึงข้อมูลออกมาจากหนังสือ ในเชิงเทคนิค คุณได้แค่ข้อมูล มันไม่ใช่ความรู้ เราใช้คำว่า ความรู้ สำหรับข้อมูลมหาศาล คุณก็ทราบอยู่แล้ว คุณก็ทราบอยู่แล้ว แต่สิ่งที่คุณรู้จริงอยู่ภายในและมักแสดงออกมาเมื่อคุณลงมือปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น ผมรู้จริงเกี่ยวกับการทำงานกับคน เมื่อคุณมองดูคนทำงานกับคน คุณก็บอกว่า คนนี้มีความสามารถ เขาอาจจะรู้มากเกี่ยวกับการทำงานกับคนแต่ไม่รู้จริงว่าต้องทำงานกับคนอย่างไร ยังมีข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับการเรียนรู้ การรับข้อมูล แล้วกระตุ้นให้เกิดความคิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ใช่ นอกจากการอ่านและการลงมือปฏิบัติแล้ว มีอะไรอีกที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

Peter Senge: พวกเราเป็นมนุษย์ นอกจากเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว เรายังเรียนรู้จากกการปฏิสัมพันธ์กัน

เช่น เราเรียนรู้ที่จะเดินในชุมชน เราเรียนรู้ที่จะพูดเพื่อปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นๆ การเรียนรู้จึงมีองค์ประกอบทางด้านสังคมและเป็นธรรมชาติของความสัมพันธ์ การทำงานเป็นตัวอย่างหนึ่ง ถ้าคนไม่รู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจคนอื่น การเรียนรู้ก็จะลดลงมาก เพราะเขาไม่ต้องการเสี่ยง คุณไม่สามารถเรียนรู้ได้มากถ้าตกอยู่ภายใต้ภาวะความเสี่ยง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ผมจำได้ ในหนังสือเล่มหนึ่ง คุณได้เสนอแนะให้องค์กรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ใช่ไหม

Peter Senge: เราได้พูดไว้บ่อยมากว่า ในฐานะผู้จัดการ จะต้องมีหน้าที่หนึ่งในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกปลอดภัยพอที่จะเรียนรู้ ในการเรียนรู้ ก็ต้องเสี่ยง เมื่อเสี่ยง คุณก็ไม่อยากให้เกิดความล้มเหลว เมื่อมันเกิดขึ้น คุณก็จะกลัว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: เป็นการเสี่ยงในวิธีการเรียนรู้ ใช่ไหม

Peter Senge: ใช่ คุณไม่สามารถเรียนรู้ได้ถ้าไม่มีมัน ปัญหาก็คือ มันเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: วันนี้ ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากที่คุณมาอยู่กับผม ผมรู้ว่า คุณมีพลังมาก

ผมขอสรุป หนังสือ “The Fifth Discipline” มีอายุ 20 ปีแล้วใช่ไหม

Peter Senge: 25 ปี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ครับ มีทฤษฎีใหม่หรือความคืบหน้าเพิ่มเติมจาก The Fifth Discipline ไหม

Peter Senge: คุณก็ทราบว่า กระบวนการยังไม่ได้ยุดแค่นั้น การเขียนหนังสือเป็นแค่การนำเสนอภาพรวม

แต่มันก็มีพัฒนาการ งานต่างๆเก็บรักษาไว้ในชุมชนนักปฏิบัติ ถ้าคุณดูประวัติศาสตร์ก็จะราบว่าใครมีอิทธิพลเรื่องอะไร ผมจะบอกว่า คน 3 กลุ่มมีอิทธิพลมากที่สุด เราเรียกว่า กลุ่มนักปฏิบัติได้แก่ ผู้จัดการ อาจารย์ คนในสถานการณ์จริงที่จะต้องปฏิบัติให้เกิดผล ยังได้รับอิทธิพลจากแหล่งข้อมูลทางวิชาการแต่งานส่วนใหญ่มาจากกลุ่มนักปฏิบัติ โลกเปลี่ยนแปลงไป ความท้าทายในการปฏิบัติก็เปลี่ยนแปลงไป

งานก็เปลี่ยนแปลงไปมากด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: แนวคิดยังคงเหมือนเดิมใช่ไหม

Peter Senge: แนวคิดเรื่องงานยังคงเหมือนเดิม สิ่งสำคัญคือวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล และวิสัยทัศน์ร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ mental model มีแบบอย่างทางความคิด เราไม่ได้เห็นโลกทั้งใบ แต่เราเห็นโลกจากมุมมองของเราเองเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ mental model มีแบบอย่างทางความคิด สิ่งสำคัญคือ เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน มันสำคัญมากสำหรับระบบใหญ่ นั่นเป็นแนวคิดหลัก ถ้ามันเป็นแก่น ก็จะเป็นแกนของต้นไม้ ข้างนอกคือวงปี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ผมอยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่อย

มีลูกค้ามากมายมาร่วม workshop กับผมซ้ำแล้วซ้ำอีกจากหลายภาคส่วน บางครั้งก็เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และคุณก็ได้เรียนรู้มากจากพวกเขาใช่ไหม

Peter Senge: แน่นอน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: พวกเขาจะเข้าใจชัดเจนขึ้นเมื่อได้ทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับแนวคิดของคุณ

ถ้ากระบวนการนี้ยังคงดำเนินต่อไป ก็จะเกิดประโยชน์มากขึ้น

Peter Senge: ครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ปัญหาในประเทศไทยคือ การฝึกอบรมมักทำแบบเป็นช่วงๆ

บางครั้ง ไม่มีความต่อเนื่องเพราะคนเปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก ผมคิดว่าคุณูปการที่ผมสร้างให้แก่ประเทศไทยคือ เมื่อผมอ่านแนวคิดของคุณ ก็พยายามทำให้พวกเขาค่อยๆซึมซับลงไป

สุดท้าย ในหลัก The Fifth Discipline ทั้ง 5 ข้อ คุณต้องการให้มันเชื่อมโยงกันหรือแยกจากกัน

Peter Senge: ทั้งสองอย่าง อาจจะเป็นสิ่งที่ต่างกันหรือเครื่องมือที่ต่างกันแต่เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด

คุณไม่สามารถจะคิดเป็นระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมีถ้าไม่มีแบบอย่างทางความคิด เพราะคุณไม่ได้เรียนรู้แค่ระบบเท่านั้น แต่ผลก็สะท้อนอยู่ในนี้ด้วย มันเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ในการศึกษาเรื่ององค์กรการเรียนรู้ของคุณ มีอาจารย์หรือที่ปรึกษาท่านใดโดยเฉพาะรุ่นใหม่ที่เจริญรอยตามคุณแล้วมีความคิดใหม่ไหม

Peter Senge: มีวิวัฒนาการมากมายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะการทำงานกับหลายองค์กร

เมื่อเราดูหลักดั้งเดิม 5 ประการกับแนวคิดนี้ มันไม่ใช่แต่ละองค์กร ในสมัยนั้น ยังเป็นแต่ละธุรกิจ

ปัจจุบันนี้ มีหลายโครงการเกิดจากความร่วมมือของหลายองค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ใช่ เรียกว่า เครือข่าย

Peter Senge: นั่นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: คุณนำคนเหล่านั้นมารวมกัน หรือแยกกัน

Peter Senge: พวกเขาต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันตามลักษณะปัญหา ถ้าคุณต้องจัดการกับปัญหาใหญ่ ซับซ้อนและเกี่ยวกับความยั่งยืน เช่น อาหาร น้ำ พลังงานและปัญหาอื่นๆในโลก ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายองค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ผมเชื่อว่า การมาเมืองไทยของคุณเป็นประโยชน์มาก

Peter Senge: ขอบคุณครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: ขอบคุณมากครับ

สัมภาษณ์ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่ Peter Senge พูดถึงใน The Fifth Discipline กับทฤษฎีการเรียนรู้ของดร.จีระ เป็นเรื่องเดียวกัน นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มีกูรูทั้งโลกตะวันตกและตะวันออกที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกัน Peter Senge บอกว่า การสร้างการเรียนรู้ในองค์กรได้จะต้องเรียนกันเป็นทีมช่วยเหลือกัน เรื่องดร.จีระก็พูดในทฤษฎี 4L’s ประการหนึ่ง ต้องเป็น Learning Communities มี Learning Environment และมีกระบวนการเรียนรู้ที่ไปในทิศทางเดียวกัน Peter Senge พูดถึง Personal Mastery รู้อะไรรู้ให้จริง ดร.จีระก็พูดในทฤษฎี 2R’s ซึ่งอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่ดร.จีระได้คิดค้นขึ้นมาต้องเรียนรู้ มีระบบการคิดมี มี Mental Model ที่ดี แล้วต้องเรียนรู้จากข้อเท็จจริง อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง ก็คิดอย่างมีเหตุผล เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ที่ดร.จีระกล่าวถึงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือทฤษฎี 3L’s ต้องเป็นการเรียนรู้เป็นทีม ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จีระได้พูดถึงทฤษฎี 2I’s เราต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ทุกคนต้องมีความรู้สึกอยากจะเรียนรู้ร่วมกัน ทั้ง 2 ท่านมีแนวคิดที่สร้างการเรียนรู้ในองค์กรเหมือนกัน ให้คนไทยได้ศึกษาทฤษฎีของดร.จีระด้วย เพราะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่ในวัฒนธรรมไทยด้วย ก็จะเป็นแบบอย่างการสร้างองค์กรการเรียนรู้ในวัฒนธรรมไทยได้

ช่วงคิดการณ์ไกล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: จากการที่ได้รู้จัก Peter Senge เขามี Soft Skill มาก เขาใช้เวลาทำสมาธิตลอดเวลา ใช้เวลาที่ประเทศจีน เขาเข้าใจ Human resource ที่สำคัญอยู่ที่ศักยภาพของคนข้างใน ประทับใจเขามากที่พูดถึง 2 เรื่องว่า เรียนรู้จากอะไร เขาบอกว่า ต้องดูว่า การเรียนรู้อะไรสำคัญต่อตัวคุณหรือชีวิตคุณ แล้วเขายกตัวอย่างเด็กเดินได้ ถ้าเด็กอยากเดิน การเรียนรู้ก็เหมือนการเดิน ใช้คำว่า Aspiration คือ ความอยากทำ คือทำในสิ่งที่สำคัญ เราต้องเห็นความสำคัญก่อน จึวเป็นทฤษฎี 2R’s คือรู้ความจริง แล้วเลือกประเด็นที่ทำ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล: Peter Senge พูดถึงการสร้างองค์กรการเรียนรู้ตามแบบของเขาเอง จะมีความสอดคล้องบางส่วนก็คือ อันดับหนึ่ง เริ่มจากตัวบุคคลก่อน องค์กรการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามากระทบ มีทั้งโอกาส ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ถ้าองค์กรนั้นได้เรียนรู้ ก็จะเกิดประโยชน์ ส่วนใหญ่ แม้องค์กรจะมีการเรียนรู้ ถ้าไม่ได้มีระบบที่จะมาจัดเก็บแล้วนำไปใช้ ก็จะไม่เกิดผลในส่วนรวม ส่วนบุคคลเป็นขั้นแรก ก็ต้องมีความคิดและความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ เมื่อมีความคิดที่จะเรียนรู้หรือใฝ่รู้ บุคคลได้ประโยชน์แน่นอน ขั้นตอนที่สอง คือเริ่มปรับไปเป็นกระบวนการขององค์กร ขั้นตอนที่สาม เมื่อความคิดองค์กรเริ่มคล้ายกันก็ต้องนำมาแบ่งปันกัน ขั้นตอนที่สี่ ก็เริ่มคิดเป็นทีม ขั้นตอนที่ห้า ซึ่งสำคัญมากคือคิดเป็นระบบ คิดถึงให้มองภาพย่อยแล้วประกอบกันเป็นภาพรวมขององค์กร องค์กรของดร.จีระต้องไปฝึกอบรมคนซึ่งบางครั้งระยะเวลาสั้น แต่องค์กรยาว ดร.จีระก็มีวิธีที่จะทำให้เวลาอันสั้น สามารถที่จะดึงศักยภาพที่เขามีอยู่แล้ว องค์กรเก็บไว้เป็น KM แต่ไม่เคยนำมาใช้เลย ดร.จีระมีกระบวนการ 2R’s ตัวที่หนึ่ง คือ ให้รู้จักความจริง ในความเป็นจริง ในกระบวนการเรียนของดร.จีระ ตัวบุคคลต้องมีความรู้มาก่อน ดร.จีระมีกรรมวิธีคือ Learn-Share-Care ใส่ความรู้ใหม่เข้าไป เพื่อให้ได้รับองค์ความรู้ใหม่ที่เหมือนกัน ต่อไปมีการกระชับความรู้ในชั้นเรียน Execution คือ Turn Idea into Action

ความคิดเห็น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Peter Senge มาตรฐาน MIT ซึ่งมีการวิจัยและวิเคราะห์เรื่ององค์กรการเรียนรู้ เขียนหนังสือ The Fifth Discipline กฎ Peter Senge เริ่มด้วย Personal Mastery หมายถึง เรียนอะไรต้องรู้จริง Mental Models หมายความว่า ในการทำอะไร ไม่ควรคิดแบบเดิม พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเหมือน mindset ข้อสามคือ Shared Vision ข้อสี่ Team Learning และสุดท้ายคือ System Thinking

Peter Senge ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเอเชีย บ้าคลั่ง Soft Skill และวิปัสสนา

Learning Organization จะสำคัญเมื่อตัวเราเห็นคุณค่า โดยเริ่มจากกระดับบุคคลก่อนแล้วรวมกันเป็นขององค์กร มีการยกตัวอย่าง Aspiration คือมีความอยากทำ ถ้าเรียนโดยการถูกบังคับ ความรู้จะไม่อยู่ในตัวเรา วิชาที่เรียนจะติดตัวเราไปเพราะ 2R’s มาจากความจริง เรียนแล้วต้องนำไปแก้ปัญหาได้

คุณวราพร ชูภักดี

Peter Senge เน้นในระดับองค์กรมากกว่าแต่อาจารย์จีระจะเน้นระดับบุคคล องค์กร สังคม อาจารย์พยายามปลูกฝังให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการ บรรยากาศ ซึ่งพยายามจะสร้างให้เกิดวัฒนธรรมขึ้นมาก่อน Peter Senge จะมี Personal Mastery เป็นหลักคิดว่า ในองค์กร ถ้าจะทำให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ จะต้องเป็นแบบไหนบ้าง อาจารย์พยายามเปลี่ยนที่ Mindset และวัฒนธรรมของคน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Peter Senge เป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่นักพัฒนาคนแต่พูดเรื่ององค์กรการเรียนรู้ซึ่งเกี่ยวกับคนและองค์กร คุณวราพรพูดถูก กฎ 5 ข้อของ Peter Sengeกับ 4L’s ของอาจารย์จีระ อาจารย์จีระใกล้ความจริงมากกว่า Peter Senge กล่าวถึง Personal Mastery และ Mental Models แต่ไม่ได้เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร ตอนสรุป เขาอยากให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ ไม่ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้มากนัก ส่วน Team Learning และ Shared Vision ใกล้เคียงกับเรา Learning Opportunities คือปะทะกันทางปัญญา เวลาทำ workshop มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน วันหนึ่งกระทรวงมหาดไทยควรฝึกกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลุ่มเล็กๆ

คุณวราพร ชูภักดี

อาจารย์จีระมองถึงสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งสร้างได้ตั้งแต่ระดับเล็กขยายวงออกไปสู่ระดับชาติ ถ้าได้นำแนวคิด 4L’s ของอาจารย์จีระไปปรับใช้ ทั้งประเทศใช้วิธีการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ โอกาสในการเรียนรู้หรือ แต่ละที่สร้างชุมชนเล็กๆแล้วขยายออกไป จะสามารถสร้างเป็นสังคมได้อย่างแท้จริง

Workshop

1. ถ้าจะให้คะแนน 0-10

- วัฒนธรรมการเรียนรู้ของท่านได้เท่าไหร่?

- วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรที่ท่านอยู่เท่าไหร่?

คะแนนวัฒนธรรมการเรียนรู้

ของตนเอง

คะแนนวัฒนธรรมการเรียนรู้

ขององค์กร

7 (ตัวผู้นำเสนอ)

6

7 (ค่าเฉลี่ยสมาชิกในกลุ่มยกเว้นคุณแอนนา)

6

9 (คุณแอนนา)

10

วิเคราะห์ช่องว่างของตนเองและขององค์กรเพื่อการพัฒนา

องค์กรจะพัฒนาได้ดีขึ้นถ้าผู้นำสนับสนุน มีทัศนคติและวิสัยทัศน์พัฒนาองค์กรที่แท้จริง

ระบบการศึกษาไทยยังถูกกลั่นแกล้งทำให้พัฒนาองค์กรการเรียนรู้ได้น้อย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาคธุรกิจยังสนับสนุนการเรียนรู้น้อย

คนที่จะจุดประกายเรื่องนี้ต้องมีบารมี

การสร้างผู้นำสำคัญมาก

2. LO กับ KM เหมือนกันอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร และ ควรจะมียุทธศาสตร์ในการพัฒนา LO และ KM อย่างไร เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์

LO กับ KM ตัดกันไม่ขาด ต้องไปด้วยกัน บุคคลต้องขวนขวายเรียนรู้ก่อนจะก้าวไปสู่องค์กรการเรียนรู้และประเทศแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา

ผู้นำต้องเห็นความสำคัญการเรียนรู้ องค์ความรู้รามามากมาย แต่คนที่เก็บความรู้มาใช้น้อยมาก ความรู้ไปพร้อมกับอาจารย์หมอที่เกษียณแล้ว การจัดเก็บความรู้ต่อยอดลำบากเพราะหมอมีงานมาก

ถ้ามีการถ่ายทอดพันธกิจมายังคณบดีที่รับผิดชอบ ก็จะใช้นโยบายสร้างองค์กรการเรียนรู้ได้ง่าย และสามารถพัฒนา KM และ LO ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KM ต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วย เวลาที่เรียนต่างประเทศ ต้องไปอ่านหนังสือนอกจาก lecture เพื่อมาประกอบการสอบ เช่น การวิจารณ์วรรณกรรมเชคสเปียร์ ต้องอ่านให้มาก เพื่อให้มีความรู้ที่หลากหลายเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์

ควรคิดว่า Learning Culture คืออะไร เช่น ร้าน Kinokuniya มีคนอ่านเป็นชาวต่างชาติ ต้องฝึกคนให้มีนิสัยให้รักการอ่าน ร้านหนังสือยุคใหม่มีที่นั่งอ่านด้วย

วัฒนธรรมการเรียนรู้ไม่ใช่อ่านตำราเท่านั้นแต่ต้องอ่านวารสารดีๆด้วย

ถ้ามี KM ก็กระตุ้นไป LO แต่ต้องผ่านวัฒนธรรมการเรียนรู้

ถ้าทำวิทยานิพนธ์วัฒนธรรมการเรียนรู้ ควรสัมภาษณ์คนใฝ่รู้ให้มาก

KM เป็นพื้นฐานเก็บข้อมูลที่เกิดแล้ว แต่ประเทศไทยมีปัญหาคือ ทายอนาคตไม่ถูก แต่ถ้าอ่านมากก็จะทายได้ถูก

นักศึกษา

KM ในปัจจุบัน เริ่มทำเพราะปัญหาหน้างาน แล้วคิดงานออกแบบใหม่ แต่ไม่ได้มองในอนาคต ทำอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้ทั่วถึง ตอนนี้ มีแต่ลูกค้าเก่า แต่ลูกค้าใหม่ยังไม่เห็นความสำคัญในการเก็บองค์ความรู้เพื่อนำมาปรับใช้แก้ปัญหา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องนี้ยาก แต่ทุกคนทำได้ดี ความหลากหลายของรุ่นนี้นำไปสู่ความสำเร็จได้ รู้แล้วต้องทำจึงจะมีประโยชน์

3. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของ “บุคคลแห่งการเรียนรู้” และ “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ของ Chira กับ Senge

บุคคลแห่งการเรียนรู้

Chira

Senge

เน้นระดับสังคม

สร้างบรรยากาศ

ทำให้เกิดองค์กรการเรียนรู้ มีการปะทะทางปัญญา

เกิดความรู้ที่นำไปใช้ให้เกิดคุณค่า

กระบวนการเรียนรู้เพื่อไปสู่อนาคต

เน้นระดับองค์กร

Personal Mastery คล้ายๆกับสร้างคนให้มุ่งมั่น ใฝ่รู้ รู้จริง

Mental Models เป็นแบบอย่างความคิดที่ปรับได้ แล้วปะทะแลกเปลี่ยน

วิธีการก็สำคัญ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีอาจารย์จีระชัดกว่า แต่อีก 3 ข้อหลังของ Senge ก็สำคัญ

2 ข้อแรกของ Senge เป็น Critical Thinking

Senge มีจุดเด่นคือ คนที่เป็นบุคคลการเรียนรู้และองค์กรการเรียนรู้ ต้องเป็น Mastery

นักศึกษา

ข้อ 4 ของอาจารย์จีระและ Senge ไม่เหมือนกัน Senge เน้นการทำงานเป็นทีม ส่วนอาจารย์จีระเน้น Learning Community

ปัจจุบันนี้มีชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) ด้วย เป็นการนำคนที่ทำงานคล้ายๆกันมารวมกันไว้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Learning Communities หมายถึงเรียนจบแล้วก็ต้องใฝ่รู้ด้วย แล้วมีการนำไปทำต่อ

นักศึกษา

Senge เป็นวิทยาศาสตร์ ภาพกว้างกว่า อาจารย์เป็นศิลป์เน้นวิธีใช้ได้จริง ละเอียดกว่า

ของ Senge เป็นจุด ของอาจารย์ต่อเนื่องเป็นระบบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กฎของ Senge เชื่อมกันลำบาก

ทฤษฎีของอาจารย์จีระก็นำมาประยุกต์ได้

4L’s เป็น Learning Class นำไปทำต่อได้

4. วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะว่า จะสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในสังคมได้อย่างไร

ผู้นำต้องมีความคิดก่อนที่จะทำให้เกิดองค์กรการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะให้นิยาม วัฒนธรรมการเรียนรู้ อย่างไร

ผู้ตรวจ

คน องค์กร ชุมชน รวมกันแล้วเป็นสังคมกลายเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

ผู้แทนจากรามา

วัฒนธรรมการเรียนรู้ คือวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำตามกันมาเรื่อยๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรามีห้องสมุดแต่ไม่ได้บังคับให้ใครเข้า อาจารย์จีระได้วัฒนธรรมการเรียนรู้จากการเรียนในต่างประเทศ นักศึกษาก็ได้มาจากวิธีการสอนของอาจารย์ ก็มีการอ่านหนังสือ

คุณแอนนา

วัฒนธรรมการเรียนรู้สร้างได้จากครอบครัว พ่ออ่านเป็นต้นแบบ ลูกก็จะอ่านหนังสือตาม ต่อมาครอบครัวห่างเหิน ได้ศึกษาจากครู นักเรียนก็ได้อ่าน เช่น โรงเรียนอินเตอร์มอบหมายให้นักเรียนอ่านหนังสือตลอด

ผู้แทนจากรามา

บางองค์กรต้องแปลงวัฒนธรรมให้เป็นค่านิยมก่อนเพื่อให้จับต้องได้ เช่น มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ สานพัฒนา

5. เสนอโครงการ 2 โครงการเพื่อพัฒนา LO ในสังคม/กลุ่มนักศึกษาปริญญาเอก

5.1 โครงการ Learning Center

เป็นการสร้าง LO ในสังคม โดยทำจะร่วมกับสามารถ เริ่มสร้างศูนย์การเรียนรู้ในจังหวัดที่เป็นไปได้ เป็นการทำ CSR มี multimedia และข้อมูล interactive พิพิธภัณฑ์ interactive จะมีการขอ Sponsor จาก Apple, Samsung, Microsoft วิธีการประเมินคือ นำไปผูกระบบการศึกษา มีคะแนนจิตพิสัยให้ ถ้านักศึกษาปริญญาตรีมาเรียนแล้วไปเผยแพร่สอนรุ่นน้อง ได้คะแนนเพิ่ม ทำให้เกิดการค้นคว้าและต่อยอด ส่วนนักเรียนก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็เก็บเป็นคะแนนเข้าอบรมกับศูนย์การเรียนรู้

5.2 โครงการเข้าไปให้ความรู้ระดับครอบครัว

รับอาสาสมัครไปเผยแพร่ความรู้ไปสู่หมู่บ้าน นำคนอายุ 60 ปีที่ยังมีความสามารถมาเผยแพร่ความรู้ เป็นการสร้างงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์กับลูกศิษย์เป็นความสัมพันธ์ตลอดชีวิต มีอะไรก็ช่วยกันคิด

อยากให้พัฒนาให้คนไทยใฝ่เรียนรู้


วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 9

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

----

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประกาศ

ข้อสอบจะเน้นเรื่อง Macro ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปลูก เก็บเกี่ยว Execution หลักสูตรนี้เน้นให้คิดถึงการพัฒนาทุนและเก็บเกี่ยวมนุษย์เพื่อไปสู่นวัตกรรม มี Macro ไปสู่ Micro ตอนปลูกก็ต้องเข้าใจรากของมัน ซึ่งเริ่มต้นจาก Professor จากชิคาโกที่มองเรื่องทุนมนุษย์เป็นการลงทุน เมื่อสังคมเปลี่ยนไป อาจารย์จีระจึงได้โอกาสพัฒนาเป็น intangible

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว นักศึกษาปริญญาเอกอีกแห่งหนึ่งบอกว่า การที่อาจารย์จีระนำทุนทางปัญญาขึ้นก่อนทุนทางจริยธรรมดีตรงที่ว่า ถ้าเราคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เราก็จะคิดดี ตอนบ่าย อาจารย์จีระให้เขาทำวิจัยเรื่องตัวละคร  ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ คือ CEO ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายอื่นๆ ระบบราชการไม่มี Strategic HR มีแต่กองการเจ้าหน้าที่หรือฝ่ายฝึกอบรม ในเอกชนมี Chief Human Resource Officer อยากมีคนนอกฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เช่น การเงิน การตลาด คนเหล่านี้ก็จะรู้จักลูกน้องของเขา ตอนหลัง ก็จะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกเข้ามา

ในการทำข้อสอบ ต้องอ้างอิงแนวคิดก่อน อย่าบรรยายมาก เมื่ออ้างเสร็จแล้ว ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับอาจารย์จีระ แต่สามารถเสริมความเห็นได้ เช่น บอกว่าทุนของอาจารย์เรียงลำดับไม่ถูกโดยยกกรณีศึกษาขึ้นมา อาจจะกล่าวถึงวิทยานิพนธ์

ควรติดตามสถานการณ์ในโลกดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี Artificial Intelligence ต้องดูว่ามีผลต่อการจ้างงานอย่างไร เพราะเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์

2.การเปลี่ยนแปลงของการค้าโลก ในยุคต่อไปจะมี Employability คือเด็กมหาวิทยาลัยยุคต่อไปก็จะเป็นผู้ประกอบการ

ในทฤษฎี 3 วงกลมมีเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการด้วย

ในการทำข้อสอบ ต้องแม่น concept ก่อน อย่าบรรยายมาก

หลังจากวันนี้ จะมีการสอนภาวะผู้นำ ได้ให้ Outline หนังสือ Chira Way แล้ว ก่อนจบหลักสูตรก็ต้องส่งเล่มให้อาจารย์จีระ

สอบครั้งนี้เน้น Macro อาจมีหัวข้อวิทยานิพนธ์แทรกมา

ทุกคนควรมีคำตอบในใจแต่ละข้อแล้วมาปะทะกันทางปัญญา ไม่ควรแบ่งกันทำคนละข้อ

ท่านผู้ตรวจให้โอกาสทีมอาจารย์จีระติดตามไปโครงการไทยนิยม

ในอัดรายการทีวีเมื่อวานนี้ ระบุว่า ไทยนิยมต้องการ

1.ความต่อเนื่อง แต่ละหมู่บ้านลงเงิน 2 แสนบาท มีทางการมาพูด คนอยากฟังหรือไม่

ข้อเสนอต่างๆต้องทำต่อ อาจนำไปเป็นวิทยานิพนธ์ได้

2.ตัวละครที่มาเสริมภาครัฐคือภาควิชาการและธุรกิจ

3.ตัวละครต้องการ HRDS

นวัตกรรมสำคัญที่สุดคือ หนังสือ Chira Way ขอให้ปรึกษาอาจารย์พิชญ์ภูรี แล้วยกกรณีศึกษาของตนเองมา อาจารย์และลูกศิษย์ต้องประกอบความรู้กัน

Diversity สำคัญ ต้องอยู่บนพื้นฐาน HRDS

สรุปการสอบ

ใช้เวลาสอบชั่วโมงครึ่ง มีข้อสอบไม่เกิน 4 ข้อ

ข้อสอบเป็นแนววิเคราะห์ ต้องยกกรณีศึกษามาตอบ ต้องอ้างถึง Chira Way ด้วย

จะสอบ 2 อาทิตย์นับจากวันนี้ การอ่านหนังสือไม่ควรเน้นเพื่อสอบ แต่ทำให้เป็นนิสัยรักการอ่าน

เรื่อง Immigration ในไทยเทียบกับสหรัฐอเมริกา Trump กีดกัน Immigration ของคนผิวดำ เม็กซิกัน แต่ไทยมีมาจากประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งที่ต้องทราบคือนโยบาย Trump ธรรมชาติของ Immigration ภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงนโยบายแรงงานอพยพในอนาคต เพราะไทยมีปัญหาสังคมสูงอายุ  ในสหรัฐมีคนผิวขาวใน Midwest อยู่ในอุตสาหกรรมล้าสมัยเช่น รถยนต์ อยากผลิตแต่ไม่มีใครใช้รถยนต์อเมริกัน แสดงให้เห็นว่า งานขึ้นกับ Demand and Supply ต้องมีความรู้เศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับอนาคตของงานในไทยสำคัญมาก เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วและเปลี่ยนโครงสร้างประชากรด้วย เรื่องสุขภาพก็เป็นเรื่องใหญ่ 30 บาทรักษาทุกโรคมีต้นทุนแพงมาก ไม่ได้ถูกจริง มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ต้องทำวิจัย Critical Diseases

อยากให้สนุกกับการทำข้อสอบแล้วเรียนรู้ไปด้วย

คนที่จะสอบได้ที่ 1 ต้องมีพื้นฐานดี ประยุกต์เก่ง แล้วมีความคิดของตนเอง จะคิดไม่เหมือนอาจารย์ก็ได้ อาจารย์จีระจะมีรางวัลให้คนสอบได้ที่ 1

คุณจงกลกร สิงห์โต

ตอนนี้เรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลือกทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ บทบาทผู้นำกับการบูรณาการท่องเที่ยวชุมชน ลงพื้นที่ยะลา ซึ่งมีศักยภาพวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ชีวิตชุมชนน่าสนใจ พื้นที่ไม่อันตราย เริ่มจากผู้นำชุมชนเข้มแข็ง สร้างภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย คนในพื้นท่อยู่ได้ ศึกษาว่าทำอย่างไร มีภาครัฐไปเกี่ยวด้วย สร้างอาซ่องโมเดล

ข้อสอบที่อาจารย์ให้มีหลายสิบข้อ อยากให้นำทฤษฎีอาจารย์มาผนวกสิ่งที่เรียนรู้หรือที่ตนทำอยู่ เช่น ยกกรณีศึกษาองค์กรตนมาประกอบ หรือกรณีศึกษาอื่นๆที่ตนสนใจ ทฤษฎีอาจารย์ใช้ร่วมกันหมด 1 กรณีอาจใช้ได้หลายทฤษฎี อาจารย์จะถามเหตุการณ์ปัจจุบันด้วย ต้องประเมินแนวทางการแก้ปัญหาหรือทิศทางช่วยเหลือองค์กรนั้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนที่อาจารย์จีระสอนรุ่น 1 ก็ยังไม่รู้จักตัวเอง ตอนนั้นมีความคิดแล้วยังไม่ได้ทดสอบ แต่สร้างพลังให้ลูกศิษย์ได้ประโยชน์ ยังไม่ได้คิดว่า 2R’s จะนำไปสู่อะไร แต่วันนี้ก็อยากจะคิดไปด้วย ขอให้นักศึกษาทุกคนคิด คิดแตกต่าง ช่วยกันคิด นำไปใช้กับกรณีศึกษาของตน นำความรู้ไปช่วยประเทศ ที่ผ่านมา นักศึกษาเข้าใจแนวคิดแล้ว แต่รุ่น 16 ต้องนำ reality มาจับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำเป็นหนังสือ

ภาวะผู้นำเป็นทั้งปลูกและ Execution นำภาวะผู้นำไปแก้ปัญหาด้านต่างๆ

ผู้นำต้องแก้วิกฤติให้ได้ ซึ่งวิกฤติมี 2 อย่างคือ วิกฤติมาแล้วมาอีก (Permanent Crisis) วิกฤติมาทุกรูปแบบเป็นทฤษฎีขนมชั้น (Multiple Crisis)

การนำเสนอหนังสือ Shift Ahead

กลุ่ม 2 นำเสนอบทที่ 3

บริษัทที่เคยสำเร็จแต่มีสิ่งกีดขวางทำให้ตกลงแล้วปิดตัว

โกดักเรียนรู้เทคโนโลยีที่เข้ามา แต่ไม่กล้าจ่ายในเรื่องสินค้า นั่นคือ มองเห็นการมาของดิจิตอล ไม่คิดว่าเป็นวิกฤติกระทบการถ่ายภาพ Steven และวิศวกรโกดักคิดค้นกล้องดิจิตอลแต่ไม่ผลิตออกมา ใช้กล้องธรรมดาล้างอัดรูป ทำให้โกดักปิดตัวลง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เกี่ยวอะไรกับ 2R’s ไม่สามารถเปลี่ยน Irrelevance to Relevance แสดงว่า มีเรื่อง เวลา สินค้า บริการและลูกค้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้เรื่องทุนมนุษย์ให้เหมาะสม ถ้าตอบสนองลูกค้าไม่ทัน ก็ต้องปิดตัวลง มหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรให้ทันเหตุการณ์ Relevance ขึ้นกับเวลาด้วย

นำเสนอใช้ได้

กลุ่ม 2

โกดักคิดค้นได้แต่ไม่มีการประดิษฐ์สินค้าขึ้น

Xerox ตกต่ำเรื่องถ่ายภาพ เมื่อเห็นวัตกรรม ก็ไม่กล้าเข้าไปมาก ก็ทำเฉพาะขาวดำเท่านั้น เมื่อมีการพิมพ์นามบัตรสีและเทคโนโลยีใหม่มาก็ไม่กล้าลงทุน ทำให้หยุดตัวเองในการเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรเน้น Relevance ให้มาก ซึ่งมีในหลายส่วน ถ้าทำช้า ก็ไม่ได้ผล

กลุ่ม 2

Toys “R” Us ล้มเพราะการมาของเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทรกการดำเนินการ บริษัทมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ แต่การเลือกสินค้าพลาด ปรับราคาสูง การแข่งขันของตลาดสูงขึ้น การออกแบบสินค้าทำให้ต้องปิดตัวลง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ราชการและรัฐวิสาหกิจควรอ่านเรื่องนี้ กฟผ.ไม่ค่อยสนใจการจัดการชุมชน จึง Irrelevance

Relevance คือ supply ไปสู่ demand แนวคิดนี้เป็นจุดเริ่มของนวัตกรรม

กลุ่ม 2

Procter & Gamble แข่งราคากับเทคโนโลยี เมื่อมีการขายออนไลน์ ทำให้ลูกค้าได้ข้อมูล บริษัทโต ทางบริษัทต้องการให้มีความยุติธรรม เมื่อขยายสินค้าเข้าสู่เอเชีย คิดว่าต้องผูกติดและยึดตลาดทั้งปัจจุบันและในอนาคต ต้องปิดตัวในเอเชีย

BlackBerry ผู้ก่อตั้งเป็นวิศวกร เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา ก็ใช้อีเมล สามารถตีตลาดพิมพ์ง่าย เร็ว สะดวกปลอดภัย อยู่ในจิตใจลูกค้า ความล้มเหลวคือตลาดไม่ขยายเหมือนไอโฟน

National Geographic นิตยสารศตวรรษที่ 21 นำเสนอสิ่งต่างๆในชีวิต มีการนำเสนอในทีวี แต่ไม่สามารถทำให้สินค้าติดตลาดได้ในปัจจุบัน สำเร็จในระยะเริ่มต้นที่ถ่ายทอดทีวีไปทั่วโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Relevance คือ มีความหมายทางธุรกิจและอยู่รอด ต้องทำตนเองให้มีคุณค่า

กลุ่ม 2

จะทำวิทยานิพนธ์เรื่องการค้าชายแดน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรทำเรื่องที่เกี่ยวข้อเท็จจริงในต่างจังหวัด จับต้องได้แล้วนำทฤษฎีอาจารย์จีระมาขยาย

กลุ่ม 2

Playboy ฉบับแรกปกมารีลีน มอนโรทำให้ขายหมดเร็ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีคนบอกว่า Sex Education เป็นของแถมในวิชาสุขศึกษา เมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร นำไปสู่การทำแท้งเถื่อน สร้างปัญหาตามมา โดยเฉพาะเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งครอบคลุมทุกเรื่อง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์มีหนังสือเรื่อง จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน เป็นวงจรชีวิต

อาจทำวิทยานิพนธ์เรื่องโครงสร้างอายุ ในแต่ละช่วงก็แตกต่างกัน ต้องเข้าใจว่า วันหนึ่งจะถึงจุดนั้นก็จะไม่ประมาท

กลุ่ม 2

เมื่อมี Internet มาทำให้ Playboy ปิดลง

American Cancer Society เจริญและปิดตัวเร็ว

Teach for America สร้างมาเพื่อผู้ยากไร้ ปิดตัวลงเพราะการดำเนินการต่อไปไม่สำเร็จ

บทเรียนจากบทนี้คือ

1.ธุรกิจก็ต้องมีการพัก จะได้ไม่พัง 

2.ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ต้องใช้เงิน

3.วัฒนธรรมที่มีรอยร้าวทำให้ต้องระมัดระวัง

4.ความหยิ่งนำหน้าการล้มเสมอ

5.ผู้นำที่ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องมีคุณสมบัติพิเศษ

6.ต้องก้าวออกมาจาก Comfort Zone พื้นที่ปลอดภัยเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า

7.เราจะเป็นใหญ่หรือเก็บกระเป๋ากลับบ้าน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชอบปกหนังสือที่บอกว่า ในโลกการเปลี่ยนแปลง แต่ละองค์กรต้องมีคุณค่าที่มีประโยชน์ (Relevance)

บางเล่ม Relevance หมายถึงมีเงิน มีการสะท้อนบางสิ่ง จัดการการเปลี่ยนแปลงเร็ว

ควรนำเล่มนี้ไปอ้างอิงวิทยานิพนธ์

ประทับใจการนำเสนอ

กลุ่ม 1

นำเสนอบทที่ 2

ถ้าพบสัญญาณเหล่านี้ต้องเปลี่ยนได้แล้ว

7 สัญญาณมีดังนี้

1.ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง กำไร ขาดทุน ถ้า Stable  หรือลด ก็มีปัญหาเพราะกำลังตาย อย่าละเลยตัวเลข ต้องดูสาเหตุแล้วแก้ปัญหาทันที เป็นความเป็นจริงที่ต้องเห็น แล้วต้องเปลี่ยน

2.แข่งขันด้วยราคาไม่ใช่คุณภาพสินค้า ทำให้คุณค่าลด ต้องตามราคาของคนอื่น ทำให้ต้องเปลี่ยน

3.มีการรวบรวมข้อมูลแต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์ไม่เป็น ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ถูกและเร็วพอ

4.ละเลยกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่สนใจลูกค้า คู่ค้า เช่น โดมิโน่พิซซ่าละเลยรสชาติ เพราะต้องดูหลายธุรกิจ ธุรกิจอาหารต้องมีรสชาติดี แต่ที่อื่นดีกว่า แสดงว่าอย่าเน้นแค่จุดเดียวเท่านั้น

5.ความหยิ่งทะนงว่าดีแล้วทำให้เราล้มเอง เช่น โนเกียเคยเป็นผู้นำด้านมือถือเป็นรายแรกที่คิดกล้องมือถือ เมื่อมีไอโฟนเข้ามา แต่โนเกียไม่คิดว่าเป็นคู่แข่ง ไม่มองรอบข้าง ในที่สุดจึงล้ม เพราะไม่เปลี่ยนตามที่มีข้อมูล

6.ที่เป็นอยู่ก็ดีแล้ว ไม่อยากเปลี่ยน ไม่สนใจเปลี่ยน จึงไม่ Relevance เช่น Campbell ทำซุปสำเร็จรูป มีแบรนด์แข็งแกร่งมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเน้นอาหารสุขภาพจากธรรมชาติ เปลี่ยนโครงสร้างประชากร คนแก่มากขึ้นสนใจสุขภาพ อาหารกระป๋องต้องปรับตัว แต่บริษัทขยับตัวช้า เริ่มลดผงชูรส แต่ช่วยไม่ได้มาก จึงขยายไปผักไฮโดร ผู้บริหารต้องตระหนักความเปลี่ยนแปลง

7.ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ในส่วนบุคคลในบริษัท) ผู้นำต้องให้ความสำคัญทุกคนเพราะทุกคนมีบทบาทสำคัญ

2R’s

Reality and Relevance ต้องมีความรู้จริงในสภาพความเป็นจริง และต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแล้วมองไปข้างหน้า

Shift Ahead เป็นเรื่องในระดับองค์กร แต่อาจารย์จีระเน้นระดับบุคคล

ทำให้ปรับใช้ในเรื่องธุรกิจได้ด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เยี่ยม ขอชมเชยทั้งสองกลุ่ม

อาจารย์จีระเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ ต่อยอด 2R’s เรื่องนี้คนเขียนเป็น marketing and brand แต่ถ้าไปใช้กับราชการและชุมชนก็จะดี

วิจารณ์ได้ถูก ต้องปะทะกับความจริง

คราวหน้าจะแจก Harvard Business Review on Innovation

รุ่น 16 วิจารณ์หนังสือได้ดี เล่มนี้ไปด้วยกับ Chira Way

เปรียบเทียบ 2R’s ของอาจารย์จีระกับหนังสือเล่มนี้ได้ถูกต้อง

ได้ประโยชน์ด้านธุรกิจด้วย

Outline หนังสือ Leadership by Chira Way

1.เรียนเรื่องผู้นำไปเพื่ออะไร

2.ผู้นำกับผู้จัดการแตกต่างกัน

3.ชนิดผู้นำ

ผู้นำที่มีศรัทธา/โดยตำแหน่ง

ผู้นำมีเสน่ห์

ผู้นำจากสถานการณ์

ผู้นำคิดเก่ง

ผู้นำทำจุดหนึ่งไปอีกจุด เปลี่ยนอย่างรุนแรง

ผู้นำที่ค่อยๆเปลี่ยน

Authenticity Leadership

4.ผู้นำตามแนว 8K’s 5K’s

5.เปรียบเทียบรูปแบบภาวะผู้นำ

6.กรณีศึกษาภาวะผู้นำ

7.การพัฒนาภาวะผู้นำ

8.แบบอย่างภาวะผู้นำ

9.ตัวอย่างผู้นำที่ไม่ดี

ความคิดเห็นนักศึกษา

ควรเพิ่มตัวละครเป็นนักวิชาการ อาจเพิ่มศาสตร์พระราชา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำ

Doing thing right ต่างจาก doing right thing ซึ่ง doing right thing ได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า

นโปเลียนกล่าวว่า ผู้นำต้องสร้างความหวังให้คนอื่น

ผู้นำที่ดีต้องใช้อิทธิพลไม่ใช่สั่งการ

ผู้นำต่างจากผู้บริหาร ผู้นำต้องทำมากกว่าผู้บริหาร ผู้นำต้องเน้นคน ศรัทธา และเรื่องระยะยาว

ผู้ต้องคิดนอกกรอบ สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์ ผู้นำต้องฟังคน

ผู้นำต้องมีอารมณ์ขัน เรแกนด์ประสบความสำเร็จเพราะชอบพูดเรื่องตลก

ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ และ empower ผู้ตาม Empower คือการเก็บเกี่ยว

ผู้นำต้องมีพลังทั้งกาย จิตและจิตวิญญาณ

ผู้นำที่ดีต้องหาช่องทางให้ได้

ต้องเป็นผู้นำและผู้สอนด้วย แต่ teacher ส่วนใหญ่มักจะอ่อนเรื่องผู้นำ

ผู้นำต้องทายอนาคตได้ กระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศได้ และสร้างโอกาสใหม่

จังหวะและความรวดเร็วสำคัญมาก ผู้นำต้องรู้จักเรื่องนี้ให้ดี

Peter Drucker บอกว่า อะไรที่ต้องทำให้สำเร็จในองค์กรของตนเอง

ในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องผู้นำ ควรมีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วย

ผู้นำต้องข้ามไซโลได้

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องสมถะ รับใช้ประชาชน

ต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้นำเกิด

ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากชนะเล็กๆ ก่อน อย่าทำคนเดียว

ผู้นำต้องปรับ Mindset


วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 10

……………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกสาระสำคัญในห้องเรียน

----

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา มีอดีตกลุ่มผู้บริหารของมติชนจะทำเป็น Facebook Live ไปสัมภาษณ์อาจารย์จีระที่บ้าน สิ่งที่น่าสนใจคือ คำถามทั้ง 10 ข้อ มีความต่อเนื่องกัน กล่าวถึง 10 ปีที่ผ่านมา  แล้วอนาคตของเมืองไทยจะเป็นอย่างไร ซึ่งก็คล้ายกับ Theme ของหลักสูตรนี้ ว่า ในอดีตที่ผ่านมา เหตุการณ์เป็นอย่างไร คือ Reality แล้วในอนาคตข้างหน้า ก็ต้องปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์

          ในการเรียน ต้องจับประเด็นให้ได้ เช่น หัวข้อ แก่น ถ้ารู้แก่นแล้ว ก็จะเขียนตอบข้อสอบได้  ถ้าไม่มั่นใจว่า แก่นคืออะไร แล้วเขียนแบบไม่มีหลักวิชาการอยู่เบื้องหลัง ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร 

          แต่ละข้อ ต้องมี Chira Way ซ่อนไว้อยู่ ก็ต้องเข้าใจ Chira Way ก่อน Chira Way ก็คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรนำสถานการณ์ปัจจุบันมาวิเคราะห์ ต้องมีการจัดลำดับให้ดี ไม่ควรรีบลอก รีบตอบ รีบรู้ ข้อสอบแต่ละข้อ ไม่ควรเขียนยาว แต่ต้องคิดให้มาก ในการทำให้เกิดความแตกต่างและได้คะแนนสูง ควรจะยกตัวอย่างขึ้นมาให้ได้ บางครั้งอาจจะท้าทายอาจารย์จีระด้วยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องลอกทุกอย่าง

          ขอให้ส่งการบ้านสรุปความรู้ที่ได้ในแต่ละวัน เมื่อมีความรู้แล้ว ก็ต้องต่อยอด อาจจะนำเนื้อหาในหนังสือที่เคยวิจารณ์แล้วทั้ง 3 เล่มมาอ้างอิงในการตอบข้อสอบก็ได้เพราะเป็นการวิจารณ์หนังสืออย่างลึกซึ้ง

          ปัญหาการสอบคือ เราได้รับอิทธิพลจากการมีข้อมูลมาก หลักสูตรนี้ต้องเป็นอิทธิพลด้านการเลือกข้อมูล ใส่เข้าไปในระบบแล้วก็ทำให้เป็นหลักการได้ จะเป็นภูมิปัญญาของนักศึกษาเอง

          เมื่อวานนี้ มีการวิจารณ์หนังสือเรื่อง Shift Ahead ออกรายการโทรทัศน์ อาจารย์จีระเปรียบเทียบ 2R’s ของอาจารย์จีระกับ 2R’s ของหนังสือเล่มนี้ ผลคือ 2R’s ของอาจารย์จีระเป็นการหาความรู้ในห้อง แต่

2R’s ของหนังสือเล่มนี้หมายถึง เมื่อมีความรู้ในห้องแล้วรู้ Reality และ Relevance คืออะไร ก็ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลง เช่น บริษัทหนึ่งถูกกดดันจากเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสินค้า บริการและลูกค้าเพื่อให้สิ่งที่ทำนั้น Relevance และได้อยู่ต่อ ถ้าบางองค์กรไม่มีการฝึกอบรมหรือปลูกฝังแบบนี้ ก็จะไม่รู้วิธีปรับตัว เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนแสวงหาความรู้

การศึกษาไทยล้มเหลวเพราะเป็นการยัดเยียดความรู้ให้ผู้เรียน ประเทศไทยเป็นประเทศที่เรียนหนังสือมากที่สุดในโลก ถ้าไม่มี concept เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยก็เบื่อ เพราะถูกกวดวิชามามาก

ตอนที่อาจารย์เรียน English I ที่นิวซีแลนด์ เป็นการเรียนวรรณกรรมเชคสเปียร์ มีการนำหนังสือมาให้วิเคราะห์เรื่อง The Death of Salesman เล่มหนึ่งเขียนโดย อาร์เธอร์ มิลเลอร์ สามีมาริลีน มอนโร เรื่องเกี่ยวกับลูกคนหนึ่งที่รีบเรียนโอ้อวด ส่วนอีกคนค่อยๆเรียน ต้องวิเคราะห์บทเรียนจากเรื่องนี้ อาจารย์จีระเคยสอบกลางภาค English I ตก เพราะครูผู้สอนบอกว่า เป็นการลอกมาตอบว่า เรื่องนี้ใครทำอะไร แต่ต้องวิเคราะห์ตัวละคร เป็นแบบ Shakespearean Tragedy จึงไปอ่านหนังสือ Journal, Conference Paper ต่างๆประกอบการวิเคราะห์ ตะลุยอ่านโดยใช้ 2R’s นำความคิดของแต่ละคนมารวบรวมเป็นปัญญาตนเอง Value Diversity หลังจากวันนั้น จึงสอบ English I ได้คะแนนสูงสุด แสดงให้เห็นว่า ได้ Input ดิบ แล้วสังเคราะห์มาให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เรียกว่า เป็นทุนทางปัญญา

อาจารย์ไกรฤทธิ์บอกว่า คนสนใจว่าทำไมอาจารย์ 3 ท่านจึงมาสร้างปรากฏการณ์ที่สวนสุนันทา อาจารย์จีระบอกว่า ข้อดีคือมีลูกศิษย์หลากหลาย เมื่อปะทะกันทางปัญญาจึงมีมูลค่าเพิ่ม

ควรจับวิธีการก่อน แล้วใส่ข้อเท็จจริง ตามด้วยความคิด

การถามคำถาม ในอนาคต ไม่มีคำตอบเดียวแล้ว การเรียนแบบสอบปรนัยต้องยกเลิกได้แล้ว

หลังจากสอบ 2 อาทิตย์ จะประกาศคะแนน

แม้ทำข้อสอบได้ดี ก็ต้องทำหนังสือได้ดี

          การวิจารณ์หนังสือ 3 เล่มเป็นฐาน Chira Way ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ต้องรู้ให้จริง

          สิ่งสำคัญที่จะทิ้งไว้คือนิสัยรักการอ่าน ถ้าใฝ่รู้มากขึ้น ก็จะสร้างคุณประโยชน์ได้ ควรอ่านหนังสือเพื่อความสนุก จึงจะอยากอ่านต่อ

          Chira Way คือ Learning how to learn เป็นกระบวนการ learn share and care จะฝังไปใน DNA วิเคราะห์โดยการทำงานเป็นทีม แต่เวลาเขียนก็ต้องเขียนจากความเข้าใจของตนเอง

          รุ่น 16 น่าจะได้ตัวตนของอาจารย์จีระมากที่สุด และจะสามารถต่อยอดได้

          สอบครั้งนี้ใช้เวลา 2 ชั่วโมง จะให้โจทย์ 5 ข้อ แล้วเลือกทำ 4 ข้อ ควรเขียนให้ชัดที่สุด Methodology สำคัญที่สุด

คำถาม

คนที่ 1

ขอให้ยกตัวอย่างการตอบข้อสอบ เช่น อธิบาย Tangible กับ Intangible

ตอบ

Tangible คือวัดจากปริมาณ เช่น equation ของ Gary Becker ถ้าการศึกษาเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่

Intangible เช่น ปัญญา ความสุข ทัศนคติ mindset

คนที่ 2

อธิบาย Visible and Invisible

ตอบ

Visible คือ เข้าใจคนลึกซึ้ง มีคุณภาพในการมองคนอย่างลึกซึ้ง

Invisible คือ เห็นคนแต่ไม่เข้าใจ HR มองคนในกฎของตน ไม่ได้มองเป็น Talent Management

เวลาที่มองคน มีวิจัยฮาร์วาร์ดบอกว่า คนสอบสัมภาษณ์เก่งเพราะเตรียมมา ผู้บริหารระดับสูงจึงต้องสัมภาษณ์เอง

ต้องดูศักยภาพคน ว่า เมื่อรับคนมาแล้ว อีก 10 ปีจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือไม่ ควรให้โอกาสลูกน้องเห็นในสิ่งที่เจ้านายได้เห็น

ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว

HR Manager ส่วนหนึ่งก็ได้รับการฝึกไม่ดี ผู้นำต้องฝึกให้ HR มีมุมมองกว้าง มองคนให้ลึกถึงในใจ

ตัวอย่างการสัมภาษณ์งาน Microsoft

ถ้าถามว่า ปั๊มน้ำมันใน Seattle มีกี่แห่ง ควรจะตอบวิธีการคำนวณ เช่น คำนวณจากจำนวนรถ Capacity น้ำมันแต่ละปั๊ม ห้ามตอบว่า ไปหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

คนที่ 3

ทุนแห่งความยั่งยืนและความยั่งยืนแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ

8K’s และ 5K’s เป็นพฤติกรรมไปสู่เป้าหมาย

ต้องรักษาสุขภาพ หาความรู้ต่อเนื่อง ถ้าทำ 2 เรื่องสำเร็จ ก็เกิดความยั่งยืน

ความยั่งยืนคือเป้าหมาย

ทุนแห่งความยั่งยืนคือวิธีการ เป็นตัวแปรอิสระอธิบายตัวแปรตามคือความยั่งยืน

ทุนแห่งความยั่งยืนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

อีกตัวอย่างคือ ทุนแห่งความสุขแตกต่างจากความสุข ทุนแห่งความสุขเป็นวิธีการไปสู่ความสุขที่เป็นเป้าหมาย

คนที่ 4

ในการวิเคราะห์ทุนมนุษย์กับผู้สูงอายุ ต้องมองจากมุมมองใด

ตอบ

ในมุม HR Architecture ต้องกล่าวว่า เราละเลยเรื่องคนหลังเกษียณ คนแก่มีหลายชนิดทั้งที่เป็นภาระและคนแก่ที่ยังมีความสามารถในการทำงานอยู่ อาจจะยกตัวอย่างว่า กระทรวงแรงงานควรมีกรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ คนอายุมากถ้าทำงานได้ ก็ไม่เป็นภาระเพราะมีประสบการณ์และปัญญา ต้องสร้างค่านิยมนี้ให้คนรุ่นใหม่ทราบ อายุไม่ใช่ตัวแปร

ควรจะขยาย HR Architecture ว่าผู้สูงอายุยังเป็นที่ต้องการของสังคมอยู่ (ในฝั่ง Demand Side) อาจจะยกตัวอย่างคนมีชื่อเสียงที่ยังคงทำงานแม้ยังมีอายุมาก ทุกอย่างขึ้นกับสุขภาพ ทุกคนต้องเตรียมตัวตั้งแต่อายุน้อย

คนที่ 5

ข้อ 12 อนาคตของแรงงานต่างด้าวใน 10 ปีข้างหน้าจะมีประโยชน์อย่างไร อะไรคือจุดแข็งและความเสี่ยง เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาในยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ตอบ

ทรัมป์มองแรงงานต่างด้าวเป็นปัญหาการเมือง  ทำให้คนผิวขาวตกงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน ปัจจุบัน ในไทยถ้าไม่มีแรงงานต่างด้าว ก็จะขาดกำลังซื้อ

ถ้าเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ ก็มีประโยชน์ แต่ปัจจัยการเมืองอาจจะยังไม่เป็นปัญหามาก อาจจะดูปัญหาทางวัฒนธรรม จะมีการดูแลลูกหลานแรงงานต่างด้าวอย่างไรในด้านสวัสดิการต่างๆ

เรื่องนี้ก็เป็นวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ อาจทำสำรวจว่า มีแรงงานต่างด้าวกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทำงานในอาชีพต่างๆ เช่น  เด็กรับใช้ที่บ้าน ประมง จะมีปัญหาอะไรตามมาหรือไม่

คนที่ 6

ในการวิเคราะห์ The Future of Work ต้องนานแค่ไหน

ตอบ

ควรวิเคราะห์ 10 ปีขึ้นไป โดยเน้นปัญหา เช่น จำนวนคนแก่มากขึ้น จำนวนประชากรเกิดน้อย ปัญหาคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ แรงงานต่างด้าว

ในที่สุดไทยจะเป็นประเทศแรงงานไร้พรมแดน

มี Robotics, Artificial Intelligence มาเกี่ยวข้อง

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ควรจับประเด็นของแท้และจริงได้

การนัดหมายไปร้านหนังสือ

วันอาทิตย์หน้า จะไปทั้งร้านเอเชียบุ๊คและคิโนะคุนิยะ หลังจากไปดูงานร้านหนังสือแล้ว ควรไปร้านหนังสือบ้าง

อ่านเพิ่มเติม

ลิ้งค์นโยบายด้านการศึกษาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/45457-3929.pdf

Inaugural Leadership Forum 1999

http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/000/798/480/original_inauguralleadershipforumsummary.doc

Leadership Forum 2000

http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/000/798/490/original_LeadershipForum2000.doc

Leadership Forum 2001

http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/000/798/485/original_allproceedingleadershipforum2001.doc

Leadership Forum 2002

http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/000/798/486/original_ExecutiveSummaryofLeadershipForum2002.doc

Leadership Forum 2004

http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/000/798/488/original_Leadershipforum2004allproceeding.doc

หมายเลขบันทึก: 644089เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2018 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2018 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)
นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2561

โดย นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

 

จากปรัชญาความเชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร การมองคนให้มองว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มิใช่มีเพียงคุณค่าในฐานะการเป็นปัจจัยในการผลิต ดังนั้น จึงต้องมีการลงทุนในทุนมนุษย์ ในหลักการบริหารทุนมนุษย์แบบ Chira Way ไม่ว่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ลงทุนด้านการศึกษา โภชนาการ และด้านอื่นๆ ซึ่งต้องพัฒนาและกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการปลูก หรือ HR Development และเมื่อพัฒนาและนำทุนมนุษย์เหล่านั้นมาใช้ในแต่ละบริบท เรียกว่า การเก็บกี่ยว ทุนมนุษย์ที่มีคุณค่านั้นเมื่อถูกนำมาใช้อย่างเป็นผลสำเร็จก็จะเกิดประโยชน์ตั้งแต่ระดับองค์กรเล็กๆ หรือ Micro เรือยไปจนถึงระดับชาติ ระดับโลกหรือระดับ Macro

หลักทฤษฎี 4 L’s (Learning Methodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) สามารถนำมาใช้ โดยเน้นกระบวนการกระตุ้นให้เกิดวิธีการและการสร้างให้คิด การสร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุกและน่าสนใจ การให้โอกาสทุกคนเป็นตัวละครให้ได้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่อย่างที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการพบปะกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านมักเงียบ ผู้ใหญ่เจ้าหน้าที่รัฐพูดเพียงฝ่ายเดียว ไม่เกิดการปะทะทางปัญญา ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เพราะถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะทำสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้น ท่านอาจารย์กล่าวว่า หลักสูตรการเรียนของเราต้องมองตั้งแต่ระดับนโยบายรัฐ คือให้คิดถึงระดับประเทศ ก่อนที่จะมาถึงองค์กร

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการสร้างคนเพื่อการพัฒนาประเทศ  การปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกหน่วยงานมิใช่ เฉพาะแค่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโดยตรงกับการศึกษาเท่านั้น อีกทั้งต้องทำอย่างต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนจะต้องทันยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง เช่นการสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปให้เด็กสามารถเรียนเองได้ สร้างความเพลิดเพลินแก่เด็ก

ในปัจจุบันการเลือกที่จะพัฒนาเด็กนั้นเลือกในส่วนของคุณธรรมหรือคนดีก่อน เพราะสามารถพัฒนาให้เก่งได้ โดยปัจจัยที่ช่วยทำให้เป้าหมายนี้บรรลุผลได้คือ ต้องมีการบริหารจัดการ มีเครือข่าย มีงบประมาณ การลงทุนน้อยแต่ให้ได้ผลตอบแทนและต้องมีหลักสูตร การศึกษาต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกทั้งต้องไม่ลืมให้การสนับสนุนแก่เด็กที่ขาดโอกาสทางด้านทุนทรัพย์ตั้งแต่ระดับอนุบาลเลย

นอกจากนั้นบุคคลากรครูก็ต้องปฏิรูปให้การสนับสนุนและพัฒนาครูทั้งระบบในเชิงสาระ พฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การสร้างขวัญและกำลังใจให้ครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูผ้สอนต้องมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง เพราะครูมีส่วนสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงความคิดเห็น


นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2561

โดย นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

 

จากปรัชญาความเชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร การมองคนให้มองว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มิใช่มีเพียงคุณค่าในฐานะการเป็นปัจจัยในการผลิต ดังนั้น จึงต้องมีการลงทุนในทุนมนุษย์ ในหลักการบริหารทุนมนุษย์แบบ Chira Way ไม่ว่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ลงทุนด้านการศึกษา โภชนาการ และด้านอื่นๆ ซึ่งต้องพัฒนาและกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการปลูก หรือ HR Development และเมื่อพัฒนาและนำทุนมนุษย์เหล่านั้นมาใช้ในแต่ละบริบท เรียกว่า การเก็บกี่ยว ทุนมนุษย์ที่มีคุณค่านั้นเมื่อถูกนำมาใช้อย่างเป็นผลสำเร็จก็จะเกิดประโยชน์ตั้งแต่ระดับองค์กรเล็กๆ หรือ Micro เรือยไปจนถึงระดับชาติ ระดับโลกหรือระดับ Macro

หลักทฤษฎี 4 L’s (Learning Methodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) สามารถนำมาใช้ โดยเน้นกระบวนการกระตุ้นให้เกิดวิธีการและการสร้างให้คิด การสร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุกและน่าสนใจ การให้โอกาสทุกคนเป็นตัวละครให้ได้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่อย่างที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการพบปะกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านมักเงียบ ผู้ใหญ่เจ้าหน้าที่รัฐพูดเพียงฝ่ายเดียว ไม่เกิดการปะทะทางปัญญา ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เพราะถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะทำสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้น ท่านอาจารย์กล่าวว่า หลักสูตรการเรียนของเราต้องมองตั้งแต่ระดับนโยบายรัฐ คือให้คิดถึงระดับประเทศ ก่อนที่จะมาถึงองค์กร

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการสร้างคนเพื่อการพัฒนาประเทศ  การปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกหน่วยงานมิใช่ เฉพาะแค่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโดยตรงกับการศึกษาเท่านั้น อีกทั้งต้องทำอย่างต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนจะต้องทันยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง เช่นการสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปให้เด็กสามารถเรียนเองได้ สร้างความเพลิดเพลินแก่เด็ก

ในปัจจุบันการเลือกที่จะพัฒนาเด็กนั้นเลือกในส่วนของคุณธรรมหรือคนดีก่อน เพราะสามารถพัฒนาให้เก่งได้ โดยปัจจัยที่ช่วยทำให้เป้าหมายนี้บรรลุผลได้คือ ต้องมีการบริหารจัดการ มีเครือข่าย มีงบประมาณ การลงทุนน้อยแต่ให้ได้ผลตอบแทนและต้องมีหลักสูตร การศึกษาต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกทั้งต้องไม่ลืมให้การสนับสนุนแก่เด็กที่ขาดโอกาสทางด้านทุนทรัพย์ตั้งแต่ระดับอนุบาลเลย

นอกจากนั้นบุคคลากรครูก็ต้องปฏิรูปให้การสนับสนุนและพัฒนาครูทั้งระบบในเชิงสาระ พฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การสร้างขวัญและกำลังใจให้ครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูผ้สอนต้องมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง เพราะครูมีส่วนสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงความคิดเห็น


พิชามณต์ ชาญสุไชย

ครั้งที่1

วิธีการเรียน เปิดเทปอาจารย์ธงทอง กับอาจารย์จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา


              อาจารย์จีระ ได้พูดถึงวิธีการเรียน เรียนอย่างไร พูดถึงการเขียนงานวิจัยในด้านทุนมนุษย์ของนักศึกษาแต่ละคน และให้นักศึกษาแต่ละคนแนะนำตัว หน้าที่การทำงาน และงานวิจัยที่นักศึกษาแต่ละคนอยากทำ ท่านอาจารย์ยังให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยของแต่ละท่าน ท่านอาจารย์จีระ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคอร์ส Outline ว่าในแต่ละอาทิตย์ มีการศึกษาและเรียนอย่างไรบ้าง โดยท่านอาจารย์จีระ ได้แนะนำหนังสือที่จะใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ HR แฟนพันธ์แท้, พลังแห่งคุณธรม, 8K่'s 5K's และท่านอาจารย์จีระ ได้พูดถึงทฤษฎี Chira Way  และสถาบันของท่าน Chira Academy  อาณาจักรของความรู้และขุมทรัพย์ทางปัญญาในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติ www.ChiraAcademy.com        

               พ่อแม่คาดหวังให้ครูให้ความรู้เด็กเท่านั้น แต่ในความจริงต้องเป็นความร่วมมือของโรงเรียนและผู้ประเทศในการให้ความรู้ การปฏิรูปการศึกษาไม่ควรสร้างกรอบปฏิบัติเพราะเป็นการล้มละลายทางปัญญาของสังคมไทยอย่างช้าๆ การศึกษาสร้างคนเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ การศึกษาแต่ละยุคมีความเปลี่ยนแปลงไป เนื้อหาก็เปลี่ยนแปลงไป วิธีการเรียนการสอนต่างกันไป ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็ตาย ในอดีตเมื่อ 9-10 ปีที่แล้วมีการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 1 เมื่อผ่านมาแล้วก็ต้องทบทวน มีการสานต่อในสิ่งที่ดี อาจจะปรับในสิ่งที่ยังไม่ดี ต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อรับฟังความเห็น อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธรบอกว่า ให้เลือกว่าอยากให้เด็กมีคุณธรรมหรือเรียนเก่ง ควรเลือกคนดีก่อนแล้วพัฒนาให้เก่งได้ ทุกคนเลือกคนดีก่อน แต่ความเก่งก็พัฒนาได้โดยมีหลายฝ่ายช่วยกัน การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดชีวิต เด็กเข้าใจว่าเรียนจบแล้วไม่ต้องหาความรู้ต่อ คำว่า กศน. คือต้องเรียนรู้ทุกอย่างตลอดชีวิต 


พิชามณต์ ชาญสุไชย

ครั้งที่ 2 เรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ของอาจารย์จีระ


              อาจารย์จีระท่านได้พูดถึงเรื่องการบริหารทุนมนุษย์แนว Chira Way ประกอบด้วย 1.การปลูก คือ HR Development  ต้องพัฒนาตลอดเวลา 2.เก็บเกี่ยว พัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท 3.ทำให้สำเร็จ มีวิธีการคือ ดูเรื่อง Mindset ของคน ในบริบท แต่ละคนก็คิดต่อได้ว่าจะนำอะไรมาทำให้สำเร็จ อาจจะเป็นความสำเร็จเล็กๆรายวัน วิธีเรียนแบบ 4L’s  1. Learning Methodology 2. Learning Environment 3. Learning Opportunities 4. Learning Communities เป็นวิธีเรียนที่กระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศการเรียนสนุก มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา ทุกคนออกความเห็นมาที่นี่เพื่ออะไร เป็นการเรียนที่สำคัญ อาจารย์ที่ดีต้องสนใจลูกศิษย์ ต้องมีการปะทะกันทางปัญญา ในการปะทะกันทางปัญญา ที่มีภาครัฐ เอกชน ชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่ออกความเห็น ผู้ว่าพูดคนเดียว การมีตัวละคร 4 กลุ่มต้องมี Respect and Dignity การให้เกรียติการยอมรับนับถือ เพื่อการปฏิรูปประเทศ การปลูกจะต้องมีการเชื่อมโยงไปในอนาคตเพื่อให้เกิดการเก็บเกี่ยว Execute เพื่อให้ประสบความสำเร็จ การปลูก เก็บเกี่ยวทุนมนุษย์ต้องศึกษา 2R เพื่อวิเคราะห์ทิศทาง พัฒนาเป้าหมาย มั่นคง ยั่งยืน มองผลระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อเชื่อมโยง Macro กับ Micro

               หลักสูตรนี้เป็น wisdom  เกิดจากการแบ่งปันความรู้แล้วสร้างความรู้ใหม่ นำไปประยุกต์กับความจริง ต้องมีนิสัยในการอ่านอย่างบ้าคลั่ง เพราะจะเป็นวัตถุดิบ แล้วนำไปปะทะความจริงซึ่งยากเพราะคนไทยอยู่ด้าน Supply side เช่น การศึกษา โภชนาการ ครอบครัว และ Demand side ผลิตคนได้ แต่การจ้างงานในภาคต่างๆจะรับคนที่จบจากภาคการศึกษาหรือไม่ เรียนจบแล้วทำงานได้หรือไม่ คนเรียนหลักสูตรนี้ต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และวิชานี้มอง Macro ไปสู่ Micro รุ่น 16 ควรมีกรณีศึกษา Macro 1 เรื่อง จึงเลือกเรื่องการศึกษา เพราะทำมามากแต่ยังไม่สำเร็จอาจารย์จีระชอบตรงประเด็น เอาชนะอุปสรรค มีตัวละคร ซึ่งได้อิทธิพลมาจากเชคสเปียร์ การศึกษาเน้นตัวละครภาครัฐมากเกินไป แต่ภาคสาธารณสุขกระจายไปองค์กรอิสระด้วย แต่ภาคการศึกษามีองค์กรอิสระน้อย  ถ้าศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง 

สรุปประเด็นสิ่งที่ได้รับแต่ละครั้ง ในการเรียนหลักสูตร PH.D 8205 เทอม2/2561 (จำนวน 9 ครั้ง)


ครั้งที่

เดือน

วันที่

                                หัวข้อ /ประเด็นสำคัญ

1

ม.ค.61

28

วิธีการเรียน / เปิดเทปรศ.ธงทอง จันทรางศุ กับดร.จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา :

  • วิธีการเรียน หลักสูตรทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ เนื่อจากคนเป็นปรัชญา คนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร แต่ที่ผ่านมามักให้ความสำคัญการเงิน การตลาดและเทคโนโลยีมากกว่าเรื่องคน แต่หลักสูตรนี้ยกระดับความสำคัญเรื่องคนขึ้นมาให้ความสำคัญ การมองคนในฐานะที่มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ไม่ได้มองเป็นปัจจัยการผลิต ในด้านทรัพยากรมนุษย์มีการลงทุนตั้งแต่ครอบครัว การศึกษา เมื่อลงทุนแล้ว เมื่อสามารถทำประโยชน์ได้ HR Architecture เป็นโมเดลที่สำคัญ ควรมีวิธีการเรียนด้วย 4L’s คือกระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศการเรียนสนุก มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา ทุกคนออกความเห็นด้วยเหตุผลซึ่งเป็นวิธีการเรียนที่สำคัญ อาจารย์ที่ดีต้องสนใจลูกศิษย์
  • เปิดเทปอาจารย์ธงทอง กับดร.จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา :พ่อแม่คาดหวังให้ครูให้ความรู้เด็กเท่านั้น แต่ในความจริงต้องเป็นความร่วมมือของโรงเรียนและผู้นำประเทศควรร่วมกันให้ความรู้ การปฏิรูปการศึกษาไม่ควรสร้างกรอบปฏิบัติเพราะเป็นการล้มละลายทางปัญญาของสังคมไทยอย่างช้าๆ
  • Workshop เสนอแนวทางปฏิรูปการศึกษา 3 เรื่อง เน้นปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลว

สำหรับรุ่น 16 ควรเน้นเรื่องการศึกษา มีการแบ่ง 3 กลุ่ม เสนอกลุ่มละ 3 ประเด็น เพื่อนำไปสู่เพื่อการปฏิบัติ

รศ.ธงทอง จันทรางศุ : ให้ความเห็นว่าการศึกษาสร้างคนเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ การศึกษาแต่ละยุคมีความเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อหา และวิธีการเรียน การสอนมีความแตกต่าง ดังนั้นอาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับตัว 9-10 ปีที่ผ่านมามีการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 1 เมื่อวันเวลาเปลี่ยนแปลงต้องทบทวน สานต่อในสิ่งที่ดี ปรับในสิ่งที่ยังไม่ดี ต้องเปิดโอกาสรับฟังความเห็น อาจารย์วิวัฒน์ ศัลย เคยถามว่า ต้องการเลือกเด็กที่มีคุณธรรมหรือเด็กที่เรียนเก่ง ทั้ง.ดร.จีระ และอาจารย์ธงทอง มีความเห็นตรงกันว่าควรเลือกคนดีก่อน สำหรับความเก่งพัฒนาได้โดยมีหลายฝ่ายช่วยกัน

การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดชีวิต เด็กมักเข้าใจว่าเรียนจบแล้วไม่ต้องหาความรู้ต่อ คำว่า กศน. คือต้องเรียนรู้ทุกอย่างตลอดชีวิต สรุปคือ การปฏิรูปประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปการศึกษา ต้องพยายามเติมคุณภาพและแรงให้การศึกษา ต้องทำแบบเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนโดยทุกฝ่าย

แนวทางปฏิรูปการศึกษา เช่น ปฏิรูปผู้เรียน มีปัจจัยความสำเร็จ คือ พวกที่ไม่ได้เรียนจะทำอย่างไร เช่น เรียนนอกระบบ เอกชนควรมีส่วนร่วม  มีปัจจัยแหงความล้มเหลว คือ กรณีการเรียนภาคบังคับ บางครั้งนักเรียนออกกลางคัน ครูไม่ได้ติดตาม พ่อแม่ไม่ได้ดูแลเนื่องจากทำงานอย่างเดียว  /การประเมินครู ปัจจัยความสำเร็จ คือ ต้องใช้ความสำเร็จของเด็กเป็นสำคัญในการประเมิน ต้องดูความจริง วิธีการทำอย่างไรให้ตรงประเด็น ต้องใช้ HR architecture เชิญคนทำงานในแต่ละอาชีพมาแนะแนวอาชีพแก่เด็กจะทำให้เด็กค้นพบตัวเอง มีปัจจัยแห่งความล้มเหลว คือ  ความสำเร็จมักพิจารณาครูเป็นที่ตั้ง

การมีเรียนพิเศษ ทำให้เด็กคิดว่าติวเตอร์ให้ความรู้ที่ทันสมัยกว่าในโรงเรียน และเรื่องหลักสูตร ปัจจัยความสำเร็จ ปรับMindset พิจารณาความต้องการของสังคมต้องการสาขาใดมาก เพื่อจัดทำหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการ มีปัจจัยแห่งความล้มเหลว คือ  เด็กตกงานจำนวนมากเนื่องจากหลักสูตรไม่ตรงกับความต้องการ

สรุปบทเรียนที่ได้รับ : ระบบการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความสำคัญกับสังคมในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การทันกับองค์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนนำมาทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการศึกษาต่อไปได้ในอนาคต การปฏิรูปการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบการศึกษาในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคdigital สังคมSocial networkเข้ามามีบทบาท และมีความแตกต่างจากในอดีตมากมาย หากระบบการศึกษาประเทศใดขาดนำปัจจัยนำเข้าinputที่มีการเปลี่ยนแปลงมาปรับให้ทันสมัยจะทำให้ล้าหลังประเทศไม่เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้

2

 ก.พ. 61

ทฤษฏีการเรียนรู้ของดร.จีระ – เรื่องMacro Micro – การทำหนังสือ Chira Way – การแบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

  • เรื่อง Macro Micro  : พบว่าในบทบาทของครอบครัวที่ต้องปลูกฝัง เรื่องสุขภาพ ถือเป็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงานในอนาคต สำหรับหลักสูตรเช่นนี้สามารถขยายเป็น Macro และ Microได้ สำหรับด้านMacro ในปัจจุบันมีการวิเคราะห์พบว่าเรื่อง สื่อ social media มีความสำคัญทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งจะทำให้เยาวชนยุคต่อไปถูกอิทธิพลสื่อดังกล่าวครอบคลุม ประเด็นเหล่านี้ควรนำไปพิจารณาในการดำเนินการรื่องปฏิรูปการศึกษา
  • การทำหนังสือ Chira Way : ดร.จีระ มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำร่างแนวทาง Chira Way และวิจารณ์ สำหรับรุ่นนี้ได้ Chira Way และ แรงบันดาลใจ ควรเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติได้ศึกษาบ้าง

-         การแบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้:

แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์คิดถึงเรื่องแรงงานสัมพันธ์ มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน เห็นว่าคนเป็นต้นทุนการผลิต ต่อมาแนวคิดดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงเป็น คนเป็นมูลค่าเพิ่ม คนเป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพคนอย่างจริงจังและเป็นระบบ

สำหรับแนวคิดทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณ มองว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ ต้องมีการกระทำตนเป็นต้นแบบมีอยู่ 4 หัวข้อด้วยกัน  1. มีแนวคิด 4 เก่ง (เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน) 4 ดี (ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม) 2. ตระหนักในคุณค่าของคน คนมีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร ดังนั้นควรพัฒนาคน และรักษาคนให้ดี มีการลงทุนพัฒนาอบรม เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มีการอบรมบุคลากรทุกระดับ นอกจากนั้นควรพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด เช่น Supplier ผู้รับเหมา ลูกค้า จะได้รับการพัฒนาได้รู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ สำหรับนวัตกรรมความคิดด้าน HR ของคุณพารณ คือ 1. Remind Management ทัศนคติการตักเตือนผู้บริหาร 2. สร้าง Corporate Culture อุดมการณ์ในการทำธุรกิจ 3. การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)

3.สุดท้ายแนวคิดการทำงานเป็นทีม คุณพารณชอบให้ทำงานแบบ Participative นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของดร.จีระ

1.ในช่วงแรกที่ทำงานได้แก่เรื่อง labor productivity และแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน 2.โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย 3. การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สรุปบทเรียนที่ได้รับ  : มือ่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์แล้ว ผู้บริหารระดับสูงต้องเชื่อว่าคนเป็น Asset และการดำเนินงานขององค์กร ควรนำทฤษฏี 8K’s+5K’s สำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลงสู่การปฏิบัติ อีกทั้ง ทุนมนุษย์8K’s ต้องมีปัญญา คุณธรรม ความสุข มีสังคม ความยั่งยืน ความเชี่ยวชาญดิจิตอล ผสมผสานรวมอยู่ด้วยกันได้เป็นอย่างดี

3

11

เรียนและWorkshop เรื่อง 8k’s 5k’s :

เรียน8k’s 5k’s: ทุนมนุษย์เกิดในสมัย Prof. Gary Becker ทุนมนุษย์เป็น 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีปัญหาการพัฒนาคนเพราะมีทรัพยากรอื่นๆ มากเกินไป จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 1-5 เน้นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จนมีคำพูดว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” พบว่ากระทรวงเกษตรใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด แต่คนในภาคเกษตรยากจน แต่ก่อนมีกระทรวงเกษตรศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ อาจารย์จีระตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมา HR Architecture ครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย ควรศึกษาคนหลังเกษียณเปรียบเทียบชีวิตคนมีงานทำและไม่มีงานทำ ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน ต้องอยู่ในทุกทุน และมีความเกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม คนที่ประสบความสำเร็จเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม สีจิ้นผิงเคยบอกว่า ต้องการให้คนจีนมีคุณธรรม จริยธรรมและเป็นมือ การเป็นมืออาชีพไม่เหมือนกับการได้รับปริญญา คนที่ได้รับปริญญาอาจทำอะไรไม่เป็นก็ได้ เป็นต้น  สำหรับทุนทางปัญญาเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ หมายถึง คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น มองอนาคตเป็น ดังนั้นทุนมนุษย์ 8k’s 5k’s เป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นความจริง และตรงประเด็น

ช่วงWorkshop : 1.     วิเคราะห์ข้อดีของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และจะนำมาใช้ได้อย่างไรในยุค 4.0

8K’s คือพื้นฐาน ถ้าจะติดวิทยายุทธ์เพิ่มขึ้นก็ต้องต่อยอดด้วย 5K’s  ข้อดีคือ 8K’s และ 5K’s ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง แล้วต่อเนื่องไปยัง ครอบครัว กระจายไปสังคม จนสามารถแข่งกับต่างประเทศได้ / ควรนำ 8K’s และ 5K’s ไปให้เยาวชนได้รับทราบ มากกว่าที่บางโรงเรียนพยายามให้ความรู้ที่เกินความจำเป็นทำให้ Relevance ต่อนักเรียน มีการบ้านมากเกินไป

2.วิเคราะห์ข้อเสียทฤษฎี 8K’s และ 5K’s มีจุดอ่อนอะไรบ้างและจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

8K’s และ 5K’s ยังมีประเด็นที่ควรปรับปรุง เรื่องคนพื้นฐานที่เกิดมาไม่เท่ากัน ทำอย่างไรให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ /เรื่องความยั่งยืน สังคมมีนโยบายประชานิยมเน้นระยะสั้นทำให้ไม่ให้ยั่งยืน บางคนมีจริยธรรมในชีวิตแต่ไม่มีในอาชีพ นวัตกรรมบางอย่างทำให้คนอื่นเดือดร้อน /ทฤษฏี8K’s และ 5K’s หากต้องการต่อยอดให้คนมีความรู้ ค่อนข้างยาก เนื่องจากคนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน /จากการอยู่ได้ที่ต่างจังหวัด ชนบท ทำให้เห็นความแตกต่างของศีลธรรมและจริยธรรม ศีลธรรม คือการมีศีล 5 แต่จริยธรรมรวมการทำงานด้วย

สรุปบทเรียนที่ได้รับ  ทุนมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบันพึงตระหนัก ซึ่งจะนำมามาสู่Wisdom ซึ่งไม่เพียงเกิดจากทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังมาจากการนำไปประยุกต์กับความจริงด้วย

4

25

การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8k’s 5k’sทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเชี่ยน :

4 L คือ เครื่องมือที่นำไปสู่ 8K 5K ทั้งนี้เส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ประกอบด้วย1.การตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ณ ม.ธรรมศาสตร์ 2.มูลนิธิการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 3.โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 4. APEC HRD Working Group 5. แผนธุรกิจแห่งชาติ นำไปสู่การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ 6. กำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนทุนมนุษย์ 7.สร้างสรรค์งาน “สื่อ” สร้างคุณภาทุนมนุษย์ และนำความรู้และประสบการณ์ไปสร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม ในการสร้างทุนมนุษย์ด้วย8K,s+5K’s เราทราบจุดอ่อนในเรื่องความเข้าใจในAEC ช่องว่างระหว่างประชาคมอาเชี่ยน ขีดความสามารถในการแข่งขัน และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก นำมาสู่การปรับปรุงเพื่อนำมาสู่การพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาคนให้มีทักษะและความรู้ การเจาะตลาดอาเชี่ยน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงด้านสังคม คือ การปรับทัศนคติกระจายความรู้ในแนวกว้าง การรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำมาสู่คนอยู่รอด และสามารถแข่งขันได้

สำหรับมุมมองของ6นักคิด กับAEC+ทุนมนุษย์ จะให้ความสำคัญเรื่อง ความยั่งยืน การยกระดับขีดความสามารถ และการประสานความร่วมมือ ทั้งนี้ควรมีการพัฒนา “ทุนมนุษย์” โดยการให้ความรู้ทั้งเรื่อง การเรียนรุ้การเปิดเสรีอาเชียน สำรวจตนเอง องค์กร ชุมชน สังคม เร่งพัฒนาทุมนุษย์ และช่วยครอบครัว องค์กร ชุมชน และประเทศให้เกิดการพัฒนา ทั้งนี้อยู่บนปัจจัยเรื่องโอกาส ความเสี่ยง การมีภูมิคุ้มกัน

สรุปบทเรียนที่ได้รับ  การดำเนินการให้ได้ผลทุกกระบวนการต้องมีปัจจัยต่างๆเป็นองค์ประกอบ คือ การเข้าไปศึกษาอย่างแท้จริง มีการสำรวจ ลงมือทำเพื่อเอาชนะอุปสรรค มีการวัดผลสำเร็จ และที่สำคัญคือการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

5

มี.ค.61

11

HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฏีต่างๆของอาจารย์:


เป็นวงจรชีวิต (Life Cycle) ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หากพิจารณาด้าน Demand Side ในช่วงอายุ 25 – 60 ปีเมื่ออยู่ในวัยทำงาน..เราจะต้องสร้างให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง มีการInvestment ของทุนมนุษย์ (การศึกษา สื่อ ครอบครัว โภชนาการดี) จะนำมาสู่ด้าน Supply site             เข้าไปสู่ตลาดแรงงาน ถือว่าระดับ Micro ประสบความสำเร็จ ทุกองค์กรต้องลงทุนเรื่องคน ควรคิดว่าเมื่อเกษียณแล้วไปทำอะไรได้บ้าง ควรศึกษาคนหลังเกษียณเปรียบเทียบชีวิตคนมีงานทำและไม่มีงานทำ สำหรับความเชื่อมโยงกับทฤษฏีต่างๆ ได้แก่ การบริหารทุนมนุษย์ให้เป็นเลิศ เรียกว่า “ช่วงการเก็บเกี่ยว” เพราะแต่ละคนมีความสามารถ แต่จะใช้หรือสามารถดึงเอาศักยภาพออกมาใช้ได้มากแค่ไหน..นำมาสู่ทฤษฎีที่สำคัญ อีก 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎี 3 วงกลม นอกจากนั้นยังมีทฤษฏีที่เกี่ยวข้อ ได้แก่ทฤษฎี HRDS 4ls 2R 2I

6

 

18

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการสร้างเครือข่าย Networking Capital กรณีศึกษาจากโครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม :พลังขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพ ด้วยคุณธรรม จริยธรรม และความดีงามของคนในชาติ โดยภาพรวมของหนังสือ :ประกอบด้วยแนวคิด หรือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศทั้งนักคิด นักปฏิบัติจำนวน. 10 ท่าน ในประเด็นคุณงาม ความดีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่มีต่อ 4 อดีตอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ โดยท่านเริ่มความคิดเรื่องพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีความรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่ หาทางออกยาก จึงได้ใช้หลักการปลูกฝังทุนทางวัฒนธรรมและจริยธรรม ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)       1. ระบบความเชื่อ 2. ภูมิปัญญา 3. จารีตประเพณี 4. การเรียนรู้(ครอบครัว, วัด, ปราชญ์) 5. ค่านิยม 6. ข้อห้าม ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิด การเป็น Role Model ให้กับ ผู้นำ และนักการเมือง โดยเฉพาะ “ผู้นำทางการเมือง”  ซึ่งท่านทั้งสี่มี “ความกล้าหาญ ด้านคุณธรรมจริยธรรม” เป็นอย่างยิ่ง

 บทสรุปที่ได้รับ :ประเทศไทยวันนี้ จะต้องขับเคลื่อน ไปด้วยพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ทุกระดับ ตั้งแต่ – ตัวเราเอง – ครอบครัว – องค์กร – ชุมชน สังคม – ระดับประเทศ – ระดับโลก โดยเฉพาะ คุณธรรม จริยธรรม ต้องเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำทางการเมือง  เนื่องจากการเมืองมีเรื่องผลประโยชน์อยู่มากมาย

การสร้างเครือข่าย Networking Capital กรณีศึกษาจากโครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

รูปแบบการท่องเที่ยวบูรณาการ 5 จังหวัด เชื่อมโยงสู่อาเซียน เพื่อยกระดับสู่สากล ให้ความสำคัญเรื่องการปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว บริหาร ลงมือทำให้เกิดผลเร็ว เป็นการพัฒนาการท่องเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้หากการท่องเที่ยวไทยจะไปสู่อาเชี่ยนบวก6 คุณภาพต้องดี ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่อาศัยความร่วมมือนอกมาจากภาครัฐแล้ว คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมด้วย มีการสร้างเครือข่าย มีภาวะผู้นำ ต้องมองความจริง และตรงประเด็น

บทสรุปที่ได้รับ การสร้างเครือข่าย เป็นการลงทุนที่ถูกที่สุด โดยทั้งนี้ต้องก่อให้ชุมชนเครือข่ายมีความยั่งยืน. เมื่อกลับออกมาแล้ว เราทำอะไรให้ชุมชน สังคมเพื่อให้ยืนอยู่ได้ด้วยองค์ความรู้ที่มอบให้

7

 

25

เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Perter Senge/ กรณีศึกษาของ กฟภ. สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4L’s

การสัมภาษณ์ Perter Senge : การเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือกัน  รู้แจ้งรู้จริง อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง มีเหตุผล เรียนรู้จาก การcomplain ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน จึงเกิดการเรียน อาจเปรียบได้กับทฤษฏีการเรียนรู้ที่อยู่ในวัฒนธรรมไทย ที่เกิดการเรียนรู้ในสังคมไทยได้ Perter มีความเข้าใจเรื่องศักยภาพจากภายใน

ถามว่า : การเรียน สำคัญอย่างไร คำตอบ : การเรียนรู้เกิดจากความประสงค์ที่จะทำ (Aspiration) ตัวเราต้องเห็นความสำคัญ (เหมือนทฤษฏี2r รู้ความจริง (Really)และตรงประเด็น (Relevant) ต้องเลือกประเด็น และจับเรื่องให้ถูก)

กรณีศึกษาของ กฟภ. : สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4Ls : สังคมหรือองค์กรที่มีการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้น ต้องมีปัจจัยเกี่ยวกับต้องมีการสร้างวิธีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น มีบรรยากาศทื่เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งองค์กรต้องเปิดโอกาส เช่น มีเวทีการSharing การให้รางวัล ชนเกิดเป็นชุมชนสังคมที่มีการเรียนรู้

บทสรุปที่ได้รับ : แนวคิดของ Perter และ ดร.จีระ คิดเรื่องการเรียนรู้เริ่มจากตัวบุคคล จึงเกิดองค์กรเรียนรู้ ต้องมีระบบการจัดเก็บที่ดี การนำไปใช้ ที่สำคัญองค์กรต้องมีการshare knowledge/ความคิด การคิดและการทำงานเป็นทีม

8

เม.ย.61

8

การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead :

บทที่ 2 (กลุ่มที่ 1) กล่าวถึงสัญญาณเตือนผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องที่ต้องมีการ Shift อันอาจเนื่องมาจาก เช่น ผลิตภัณฑ์ บริการขององค์กรมีความล้าสมัย ต้องมีการปรับตัวแล้ว คือ 7 สัญญาณ ได้แก่

1.Basic Math ข้อมูล ตัวเลขต่างๆลดลง พบว่าไม่คงที่ ควรนำมารีบวิเคราะห์โดยทันที นั่นคือการ Shift

2.differenceเดิม พิจารณาว่าคุณค่า ยังมีผลต่อลูกค้าหรือไม่

3.Big on Data short on analysis การที่มีข้อมูลมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้วิเคราะห์ การนำไปใช้ไม่รวดเร็วพอ

4.Neglecting table stake อาจไม่ได้คำคำนึงถึง Stakeholders

5.Pride does go before fall ตัวอย่างเช่น บริษัท โนเกีย ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากที่ผู้บริหารเห็นว่าองค์กรเราเก่งแล้ว ไม่คิดว่าจะมีคู่แข่งอื่นใดเทียบได้ ทั้งที่ข้อมูลการวิเคราะห์แต่ไม่เชื่อถือข้อมูลดังกล่าว

6.Being to deep in your comfort zone มี 3 ประการ คือ ของเดิมดีอยู่แล้ว ไม่ต้องการเปลี่ยน ไม่ตระหนักที่จะเปลี่ยน (Demographic / life style) ซึ่งผู้บริหารต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม

7.Moral : ทุกคนมีบทบาทสำคัญ ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ให้ความสำคัญกับทุกคนในองค์กร)

ความเหมือน : ต้องมีความรู้จริงในสภาพความเป็นจริง/ต้องมีการปรับตัวในสภาพดังกล่าว

ความแตกต่าง : Reality: บุคคลที่กระทบต่อปัจเจก และสังคม /ผลกระทบต่อสังคมดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ทางธุรกิจด้วย /เริ่มจากความจริง

บทที่ 3 (กลุ่มที่ 2) นำเสนอตัวอย่างบริษัทที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ต้องปิดกิจการ อันเนื่องมากจากหลายปัจจัยที่กีดขวางในการทำงาน เช่น บริษัทโกดักส์ : สามารถเรียนรู้จากเทคโนโลยี เช่น สามารถคิดกล้องดิจิตัล ได้ก่อนองค์กรอื่น แต่ผู้บริหารไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุน / บริษัทซีร็อกซ์ : ใช้แทนพิมพ์เฉพาะสีขาว-ดำ ไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุนพิมพ์แม้กระทั่งนามบัตรสี / บริษัท Toys R Us : ขาดประสบการณ์ในการเลือกสินค้า จากที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกทั้งมีการแข่งขันทางการตลาดสูง และอีกหลายบริษัท ได้แก่ Procter & Gamble< BlackBerry, Playboy อันเกิดจากผลกระทบที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารไม่ทันต่อการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันสูง

บทสรุปที่ได้รับ : ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลกระทบขององค์กรในโลกที่มีการแข่งขันในทุกๆด้าน นั่นคือ ผู้บริหาร หรือองค์กรต้องพิจารณาเรื่อง ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเกี่ยวข้องโดยตรง relevant หรือผลกระทบด้านเวลา ลูกค้า นวัตกรรมใหม่ Resource (เงิน) Reflection (สะท้อน) การจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

หมายเหตุ : 18 ก.พ. และ 4 มี.ค. งดClass

ครั้งที่ 9 ไปร้านหนังสือ 2 ร้านเอเชียบุ๊ค และ kinokuniya   บ้านดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปประเด็นสั้นๆวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2561 ช่วง 13.00 – 16.00 น.

เยี่ยมร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ร้านหนังสือ KINOKUNIYA และเยี่ยมบ้านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลังจากสอบFinal วิชา PHD 8205 ตั้งแต่เวลา 09.15-11.05 น. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเรียบร้อย ช่วงบ่ายศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานกรุณาให้นักศึกษาป.เอก Ph. D Innovation Management รุ่น 16 จำนวน 14 คน ได้มีโอกาสเยี่ยมชมร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม   ร้านหนังสือ KINOKUNIYA ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ จากนั้นได้กรุณาให้เข้าเยี่ยมชม และสนทนาที่บ้านอาจารย์ เลชที่ 10 ซอยสุขุมวิท23

1.ช่วงเยี่ยมชมร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เวลาประมาณ 13.30 น.

ร้านเอเชียบุ๊ค สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ขายหนังสือเฉพาะภาษาอังกฤษ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ซึ่งวันนี้ดร.จีระ ขอให้ผู้จัดการร้านได้ให้คำแนะนำหนังสือ แนวคิดในการนำเสนอหนังสือที่น่าสนใจให้ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งทราบว่าพนักงานจะทราบความต้องการของลูกค้าประจำว่าท่านใดประสงค์ชื่นชอบหนังสือชนิดใด ซึ่งดร.จีระ เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำมานานมากเช่นกัน  ซึ่งผู้จัดการร้านได้ทราบความต้องการพร้อมแนะนำได้ตรงกับความต้องการเป็นอย่างดี

วันนี้ดร.จีระ แนะนำหนังสือดี ได้แก่ HUMAN + reimagining Work in the Age of AI MACHINE   หนังสือ Digital Human

สำหรับที่มุมหนังสือแผนก Business Management มีหนังสือที่น่าสนใจ ได้แก่ The 10 % Entrepreneur (เป็นหนังสือที่ดร.จีระ ท่านในใจในอนาคตน่าจะมาแรงสำหรับเรื่องนี้) หนังสือ The Longevity Economy (เล่มนี้ท่านใช้คำว่าชื่อหนังสือเซ็กซี่ดี)  และหนังสือ Discover Your Clifton Strengths


ท่านฝากประเด็นเรื่องการเข้าร้านหนังสือบ่อยๆเป็นสิ่งที่ดีทำให้เราสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

2.เยี่ยมชมร้านหนังสือ KINOKUNIYA เป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่มีทั้งภาษาไทย และภาษาต่างชาติ พร้อมช่วงนี้มีหนังสือแนะอิงประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแนะนำ

หนังสือ Block chain เปลี่ยนโลกมีผู้นำมาแปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว

3.เยี่ยมชม และสนทนาที่บ้านอาจารย์ เลชที่ 10 ซอยสุขุมวิท23 ท่านต้อนรับด้วยอาหารว่าง และสนทนาอย่างเป็นกันเอง ด้วยประเด็นที่หลากหลาย ทั้งความรัก ความเมตตาที่มีให้กับพวกเรา ด้วยวิธีการสอนให้ฝึกคิด วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการยกทฤษฏี JIRA Ways ประกอบกับ Case Study ที่เกิดขึ้นจริงและตรงประเด็น มีความเป็นไปได้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนที่ผ่านมาตลอดเกือบสี่เดือนเต็ม ความรู้ที่ลูกศิษย์ได้รับจากอาจารย์ซึ่งพร้อมจะเป็นผู้ให้ตลอดไปแม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เรียนกับอาจารย์อีกก็ตาม จะสามารถเข้าพบได้ตามความเหมาะสม ฝากแนวคิดการเรียน การสอนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบสมัยใหม่พร้อมกับทีมงานอาจารย์ที่มีศักยภาพ ทีมอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รศ.สมชาย ภคภาควิวัฒน์ และศ.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่พวกเราจะเรียนกับท่านในภาคเรียนถัดไป ก่อนกลับพวกเรามอบของที่ระลึกด้วยความระลึกในบุญคุณของการอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์สามารถจับปลาได้ด้วยตนเอง และศักยภาพที่แต่ละคนพึงจะมีที่พร้อมจะจบเป็นดุษฏีบัณฑิตที่ยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไปด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ

                                                                                 


พิชามณต์ ชาญสุไชย

ครั้งที่ 3 เรียนและ workshop เรื่อง 8K’s 5K’s


                  Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรนำคิดว่ามีผลกระทบอย่างไร ใช้ 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมในช่วงที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทความเรื่อง ศาสตร์พระราชา ทรงเน้นทุนนิยมให้ทุกคนมีส่วนร่วมที่เต็มไปด้วยจริยธรรม มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีความรักและความยั่งยืน ในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ควรทำเรื่องคนตกหล่นในระบบการศึกษา ควรทำเรื่อง 4L’s ในการปฏิรูประบบการศึกษา อาจารย์ส่วนใหญ่สอนมีแต่สาระ แต่ขาดการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา 

                  อ่านบทความ และปะทะกันในห้องเรียนเรื่องการประชุมรอบ DAVOS และกล่าวถึงเรื่อง Trump บริหารประเทศเน้นเศรษฐกิจและ America First ตอนที่ไปพูด Davos ก็บอกว่าทำอะไรให้อเมริกาบ้าง ทำให้บางบริษัทจ่ายโบนัสได้ ในส่วนทุนนิยมที่เขาทำเน้นความโลภ แต่เศรษฐกิจพอเพียงลดความเหลื่อมล้ำ ให้ทางเลือกด้านจิตใจ อเมริกาเป็นทุนนิยมสอนให้ทำกำไรสูงสุด แต่ตอนนี้เศรษฐศาสตร์ต้องเป็น Multidisciplinary อาจารย์จีระใช้เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ความสุข เวลาที่มาเรียนแต่ละคนจะได้อิทธิพลจากเพื่อนที่มาร่วมด้วย Trump มองประโยชน์ของอเมริกาเป็นหลัก แต่ Macro มองโลกเป็นหลัก Trump นำอเมริกาออกจากข้อตกลง Climate change อเมริกาควรช่วยเรื่องนี้ Trump ทำตัวเป็นผู้นำโลกว่า นำเสนอเป็นตัวเลขเปรียบเทียบ มองตนเองว่าประสบความสำเร็จ คนผิวดำไม่ได้เห็นด้วย ต่างจากศาสตร์พระราชา คิดถึงระดับรากหญ้าด้วยนอกเหนือจากเศรษฐกิจอย่างเดียว 

                  ตอนท่านอาจารย์จีระจัดสัมมนาระดับนานาชาติ มีทูตยุโรปจะเชิญอาจารย์จีระไปพูดที่ยุโรป ควรจะมีคนระดับหมอเกษมและดร.สุเมธไปพูดในระดับ Davos ด้วย ตอนนี้ระดับ UN เข้าใจแล้ว แต่นักธุรกิจยังไม่เข้าใจ ยังวัดจากตัวเลขมากกว่า รุ่นนี้ได้ Chira Way และ แรงบันดาลใจ ควรเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้ฝรั่งอ่านบ้าง มารยาททางการเมืองสำคัญมาก ในการประชุม APEC มีอคติเกิดขึ้นตลอดเวลา ถ้าเรารู้น้อย ก็ทำได้ยาก หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนให้เป็นอาจารย์หรือทำวิจัยเท่านั้น Wisdom ก็นำไปใช้ในชีวิตก็ได้ Trump ต้องคิดถึงเกิดแก่เจ็บตาย คนแบบ Trump ไม่ได้มีบ่อย แสดงว่า ในอเมริกามีคนผิวขาวคลั่งความยิ่งใหญ่ในอดีต คนผิวขาวเหล่านี้เรียนจบมัธยมแล้วทำงานในโรงงานรถยนต์ ตอนหลังมีต่างชาติเข้ามาธุรกิจจึงล่ม เขาแค้นชาติอื่นๆ คนผิวขาวลืมตัวว่าเป็นผู้อพยพเหมือนกัน คนผิวขาวขวาจัด บ้าคลั่งศาสนา แต่สังคมไทยไม่เป็นแบบนั้น คนไทยมีความอดทนสูง มีหมอ ดาราเป็นเพศที่สามมากขึ้น แต่คนผิวขาวไม่เข้าใจพหุวัฒนธรรม Value Diversity คือการเข้าใจความหลากหลาย สังคมไทยไม่ควรจะเกิดการแบ่งแยกอีกครั้ง คนเราแตกต่างกันได้แต่ไม่ควรจะฆ่ากัน Wisdom ต้องนำมาประยุกต์กับความจริง โดยมาจากฐานข้อมูลที่มาเรียบเรียง ตอนท่ฟองสบู่แตก ถ้าไทยไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่รอด 

                  อาจารย์จีระ กล่าวถึง Professor ที่ Harvard บอกว่า ความสำเร็จที่แท้จริงคือ Happiness and Sustainability คนที่เรียนจบ Harvard 5 ปีแรกมีความสุขงานทำดี ต่อมามีปัญหาครอบครัว โรคร้าย บางคนเข้าคุก เช่น ประธานเอ็นรอน ตอนหลังสังคมมีคนเข้าคุกมากขึ้น ตอนนี้มี Fintech ทำให้ธนาคารปลดคน ทำให้คิดถึง Employment and Employability ต้องมีความสามารถในการจ้างงานตนเองด้วย ช่วยกันทำงาน ไม่ควรประมาทกับชีวิต 

                  การนำเสนอการวิจารณ์ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  

                แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์คิดถึงเรื่องแรงงานสัมพันธ์ มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน ยังเห็นว่าคนเป็นต้นทุนการผลิต ตอนนี้แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงว่า คนเป็นมูลค่าเพิ่ม คนเป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพคนอย่างจริงจังและเป็นระบบ แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณมองทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ ต้องมีการกระทำตนเป็นต้นแบบ

แนวคิดท่านพารณ

  • เห็นว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่า
  • สนใจเรื่อบการปลูกเป็นพิเศษ
  • มีแนวคิดตั้งใจที่จะสร้างคนเพื่อประเทศในอีก 10 ปีข้างหน้า
  • กระบวนการสร้างคนในรูปแบบ 4L’s จะอยู่ในรูปแบบการสร้างคนในระดับองค์กร

แนวคิดท่านอาจารย์จีระ

  • เห็นความสำคัญของคน ถือว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่า
  • มุ่งพัฒนามนุษย์ในทุกระดับขั้น ทุกช่วงอายุ เชื่อว่าคนพัฒนาได้ตั้งแต่ช่วงเกิดจนวัยชรา
  • สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
  • เน้นกระบวนการและกลไกที่ใช้พัฒนามนุษย์ในทุกระดับ
พิชามณต์ ชาญสุไชย

ครั้งที่ 4 การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน


                  8K’s เป็นเรื่องพื้นฐาน ส่วน 5K’s เป็นเรื่องที่เสริมโลกาภิวัตน์เข้ามา ส่วนที่ดีของ 8K’s และ 5K’s คือการมีการสร้างความสมดุลระหว่างคุณสมบัติด้าน Tangible และ Intangible Asset เกี่ยวกับเรื่องของทุนมนุษย์ ทั้ง 8K’s และ 5K’s มีส่วนผสมของความเป็น 4.0 เรื่องของการใช้เทคโนโลยีไอที 8k มีทุนทางดิจิตอลอยู่แล้ว ในส่วนของ 5K’s มีทุนทางความรู้ จากการรวบรวมส่วนของ Data มาเป็น Information และจาก Information มาเป็น Knowledge โดย 5K’s ใช้ส่วนเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ จึงเป็นแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในยุค 4.0 มนุษย์เรามีหลายวัย ตั้งแต่เด็กมาก็ถูกปลูกฝัง อาจจะทำไม่ทันทุกข้อ อาจจะมี guidelines เป็นกระบวนการที่จะนำข้อใดมาใช้ 

                  ท่านอาจารย์จีระได้กล่าวถึงประเด็นข้อแรกดีแล้ว ส่วนประเด็นข้อสอง วันนี้ คนรู้จัก 2R’s มาก แต่รุ่นนี้ชอบ 2I’s รุ่นนี้ควรทำ 8K’s ให้กระชับขึ้น  ในทางวิชาการ สามารถนำมาทำวิทยานิพนธ์ได้ ท่านผู้ตรวจกล่าวถึง Health ซึ่งอยู่ใน Happiness Capital แล้ว เรื่อง Health สำคัญมาก ในรุ่น 16 นำ 8K’s ไปใช้ในเรื่องวิชาการได้แล้ว 2R’s วงกว้าง ทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน Talented Capital เรื่อง Attitude สำคัญ คล้าย mindset เชื่อมโยงกับทุกอย่าง ทุกคนมี Talented Capital ควรช่วยกันคิดให้ชาวบ้านและเด็กเรียนโดยแบ่งระดับตามการเรียนรู้ 8K’s และ 5K’s ทุกเรื่องที่อาจารย์จีระสอนก็ขยายได้มากขึ้น อาจารย์จีระยังไม่เคยเปลี่ยน 8K’s และ 5K’s จริยธรรมต้องมาก่อน จริยธรรมและทุนทางอารมณ์ทำให้ไม่ทำอะไรใหญ่โต มีความระมัดระวังมากขึ้น ทุนทางอารมณ์คือการควบคุมอารมณ์ เวลาที่เจอวิกฤติ โต้ตอบสื่อมวลชน เรื่องสีหน้าก็สำคัญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ แต่เป็นคนวางแผนดีมีการเตรียมพร้อมในการทำงาน 8K’s คือพื้นฐาน ถ้าจะติดวิทยายุทธ์เพิ่มขึ้นก็ต้องต่อยอดด้วย 5K’s ข้อดีคือ 8K’s และ 5K’s ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง แล้วต่อเนื่องไปยัง ครอบครัว กระจายไปสังคม จนสามารถแข่งกับต่างประเทศได้ 

นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

 

ท่านอาจารย์ได้ชี้ให้เห็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยทำงาน นอกเหนือจากด้านการศึกษาที่กล่าวในครั้งที่แล้วว่า ในด้านสุขภาพ ครอบครัวก็มีบทบาทในส่วนนี้เช่นกัน นอกจากนั้นในเรื่อง Macro อีกสิ่งหนึ่งคือเรื่องของสื่อ Social media มีทั้งด้านดีและเสีย สังคมต้องรู้จักการคิดวิเคระห์กับข้อมูลที่หลั่งไหลกันเข้ามา

การวิจารณ์หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

แนวคิดเดิมมองมนุษย์เป็นต้นทุนของการผลิต แนวคิดดังกล่าวจีงมุ่งประเด็นไปที่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน สร้างแรงงานสัมพันธ์ แต่เมื่อแนวคิดเดิมมีการเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องมีการเอาใจใส่และการลงทุนอย่างจริงจังและเป็นระบบ

แนวคิดด้านทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณ มองว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพื่มต้องได้รับการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับด้านจิตใจ คุณพารณมีแนวคิดในการสร้างคนเพื่อประเทศในระยะไกล ซึ่งกระบวนการสร้างคน ใช้รูปแบบ 4L’s ในระดับองค์กร คือเริ่มตั้งแต่ หมู่บ้าน ไปที่มหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรมและระดับชาติ ให้เป็นประเทศแห่งการเรียนรู้

แนวคิดของท่านอาจารย์จีระ เชื่อว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นทุนที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ดังนั้นต้องยกระดับการบริหารทรัพยากรที่มีคุณค่านี้แบบองค์รวม พัฒนาในทุกลำดับขั้น ทุกช่วงทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งวัยชรา มิใช่เพียงแต่ก่อนวัยทำงานเท่านั้น เน้นการใช้ 4L’s อย่างเป็นกระบวนการ 

นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 4 วันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์


แนวคิด 8K’s และ 5K’s มาจาก Gary Becker ส่วน  “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” ต่อยอดมาจาก 8K’s 

ทุนมนุษย์เกิดขึ้นในสมัยของ Gary Becker ซึ่งเป็น 1ใน 4 ของทุนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน จึงต้องอยู่ในทุกทุน

นอกจาก Gary Becker ที่กล่าวถึงทุนมนุษย์แล้ว ยังมี Adam Smith ที่เข้าใจทุนมนุษย์แต่ไม่ได้เรียกว่าทุนมนุษย์โดยตรง โดยเขาได้ยกตัวอย่างเรื่องคนสองคนที่ได้ค่าจ้างที่ไม่เท่ากันเนื่องจากความรู้ วุฒิการศึกษาและทักษะที่แตกต่างกัน และ Paul Schultz พบว่านำชาวนา 2 คนมาเปรียบเทียบ ชาวนาคนที่มีความรู้มีปัญญามากกว่าได้ผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า เป็นที่มาของ Smart Farmers เกษตรกรที่ใช้ความรู้เป็นนั่นเอง

8K’s +5K’s แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของคนในอนาคต

ความแตกต่างอีกด้านหนึ่งของทุนมนุษย์ก็คือ มนุษย์มีทุกอย่างที่วัตถุไม่มี หายใจได้ คิดได้ วิเคราะห์ได้ เป็นทุนทางปัญญา

คนที่ประสพความสำเร็จเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมี ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

ทุนแห่งความสุข หมายถึง คนชอบทำงาน ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา งานที่ทำ ต้องมี Passion, Purpose, Meaning

ทุนทางสังคม มนุษย์จำเป็นต้องมี Networking จึงจะอยู่รอดได้

ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นพฤติกรรม ทำอะไรต้องคิดระยะยาว

รวมทั้งทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทุนแห่งความรู้ทักษะและทัศนคติ

5K’s ใหม่ตอบโจทย์ ไทยแลนด์ 4.0 เช่น ทุนทางอารมณ์ บางคนเก่ง อารมณ์ร้อนก็ไม่ประสพความสำเร็จ 

นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 5 วันที่ 25  กุมภาพันธ์ 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

 

การนำเสนอหนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

กลุ่มที่ 1 ได้นำเสนอเส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์จีระ ตั้งแต่การตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ และโครงการอื่นๆอีกหลายอย่าง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ รวมถึงการสร้างสรรค์งานสื่อต่างๆด้านการสร้างพัฒนาคุณภาพมนุษย์โดยนำความรู้ ประสพการณ์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม

พื้นฐานทฤษฏี 8K’s มีรากฐานมาจากทฤษฏีทุนมนุษย์ของ Prof. Gary Becker

 Human Capital (K1) ของอาจารย์จีระแตกต่างจาก Gary Becker ในแนวคิดว่ามนุษย์ต้องมีสมรรถนะและทักษะในการทำงาน ซึ่ง Gary Becker เน้นการทุ่มเม็ดเงินไปพัฒนาคนด้านการศึกษา

Intellectual Capital (K2)ต้องทำให้มนุษย์คิดเป็น วิเคราะห์เป็น โดยใช้ครื่องมือการเรียนรู้ 4L’s ( Leaning Methodology,  Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) อีกทั้งนำ 2R’s (Reality และ Relevance) มาใช้ร่วม

Ethical Capital (K3) ทุนทางจริยธรรม คิดดี ทำดีเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ

Happiness Capital (K4) ทุนแห่งความสุข มีสมดุลแห่งการใช้ชีวิตและการทำงาน

Social Capital (K5) ทุนทางสังคม ต้องเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงานเป็นทุนที่ต้นทุนน้อย

Sustainability Capital (K6) ทุนแห่งความยั่งยืน ช่วยพัฒนาทุนมนุษย์

Digital Capital (K7) ทุนทาง IT ต้องมีการเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย

Talented Capital (K8) ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ สามารถพัฒนาทักษะความรู้ของตนเองตลอด

 

เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามาก็มีทุนเพิ่มอีก 5 ทุน เรียก 5K’s ประกอบด้วย

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

Knowledge Capital ทุนทางความรู้ มาจาก 2R’s เปลี่ยน Data เป็น Information และให้กลาย Knowledge

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม สามารถทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จและมีคุณค่า

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม เข้าใจตระหนักรู้ถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่เป็นรากฐานการดำรงชีพมนุษย์

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์และมีภาวะผู้นำ

 

นำ 8K’s และ 5K’s มาประสานเข้ากับ AEC

AEC นอกจากเรื่องเศรษฐกิจแล้วยังมีเรื่องของแรงงาน รู้ขีดความสามารถในการแข่งขัน รู้ช่องว่างประชาคมอาเซียน บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก นำ 8K’s+5K’s มาช่วยปรับจุดอ่อนทุนมนุษย์ให้ประเทศแข่งขันและอยู่รอดได้ อีกทั้ง พิจารณาดูถึงอุปสรรคต่างๆในการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายการศึกษาและอื่นๆ

พิชามณต์ ชาญสุไชย

ครั้งที่ 5 HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่างๆ ของอาจารย์

                  การนำทุนมนุษย์มาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม โดยเป็น Input หลักสูตรนี้ต้องการทำให้ทุนมนุษย์มีประโยชน์ในการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้น นวัตกรรมเป็นตัวแปรอิสระ ทุนมนุษย์เป็นตัวแปรตาม มองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ Micro ต้องรู้ HR Architecture ตัวอย่างเรื่องระดับ Macro มีการจ้างงานซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ตอนที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี มีฐานเสียงคือคนทำงานในอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียม เมื่อมีการค้าเสรี คือมีภาษีศุลกากรเป็น 0 การขาดดุลการค้าไม่ใช่เรื่องเสียหาย แค่แสดงว่าเป็นการขายมากหรือขายน้อย การที่มองว่า การขาดดุลการค้าเป็นเรื่องเสียหายถือเป็นทฤษฎีสมัยเก่า คือ Mercantilism หมายถึง ถ้าประเทศใดส่งสินค้าไปขายยังประเทศอื่นแล้วมี Balance of Trade Surplus คือกำไร เช่น ไทยส่งสินค้าไปขายที่อินโดนีเซียได้กำไร แม้อินโดนีเซียขาดดุลการค้าแต่ก็นำสินค้านั้นไปเป็นปัจจัยการผลิตต่อ ถ้าไม่มีภาษี ก็ทำให้ Input ของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ Production Function ของประเทศเหล่านั้นมีประสิทธิภาพแล้วเกิดการจ้างงานสูงขึ้น การที่ทรัมป์คิดแต่อุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐอเมริกา เมื่อตั้งกำแพงภาษี ก็แสดงว่า อุตสาหกรรมนั้นมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ก็มีปัญหาคือ เหล็กไม่ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ แต่เป็นวัตถุดิบผลิตสิ่งต่างๆ การจ้างงานจึงไม่ทดแทนตรง 1 ต่อ 1 แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น พบว่า การจ้างงานโดยตรงของอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น 20% แต่การจ้างงานอ้อมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ลดลง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะคิดว่า Tariff มีผลต่อเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามา แต่อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนราคาแพงก็เป็นต้นทุนการผลิตของธุรกิจอื่น ดังนั้นต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า การจ้างงานเกิดขึ้นหรือลดลง ถ้าเป็นการจ้างงานโดยตรงก็จะมีปัญหา จะมีเรื่องเกี่ยวกับภาษีนำเข้า ต้องมองอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบเหล่านั้น เมื่อต้นทุนแพงขึ้น ก็จ้างงานลดลง การค้าระหว่างประเทศมีผลหลายด้านโดยเฉพาะการจ้างงาน จะมีการวิจารณ์ว่า แรงงานต่างด้าว และสังคมผู้สูงอายุจะอยู่ตรงไหนใน HR Architecture เมื่อแบ่งโครงสร้างอายุ ทำให้ศึกษา HR Architecture ชัดเจนขึ้น กรมอนามัยมีทฤษฎี Miracle 1,000 วัน ควรจะมีการดูแลเรื่องสมองตั้งแต่เด็ก แต่อบจ. อบต.ต่างจังหวัดจะไม่ได้ดูแลทรัพยากรมนุษย์ในวัยเด็ก บางคนขาดสารอาหารและไอโอดีน จึงจะมีปัญหาด้านสมองในอนาคต

                  ดังนั้น อาจารย์จีระจึงเชื่อมโยมในระดับ Micro ปลูก (HRD) ทำทุกช่วงเวลา ตั้งแต่เกิด เข้าโรงเรียน ทำงาน มี lifelong learning เก็บเกี่ยว ทฤษฎี 3 วงกลม เอาชนะอุปสรรค คือ Execution ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำเล็กๆ ชนะเล็กๆ ก่อนHappiness Capital 8K’s 5K’s คือ Micro จำเป็นอยู่ ควรมองนวัตกรรมให้กว้างขึ้น อย่ามองแค่ระดับองค์กร สิ่งที่มาแรงมากคือความสัมพันธ์ระหว่างคนในวัยต่างกัน เราได้เคยพูดถึงเรื่องปฏิรูปการศึกษา สิ่งสำคัญคือ ปฏิรูป Mindset จะเรียงสี่ข้อนี้อย่างไร Mindset Attitude Habit Belief 

HR Architecture

ครั้งที่ 6 วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม และการสร้างเครือข่าย Networking

ที่มาของการขาดคุณธรรมคือ ผู้นำขาดคุณธรรมทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้น ขาดการยกย่องคนดี สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม 

วิธีแก้ปัญหา คือ ผู้นำขาดคุณธรรม แก้โดย ให้ความสำคัญ ส่งเสริมพัฒนา ขาดการยกย่องคนดี แก้โดย นำบุคคลต้นแบบมาวิเคราะห์หลักการและแนวคิดอย่างไร สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม 

การปลูกฝัง โดยสร้างคุณธรรม จริยธรรมที่ควรประยุกต์ใช้ได้กับความเป็นจริงของชีวิต ครอบครัวประสานโรงเรียนและศาสนาหรือ ค่านิยมที่ยึดถือและสังคมจุดประกาย สื่อ ต้องสื่อสารเพื่อปวงชน สื่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้รับสื่อต้องใช้วิจารณญาณมาก (Media Literacy) สังคม ควรให้ความสำคัญกับคนดี เชิดชูคนดี 

วิเคราะห์บุคคลต้นแบบ

 ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติภรรยา สร้างโอกาสให้คนในสังคม ท่านเป็นผู้ประศาสน์การธรรมศาสตร์ คนจนเข้าถึงการศึกษาได้ 

 ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เน้นธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ยุติธรรมคือยุติโดยธรรม มีเมตตา 

 พระองค์วรรณ มีปิยวาจา เป็นราชบัณฑิตและนักการทูต ฟังทุกอย่างรอบด้าน ไม่ว่าเป็นคนระดับใด 

 ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีความกล้า วิสัยทัศน์ ปฏิบัติจริง แสดงจุดยืนโดยสันติ 

                  ทั้ง 4 ท่าน มีความดีภายใต้ความแตกต่างของอาชีพ แต่ละท่านผ่านสิ่งต่างๆ กว่าจะบรรลุเป้าหมาย แสดงถึง passion ที่จะทำ 

ทุกท่านเมื่อพบอุปสรรคก็ทำต่อให้คนสานต่อได้ เล่มนี้สะท้อนมุมมองจากนักคิดและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง มีเกร็ดประสบการณ์ต่างๆ 

คุณชวนบอกว่า อาจารย์สัญญามาจอดรถที่เน ให้คุณชวนติดรถไปด้วย 

อิทธิพลหนังสือ

สร้างความประทับใจ ทำให้เห็นความสำคัญแล้วค้นหา สร้างกระตุ้นคุณธรรมจริยธรรมให้เกิด แล้วพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

การสร้างเครือข่าย Networking

                  เรื่องแรกที่ดูเป็นงานกระทรวงการท่องเที่ยว ในวิจัยเราก็ค้นหาแนวทางพัฒนาเครือข่าย  เมื่อได้วิจัยแล้ว ก็ลงพื้นที่ พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ มี 4 ตัวละคร พยายามหาโจทย์ให้ชุมชนคิดสิ่งสร้างคุณค่าใหม่ๆร่วมกัน แต่ละจังหวัดมีของดีต่างๆ เชื่อมโยงแล้วเกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ทุกคนได้ความคิดไปทำเองโดยไม่ต้องรอภาครัฐ กลยุทธ์จากวิจัย จากอาจารย์จีระ แนวทางต่างๆสำเร็จได้จริง 

                  เรื่องผู้นำ 5 จังหวัด ศูนย์อาเซียนมาปรึกษาทีมเรา จึงมองว่าสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวได้ง่ายที่สุดเริ่มจากผู้นำมีเครือข่ายเข้มแข็ง เมื่อจบโครงการ ภาครัฐเห็นโครงการ จึงให้งบมาสนับสนุนการทำงานต่อ

เนื้อหา กฎ 19 ข้อเรื่อง Networking จากประสบการณ์ของ ดร.จีระ

1.เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ “How to Win Friend and  Influence People” แต่งโดย Dale Carnegie ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎี Networking

2.หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจและมีชื่อเสียงมาก คือ “Never Eat Alone” โดย Keith Ferrazzi หนังสือเล่มนี้เป็นจุดที่ทำให้เกิด Motivation ว่า เขาน่าจะศึกษาเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ – How to create friends and keep friends และบริหาร Relationship ให้เกิดคุณค่า

3.  มี Quotations ที่น่าจะนำมาพูด ได้แก่ “High Tech and High Touch” ซึ่งมีความหมายว่า มี Hardware ก็ต้องมี Software มีเครื่องจักร มี Technology ก็ต้องมีมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี จึงจะเกิดประโยชน์ และบริหารความสัมพันธ์ให้ได้มูลค่าเพิ่ม รู้จักบริหารความสัมพันธ์ที่เหมาะสม มีเพื่อนมากก็มีอิทธิพลมาก ทำอย่างไรจึงจะชอบและพอใจในความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 

4. Network และ Partnership เพราะงานที่ทำอยู่ทุกๆ วัน ก็เน้นความสำคัญเรื่องนี้ ก็น่าจะนำมาเล่าให้ฟัง ไม่ว่าสมัยที่ทำงานที่ธรรมศาสตร์ หรือการทำงานในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการเป็นอาจารย์เก่าและ การมีโอกาสสร้าง Network ในต่างประเทศ 

5. Networking and Partnership จำเป็น เพราะ 

          - โลกยุคเปลี่ยนแปลง 

          - โลกยุคโลกาภิวัตน์ 

          - โลกยุคการแข่งขัน 

          - โลกที่ต้องเน้นความสมดุล และความยั่งยืน 

          - โลกที่เน้นธรรมาภิบาล 

6. Networking เป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ผมเรียกว่า “Social Capital” 

7. วันนี้วัตถุประสงค์น่าจะดูว่า คำจำกัดความของ Networking and Partnership คืออะไร 

          - ทำอย่างไรจึงจะปลูกฝังให้เกิด 

          - จะหลีกเลี่ยงปัญหา และสร้างประโยชน์ต่อตัวเอง และองค์กรได้อย่างไร 

8. Network คือ การที่เรารู้จักบุคคลจากหลายๆ วงการ นอกจากเครือญาติ หรือเพื่อนฝูงแล้ว ความรู้จัก และความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 

  ดังนั้น โดยหลักแล้ว มี Network ที่มีคุณภาพและลึก  ก็มีโอกาสสร้างพันธมิตรได้มากขึ้น     และตัวเราเองก็ต้องได้ประโยชน์ และองค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน และอยู่รอด 

9. การจะสร้างเครือข่ายที่ดี จะต้อง.. คบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม มีทัศนคติที่พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีโลกทัศน์ที่กว้าง มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราอยากจะรู้จัก เช่น ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง วิถีชีวิตของเขา ทำงานเป็นทีม ทำกิจกรรม และเล่นกีฬา ไม่ชอบอยู่คนเดียว หรือใช้ชีวิตสันโดษมากเกินไป มีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking) ชอบความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่างๆ มีการติดตาม (Follow up) การสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด 

10. หลักการที่สำคัญของการสร้างเครือข่าย คือ จะต้องสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ลึก โดยเน้น.. การจะคบกับใครอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้น ความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุข และความสบายใจที่คบหากัน (Comfort Level) ค่อยๆไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน ต้องเน้น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ และนับถือในบุคคลเหล่านี้ (Respect) ไม่ได้มองจากบุคคลเหล่านั้นแค่ภายนอก หรือวัตถุ และเพิ่มคำว่า ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Diversity) และการสร้างความเสมอภาค และน่าจะเน้นความแตกต่างกันทางความรู้ หรือทักษะ และศักยภาพ เพื่อสร้าง Synergy ให้ได้จริงๆ 

11. ต้อง Clear Concept ให้ดี อย่าสับสน Networkingแตกต่างจาก Teamwork 

12. Cooperation หรือ Collaboration บางเรื่องเหมือน บางเรื่องแตกต่าง Networking คือ สร้างความสัมพันธ์อย่างหลวม ๆ ก่อนให้เกิด Trust และจึงไปมีเป้าหมาย อาจจะสร้างประโยชน์ได้ต่อมา 

13. แรก ๆ ยังไม่ต้องมี Agenda ว่าจะทำอะไร การจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คือ Relationship ที่ดี แต่สร้างบรรยากาศให้สบาย ๆ ทุกคนมีความสุข (Happiness) ที่อยู่ใน Network นี้ อย่าเครียด และในที่สุดจะเกิดคุณค่าขึ้นมาได้ 

14. ตัวละครที่สำคัญ ต้องเน้น Diversity หรือเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า “Competitive Advantage” คือ มีศักยภาพ เพราะจุดแข็งแตกต่างกัน แต่ตัวละครเหล่านั้นอาจจะไม่ได้มีบทบาทเท่ากัน ก็อาจจะมาเป็นช่วง ๆ แล้วแต่สถานการณ์ 

15. Case Study ของจีระ เรื่อง เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน โดยเฉพาะที่เกาะพิทักษ์ที่วันนี้ได้ต่อยอดไปร่วมกับ กฟผ. ด้วย เรียกว่าเป็น Networking   ยกกำลัง 2 ยกกำลัง 3

 

ครั้งที่ 7 เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge กรณีศึกษากฟภ. และสังคมการเรียนรู้ทฤษฎี 4 L’s

การพัฒนาองค์กรการเรียนรู้

                  ในคลาสสอนวันนี้อาจารย์จีระได้กล่าวว่า การมี Knowledge แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่มี Learning Organization ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organization ได้ เริ่มที่การเก็บความรู้มีทั้ง Tacit (ความรู้ในตัวบุคคล) และ Explicit (ความรู้ที่เขียนออกมาเป็นผลงานและยุทธศาสตร์) ต้องมี Tacit Interview ช่วยเก็บข้อมูลเพื่อเปลี่ยน Tacit เป็น Explicit เพราะมูลค่าองค์กรมาจาก Tacit ถ้าองค์กรใดก็ตาม เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร และสามารถแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เท่ากับเป็นการเพิ่ม KM 

                  กรณีศึกษากฟผ.มี KM ด้านการสร้างโรงไฟฟ้า ใช้วัตถุดิบและซ่อมบำรุง ในอนาคต โลกเปลี่ยน ก็ต้องนำอดีตและอนาคตมาร่วมกัน ต้องนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน อ่านหนังสือด้วยความอยากรู้อยากเห็น จะทำให้ทราบแนวโน้มในอนาคตซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ขึ้นอดีตเท่านั้น นำแนวโน้มอดีตมาทำกราฟเป็น Projection อย่างเดียวไม่ได้ บางสิ่งก็ต้องเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษา กฟภ. ให้อาจารย์จีระฝึกคน 4,000 คน เรื่อง Knowledge Audit มีการทำแบบสอบถามว่า ก่อนเรียนและหลังเรียนได้มูลค่าเพิ่มหรือไม่ ออกมาเฉลี่ย 17% แล้วมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ้าผู้นำองค์กรอื่นกล้าทำโครงการแบบนี้ ก็จะได้ประโยชน์ อาจารย์จีระเข้าไปทำที่การรถไฟ เขาอยากทำแต่ไม่สำเร็จเพราะมีปัญหามาก ต่อไปก็ไปทำให้กลุ่มไทยซัมมิท กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่ององค์กรการเรียนรู้น่าจะเป็นวิทยานิพนธ์ชั้นยอด 

องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าจะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้ จะต้องเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)  จาก Good อาจจะไปสู่ Great พนักงานจะภูมิใจและมีความสุขในการทางาน การทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต องค์กรส่วนใหญ่มี Training แต่เราไม่ค่อยจะมี Learning Learning ถ้ามี Training Training เราไม่ได้ไปสร้าง Change Value added Value added กระจายไม่ทุกกลุ่ม ผู้บริหารระดับสูงในอดีตยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง และไม่ทำอย่างต่อเนื่อง การเรียนปริญญาเอกต้องลึกและรู้เรื่อง คำนึงถึงภูมิสังคม ทำงานแล้วต้องมีการถ่ายทอด ประสานงาน บูรณาการ มีความเป็นเจ้าของ รู้จริง รักงาน ทำงานเป็นทีม 

กฎของ Peter Senge 

-Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง ปัญหาคือ คนไทยชอบลอก แต่ควรทำความเข้าใจ 

-Mental Models Mental Models Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด มีการคิดหลากหลาย 

-Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน 

-Team Learning เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน ปะทะกันทางปัญญา 

-System Thinking มีระบบการคิดมีเหตุมีผล 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ peter Senge rule

 

                  เมื่อเรียนแล้ว ควรไปหาข้อมูลว่า แต่ละเรื่องที่ Peter Senge คิดว่า มีเพราะอะไร และอาจจะนำไปใช้ได้ ความรู้ต้องแตกฉานและประยุกต์ให้เข้ากับความจริงขององค์กรทำให้ขับเคลื่อนองค์กรได้ 

สังคมการเรียนรู้กับทฤษฎี 4L’s 

-Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี 

-Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 

-Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา 

-Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา กัดไม่ปล่อย ติดตามใกล้ชิด 

3L’s 

-Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด 

-Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ 

-Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง 

ครั้งที่ 8 การนำเสนอหนังสือ Shift Ahead

นำเสนอหนังสือ Shift Ahead บทที่ 2 และ 3

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ shift Ahead

 

บริษัทที่เคยสำเร็จแต่มีสิ่งกีดขวางทำให้ตกลงแล้วปิดตัว โกดักเรียนรู้เทคโนโลยีที่เข้ามา แต่ไม่กล้าจ่ายในเรื่องสินค้า นั่นคือ มองเห็นการมาของดิจิตอล ไม่คิดว่าเป็นวิกฤติกระทบการถ่ายภาพ Steven และวิศวกรโกดักคิดค้นกล้องดิจิตอลแต่ไม่ผลิตออกมา ใช้กล้องธรรมดาล้างอัดรูป ทำให้โกดักปิดตัวลง เกี่ยวอะไรกับ 2R’s ไม่สามารถเปลี่ยน Irrelevance to Relevance แสดงว่า มีเรื่อง เวลา สินค้า บริการและลูกค้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้เรื่องทุนมนุษย์ให้เหมาะสม ถ้าตอบสนองลูกค้าไม่ทัน ก็ต้องปิดตัวลง มหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรให้ทันเหตุการณ์ Relevance ขึ้นกับเวลาด้วย

                  โกดักคิดค้นได้แต่ไม่มีการประดิษฐ์สินค้าขึ้น Xerox ตกต่ำเรื่องถ่ายภาพ เมื่อเห็นวัตกรรม ก็ไม่กล้าเข้าไปมาก ก็ทำเฉพาะขาวดำเท่านั้น เมื่อมีการพิมพ์นามบัตรสีและเทคโนโลยีใหม่มาก็ไม่กล้าลงทุน ทำให้หยุดตัวเองในการเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่

                  Toys “R” Us ล้มเพราะการมาของเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทรกการดำเนินการ บริษัทมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ แต่การเลือกสินค้าพลาด ปรับราคาสูง การแข่งขันของตลาดสูงขึ้น การออกแบบสินค้าทำให้ต้องปิดตัวลง

 

7 สัญญาณมีดังนี้ 

1.ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง กำไร ขาดทุน ถ้า Stable  หรือลด ก็มีปัญหาเพราะกำลังตาย อย่าละเลยตัวเลข ต้องดูสาเหตุแล้วแก้ปัญหาทันที เป็นความเป็นจริงที่ต้องเห็น แล้วต้องเปลี่ยน 

2.แข่งขันด้วยราคาไม่ใช่คุณภาพสินค้า ทำให้คุณค่าลด ต้องตามราคาของคนอื่น ทำให้ต้องเปลี่ยน 

3.มีการรวบรวมข้อมูลแต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์ไม่เป็น ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ถูกและเร็วพอ 

4.ละเลยกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่สนใจลูกค้า คู่ค้า เช่น โดมิโน่พิซซ่าละเลยรสชาติ เพราะต้องดูหลายธุรกิจ ธุรกิจอาหารต้องมีรสชาติดี แต่ที่อื่นดีกว่า แสดงว่าอย่าเน้นแค่จุดเดียวเท่านั้น 

5.ความหยิ่งทะนงว่าดีแล้วทำให้เราล้มเอง เช่น โนเกียเคยเป็นผู้นำด้านมือถือเป็นรายแรกที่คิดกล้องมือถือ เมื่อมีไอโฟนเข้ามา แต่โนเกียไม่คิดว่าเป็นคู่แข่ง ไม่มองรอบข้าง ในที่สุดจึงล้ม เพราะไม่เปลี่ยนตามที่มีข้อมูล 

6.ที่เป็นอยู่ก็ดีแล้ว ไม่อยากเปลี่ยน ไม่สนใจเปลี่ยน จึงไม่ Relevance เช่น Campbell ทำซุปสำเร็จรูป มีแบรนด์แข็งแกร่งมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเน้นอาหารสุขภาพจากธรรมชาติ เปลี่ยนโครงสร้างประชากร คนแก่มากขึ้นสนใจสุขภาพ อาหารกระป๋องต้องปรับตัว แต่บริษัทขยับตัวช้า เริ่มลดผงชูรส แต่ช่วยไม่ได้มาก จึงขยายไปผักไฮโดร ผู้บริหารต้องตระหนักความเปลี่ยนแปลง 

7.ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ในส่วนบุคคลในบริษัท) ผู้นำต้องให้ความสำคัญทุกคนเพราะทุกคนมีบทบาทสำคัญ

ครั้งที่ 9 เยี่ยมชมร้านหนังสือ Asia Book และ Kinokuniya บ้านอาจารย์จีระ

 

                  สอบวิชาของท่านอาจารย์จีระเสร็จในช่วงเช้า ช่วงบ่ายโมงเดินทางไปที่ Asia Book เพื่อเยี่ยมชมร้านหนังสือ โดยมีผู้จัดการร้านมาให้คำแนะนำหนังสือใหม่ๆ ทางด้าน Business เช่น Blockchain หลังจากนั้น เดินทางไปร้านหนังสือ Kinokuniya ซึ่งมีหนังสือมากมายให้เลือกอ่าน และได้หนังสือเรื่อง Cool Japan กลับไปอ่านเสริมความรู้ หลังจากนั้นเดินทางไปบ้านอาจารย์จีระ เพื่อสนทนาเรื่อง Chira Way และทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนกลับทางนักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านอาจารย์จีระ และทีมงาน ที่ให้ความรู้และทฤษฎีต่างๆ ที่จะสามารถนำไปใช้ปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution ในอนาคต

 

นายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 มีนาคม 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์           


เรื่องทุนมนุษย์ต้องมองภาพใหญ่(Macro)ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร (Micro) ซึ่งจะต้องรู้ HR Architecture เป็นพื้นฐานก่อน อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีแรงงานในสหรัฐอเมริกาที่ประธานาธิบดีทรัมป์ตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็กและอลูมิเนียม การที่ทรัมป์คิดว่าการตั้งกำแพงภาษีในอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียม แสดงว่า อุตสาหกรรมนั้นมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ปัญหาคือ เหล็กที่ถูกตั้งกำแพงภาษีที่สูงขึ้นไปนั้น ไม่ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล็กในสหรัฐอเมริกา แต่เหล็กเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งต่างๆอีกหลายอย่าง การจ้างแรงงานจึงไม่สามารถทดแทนโดยตรง 1 ต่อ 1 แต่กลับเป็นการสร้างให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น ซึ่งพบว่า การจ้างงานโดยตรงของอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น 20% ก็จริงแต่การจ้างงานทางอ้อมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ลดลง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะคิดเพียงแค่ว่า การขึ้นภาษีมีผลต่อเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามา แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีต้นทุนราคาแพงก็ยังเป็นต้นทุนการผลิตของธุรกิจอื่นซึ่งต้องได้รับผลกระทบเช่นกัน

มีการวิจารณ์เนื่องจากสถานะการณ์แรงงานต่างด้าวและสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนั้น จะอยู่ตรงส่วนไหนของ HR Architecture โดยเฉพาะผู้สูงอายุกับการแบ่งด้วยโครงสร้างอายุ

ทฤษฏีใน·ส่วนการปลูก เช่น Lifelong Learning การเรียนรู้ทำทุกวัยทุกช่วงเวลา   การเก็บเกี่ยว เช่นทฤษฏ๊ 3 วงกลม และการเอาชนะอุปสรรค คือการทำอย่างต่อเนื่อง ทำสิ่งเล็กๆให้สำเร็จก่อน ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับ HR Architecture ได้

ครั้งที่1              สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                        PHD 8205 การจัดการทุุนมนุษย์และสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

วิธีการเรียน     เปิดเทป อาจารย์ธงทอง และ อาจารย์จีระเรื่องการปฎิรูปการศึกษา

                        วันนี้เป็นการเริ่มเรียนและพบปะกันครั้งแรกระหว่างอาจารย์จีระ และ นักศึกษา รุ่นที  16

เบื้องต้นพวกเราได้รับฟัง แนวความคิด วิธีการสอนและการทำงานของท่านอาจารย์จีระและ ทีมงาน พวกเรารับรู้บรรยากาศในการเรียนรู้ในห้องเรียน และการสอนของท่าน รวมทั้งเนื้อหา และ วิธีการสอน เป็นลักษณะ ของการ share idea ประสบการณ์ ของผู้เรียนและผู้สอน  ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี ChiraWay ของท่าน Learning How to learn ( Learn Share &Care ) แลtเรื่องของ HR Architecture โดยส่วนตัวแล้ว มีความสนใจเรื่อง 2i ( inspiration, imagination )

                           ช่วงท้ายมีการแบ่งกลุ่มทำworkshop หลังจากได้รับชม เทปอาจารย์จีระและอาจารย์ธงทอง ใน “รายการไทยมุง” เรียกได้ว่าเกิดการปะทะกันทางปัญญา โดยพวกเราได้แชร์เรื่อง วิธีการ ข้อเสนอแนะ ข้อจำกัด และตัวละครที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการพัฒนา และ ปฎิรูปการศึกษาไทย ได้ข้อคิดมุมมองที่หลากหลายและน่าสนใจของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ เช่น

·     ความแตกต่างของการศึกษาในแต่ละยุคสมัย

·     การปฏิรูปการศึกษา เริ่มต้นที่ครอบครัว

·     คำนึงถึงการประเมินผลงานครู ,มุ่งเน้นถึงผลการเรียนเด็ก

·     เยาวชนที่ตกหล่น สูญหาย จากระบบการศึกษาไทย เช่นเด็กตั้งครรภ์ในวัยเรียน, เด็กที่เกิดคดี ไม่ได้เรียนต่อ

·     การให้ความสำคัญของ การปลูกฝังคุณธรรม กับความเก่ง

·     ความสุขและบรรยากาศในการเรียน

·     เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

·     การสานต่อการทำงานให้ต่อเนื่อง ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรทุกภาคส่วน

 

                                   

                                                                                                                       Anna.........

ครั้งที่1              สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                        PHD 8205 การจัดการทุุนมนุษย์และสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

วิธีการเรียน     เปิดเทป อาจารย์ธงทอง และ อาจารย์จีระเรื่องการปฎิรูปการศึกษา


                        วันนี้เป็นการเริ่มเรียนและพบปะกันครั้งแรกระหว่างอาจารย์จีระ และ นักศึกษา รุ่นที  16

เบื้องต้นพวกเราได้รับฟัง แนวความคิด วิธีการสอนและการทำงานของท่านอาจารย์จีระและ ทีมงาน พวกเรารับรู้บรรยากาศในการเรียนรู้ในห้องเรียน และการสอนของท่าน รวมทั้งเนื้อหา และ วิธีการสอน เป็นลักษณะ ของการ share idea ประสบการณ์ ของผู้เรียนและผู้สอน  ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี ChiraWay ของท่าน Learning How to learn ( Learn Share &Care ) แลtเรื่องของ HR Architecture โดยส่วนตัวแล้ว มีความสนใจเรื่อง 2i ( inspiration, imagination )

                           ช่วงท้ายมีการแบ่งกลุ่มทำworkshop หลังจากได้รับชม เทปอาจารย์จีระและอาจารย์ธงทอง ใน “รายการไทยมุง” เรียกได้ว่าเกิดการปะทะกันทางปัญญา โดยพวกเราได้แชร์เรื่อง วิธีการ ข้อเสนอแนะ ข้อจำกัด และตัวละครที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการพัฒนา และ ปฎิรูปการศึกษาไทย ได้ข้อคิดมุมมองที่หลากหลายและน่าสนใจของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ เช่น

·     ความแตกต่างของการศึกษาในแต่ละยุคสมัย

·     การปฏิรูปการศึกษา เริ่มต้นที่ครอบครัว

·     คำนึงถึงการประเมินผลงานครู ,มุ่งเน้นถึงผลการเรียนเด็ก

·     เยาวชนที่ตกหล่น สูญหาย จากระบบการศึกษาไทย เช่นเด็กตั้งครรภ์ในวัยเรียน, เด็กที่เกิดคดี ไม่ได้เรียนต่อ

·     การให้ความสำคัญของ การปลูกฝังคุณธรรม กับความเก่ง

·     ความสุขและบรรยากาศในการเรียน

·     เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

·     การสานต่อการทำงานให้ต่อเนื่อง ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรทุกภาคส่วน

 

                                   

                                                                                                                       Anna.........

ครั้งที่1             

สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

           วันนี้เราได้ทราบวิธีการเรียนการสอนของอาจารย์ ซึ่งเน้นหนักในการมีส่วนร่วมในห้องเรียน ปะทะทางปัญญา Learn how to Learn

เรา มีการแบ่งกลุ่มทำ workshop หลังจากได้รับชม เทปอาจารย์จีระและอาจารย์ธงทอง ใน “รายการไทยมุง” ในหัวข้อการศึกษา ซึ่งแง่คิดที่น่าสนใจคือ การศึกษาเริ่มต้นที่ครอบครัว การประเมินการศึกษาควรจัดทำใหม่ ไม่ใช่แค่เกรด หรือใบปริญญา ควรวัดเชิงคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ ประเทศเดินทางผิดมาตลอด มุ่งเน้นจำนวนคนเรียนจบ แต่ไม่มีคุณภาพ ใช้งานไม่ได้ อีกทั้งรัฐควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเรียนนอกระบบ คนในกลุ่มนี้มีมาก และขาดโอกาสการเรียนรู้ กศน มีความสำคัญมาก ที่จะช่วยให้เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษา และสร้างปัญญาให้แก่คนทุกคน นโยบายรัฐเองก็ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาเช่นกัน การแก้ไขควรแก้ตั้งแต่เชิงนโยบาน สร้างเป็นวาระแห่งชาติ

ครั้งที่ 2

วันนี้ได้เรียนรู้ว่า ทุนมนุษย์นี่เริ่มตั้งแต่ครอบครัว ตั้งแต่เกิด เริ่มตั้งแต่ อาหารการกิน การเลี้ยงดู การให้การศึกษา เหล่านี้อยู่ในเรื่องการปลูก เมื่อถึงเวลาเติบโตขึ้นก็สามารถมีทุนมนุษย์ที่ดีพร้อมที่จะทำงานเพื่อสังคม เพื่อองค์กร เพื่อประเทศชาติ เป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยว

อาจารย์ได้สอน ทฤษฎี 4 L’s (Learning Methodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) ในเรื่องนี้หลักคือเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการสร้างคนเพื่อการพัฒนา และมีความสุขในการเรียน สังคมไทยไม่ค่อยมีเรื่องนี้ คนไม่กล้าแสดงความคิด หน่วยงานรัฐมักจะสื่อสารทางเดียว คนต้องเดินตาม แม้ในห้องเรียน เราก็ไม่สามารถเห็นต่างจากครูผู้สอนได้ โดยภาพหลัก การเรียนรู้ในไทยมีอุปสรรคจากระบบอาวุโส และอัตตา การเรียนรู้จึงมักไม่เกิดขึ้นในสังคมของเรา

ผมได้แง่คิดเพิ่มว่า จริงที่ว่าเราควรเลือกคนดีมีศีลธรรมมาทำงานก่อน เพราะความเก่งฝึกง่าย ศีลธรรม คนดี ฝึกยาก เพราะทุนที่มาต่ำ เราอาจต้องเปลืองทุนอื่นๆมากขึ้น โดยความเสี่ยงที่เก็บเกี่ยวไม่ได้มีสูงมาก คนดีมีศีลธรรม เราสามารถเพิ่มทุนอื่น อย่างต่อเนื่องได้ และเก็บเกี่ยวได้ผลที่ดีกว่า การสร้างทุนทางศีลธรรมดังกล่าวนี้ต้องสร้างกันตั้งแต่เด็ก และสร้างอย่างต่อเนื่อง

ครั้งที่ 3

การพัฒนาทุนมนุษย์นั้น อาจารย์ไม่ได้มองแค่การศึกษา ยังคงประกอบด้วยไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ จริยธรรม ความสุขในชีวิต ทั้งหมดนี้ควรพัฒนาทั้ง 8Ks 5Ks

คุณพารณ และท่านอาจารย์มีแนวคิดที่เหมือนกัน กล่าวคือ การพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ

แนวคิดของท่านอาจารย์จีระมีความเพิ่มเติมในแง่ การเรียนรู้เป็น Lifetime การเรียนรู้มีตั้งแต่วัยเด็กไปสู่วัยชรา แนวคิดของท่านยังสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดเป็นนโยบายชาติได้อย่างเป็นรูปประธรรม

 ครั้งที่ 4

แนวคิด 8K’s และ 5K’s  และ Gary Becker

Gary Becker ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ทุนมนุษย์ในช่วงแรกๆ ที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้โดยเน้นไปที่การศึกษาเท่านั้น ทำวิจัยในเชิงเรียนมาก รายได้จะสูงตาม

แต่ในโลกปัจจุบันที่บริบททางสังคมเปลี่ยน ท่านอาจารย์ได้สร้างทฤษฎีที่จับต้องได้อย่างชัดเจนมาเพิ่มสิ่งที่ Becker ขาดหายไปนั่นคือ

8K’s +5K’s

การมีแค่การศึกษาไม่สามารถทำให้ทุนมนุษย์สมบูรณ์ได้ จากสิ่งที่อาจารย์กล่าว ทำให้ผมคิดได้ว่า การเรียนเป็นแค่หนึ่งในทุนมนุษย์ อีกทั้งการเรียนไม่ใช่โรงเรียน การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ปริญญาไม่ได้แปลว่าคนคนนั้นมีทุนมนุษย์สมบูรณ์ ทุนทางปัญญาที่จะต่อยอดสิ่งที่เรียน ทุนทางจริยธรรมที่ทำให้มนุษย์ดีงาม ทุนความสุขซึ่งทำให้ชีวิตคือชีวิตที่ดี และทุนอื่นๆ

ทุนทั้งหมดนี้มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ในฐานะผู้นำ ต้องเพิ่มทุนเหล่านี้ให้องค์กร และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การนำความสำเร็จสำคัญ ความยั่งยืนในความสำเร็จนั้นสำคัญกว่า ดังนั้นทุนมนุษย์ต้องได้รับการพัฒนาทุกด้าน

ครั้งที่ 5

HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่างๆ ของอาจารย์

                 ทุนมนุษย์เป็นตัวแปรตาม มองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ Micro ต้องรู้ HR Architecture ตัวอย่างเรื่องระดับ Macro มีการจ้างงานซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง เช่น การตัดสินใจขึ้นภาษีสินค้านำเข้า เหล็ก เพื่อเพิ่มการจ้างงานให้คนในประเทศ แต่ในความเป็นจริงทำให้คนอเมริกาเองเสี่ยงต่อการใช้สินค้าราคาแพงขึ้น และไม่กระทบการจ้างงานในอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้นการวางแผนเรื่องทุนมนุษย์ต้องมองอย่างรอบด้าน

                  ผมเรียนรู้ทฤษฎี 3 วงกลม เอาชนะอุปสรรคเล็กๆ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำเล็กๆ ชนะเล็กๆ และต่อเนื่องไปตลอด

ครั้งที่ 6

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม และการสร้างเครือข่าย Networking

คนไทย ไม่ค่อยยกย่องคนดี เอาแต่ต่างชาติเป็นแบบ ทำให้คนดีมีคุณธรรม ไม่ค่อยได้เป็นที่รู้จัก

เราควรส่งเสริม แก้ไข ปลูกฝังทัศนคติ ให้คนยกย่องคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างต้นแบบในสังคม

ผมมีความความประทับใจ และตระหนักรู้ถึง Ethical Capital มากขึ้น ซึ่งสามารถทำให้สังคมดีงาม ยั่งยืนได้

Networking and Partnership เป็น Social Capital 

         ผมคิดถึงการมีเพื่อนฝูง และการพัฒนาเติบโต เชื่อมโยงไปด้วยกันมาตลอด อาจารย์ได้กล่าวได้ตรงใจผมมากในแง่ การจะสร้างเครือข่ายที่ดี จะต้อง.. คบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม มีทัศนคติที่พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีโลกทัศน์ที่กว้าง มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราอยากจะรู้จัก

สิ่งที่ผมต้องคิดเพิ่มเติมคือ ทำอย่างไรให้ Social Capital ไม่ขัดแย้งกับ Ethical Capital ซึ่งคงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในอุดมคติ และสวยงาม หากสามารถ Balance ทั้งสองทุนนี้ได้ 

ครั้งที่ 7

เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge กรณีศึกษากฟภ. และสังคมการเรียนรู้ทฤษฎี 4 L’s

การพัฒนาองค์กรการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าจะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้ จะต้องเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง จาก Good อาจจะไปสู่ Great พนักงานต้องมีความภาคภูมิใจและมีความสุขในการทางาน การทำงานอย่างยั่งยืน 

Training VS Learning 

โดยมากไม่ได้ทำอย่างจริงจัง และไม่ทำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งไม่ค่อยมีการเชื่อมต่อยังคนอื่น หน่วยงานอื่น ผู้บริหารมองการปลูกเป็นทุน และต้องการเก็บเกี่ยวระยะสั้นๆ ซึ้งองค์กรที่เป็น LO ผู้บริหารต้องเข้าใจเรื่องนี้ก่อน

กฎของ Peter Senge 

-Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง ปัญหาคือ คนรู้ผิวเผิน แล้วคิดว่าตัวเองรู้จริง 

-Mental Models มีแนวคิดอันหลากหลาย

-Shared Vision มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อนำพาองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน 

-Team Learning เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาความคิด ฝึกฝน ปะทะกันทางปัญญาร่วมกัน  

-System Thinking คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีการมองอย่างเป็นแบบแผน

สังคมการเรียนรู้กับทฤษฎี 4L’s  

-Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี 

-Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 

-Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา 

-Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา กัดไม่ปล่อย ติดตามใกล้ชิด 

3L’s 

-Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด 

-Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ 

-Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง 

ครั้งที่ 8

การนำเสนอหนังสือ Shift Ahead

นำเสนอหนังสือ Shift Ahead บทที่ 2 และ 3

ในการเรียน ผมได้เรียนรู้ว่าการประสบความสำเร็จใดใดนั้น ต้องมาพร้อมความยั่งยืนด้วย การที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น องค์กร คนในองค์กร ผู้นำในองค์กร วัฒนธรรมในองค์กรนั้น จะต้องพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เปลี่ยน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

หนังสือ และการถกกัน ทำให้ผมนึกถึง Case Study หนึ่ง คือ Nokia ซึ่งเป็นผู้นำในการทำโทรศัพท์ และมั่นใจในตัวเองตลอดมาว่าเราคือผู้นำ โดยลืม และไม่เรียนรู้ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ จนวันหนึ่ง Iphone ก็ได้เข้ามาแทนที่ และเปลี่ยนโฉมหน้าโลกไปตลอดการ ผมยังคงเฝ้าดู Iphone ในยุคที่ไม่มี Steve Job ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอีก และองค์กร Apple จะรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ยังจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่อีกไหม

ผู้นำองค์กร เป็นส่วนสำคัญในเรื่องนี้ ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เปิดรับความรู้ การเปลี่ยนแปลงในโลก ไม่มีอัตตายึดติดใดใด เป็นคนนำ Outside มาปรับเปลี่ยน Inside เพื่อให้ความสำเร็จพัฒนา อย่างยั่งยืน

ครั้งที่ 9

เยี่ยมชมร้านหนังสือ Asia Book และ Kinokuniya บ้านอาจารย์จีระ

           วันนี้เป็นวันที่ดีที่ได้มาเยี่ยมร้านหนังสือพร้อมท่านอาจารย์ ท่านได้ให้ความรู้การเลือกหนังสือ สิ่งที่ผมสนใจคือ ผมจะพาลูกเข้าร้านหนังสือบ่อยๆ เพื่อสร้าง Learning Habit ให้ฝังลงไปใน Subconscious  จากนั้นพวกเรานักศึกษาได้มีโอกาสไปบ้านอาจารย์เพื่อพูดคุยสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งหมด

            ผมกลับออกจากบ้านอาจารย์พร้อมความรู้สึกเปี่ยมล้นในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เรียนรู้ต่อไป อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำมาซึ่งความสำเร็จที่มากขึ้น และยั่งยืน 

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ของผม

 ชาคร ตะยาภิวัฒนา

 

ครั้งที่ 2            สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน     ทฤษฎีการเรียนรู้ของ อ.จีระเรื่อง Marco Micro, การทำหนังสือ Chira way

                        แบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

                        อาจารย์ท่านได้พูดถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์  โดยให้แนวความคิดถึง ความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ของทุนมนุษย์กับทุนอื่นๆ เช่น ทุนทางเศรษฐกิจ ( ที่ดิน,การเงิน,โรงงานอุตสาหกรรม,เทคโนโลยี ) ล้วนแล้วต้องอาศัยทุนมนุษย์ขับเคลื่อนในการบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตนั้นๆ

                        Chira way คือแนวความคิดของ อ.จิระ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างฉลาดและมีคุณค่า

โดยมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ

1.การปลูก  ( การสะสมข้อมูล และนำมาพัฒนา)

2.เก็บเกี่ยว  ( การพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท )

3.ทำให้เกิดความสำเร็จ  ( เน้นพิจารณาถึงบริบทนั้นๆ ที่จะนำมาทำให้เกิดความสำเร็จ)

  

                        ทฤษฏีการเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ฟังจากท่านอาจารย์จิระ คือ ทฤษฎี 4 L’s

 (LearningMethodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, LearningCommunities)                  มีวิธีการเรียน คือการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์, สร้างบรรยากาศการเรียน,มีการเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายจากพื้นฐานที่ต่างกันแต่ละคน,มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดการปะทะกันทางปัญญา ก่อให้เกิดสังคมการเรียนรู้เพื่อได้แนวความคิดใหม่ๆ  ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้นี้เราสามารถนำหลักการมาใช้ในการพัฒนา สังคม องค์กร และประเทศชาติ

 

 

                                                                                                                                  Anna

                                                                                                                       Amornrat Aroonthong

 

 

 

 

โชติกา กำลูนเวสารัช

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 1

วิธีการเรียน เปิดเทปอาจารย์ธงทองกับอาจารย์จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

อาจารย์จีระแนะนำวิธีการเรียน เนื้อหาการเรียน คอร์ส outlineว่าจะมีอะไรบ้าง วิธีการเก็บคะแนน  workshop สอบ  Final แนะนำหนังสือที่จะใช้ในการเรียน คือ8K’s 5K’s , ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้, พลังแห่งคุณธรรม เป็นต้น   ท่านอาจารย์จีระกล่าวถึงChira Way  สถาบัน Chira Academy  ท่านเล่าถึงประวัติประสบการณ์ของท่านที่ผ่านมา และเป้าหมายอุดมการณ์เรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ 

วันนี้อาจารย์เน้น  

-          2R’s ; Reality, Relevance  

-          ปลูก, เก็บเกี่ยว และปฏิบัติให้สำเร็จ

-          HRArchitecture มนุษย์ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เกิด จากครอบครัว จนถึงวัยเรียนได้จากสถาบันการศึกษา และเป็นลำดับขั้นตอนในแต่ละช่วงวัย การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด

หลังจากนั้นนักศึกษาแต่ละคนแนะนำตัวและสิ่งที่ได้จากห้องเรียนวันนี้ โดยส่วนตัวผู้เรียนชอบแนวคิดเรื่อง 2R's

Realityมองความจริง

Relevanceตรงประเด็น

เป็นแนวทางวิเคราะห์แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

คิดว่าเป็นแนวทางที่นำไปใช้ได้จริง และทำให้ไม่หลงทิศทาง

โชติกา กำลูนเวสารัช

ช้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 1

วิธีการเรียนเปิดเทปอาจารย์ธงทอง กับอาจารย์จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

อาจารย์จีระแนะนำวิธีการเรียน เนื้อหาการเรียน คอร์ส outlineว่าจะมีอะไรบ้างวิธีการเก็บคะแนน  workshop สอบ  Final แนะนำหนังสือที่จะใช้ในการเรียน คือ8K’s 5K’s, ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้, พลังแห่งคุณธรรม เป็นต้น  ท่านอาจารย์จีระกล่าวถึงChira Way  สถาบันChira Academy  ท่านเล่าถึงประวัติประสบการณ์ของท่านที่ผ่านมา และเป้าหมายอุดมการณ์เรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ 

วันนี้อาจารย์เน้น  

-         2R’s ; Reality, Relevance  

-         ปลูก, เก็บเกี่ยว และปฏิบัติให้สำเร็จ

-         HR Architecture มนุษย์ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เกิดจากครอบครัว จนถึงวัยเรียนได้จากสถาบันการศึกษา และเป็นลำดับขั้นตอนในแต่ละช่วงวัยการเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด

หลังจากนั้นนักศึกษาแต่ละคนแนะนำตัวและสิ่งที่ได้จากห้องเรียนวันนี้ โดยส่วนตัวผู้เรียนชอบแนวคิดเรื่อง 2R's

Reality มองความจริง

Relevance ตรงประเด็น

เป็นแนวทางวิเคราะห์แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

คิดว่าเป็นแนวทางที่นำไปใช้ได้จริง และทำให้ไม่หลงทิศทาง

 

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 2  

ทฤษฏีการเรียนรู้ของดร.จีระ

·        ดร.จีระเน้นเรื่องการพัฒนา ปลูกฝัง ตั้งแต่ครอบครัว ไม่เฉพาะเรื่องการปลูกฝังความรู้นิสัยรักการอ่าน  แต่รวมถึงการให้โภขนาการที่ดีด้วย  ถือเป็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยเรียนและวัยทำงานในอนาคต

·        หลักการเรียนรู้ ใช้วิธีการ 4L’sคือ  1. Learning Methodology 2. Learning Environment3. Learning Opportunities 4. Learning Communities เป็นวิธีเรียนที่กระตุ้นให้คิดสร้างบรรยากาศการเรียนสนุก มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางที่ดร.จีระเน้นย้ำ เนื่องจากนิสัยคนไทยมักไม่ค่อยแสดงออก มักเป็นการสื่อสารทางเดียว  การปะทะทางปัญญาไม่ใช่การโต้เถียงแต่เป็นการแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ทำให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้มากขึ้น

·        ดร.จีระ มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำร่างแนวทาง Chira Way

 

การแบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้:

ดร.จีระ กับคุณพารณมีแนวคิดคล้ายกันในเรื่องมนุษย์เป็น asset ที่มีค่าที่สุดในองค์กรการพัฒนาทุนมนุษย์ไม่ใช่ต้นทุนแต่เป็นการลงทุน เน้นคนเก่งที่ต้องมีคุณธรรมทั้งคู่ต้องการสร้างสัมคมแห่งการเรียนรู้ โดยคุณพารณเริ่มจากองค์กรพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างโรงเรียนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่เด็กเพื่อสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพให้ประเทศ ดร.จีระมองภาพใหญ่ พัฒนาทฤษฎีทุนมนุษย์ พัฒนาวิธีการเรียนรู้เริ่มตั้งแต่ครอบครัวจนถึงวัยเกษียณจาก HR Architecture ไปถึง 8K’s, 5K’s และ 4L’sและยังมีทฎษฎีประกอบอีกมากมาย แต่ทั้ง 2 ท่าน เน้นย้ำเรื่องเดียวกันคือสร้างคนเก่งที่มีคุณธรรม และเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน  

 

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 3  

ที่มาของทุนมนุษย์มาจาก GaryBecker ที่เริ่มจากทฤษฎีที่ว่า คนเรียนมาก จะได้รายได้มากแต่อาจารย์เอามาต่อยอดมากกว่า ไม่มองเฉพาะ Tangible แต่มอง Intangibleด้วย

ปี 2556 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมากปัญญา อาจไม่ใช่ปริญญา ตัวอย่างคนที่ไม่ได้ปริญญาแต่ประสบความสำเร็จ เช่น BillGate, Mark Zuckerburg

จึงเป็นที่มาของ 8K’s 5K’s ที่มอง HumanCapital ไม่ได้วัดจากปริมาณมาก แต่ต้องเน้นคุณภาพจึงเป็นที่มาของทุนที่สำคัญอีก 7 ทุน

ตัวอย่างของทุนใน 8K’s ที่น่าสนใจ

1 .Happiness Capital  จะเกิดได้ต้องมี 3 อย่าง Passion ความหลงใหลในงานที่ทำ + Purposeมีเป้าหมาย  + Meaning มีความหมาย

Happy at work มีความสุขในการทำงานไม่เหมือน Happy Work Place คือองค์กรพยายามทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วย

2. Social Capital  มองเหมือน Networking การจะทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วย

1.    ความไว้เนื้อเชื่อใจ

2.    ความอดทน

3.    แบ่งปันกำไร

3.    SustainabilityCapital การพัฒนาความยั่งยืน ไม่มองความสำเร็จที่เกิดในระยะสั้นๆโดยไม่คำนึงที่ผลกระทบในอนาคต

โชติกา กำลูนเวสารัช

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 2  

ทฤษฏีการเรียนรู้ของดร.จีระ

  • ดร.จีระเน้นเรื่องการพัฒนา ปลูกฝัง ตั้งแต่ครอบครัว ไม่เฉพาะเรื่องการปลูกฝังความรู้ นิสัยรักการอ่าน  แต่รวมถึงการให้โภขนาการที่ดีด้วย  ถือเป็นเรื่องการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าสู่วัยเรียนและวัยทำงานในอนาคต
  • หลักการเรียนรู้ ใช้วิธีการ 4L’s คือ  1. Learning Methodology 2. Learning Environment 3. Learning Opportunities 4. Learning Communities เป็นวิธีเรียนที่กระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศการเรียนสนุก มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางที่ ดร.จีระเน้นย้ำ เนื่องจากนิสัยคนไทยมักไม่ค่อยแสดงออก มักเป็นการสื่อสารทางเดียว  การปะทะทางปัญญาไม่ใช่การโต้เถียง แต่เป็นการแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ทำให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้มากขึ้น
  • ดร.จีระ มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำร่างแนวทาง Chira Way

 

การแบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้:

ดร.จีระ กับคุณพารณมีแนวคิดคล้ายกันในเรื่องมนุษย์เป็น asset ที่มีค่าที่สุดในองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์ไม่ใช่ต้นทุนแต่เป็นการลงทุน เน้นคนเก่งที่ต้องมีคุณธรรม ทั้งคู่ต้องการสร้างสัมคมแห่งการเรียนรู้ โดยคุณพารณเริ่มจากองค์กร พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างโรงเรียนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่เด็ก เพื่อสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพให้ประเทศ ดร.จีระมองภาพใหญ่ พัฒนาทฤษฎีทุนมนุษย์ พัฒนาวิธีการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ครอบครัวจนถึงวัยเกษียณจาก HR Architecture ไปถึง  8K’s, 5K’s และ 4L’s และยังมีทฎษฎีประกอบอีกมากมาย แต่ทั้ง 2 ท่าน เน้นย้ำเรื่องเดียวกันคือ สร้างคนเก่งที่มีคุณธรรม และเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน  

 

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 3  

ที่มาของทุนมนุษย์มาจาก Gary Becker ที่เริ่มจากทฤษฎีที่ว่า คนเรียนมาก จะได้รายได้มาก แต่อาจารย์เอามาต่อยอดมากกว่า ไม่มองเฉพาะ Tangible แต่มอง Intangible ด้วย

ปี 2556 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมาก ปัญญา อาจไม่ใช่ปริญญา ตัวอย่างคนที่ไม่ได้ปริญญาแต่ประสบความสำเร็จ เช่น Bill Gate, Mark Zuckerburg

จึงเป็นที่มาของ 8K’s 5K’s ที่มอง Human Capital ไม่ได้วัดจากปริมาณมาก แต่ต้องเน้นคุณภาพ จึงเป็นที่มาของทุนที่สำคัญอีก 7 ทุน

ตัวอย่างของทุนใน 8K’s ที่น่าสนใจ

1 .Happiness Capital  จะเกิดได้ต้องมี 3 อย่าง Passion ความหลงใหลในงานที่ทำ + Purpose มีเป้าหมาย  + Meaning มีความหมาย

Happy at work มีความสุขในการทำงาน ไม่เหมือน Happy Work Place คือองค์กรพยายามทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วย

2. Social Capital  มองเหมือน Networking การจะทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วย

  • ความไว้เนื้อ เชื่อใจ
  • ความอดทน
  • แบ่งปัน กำไร
  • Sustainability Capital การพัฒนาความยั่งยืน ไม่มองความสำเร็จที่เกิดในระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงที่ผลกระทบในอนาคต
โชติกา กำลูนเวสารัช

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 4

การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8k’s 5k’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

8K’s เป็นพื้นฐาน ที่ต่อยอดมาจาก Gary Becker ที่มองเพียงพัฒนาด้านการศึกษา แต่ ดร.จีระ มองครอบคลุมทั้งปริมาณและคุณภาพ และมี 5K’s เพื่อตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0  สามารถตอบรับการพัฒนาคนไทยให้รองรับประชาคมอาเซียน การพัฒนาเพียงการศึกษาไม่เพียงพอ ทุกคนต้องร่วมมือ ร่วมใจ ต้องมองการพัฒนาที่มีความยั่งยืน ซึ่งนอกจาก 8K’s 5K’s แล้ว ยังมีหลายทฤษฎีของ ดร.จีระ ที่นำมาใช้ ที่เห็นชัดเจนคือ 4L’s (Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) และ HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability)

การยกระดับบุคลากรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ควรให้ความรู้การเปิดเสรีอาเซียน ข้อดี ข้อด้อย การแข่งขันและการร่วมมือ ต้องสำรวจตนเอง องค์กร สังคม ชุมชน เร่งปลูกฝังการเรียนรู้ 4L’s  แล้วถ้ารัฐฯใช้หลักการ นโยบายอิงกับ HRDS  จะได้ใจของชุมชนและประสบความสำเร็จแน่นอน   

 

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 5

วันนี้ได้เห็นภาพ HR Architecture ดร.จีระ



จะเห็นว่า ดร.จีระ มองการพัฒนาทุนมนุษย์ ต้องพัฒนาตั้งแต่เกิดเลย ครอบครัวต้องดูแลให้ความใกล้ชิด ให้การศึกษา โภชนาการที่ดี ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การรักการอ่าน รักการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มนุษย์ยุค 4.0 ต้องคิดแบบวิเคราะห์เป็น ไม่ใช่ท่องจำ นอกจาก 8K’s ต้องมี 5K’s ร่วมด้วย

การเรียนรู้ไม่มีวันหยุด แม้ถึงวัยเกษียณก็ยังต้องเรียนรู้ อาจคนละแบบกับช่วงวัยเรียนและวัยทำงาน แต่ปัจจุบันคนมีอายุยืนยาวขึ้น และมีจำนวนเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่มีเงินเก็บเพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูตนเอง อาจต้องเรียนรู้เรื่องอาชีพใหม่ที่สามารถทำได้หลังเกษียณ

ที่ดร.จีระ จะเน้นมากๆ คือความยั่งยืน แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อย่ามองความสำเร็จช่วงสั้นๆ ต้องวางแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว


โชติกา กำลูนเวสารัช

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 6

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม และ Networking Capital

จากที่ได้เรียนกับ ดร.จีระ มาหลายครั้ง ทำให้ทราบว่าท่านเน้นคนเก่งที่มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งปัญหาที่ประเทศไทยประสบมาคือได้คนเก่งที่ไม่มีคุณธรรม ทำให้ประเทศไม่สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เป็นการกระตุ้นเตือนและปลูกจิตสำนึกผู้อ่านด้านคุณธรรม จริยธรรม อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ทั้ง 4 ท่าน เป็นที่จดจำของคนรุ่นหลังเพราะท่านเหล่านี้เป็นคนเก่ง และเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรมสูง  หาก ดร.จีระ จะเขียนหนังสือเล่มต่อไป อยากให้ท่านยกตัวอย่างบุคคลที่ยังมีชีวิตและประสบความสำเร็จ เพื่อกระตุ้นให้เด็กรุ่นปัจจุบันรู้จักนำมาเป็นแบบอย่างค่ะ

Networking -> Social Capital การสร้างเครือข่าย

กรณีศึกษาจากโครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนใต้

ประกอบด้วยหลายภาคส่วนประกอบกัน

  1. ภาครัฐ
  2. ภาคเอกชน
  3. ภาควิชาการ
  4. ภาคชุมชน

เทคนิคที่ทำให้เครือข่ายประสบความสำเร็จคือ

  1. ต้องให้ทุกภาคส่วนเสมอภาคกัน อย่าแสดงความเหนือกว่า
  2. ต้องให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีความศรัทรา เชื่อมั่น
  3. ต้องทำให้มีประโยชน์ร่วมกัน

สามารถนำ HRDS กับ 2R’s มาใช้เป็นไกด์ไลน์การวางแผนและการดำเนินการได้


ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 7

สังคมการเรียนรู้ เปิด VDO สัมภาษณ์ Perter Senge  กรณีศึกษาของ กฟภ. สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4L’s

4L’s ของ ดร.จีระ  ประกอบด้วย       

  1. Learning Methodology : มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  2. Learning Environment : สร้างบรรยากาศนการเรียนรู้
  3. Learning Opportunities: สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้
  4. Learning Communities : สร้าง/เกิดชุมชนของการเรียนรู้

 

Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้างองค์กรของการเรียนรู้อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการ คือ

  1. Personal Mastery : รู้อะไร รู้ให้จริง
  2. Mental Models : มีแบบอย่างทางความคิด
  3. Shared Vision : มีเป้าหมายร่วมกัน
  4. Team Learning : เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน
  5. Systematic Thinking : มีระบบความคิด มีเหตุมีผล

4L’s ของดร.จีระ กับ 5  วินัยของ Peter Senge มีความคล้ายหรือเหมือนกันคือ เป็นแนวทางการเรียนรู้หรือวัฒนธรรมการเรียนรู้  แชร์ความรู้  ผลักดันให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม การยอมรับความคิดที่แตกต่าง และเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยของ ดร.จีระ แนวทางการเรียนรู้จะเริ่มจากการพัฒนาตนเอง สร้างบรรยากาศและโอกาสการเรียนรู้  และผลักดันไปสู่การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้   ของ Peter Senge  เริ่มจากสร้างวินัยแก่ตนเองในเรื่องการพัฒนาความรู้ของตนเอง รู้อะไร ต้องให้รู้จริง ต้องมี Hard skill ก่อน แล้วพัฒนา soft skill มากขึ้น  ฝึกทักษะในการคิดใคร่ครวญ เปิดใจกว้างต่อสิ่งที่ท้าทาย ฝึกฝนตนเองให้เข้าใจมุมมองและความคิดของผู้อื่น เพื่อสามารถปรับกระบวนทัศน์แนวคิด แนวปฎิบัติให้เหมาะสมกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยต้องการคิดอย่างเป็นระบบเข้ามาช่วย  ทำให้สามารถตั้งเป้าหมายร่วมกัน และทำงานเป็นทีมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

โชติกา กำลูนเวสารัช

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 8

นำเสนอหนังสือ Shift Ahead บทที่ 2 และ บทที่ 3

บทที่ 2 Heed The Red Flags สัญญาณเตือนผู้บริหาร

  • Basic Math ตัวเลขผลประกอบการลดลง
  • Completing on Price, Not Differentiation เป็นการแข่งขันทางราคา ไม่ใช่ความแตกต่าง
  • Big on Data, Short on Analysis มีการเก็บข้อมูลมากมาย แต่นำข้อมูลมาวิเคราะห์ไม่เป็น
  • Neglecting Table Stake อย่าเพิกเฉยกับเรื่องหลักๆ เช่นอาหาร ต้องสนใจรสชาติ ไม่ใช่ระยะเวลาการจัดส่งอย่างเดียว
  • Pride Often Does Go before Fall อย่าหยิ่งทะนงกับความสำเร็จ จนเพิกเฉยกับคู่แข่งขันรายใหม่ๆ
  • Being Too Deep in Your Comfort Zone อย่าอยู่แต่ใน  Comfort Zone จนไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
  • Yertle the Turtle is Left Behind สนใจเสียงจากพนักงาน

ทั้ง 7 เป็นสัญญาณที่ชัดเจน ถ้าเราสนใจและใส่ใจ อย่าเพิกเฉยต่อสัญญาณ เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

บบที่ 3 The Road Barrier ยกตัวอย่างหลายๆ บริษัทที่ต้องล้มหายไป เพราะเพิกเฉยต่อสัญญาณต่างๆ ดังที่กล่าวมา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เช่น Kodak, Xerox, Blackberry จะเป็นแบรนด์ที่เรารู้จักกันดี และได้ล้มเหลวไปเรียบร้อยแล้ว

ดร.จีระ ให้วิเคราะห์หนังสือเล่มนี้กับ 2R’s ซึ่งจะมีข้อหลักๆ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ 1.Reality มองตามจริง สถานการณ์จริง  รู้ศักยภาพตัวเองและบริษัท คู่แข่งขัน 2.Relevance แก้ไขให้ตรงจุด ตรงประเด็น

เป็นเหตุให้ในปัจจุบันบริษัทต้องการ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  สามารถวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ได้

โชติกา กำลูนเวสารัช

ข้อคิดจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งที่ 9

เยี่ยมชมร้านหนังสือ 2 ร้าน Asia Book และ Kinokuniya   

อาจารย์ ดร.จีระ กรุณาพาเยี่ยมชมร้านหนังสือ แนะนำวิธีเลือกซื้อหนังสือต่างๆ แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในยุคดิจิตอล

เป้าหมายที่อาจารย์พามาคือต้องการปลูกฝังพวกเราให้รักการอ่าน และคาดหวังว่าเรียนจบคอร์สแล้ว เราจะอ่านหนังสือต่อไป  พาครอบครัว ลูกหลานมาร้านหนังสือ หาหนังสือที่น่าสนใจกลับไปอ่าน เป็นจุดเล็กๆ เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ และ สังคมการเรียนรู้ ต่อไป

หลังจากนั้น อาจารย์ยังเปิดโอกาสให้ซักถาม ให้ปะทะกันทางปัญญาเวทีเล็กๆที่บ้านอาจารย์เอง

อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง และบอกว่า “ผมรักลูกศิษย์ของผมทุกคน” ซาบซึ้งใจมากค่ะ

ได้ความรู้จากคอร์สนี้มากค่ะ จะนำทฤษฎีที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ต่อยอดให้มากที่สุดค่ะ  

ขอบคุณอาจารย์ด้วยความรักเคารพค่ะ

โชติกา กำลูนเวสารัช

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2561

โดย สายไหม ศรีเมฆ

       ท่านอาจารย์จีระ เชื่อว่า “คนเป็นทรัพย์สินสำคัญที่สุดขององค์กร” จึงให้มองที่คุณค่าและศักดิ์ศรี

ที่ฝังในตัวคนมากกว่าจะเป็นแค่ปัจจัยการผลิต  ดังนั้นเมื่อต้องการคนที่มีศักยภาพ ทำงานได้สำเร็จจึงต้องลงทุนพัฒนาด้วยวิธีการต่างๆให้ทำงานได้ โดยใช้หลักการ ChiraWay ซึ่งมี 3 องค์ประกอบในการพัฒนาทุนมนุษย์  ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 คือ การปลูกที่เน้นให้พัฒนาปัจจัยพื้นฐานตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ครอบครัว การศึกษา โภชนาการ และด้านอื่นๆให้มีศักยภาพ  องค์ประกอบที่ 2 การใช้ประโยชน์ หมายถึงการเก็บเกี่ยวและองค์ประกอบที่ 3 คือ การทำให้สำเร็จ  ซึ่งถือเป็น HR Architecture ที่สำคัญ อีกทั้งควรมีวิธีการเรียนด้วย4L’s เพื่อกระตุ้นให้คิด ได้แก่

1. Learning Methodology

2. Learning Environment

3. Learning Opportunities

4. Learning Communities 

ด้วยวิธีการเรียนที่ดี มีบรรยากาศการเรียนที่สนุกเหมาะสมจึงจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนปะทะทางปัญญาจนเกิดมุมมองใหม่ๆ จากกลุ่มคนในหลายภาคส่วนจะทำให้เกิดการยอมรับนับถือกัน การปลูกจึงเป็นการเริ่มต้นเพื่อก้าวสู่อนาคต โดยเริ่มจากชุมชนหรือองค์กรเล็กๆขยายสู่ระดับชาติหรือระดับโลกต่อไป  การศึกษาจึงเป็นรากฐานในการพัฒนาคนที่ทุกภาคส่วนจึงควรร่วมมือกันในการพัฒนาให้เป็นแนวทางเดียวกันไม่ซ้ำซ้อน และมีแนวคิดใหม่ๆ เพื่อให้เด็กสามารถค้นคว้าเรียนเองได้ เช่น การเรียนทางไกลและเนื้อหาต้องทันสมัยไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่ายเพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้เด็กสนใจ ค้นคว้าสิ่งใหม่ๆได้  ในอดีตมีการเลือกพัฒนาเลือกเด็กที่เรียนหนังสือเก่งก่อนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเลือกเด็กที่มีคุณธรรมหรือคนดีก่อน เพราะเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาให้เด็กเก่งขึ้นอีกได้รวมถึงควรมีการพัฒนาองค์ประกอบทางการศึกษาอื่นๆ เช่น เนื้อหา สาระครูที่มีความรู้ที่ทันสมัย มีคุณธรรมมีความสามารถในการสอนที่กระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงความคิดเห็นได้  เพื่อเป็นกำลังของชาติในอนาคต

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561

โดย สายไหม ศรีเมฆ

 

                             ท่านอาจารย์จีระ เห็นว่า สื่อ Social media มีทั้งด้านดีและเสียที่สังคมต้องรู้จักคิด วิเคราะห์และกรองข้อมูลที่มีมากมายก่อนนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้  Wisdom ที่เกิดในห้องกับ Moment ที่เกิดในแต่ละครั้งควรนำคิดว่ามีผลกระทบอย่างไรใช้ 2R’s ความจริงและตรงประเด็นแลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมในช่วงที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์ จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

และได้ให้มีการวิจารณ์หนังสือ“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” โดยมีรายละเอียดสรุป กล่าวคือ

แนวคิดเดิม มนุษย์เป็นต้นทุนของการผลิตจึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน มีการสร้างแรงงานสัมพันธ์  เมื่อมีการเปลี่ยนแนวคิด เห็นว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเป็นผลกำไรขององค์กรจึงลงทุนอย่างเป็นระบบ

คุณพารณ เห็นว่า คนเป็นทรัพย์สินมีมูลค่าเพิ่มจึงต้องพัฒนาทั้งระบบและจิตใจ และกระทำตน

เป็นต้นแบบ คือ 4 เก่ง4 ดี  

                        4 เก่ง คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน

                        4 ดี    คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม

รวมถึงตระหนักในคุณค่าของคน จึงต้องพัฒนาคนเรื่อยๆและรักษาคนให้ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมดเช่น Supplier ผู้รับเหมา ลูกค้า ให้ได้รับความรู้ใหม่ๆเสมอ และการทำงานเป็นทีมแบบ Participative โดยใช้รูปแบบ 4L’s  เริ่มตั้งแต่ หมู่บ้าน ไปสู่มหาวิทยาลัยภาคอุตสาหกรรมและระดับชาติ ให้เป็นประเทศแห่งการเรียนรู้

แนวคิดของท่านอาจารย์จีระเชื่อว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้อง

ยกระดับการบริหารทรัพยากรแบบองค์รวมประกอบด้วยการเงิน การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันต้องพัฒนามนุษย์ให้เรียนรู้กระบวนการ สามารถชี้นำตัวเองและผู้อื่นได้โดยไม่ต้องรอให้ใครมาสอนต้องสนใจเรื่องผลลัพธ์ เรื่องการเก็บเกี่ยวในทุกลำดับชั้น ทุกช่วงทุกวัย โดยเน้นใช้ 4L’sอย่างเป็นกระบวนการและผู้บริหารระดับสูงต้องเชื่อว่าคนเป็น Asset และหัวใจขององค์กร มี 8K’s+5K’sสำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

                        ทั้งท่านอาจารย์จีระและคุณพารณ มีแนวคิดคล้ายกันในเรื่องมนุษย์เป็นasset ที่มีค่าที่สุดในองค์กรการพัฒนาทุนมนุษย์ไม่ใช่ต้นทุนแต่เป็นการลงทุนเน้นคนเก่งที่ต้องมีคุณธรรมทั้งคู่ต้องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน 

            บันไดสู่ความสำเร็จ (PPCO)

                         1. PDCA (Plan, Do, Check, Act) เป็นแผนที่วางไว้ก่อน

                         2. Priority จัดลำดับความสำคัญ

                         3. Participation ให้พนักงานและผู้บริหารในองค์กรมีส่วนร่วม

                         4. Ownership การสร้างความเป็นเจ้าของแล้วจะรู้สึกว่าจงรักภักดีในองค์กร

                         วิธีสร้างความจงรักภักดีในองค์กร  เพื่อนำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีในองค์กร โดยการทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์

                1. สร้าง long-term employment ดูแลตั้งแต่เข้าทำงานวันแรกจนถึงเกษียณ

                2. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพนักงานและประวัติศาสตร์องค์กรให้ตระหนักคุณค่าประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานและต้องรักษา

                3. การมีส่วนร่วมของคนทุกระดับในองค์กร

                4. มองความภักดีเป็นหนึ่งเดียวเป็นทรัพย์สินทางปัญญา

                การทำให้ทั้งองค์กรพนักงานและได้ประโยชน์(Win-Win Situation) กล่าวคือ สร้างองค์กรให้มีชีวิตนอกจากให้เงินแล้ว ต้องให้ความรัก ให้เกียรติ ให้งานที่ท้าทายความสามารถทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม แล้วทุกคนจะมีความสุขที่จะอยู่ในองค์กร และต้องทำให้ KnowledgeWorkers เป็น Global Citizens หมายถึง คนที่สามารถค้นหาข้อมูล แล้วเปลี่ยนเป็นข่าวสารนำไปพัฒนาเป็นความรู้ คล่องภาษาไทยและอังกฤษ ด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม

                      ปัจจัยที่ทำให้งาน HR ของคุณพารณและอาจารย์จีระลุล่วงไป

                        1. แม้ไม่ได้เรียนHR แต่คนเห็นคุณค่าความสามารถของท่าน จึงทำงาน HR ได้อย่างลุล่วง

                        2. ทั้งสองท่านมีความแน่วแน่มุ่งมั่น

                        3. มีอิทธิพลต่อสังคม

                        4. มีวิสัยทัศน์มองไปข้างหน้าในเรื่องความเป็นจริงและบริบทที่เกี่ยวข้อง

                        5. มีความเป็นผู้ให้ไม่ได้ต้องการผลอะไรตอบแทนนอกจากให้ปัญญาแก่สังคม

                          สิ่งที่หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ช่วยให้ตระหนัก  คือ การเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีความคิดหลากหลายเกิดเป็น Wisdom เป็นนวัตกรรม ที่สำคัญที่สุดถ้าทำแล้วต้องมีความต่อเนื่อง

ในตอนท้ายมีการสรุปเนื้อหาต่างๆในหนังสือ ประกอบด้วย ความสำเร็จและที่มากรอบแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีทุนมนุษย์ แบบ ChiraWay   การปลูก (HumanCapital Development)

จะกล่าวถึงที่มา และกรอบแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการปลูกแบบ ChiraWay ซึ่งเน้นที่"สามเสาหลัก"อย่างเด่นชัด คือ

 1) Learning How to Learn. 

 2) Life Long Learning.

 3) Learning Communities.

และทฤษฎีต่างๆ เช่น 8K's + 5K's   ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 L' s  ทฤษฎีการเรียนรู้ 3 L' s  การเก็บเกี่ยว (Human CapitalManagement) ทฤษฎี 2 R' s (Reality & Relevance) ทฤษฎี 2 I' s (Inspiration & Imagination)

ทฤษฎี H R D S ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อการบริหารจัดการทุนมนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ  Execution หรือ การลงมือทำให้สำเร็จ  ผู้นำในโหล และการทูตภาคประชาชน

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 4 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561

โดย สายไหม  ศรีเมฆ

               

                       ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคนอยู่ในทุกทุน และต้องเกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ได้มีผู้กล่าวทุนมนุษย์ ได้แก่ Prof. Gary Becker และ Adam Smith เขายกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างค่าจ้างของสองคนเป็นเพราะคุณสมบัติของคนไม่เท่ากัน ต้องวัดจากค่าจ้างอาจจะเป็นเพราะแต่ละคนมีความรู้และทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่งวุฒิการศึกษาต่างกันก็ค่าจ้างต่างกัน

                       Prof.Gary Becker ตั้งโจทย์ว่า คน 2 คนเกิดมาเท่ากัน(เหมือน HR Architecture) ได้รับการลงทุนการศึกษา โภชนาการครอบครัวไม่เท่ากัน เมื่อเข้าทำงานแล้ว ค่าจ้างอาจจะไม่เท่ากันคนมีการศึกษาสูงก็มีรายได้มากขึ้น การวิเคราะห์ของ Prof. Gary Becker เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล

                       ทุนทางจริยธรรมที่เสนอโดยอาจารย์จีระเป็นส่วนประกอบของทุนมนุษย์เป็น 2R’s คนที่เรียนจบปริญญาตรีอาจจะฉลาดกว่าปริญญาเอกก็ได้

                       PaulSchultz เป็นอาจารย์ของอาจารย์จีระ เขาค้นพบว่า ถ้านำชาวนา 2คนมาเปรียบเทียบ และถ้าคนใดมีความรู้และปัญญามากกว่าผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า เป็นที่มาของ Smart Farmers คือเกษตรกรที่ใช้ความรู้เป็น

                       ทุนทางปัญญาเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่หมายถึง คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น มองอนาคตเป็น

                       ทุนแห่งความสุขไม่เหมือนกับ Happy Workplace (มีความสุขในการทำงานที่องค์กร)เป็นการเก็บเกี่ยว แต่ทุนแห่งความสุขเป็น Happiness at work หมายถึงคนชอบทำงานเป็นการปลูก Happiness at work เพราะแนวโน้มของโลก คือ ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาและงานที่ทำควรมีสิ่งเหล่านี้คือ Passion ,Purpose ,Meaning

                        ในอนาคตจะมีการทำงานแบบ Networking มากขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้ต้อส Trustซึ่งกันและกัน  อดทน และแบ่งปันต้นทุน/กำไร

เครือข่ายพวกนี้ในทุนธุรกิจ คือ Linked in  ในอนาคตจะเป็น Hollywood Model รวมตัวกัน

ทำงานใหญ่ในที่สุดงานประจำก็จะลดลง กลายเป็นงานรายชิ้นมากกว่า

                       ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นพฤติกรรมไม่ว่าจะทำอะไรต้องคิดถึงระยะยาว เรียนแล้วได้ความรู้และปัญญาจริงหรือไม่ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ให้มากขึ้น ประเทศไทยต้องอยู่ด้วยความยั่งยืน

                       5K’sใหม่ ตอบโจทย์ Thailand 4.0  มีพื้นฐานดีใน 8K’s แล้วลงลึกใน 5K’s นวัตกรรมต้องมาจากพื้นฐานที่ดีเช่น จริยธรรม เครือข่าย ฯลฯ และกล่าวถึงทุนทางอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญมากไม่ได้แปลว่า ไม่มีอารมณ์เลย บางคนเก่งมากแต่อารมณ์ร้อน จึงไม่ประสบความสำเร็จ

8K’s เป็นเรื่องพื้นฐานส่วน 5K’s เป็นเรื่องที่เสริมโลกาภิวัฒน์เข้ามา ส่วนที่ดีของ8K’s และ

5K’s คือการสร้างความสมดุลระหว่างคุณสมบัติด้าน Tangibleและ Intangible Asset เกี่ยวกับเรื่องของทุนมนุษย์ทั้ง 8K’s และ 5K’s มีส่วนผสมของความเป็น4.0 เรื่องของการใช้เทคโนโลยีไอที 8k มีทุนทางดิจิตอลอยู่แล้วในส่วนของ 5K’s มีทุนทางความรู้ จากการรวบรวมส่วนของ Dataมาเป็น Information และจาก Informationมาเป็น Knowledge โดย 5K’s ใช้ส่วนเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือจึงเป็นแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในยุค 4.0

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 5 วันที่ 25  กุมภาพันธ์ 2561

โดย  สายไหม  ศรีเมฆ

                         

การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน เป็นผลงานของแต่ละกลุ่ม โดยสรุป มีดังนี้

เส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์จีระ นำความรู้ และ ประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม

หนังสือได้อธิบายทฤษฎี 8K’s พื้นฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ 8K’s มีรากฐานมาจาก Prof. Gary Becker ในเรื่อง Human Capital 

8K’s ประกอบด้วย

Human Capital                        

ทุนมนุษย์

Intellectual Capital                

ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                        

ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital                  

ทุนแห่งความสุข

Social Capital                          

ทุนทางสังคม

Sustainability Capital

ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                        

ทุนทาง IT

Talented Capital            

ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

 

1.    Human Capital มีรากฐานมาจาก Prof. Gary Becker โดยมีข้อแตกต่างจาก Human Capital ของอาจารย์จีระดังนี้

Prof. Gary Becker

ท่านอาจารย์จีระ

เน้นทุ่มเงินไปพัฒนาคน ลงทุนการศึกษาให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา

มนุษย์ต้องมีสมรรถนะและทักษะในการทำงาน

2. Intellectual Capital แบ่งเป็น

อันนี้ยังเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยเพราะระบบการศึกษายังขาดการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การคิดนอกกรอบและการคิดสร้างสรรค์ ถ้าจะทำให้เกิดทุนทางปัญญาต้องทำให้คิดเป็น โดยใช้เครื่องมือคือ 4L’s

1. Learning Methodology  

มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2. Learning Environment    

สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities  

สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4. Learning Communities  

สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

และต้อง 2R’s  คือ Reality - มองความจริง  และ Relevance – ตรงประเด็น

3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คิดดี ทำดี เพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะทำได้โดยมีศีล สมาธิ ปัญญา

4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ควรมีความสมดุลในชีวิตและการงาน ชีวิตมีคุณค่า ใช้ชีวิตสอดคล้องกับงานที่ทำ

5. Social Capital ทุนทางสังคม มีเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงานเริ่มจากใกล้ตัวเรา ขยายออกไปให้กว้างขึ้นจะมีต้นทุนเครือข่ายที่น้อยที่สุด

6. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นศักยภาพการมองอนาคตเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนฐานความรู้คู่คุณธรรม

7. Digital Capital ทุนทาง IT จะต้องมีเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี การสื่อสารเข้าถึงลูกค้าได้มากและเร็ว มีการแบ่งปันข้อมูล และมีภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการหาความรู้จากเว็บไซต์

ต่างประเทศก็จะนำไปสู่ Talented Capital

8. Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ มีอัจฉริยภาพในตัว สามารถพัฒนาทักษะความรู้ของตัวเองตลอดและพร้อมทำงานเชิงรุก

เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามาก็จะมีอีก 5 ทุนที่สำคัญ

5K’s ประกอบด้วย

Creativity Capital 

ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คือ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

Knowledge Capital

ทุนทางความรู้ มาจาก 2R’s โดยเปลี่ยน Data เป็น Information และ Knowledge ได้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้

Innovation Capital

ทุนทางนวัตกรรม ความสามารถในการทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ และ มีคุณค่า

Cultural Capital

ทุนทางวัฒนธรรม มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของนวัตกรรมที่เป็นรากฐานของการดำรงชีวิตมนุษย์

Emotional Capital

ทุนทางอารมณ์ การรู้จักควบคุมอารมณ์ และ มีภาวะผู้นำ

กลุ่ม 1

Prof. Gary Becker

อาจารย์จีระ

เน้น Market Drive approach

 

มุ่งใส่เม็ดเงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาการศึกษา

ผสานระหว่าง “การลงทุน” และ ความรู้สึก      Happiness ,Emotion,  Ethics                                                    เน้นความสำคัญเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม     Culture , Network

 

Concept: ทุนแห่งความสุข

(1) แนวคิดทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) ความสุขเป็นเป้าหมาย แต่ต้องมีพฤติกรรมไปสู่ความสุขนั้น

(2) ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace” ซึ่งในการสำรวจวรรณกรรม 95% เน้น Happy Workplace ซึ่งหมายความว่า Unit of Analysis จะเป็นองค์กร คือ CEO+HR สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข แต่ Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน

(3) เพื่อให้เกิด Outcome หรือ Impact ต่อองค์กร การมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ผู้นำต้องให้เขามีบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace ด้วย ก็จะเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++”

แต่ก็ยังมีสถานการณ์แบบที่ 2 คือ มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่ไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ +-” ซึ่งก็จะทำให้ Impact ที่ได้น้อยลง

และสถานการณ์แบบที่ 3 คือไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่องค์กรพยายามสร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ -+” ซึ่งก็ทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงเช่นกัน

และสถานการณ์แบบสุดท้ายซึ่งแย่ที่สุด คือ ไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานและองค์กรก็ไม่สร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ --” ซึ่งก็ทำให้เกิด Impact ด้านลบมากมาย

             วิธีคิดจากประสบการณ์ของอาจารย์จีระในช่วงเวลากว่า 30 ปี และอีกตารางหนึ่งท่านได้ปรับปรุงจากแนวคิดของDr.Timothy Sharp นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลียที่สนใจเรื่องความสุข หรือ Happiness ผู้เขียนหนังสือ เรื่อง 100 Ways to Happiness. (A guide for busy people)

 

 

 

 

 

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขแบบ (Sharp/Hongladarom’s Model)

Happiness Capital                                                              (Dr. Chira Hongladarom’s Model)

Happiness Capital           (Sharp/Hongladarom’s Model)

1.สุขภาพร่างกาย&จิตใจพร้อมไม่หักโหม(Healthy) 

2.ชอบงานที่ทำ (Passion)

3.รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4.รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5.มีความสามารถทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6.เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7.เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8.ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9.ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม

(Coaching)

10.ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11.ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)                                 2.อย่าแบกงานหนักเกินไป (Put down your burden)                                                                                 3.ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน (Communicate Effectively)                                                  4.ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง(Recognize your strengths)                                                                         5.มุ่งมั่นในงาน (Keep Focus)

6.ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ (Reduce the ‘shoulds’)

7.ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล(Overcome worry and stress)

9.บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง (Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน (Create good environment)

 

ส่วนงานวิจัยอีกแนวหนึ่งก็จะทำให้ Happiness Capital เป็นตัวแปรอิสระ เพื่อวัด Outcome ขององค์กร ซึ่ง         เทรนด์ล่าสุด คือ การวัด 3 V ประกอบด้วย Value added ,Value Creation , Value Diversity

โดยได้กล่าวถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9  เป้าหมาย คือ ความสุขและความสมดุลของชีวิต

แนวทาง 5 K’s คือ ใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 มีนาคม 2561

โดยสายไหม  ศรีเมฆ                                

                  การกล่าวถึงทุนมนุษย์ ต้องมองจากภาพใหญ่(Macro) ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร(Micro) ซึ่งจะต้องรู้  HR Architecture Model เป็นพื้นฐานด้วย  ได้มีการยกตัวอย่าง ประธานาธิบดีทรัมป์ กรณีแรงงานในสหรัฐอเมริกา  การตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็กและอลูมิเนียมโดยที่ทำเช่นนั้น เพราะคิดว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้นมีความสามารถในการแข่งขันซึ่งอันที่จริงกลับกลายเป็นว่า เหล็กที่ถูกตั้งกำแพงภาษีที่สูงขึ้นไปนั้นไม่ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล็กในสหรัฐอเมริกาแต่เป็นเหล็กวัตถุดิบในการผลิตสิ่งต่างๆอีกหลายอย่างการจ้างแรงงานจึงไม่สามารถทดแทนโดยตรง 1ต่อ 1 แต่กลับทำให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น20% แต่การจ้างแรงงานทางอ้อมของอุตสาหกรรมอื่นๆลดลง หากดูผิวเผินจะคิดเพียงแค่ว่าการขึ้นภาษีมีผลต่อเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามา ซึ่งต้นทุนการผลิตของธุรกิจอื่นซึ่งได้รับผลกระทบเช่นกัน

มีการวิจารณ์เนื่องจากสถานการณ์แรงงานต่างด้าวและสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นจะอยู่ตรงส่วนไหนของ HR Architecture โดยเฉพาะผู้สูงอายุกับการแบ่งด้วยโครงสร้างอายุ

นวัตกรรมเป็นทั้งพฤติกรรมmeans and end  ส่วน Sustainability เป็นทั้งทุน work and objective

นวัตกรรมไม่ใช่ผลสุดท้ายเท่านั้นแต่รวมถึง Innovative Management ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญแม้ไม่มีนวัตกรรมแต่ Innovative Behaviors ก็ยังคงต้องมี SocialInnovation เป็นการเข้าไปอยู่ในชุมชนแล้วทำให้ชุมชนคิดดีกับเราการเปลี่ยนพฤติกรรมให้ชุมชนเข้าใจสิ่งแวดล้อมมีปัญหาแต่ก็ควรมาแลกเปลี่ยนกันถ้าไม่มีชุมชนการเรียนรู้ จะมีทั้งคนต้านและสนับสนุนโรงไฟฟ้า

นวัตกรรมไม่ได้เป็นก้อนแต่เป็นกระบวนการวิ่งไปสู่นวัตกรรมเช่น มีความคิดใหม่ที่ยังไม่สำเร็จก็จะเกิดการสร้างให้ดีขึ้น

8K’s และ5K’s เป็นเรื่องคน ตัวตั้งต้น เป็นเศรษฐศาสตร์เชิงวิเคราะห์

Happiness วัดไม่ได้ เป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาตามวิถีในแต่ละช่วงของสังคม

8K’s และ 5K’s อาจจะวัดไม่ได้ แต่ต้องมีจึงอยู่ในส่วนการปลูก เช่น LifelongLearning การเรียนรู้ทำทุกวัยทุกช่วงเวลา   การเก็บเกี่ยว เช่นทฤษฏี 3 วงกลมและการเอาชนะอุปสรรค คือการทำอย่างต่อเนื่อง ทำสิ่งเล็กๆให้สำเร็จก่อนก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับ HR Architecture ได้

 ส่วน 4L’s, 2R’s, 2I’s เป็นเครื่องมือ

ชุมชนการเรียนรู้คือเรียนรู้ร่วมกันเกิดขึ้นเรื่อย ทำให้เกิด 8K’s และ 5K’s ตลอด

Happy at work เป็น intangible ทำให้ยึดติดเครื่องมือน้อยลง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 7 วันที่ 18 มีนาคม 2561

โดยสายไหม  ศรีเมฆ

                                สัปดาห์นี้เป็นการวิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม โดยนักศึกษา  โดยรวมแล้ว หากมีการคิดร่วมกันเรื่องรากทุนทางจริยธรรมก็จะดี ถ้าผู้ใหญ่บ้าน กำนันนำเล่มนี้ไปอ่าน จะคิดดี ทำดี โปร่งใสทุนนิยมสามานย์ทำให้คนเห็นแก่เงิน การเรียนยุคใหม่ต้องสร้างความคิดใหม่ซึ่งมาจาก Reality ของแต่ละคน นักศึกษาควรมีแนวคิดของตนที่กระเด้งมาจากแนวคิดอาจารย์จีระและหนังสือที่ให้อ่าน แล้วนำไปทดสอบกับ Reality ยุคนี้ต้องส่งเสริมทุนทางปัญญามองอนาคตเป็น สร้างนวัตกรรมเป็น ซึ่งหนังสือเล่มนี้มี 10 กว่าท่านมาวิจารณ์เรื่องคุณงามความดี พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ของอดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งท่านทั้ง10 ได้แก่ ท่านว.วชิรเมธี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ  คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรีนายชวน หลีกภัย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รศ.สุขุม นวลสกุล  ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพลังแห่งคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญมากต่อสังคมไทยและประเทศชาติ

                                       ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ8K’sและ 5K’s การเข้าใจความหมายเชิงลึกสามารถนำ

คุณธรรมจริยธรรมไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จริยธรรมคือการประพฤติดีนำไปสู่สังคมประเทศชาติได้ การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรมต้องมีระบบความเชื่อที่ดี ภูมิปัญญา การนำเรื่อง good governance มุ่งประเทศไทยใสสะอาด ปฏิรูปจิตสำนึก โครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคมการศึกษา กฎหมาย ตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง

กลุ่ม 1

ที่มาของการขาดคุณธรรมคือ

ผู้นำขาดคุณธรรมทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้น ขาดการยกย่องคนดี สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม

วิธีแก้ปัญหา

ผู้นำขาดคุณธรรม แก้โดย ให้ความสำคัญ ส่งเสริมพัฒนา ขาดการยกย่องคนดีแก้โดย นำบุคคลต้นแบบมาวิเคราะห์หลักการและแนวคิดอย่างไร สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม

การปลูกฝัง

คุณธรรม จริยธรรมที่ควรประยุกต์ใช้ได้กับความเป็นจริงของชีวิต ครอบครัวประสานโรงเรียนและศาสนาหรือค่านิยมที่ยึดถือและสังคมจุดประกาย สื่อ ต้องสื่อสารเพื่อปวงชนสื่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมผู้รับสื่อต้องใช้วิจารณญาณมาก (Media Literacy) สังคมควรให้ความสำคัญกับคนดี เชิดชู

คนดี  ทุกคนต้องมีภาวะผู้นำเพื่อช่วยเหลือกันผู้นำต้องรู้กาลเทศะ แล้วลุกขึ้นมาพูดด้วยกัน ชาวบ้านถูกบรรจุให้ทำ workshop ปะทะกันทางปัญญา ในการทำงานมาทุกครั้งก็พบประเด็นแหลมคมจนเป็นทฤษฎีกระเด้งของอาจารย์จีระ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ คือ เครือข่าย (Network) ที่เรารู้จักบุคคลจากหลายๆ วงการ นอกจากเครือญาติ หรือเพื่อนฝูงแล้วความรู้จัก และความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีโอกาสสร้างพันธมิตรได้มากขึ้น และตัวเราเองก็ต้องได้ประโยชน์ และองค์กรมีความสามารถในการแข่งขันและอยู่รอด

การจะสร้างเครือข่ายที่ดีจะต้องคบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟัง

ความคิดเห็นของคนอื่น มีโลกทัศน์ที่กว้าง มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราอยากจะรู้จัก

มีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking) ชอบความหลากหลายในความคิดและวิถีชีวิตต่างๆ มีการติดตาม (Follow up) การสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด

หลักการที่สำคัญของการสร้างเครือข่ายคือ จะต้องสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ลึก โดยเน้นการ

จะคบกับใครอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้น ความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุขและความสบายใจที่คบหากัน (Comfort Level) แล้วจึงค่อยๆไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน ต้องเน้นTrust ความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ และนับถือในบุคคลเหล่านี้(Respect) ไม่ได้มองจากบุคคลเหล่านั้นแค่ภายนอก หรือวัตถุและเพิ่มคำว่า ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Diversity) และการสร้างความเสมอภาคไม่หยุดพัฒนา Network เหล่านั้น เรียกว่า “CapacityBuilding” และ Learn - Share - Care ทำให้ Networkมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างในกรณีของท่องเที่ยว เน้นเรื่องภาวะผู้นำIT การเงิน การตลาด และการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง การปรับMindset จึงเป็นหัวใจสำคัญหลักสูตรนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะหาทางไปสู่ Networking ที่มีคุณภาพ

ครั้งที่1              สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

วิธีการเรียน     เปิดเทป อาจารย์ธงทองและ อาจารย์จีระ เรื่องการปฎิรูปการศึกษา

                        วันนี้เป็นการเริ่มเรียนและพบปะกันครั้งแรก ระหว่างอาจารย์จีระ และนักศึกษา รุ่นที  16

เบื้องต้นพวกเราได้รับฟัง แนวความคิด วิธีการสอนและการทำงานของท่านอาจารย์จีระและ ทีมงาน พวกเรารับรู้บรรยากาศในการเรียนรู้ในห้องเรียน และการสอนของท่าน รวมทั้งเนื้อหา และ วิธีการสอน เป็นลักษณะ ของการ share idea ประสบการณ์ ของผู้เรียนและผู้สอน  ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี ChiraWay ของท่าน Learning How to learn ( Learn Share &Care ) แลtเรื่องของ HR Architecture โดยส่วนตัวแล้ว มีความสนใจเรื่อง 2i ( inspiration, imagination )

ช่วงท้ายมีการแบ่งกลุ่มทำworkshop หลังจากได้รับชม เทปอาจารย์จีระและอาจารย์ธงทอง ใน “รายการไทยมุง” เรียกได้ว่าเกิดการปะทะกันทางปัญญา โดยพวกเราได้แชร์เรื่อง วิธีการ ข้อเสนอแนะ ข้อจำกัด และตัวละครที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการพัฒนา และ ปฎิรูปการศึกษาไทย โดยได้ข้อคิด แตกต่างและน่าสนใจของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ เช่น

·     ความแตกต่างของการศึกษาในแต่ละยุคสมัย

·     การปฏิรูปการศึกษา เริ่มต้นที่ครอบครัว

·     คำนึงถึงการประเมินผลงานครู ,มุ่งเน้นถึงผลการเรียนเด็ก

·     เยาวชนที่ตกหล่น สูญหาย จากระบบการศึกษาไทย เช่นเด็กตั้งครรภ์ในวัยเรียน, เด็กที่เกิดคดี ไม่ได้เรียนต่อ

·     การให้ความสำคัญของ การปลูกฝังคุณธรรม กับความเก่ง

·     ความสุขและบรรยากาศในการเรียน

·     เด็กเป็นศูนย์กลาง

·     การสานต่อการทำงานให้ต่อเนื่อง ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรทุกภาคส่วน



ครั้งที่ 2            สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน     ทฤษฎีการเรียนรู้ของอ.จีระ เรื่อง Marco Micro, การทำหนังสือ Chira way

                        แบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

                        อาจารย์ท่านได้พูดถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์  โดยให้แนวความคิดถึง ความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ของทุนมนุษย์กับทุนอื่นๆ เช่น ทุนทางเศรษฐกิจ ( ที่ดิน,การเงิน,โรงงานอุตสาหกรรม,เทคโนโลยี ) ล้วนแล้วต้องอาศัยทุนมนุษย์ขับเคลื่อนในการบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตนั้นๆ

Chira way คือแนวความคิดของ อ.จิระ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างฉลาดและมีคุณค่าโดยมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ

1.การปลูก  ( การสะสมข้อมูล และนำมาพัฒนา)

2.เก็บเกี่ยว  ( การพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท )

3.ทำให้เกิดความสำเร็จ  (เน้นถึงบริบทที่จะนำมาทำให้เกิดความสำเร็จ)

ทฤษฏีการเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ฟังจากท่านอาจารย์จิระ คือ ทฤษฎี 4 L’s

 (LearningMethodologies, Learning Environment, Learning Opportunities, LearningCommunities)  มีวิธีการเรียน คือการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์,สร้างบรรยากาศการเรียน ,มีการเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายจากพื้นฐานที่ต่างกันแต่ละคน,มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดการปะทะกันทางปัญญาก่อให้เกิดสังคมการเรียนรู้ เพื่อได้แนวความคิดใหม่ๆ  ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้นี้เราสามารถนำหลักการมาใช้ในการพัฒนา สังคม องค์กร และประเทศชาติ



ครั้งที่ 3           สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน    เรียน และ  workshop 8K , 5K

                        ทฤษฎี 8k ,5k  เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างมีคุณค่า, คือวิธีการนำความรู้ และ ประสบการณ์ ต่อยอดเพื่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจต่อองค์กรและสังคม  เรามองว่าทฤษฎี 8K’sเป็นพื้นฐาน และ นำทฤษฎี 5K’s มาต่อยอด จะเกิดการสร้างทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์

                        สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งจากการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้คือทุนแห่งความสุข เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ จุดหลักๆที่จะต้องนำไปเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆเช่น มี Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ต้องทำให้สำเร็จ คล้ายกับทฤษฎีFact หรือ Feeling แต่การมี Happinessอย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Strategy ต้องมี Dataด้วย จึงไปสู่ความสำเร็จ

แนวความคิดในการพัฒนาทุนมนุษย์ของ อาจารย์จีระ กับคุณพารณ มีความคล้ายคลึงกันเพียงแต่แนวความคิดของ อาจารย์จีระ จะมองถึง พื้นฐาน , ความต่อเนื่อง และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย

ครั้งที่ 4           สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน    การนำเสนอหนังสือเรื่อง  8K , 5K  ทุนมนุษย์ ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน         (แบ่งเป็นกลุ่ม )

                        ทุนมนุษย์เกิดในสมัย Prof. Gary Becker  โดยวัดคุณค่าความสำเร็จของคนอยู่ที่ระยะเวลา และปีการศึกษา เน้นวัดในเชิงปริมาณ  ส่วนทฤษฎี 8k ,5k  เป็นเครื่องมือนำมาต่อยอดในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดคุณค่าอย่างสมบูรณ์รอบด้านเพื่อให้สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์                

แนวความคิดในการพัฒนาทุนมนุษย์ของ อาจารย์จีระ ได้ให้ข้อคิดว่า การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ได้เปลี่ยนไปมากการมองปริมาณปีที่เรียนและวุฒิการศึกษามีความสำคัญน้อย แต่พบว่าคนเรียนน้อยอาจจะมีคุณภาพดีมากกว่าคนที่เรียนมากก็ได้ ดังคำพูดว่า“ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” ตัวอย่างที่ดีคือ Bill Gates และ Mark Zuckerberg คนที่มีปัญญาไม่จำเป็นต้องเรียนจากมหาวิทยาลัยก็ได้การเรียนในห้องเรียนควรจะให้ทั้งปัญญาและปริญญาด้วยจึงจะคุ้ม

        อาจารย์จีระ ได้บอกว่าคนเรียนจบปริญญาเอกอาจไม่ได้ดีกว่าคนจบปริญญาตรีมากเท่าไรแต่ขึ้นอยู่กับว่ามีคุณสมบัติอะไร

ข้อคิดอีกหนึ่งเรื่องของทุนมนุษย์ที่ขาดไม่ได้คือ ทุนทางจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคู่กับนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดคุณค่า และ ความยั่งยืน ต่อองค์กร สังคม และประเทศอีกด้วย


ครั้งที่ 5          สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน   HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่างๆ ของอาจารย์จีระ

                        HRArchitecture เป็น องค์ประกอบหนึ่งของ วิธีการพัฒนาและจัดการทุนมนุษย์

 แนว Chira Way  คือ  1.การปลูก คือ HR Development  ต้องพัฒนาตลอดเวลา

                                 2.เก็บเกี่ยวพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละบริบท

                                 3.ทำให้สำเร็จ เรียกว่า HR Execution หลักๆก็คือต้องทำงานต่อเนื่อง ทำเป็นทีม มีข้อมูล ที่พัฒนาจากการเก็บเกี่ยวชนะอุปสรรคและทำให้สำเร็จ

  HR Architecture ถือได้ว่าเป็น วงจรชีวิตคนตั้งแต่เกิดจนตาย (เริ่มที่ครอบครัว , การศึกษา, โภชนาการ,สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่,หน้าที่การงาน ) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง หลัก ๆ เน้นที่คุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าคนเป็นยุทธศาสตร์

          ข้อคิดที่น่าสนใจ คือมนุษย์เรามีปัญญา มีความคิด  ทุกคนต้องนำความคิดไปปะทะกับประสบการณ์จริง  ถ้าเราเป็นทุนมนุษย์ที่ดีเราจะได้ทั้งคนที่เก่งที่ดีมีจริยธรรม มีคุณค่าต่อสังคม คนที่จะพัฒนาได้ต้องปลูกตลอดชีวิตการหาความรู้ตลอดชีวิตเป็นอุปนิสัยที่ดี หาความรู้ เป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ หรือ Life Long Learning  และถ้าทำสำเร็จเราก็อาจจะได้คุณสมบัติของทุนมนุษย์ เรียกว่า 8K’s+5K’s



ครั้งที่ 6         สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน    วิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรม  จริยธรรม  เรื่องการสร้างเครือข่าย NetworkingCapital โดยดูกรณีศึกษาจากโครงการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา

 

                        หนังสือเล่มนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิกว่า10ท่านมาพูดเรื่อง คุณงามความดี พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม จะเห็นได้ว่าการเข้าใจความหมายคุณธรรมและจริยธรรมเชิงลึก และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมจะนำไปสู่สังคมที่ดีและเกิดการพัฒนาที่ยังยืนได้

            การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรมต้องมีระบบความเชื่อที่ดี ภูมิปัญญา  สร้างแรงบันดาลใจนำไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ขยายวงไปสังคมแต่ละระดับ

ข้อคิดอีกหนึ่งเรื่องคือ  good governance ปฏิรูปจิตสำนึกโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา กฎหมายตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง เน้นความโปร่งใส

ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนด้วยพลังคุณธรรมจริยธรรมทุกระดับ คุณธรรม จริยธรรมเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำการเมือง ดังคำสอนท่านว.วชิรเมธีว่า“ เวลาขอพรพระ ขออย่าให้โลภจนหน้ามืด ขออย่าให้โกรธจนทำร้ายตนเองขออย่าให้หลงจนไม่รู้ดีรู้ชั่ว ขออย่าให้ตายในสงครามระหว่างคนไทยด้วยกันเอง“

ครั้งที่ 7        สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน    เรื่องสังคมการเรียนรู้  กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Sange กรณีของ กฟภ, สังคมการเรียนรู้ทฤษฎี 4 L

Learning Culture นำไปสู่การเป็น LearningOrganization  องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีคุณภาพสูง(High Performance)  จาก Good นำไปสู่ Great เกิดความสุขและภาคภูมิใจในการทำงาน

Learning Organization จะสำคัญเมื่อตัวเราเห็นคุณค่าโดยเริ่มจากกระดับบุคคลก่อนแล้วรวมกันเป็นองค์กร ยกตัวอย่าง เช่นการมี Inspirationคือมีความอยากทำ ถ้าเรียนโดยการถูกบังคับ ความรู้จะไม่อยู่ในตัวเราวิชาที่เรียนจะติดตัวเราไปเพราะ 2R’s มาจากความจริงเรียนแล้วต้องนำไปแก้ปัญหาได้

 ข้อคิดที่น่าสนใจคือองค์กรส่วนใหญ่มีTraining แต่เราไม่ค่อยจะมี Learning  การทำงานต้องมี ระบบความคิด ความหลากหลายทางความคิด บูรณาการ รู้จริง ตรงประเด็น รักงาน ทำงานเป็นทีม  สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา




ครั้งที่ 8        สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                        PHD 8205 การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

วิธีการเรียน  การนำเสนอหนังสือ เรื่อง Shift  Ahead

                      เราได้ข้อคิดจากหนังสือเล่มนี้ เรื่อง ความพร้อมของแต่ละองค์กรและผู้นำในแต่ละบริษัทฯมีวิธีการคิด และ การปรับตัวต่อโลกของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร  มีผลต่อการล่มสลายขององค์กรนั้นๆอย่างไร 

  • การล่มสลายของ บริษัทโกดักส์  สามารถเรียนรู้จากเทคโนโลยี เช่น สามารถคิดกล้องดิจิตัล ได้ก่อนองค์กรอื่น แต่ผู้บริหารไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุนBig on Data short on analysis การที่มีข้อมูลมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้วิเคราะห์ และการนำไปใช้ไม่รวดเร็วพอ
  • บริษัทซีร็อกซ์ : งานพิมพ์เฉพาะสีขาว-ดำ ไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุนพิมพ์สี
  •  บริษัท Toys R Us : การแข่งขันทางการตลาดสูง ก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทัน
  •  บริษัท โนเกีย ล้มเหลว เนื่องจากที่ผู้บริหาร ไม่เชื่อข้อมูลการวิเคราะห์ ไม่คิดว่าจะมีคู่แข่งอื่นใดเทียบได้  มีข้อมูลมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้วิเคราะห์

 สาเหตุหลักๆ คือ การตัดสินใจของผู้บริหาร การตระหนักถึงความจริง, ยอมรับเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและหาวิธีการจัดการแบบยั่งยืน



ครั้งที่ 9        สรุปเนิ้อหาได้รับจากห้องเรียน

                       PHD 8205การจัดการทุุนมนุษย์และทุนสังคม ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม ChiraAcademy

วิธีการเรียน     ร้านเอเชียบุ๊คและ kinokuniya   บ้านดร.จีระหงส์ลดารมภ์

วันนี้หลังจากการสอบช่วงเช้าเสร็จ พวกเราได้ไปร้านหนังสือ 2  ร้าน พร้อม อาจารย์ .จีระ ท่านได้ แนะนำหนังสือดีๆ หลายเล่มๆวิธีการเลือกดูหนังสือที่น่าสนใจ พวกเราทราบจากผู้จัดการร้านหนังสือว่าท่านเป็นลูกค้าประจำของที่นี่มานานมากๆ  วันนี้ทำให้พวกเรารู้ว่า อาจารย์จีระ เป็นผู้ที่ไม่หยุดต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ส่วนหนึ่งท่านได้มาจากการอ่านหังสือ ท่านเป็นต้นแบบของนักอ่านที่ดีเป็นแบบอย่างของนักพัฒนาที่ยั่งยืน

หลังจากนั้นพวกเราได้ไปที่บ้านอาจารย์จีระท่านต้อนรับ และสนทนากับพวกเรา ด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจ  ทุกคนได้ แสดงความคิดเห็น ยกตัวอย่างทฤษฏีของอาจารย์จีระเชื่อมโยง ประสบการณ์ของแต่ละคน มีการแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนและพูดถึงแนวทางการนำข้อมูล ไปใช้ในการทำดุษฎีนิพนธ์ของรุ่น  16 ต่อไป

                         


                                                                                            Anna


















 


 

 

 

 

 

 

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 8 

โดยสายไหม  ศรีเมฆ

ในครั้งนี้เป็นการนำเสนอหนังสือ Shift Ahead ที่มีผู้เขียน 2 คน ได้แก่ ALLEN ADAMSON และ JOEL STECKEL  ได้มีการนำบทที่ 2 Heed The Red Flags และ บทที่ 3 The Road Barrier โดยสรุปได้ ดังนี้

บทที่ 2 Heed The Red Flags สัญญาณเตือนผู้บริหาร เพื่อก่อให้เกิดความสนใจในกิจการของตนเอง

·         Basic Math                                                   เมื่อตัวเลขผลประกอบการลดลง

·         Completing on Price, Not Differentiation   เป็นการแข่งขันทางราคา ไม่ใช่ความแตกต่าง

·         Big on Data, Short on Analysis                   มีการเก็บข้อมูลมากมาย แต่นำข้อมูลมาวิเคราะห์ไม่เป็น

·         Neglecting Table Stake                                อย่าเพิกเฉยกับเรื่องหลักๆ เช่นอาหาร ต้องสนใจรสชาติ

                                                                     ไม่ใช่ระยะเวลาการจัดส่งอย่างเดียว

·         Pride Often Does Go before a Fall              อย่าหยิ่งทะนงกับความสำเร็จ จนเพิกเฉยกับคู่แข่งขันรายใหม่ๆ

·         Being Too Deep in Your Comfort Zone     อย่าอยู่แต่ใน  Comfort Zone จนไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

·         Yertle  the Turtle is Left Behind                 สนใจเสียงจากพนักงาน

จากทั้ง 7 สัญญาณนี้  ที่เราเห็นชัดเจน มีความสำคัญอย่างมาก ที่จะแสดงให้ต้องทำอะไรบางอย่าง

ห้ามเพิกเฉยต่อสัญญาณ   ดังนั้นจึง   ต้องเปลี่ยน   ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

บทที่ 3 The Road Barrier  ได้มีการยกตัวอย่างของหลายๆ บริษัทที่ล้มเหลวและหายไป เนื่องจากได้รับข้อมูลและสัญญาณดังกล่าวแล้ว  แต่ก็เพิกเฉยต่อสัญญาณต่างๆ ดังที่กล่าวมา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เช่น Kodak, Xerox, Blackberry   ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เรารู้จักกันดีและเคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว

ท่านอาจารย์จีระ ให้วิเคราะห์หนังสือเล่มนี้ เปรียบเทียบกับ 2R’s

2 R’s  ซึ่งประกอบด้วย 2 ข้อหลักคือ

1. Reality      มองตามจริง สถานการณ์จริง  รู้ศักยภาพตัวเอง และบริษัทคู่แข่งขัน

2. Relevance แก้ไขให้ตรงจุด ตรงประเด็น

เพราะฉะนั้นการได้รับสัญญาณเตือนต่างๆ จึงเป็นเหตุที่ทำให้เรารู้ถึงความจริงที่เกิดขึ้น  และเมื่อนำมาแก้ไขได้ตรงจุดกับสถานการณ์จริง  ก็จะทำให้เป็นข้อมูลแก่ผู้บริหารและผู้นำ ได้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถตัดสินใจได้ และเมื่อโลกเปลี่ยนไป ผู้บริหารต้องยอมรับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย และพยายามปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงหาวิธีการจัดการแบบยั่งยืน  จึงเห็นได้ว่าการมีวิสัยทัศน์ที่กว้าง สามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำจะช่วยให้การตัดสินใจได้ดีขึ้นและทันเหตุการณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการวางกลยุทธ์ต่อไปได้

 

ครั้งที่ 9

ท่านอาจารย์จีระ  ได้ให้ความกรุณานักศึกษาเป็นอย่างมาก  ท่านได้พานักศีกษาเข้าเยี่ยมชมร้านหนังสือ  2 ร้าน ได้แก่

ร้าน Asia Book และ Kinokuniya    โดยท่านให้คำแนะนำและเทคนิคในการ เลือกซื้อหนังสือต่างๆ   แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในยุคดิจิตอล  โดยท่านมุ่งหวังว่า ให้นักศึกษาทุกคน รักการอ่าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ น่าจะเทียบได้กับ ทฤษฎี 4 L’s ของอาจารย์  เพราะท่านเห็นว่าปัญหาสำหรับประเทศไทยเพราะระบบการศึกษายังขาดการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การคิดนอกกรอบและการคิดสร้างสรรค์ ถ้าจะทำให้เกิดทุนทางปัญญาต้องทำให้คิดเป็น โดยใช้เครื่องมือคือ 4L’s

1. Learning Methodology  

มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2. Learning Environment    

สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities  

สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4. Learning Communities  

สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

ซึ่งการได้มาเห็นก็จะช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้  ต่อยอดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ สู่สังคมการเรียนรู้  เป็นตัวอย่างให้กับคนในครอบครัว และกระจายออกไปภายนอกได้ เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆได้อีกทางหนึ่ง  นอกจากนั้น ท่านอาจารย์จีระ  ได้ยังเปิดโอกาสให้มีการซักถาม  สิ่งที่สงสัย หรือแลกเปลี่ยนความเห็นให้เกิดปะทะกันทางปัญญาเวทีที่บ้านของท่านอาจารย์จีระเองอีกด้วย

กราบขอบคุณอาจารย์จีระด้วยความเคารพอย่างสูง   ซึ่งจากการได้เรียนกับท่านอาจารย์จีระแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน  หากได้นำทฤษฎีต่างๆ ไปปรับใช้ เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเอง  ก็จะส่งผลต่อครอบครัว การประกอบอาชีพ จะช่วยให้สามารถนำพาปัญญามาแก้ไขปัญหา หรืออุปสรรคได้สำเร็จต่อไปอย่างแน่นอน

สายไหม  ศรีเมฆ

 

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 4 วันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2561

 

          แนวคิด 8K’s และ 5K’s มาจาก Gary Becker ส่วน  “พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม” ต่อยอดมาจาก 8K’s +5K’s ทุนมนุษย์เกิดขึ้นในสมัยของ Gary Becker ซึ่งเป็น 1ใน 4 ของทุนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพของคน จึงต้องอยู่ในทุกทุน

          นอกจาก Gary Becker ที่กล่าวถึงทุนมนุษย์แล้ว ยังมี Adam Smith ที่เข้าใจทุนมนุษย์แต่ไม่ได้ใช้เรียกว่าทุนมนุษย์โดยตรง โดยเขาได้ยกตัวอย่างเรื่องคนสองคนที่ได้ค่าจ้างที่ไม่เท่ากันเนื่องจากความรู้ วุฒิการศึกษาและทักษะที่แตกต่างกัน และ Paul Schultz พบว่านำชาวนา 2 คนมาเปรียบเทียบ ชาวนาคนที่มีความรู้มีปัญญามากกว่าได้ผลผลิตของสินค้าเกษตรสูงกว่า เป็นที่มาของ Smart Farmers เกษตรกรที่ใช้ความรู้เป็นนั่นเอง

8K’s +5K’s แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของคนในอนาคตความแตกต่างอีกด้านหนึ่งของทุนมนุษย์ก็คือ มนุษย์มีทุกอย่างที่วัตถุไม่มี หายใจได้ คิดได้ วิเคราะห์ได้ เป็นทุนทางปัญญา

          คนที่ประสพความสำเร็จเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมี ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

ทุนแห่งความสุข หมายถึง คนชอบทำงาน ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา งานที่ทำ ต้องมี Passion, Purpose, Meaning

ทุนทางสังคม มนุษย์จำเป็นต้องมี Networking จึงจะอยู่รอดได้ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นพฤติกรรม ทำอะไรต้องคิดระยะยาวรวมทั้งทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทุนแห่งความรู้ทักษะและทัศนคติ

5K’s ใหม่ตอบโจทย์ ไทยแลนด์ 4.0 เช่น ทุนทางอารมณ์ บางคนเก่ง อารมณ์ร้อนก็ไม่ประสพความสำเร็จ

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 5 วันที่ 25  กุมภาพันธ์ 2561

การนำเสนอหนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

          กลุ่มที่ 1 ได้นำเสนอเส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์จีระ ตั้งแต่การตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ และโครงการอื่นๆอีกหลายอย่าง การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ รวมถึงการสร้างสรรค์งานสื่อต่างๆด้านการสร้างพัฒนาคุณภาพมนุษย์โดยนำความรู้ ประสบการณ์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม พื้นฐานทฤษฏี 8K’s มีรากฐานมาจากทฤษฏีทุนมนุษย์ของ Prof. Gary Becker

Human Capital (K1) ของอาจารย์จีระแตกต่างจาก Gary Becker ในแนวคิดว่ามนุษย์ต้องมีสมรรถนะและทักษะในการทำงาน ซึ่ง Gary Becker เน้นการทุ่มเม็ดเงินไปพัฒนาคนด้านการศึกษา

Intellectual Capital (K2) ต้องทำให้มนุษย์คิดเป็น วิเคราะห์เป็น โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ 4L’s ( Leaning Methodology,  Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) อีกทั้งนำ 2R’s (Reality และ Relevance) มาใช้ร่วม

Ethical Capital (K3) ทุนทางจริยธรรม คิดดี ทำดีเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ

Happiness Capital (K4) ทุนแห่งความสุข มีสมดุลแห่งการใช้ชีวิตและการทำงาน

Social Capital (K5) ทุนทางสังคม ต้องเครือข่ายคุณค่าต่อการทำงานเป็นทุนที่ต้นทุนน้อย

Sustainability Capital (K6) ทุนแห่งความยั่งยืน ช่วยพัฒนาทุนมนุษย์

Digital Capital (K7) ทุนทาง IT ต้องีการเรียนรู้ ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย

Talented Capital (K8) ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ สามารถพัฒนาทักษะความเร็วของตนเองตลอด

เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามาก็มีทุนเพิ่มอีก 5 ทุน เรียก 5K’s  ประกอบด้วย

1. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ มาจาก 2R’s เปลี่ยน Data เป็น Information และไปยัง Knowledge

3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม สามารถทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จและมีคุณค่า

4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม เข้าใจตระหนักรู้ถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่เป็นรากฐานการดำรงชีพมนุษย์

5.  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์และมีภาวะผู้นำ

นำ 8K’s และ 5K’s มาประสานเข้ากับ AEC

AEC นอกจากเรื่องเศรษฐกิจแล้วยังมีเรื่องของแรงงาน รู้ขีดความสามารถในการแข่งขัน รู้ช้องว่างประชาคมอาเซียน บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก นำ 8K’s+5K’s มาช่วยปรับจุดอ่อนทุนมนุษย์ให้ประเทศแข่งขันและอยู่รอดได้ อีกทั้ง พิจารณาดูถึงอุปสรรคต่างๆในการพัฒนาทุนมนุษย์ตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายการศึกษาและอื่นๆ

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 มีนาคม 2561

           เรื่องทุนมนุษย์ต้องมองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร (Micro) ซึ่งจะต้องรู้ HR Architecture เป็นพื้นฐานก่อน อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีแรงงานในสหรัฐอเมริกาที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ ตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็กและอลูมิเนียม การที่ ทรัมป์ คิดว่าการตั้งกำแพงภาษีในอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียม แสดงว่า อุตสาหกรรมนั้นมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ปัญหาคือ เหล็กที่ถูกตั้งกำแพงภาษีที่สูงขึ้นไปนั้น ไม่ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล็กในสหรัฐอเมริกา แต่เหล็กเป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งต่างๆอีกหลายอย่าง การจ้างแรงงานจึงไม่สามารถทดแทนโดยตรง 1 ต่อ 1 แต่กลับเป็นการสร้างให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น ซึ่งพบว่า การจ้างงานโดยตรงของอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมเพิ่มขึ้น 20% แต่การจ้างงานทางอ้อมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ลดลง ถ้าไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะคิดเพียงแค่ว่า การขึ้นภาษีมีผลต่อเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้ามา แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีต้นทุนราคาแพงก็ยังเป็นต้นทุนการผลิตของธุรกิจอื่นซึ่งได้รับผลกระทบเช่นกัน

          มีการวิจารณ์เนื่องจากสถานการณ์แรงงานต่างด้าวและสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนั้น จะอยู่ตรงส่วนไหนของ HR Architecture โดยเฉพาะผู้สูงอายุกับการแบ่งด้วยโครงสร้างอายุ

          ทฤษฏีใน·ส่วนการปลูก เช่น Lifelong Learning การเรียนรู้ทำทุกวัยทุกช่วงเวลา   การเก็บเกี่ยว เช่น ทฤษฏี 3 วงกลม และการเอาชนะอุปสรรค คือการทำอย่างต่อเนื่อง ทำสิ่งเล็กๆให้สำเร็จก่อน ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงกับ HR Architecture ได้

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 7  วันที่ 18 มีนาคม 2561

 การนำเสนอหนังสือเรื่อง พลังแห่งคุณธรรมจริยธรรม และการสร้างทุนทางเครือข่าย (Networking Capital)

        รากฐานทุนทางจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการคิดดี ทำดี โปร่งใส ทุนนิยมสามานย์ทำให้คนเห็นแก่เงิน การเรียนยุคใหม่ต้องสร้างความคิดใหม่ ซึ่งมาจาก Reality ของแต่ละคน ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ 8K’sและ 5K’s การริเริ่มทางจริยธรรม มาจากปัญหาการเมือง จริยธรรมคือการประพฤติดี นำไปสู่สังคมประเทศชาติได้ การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อและภูมิปัญญา จารีต การเรียนรู้ ค่านิยม ข้อห้าม เช่น วัฒนธรรมของหลักศาสนาอิสลามไม่เน้นวัตถุนิยม ค่อนข้างประหยัดและมีวินัย เป็นต้น คนไทยสร้างแรงบันดาลใจ นำไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ขยายวงไประดับ Global ส่วน good governance มุ่งประเทศไทยใสสะอาด ปฏิรูปจิตสำนึก โครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา กฎหมาย ตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนด้วยพลังคุณธรรม จริยธรรมทุกระดับ ผู้นำทางการเมืองต้องซื่อสัตย์และทำงานเพื่อส่วนรวม คนเก่งจำเป็นต้องมีจริยธรรม การปลูกฝังมาจากหลายแหล่ง เช่น ครอบครัว วัด โรงเรียน ต้องทำร่วมกันทุกภาคส่วน คุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์พระราชา ส่งเสริมคนดีให้    มีบทบาท

        บุคคลต้นแบบ ประกอบด้วย ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติภรรยา สร้างโอกาสให้คนในสังคม ท่านเป็นผู้ประศาสน์การธรรมศาสตร์ คนจนเข้าถึงการศึกษาได้ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เน้นธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ยุติธรรมคือยุติโดยธรรม มีเมตตา พระองค์วรรณ มีปิยวาจา เป็นราชบัณฑิตและนักการทูต ฟังทุกอย่างรอบด้าน ไม่ว่าเป็นคนระดับใด ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีความกล้า วิสัยทัศน์ ปฏิบัติจริง แสดงจุดยืนโดยสันติ ทั้ง 4 ท่าน มีความดีและผ่านสิ่งต่างๆ กว่าจะบรรลุเป้าหมาย แสดงถึง passion

 สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

        การเรียนในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ ใน 8K’s และ 5K’s การปลูกฝังทุนทางจริยธรรม ทำให้เป็นทั้งคนเก่งคนดี นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ตัวอย่างในการใช้ชีวิตและการทำงานที่ดีของอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน ความสำคัญ และองค์ประกอบของเครือข่ายที่ใช้ในการทำงาน

 Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 8  วันที่ 25 มีนาคม 2561

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

        Dave Ulrich ได้ระบุว่าต่อไป HR จะเป็น Global Business แนวคิดของ Ulrich หรือของอาจารย์จีระ สามารถประยุกต์ใช้กับทุกประเทศได้ มีเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดอยู่คือ 2R’s ต้องเข้าใจบริบทประเทศเหล่านั้น เช่น ปัญหาในระดับ Macro ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ วัฒนธรรม วิถีชีวิต กฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ใน ครอบครัว การศึกษา Lifelong Learning มีการเน้น 8K’s 5K’s

        หลักการ HR คือ ปลูก เก็บเกี่ยว Execution คือ การเอาชนะอุปสรรค ประสบความสำเร็จ ต้องมีผู้นำ ขจัดอุปสรรคต่างๆ CEO ต้องเก่งเรื่องคน เมืองไทยมองคนเป็นปัญหาไม่ใช่โอกาส หลักการ HR แต่ละประเทศมี   ตัวละครเหมือนกันคือ HR Manager Non-HR คนในบริษัทฝ่ายอื่นๆ ต้องได้รับการฝึกให้เข้าใจ CEO ต้องสนับสนุนให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture)

        องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ กฎของ Peter Senge ประกอบด้วย Personal Mastery รู้อะไร   รู้ให้จริง ปัญหาคือ คนไทยชอบลอก แต่ควรทำความเข้าใจ มีการคิดหลากหลาย Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน Team Learning เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน ปะทะกันทางปัญญา System Thinking มีระบบการคิด    มีเหตุมีผล การเรียนรู้ตามแนวคิดของ 4L’s ประกอบด้วย Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา และ Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา กัดไม่ปล่อย ติดตามใกล้ชิด แนวคิด 3L’s ประกอบด้วย learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ และ Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

        องค์กรแห่งการเรียนรู้ นำไปเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กร เพื่อการพัฒนาองค์กร และการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 9  วันที่ 8 เมษายน 2561

การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

        การติดตามสถานการณ์ในโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มีผลต่อการจ้างงานอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงของการค้าโลก ซึ่งต่อไปจะมี Employability คือ เด็กมหาวิทยาลัยอาจจะเป็นผู้ประกอบการ

        ภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำ ผู้นำต้องแก้วิกฤติให้ได้ ซึ่งวิกฤติมี 2 อย่างคือ วิกฤติมาแล้วมาอีก (Permanent Crisis) วิกฤติมาทุกรูปแบบเป็นทฤษฎีขนมชั้น (Multiple Crisis) ผู้นำต่างจากผู้บริหาร ผู้นำต้องทำมากกว่าผู้บริหาร ผู้นำต้องเน้นคน ผู้นำต้องคิดนอกกรอบ ผู้นำต้องฟังคน ผู้นำต้องมีอารมณ์ขัน ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ และเสริมพลังให้กับผู้ตาม (Empower) คือการเก็บเกี่ยว ผู้นำต้องมีพลังทั้งกาย จิตและจิตวิญญาณ ผู้นำที่ดีต้องหาช่องทางให้ได้ ต้องเป็นผู้นำและผู้สอนในเวลาเดียวกัน ผู้นำต้องคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ กระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศได้ และสร้างโอกาสใหม่ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องสมถะ รับใช้ประชาชน ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากชนะเล็กๆ ก่อน อย่าทำคนเดียว และผู้นำต้องปรับ Mindset

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

        ความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลก ได้แก่ เทคโนโลยีและการค้า ที่จะส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการองค์กรให้สามารถอยู่รอด ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการและการแก้ไขวิกฤติต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนในการนำไปใช้ในหน่วยงาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

 

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

กฤช วีระพลพล แก้วกลาง

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 10  วันที่ 29  เมษายน 2561

การไปร้านหนังสือและบ้านอาจารย์

        ในวันนี้ในช่วงเช้าเป็นวันทดสอบวิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม จากนั้นในช่วงบ่าย นักศึกษาและอาจารย์ได้เดินทางไปที่ร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ห้างดิเอ็มโพเรี่ยม และร้านคิโนะคุนิยะ ห้างสยามพารากอน เพื่อเลือกซื้อหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้วิชาการจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม และได้เดินทางไปที่บ้านของอาจารย์ เพื่อพบปะพูดคุยกันระหว่างอาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สิ่งที่ประทับใจและการนำไปใช้ประโยชน์

        การที่ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์กับเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน ทำให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูล และปะทะกันทางความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ เพื่อเปิดมุมมองอีกด้านหนึ่งให้สามารถนำไปเป็นความรู้ในการพัฒนาตนเองต่อไป รวมไปถึงเป็นการเพิ่มความสนิทสนมกันระหว่างเพื่อนๆ และระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ด้วย

Kris Weerapalaphon  Kaewklang (กฤช วีระพลพล  แก้วกลาง) 60484945024 

Ph.D.Innovation 16 : Suan Sunandha Rajabhat University

การเรียนการสอนครั้งที่ 1 วันที่ 21 มกราคม 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนำการเรียนการสอนในรายวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และ ทุนสังคม ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ทีมผู้ช่วย กำหนด Reading List แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 8k’s + 5k’s ทุนทางจริยธรรม และ Shift Ahead โดยนักศึกษาจะต้องวิจารณ์หนังสือ 4 เล่มดังกล่าวในแต่ละอาทิตย์

ทั้งนี้ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในวันนี้แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ด้วยกัน

  • Concept เกี่ยวกับทุนมนุษย์
  • วิธีการเรียนการสอนตามทฤษฎีของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์
    • Learning Methodology วิธีการเรียนที่ผสมผสานกันระหว่างทฤษฎี และ ปฏิบัติ
    • Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ให้เรียนรู้อย่างมีความสุข
    • Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้โดยมการปะทะทางปัญญา และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    • Learning Community สังคมแห่งการเรียนรู้

แนวความคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การปลูก

(Cultivation) หรือ เรียกอีกอย่างว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ระยะที่ 2 การเก็บเกี่ยว (Harvesting) คือ การเสริมแรงจูงใจเพื่อจะเก็บเกี่ยวผลที่ได้จากการปลูก และ ระยะที่ 3 การเอาชนะอุปสรรค (Execution) คือ การทำให้สำเร็จ

การเรียนการสอนครั้งที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลงทุนในทุนมนุษย์ด้านมหภาค (Macro) ตัวอย่างที่หยิบยกขึ้นมาให้ศึกษาในคาบเรียนนี้ คือ การปฏิรูปการศึกษา เพราะ การสึกษาเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ โดยจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงและการขับเคลื่อนเกี่ยวกับการศึกษาตลอดเวลา ทั้งนี้ปลายทางของการปฏิรูปที่จะสร้างทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพนั้นมีข้อสรุปว่าจะต้องปฏิรูปการศึกษาให้ 1. เป็นคนดีมีศีลธรรม 2. เรียนเก่ง หมายถึง สามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มตามความสามารถ 3. การศึกษาต้องทำตลอดชีวิตมากกว่าการดำเนินการในชั้นเรียน การปฏิรูปการศึกษานี้หากพิจารณาในแง่ของทุนมนุษย์จะอยู่ในระยะที่ 1 คือ การปลูก เพราะ เป็นการถ่ายทอดความรู้ และ นำไปสู่แนวทางการปฏิบัติดังนั้นจะเห็นว่าในด้านมหภาคแล้ว ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เลือกจะมองในมุมกว้าง โดยคุณภาพที่แท้จริงของคนจะต้องมีความรู้ และ ความรู้นั้นจะต้องเป็นความรู้ที่มีชีวิต หมายถึงว่า สามารถปรับเปลี่ยนไปทำอะไรก็ได้

การเรียนการสอนครั้งที่ 3 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 3 เป็นการวิจารย์หนังสือ เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ว่าด้วยแนวคิดเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา ทั้งนี้ได้มีการรายงานการวิจารณ์หนังสือ 2 กลุ่มด้วยกัน โดยมีสาระที่น่าสนใจดังนี้

  • ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องดำเนินการแบบบูรณาการ คือ เตรียมคนไม่ใช่เพียงรอบรู้ในหน้าที่การงานเท่านั้น แต่จะต้องพร้อมเป็น global citizen
  • Global citizen หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติพร้อมจะเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
  • วิธีที่จะสร้าง global citizen นี้ สามารถกระทำผ่านแนวคิดทฤษฎี 4L’s ของ คุณพารณ หรือ 4L’s ของ ศ.ดร. จีระ ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตรงที่ 4L’s ของคุณพารณจะเน้นถึงเรื่องการเรียนรู้ภายในองค์กร ส่วน 4L’s ของ ศ.ดร.จีระ เริ่มต้นจากห้องเรียนเพื่อขยายไปสู่ระดับมหภาค

ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่เพียงสิ่งแวดล้อม แต่เป็นทั้งแนวคิดของคนในช่วงวัยต่าง ๆ แนวโน้มพลวัตรของสังคม เป็นต้น

การเรียนการสอนครั้งที่ 4  วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561

     การจัดการเรียนการสอนครั้งที่ 4 มีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎี 8k’s และ 5k’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ มันมีรากฐานมาจากทฤษฎี Human Capital ของ Prof. Gary Becker โดยเห็นว่ามนาย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยเห็นว่าหากมีการลงทุนในทรัพยกรมนุษย์โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาแล้วจะส่งผลต่อคุณค่าและคุณภาพของทุนมนุษย์ ส่วนทฤษฎี 8k’s และ 5k’s พูดถึงทุนมนุษย์เช่นเดียวกันแต่ทุนทมนุษย์จะต้องมีคุณสมบัติทั้งในด้านรูปธรรม (Gary Becker) และ นามธรรม (8k’s และ 5k’s) โดย 8k’s เป็นทุนมนุษย์พื้นฐานิและ 5k’s เป็นทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8k’s และ 5k’s มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

ทฤษฎี 8k’s

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎี 5k’s

Creativity Capital        ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital     ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital       ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

 

การเรียนการสอนครั้งที่ 5  วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 5 เป็นการนำเสนอการวิจารณ์หนังสือ เรื่อง ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียนทั้งนี้ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s มีรากฐานมาจาก Human Capital ของ Prof. Gary Becker โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

ทฤษฎี 8k’s

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎี 5k’s

Creativity Capital        ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital     ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital       ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม     

การวิจารณ์หนังสือมีสิ่งที่ได้เรียนรู้ดังนี้

  • นอกจากทุนแรก คือ Human Capital แล้ว ทุนอื่น ๆ เป็นทุนที่มีลักษณะเป็นนามธรรมแต่สำคัญต่อการพัมนาคุณลักษณะของทรัพยากรมนุษย์ที่ปรับตัวและเอาตัวรอดได้สังคม
  • ทุนในส่วนของ 5k’s เป็นทุนที่มีขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออกวัฒนธรรม  ผสานกับนวัตกรรม และ เทคโนโลยี
  • ทฤษฎี 8k’s และ 5k’s อาจสามารถยุบบางข้อร่วมกันได้เพื่อความกระชับและเข้าใจง่าย ซึ่งจะทำให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกกลุ่มไม่ใช่เฉพาะแต่นักวิชาการ

 

การเรียนการสอนครั้งที่ 6 วันที่ 11 มีนาคม 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 6 มีหัวข้อว่าด้วยการวิจารณ์ HR Architecture ในส่วนเกี่ยวกับปัจจัยด้าน demand side ได้แก่ แรงงานต่างถิ่น ผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ในระหว่างช่วงอายุที่ต่างกัน เน้นทั้งระดับมหภาค และ จุลภาค ทั้งนี้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษา mindset และ ทัศนคติ ซึ่งจะมีผลต่อทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมของมนุษย์ และ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องมีจริยธรรม ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนามนุษย์ตามวงจร HR Architecture นั้น เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ 8k’s+5k’s 2R 2I และ 4L’s เป็นการปลูก โดยมี HRDS เป็นแรงจูงใจกระตุ้นให้เกิดการเก็บเกี่ยวผลจาการปลูกดังกล่าวนั้น

การเรียนการสอนครั้งที่ 7 วันที่ 18 มีนาคม 2561

การจัดการเรียนการสอนครั้งที่ 7 หัวข้อว่าด้วยเรื่องทุนเครือข่าย (Networking Capital) ซึ่งในที่นี้อาจให้ความหมายได้ว่าเป็นการทำความรู้จักกับคนในหลาย ๆ วงการ โดยการรู้จักนี้จะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit) และ มีความยั่งยืน ซึ่งข้อดีของทุนเครือข่าย คือ เป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ทั้งนี้วงจรของทุนเครือข่ายมีลักษณะเป็นดังนี้ Relation – Trust – Mutual benefit – Synergy -> Result Oriented + ความต่อเนื่อง เท่ากับว่า Network จะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

  • Awareness
  • Communication
  • Share Value
  • Joint Project Development
  • Knowledge Database Centre
  • Human Resources Development
  • Feedback
  • Network Extending

การเรียนการสอนครั้งที่ 8 วันที่ 25 มีนาคม 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 8 มีการเรียนรู้ใน 3 เรื่องด้วยกัน

  • การนำ HR Architecture ไปบริหารจัดการการทำงาน จะเห็นได้ว่า HR Architecture สามารถนำไปใช้ในได้ทุกประเทศโดยปรับไปตามบริบท โดยมีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ปลูก เก็บเกี่ยว และ การทำให้สำเร็จ หรือ การเอาชนะอุปสวรรค ทั้งนี้การชนะอุปสรรคต้องประกอบด้วยตัวละครดังต่อไปนี้  (1) HR Manager (2) Non-HR (3) CEO โดย HR ทำหน้าที่ประสานระหว่างกลุ่มคนดังกล่าว โดยส่วนที่สำคัญคือ การทำให้สำเร็จ หรือ การเอาชนะอุปสรรค ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในส่วนนี้คือ ผู้นำ (Leader) ที่ต้องให้การสนับสนุน
  • Learning Organization หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องอาศัย Learning Culture มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เริ่มต้นเก็บข้อมูลที่เป็น tacit knowledge จนกระทั่งทำให้กลายเป็น explicit knowledge
  • ความแตกต่างของแนวคิดระหว่าง ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และ Peter Senge
    • Peter Senge มี Personal Mystery เน้นระดับองค์กร ส่วน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เน้นที่ตัวบุคคลและขยายไปที่ ชุมชน และ สังคม
    • กฎ 5 ข้อของ Senge มีความคล้ายคลึงกับ 4L’s แต่ 4L’s ใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า
    • กฎ 5 ข้อ ของ Senge หาความเชื่อมโยงลำบากกว่า

 

การเรียนการสอนครั้งที่ 9 วันที่ 8 เมษายน 2561

การจัดการเรียนการสอนครั้งที่ 8 เป็นวันที่ให้มีการนำเสนอการวิจารณ์หนังสือ Shift Ahead ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎี 2R ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่ง 2R คือ การปะทะกับความจริง (Reality) และ ตรงประเด็น (Relevance) ทั้งนี้หนังสือ Shift Ahead พูดถึงการปรับตัวขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว โดยในหนังสือดังกล่าวได้ระบุถึงสัญญาณที่ทำให้องค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวองค์กรโดยตรง เช่น ตัวเลขพื้นฐาน (กำไร ขาดทุน) ความคิดของผู้นำองค์กร และ ปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต (life style) เป็นต้น โดยได้มีการยกตัวอย่างองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองจนอยู่รอดได้ และ องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ หรือ ปรับตัวไม่ทันทำให้ต้องล้มหายตายจากไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าหนังสือดังกล่าวได้สะท้อนการนำเอาทฤษฎี 2R ไปใช้ในระดับองค์กร อย่างไรก็ตามทฤษฎีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางไม่ใช่แค่เพียงระดับองค์กรเท่านั้น

การเรียนการสอนครั้งที่ 10 วันที่ 22 เมษายน 2561

การจัดการเรียนการสอนครั้งที่ 9 เป็นการทบทวนการเรียนการสอน และ แนวข้อสอบ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีวิธีในการเขียนตอบข้อสอบ ได้แก่ การยกข้อเท็จจริงประกอบกับทฤษฎี และ ยกตัวอย่าง ทั้งนี้ ศ.ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างการเขียนตอบข้อสอบ ในหลายเรื่อง เช่น เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน และ ความยั่งยืน โดยให้แนวคิดว่าความยั่งยืนเป็นเป้าหมาย มีทุนแห่งความยั่งยืนเป็นพฤติกรรมที่ทำไปสู่เป้าหมายนั้น หรือ การยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง Tangible กับ Intangible ในทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าแนวคิดเรื่องคุณสมบัติที่เป็น Intangible (นามธรรม) เช่น ความสุข จริยธรรม ปัญญา อยู่ในแนวโน้มที่ต้องการมากขึ้น แต่ก็ไม่อาจะละเลยคุณสมบัติในลักษณะที่เป็น Tangible (รูปธรรม) เช่น การศึกษา ได้

นายวิเชียร เอื้อสงวนกุล

สรุปหลักสูตร PH.D 8205 เทอม2/2561 (จำนวน 9 ครั้ง)

ครั้งที่ 1วิธีการเรียนการสอนและการปฏิรูปการศึกษา (วันที่ 28 มกราคม 2561)

วิธีการเรียนการสอน

หลักสูตรทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญเนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร หลักสูตรนี้ยกระดับความสำคัญเรื่องคนขึ้นมาให้ความสำคัญ ด้วยการมองคนในองค์กรอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยการผลิต โดยให้ความสำคัญต่อการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ทั้งครอบครัว และการศึกษา ทฤษฎีที่จะเรียนรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเช่นโมเดล HR Architecture การเรียนด้วย 4L’s เป็นต้น

 เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

ปัญหาของการศึกษาในปัจจุบัน คือ พ่อแม่เข้าใจว่าการให้ความรู้ต่อเด็กเป็นหน้าที่ของครูเท่านั้น แต่ในความจริงต้องเป็นความร่วมมือของโรงเรียน ภาครัฐ และสถาบันครอบครัว การศึกษาสร้างคนเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ แต่เราต้องเลือกที่เด็กที่มีคุณธรรมมากกว่าเด็กที่เรียนเก่ง เนื่องจากความเก่งเป็นสิ่งที่พัฒนาในภายหลังได้ และการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดชีวิตซึ่งหลายฝ่ายต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพร้อมกับสร้างคุณภาพให้กับการศึกษา แนวทางการปฏิรูปการศึกษาควรทำใน 3 เรื่อง คือ ปฏิรูปผู้เรียน การประเมินครูผู้สอน และหลักสูตรการเรียนการสอน

บทเรียนที่ได้รับ

การเรียนการสอนควรให้ความสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงบริบทเพื่อสร้างความรู้ที่เป็นแนวคิดใหม่ การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญโดย Social Network จะเป็นสิ่งที่เอื้อและมีบทบาทต่อระบบการศึกษามากขึ้น


<p>ครั้งที่ 2:  เรื่อง Macro และ Micro / หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561) </p>

  • Macro และ Micro
  • หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
  • บทเรียนที่ได้รับ

ประเด็นที่สามารถพัฒนาเป็นหลักสูตร Macro และ Micro ได้อย่างเช่นประเด็นเรื่องการปลูกฝังสุขภาพและเรื่องอิทธิพลของสื่อ Social ซึ่งขยายเป็นหลักสูตรปลูกฝังให้แก่เยาวชนก่อนเข้าสู่วัยทำงาน

แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์จะมุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานและมองว่าคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิต ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญโดยมองว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่มต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ การสร้างคนเพื่อเป็นต้นแบบจะใช้แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิด 4 เก่ง (เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน) และ 4 ดี (ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม) 2) ตระหนักในคุณค่าของคน รักษาคนให้ดี ลงทุนพัฒนาทั้งคนที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กร และ 3) การทำงานเป็นทีม

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของคุณพารณ ได้แก่ 1. Remind Management ทัศนคติในการตักเตือนผู้บริหาร 2. สร้าง Corporate Culture อุดมการณ์ในการทำธุรกิจ และ 3. Productivity Improvement การเพิ่มผลิตภาพ

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ ได้แก่ 1. แนวทางเรื่อง Labor Productivity และการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน 2. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และ 3. การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้บริหารต้องตระหนักว่าคนเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร และนำทฤษฏี 8K’s และ 5K’s มาปรับใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดการปฏิบัติ โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้แนวคิด 8K’s ต้องประกอบไปด้วยปัญญา คุณธรรม ความสุข มีสังคม ความยั่งยืน รวมถึงความเชี่ยวชาญดิจิตอล ให้เกิดการผสมผสาน 


ครั้งที่ 3:  8K’s และ 5K’s (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561)

  • ทุนมนุษย์
  • 8K’s และ 5K’s
  • บทเรียนที่ได้รับ

การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์มากขึ้นในสมัย Prof. Gary Becker โดยในปัจจุบัน 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ไปถือเป็นทุนมนุษย์ สำหรับประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 – 5 มีการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปจนละเลยการพัฒนาทุนมนุษย์หรือคนในประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.จีระจึงตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมา เพื่อพัฒนา Human Resource Architecture ทั้งนี้ ทุนมนุษย์ที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีองค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมเป็นสำคัญ รวมถึงการคิดวิเคราะห์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและมองภาพของอนาคตได้

8K’s เป็นทุนสำคัญที่เป็นพื้นฐาน แล้วจากนั้นจึงต่อยอดด้วย 5K’s ข้อดีของทั้งสองตัวนี้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะขยายไปยังครอบครัวและกระจายสู่สังคม เมื่อพัฒนา 8K’s และ 5K’s ก็จะสามารถมีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขันกับต่างประเทศไทยได้ จึงควรถ่ายทอด 8K’s และ 5K’s ตั้งแต่ในช่วงวัยเรียน ส่วนจุดที่เป็นข้อสังเกตของ 8K’s และ 5K’s คือ พื้นฐานทุนของแต่ละคนไม่เท่ากันโดยเฉพาะช่องว่างที่เกิดกับคนในชนบทและต่างจังหวัด ประเด็นความแตกต่างของศีลธรรมและจริยธรรม รวมถึงสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างการสร้างความยั่งยืน

ทุนมนุษย์เป็นทุนที่สังคมควรมีความตระหนักและให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นทุนที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว และควรสนับสนุนการพัฒนาตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงบั้นปลายของชีวิต

 


ครั้งที่ 4:  หนังสือเรื่อง 8k’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561)

  • 4L และ เส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทางของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ
  • ทุนมนุษย์ของคนไทยกับประชาคมอาเซียน
  • บทเรียนที่ได้รับ

4L จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่ 8k’s + 5K’s โดยเส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทางของศาสตราจารย์ ดร.    จีระ ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ 2.การจัดตั้งมูลนิธิการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 3.การดำเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้าโขง 4.การพัฒนา APEC Human Resources Development Working Group 5.การพัฒนาแผนธุรกิจแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทุนมนุษย์ 6.การกำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนทุนมนุษย์ และ 7.การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องทุนมนุษย์ด้วยการพัฒนาเป็นสื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่สังคม

เราต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจในช่องว่างของประชาคมอาเซียนในเรื่องขีดความสามารถของการแข่งขัน และการบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้เรามีแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงการพิจารณาในเรื่องของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ บูรณาการเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในบริบทของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญในปัจจัยเรื่องความยั่งยืน การพัฒนาขีดความสามารถ การประสานความร่วมมือ และการพัฒนาในระดับฐานรากตั้งแต่ในระดับชุมชน

การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยย่อยที่เป็นฐานราก โดยไม่ละทิ้งการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การพัฒนาต้องอาศัยการลงไปสำรวจและศึกษาอย่างจริงจัง มีการวัดผลของการพัฒนา และการพัฒนานั้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 



ครั้งที่ 5:  Human Resource Architecture (วันที่ 11 มีนาคม 2561)

  • Human Resource Architecture

การสร้าง Human Resource Architecture เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ต้องมองอย่างครอบคลุมตลอดช่วงวงจรชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย โดยในช่วงอายุ 25 – 60 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทำงานเมื่อพิจารณาด้านความต้องการของตลาดแรงงาน (Demand Side) จึงต้องมีการสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ และกระตุ้นการลงทุนในด้านทุนมนุษย์ทั้งในเรื่องการศึกษา สื่อ ครอบครัว รวมไปถึงด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดการนำไปสู่ด้านอุปทาน (Supply Side) เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยทุกองค์กรต้องลงทุนในทุนมนุษย์ ซึ่งมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งทฤษฎีการบริหารทุนมนุษย์ให้เป็นเลิศที่กล่าวถึงการดึงเอาศักยภาพของบุคคลให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้ทฤษฎี 3 วงกลม และทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ HRDS, 4Ls, 2R และ 2L

 


ครั้งที่ 6:  พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการสร้างเครือข่าย Networking Capital (วันที่ 18 มีนาคม 2561)

  • พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการสร้างเครือข่าย Networking Capital
  • Cultural Capital
  • บทเรียนที่ได้รับ

รวมประกอบด้วยแนวคิดและมุมมองของผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศทั้งนักคิด นักปฏิบัติ นักวิชาการ จำนวน. 10 ท่าน ในประเด็นคุณงาม ความดีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม โดยเริ่มความคิดเรื่องพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีความรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่และหาทางออกยาก จึงได้ใช้หลักปฎิบัติการปลูกฝังวัฒนธรรมและจริยธรรม ต้นทุนทางวัฒนธรรม

1. ระบบความเชื่อ

2. ภูมิปัญญา

3. ประเพณี

4. การเรียนรู้ (ครอบครัว, วัด, ผู้มีความรู้)

5. ค่านิยมทางสังคม

6. ข้อห้าม, ข้อควรละเว้น

ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิดให้กับผู้นำและนักการเมือง โดยเฉพาะ “ผู้นำทางการเมือง”

การสร้างเครือข่าย เป็นการลงทุนที่ต้นทุนต่ำที่สุด โดยต้องทำให้ชุมชนหรือเครือข่ายมีความมั่นคง

 

 

 


ครั้งที่ 7:  สัมภาษณ์ Perter Senge / กฟภ. สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4L’s (วันที่ 25 มีนาคม 2561)

  • การสัมภาษณ์ Perter Senge
  • การเรียน สำคัญอย่างไร ได้คำตอบคำตอบที่ดีเป็นแนวทางดังต่อไปนี้ การเรียนรู้เกิดจากความประสงค์ที่จะทำ (Aspiration) ตัวเราต้องเห็นความสำคัญ เหมือนทฤษฏี2r 1.) รู้ความจริง (Really) 2.) ตรงประเด็น (Relevant) ต้องเลือกประเด็น
  • กรณีศึกษา กฟภ. : สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4Ls : สังคมหรือองค์กรที่มีการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้น ต้องมีปัจจัยเกี่ยวกับต้องมีการสร้างวิธีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งองค์กรต้องเปิดโอกาส เช่น มีเวทีการตอบข้อซักถาม ตั้งคำถาม ทำให้สังคมในชุมชนเกิดเป็นชุมชนสังคมที่มีการเรียนรู้
  • บทสรุปที่ได้รับ : แนวคิดของทั้ง 2 ท่านนั้น เป็นกระบวนการความคิดที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในสังคม เป็นผลดีต่อการพัฒนาในด้านต่างๆที่มีสังคมเป็นที่ตั้งและจุดประสงค์นั้นก็เพื่อคืนกลับการพัฒนาคืนสู่สังคมนั้นๆต่อไป

การเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือกัน รู้แจ้งเห็นจริง เรียนรู้เพื่อให้เกิดการไขข้อข้องใจ ให้เกิดคำถาม การแสดงความคิดเห็นนั้น แสดงออกเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และพัฒนาต่อไป

 

 



 

ครั้งที่ 8นำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead (วันที่ 8 เมษายน 2561)

  • การนาเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead
  • ความเหมือน : ต้องมีความรู้จริงและต้องมีการปรับตัว
  • ความแตกต่าง : Reality: บุคคลที่กระทบต่อปัจจัยและสังคม
  • บทที่ 3 (กลุ่มที่ 2) นำเสนอตัวอย่างบริษัท ต้องปิดกิจการ เนื่องมากจากหลายปัจจัยที่กีดขวางในการทางาน
  • บทสรุปที่ได้รับ : ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลกระทบขององค์กรในโลกที่มีการแข่งขันในทุกๆด้าน นั่นคือ ผู้บริหาร หรือองค์กรต้องพิจารณาเรื่อง ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเกี่ยวข้องโดยตรง relevant หรือผลกระทบด้านเวลา ลูกค้า นวัตกรรมใหม่ Resource (เงิน) Reflection (สะท้อน) การจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

บทที่ 2 (กลุ่มที่ 1) กล่าวถึงสัญญาณเตือน 7 สัญญาณเตือนผู้บริการ ได้แก่

1.  Basic Math ข้อมูล ตัวเลขไม่คงที่ ควรนำมารีบวิเคราะห์โดยทันที นั่นคือการ Shift

2.  difference พิจารณาว่าคุณค่า ยังมีผลต่อลูกค้าหรือไม่

3.  Big on Data short on analysis มีข้อมูลแต่นำไปใช้ช้าไม่ทันการ

4.  Neglecting table stake ไม่ได้คาดคำนึงถึง Stakeholders

5.  Pride does go before fall มีข้อมูล มีบทวิเคราะห์แต่ไม่เชื่อถือหรือนำมาใช้

6.  Being to deep in your comfort zone มี 3 ประการ คือ ของเดิมดีอยู่แล้ว ไม่ต้องการเปลี่ยน ไม่ตระหนักที่จะเปลี่ยน ความหมายคือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม

7.  Moral : ทุกคนมีบทบาทสำคัญ ให้ความสำคัญกับทุกคนในองค์กร


 


ครั้งที่ 9: ร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ร้านหนังสือKINOKUNIYA และบ้านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (วันที่ 8 เมษายน 2561)

  • ร้านเอเชียบุ๊ค และ ร้านหนังสือKINOKUNIYA สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ขายหนังสือเฉพาะภาษาอังกฤษ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ซึ่งวันนี้ดร.จีระ ขอให้ผู้จัดการร้านได้ให้คำแนะนาหนังสือ แนวคิดในการนำเสนอหนังสือที่น่าสนใจให้ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งทราบว่าพนักงานจะทราบความต้องการของลูกค้าประจำว่าท่านใดประสงค์ชื่นชอบหนังสือชนิดใด ซึ่งดร.จีระ เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำมานานมากเช่นกัน ซึ่งผู้จัดการร้านได้ทราบความต้องการพร้อมแนะนำได้ตรงกับความต้องการเป็นอย่างดี
  • สนทนาที่บ้านอาจารย์ เลขที่ 10 ซอยสุขุมวิท23 สนทนา ด้วยประเด็นที่หลากหลาย สอนให้ฝึกคิด วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการยกทฤษฏี JIRA Ways ประกอบกับ Case Study ที่เกิดขึ้นจริงและตรงประเด็น มีความเป็นไปได้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนที่ผ่าน ฝากแนวคิดการเรียน การสอนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบสมัยใหม่พร้อมกับทีมงานอาจารย์ที่มีศักยภาพ ทีมอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รศ.สมชาย ภคภาควิวัฒน์ และศ.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่พวกเราจะเรียนกับท่านในภาคเรียนถัดไป ก่อนกลับพวกเรามอบของที่ระลึกด้วยความระลึกในบุญคุณของการอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์สามารถจับปลาได้ด้วยตนเอง และศักยภาพที่แต่ละคนพึงจะมีที่พร้อมจะจบเป็นดุษฏีบัณฑิตที่ยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไปด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย. นายวิเชียร เอื้อสงวนกุล ( 17/05/2561 )</b>

นายวิเชียร เอื้อสงวนกุล

สรุปหลักสูตร PH.D 8205 เทอม2/2561 (จำนวน 9 ครั้ง)

ครั้งที่ 1วิธีการเรียนการสอนและการปฏิรูปการศึกษา (วันที่ 28 มกราคม 2561)

วิธีการเรียนการสอน

หลักสูตรทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญเนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร หลักสูตรนี้ยกระดับความสำคัญเรื่องคนขึ้นมาให้ความสำคัญ ด้วยการมองคนในองค์กรอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยการผลิต โดยให้ความสำคัญต่อการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ทั้งครอบครัว และการศึกษา ทฤษฎีที่จะเรียนรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเช่นโมเดล HR Architecture การเรียนด้วย 4L’s เป็นต้น

 เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

ปัญหาของการศึกษาในปัจจุบัน คือ พ่อแม่เข้าใจว่าการให้ความรู้ต่อเด็กเป็นหน้าที่ของครูเท่านั้น แต่ในความจริงต้องเป็นความร่วมมือของโรงเรียน ภาครัฐ และสถาบันครอบครัว การศึกษาสร้างคนเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ แต่เราต้องเลือกที่เด็กที่มีคุณธรรมมากกว่าเด็กที่เรียนเก่ง เนื่องจากความเก่งเป็นสิ่งที่พัฒนาในภายหลังได้ และการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดชีวิตซึ่งหลายฝ่ายต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพร้อมกับสร้างคุณภาพให้กับการศึกษา แนวทางการปฏิรูปการศึกษาควรทำใน 3 เรื่อง คือ ปฏิรูปผู้เรียน การประเมินครูผู้สอน และหลักสูตรการเรียนการสอน

บทเรียนที่ได้รับ

การเรียนการสอนควรให้ความสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงบริบทเพื่อสร้างความรู้ที่เป็นแนวคิดใหม่ การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญโดย Social Network จะเป็นสิ่งที่เอื้อและมีบทบาทต่อระบบการศึกษามากขึ้น


<p>ครั้งที่ 2:  เรื่อง Macro และ Micro / หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561) </p>

  • Macro และ Micro
  • หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
  • บทเรียนที่ได้รับ

ประเด็นที่สามารถพัฒนาเป็นหลักสูตร Macro และ Micro ได้อย่างเช่นประเด็นเรื่องการปลูกฝังสุขภาพและเรื่องอิทธิพลของสื่อ Social ซึ่งขยายเป็นหลักสูตรปลูกฝังให้แก่เยาวชนก่อนเข้าสู่วัยทำงาน

แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์จะมุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานและมองว่าคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิต ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญโดยมองว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นมูลค่าเพิ่มต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ การสร้างคนเพื่อเป็นต้นแบบจะใช้แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิด 4 เก่ง (เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน) และ 4 ดี (ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม) 2) ตระหนักในคุณค่าของคน รักษาคนให้ดี ลงทุนพัฒนาทั้งคนที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กร และ 3) การทำงานเป็นทีม

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของคุณพารณ ได้แก่ 1. Remind Management ทัศนคติในการตักเตือนผู้บริหาร 2. สร้าง Corporate Culture อุดมการณ์ในการทำธุรกิจ และ 3. Productivity Improvement การเพิ่มผลิตภาพ

นวัตกรรมความคิดด้าน HR ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ ได้แก่ 1. แนวทางเรื่อง Labor Productivity และการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน 2. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และ 3. การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้บริหารต้องตระหนักว่าคนเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร และนำทฤษฏี 8K’s และ 5K’s มาปรับใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดการปฏิบัติ โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้แนวคิด 8K’s ต้องประกอบไปด้วยปัญญา คุณธรรม ความสุข มีสังคม ความยั่งยืน รวมถึงความเชี่ยวชาญดิจิตอล ให้เกิดการผสมผสาน 


ครั้งที่ 3:  8K’s และ 5K’s (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561)

  • ทุนมนุษย์
  • 8K’s และ 5K’s
  • บทเรียนที่ได้รับ

การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์มากขึ้นในสมัย Prof. Gary Becker โดยในปัจจุบัน 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ไปถือเป็นทุนมนุษย์ สำหรับประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 – 5 มีการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปจนละเลยการพัฒนาทุนมนุษย์หรือคนในประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.จีระจึงตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมา เพื่อพัฒนา Human Resource Architecture ทั้งนี้ ทุนมนุษย์ที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีองค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมเป็นสำคัญ รวมถึงการคิดวิเคราะห์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและมองภาพของอนาคตได้

8K’s เป็นทุนสำคัญที่เป็นพื้นฐาน แล้วจากนั้นจึงต่อยอดด้วย 5K’s ข้อดีของทั้งสองตัวนี้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะขยายไปยังครอบครัวและกระจายสู่สังคม เมื่อพัฒนา 8K’s และ 5K’s ก็จะสามารถมีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขันกับต่างประเทศไทยได้ จึงควรถ่ายทอด 8K’s และ 5K’s ตั้งแต่ในช่วงวัยเรียน ส่วนจุดที่เป็นข้อสังเกตของ 8K’s และ 5K’s คือ พื้นฐานทุนของแต่ละคนไม่เท่ากันโดยเฉพาะช่องว่างที่เกิดกับคนในชนบทและต่างจังหวัด ประเด็นความแตกต่างของศีลธรรมและจริยธรรม รวมถึงสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างการสร้างความยั่งยืน

ทุนมนุษย์เป็นทุนที่สังคมควรมีความตระหนักและให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นทุนที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว และควรสนับสนุนการพัฒนาตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงบั้นปลายของชีวิต

 


ครั้งที่ 4:  หนังสือเรื่อง 8k’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561)

  • 4L และ เส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทางของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ
  • ทุนมนุษย์ของคนไทยกับประชาคมอาเซียน
  • บทเรียนที่ได้รับ

4L จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่ 8k’s + 5K’s โดยเส้นทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทางของศาสตราจารย์ ดร.    จีระ ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ 2.การจัดตั้งมูลนิธิการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 3.การดำเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้าโขง 4.การพัฒนา APEC Human Resources Development Working Group 5.การพัฒนาแผนธุรกิจแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทุนมนุษย์ 6.การกำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนทุนมนุษย์ และ 7.การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องทุนมนุษย์ด้วยการพัฒนาเป็นสื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่สังคม

เราต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจในช่องว่างของประชาคมอาเซียนในเรื่องขีดความสามารถของการแข่งขัน และการบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้เรามีแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงการพิจารณาในเรื่องของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ บูรณาการเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในบริบทของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญในปัจจัยเรื่องความยั่งยืน การพัฒนาขีดความสามารถ การประสานความร่วมมือ และการพัฒนาในระดับฐานรากตั้งแต่ในระดับชุมชน

การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยย่อยที่เป็นฐานราก โดยไม่ละทิ้งการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การพัฒนาต้องอาศัยการลงไปสำรวจและศึกษาอย่างจริงจัง มีการวัดผลของการพัฒนา และการพัฒนานั้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 



ครั้งที่ 5:  Human Resource Architecture (วันที่ 11 มีนาคม 2561)

  • Human Resource Architecture

การสร้าง Human Resource Architecture เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ต้องมองอย่างครอบคลุมตลอดช่วงวงจรชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย โดยในช่วงอายุ 25 – 60 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทำงานเมื่อพิจารณาด้านความต้องการของตลาดแรงงาน (Demand Side) จึงต้องมีการสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ และกระตุ้นการลงทุนในด้านทุนมนุษย์ทั้งในเรื่องการศึกษา สื่อ ครอบครัว รวมไปถึงด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดการนำไปสู่ด้านอุปทาน (Supply Side) เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยทุกองค์กรต้องลงทุนในทุนมนุษย์ ซึ่งมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งทฤษฎีการบริหารทุนมนุษย์ให้เป็นเลิศที่กล่าวถึงการดึงเอาศักยภาพของบุคคลให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้ทฤษฎี 3 วงกลม และทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ HRDS, 4Ls, 2R และ 2L

 


ครั้งที่ 6:  พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการสร้างเครือข่าย Networking Capital (วันที่ 18 มีนาคม 2561)

  • พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการสร้างเครือข่าย Networking Capital
  • Cultural Capital
  • บทเรียนที่ได้รับ

รวมประกอบด้วยแนวคิดและมุมมองของผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศทั้งนักคิด นักปฏิบัติ นักวิชาการ จำนวน. 10 ท่าน ในประเด็นคุณงาม ความดีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม โดยเริ่มความคิดเรื่องพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีความรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่และหาทางออกยาก จึงได้ใช้หลักปฎิบัติการปลูกฝังวัฒนธรรมและจริยธรรม ต้นทุนทางวัฒนธรรม

1. ระบบความเชื่อ

2. ภูมิปัญญา

3. ประเพณี

4. การเรียนรู้ (ครอบครัว, วัด, ผู้มีความรู้)

5. ค่านิยมทางสังคม

6. ข้อห้าม, ข้อควรละเว้น

ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิดให้กับผู้นำและนักการเมือง โดยเฉพาะ “ผู้นำทางการเมือง”

การสร้างเครือข่าย เป็นการลงทุนที่ต้นทุนต่ำที่สุด โดยต้องทำให้ชุมชนหรือเครือข่ายมีความมั่นคง

 

 

 


ครั้งที่ 7:  สัมภาษณ์ Perter Senge / กฟภ. สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4L’s (วันที่ 25 มีนาคม 2561)

  • การสัมภาษณ์ Perter Senge
  • การเรียน สำคัญอย่างไร ได้คำตอบคำตอบที่ดีเป็นแนวทางดังต่อไปนี้ การเรียนรู้เกิดจากความประสงค์ที่จะทำ (Aspiration) ตัวเราต้องเห็นความสำคัญ เหมือนทฤษฏี2r 1.) รู้ความจริง (Really) 2.) ตรงประเด็น (Relevant) ต้องเลือกประเด็น
  • กรณีศึกษา กฟภ. : สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี4Ls : สังคมหรือองค์กรที่มีการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้น ต้องมีปัจจัยเกี่ยวกับต้องมีการสร้างวิธีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งองค์กรต้องเปิดโอกาส เช่น มีเวทีการตอบข้อซักถาม ตั้งคำถาม ทำให้สังคมในชุมชนเกิดเป็นชุมชนสังคมที่มีการเรียนรู้
  • บทสรุปที่ได้รับ : แนวคิดของทั้ง 2 ท่านนั้น เป็นกระบวนการความคิดที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในสังคม เป็นผลดีต่อการพัฒนาในด้านต่างๆที่มีสังคมเป็นที่ตั้งและจุดประสงค์นั้นก็เพื่อคืนกลับการพัฒนาคืนสู่สังคมนั้นๆต่อไป

การเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือกัน รู้แจ้งเห็นจริง เรียนรู้เพื่อให้เกิดการไขข้อข้องใจ ให้เกิดคำถาม การแสดงความคิดเห็นนั้น แสดงออกเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และพัฒนาต่อไป

 

 



 

ครั้งที่ 8นำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead (วันที่ 8 เมษายน 2561)

  • การนาเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead
  • ความเหมือน : ต้องมีความรู้จริงและต้องมีการปรับตัว
  • ความแตกต่าง : Reality: บุคคลที่กระทบต่อปัจจัยและสังคม
  • บทที่ 3 (กลุ่มที่ 2) นำเสนอตัวอย่างบริษัท ต้องปิดกิจการ เนื่องมากจากหลายปัจจัยที่กีดขวางในการทางาน
  • บทสรุปที่ได้รับ : ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลกระทบขององค์กรในโลกที่มีการแข่งขันในทุกๆด้าน นั่นคือ ผู้บริหาร หรือองค์กรต้องพิจารณาเรื่อง ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเกี่ยวข้องโดยตรง relevant หรือผลกระทบด้านเวลา ลูกค้า นวัตกรรมใหม่ Resource (เงิน) Reflection (สะท้อน) การจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

บทที่ 2 (กลุ่มที่ 1) กล่าวถึงสัญญาณเตือน 7 สัญญาณเตือนผู้บริการ ได้แก่

1.  Basic Math ข้อมูล ตัวเลขไม่คงที่ ควรนำมารีบวิเคราะห์โดยทันที นั่นคือการ Shift

2.  difference พิจารณาว่าคุณค่า ยังมีผลต่อลูกค้าหรือไม่

3.  Big on Data short on analysis มีข้อมูลแต่นำไปใช้ช้าไม่ทันการ

4.  Neglecting table stake ไม่ได้คาดคำนึงถึง Stakeholders

5.  Pride does go before fall มีข้อมูล มีบทวิเคราะห์แต่ไม่เชื่อถือหรือนำมาใช้

6.  Being to deep in your comfort zone มี 3 ประการ คือ ของเดิมดีอยู่แล้ว ไม่ต้องการเปลี่ยน ไม่ตระหนักที่จะเปลี่ยน ความหมายคือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม

7.  Moral : ทุกคนมีบทบาทสำคัญ ให้ความสำคัญกับทุกคนในองค์กร


 


ครั้งที่ 9: ร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ร้านหนังสือKINOKUNIYA และบ้านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (วันที่ 8 เมษายน 2561)

  • ร้านเอเชียบุ๊ค และ ร้านหนังสือKINOKUNIYA สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ขายหนังสือเฉพาะภาษาอังกฤษ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ซึ่งวันนี้ดร.จีระ ขอให้ผู้จัดการร้านได้ให้คำแนะนาหนังสือ แนวคิดในการนำเสนอหนังสือที่น่าสนใจให้ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งทราบว่าพนักงานจะทราบความต้องการของลูกค้าประจำว่าท่านใดประสงค์ชื่นชอบหนังสือชนิดใด ซึ่งดร.จีระ เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำมานานมากเช่นกัน ซึ่งผู้จัดการร้านได้ทราบความต้องการพร้อมแนะนำได้ตรงกับความต้องการเป็นอย่างดี
  • สนทนาที่บ้านอาจารย์ เลขที่ 10 ซอยสุขุมวิท23 สนทนา ด้วยประเด็นที่หลากหลาย สอนให้ฝึกคิด วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการยกทฤษฏี JIRA Ways ประกอบกับ Case Study ที่เกิดขึ้นจริงและตรงประเด็น มีความเป็นไปได้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนที่ผ่าน ฝากแนวคิดการเรียน การสอนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบสมัยใหม่พร้อมกับทีมงานอาจารย์ที่มีศักยภาพ ทีมอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รศ.สมชาย ภคภาควิวัฒน์ และศ.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่พวกเราจะเรียนกับท่านในภาคเรียนถัดไป ก่อนกลับพวกเรามอบของที่ระลึกด้วยความระลึกในบุญคุณของการอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์สามารถจับปลาได้ด้วยตนเอง และศักยภาพที่แต่ละคนพึงจะมีที่พร้อมจะจบเป็นดุษฏีบัณฑิตที่ยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไปด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย. นายวิเชียร เอื้อสงวนกุล ( 17/05/2561 )</b>

พงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 7 วันที่ 18 มีนาคม 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์           

 

วิจารณ์หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

กลุ่มที่ 2

ทุนทางจริยธรรมมีรากมาจากอะไร

หนังสือเล่มนี้มี 10 กว่าท่านมาวิจารณ์เรื่อง คุณงามความดี พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมของอดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ท่านว.วชิรเมธี  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย  ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี   นายชวน หลีกภัย  ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

รศ.สุขุม นวลสกุล ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์  โดยทั้ง 10 ท่านอยู่ธรรมศาสตร์ บางท่านเคยทำงานใกล้ชิดกับทั้ง 4 ท่าน

ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ 8K’sและ 5K’s  การริเริ่มทางจริยธรรม ก็มาจากปัญหาการเมือง การเข้าใจความหมายเชิงลึก สามารถนำคุณธรรมจริยธรรมไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 

จริยธรรมคือการประพฤติดี นำไปสู่สังคมประเทศชาติได้ การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมและทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อที่ดี ภูมิปัญญา ความเชื่อ ภูมิปัญญา จารีต การเรียนรู้ ค่านิยม ข้อห้าม เป็นสิ่งที่ปลูกฝังทุนทางวัฒนธรรม

ท่านว.วชิรเมธีพยายามสอดแทรกธรรมะ ท่านเป็นนักอ่าน รู้เรื่องบริหารจัดการทางโลก นำไปผสมผสานได้ดี

จุดแข็ง 4 อธิการบดีเป็นต้นแบบทุนทางจริยธรรม พระองค์วรรณ ดร.ปรีดี พนมยงค์  ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ 

จุดแข็ง 4 อธิการบดี ทำงานเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ ยึดยุทธศาสตร์เดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ

  • ดร.ปรีดี พนมยงค์ มีคุณธรรมและความกล้าหาญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2475
  • ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ กล้าหาญ ยุติธรรม เมตตา เน้นคุณธรรมผ่านธรรมะ ระบบสหายธรรม ใช้ธรรมะผสมผสานกฎหมาย
  • ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีคุณธรรม กล้าหาญ ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้โอกาสคนอื่นตลอด ขยายธรรมศาสตร์ไปรังสิต

ให้เกียรติท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ซึ่งแก้ปัญหาและสู้ชีวิตร่วมกัน เป็นคนที่มีจิตสาธารณะ เสียสละ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค เวลาทำงานก็ทำเป็นตัวอย่าง

ทั้ง 4 ท่านเป็นต้นแบบนักการเมือง มีความกล้าหาญ คุณธรรม จริยธรรม ความกล้าหาญทั้ง 4 ท่าน ท่านปรีดีและดร.ป๋วยไปร่วมกับเสรีไทย อ่านเล่มนี้แล้ว คนไทยต้องค้นหาตนเอง หว่านเมล็ดพันธุ์ความดีให้สังคม 

Local สร้างแรงบันดาลใจ นำไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ขยายวงไปสังคมแต่ละระดับ

Global เรื่อง good governance มุ่งประเทศไทยใสสะอาด ปฏิรูปจิตสำนึก โครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจสังคม การศึกษา กฎหมาย ตั้งเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นระดับชาติ สร้างค่านิยมพอเพียง 

อธิการ 4 ท่านเน้นความโปร่งใส ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนด้วยพลังคุณธรรม จริยธรรมทุกระดับ คุณธรรม จริยธรรมเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำการเมือง

 

วิจารณ์หนังสือ “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

กลุ่มที่ 1

ที่มาของการขาดคุณธรรมคือ

ผู้นำขาดคุณธรรมทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้น ขาดการยกย่องคนดี สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม

วิธีแก้ปัญหา

ผู้นำขาดคุณธรรม แก้โดย ให้ความสำคัญ ส่งเสริมพัฒนา

ขาดการยกย่องคนดี แก้โดย นำบุคคลต้นแบบมาวิเคราะห์หลักการและแนวคิดอย่างไร

สังคมแข่งขันมากจนลืมจริยธรรม

การปลูกฝัง

คุณธรรม จริยธรรมที่ควรประยุกต์ใช้ได้กับความเป็นจริงของชีวิต

ครอบครัวประสานโรงเรียนและศาสนาหรือ ค่านิยมที่ยึดถือและสังคมจุดประกาย

สื่อ ต้องสื่อสารเพื่อปวงชน สื่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้รับสื่อต้องใช้วิจารณญาณมาก (Media Literacy)

สังคม ควรให้ความสำคัญกับคนดี เชิดชูคนดี 

วิเคราะห์บุคคลต้นแบบ 

ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์

เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติภรรยา สร้างโอกาสให้คนในสังคม ท่านเป็นผู้ประศาสน์การธรรมศาสตร์ คนจนเข้าถึงการศึกษาได้ 

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

เน้นธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ยุติธรรมคือยุติโดยธรรม มีเมตตา 

พระองค์วรรณ

มีปิยวาจา เป็นราชบัณฑิตและนักการทูต ฟังทุกอย่างรอบด้าน ไม่ว่าเป็นคนระดับใด 

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

มีความกล้า วิสัยทัศน ปฏิบัติจริง แสดงจุดยืนโดยสันติ 

ทั้ง 4 ท่าน มีความดีภายใต้ความแตกต่างของอาชีพ แต่ละท่านผ่านสิ่งต่างๆ กว่าจะบรรลุเป้าหมาย แสดงถึง passion ที่จะทำ ทุกท่านเมื่อพบอุปสรรคก็ทำต่อให้คนสานต่อได้ 

เล่มนี้สะท้อนมุมมองจากนักคิดและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง มีเกร็ดประสบการณ์ต่างๆ 

อิทธิพลหนังสือ

สร้างความประทับใจ ทำให้เห็นความสำคัญแล้วค้นหา สร้างกระตุ้นคุณธรรมจริยธรรมให้เกิด แล้วพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

 

การสร้างเครือข่าย Networking

จากกรณีศึกษางานของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แนวทางของอาจารย์ที่ปฏิบัติได้จริง ในการพัฒนาเครือข่ายโดยการลงพื้นที่ สร้างโจทย์ให้ชุมชนคิดและสร้างสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าร่วมกัน ในแต่ละพื้นที่มีจุดเด่นของตนเองนำมาเชื่อมโยงให้เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่ และจากการมีผู้นำมีเครือข่ายเข้มแข็ง ไม่ต้องรอภาครัฐ เมื่อจบโครงการ ภาครัฐเห็นโครงการ จึงให้งบมาสนับสนุนการทำงานต่อ

ทุนทางสังคมหรือ การสร้างเครือข่ายเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนต่ำ แต่การสร้างทุนให้ประสพความสำเร็จได้นั้นมีวิธีการหลักๆท่ำคัญคือ การทำให้ทุกภาคส่วนเสมอภาคกัน ให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจกันและกัน อีกทั้งการเกิดประโยชน์ร่วมกันทุกภาคส่วน

พงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 8 วันที่ 25 มีนาคม 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์           

 

สังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge

Dave Ulrich : HR จะเป็น Global Business

ส่วนแนวคิดของ Ulrich หรือท่านอาจารย์จีระ นำมาประยุกต์ใช้กับทุกประเทศได้ แต่เงื่อนไขที่สำคัญ คือ ต้องใช้ ทฤษฎี 2R’s มาจับใช้ เพราะต้องเข้าใจบริบทที่แตกต่างของประเทศนั้นๆ อาทิต้องพิจารณาปัญหาในระดับ Macro ไม่ว่าเรื่องการศึกษา สาธารณสุข  รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น วัฒนธรรม วิถีชีวิต กฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ใน ครอบครัว การศึกษา Lifelong Learning มีการเน้นทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s 5K’s

หลักใหญ่ของ HR คือ ปลูก เก็บเกี่ยว Execution คือ การเอาชนะอุปสรรค การทำให้สำเร็จ ต้องมีผู้นำต้องเก่ง หลักการ HR แต่ละประเทศมีตัวละครที่เหมือนกันคือ HR Manager และ Non-HR คนในบริษัทฝ่ายอื่นๆ ต้องได้รับการฝึกให้เข้าใจ ผู้บริหารต้องสนับสนุนให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture)ในองค์กร

องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ กฎของ Peter Senge ประกอบด้วย Personal Mastery รู้อะไรต้องรู้ให้จริง ความคิดหลากหลาย มีการแบ่งปันวิสัยทัศน์ และเป้าหมายร่วมกัน การเรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน ปะทะกันทางปัญญา การคิดอย่างเป็นระบบ ด้วยหลักเหตุผล

การเรียนรู้ตามแนวคิดของ 4L’s ประกอบด้วย Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา และ Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คิดว่าได้อะไรจากที่เรียนมา ติดตามใกล้ชิด

แนวคิด 3L’s ประกอบด้วย learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ และ Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

องค์กรแห่งการเรียนรู้ นำไปเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กร เพื่อการพัฒนาองค์กร และการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

พงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 9 วันที่ 8 เมษายน 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์           


นำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

ประเด็นหลักที่หนังสือยกขึ้นมา คือ เรื่อง 7 สัญญาณซึ่งแจ้งเตือนผู้บริหารว่าควรปรับเปลี่ยน(Heed The Red Flags) มิใช่รอจนถูกบังคับให้เปลี่นจึงเริ่มต้นดำเนินการ ซึ่งมีกรณีดังนี้

1. สัญญาณเมื่อตัวเลขพื้นฐานของผลประกอบการลดลง (Basic Math)

2. สัญญาณเกิดการแข่งขันปะทะกันด้านราคา ซึ่งไม่ใช่เกิดจากความแตกต่าง (Completing on Price, Not Differentiation)

3.  สัญญาณแห่งข้อมูลที่มีมาก แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ (Big on Data, Short on Analysis)

4.  สัญญาณแห่งการแจ้งเตือนการละเลยเพิกเฉยในสิ่งหลัก (Neglecting Table Stake)

5.  สัญญาณแจ้งเตือนอย่าเพิกเฉยและมองข้ามคู่แข่งรายใหม่ (Pride Often Does Go before Fall)

6.  ความเคยชินและการไม่กล้าเปลี่ยนแปลง (Being Too Deep in Your Comfort Zone)

7.   การให้ความสนใจกับข้อเสนอของพนักงานในองค์กร (Yertle the Turtle is Left Behind)

 หนังสือได้ยกตัวอย่างกรณีของบริษัทที่มีชื่อเสียงต่างๆที่ต้องเลิกกิจการไป จากการไม่ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น Kodak, Xerox, Blackberry 

พงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์

สรุปห้องเรียน ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่ 10 วันที่ 29 เมษายน 2561

โดยนายพงษ์พัชร์ จารุภัทราพันธุ์           

 

ไปร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค ร้านหนังสือ KINOKUNIYA และเยี่ยมบ้านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.ช่วงเยี่ยมชมร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม 

ร้านเอเชียบุ๊ค สาขาศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ขายหนังสือเฉพาะภาษาอังกฤษ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ ท่านอาจารย์ ขอให้ผู้จัดการร้านคำแนะนำหนังสือ แนวคิดในการนำเสนอหนังสือที่น่าสนใจให้ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งทราบว่าพนักงานจะทราบความต้องการของลูกค้าประจำว่าท่านใดประสงค์ชื่นชอบหนังสือชนิดใด ท่านอาจารย์ แนะนำหนังสือดี ได้แก่ HUMAN + reimagining Work in the Age of AI MACHINE   หนังสือ Digital Human ท่านอาจารย์ฝากประเด็นเรื่องการเข้าร้านหนังสือบ่อยๆเป็นสิ่งที่ดีทำให้เราสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

2.เยี่ยมชมร้านหนังสือ KINOKUNIYA เป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่มีทั้งภาษาไทย และภาษาต่างชาติ พร้อมช่วงนี้มีหนังสือแนะอิงประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแนะนำ หนังสือ Block chain เปลี่ยนโลกมีผู้นำมาแปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว

 

3.เยี่ยมชม และสนทนาที่บ้านอาจารย์

ท่านอาจารย์ให้การต้อนรับพวกเราด้วยอาหารว่าง และสนทนาอย่างเป็นกันเอง ความประทับใจคือได้ รับรู้ถึงความรัก ความเมตตาที่ท่านอาจารย์มีให้กับพวกเรา การถ่ายทอดความรู้ให้รู้จักคิดวิเคราะห์โดยใช้ปัญญา


จีรนันท์ เวือมประโคน รุ่น 16 สวนสุนันทา

สรุปเนื้อหา รายวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์และทุนสังคม

ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้สรุปเนื้อหา นางสาวจีรนันท์  เวือมประโคน  นักศึกษาปริญญาเอก  รุ่นที่ 16 รัสนักศึกษา 60484945035

ครั้งที่ 1  วิธีการเรียน เปิดเทปอาจารย์ธงทอง กับอาจารย์จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

จากบทสนทนาของท่านอาจารย์จีระและ รศ.ธงทอง จันทรางศุ ในรายการไทยมุง สามารถสรุปและวิเคราะห์ประเด็น การปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบันของยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงไปคือเนื้อหาการเรียนการสอนและวิธีการสอนซึ่งมีการนำปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนการศึกษาแต่เป้าหมายที่สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาคือการเรียนรู้ไปพร้อมกับเทคโนโลยีและก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง และการศึกษานั้นสามารถทำได้ตลอดชีวิตไม่มีคำว่าแก่เกินเรียน และก็ต้องตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆกันด้วย อีกบทบาทที่สำคัญก็คือผู้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่างๆหรืออาจารย์หรือคุณครูก็ต้องมีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆอย่างถ่องแท้ สามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ มีการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดและแสดงความคิดเห็น

โดยในความเห็นของ รศ.ธงทอง จันทรางศุ ท่านได้มองว่าปัจจุบันนั้นอาจารย์ คุณครูในปัจจุบันนั้นมีภาระค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้งานสอนอาจไม่เต็มที่เท่าที่ควร และยังขาดขวัญกำลังใจในอาชีพ ส่วนท่านอาจารย์จีระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ การทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุผล ”ผ่านมานั้นการปฏิรูปการศึกษาอยู่ภายใต้ระบบราชการ (Bureaucracy) ทุกอย่างต้องตามลำดับขั้นตอน หากลดขั้นตอนหลายขั้นตอนที่ไม่สำคัญลงได้ จะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิรูปการศึกษามากขึ้น ไม่เพียงแค่นั้นผู้บริหารทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อที่บุคลากรทางการศึกษาจะได้มีขวัญกำลังใจกับการทำงานด้านการศึกษาต่อไป

ครั้งที่ 2 เรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ของอาจารย์จีระ

เรื่อง Macro Micro

          ก่อนที่จะมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับประเทศเราควรศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก สภาพแวดล้อมอาจมองได้ถึงโลกาภิวัฒน์ เช่นการเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ หรือนโยบายของประเทศ เช่น ไทยแลนด์ 4.0 ต้องมีการกระตุ้นตื่นตัวในระดับประเทศ ทั้ง Macro และ Micro โดยเฉพาะในปัจจุบันนั้นด้าน Social Media ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมากซึ่งสำคัญสุดคือเยาวชน หากนำไปใช้ไม่ถูกทาง ขาดการไตร่ตรองที่ดีก็ส่งผลให้เยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิดได้

 

 

การทำหนังสือ Chira Way

          ในส่วนของ รุ่น 16 ทางท่านอาจารย์แนะนำให้นักศึกษาเน้นการเขียนและการอ่านเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่ว่าในอนาคตอาจจะได้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อไป เป็นความรู้จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง

แบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

          ความรู้และแนวคิดที่รับจากหนังสือเล่มนี้ คือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ในมุมมองของท่านอาจารย์จีระ มี 2 ระบบ คือ "พันธุ์แท้ที่พัฒนา" กับ "พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา" ซึ่งท่านมองว่าของแท้จะต้องอยู่คงทนและจะมีความคิดใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ (Imaginative) และมีลักษณะของคนหลายความคิด ถ้าเปรียบกับสินค้า ก็จะเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม (Innovation) อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นพันธุ์แท้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำว่า "พันธุ์แท้" จึงหมายถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง ที่สำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาว ไม่ใช่ต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในคน ไม่เพียงแค่นั้นควรนำทฤษฎี 8K’s+5K’s เข้ามาปรับใช้ด้วย

ครั้งที่ 3 เรียนและ workshop เรื่อง 8K 5K

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Human Capital ทุนมนุษย์ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม Intellectual Capital ทุนทางปัญญา Happiness Capital ทุนแห่งความสุข Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน อธิบายว่าความยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องมีความใฝ่รู้ และต้องมี 2 R คือ relevance และ reality Digital Capital ทุนทาง IT Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ Knowledge Capital ทุนทางความรู้ Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ครั้งที่ 4 การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดยงานแบ่งเป็นกลุ่ม

          หนังสือ “8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”    มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนไทย ด้วยในปี 2558 จะมีการเปิดเสรีอาเชี่ยน โดยเฉพาะการก้าวสู่ประชาคมอาเชี่ยนหรือ AEC

8 K’s คือ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital) ทุนทาง IT (Digital Capital) ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital)

5 K’s (ใหม่) คือ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาคุณภาพของ ทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน คือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถฝึกได้และปรับได้ และ มองตรงไปอนาคตว่าทําวันนี้แล้วจะไปสู่ความสําเร็จในระยะยาวหรือไม่

ครั้งที่ 5 HR Architecture  เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่าง ๆ ของอาจารย์

          หลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็น หลักธรรมชาติ หากเรารู้ธรรมชาติของมนุษย์ เราก็จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการและมีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีเป้าหมายชีวิตอยู่ที่ความร่ำรวยมีทรัพย์สินมากมาย บางคนอาจมีเป้าหมายชีวิตอยู่ที่การมีชื่อเสียง มีเกียรติประวัติเป็นที่ยอมรับของสังคม บางคนอาจต้องการใช้ชีวิตที่มีโอกาสค้นหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ หรือบางคนอาจต้องการใช้ชีวิตอย่างสมถะ เหล่านี้ล้วนเป็นความแตกต่างของแต่ละปัจเจกบุคคล นอกจากนั้นก็ยังมีระดับสูงต่ำที่มากน้อยแตกต่างกันด้วย แต่จุดหมายปลายทางไม่แตกต่างกันมากนัก นั่นก็คือ ความสุขและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากเขาพบว่าสิ่งที่เราบริหารจัดการเป็นเส้นทางเดียวกับสิ่งที่จะนำพาเขาไปสู่ความต้องการและเป้าหมายชีวิตนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วย “ใจ” ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง”

ครั้งที่ 6 วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

          วิจารณ์หนังสือพลังแห่งคุณธรรม  จริยธรรม  เรื่องการสร้างเครือข่าย NetworkingCapital โดยดูกรณีศึกษาจากโครงการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา

หนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นหนังสือที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ10ท่านมาสรุปและกลั่นกรองเรื่องความดี คุณธรรม จริยธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในสังคมปัจจุบัน การปลูกฝังทุนทางจริยธรรม และทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อที่ดี มีภูมิปัญญา ซึ่งทุนทางด้านจริยธรรมควรปลูกฝังตั้งแต่แรกเกิด จนไปตลอดชีวิต เพราะอยากได้ผลผลิตที่ดีงาม โดยเริ่มทุกระดับตั้งแต่ต้นเอง-ครอบครัว-องค์กร-ชุมชน ต่อไปยังระดับประเทศ และระดับโลก การมีต้นทุนที่ดีในทางจริยธรรมจะทำให้เกิดความสงบสุข โดยใช้หลักการเหล่านี้ช่วยขัดเกลา สะสมตั้งแต่วัยเด็ก

ครั้งที่ 7 เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge

กรณีศึกษาของ กฟภ.

สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี 4L

4 L’s พารณ Village that Learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

                    School that Learn : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

                    Industry that Learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

                    Nation that Learn :  ชาติแห่งการเรียนรู้

4 L’s จีระ Learning Methodology :  เข้าใจวิธีการเรียนรู้

               Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

               Learning Opportunity : สร้างโอกาสในการเรียนรู้

               Learning  Community : สร้างชุมชนการเรียนรู้

ครั้งที่ 8 การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

          รุ่นที่ 16 ได้แบ่งงานกลุ่มในการนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead  ดังนี้

-บทที่ 2 กลุ่มที่ 1มีการอ้างถึงการเตือนผู้บริหารซึ่งมี 7 อย่างคือ

          -basic math           -difference           -big on data short on analysis           -neglecting table stake           -pride does go before fall           -being to deep in your comfort zone           -moral

-บทที่ 3 กลุ่มที่ 2 มีการนำเสนอตัวอย่างบริษัทที่ไม่พร้อมและต้องปิดกิจการลงเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างในการปฏิบัติงาน เช่นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันกัน ส่งผลให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดของกิจการนั้นๆ ครั้งที่ 9 ไปร้านหนังสือและบ้านอาจารย์

          วันนี้ (29/04/2561) ได้มีการสอบในรายวิชา PHD 8205 เวลา 09.00-11.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และช่วงเวลา 13.00 น. เรานักศึกษา ปริญญาเอก รุ่น 16 ได้มีนัดกับท่านอาจารย์จีระ ที่ร้านหนังสือ Asia Book และร้านหนังสือ KINOKUNIYA ณ ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม และต่อจากนั้นได้รับความกรุณาเมตตาจากท่านอาจารย์จีระให้เข้าร่วมสนทนา ณ บ้านของท่าน ที่ซอยสุขุมวิท 23 (ซอยคาวบอย) ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้การต้อนรับพวกเรา รุ่นที่ 16 อย่างดี มีชา กาแฟและขนมไว้สำหรับเลี้ยงครั้งนี้ด้วย ระหว่างการรับประทานของว่าง ก็ได้มีการสนทนาขอความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท่านอาจารย์จีระหลายประเด็น และท่านได้บอกว่าหากต้องการทราบข้อมูล หรือประเด็นอื่นๆก็สามารถนัดและเข้ามาปรึกษาได้ตลอดเวลา

น.ส.จรวยพร อยู่ประดิษฐ์

สรุปเนื้อหาประเด็นความรู้ที่ได้รับในการเรียนรู้ (จำนวน 9 ครั้ง)หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 16 ในรายวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม

ครั้งที่  1  ปฐมบทการเรียนรู้  และประเด็นกรณีศึกษาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเมืองไทย

        อาจารย์จีระ ได้แนะนำเรื่องวิธีการศึกษาเรียนรู้ในระดับปริญญาเอกว่า ต้องมีวิธีการเรียนอย่างไร ความรู้ที่เกิดขึ้นในห้องนี้เกิดจากความรู้ที่เกิดในห้องและนอกห้องด้วย ข้อดีของหลักสูตรนี้ คือ ต่อเนื่อง  และให้นักศึกษาแต่ละคนแนะนำตัว หน้าที่การทำงาน และงานวิจัยที่นักศึกษาแต่ละคนอยากทำ  ท่านอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยของแต่ละท่าน และได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคอร์ส Outline ว่าในแต่ละอาทิตย์ มีการศึกษาและเรียนอย่างไรบ้าง โดยท่านได้แนะนำหนังสือที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอน ได้แก่ HR แฟนพันธ์แท้พลังแห่งคุณธรม8K's 5K's และกล่าวถึงทฤษฎี Chira Way  แนะนำสถาบันของท่าน Chira Academy  ซึ่งอาณาจักรของความรู้และขุมทรัพย์ทางปัญญาในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติ สามารถศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่  www.ChiraAcademy.com        

การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในทัศนะของอาจารย์จีระ และอาจารย์ธงทอง ในการเตรียมความพร้อมเยาวชนให้พวกเขาเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพและทักษะแห่งอนาคตคือ หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทยด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามโมเดลการพัฒนาประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” สรุปได้ดังนี้

หากจะปฏิรูปประเทศไทยควรต้องปฏิรูปการศึกษา แต่ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาของไทยมีโครงร้างที่ไม่แน่นอนและทำแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น สิ่งสำคัญ ควรปลูกฝังให้คนมีค่านิยม (Value) และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ สำหรับอาจารย์ธงทอง ท่านมอง 3 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้ คือ 1.การบริหารจัดการ 2.การบริหารเม็ดเงิน และ 3.เรื่องครูผู้สอน ท่านกล่าวว่า เด็กไทยเรียนมากไปหรือไม่ หากเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกจับใส่เข้าไปในหลักสูตร เพื่อให้เด็กเรียน สุดท้ายเด็กได้อะไร เด็กเรียนหนักไปหรือไม่ ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กเกิด Life skill หรือ Job skill เมื่อมามองปัญหาด้านครูผู้สอน ในเรื่องจิตวิญญาณของความเป็นครู การใฝ่รู้ (Learning Methodology) การขาดขวัญและกำลังใจ ทำให้ความกระตือรือร้นของครูลดน้อยลง วิธีการสอนที่ครูขาดก็คือ การกระตุ้นให้เด็กได้รู้จักแสดงความคิดเห็น และการทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 

สำหรับอาจารย์ธงทอง ท่านมองว่า ปัญหาปัจจุบันนี้ ครูต้องทำงานเอกสารมากมายจนไม่มีเวลามาสร้างสรรค์งานสอน ขาดแรงจูงใจ ขาดขวัญกำลังใจ ซึ่งอาจารย์จีระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ การทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุผล ” 

ในอดีต การเรียนการสอน มีแค่กระดาน ชอล์ก ห้องสมุด ก็เพียงพอแล้ว แต่ปัจจุบัน ในยุคการปฏิรูปการศึกษาไทย (ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0) ต้องทำแบบจริงจัง และร่วมกันใช้ศักยภาพของคนในสังคมผนึกกำลังกัน นำ Technology Computer และ Program ดีๆ มาใช้จึงจะสัมฤทธิ์ผล ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาอยู่ภายใต้ระบบราชการ (Bureaucracy) ทุกสิ่งทุกอย่างต้องขึ้นตรงตามลำดับขั้นที่เป็น Command control หากลดขั้นตอนตรงจุดนี้ได้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิรูปการศึกษาไทย อีกประเด็น คือ การฝึกภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารการศึกษาให้ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการเม็ดเงินให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์แบบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น มองเห็นคุณค่าของครูผู้สอน ให้เกียรติ ให้อิสระทางความคิดด้านวิชาการ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมกับครูผู้สอนได้ใช้ระบบ e-learning จัดทำโครงการ Training the trainer ฝึกให้ครูรุ่นใหม่สามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง นำออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ฝึกให้มีทักษะการเจรจาต่อรอง นำไปบูรณาการได้ ให้การยกย่องครู พัฒนาครู สร้างครูให้เป็นครูเพราะใจรักจริงๆ ทั้งหมดคือบทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศไทย หรือ อาจเขียนเป็นตัวแบบสมการเชิงปริมาณทางความคิดได้ดังนี้ คือ ปฏิรูปประเทศไทย = ปฏิรูปการศึกษา

 

ครั้งที่ 2 ทฤษฎี ChiraWay ที่เชื่อมโยงกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ 

 ChiraWay  คือ แนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษในการดำเนินงานวิชาการ และ การทำงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับทุนมนุษย์ไทยของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดย ChiraWay สรุปย่อได้จากกรอบแนวคิดและปรัชญาพื้นฐานด้านทุนมนุษย์ของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทฤษฎีเน้น 3 เสาหลัก ที่เป็นปรัชญาขั้นมูลฐาน ได้แก่ การปลูก (Cultivation ) การเก็บเกี่ยว (Harvesting) และ การทำให้สำเร็จ (Excecution) ซึ่งสามารถจำแนกรายละเอียดได้ ดังนี้

การปลูก ได้แก่ ทฤษฎี  3 วงกลม ทฤษฎี 8k’s 5k’s ทฤษฎีการเรียนรู้ 4L’s และ 3L’s 

การเก็บเกี่ยว ได้แก่ ทฤษฎี 2R’s ทฤษฎี 2I’s ทฤษฎี HRDS ทฤษฎี 3 วงกลม

การเอาชนะอุปสรรค หรือ การทำให้สำเร็จ ได้แก่ ทฤษฎี 3V ทฤษฎี CUV ทฤษฎี C&E

ทั้งนี้ ChiraWay  เกิดจากรหัสพันธุกรรมภายใต้การพัฒนาของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่พัฒนาต่อเนื่องด้วยตัวของท่านเอง และแนวคิดรวมถึงประสบการณ์อันแตกต่างหลากหลายของบรรดาลูกศิษย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นรูปแบบที่ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ยึดมั่นและสร้างสรรค์ให้เกิดการพัฒนาใหม่ ๆ เพื่อสามารถนำไปจัดการทุนมนุษย์ไทยให้เผชิญญาความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งเวทีภายในประเทศ และ เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเป็นแผนภาพดังปรากฏในภาพ 

 

ครั้งที่ 3 เรียนรู้ทฤษฎี 8K’s 5K’s

ทุนมนุษย์เกิดในสมัย ProfGary Becker นักเศรษฐศาสตร์เขียนทฤษฏีทุนมนุษย์จาก University of Chicago ซึ่งได้รับรางวัล Nobel สาขาเศรษฐศาสตร์ ทุนมนุษย์เป็น 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ในปัจจุบัน พบว่าประเทศไทยมีปัญหาด้านการพัฒนาคน อาจเนื่องมาจากมีทรัพยากรอื่น  มากเกินไป ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 1-5 ให้ความสำคัญกับการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จนมีคำพูดว่า  ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ทั้งนี้  พบว่ากระทรวงเกษตรฯใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด แต่ประชากรในภาคเกษตรยังคงมีความยากจน 

ทุนมนุษย์ต้องมองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร (Micro) ทั้งนี้ควรทราบโมเดล HR Architecture เป็นพื้นฐานก่อน ซึ่ง  HR Architecture เป็นโมเดลที่ศึกษาถึงปัจจัยด้านต่าง  ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์โดยครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตายเช่น การศึกษากลุ่มประชากรภายหลังเกษียณอายุ โดยเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ที่มีงานทำและไม่มีงานทำ ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพที่กล่าวถึงคน ดังนั้นจะปรากฏอยู่ในทุกทุน และมีความเกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม คนที่ประสบความสำเร็จและถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ท่านสีจิ้นผิง อดีตประธานาธิบดีประเทศจีนเคยบอกว่า ต้องการให้ประชาชนชาวจีนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นมืออาชีพ ไม่เหมือนกับการได้รับปริญญา คนที่ได้รับปริญญาอาจทำอะไรไม่เป็น เป็นต้น  

ประเด็นสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ คือ 1.การปลูกLifelong Learning การเรียนรู้ทำได้ทุกวัย ทุกช่วงเวลา   2. การเก็บเกี่ยว เป็นเพราะแต่ละคนมีความสามารถไม่เท่ากัน แต่องค์กรจะนำมาใช้หรือดึงเอาศักยภาพออกมาใช้ได้มากเพียงใด 3.การ Execution การเอาชนะอุปสรรค คือการทำอย่างต่อเนื่อง ทำจากสิ่งเล็กๆให้สำเร็จก่อน และสามารถนำมาเชื่อมโยงกับ HR Architecture ดังที่กล่าวข้างต้นได้เช่นกัน ซึ่งนำมาสู่ทฤษฎีที่สำคัญ คือ ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี HRDS ดังนั้น ทุนมนุษย์ 8k5kเป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นความจริงและตรงประเด็น

เนื้อหา 8Ks: ทฤษฎีทุน 8 ประเภท เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

1. Human Capitalทุนมนุษย์
2. Intellectual Capitalทุนทางปัญญา
3. Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม
4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
5. Social Capitalทุนทางสังคม
6. Sustainability Capital     ทุนแห่งความยั่งยืน
7. Digital Capitalทุนทาง IT
8. Talented Capital         ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

เนื้อหา 5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นเครื่องมือ สร้างความได้เปรียบและแตกต่างของคนไทยเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก และ เศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย

1.Creativity Capital (ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์) 

2.Knowledge Capital (ทุนแห่งความรู้)

3.Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)

4.Culture Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)

5.Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)

 

ครั้งที่ การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือ “8 K’s + K’s: ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่อาจารย์จีระ ่านตั้งใจที่จะถ่ายทอดแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทยรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียน     โดยเฉพาะการก้าวสู่  “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC” เป็นโจทย์ที่ ท้าทายและน่าสนใจสำหรับประเทศไทย  เพราะคนไทยหรือสังคมไทยจะได้รับโอกาส ประโยชน์หรือความเสี่ยงนั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่คุณภาพของทุนมนุษย์ของเราว่ามีความสามารถในการแข่งขันที่เพียงพอหรือไม่ ?  ดังนั้น  ทฤษฏี 4Ls จึงเข้ามามีบทบาทในเรื่อง Learning How to Lern ซึ่งเป็นทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไม่น้อยไปกว่าทฤษฏีอื่นๆ ที่มีวิธีการ/กระบวน การพัฒนา “คน” ให้เป็นเลิศเช่นกันซึ่ง 4Ls ประกอบด้วย

1. Learning Methodology : มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี  ทันสมัยทั้งหลักสูตรและเนื้อหา มีวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  เพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity &Innovation)
3. Learning Opportunities : สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายและหุ้นส่วนทางปัญญา
4. Learning communities : สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้   เริ่มจากห้องเรียนขยายออกไป ซึ่งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำทฤษฏีดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับหน่วยงานใหญ่  หลายแห่งจนประสบผลสำเร็จ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

เราต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจในช่องว่างของประชาคมอาเซียนในเรื่องขีดความสามารถของการแข่งขัน และการบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้เรามีแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงการพิจารณาในเรื่องของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ บูรณาการเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในบริบทของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญในปัจจัยเรื่องความยั่งยืน การพัฒนาขีดความสามารถ การประสานความร่วมมือ และการพัฒนาในระดับฐานรากตั้งแต่ในระดับชุมชน 

การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยย่อยที่เป็นฐานราก โดยไม่ละทิ้งการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การพัฒนาต้องอาศัยการลงไปสำรวจและศึกษาอย่างจริงจัง มีการวัดผลของการพัฒนา และการพัฒนานั้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  สรุป ทุนที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น หนังสือ 8K’s จึงสอนให้เรามีคุณสมบัติที่ดี   ถ้าลงทุนไปแล้ว 10 บาท คืนสังคม 20 บาท แสดงว่าการลงทุนโอเค สรุป คือ ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการลงทุน แต่อยู่ที่วิธีการลงทุน   

สิ่งสำคัญคือ

1.ต้องเข้าใจประเทศเหล่านี้มากขึ้น เพื่อมีความสัมพันธ์กับเขา 3 เรื่อง คือ

เรื่อง เศรษฐกิจ

ความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม และ

ความมั่นคงทางการเมือง

2. ถ้าคนในบ้านในประเทศไทย เป็นคนดี คนเก่งเราจะอยู่ได้  ศักยภาพของคนในบ้าน ต้องมี 8K’s ,5K’s เราจะอยู่รอด แต่ถ้าเราเปิดอาเซียนเสรี แล้วสื่อสารไม่ได้ เราก็จะแพ้ ดังนั้น  สิ่งสำคัญคือเรื่องการสื่อสารภาษาต่างประเทศ

3. การที่เราอยู่อาเซียนมีการเซ็นสัญญากับประเทศอีก 6ประเทศเพิ่มเติมคือ จีน ญี่ปุน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  สรุป คือ ต้องรีบศึกษาเรื่องทฤษฎี ทุนมนุษย์ 8K’s เพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคมไทย

 

การปรับตัวในวันนี้

1.สิ่งแรกคือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ ขยายตลาดจาก 60 ล้าน เป็น 600 ล้านคน

2.ต้องรู้จักตัวเองว่าเก่งอะไร  คนไทยต้องรู้จักคนไทยด้วยกันเอง

3.การมี 8K’s 5K’s ได้ ต้องเป็นคนใฝ่รู้   เราต้องรู้เขา รู้เรา เช่น ว่าเพราะอะไรประเทศฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะ  ดังนั้นเวลาเราเห็นเขา เราต้องเรียนรู้กับเขา และเขาต้องเรียนรู้จากเรา ดังนั้นควรเรียนรู้ภาษาเพื่อสื่อสารได้

4.ต้องศึกษาทฤษฎี ทุน 8K’s  5K’s

(การใช้ชีวิตที่ยั่งยืน คือ วิธีการ ทุนมนุษย์คือตัวเรา จะฝังอยู่ในตัวเรา คนเราต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ต้องพร้อมว่าสถานการณ์ในโลกเปลี่ยนทุกวัน อย่าล้าสมัย ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลง เราต้องคิดระยะสั้นเพื่ออยู่รอดในระยะยาว) 

(ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ เป็นตัวบ่งบอกว่าเราจะเก่งจริงได้หรือไม่ ตัวอย่าง ไทเกอร์วู้ดส์ มีทักษะดี ความรู้ ใจนิ่ง แต่ความสำเร็จของคนเก่งไม่เท่ากัน ทัศนคติที่ดีคือ Attitude หรือ Mindset คือสิ่งที่เราต่อสู้ในโลกนี้)

สิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนและศึกษาของมนุษย์คือ Learning how to learn เรียนอะไร วิเคราะห์อะไร เอาไปใช้ได้จริงหรือไม่   เรียนแล้วจะทำอะไร

1. อาจารย์ที่ดีต้องกระตุ้นให้เด็กคิด

2. ต้องกระตุ้นให้เรียนมีความสุข มีบรรยากาศที่ดี

3. การเรียนไม่ควรท่องจำมากเกินไป ควรมีการปะทะกันทางปัญญามากขึ้น โลกในอนาคตจะไม่มี 1+1 =2 อีกต่อไป แต่ต้องเป็น 1+1 = 100 เป็นต้น และคำถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำถามเปิด เช่นประเทศไทยอีก 20 ปีจะเป็นอย่างไร  Education คือคิดเป็นวิเคราะห์เป็น

4.ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ และข้ามศาสตร์

มีทุนอยู่ 4 ชนิด คือ เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ ถ้ามีทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จะสามารถจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้

 

ครั้งที่ 5 HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่างๆ ของอาจารย์

HR Architecture เป็นการออกแบบองค์ประกอบของระบบ วิธีปฏิบัติ สมรรถนะที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาและการบริหารจัดการพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ทั้งในภาพใหญ่ (ประเทศ สังคมและชุมชน) และระดับองค์กร

HR Architecture ซึ่งในภาพประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ด้านแรก คือ ด้านอุปสงค์ที่เริ่มตั้งแต่ประชากรเกิดผ่านระบบการพัฒนาจากสถาบันต่างๆก่อให้เกิดสมรรถนะสำคัญของการเป็นกำลังแรงงานและประชาชนที่มีคุณค่าเพื่อป้อนเข้าสู่ด้านอุปทาน  และด้านที่สอง คือ ด้านอุปทาน ซึ่งเป็นอุปทานของแรงงานภาคต่าง  ที่รับเอากำลังแรงงานและประชาชนที่มีคุณค่าเข้าสู่ระบบงานรวมถึงการเป็นผู้ประกอบการอิสระ ซึ่งการทำงานของกลุ่มแรงงานและประชาชนก่อให้เกิดความเข้มแข็งของประเทศในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความสุขและความสมดุล รูปแบบดังกล่าวแสดงดังภาพ 

การขยาย HR Architecture จากแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้สามารถตั้งคำถามสำหรับการสืบค้นและอภิปรายต่อเนื่องว่า ภาครัฐจะมีแนวคิดของ HR Architecture อย่างไร ปัจจุบันมีช่วงห่างใดบ้างที่ต้องเติมหรือปิดระหว่าง HR Architecture ที่ต้องการกับที่เป็นอยู่จริง และ HR Architecture จะส่งผลอย่างไรกับการออกแบบระบบบริการพื้นฐานของรัฐเพื่อให้ได้กำลังแรงงานและประชาชนที่มีคุณภาพเพื่อเป็นทุนมนุษย์ของคนไทย

 

ครั้งที่ 6 วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม และการสร้างเครือข่าย Networking

 

 

 

 

 

 

 

 

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม :พลังขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพ ด้วยคุณธรรม จริยธรรม และความดีงามของคนในชาติ โดยภาพรวมของหนังสือ :ประกอบด้วยแนวคิด หรือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศทั้งนักคิด นักปฏิบัติจำนวน. 10 ท่าน ในประเด็นคุณงาม ความดีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่มีต่อ 4 อดีตอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ โดยท่านเริ่มความคิดเรื่องพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีความรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่ หาทางออกยาก จึงได้ใช้หลักการปลูกฝังทุนทางวัฒนธรรมและจริยธรรม ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)       1. ระบบความเชื่อ 2. ภูมิปัญญา 3. จารีตประเพณี 4. การเรียนรู้(ครอบครัววัดปราชญ์) 5. ค่านิยม 6. ข้อห้าม ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิด การเป็น Role Model ให้กับ ผู้นำ และนักการเมือง โดยเฉพาะ “ผู้นำทางการเมือง”  ซึ่งท่านทั้งสี่มี “ความกล้าหาญ ด้านคุณธรรมจริยธรรม” เป็นอย่างยิ่ง 

บทสรุปที่ได้รับ :ประเทศไทยวันนี้ จะต้องขับเคลื่อน ไปด้วยพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ทุกระดับ ตั้งแต่ – ตัวเราเอง – ครอบครัว – องค์กร – ชุมชน สังคม – ระดับประเทศ – ระดับโลก โดยเฉพาะ คุณธรรม จริยธรรม ต้องเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำทางการเมือง  เนื่องจากการเมืองมีเรื่องผลประโยชน์อยู่มากมาย 

 

การสร้างเครือข่าย Networking Capital กรณีศึกษา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

รูปแบบการท่องเที่ยวบูรณาการ 5 จังหวัด เชื่อมโยงสู่อาเซียน เพื่อยกระดับสู่สากล ให้ความสำคัญเรื่องการปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว บริหาร ลงมือทำให้เกิดผลเร็ว เป็นการพัฒนาการท่องเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้หากการท่องเที่ยวไทยจะไปสู่อาเชี่ยนบวก 6คุณภาพต้องดี ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่อาศัยความร่วมมือนอกมาจากภาครัฐแล้ว คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมด้วย มีการสร้างเครือข่าย มีภาวะผู้นำ ต้องมองความจริง และตรงประเด็น 

บทสรุปที่ได้รับ การสร้างเครือข่าย เป็นการลงทุนที่ถูกที่สุดโดยทั้งนี้ต้องก่อให้ชุมชนเครือข่ายมีความยั่งยืน เมื่อกลับออกมาแล้ว เราทำอะไรให้ชุมชน สังคมเพื่อให้ยืนอยู่ได้ด้วยองค์ความรู้ที่มอบให้ 

 

ครั้งที่ 7 เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge กรณีศึกษากฟภ. และสังคมการเรียนรู้ทฤษฎี 4 L’s

การพัฒนาองค์กรการเรียนรู้

             อาจารย์จีระได้กล่าวว่าการมี Knowledge แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่มี Learning Organization ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organization ได้ เริ่มที่การเก็บความรู้มีทั้ง Tacit (ความรู้ในตัวบุคคล) และ Explicit (ความรู้ที่เขียนออกมาเป็นผลงานและยุทธศาสตร์) ต้องมี Tacit Interview ช่วยเก็บข้อมูลเพื่อเปลี่ยน Tacit เป็น Explicit เพราะมูลค่าองค์กรมาจาก Tacit ถ้าองค์กรใดก็ตาม เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร และสามารถแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เท่ากับเป็นการเพิ่ม KM 

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าจะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้ จะต้องเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)  จาก Good อาจจะไปสู่ Great พนักงานจะภูมิใจและมีความสุขในการทางาน การทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต องค์กรส่วนใหญ่มี Training แต่เราไม่ค่อยจะมี Learning Learning ถ้ามี Training Training เราไม่ได้ไปสร้าง Change Value added Value added กระจายไม่ทุกกลุ่ม ผู้บริหารระดับสูงในอดีตยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง และไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ต่อการเรียนปริญญาเอกต้องลึกและรู้เรื่อง คำนึงถึงภูมิสังคม ทำงานแล้วต้องมีการถ่ายทอด ประสานงาน บูรณาการ มีความเป็นเจ้าของ รู้จริง รักงาน ทำงานเป็นทีม 

การสัมภาษณ์ Perter Senge : การเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือกัน  รู้แจ้งรู้จริง อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง มีเหตุผล เรียนรู้จาก การcomplain ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน จึงเกิดการเรียน อาจเปรียบได้กับทฤษฏีการเรียนรู้ที่อยู่ในวัฒนธรรมไทย ที่เกิดการเรียนรู้ในสังคมไทยได้ Perter มีความเข้าใจเรื่องศักยภาพจากภายใน

ถามว่า : การเรียน สำคัญอย่างไร คำตอบ : การเรียนรู้เกิดจากความประสงค์ที่จะทำ (Aspiration) ตัวเราต้องเห็นความสำคัญ (เหมือนทฤษฏี2r รู้ความจริง (Really)และตรงประเด็น (Relevant) ต้องเลือกประเด็น และจับเรื่องให้ถูก)

กรณีศึกษาของ กฟภ. : สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี 4Ls :สังคมหรือองค์กรที่มีการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้น ต้องมีปัจจัยเกี่ยวกับต้องมีการสร้างวิธีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น มีบรรยากาศทื่เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งองค์กรต้องเปิดโอกาส เช่น มีเวทีการ Sharing การให้รางวัล นเกิดเป็นชุมชนสังคมที่มีการเรียนรู้

บทสรุปที่ได้รับ : แนวคิดของ Perter และ ดร.จีระ คิดเรื่องการเรียนรู้เริ่มจากตัวบุคคล จึงเกิดองค์กรเรียนรู้ ต้องมีระบบการจัดเก็บที่ดี การนำไปใช้ ที่สำคัญองค์กรต้องมีการ share knowledge/ความคิด การคิดและการทำงานเป็นทีม

 

ครั้งที่ 8 การนำเสนอหนังสือ Shift Ahead

 

 

 

 

 

 

นำเสนอหนังสือ Shift Ahead บทที่ 2 และ 3 

บริษัทที่เคยสำเร็จแต่มีสิ่งกีดขวางทำให้ตกลงแล้วปิดตัว โกดักเรียนรู้เทคโนโลยีที่เข้ามา แต่ไม่กล้าจ่ายในเรื่องสินค้า นั่นคือ มองเห็นการมาของดิจิตอล ไม่คิดว่าเป็นวิกฤติกระทบการถ่ายภาพ Steven และวิศวกรโกดักคิดค้นกล้องดิจิตอลแต่ไม่ผลิตออกมา ใช้กล้องธรรมดาล้างอัดรูป ทำให้โกดักปิดตัวลง เกี่ยวอะไรกับ 2R’s ไม่สามารถเปลี่ยน Irrelevance to Relevance แสดงว่า มีเรื่อง เวลา สินค้า บริการและลูกค้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้เรื่องทุนมนุษย์ให้เหมาะสม ถ้าตอบสนองลูกค้าไม่ทัน ก็ต้องปิดตัวลง มหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรให้ทันเหตุการณ์ Relevance ขึ้นกับเวลาด้วย 

           โกดัก คิดค้นได้แต่ไม่มีการประดิษฐ์สินค้าขึ้น Xerox ตกต่ำเรื่องถ่ายภาพ เมื่อเห็นวัตกรรม ก็ไม่กล้าเข้าไปมาก ก็ทำเฉพาะขาวดำเท่านั้น เมื่อมีการพิมพ์นามบัตรสีและเทคโนโลยีใหม่มาก็ไม่กล้าลงทุน ทำให้หยุดตัวเองในการเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่ 

           Toys “R” Us ล้มเพราะการมาของเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทรกการดำเนินการ บริษัทมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ แต่การเลือกสินค้าพลาด ปรับราคาสูง การแข่งขันของตลาดสูงขึ้น การออกแบบสินค้าทำให้ต้องปิดตัวลง 

7 สัญญาณมีดังนี้ 

1.ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง กำไร ขาดทุน ถ้า Stable  หรือลด ก็มีปัญหาเพราะกำลังตาย อย่าละเลยตัวเลข ต้องดูสาเหตุแล้วแก้ปัญหาทันที เป็นความเป็นจริงที่ต้องเห็น แล้วต้องเปลี่ยน 

2.แข่งขันด้วยราคาไม่ใช่คุณภาพสินค้า ทำให้คุณค่าลด ต้องตามราคาของคนอื่น ทำให้ต้องเปลี่ยน 

3.มีการรวบรวมข้อมูลแต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์ไม่เป็น ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ถูกและเร็วพอ 

4.ละเลยกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่สนใจลูกค้า คู่ค้า เช่น โดมิโน่พิซซ่าละเลยรสชาติ เพราะต้องดูหลายธุรกิจ ธุรกิจอาหารต้องมีรสชาติดี แต่ที่อื่นดีกว่า แสดงว่าอย่าเน้นแค่จุดเดียวเท่านั้น 

5.ความหยิ่งทะนงว่าดีแล้วทำให้เราล้มเอง เช่น โนเกียเคยเป็นผู้นำด้านมือถือเป็นรายแรกที่คิดกล้องมือถือ เมื่อมีไอโฟนเข้ามา แต่โนเกียไม่คิดว่าเป็นคู่แข่ง ไม่มองรอบข้าง ในที่สุดจึงล้ม เพราะไม่เปลี่ยนตามที่มีข้อมูล 

6.ที่เป็นอยู่ก็ดีแล้ว ไม่อยากเปลี่ยน ไม่สนใจเปลี่ยน จึงไม่ Relevance เช่น Campbell ทำซุปสำเร็จรูป มีแบรนด์แข็งแกร่งมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเน้นอาหารสุขภาพจากธรรมชาติ เปลี่ยนโครงสร้างประชากร คนแก่มากขึ้นสนใจสุขภาพ อาหารกระป๋องต้องปรับตัว แต่บริษัทขยับตัวช้า เริ่มลดผงชูรส แต่ช่วยไม่ได้มาก จึงขยายไปผักไฮโดร ผู้บริหารต้องตระหนักความเปลี่ยนแปลง 

7.ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ในส่วนบุคคลในบริษัท) ผู้นำต้องให้ความสำคัญทุกคนเพราะทุกคนมีบทบาทสำคัญ 

 

ครั้งที่ 9 เยี่ยมชมร้านหนังสือ Asia Book & Kinokuniya และสนทนาที่บ้านอาจารย์จีระ

หลังจากสอบ Final วิชา PHD 8205 เรียบร้อย ช่วงบ่ายศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานกรุณาให้เกียรตินักศึกษาป.เอก Ph. D Innovation Management รุ่น 16 จำนวน 14 คน ได้มีโอกาสเยี่ยมชมร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค สาขาเอ็มโพเรียม ร้านหนังสือ KINOKUNIYA ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ จากนั้นได้กรุณาให้เกียรติเลี้ยงน้ำชาต้อนรับและสนทนาที่บ้านอาจารย์ เลชที่ 10 ซอยสุขุมวิท 23 

         ช่วงบ่ายโมงเดินทางไปที่ Asia Book เพื่อเยี่ยมชมร้านหนังสือ โดยท่านอาจารย์จีระให้การต้อนรับและท่านฝากประเด็นเรื่องการเข้าร้านหนังสือบ่อย  เป็นสิ่งที่ดีทำให้เราสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และผู้จัดการร้านมาให้คำแนะนำหนังสือใหม่ ๆ ทางด้าน Business เช่น Blockchain หลังจากนั้น เดินทางไปร้านหนังสือ Kinokuniya ซึ่งมีหนังสือมากมายให้เลือกอ่าน ต่อจากนั้นได้เดินทางไปบ้านอาจารย์จีระ เยี่ยมชมบ้านและได้มีโอกาสสนทนาที่กับท่านแบบบรรยากาศกันเอง  สบาย ๆ ท่านต้อนรับด้วยอาหารว่าง และสนทนาอย่างเป็นกันเอง ด้วยประเด็นที่หลากหลาย มีทั้งความรัก ความเมตตาที่ให้กับพวกเรา ด้วยวิธีการสอนให้ฝึกคิด วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการยกทฤษฏี JIRA Ways ประกอบกับ Case Study ที่เกิดขึ้นจริงและตรงประเด็น มีความเป็นไปได้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนที่ผ่านมาตลอดเกือบสี่เดือนเต็ม ความรู้ที่ลูกศิษย์ได้รับจากอาจารย์ซึ่งพร้อมจะเป็นผู้ให้ตลอดไปแม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เรียนกับอาจารย์อีกก็ตาม จะสามารถเข้าพบได้ตามความเหมาะสม ฝากแนวคิดการเรียน การสอนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบสมัยใหม่พร้อมกับทีมงานอาจารย์ที่มีศักยภาพ ก่อนกลับทางนักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านอาจารย์จีระ และทีมงาน  ด้วยความระลึกในบุญคุณของการอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์ ได้เสริมสร้างศักยภาพที่แต่ละคนพึงจะมีที่พร้อมจะจบเป็นดุษฏีบัณฑิตที่ยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไปด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

********************************************

น.ส.จรวยพร อยู่ประดิษฐ์

สรุปเนื้อหาประเด็นความรู้ที่ได้รับในการเรียนรู้ (จำนวน 9 ครั้ง)หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 16 ในรายวิชา PHD 8205 การจัดการทุนมนุษย์ และทุนสังคม

ครั้งที่  1  ปฐมบทการเรียนรู้  และประเด็นกรณีศึกษาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเมืองไทย

        อาจารย์จีระ ได้แนะนำเรื่องวิธีการศึกษาเรียนรู้ในระดับปริญญาเอกว่า ต้องมีวิธีการเรียนอย่างไร ความรู้ที่เกิดขึ้นในห้องนี้เกิดจากความรู้ที่เกิดในห้องและนอกห้องด้วย ข้อดีของหลักสูตรนี้ คือ ต่อเนื่อง  และให้นักศึกษาแต่ละคนแนะนำตัว หน้าที่การทำงาน และงานวิจัยที่นักศึกษาแต่ละคนอยากทำ  ท่านอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยของแต่ละท่าน และได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคอร์ส Outline ว่าในแต่ละอาทิตย์ มีการศึกษาและเรียนอย่างไรบ้าง โดยท่านได้แนะนำหนังสือที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอน ได้แก่ HR แฟนพันธ์แท้พลังแห่งคุณธรม8K's 5K's และกล่าวถึงทฤษฎี Chira Way  แนะนำสถาบันของท่าน Chira Academy  ซึ่งอาณาจักรของความรู้และขุมทรัพย์ทางปัญญาในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติ สามารถศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่  www.ChiraAcademy.com        

การปฏิรูปการศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในทัศนะของอาจารย์จีระ และอาจารย์ธงทอง ในการเตรียมความพร้อมเยาวชนให้พวกเขาเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพและทักษะแห่งอนาคตคือ หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทยด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามโมเดลการพัฒนาประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” สรุปได้ดังนี้

หากจะปฏิรูปประเทศไทยควรต้องปฏิรูปการศึกษา แต่ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาของไทยมีโครงร้างที่ไม่แน่นอนและทำแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น สิ่งสำคัญ ควรปลูกฝังให้คนมีค่านิยม (Value) และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ สำหรับอาจารย์ธงทอง ท่านมอง 3 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้ คือ 1.การบริหารจัดการ 2.การบริหารเม็ดเงิน และ 3.เรื่องครูผู้สอน ท่านกล่าวว่า เด็กไทยเรียนมากไปหรือไม่ หากเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกจับใส่เข้าไปในหลักสูตร เพื่อให้เด็กเรียน สุดท้ายเด็กได้อะไร เด็กเรียนหนักไปหรือไม่ ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กเกิด Life skill หรือ Job skill เมื่อมามองปัญหาด้านครูผู้สอน ในเรื่องจิตวิญญาณของความเป็นครู การใฝ่รู้ (Learning Methodology) การขาดขวัญและกำลังใจ ทำให้ความกระตือรือร้นของครูลดน้อยลง วิธีการสอนที่ครูขาดก็คือ การกระตุ้นให้เด็กได้รู้จักแสดงความคิดเห็น และการทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 

สำหรับอาจารย์ธงทอง ท่านมองว่า ปัญหาปัจจุบันนี้ ครูต้องทำงานเอกสารมากมายจนไม่มีเวลามาสร้างสรรค์งานสอน ขาดแรงจูงใจ ขาดขวัญกำลังใจ ซึ่งอาจารย์จีระได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ การทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุผล ” 

ในอดีต การเรียนการสอน มีแค่กระดาน ชอล์ก ห้องสมุด ก็เพียงพอแล้ว แต่ปัจจุบัน ในยุคการปฏิรูปการศึกษาไทย (ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0) ต้องทำแบบจริงจัง และร่วมกันใช้ศักยภาพของคนในสังคมผนึกกำลังกัน นำ Technology Computer และ Program ดีๆ มาใช้จึงจะสัมฤทธิ์ผล ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาอยู่ภายใต้ระบบราชการ (Bureaucracy) ทุกสิ่งทุกอย่างต้องขึ้นตรงตามลำดับขั้นที่เป็น Command control หากลดขั้นตอนตรงจุดนี้ได้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิรูปการศึกษาไทย อีกประเด็น คือ การฝึกภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารการศึกษาให้ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการเม็ดเงินให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์แบบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น มองเห็นคุณค่าของครูผู้สอน ให้เกียรติ ให้อิสระทางความคิดด้านวิชาการ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมกับครูผู้สอนได้ใช้ระบบ e-learning จัดทำโครงการ Training the trainer ฝึกให้ครูรุ่นใหม่สามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง นำออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ฝึกให้มีทักษะการเจรจาต่อรอง นำไปบูรณาการได้ ให้การยกย่องครู พัฒนาครู สร้างครูให้เป็นครูเพราะใจรักจริงๆ ทั้งหมดคือบทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศไทย หรือ อาจเขียนเป็นตัวแบบสมการเชิงปริมาณทางความคิดได้ดังนี้ คือ ปฏิรูปประเทศไทย = ปฏิรูปการศึกษา

 

ครั้งที่ 2 ทฤษฎี ChiraWay ที่เชื่อมโยงกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ 

 ChiraWay  คือ แนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษในการดำเนินงานวิชาการ และ การทำงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับทุนมนุษย์ไทยของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดย ChiraWay สรุปย่อได้จากกรอบแนวคิดและปรัชญาพื้นฐานด้านทุนมนุษย์ของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทฤษฎีเน้น 3 เสาหลัก ที่เป็นปรัชญาขั้นมูลฐาน ได้แก่ การปลูก (Cultivation ) การเก็บเกี่ยว (Harvesting) และ การทำให้สำเร็จ (Excecution) ซึ่งสามารถจำแนกรายละเอียดได้ ดังนี้

การปลูก ได้แก่ ทฤษฎี  3 วงกลม ทฤษฎี 8k’s 5k’s ทฤษฎีการเรียนรู้ 4L’s และ 3L’s 

การเก็บเกี่ยว ได้แก่ ทฤษฎี 2R’s ทฤษฎี 2I’s ทฤษฎี HRDS ทฤษฎี 3 วงกลม

การเอาชนะอุปสรรค หรือ การทำให้สำเร็จ ได้แก่ ทฤษฎี 3V ทฤษฎี CUV ทฤษฎี C&E

ทั้งนี้ ChiraWay  เกิดจากรหัสพันธุกรรมภายใต้การพัฒนาของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่พัฒนาต่อเนื่องด้วยตัวของท่านเอง และแนวคิดรวมถึงประสบการณ์อันแตกต่างหลากหลายของบรรดาลูกศิษย์ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นรูปแบบที่ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ยึดมั่นและสร้างสรรค์ให้เกิดการพัฒนาใหม่ ๆ เพื่อสามารถนำไปจัดการทุนมนุษย์ไทยให้เผชิญญาความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งเวทีภายในประเทศ และ เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเป็นแผนภาพดังปรากฏในภาพ 

 

ครั้งที่ 3 เรียนรู้ทฤษฎี 8K’s 5K’s

ทุนมนุษย์เกิดในสมัย ProfGary Becker นักเศรษฐศาสตร์เขียนทฤษฏีทุนมนุษย์จาก University of Chicago ซึ่งได้รับรางวัล Nobel สาขาเศรษฐศาสตร์ ทุนมนุษย์เป็น 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ในปัจจุบัน พบว่าประเทศไทยมีปัญหาด้านการพัฒนาคน อาจเนื่องมาจากมีทรัพยากรอื่น  มากเกินไป ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 1-5 ให้ความสำคัญกับการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จนมีคำพูดว่า  ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ทั้งนี้  พบว่ากระทรวงเกษตรฯใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด แต่ประชากรในภาคเกษตรยังคงมีความยากจน 

ทุนมนุษย์ต้องมองภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร (Micro) ทั้งนี้ควรทราบโมเดล HR Architecture เป็นพื้นฐานก่อน ซึ่ง  HR Architecture เป็นโมเดลที่ศึกษาถึงปัจจัยด้านต่าง  ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์โดยครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตายเช่น การศึกษากลุ่มประชากรภายหลังเกษียณอายุ โดยเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ที่มีงานทำและไม่มีงานทำ ทุนมนุษย์เป็นคุณภาพที่กล่าวถึงคน ดังนั้นจะปรากฏอยู่ในทุกทุน และมีความเกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม คนที่ประสบความสำเร็จและถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่ดีได้ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ท่านสีจิ้นผิง อดีตประธานาธิบดีประเทศจีนเคยบอกว่า ต้องการให้ประชาชนชาวจีนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นมืออาชีพ ไม่เหมือนกับการได้รับปริญญา คนที่ได้รับปริญญาอาจทำอะไรไม่เป็น เป็นต้น  

ประเด็นสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ คือ 1.การปลูกLifelong Learning การเรียนรู้ทำได้ทุกวัย ทุกช่วงเวลา   2. การเก็บเกี่ยว เป็นเพราะแต่ละคนมีความสามารถไม่เท่ากัน แต่องค์กรจะนำมาใช้หรือดึงเอาศักยภาพออกมาใช้ได้มากเพียงใด 3.การ Execution การเอาชนะอุปสรรค คือการทำอย่างต่อเนื่อง ทำจากสิ่งเล็กๆให้สำเร็จก่อน และสามารถนำมาเชื่อมโยงกับ HR Architecture ดังที่กล่าวข้างต้นได้เช่นกัน ซึ่งนำมาสู่ทฤษฎีที่สำคัญ คือ ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี HRDS ดังนั้น ทุนมนุษย์ 8k5kเป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นความจริงและตรงประเด็น

เนื้อหา 8Ks: ทฤษฎีทุน 8 ประเภท เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

1. Human Capitalทุนมนุษย์
2. Intellectual Capitalทุนทางปัญญา
3. Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม
4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
5. Social Capitalทุนทางสังคม
6. Sustainability Capital     ทุนแห่งความยั่งยืน
7. Digital Capitalทุนทาง IT
8. Talented Capital         ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

เนื้อหา 5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นเครื่องมือ สร้างความได้เปรียบและแตกต่างของคนไทยเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก และ เศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย

1.Creativity Capital (ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์) 

2.Knowledge Capital (ทุนแห่งความรู้)

3.Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)

4.Culture Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)

5.Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)

 

ครั้งที่ การนำเสนอหนังสือเรื่อง 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือ “8 K’s + K’s: ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่อาจารย์จีระ ่านตั้งใจที่จะถ่ายทอดแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทยรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียน     โดยเฉพาะการก้าวสู่  “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC” เป็นโจทย์ที่ ท้าทายและน่าสนใจสำหรับประเทศไทย  เพราะคนไทยหรือสังคมไทยจะได้รับโอกาส ประโยชน์หรือความเสี่ยงนั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่คุณภาพของทุนมนุษย์ของเราว่ามีความสามารถในการแข่งขันที่เพียงพอหรือไม่ ?  ดังนั้น  ทฤษฏี 4Ls จึงเข้ามามีบทบาทในเรื่อง Learning How to Lern ซึ่งเป็นทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไม่น้อยไปกว่าทฤษฏีอื่นๆ ที่มีวิธีการ/กระบวน การพัฒนา “คน” ให้เป็นเลิศเช่นกันซึ่ง 4Ls ประกอบด้วย

1. Learning Methodology : มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี  ทันสมัยทั้งหลักสูตรและเนื้อหา มีวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  เพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity &Innovation)
3. Learning Opportunities : สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายและหุ้นส่วนทางปัญญา
4. Learning communities : สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้   เริ่มจากห้องเรียนขยายออกไป ซึ่งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำทฤษฏีดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับหน่วยงานใหญ่  หลายแห่งจนประสบผลสำเร็จ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

เราต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจในช่องว่างของประชาคมอาเซียนในเรื่องขีดความสามารถของการแข่งขัน และการบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้เรามีแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงการพิจารณาในเรื่องของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ บูรณาการเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในบริบทของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญในปัจจัยเรื่องความยั่งยืน การพัฒนาขีดความสามารถ การประสานความร่วมมือ และการพัฒนาในระดับฐานรากตั้งแต่ในระดับชุมชน 

การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยย่อยที่เป็นฐานราก โดยไม่ละทิ้งการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การพัฒนาต้องอาศัยการลงไปสำรวจและศึกษาอย่างจริงจัง มีการวัดผลของการพัฒนา และการพัฒนานั้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  สรุป ทุนที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น หนังสือ 8K’s จึงสอนให้เรามีคุณสมบัติที่ดี   ถ้าลงทุนไปแล้ว 10 บาท คืนสังคม 20 บาท แสดงว่าการลงทุนโอเค สรุป คือ ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการลงทุน แต่อยู่ที่วิธีการลงทุน   

สิ่งสำคัญคือ

1.ต้องเข้าใจประเทศเหล่านี้มากขึ้น เพื่อมีความสัมพันธ์กับเขา 3 เรื่อง คือ

เรื่อง เศรษฐกิจ

ความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม และ

ความมั่นคงทางการเมือง

2. ถ้าคนในบ้านในประเทศไทย เป็นคนดี คนเก่งเราจะอยู่ได้  ศักยภาพของคนในบ้าน ต้องมี 8K’s ,5K’s เราจะอยู่รอด แต่ถ้าเราเปิดอาเซียนเสรี แล้วสื่อสารไม่ได้ เราก็จะแพ้ ดังนั้น  สิ่งสำคัญคือเรื่องการสื่อสารภาษาต่างประเทศ

3. การที่เราอยู่อาเซียนมีการเซ็นสัญญากับประเทศอีก 6ประเทศเพิ่มเติมคือ จีน ญี่ปุน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  สรุป คือ ต้องรีบศึกษาเรื่องทฤษฎี ทุนมนุษย์ 8K’s เพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคมไทย

 

การปรับตัวในวันนี้

1.สิ่งแรกคือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ ขยายตลาดจาก 60 ล้าน เป็น 600 ล้านคน

2.ต้องรู้จักตัวเองว่าเก่งอะไร  คนไทยต้องรู้จักคนไทยด้วยกันเอง

3.การมี 8K’s 5K’s ได้ ต้องเป็นคนใฝ่รู้   เราต้องรู้เขา รู้เรา เช่น ว่าเพราะอะไรประเทศฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะ  ดังนั้นเวลาเราเห็นเขา เราต้องเรียนรู้กับเขา และเขาต้องเรียนรู้จากเรา ดังนั้นควรเรียนรู้ภาษาเพื่อสื่อสารได้

4.ต้องศึกษาทฤษฎี ทุน 8K’s  5K’s

(การใช้ชีวิตที่ยั่งยืน คือ วิธีการ ทุนมนุษย์คือตัวเรา จะฝังอยู่ในตัวเรา คนเราต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ต้องพร้อมว่าสถานการณ์ในโลกเปลี่ยนทุกวัน อย่าล้าสมัย ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลง เราต้องคิดระยะสั้นเพื่ออยู่รอดในระยะยาว) 

(ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ เป็นตัวบ่งบอกว่าเราจะเก่งจริงได้หรือไม่ ตัวอย่าง ไทเกอร์วู้ดส์ มีทักษะดี ความรู้ ใจนิ่ง แต่ความสำเร็จของคนเก่งไม่เท่ากัน ทัศนคติที่ดีคือ Attitude หรือ Mindset คือสิ่งที่เราต่อสู้ในโลกนี้)

สิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนและศึกษาของมนุษย์คือ Learning how to learn เรียนอะไร วิเคราะห์อะไร เอาไปใช้ได้จริงหรือไม่   เรียนแล้วจะทำอะไร

1. อาจารย์ที่ดีต้องกระตุ้นให้เด็กคิด

2. ต้องกระตุ้นให้เรียนมีความสุข มีบรรยากาศที่ดี

3. การเรียนไม่ควรท่องจำมากเกินไป ควรมีการปะทะกันทางปัญญามากขึ้น โลกในอนาคตจะไม่มี 1+1 =2 อีกต่อไป แต่ต้องเป็น 1+1 = 100 เป็นต้น และคำถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำถามเปิด เช่นประเทศไทยอีก 20 ปีจะเป็นอย่างไร  Education คือคิดเป็นวิเคราะห์เป็น

4.ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ และข้ามศาสตร์

มีทุนอยู่ 4 ชนิด คือ เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ ถ้ามีทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จะสามารถจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้

 

ครั้งที่ 5 HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่างๆ ของอาจารย์

HR Architecture เป็นการออกแบบองค์ประกอบของระบบ วิธีปฏิบัติ สมรรถนะที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาและการบริหารจัดการพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ทั้งในภาพใหญ่ (ประเทศ สังคมและชุมชน) และระดับองค์กร

HR Architecture ซึ่งในภาพประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ด้านแรก คือ ด้านอุปสงค์ที่เริ่มตั้งแต่ประชากรเกิดผ่านระบบการพัฒนาจากสถาบันต่างๆก่อให้เกิดสมรรถนะสำคัญของการเป็นกำลังแรงงานและประชาชนที่มีคุณค่าเพื่อป้อนเข้าสู่ด้านอุปทาน  และด้านที่สอง คือ ด้านอุปทาน ซึ่งเป็นอุปทานของแรงงานภาคต่าง  ที่รับเอากำลังแรงงานและประชาชนที่มีคุณค่าเข้าสู่ระบบงานรวมถึงการเป็นผู้ประกอบการอิสระ ซึ่งการทำงานของกลุ่มแรงงานและประชาชนก่อให้เกิดความเข้มแข็งของประเทศในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความสุขและความสมดุล รูปแบบดังกล่าวแสดงดังภาพ 

การขยาย HR Architecture จากแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้สามารถตั้งคำถามสำหรับการสืบค้นและอภิปรายต่อเนื่องว่า ภาครัฐจะมีแนวคิดของ HR Architecture อย่างไร ปัจจุบันมีช่วงห่างใดบ้างที่ต้องเติมหรือปิดระหว่าง HR Architecture ที่ต้องการกับที่เป็นอยู่จริง และ HR Architecture จะส่งผลอย่างไรกับการออกแบบระบบบริการพื้นฐานของรัฐเพื่อให้ได้กำลังแรงงานและประชาชนที่มีคุณภาพเพื่อเป็นทุนมนุษย์ของคนไทย

 

ครั้งที่ 6 วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม และการสร้างเครือข่าย Networking

 

 

 

 

 

 

 

 

วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม :พลังขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพ ด้วยคุณธรรม จริยธรรม และความดีงามของคนในชาติ โดยภาพรวมของหนังสือ :ประกอบด้วยแนวคิด หรือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศทั้งนักคิด นักปฏิบัติจำนวน. 10 ท่าน ในประเด็นคุณงาม ความดีพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่มีต่อ 4 อดีตอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ โดยท่านเริ่มความคิดเรื่องพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีความรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่ หาทางออกยาก จึงได้ใช้หลักการปลูกฝังทุนทางวัฒนธรรมและจริยธรรม ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)       1. ระบบความเชื่อ 2. ภูมิปัญญา 3. จารีตประเพณี 4. การเรียนรู้(ครอบครัววัดปราชญ์) 5. ค่านิยม 6. ข้อห้าม ซึ่งถือว่าเป็นหลักคิด การเป็น Role Model ให้กับ ผู้นำ และนักการเมือง โดยเฉพาะ “ผู้นำทางการเมือง”  ซึ่งท่านทั้งสี่มี “ความกล้าหาญ ด้านคุณธรรมจริยธรรม” เป็นอย่างยิ่ง 

บทสรุปที่ได้รับ :ประเทศไทยวันนี้ จะต้องขับเคลื่อน ไปด้วยพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ทุกระดับ ตั้งแต่ – ตัวเราเอง – ครอบครัว – องค์กร – ชุมชน สังคม – ระดับประเทศ – ระดับโลก โดยเฉพาะ คุณธรรม จริยธรรม ต้องเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำทางการเมือง  เนื่องจากการเมืองมีเรื่องผลประโยชน์อยู่มากมาย 

 

การสร้างเครือข่าย Networking Capital กรณีศึกษา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

รูปแบบการท่องเที่ยวบูรณาการ 5 จังหวัด เชื่อมโยงสู่อาเซียน เพื่อยกระดับสู่สากล ให้ความสำคัญเรื่องการปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว บริหาร ลงมือทำให้เกิดผลเร็ว เป็นการพัฒนาการท่องเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้หากการท่องเที่ยวไทยจะไปสู่อาเชี่ยนบวก 6คุณภาพต้องดี ต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่อาศัยความร่วมมือนอกมาจากภาครัฐแล้ว คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมด้วย มีการสร้างเครือข่าย มีภาวะผู้นำ ต้องมองความจริง และตรงประเด็น 

บทสรุปที่ได้รับ การสร้างเครือข่าย เป็นการลงทุนที่ถูกที่สุดโดยทั้งนี้ต้องก่อให้ชุมชนเครือข่ายมีความยั่งยืน เมื่อกลับออกมาแล้ว เราทำอะไรให้ชุมชน สังคมเพื่อให้ยืนอยู่ได้ด้วยองค์ความรู้ที่มอบให้ 

 

ครั้งที่ 7 เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge กรณีศึกษากฟภ. และสังคมการเรียนรู้ทฤษฎี 4 L’s

การพัฒนาองค์กรการเรียนรู้

             อาจารย์จีระได้กล่าวว่าการมี Knowledge แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่มี Learning Organization ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organization ได้ เริ่มที่การเก็บความรู้มีทั้ง Tacit (ความรู้ในตัวบุคคล) และ Explicit (ความรู้ที่เขียนออกมาเป็นผลงานและยุทธศาสตร์) ต้องมี Tacit Interview ช่วยเก็บข้อมูลเพื่อเปลี่ยน Tacit เป็น Explicit เพราะมูลค่าองค์กรมาจาก Tacit ถ้าองค์กรใดก็ตาม เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร และสามารถแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เท่ากับเป็นการเพิ่ม KM 

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าจะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้ จะต้องเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)  จาก Good อาจจะไปสู่ Great พนักงานจะภูมิใจและมีความสุขในการทางาน การทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต องค์กรส่วนใหญ่มี Training แต่เราไม่ค่อยจะมี Learning Learning ถ้ามี Training Training เราไม่ได้ไปสร้าง Change Value added Value added กระจายไม่ทุกกลุ่ม ผู้บริหารระดับสูงในอดีตยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง และไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ต่อการเรียนปริญญาเอกต้องลึกและรู้เรื่อง คำนึงถึงภูมิสังคม ทำงานแล้วต้องมีการถ่ายทอด ประสานงาน บูรณาการ มีความเป็นเจ้าของ รู้จริง รักงาน ทำงานเป็นทีม 

การสัมภาษณ์ Perter Senge : การเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือกัน  รู้แจ้งรู้จริง อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง มีเหตุผล เรียนรู้จาก การcomplain ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน จึงเกิดการเรียน อาจเปรียบได้กับทฤษฏีการเรียนรู้ที่อยู่ในวัฒนธรรมไทย ที่เกิดการเรียนรู้ในสังคมไทยได้ Perter มีความเข้าใจเรื่องศักยภาพจากภายใน

ถามว่า : การเรียน สำคัญอย่างไร คำตอบ : การเรียนรู้เกิดจากความประสงค์ที่จะทำ (Aspiration) ตัวเราต้องเห็นความสำคัญ (เหมือนทฤษฏี2r รู้ความจริง (Really)และตรงประเด็น (Relevant) ต้องเลือกประเด็น และจับเรื่องให้ถูก)

กรณีศึกษาของ กฟภ. : สังคมการเรียนรู้กับทฤษฏี 4Ls :สังคมหรือองค์กรที่มีการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้น ต้องมีปัจจัยเกี่ยวกับต้องมีการสร้างวิธีการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น มีบรรยากาศทื่เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งองค์กรต้องเปิดโอกาส เช่น มีเวทีการ Sharing การให้รางวัล นเกิดเป็นชุมชนสังคมที่มีการเรียนรู้

บทสรุปที่ได้รับ : แนวคิดของ Perter และ ดร.จีระ คิดเรื่องการเรียนรู้เริ่มจากตัวบุคคล จึงเกิดองค์กรเรียนรู้ ต้องมีระบบการจัดเก็บที่ดี การนำไปใช้ ที่สำคัญองค์กรต้องมีการ share knowledge/ความคิด การคิดและการทำงานเป็นทีม

 

ครั้งที่ 8 การนำเสนอหนังสือ Shift Ahead

 

 

 

 

 

 

นำเสนอหนังสือ Shift Ahead บทที่ 2 และ 3 

บริษัทที่เคยสำเร็จแต่มีสิ่งกีดขวางทำให้ตกลงแล้วปิดตัว โกดักเรียนรู้เทคโนโลยีที่เข้ามา แต่ไม่กล้าจ่ายในเรื่องสินค้า นั่นคือ มองเห็นการมาของดิจิตอล ไม่คิดว่าเป็นวิกฤติกระทบการถ่ายภาพ Steven และวิศวกรโกดักคิดค้นกล้องดิจิตอลแต่ไม่ผลิตออกมา ใช้กล้องธรรมดาล้างอัดรูป ทำให้โกดักปิดตัวลง เกี่ยวอะไรกับ 2R’s ไม่สามารถเปลี่ยน Irrelevance to Relevance แสดงว่า มีเรื่อง เวลา สินค้า บริการและลูกค้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้เรื่องทุนมนุษย์ให้เหมาะสม ถ้าตอบสนองลูกค้าไม่ทัน ก็ต้องปิดตัวลง มหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรให้ทันเหตุการณ์ Relevance ขึ้นกับเวลาด้วย 

           โกดัก คิดค้นได้แต่ไม่มีการประดิษฐ์สินค้าขึ้น Xerox ตกต่ำเรื่องถ่ายภาพ เมื่อเห็นวัตกรรม ก็ไม่กล้าเข้าไปมาก ก็ทำเฉพาะขาวดำเท่านั้น เมื่อมีการพิมพ์นามบัตรสีและเทคโนโลยีใหม่มาก็ไม่กล้าลงทุน ทำให้หยุดตัวเองในการเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่ 

           Toys “R” Us ล้มเพราะการมาของเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทรกการดำเนินการ บริษัทมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ แต่การเลือกสินค้าพลาด ปรับราคาสูง การแข่งขันของตลาดสูงขึ้น การออกแบบสินค้าทำให้ต้องปิดตัวลง 

7 สัญญาณมีดังนี้ 

1.ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง กำไร ขาดทุน ถ้า Stable  หรือลด ก็มีปัญหาเพราะกำลังตาย อย่าละเลยตัวเลข ต้องดูสาเหตุแล้วแก้ปัญหาทันที เป็นความเป็นจริงที่ต้องเห็น แล้วต้องเปลี่ยน 

2.แข่งขันด้วยราคาไม่ใช่คุณภาพสินค้า ทำให้คุณค่าลด ต้องตามราคาของคนอื่น ทำให้ต้องเปลี่ยน 

3.มีการรวบรวมข้อมูลแต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์ไม่เป็น ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ถูกและเร็วพอ 

4.ละเลยกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่สนใจลูกค้า คู่ค้า เช่น โดมิโน่พิซซ่าละเลยรสชาติ เพราะต้องดูหลายธุรกิจ ธุรกิจอาหารต้องมีรสชาติดี แต่ที่อื่นดีกว่า แสดงว่าอย่าเน้นแค่จุดเดียวเท่านั้น 

5.ความหยิ่งทะนงว่าดีแล้วทำให้เราล้มเอง เช่น โนเกียเคยเป็นผู้นำด้านมือถือเป็นรายแรกที่คิดกล้องมือถือ เมื่อมีไอโฟนเข้ามา แต่โนเกียไม่คิดว่าเป็นคู่แข่ง ไม่มองรอบข้าง ในที่สุดจึงล้ม เพราะไม่เปลี่ยนตามที่มีข้อมูล 

6.ที่เป็นอยู่ก็ดีแล้ว ไม่อยากเปลี่ยน ไม่สนใจเปลี่ยน จึงไม่ Relevance เช่น Campbell ทำซุปสำเร็จรูป มีแบรนด์แข็งแกร่งมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเน้นอาหารสุขภาพจากธรรมชาติ เปลี่ยนโครงสร้างประชากร คนแก่มากขึ้นสนใจสุขภาพ อาหารกระป๋องต้องปรับตัว แต่บริษัทขยับตัวช้า เริ่มลดผงชูรส แต่ช่วยไม่ได้มาก จึงขยายไปผักไฮโดร ผู้บริหารต้องตระหนักความเปลี่ยนแปลง 

7.ไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ในส่วนบุคคลในบริษัท) ผู้นำต้องให้ความสำคัญทุกคนเพราะทุกคนมีบทบาทสำคัญ 

 

ครั้งที่ 9 เยี่ยมชมร้านหนังสือ Asia Book & Kinokuniya และสนทนาที่บ้านอาจารย์จีระ

หลังจากสอบ Final วิชา PHD 8205 เรียบร้อย ช่วงบ่ายศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงานกรุณาให้เกียรตินักศึกษาป.เอก Ph. D Innovation Management รุ่น 16 จำนวน 14 คน ได้มีโอกาสเยี่ยมชมร้านหนังสือเอเชียบุ๊ค สาขาเอ็มโพเรียม ร้านหนังสือ KINOKUNIYA ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ จากนั้นได้กรุณาให้เกียรติเลี้ยงน้ำชาต้อนรับและสนทนาที่บ้านอาจารย์ เลชที่ 10 ซอยสุขุมวิท 23 

         ช่วงบ่ายโมงเดินทางไปที่ Asia Book เพื่อเยี่ยมชมร้านหนังสือ โดยท่านอาจารย์จีระให้การต้อนรับและท่านฝากประเด็นเรื่องการเข้าร้านหนังสือบ่อย  เป็นสิ่งที่ดีทำให้เราสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และผู้จัดการร้านมาให้คำแนะนำหนังสือใหม่ ๆ ทางด้าน Business เช่น Blockchain หลังจากนั้น เดินทางไปร้านหนังสือ Kinokuniya ซึ่งมีหนังสือมากมายให้เลือกอ่าน ต่อจากนั้นได้เดินทางไปบ้านอาจารย์จีระ เยี่ยมชมบ้านและได้มีโอกาสสนทนาที่กับท่านแบบบรรยากาศกันเอง  สบาย ๆ ท่านต้อนรับด้วยอาหารว่าง และสนทนาอย่างเป็นกันเอง ด้วยประเด็นที่หลากหลาย มีทั้งความรัก ความเมตตาที่ให้กับพวกเรา ด้วยวิธีการสอนให้ฝึกคิด วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการยกทฤษฏี JIRA Ways ประกอบกับ Case Study ที่เกิดขึ้นจริงและตรงประเด็น มีความเป็นไปได้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนที่ผ่านมาตลอดเกือบสี่เดือนเต็ม ความรู้ที่ลูกศิษย์ได้รับจากอาจารย์ซึ่งพร้อมจะเป็นผู้ให้ตลอดไปแม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เรียนกับอาจารย์อีกก็ตาม จะสามารถเข้าพบได้ตามความเหมาะสม ฝากแนวคิดการเรียน การสอนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบสมัยใหม่พร้อมกับทีมงานอาจารย์ที่มีศักยภาพ ก่อนกลับทางนักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านอาจารย์จีระ และทีมงาน  ด้วยความระลึกในบุญคุณของการอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์ ได้เสริมสร้างศักยภาพที่แต่ละคนพึงจะมีที่พร้อมจะจบเป็นดุษฏีบัณฑิตที่ยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไปด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

********************************************

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท