การสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ หลักสูตรฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2561


เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2561 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ” ในหลักสูตรฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2561 ให้กับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จานวน 73 คน ในหลักสูตรฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2561 จัดโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสถาบันเกษตราธิการ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์


สรุปการบรรยายในหัวข้อ การสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และประธาน Chira Academy



ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้มีโอกาสมารับใช้กระทรวงเกษตรหลายครั้ง และได้มีโอกาสได้จัดหลักสูตรให้ ผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านเป็นข้าราชการที่สำคัญต่อประเทศ

ผศ.ดร.ธันวา จิตต์สงวน

          ทุกคนจะเป็นผู้บริหารต้องรู้จักรายละเอียดของคนอื่นที่ควรรู้จะมีเสน่ห์ ต้องแยกสิ่งที่ควรรู้และไม่ควรรู้ออก รู้จักอาจารย์จีระมานาน พ่ออาจารย์จีระเป็นรองนายกและรัฐมนตรีคลังที่มีบทบาทมากท่านหนึ่งในสังคมไทย และเป็นนายกแฝง อาจารย์จีระเรียนนิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกาที่วอชิงตันซึ่งตอนนี้ก็หนาวมาก สมัยนั้นดร.ป๋วยมีบทบาทมาก สร้างโครงการเศรษฐศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษโดยใช้เงิน Rockefeller อาจารย์จีระก็อยู่โครงการนี้ ผ่านประวัติศาสตร์มากมาย

          อาจารย์จีระเชื่อมั่นในพลังมนุษย์ ต้องทำให้เต็มศักยภาพ ตอนที่เชิญอาจารย์ธันวาไปบรรยายในต่างประเทศก็ให้พูดเรื่องนี้ ต้องพัฒนาศักยภาพการคิดให้ราชการ ตอนนี้มีแต่นักปฏิบัติที่ฟังแต่คำสั่งเจ้านาย ต้องแปรงานยากให้ง่ายแล้วขับเคลื่อนงาน

          อาจารย์จีระเชื่อในการทำงานตลอดชีวิต อาจารย์พูดเรื่องกระทรวงเกษตร ใช้เงินมากแต่พัฒนาไม่มาก  อาจารย์จีระดูแลสุขภาพดี

          ขอขอบคุณอาจารย์ที่ใช้กำลังความสามารถให้เกียรติเผยแพร่ความรู้แก่ข้าราชการกระทรวงเกษตร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ควรคุยกับอาจารย์ธันวาให้มาก ท่านมีประสบการณ์มาก อาจารย์จีระเชิญอาจารย์ธันวาไปบรรยายต่างประเทศหลายครั้ง ทุกครั้งที่เชิญอาจารย์จีระมาที่กระทรวงเกษตรถือเป็นโชคเพราะคนที่กระทรวงนี้มีพื้นฐานวิทยาศาสตร์แน่นแต่วัฒนธรรมปิด อาจารย์วิวัฒน์และอาจารย์จีระเป็นแนวร่วมกัน อาจารย์ลักษณ์ก็เป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระ จังหวะและแรงบันดาลใจต้องไปด้วยกัน บรรยากาศที่อยู่ด้วยกันมีคุณค่า คนในห้องนี้มีคุณค่า ยังไม่มีใครเปิดโอกาสให้คนในห้องนี้ใช้ศักยภาพเต็มที่

          อาจารย์พิชญ์ภูรีเป็นผู้บริหาร The Nation เมื่อ 15 ปีที่แล้วก็มาหาอาจารย์จีระเพื่อให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ ต่อมาก็มาช่วยเสริมประเด็นกัน วันนี้จะทำ 3 อย่าง คือบรรยาย แล้วทำ workshop แบ่งปันความรู้กันเรียกว่า ปะทะกันทางปัญญา

          การเรียนรู้ยุคใหม่ Stanford University บอกว่า ต้องสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมา นอกจากนี้ต้องปะทะความจริง เน้น 3 ต. ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          สิ่งที่อาจารย์จีระกล่าว อยู่หัวกระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์จีระ มีหลายท่านรู้จักอาจารย์แต่ไม่รู้จักตัวตนของอาจารย์

          อาจารย์จีระมีกระบวนการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ทำให้หัวข้อแลกเปลี่ยน เป็นความจริงเพราะนำมาทำได้ เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ การสร้างความเปลี่ยนแปลง ราชการเปลี่ยนเร็วไม่ได้เพราะอยู่ในกระบวนการใหญ่ บางครั้งแรงบันดาลใจมาก่อน บางครั้งมาทีหลัง ทำอย่างไรให้เรื่องเหล่านี้ฝังแล้วก็เปลี่ยนแปลง

          การเข้าใจช้าและค่อยๆวิเคราะห์ ในอนาคตก็จะเข้าใจคล้ายม้าตีนปลาย อยากให้กำลังใจคนเหล่านี้ แต่คนที่เข้าใจเร็วก็สนใจเรื่องอื่นเมื่อมีสิ่งเร้าใหม่เข้ามา

          ตัวอย่างที่เห็นจากอาจารย์จีระทำให้เห็นว่า ข้อมูลที่เข้ามา ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่อาจารย์จีระสอนคือท่านประสบความสำเร็จได้เพราะเลือกทำสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          กระบวนการเราทำเป็นแล้ว เมื่อเรียนจบแล้วต้องถามตนเองว่าได้อะไร 2 เรื่อง แล้วฝังเข้าดีเอ็นเอหรือไม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราสร้างความรู้สึกให้คุณได้เรียนรู้และฝังติด 2 เรื่อง

          อาจารย์ธันวานำหลักสูตรนี้ไปให้ก.พ.ดู ซึ่งเขาก็ประหลาดใจ อาจารย์จีระจัดลำดับการนำเสนอได้ดี คนในกระทรวงต้องคิดว่าจากอายุ 54-60 ปี จะทำอะไร ทุกคนเป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระได้ แต่ขอให้ติดตามใกล้ชิด กระทรวงเกษตรเป็นองค์กรค่อนข้างปิด อาจารย์จีระมาปีละครั้งแล้วเชื่อมโยงกันก็ดี

          อาจารย์สมชายสอนตอนเช้าว่า ต้องให้คิดมากขึ้นอย่ารอแต่คำสั่ง

          ที่ไมโครซอฟท์ เจ้านายให้ลูกน้องเสนอความคิดมา 3 เรื่อง ไม่มีการสั่งการ ควรสร้างแรงบันดาลใจโดยเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงออก ยุคต่อไป คนเก่งที่สุดคือเด็กรุ่นใหม่ ต้องมีความอดทนในการรับฟังความเห็น

          กระทรวงเกษตรสนใจอาจารย์จีระอยู่แล้วเพราะทำ smart farmer หน้าที่ของกระทรวงคือทำให้เกษตรกรมีคุณภาพแต่ในกระทรวงต้องค่อยๆเปลี่ยน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ส่วนตัวเคารพนับถือการทำงานของข้าราชการกระทรวงเกษตร สิ่งที่อาจารย์จีระให้จะกระตุ้นศักยภาพภายในของท่าน และประเด็นที่นำเสนอจะสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

ความเห็นผู้เข้าร่วมโครงการ

คนที่ 1 เกษตรจังหวัดพิษณุโลก

          เราก็เหนื่อยและท้อแท้ ด้วยภาระที่ทำงานต้องทำงานกับระดับรากหญ้าซึ่งเหมือนได้รับการพัฒนา แต่ดูจากสิ่งที่เขาได้รับคือได้รับการพัฒนาน้อยมาก ต่างจากภาคอื่นที่ได้รับการสนับสนุนมาก คนทำงานอย่างเรา ทำตามวิสัยทัศน์แต่มีปัญหาอุปสรรคมากมาย วันนี้หวังว่า จะสร้างแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลงให้

          อาจารย์บอกว่า คนที่จะเปลี่ยนกระทรวงได้คือคนที่สุพรรณบุรี ตอนที่อาจารย์เปิดประเด็นก็สนใจมาก อยากจะให้มีอะไรติดสมองไปบ้าง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เวลาเปิดประเด็นก็ได้ความคิดนี้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติว่า แม้มีอุปสรรค กฎแรกคือ ต้องเอาชนะความล้มเหลวและเจ็บปวดให้ได้ ทัศนคติมาจาก Mindset ถ้าหวังดีกับคนจน สักวัน เขาจะชื่นชมเรา ถ้าเรารวมพลังมากขึ้น จะมีโอกาสมากขึ้น

คนที่ 2

          ตอนแรกที่เห็นชื่ออาจารย์ ก็จำได้ทันที เมื่อได้มาเห็นหัวข้อ อย่างที่เกษตรจังหวัดพิษณุโลกบอกว่า พวกเราทำงานบนนโยบายที่เปลี่ยนเร็วมาก บางนโยบายก็มากระทบความรู้สึกต่างๆ เช่น แรงจิตแรงใจดำเนินการ ในส่วนกระทรวงเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยมาก แต่ละอันก็กระทรวงการทำงานในพื้นที่ เราทำงานกับคนหลากหลายโดยเฉพาะคนจน บางหลักการใช้ในพื้นที่ลำบาก การเรียนรู้วันนี้ทำให้มีความหวังในการสร้างแรงบันดาลใจต่อสู้อุปสรรค

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          คนในกระทรวงเกษตรควรทำงานข้ามกรม (ไซโล) คราวที่ได้นำคุณชุติมาไปช่วยทำให้มีความสัมพันธ์กับกระทรวงพาณิชย์มากขึ้น ท่านต้องทิ้งมรดกไว้ให้กระทรวงเกษตรเป็นกระทรวงแห่งการเรียนรู้ ปัญหาคือ ข้าราชการเป็นนักปฏิบัติ แต่ต้องมีปัญญาด้วย กระทรวงเกษตรมีพื้นฐานการศึกษาดีกว่าหลายกระทรวงเพราะเรียนจบวิทยาศาสตร์ ท่านต้องกลับไปดูแลลูกน้อง ปัญหาคือกระทรวงไม่ลงทุนเรื่องคน อาจารย์จีระผลักดันให้สนใจเรื่องคน

          คนรุ่นใหม่ที่จบใหม่ๆ ความรู้หายหมด ความรู้ต้องนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร ต้องจุดประกายว่า กระทวงเกษตรต้องเป็นกระทรวงการเรียนรู้ มีคนรุ่นใหม่จากสาขาอื่นเข้ามาทำงานด้วยแบบ Value Diversity

          กระทรวงเกษตรมีรุ่นพี่รุ่นน้องมากมาย ต้องข้ามไซโล มีการนำคนสาขาอื่นเข้ามาทำงานแล้วจัดการกับเทคโนโลยีให้ดี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ทั้งสองท่านเป็นตัวแทนกลุ่มสะท้อนว่า มีความท้อแท้อยู่บ้าง แต่ท่านผ่านอุปสรรคไปได้เพราะใช้ศาสตร์พระราชา เราต้องลุกขึ้นยืนด้วยตนเอง ต้องมีพื้นฐานแน่น ในบรรดาหลายท่าน ท่านเป็นดินหลายประเภท เมื่อผสมกัน วิชาอาจารย์จีระจะช่วยกระแทกให้ศักยภาพแต่ละคนออก จะทำให้แต่ละท่านมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกัน วันนี้เป็นประโยชน์ที่ดีมาก

          ควรจำ 2 เรื่องเท่านั้น ข้าราชการหลีกเลี่ยง Thailand 4.0 ไม่ได้ ต้องให้ความสนใจเรื่องนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอชมเชยอาจารย์ธันวาที่นำ 3 เรื่องมาผสมกัน ทั้ง 3 เรื่องแยกกันพูดคงไม่จบ เปลี่ยนแปลงแต่ขาดแรงบันดาลใจก็ไม่สำเร็จ ถ้าเปลี่ยนโดยไม่มีเป้าหมายก็ไม่สำเร็จ

          ทั้ง 3 เรื่องทำให้วิสัยทัศน์เป็นความจริง

          4L’s อาจารย์จีระกระตุ้นให้ทุกคนคิด มีการแลกเปลี่ยนความเห็น สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา แต่ละกลุ่มทำ Workshop ร่วมกัน Learn-Share-Care ต้องฝึกเกษตรกร อาศัยความอดทน หลังเรียนแล้วต้องใฝ่รู้

          2R’s ลูกค้ากระทรวงไม่เหมือนคนอื่นนั่นคือสภาพความจริง Relevance ทำในสิ่งที่มีเหตุผล ทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกร แม้มีข้อมูลแล้วต้องเรียบเรียงให้ดีแล้วจะ Relevance ต่อทุกท่าน

          2I’s Inspiration คือความรู้สึกที่มีและอยากทำมากกว่านั้น อาจจะเป็นการเอาชนะอุปสรรคก็ได้ ต้องหาแรงบันดาลใจให้ได้

          3V’s เป็นมูลค่าและคุณค่าที่จะสร้างให้เกษตรกร ในกระทรวงเกษตรต้องเริ่มจัดการความหลากหลาย ข้ามไซโล กระทรวงและนำคนนอกมาเป็นแนวร่วม

          3L’s ต้องเรียนรู้จากความเจ็บปวด ความล้มเหลว

          3ต. ข้าราชการไม่ควรรีบร้อนเปลี่ยนตำแหน่ง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระทรวงเกษตรต้องให้เป็นมืออาชีพรู้จริง มีคุณธรรมจริยธรรม

          วิสัยทัศน์คือสิ่งที่ควรทำและไป ถ้ามีวิสัยทัศน์ถูกต้อง กระทรวงจะยั่งยืน จากหนังสือระบุว่า บริษัทยั่งยืนต้องปรับวิสัยทัศน์ตลอด

          Change and Inspiration เป็นวิธีการทำงาน

          ที่กระทรวงเกษตรต้องกำหนดค่านิยม

          การเปลี่ยนแปลงมีทั้งภายนอกและภายใน

          คนที่ประสบความสำเร็จเป็นแม่แบบด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงทำ 8 ข้อ ควรนำไปดูที่กระทรวงเกษตร

          1.สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency) เช่น เกษตร 4.0 และ Smart Farmers

          2.การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

          3.สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)

          4.การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

          5.การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

          6.การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

          7.ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

          8.ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory ที่ควรนำไปปรับใช้กับกระทรวงเกษตร

          1. Confidence มั่นใจ   

          2. Understanding Future มีความเข้าใจอนาคต

          3. Learning Culture มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ 

          4. Creativity มีความคิดสร้างสรรค์

          5. Networking มีเครือข่าย        

          6. Win step by step ชนะเล็กๆ

          7. Keep doing and continuous improving ทำต่อเนื่อง 3 ต.      

          8. Share benefits ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

          9. Teamwork in diversity สร้างทีมเวิร์คที่มีความหลากหลาย

          Inspiration ทำให้วิสัยทัศน์ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นแรกสู่ความสำเร็จ เป็นพลังที่ซ่อนอยู่เมื่อเกิดแล้วจะช่วยให้เอาชนะอุปสรรคได้ ควรจะนำ Inspiration ออกมา

          ลูกน้องรุ่นใหม่ของกระทรวงเกษตรควรมีความรู้ภาษาอังกฤษจะได้ช่วยหาความรู้ได้

          ในกระทรวงเกษตรมีผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจหรือยัง ถ้ายัง จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นเพราะคนเหล่านี้จะสร้างพลังวิเศษให้ผู้ร่วมงานเอาชนะอุปสรรคได้ และจะต้องนำไปสู่ปัจจัยอื่นๆ เช่น

1.ดึงเอาศักยภาพที่ซ่องเร้นข้างในออกมา Unlock Potential ของแต่ละคน

2.เปิดโอกาสให้ทุนมนุษย์ได้ทำงานได้รับสิ่งที่ตัวเองคิดว่าไม่มีหรืออยู่ข้างใน Passion

3.สร้างบรรยากาศให้มีการทำงานเป็นทีม

4.ให้มีอิสระในการทำงาน ที่มีคุณภาพ

5.สร้างให้ตั้งเป้าหมายที่สูง Set top goal

6.มอบอำนาจหรือ Empowerment แก่ผู้เกี่ยวข้อง กัดไม่ปล่อย Overcome Difficulties

7.การเรียนรู้ใหม่ตลอด

ต้องสนใจ Mind, Mindset, Mental แล้วสร้างพลังให้เกษตรกร ต้องฝึกจากความล้มเหลว

ทุกคนมีความสามารถ แต่ศักยภาพเป็นเรื่องที่ยังมองไม่เห็น ต้องทำให้เกษตรกรทำงานร่วมกันแล้วจะทำให้เขาเห็นศักยภาพ

Inspiration จึงเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่อาจจะกระตุ้นให้ทุกคนเป็นเลิศ และไม่ใช่แค่ผู้นำที่มีตำแหน่งเท่านั้น ใครก็ได้ที่จุดประกายให้เรามีอารมณ์ร่วม (Emotional Intelligence) หลุดพ้นจาก Comfort Zone หรือความเคยชินต่างๆ เพื่อไปตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเกษตร 4.0

ทฤษฎีทุนมนุษย์ของอาจารย์จีระ คือ

การปลูกและการเก็บเกี่ยวศักยภาพของคนในองค์กร จากที่เคยมีศักยภาพ 100 ใช้ไป 50 แต่ Inspiration ช่วยทำให้เขาใช้มากกว่า 50 ไปสู่ 70 - 80 หรืออาจะกว่านั้น + Execution คือมีอุปสรรคแล้วไม่ยอมแพ้

วันนี้เรามาค้นหาศักยภาพของตัวท่านเอง และ Smart Farmer ในอนาคตเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          จากที่ฟังอาจารย์จีระและผู้แทนผู้เข้าร่วมโครงการ การเอาชนะอุปสรรคต้องเริ่มจากตนเอง อดีตผู้ว่าพิษณุโลกเกษียณแล้วมาเป็นเกษตรกร เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้คนเป็นเกษตรกร

          วิชาอาจารย์จีระวิชาหนึ่งคือ วิชาผู้ประกอบการ ทุกอาชีพจะประสบความสำเร็จต้องมีความเป็นผู้ประกอบการ จากการดูโทรทัศน์ ฝรั่งอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่าใครระดับใดก็ต้องเป็นผู้ประกอบการก่อน ไปร่วมกับคนอื่นเป็นผู้ประกอบการ บางครั้งเราเป็นผู้นำ แต่บางครั้งไปร่วมมือกับคนอื่นก็อาจจะไม่ต้องเป็นผู้นำก็ได้ ถ้ากระทรวงเกษตรทีความเป็นผู้ประกอบการ ก็จะทำงานง่ายขึ้น กระทรวงเกษตรต้องเป็นองค์กรการเรียนรู้ และต้องเป็นชุมชนการเรียนรู้ ต้องนำแนวคิด ความรู้ไปให้ชาวบ้าน

          วิสัยทัศน์ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นประเทศไทย 4.0 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ยกระดับรายได้ประชาชาติจากประเทศรายได้ปานกลางแล้วพัฒนาให้ทั่วถึงด้านคน ไทยเป็นประเทศโครงสร้างพื้นฐานดีที่สุดในภูมิภาค

          ตอนนี้มีการทำทุเรียนผง ประเทศไทย 4.0 เน้นการสร้างนวัตกรรม สิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ ถ้าสร้างไม่ได้ ก็ต้องบริหารจัดการนวัตกร 3V’s อยู่ในประเทศไทย 4.0 นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัว ในการบริหารจัดการต้องร่วมมือสร้างเครือข่าย มีพันธมิตร อาจร่วมมือกับปราชญ์ชาวบ้าน

          พันธกิจคือวิสัยเดิม ต้องมองข้างหน้าอีก 10 ปี จุดสุดท้ายของเกษตรกร 4.0 คือขายของให้ได้ สินค้าต้องเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่มีการปนเปื้อน   

          ยุทธวิธี การเป็นผู้ประกอบการ เครือข่าย และพันธมิตร

          Value Diversity คือคุณค่าจากความแตกต่างหลากหลาย รู้จักใช้เครือข่าย พันธมิตร

          ดิจิตอล หมู่บ้านชายขอบจะมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว ควรมี Application เช่น โรงพยาบาลสารภีทำให้ทราบข้อมูลสาธารณสุขในชุมชน อาจจะเริ่มจากระดับเล็กๆ ง่ายๆ

          ความไม่ท้อถอยสำคัญที่สุด กรณีทีมเลสเตอร์ซิตี้มีความพยายามมาก สามารถตีเสมอทีมแมนยูได้ในนาทีสุดท้าย

          ทำอะไรต้องคิดถึงความจริง เลือกทำสิ่งที่ทำได้แล้วปั้นขึ้นมา

 

WORKSHOP

กลุ่ม 3

3. เกษตร 4.0 คืออะไร? และจะทำอย่างไรให้เกษตร 1.0 2.0 3.0 ไปด้วยกัน

          3.1 เกษตร 4.0 คืออะไร

          การทำการเกษตรที่มีนวัตกรรม จะพาเกษตรกรไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน หลุดพ้นจากความยากจน

          3.2 วิธีการทำอย่างไรให้เกษตร 1.0 2.0 3.0 ไปด้วยกัน

          เกษตร 1.0 ผลิตเพื่อเป็นอาหารดำรงชีพ ถ้าเหลือก็ขาย โดยใช้ของแลกกัน

เกษตร 2.0 ผลิตเพื่อเป็นอาหารดำรงชีพ ถ้าเหลือก็ขายและนำมาแปรรูปเบื้องต้น

เกษตร 3.0 มีเครื่องจักรมาช่วย

ในพื้นที่มีเกษตรทุกแบบ

เกษตร 1.0 ปลูกมังคุด ปล่อย เหลือกินให้เพื่อนบ้าน

เกษตร 2.0 มังคุดกวน

เกษตร 3.0 น้ำมังคุด

เกษตร 4.0 อาหารเสริม

แต่ละกลุ่มเป็นฐานรองรับกัน ไม่จำเป็นต้องทำเองถ้ามีศักยภาพไม่พอ ไม่ควรบังคับให้เปลี่ยนแปลงจากเกษตร 1.0 เป็น เกษตร 4.0

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอชมเชยกลุ่มนี้ เป็นประโยชน์มาก คนเขียน 4.0 คือดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ไม่เคยคิดถึงเกษตร 4.0 แต่เกษตร 4.0 เป็นผลพลอยได้จาก Thailand 4.0 อาจารย์จีระจะทำเกษตรกับการท่องเที่ยว มันจะเชื่อมกัน

          ควรเขียนเรื่องพวกนี้ทำ IS ส่งอาจารย์ธันวา เป็น Value Chain ชอบ Learning Environment

          การตั้งโจทย์ให้เกษตรกรคิดสำคัญ เรื่อง Why สำคัญกว่า How, What         

กลุ่ม 1

1. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จในกระทรวงเกษตรฯ 2 เรื่อง คืออะไร? และอะไรคือเหตุผลที่ทำให้สำเร็จ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ที่ประสบความสำเร็จ

เหตุผลที่ทำให้สำเร็จ

พื้นที่สปก. บริหารจัดการไม่ได้เพราะมีผู้มีอิทธิพลต่อมาทำให้จัดที่ดินได้ 114 แปลง ในรูปสหกรณ์ก่อน

 

ใช้คำสั่งคสช. เมื่อยึดที่มาได้ ต้องมีผังจัดที่ดิน 5ไร่ เกษตรกรรม 1 ไร่คือ ที่อยู่  

ปีแรกๆ ยกเว้นค่าเช่า

การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายของการผลิตทางเกษตร

 

รัฐมนตรีมอบนโยบายขึ้นทะเบียนแต่สวนทางเกษตรอินทรีย์ ต่อมาอธิบดีรับนโยบายแล้วมอบคนทำงานชัด มีคณะทำงาน ทำให้บริษัทขึ้นทะเบียนได้ รัฐทราบว่ามีกี่ราย

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้กำลังใจที่แบ่งที่ดินให้คนจน ควรเผยแพร่ให้คนนอกทราบมากขึ้น

สารเคมีภาคเกษตรตกค้าน่ากลัวมาก ขอชมเชยเป็นความรู้ที่ดี

กลุ่ม 2

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ล้มเหลว 2 เรื่อง คืออะไร? สาเหตุที่ทำให้ล้มเหลว และจะปรับปรุงให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ที่ล้มเหลว

สาเหตุที่ทำให้ล้มเหลว

วิธีการปรับปรุง

ให้ประสบความสำเร็จ

ความยากจนของเกษตรกร

เกษตรกรไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

การผลิตล้มเหลว ต้นทุนสูง ราคาสินค้าต่ำ

ขาดความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อาจได้ความรู้ผิด ถูกคนรวยเอาเปรียบ

หนี้ในและนอกระบบต่อเนื่อง มีดอกเบี้ยผูกพัน

ขาดการรวมกลุ่มความสามัคคี

ภัยธรรมชาติ ควบคุมยากทำให้ผลผลิตเสียหาย

แมลงรบกวนทำให้ขาดทุน

ใช้ได้ทั้งคนและดิน

สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องโดยเรียนรู้ร่วมกัน

สร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนชีวิต ใช้ศาสตร์พระราชา

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์และทำเกษตรครบวงจร

ทำเกษตรหลากหลายเพิ่มความหลากหลาย

เกษตรอินทรีย์ ผสมผสาน

ตั้งศูนย์ดินและปุ๋ยชุมชน

ทำดินชุ่มชื้นและคนมีความสุขเน้นเกษตรกรรมเชิงนิเวศ

ความเสื่อมของดินและน้ำ

ความรู้ ทัศนคติ

ปฏิวัติเขียว สารเคมีทำลายสุขภาพ

ปลูกพืชในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นการทำลายป่า

ขาดความรู้เรื่องดิน

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Value Diversity ภาคเกษตรน่าจะเป็นสมบัติที่ทุกคนไปคิด สมัยอาจารย์จีระหนุ่มเคยทำวิจัย off-farm employment มีรายได้เสริมจากการเกษตรเมืองไทยควรทำเรื่องนี้คำนวณว่า รายได้เสริมจากการเกษตรมีเท่าไร ตอนหลังไทยสนใจเรื่องรายได้เสริมจากการเกษตรน้อยไป

          ทั้งสองกลุ่มนี้ควรทำเป็นรายงาน ควรจะไปพบดร.สุเมธ ทำ MOU กับมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อทำงานเสริมต่อไป ถือเป็นแรงบันดาลใจ

          เกษตร 1.0 ต้องอยู่ได้แบบศาสตร์พระราชา ไม่โลภและมีความพอเพียง เรื่องหนี้เป็นเรื่องที่ควรคิดต่อ

กลุ่ม 4

4. วิเคราะห์ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจต้องมีคุณลักษณะอย่างไร? และจะพัฒนาผู้นำเหล่านั้นอย่างไร

4.1 คุณลักษณะผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ

กระหายใคร่รู้ในสิ่งใหม่

มีความคิดริเริ่มและเชิงบวก

ศิลปะการพูดให้คนอยากทำงานด้วยความทุ่มเท

ดึงศักยภาพทีมงานออกมา

เปิดโอกาสให้คนในกลุ่มแสนยานุภาพทำให้ดีต่อองค์กร

กล้าคิด กล้านำ กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ

กล้าเปลี่ยนแปลง

สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม

ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องทำให้ทุกคนก้าวไปด้วยกัน

ทนต่อความเจ็บปวด

หนักแน่น ไม่หวั่นไหว

ไม่ยึดติดกับอำนาจ กระจายอำนาจ

ล้มแล้วต้องรีบลุก

4.2 วิธีการจะพัฒนาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ

          บังคับให้คนที่จะเป็นผู้นำมีการพัฒนาตามแผน IDP ต้องผ่านการอบรมอะไรบ้าง ปัญหาคือ เมื่อตำแหน่งสูงขึ้นมักไม่มีเวลาเข้าอบรม

          ส่งเสริมให้มีการศึกษาดูงานหรือฝึกปฏิบัติกับ Role model

          Learning environment for sharing

          Job rotation

          มอบงานท้าทายมี coaching

          พัฒนาให้มีคุณธรรม ทำงานอาสารับใช้สังคม เข้าวัดฟังธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอชมเชยกลุ่มนี้ แต่ขั้นต่อไปคืออุปสรรคเช่น วัฒนธรรม การเมือง ทำให้ไปไม่ถึง

          คนในห้องนี้มีสมองมากกว่า Performance เพราะยังมีปัจจัยปิดกั้น เมื่อเข้าใจทุกอย่างต้องนำความจริงมาพูดกัน ควรมีกรณีศึกษาของไทยและต่างประเทศ แล้วนำมาประยุกต์ใช้

          ข้อที่ 1 เป็นแรงบันดาลใจและผลกระทบของมัน แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ผลักและต้องมีช่วงเวลาที่เหมาะสม ต้องปลดปล่อยศักยภาพออกมา

          แต่ละกลุ่มนำเสนอได้อย่างมีคุณภาพสูง

กลุ่ม 5

5. ยกตัวอย่างเรื่อง Inspiration ที่ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง เหตุผล คืออะไร?

ยกตัวอย่างเรื่อง Inspiration

ที่ประสบความสำเร็จ

เหตุผลที่ประสบความสำเร็จ

แรงบันดาลใจจากรัชกาลที่ 9 ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน

 

เป็นแนวปฏิบัติงาน ปลูกป่าในใจคน ความซื่อสัตย์ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เห็นพระองค์ทรงงานหนัก ทำให้รู้สึกหายเหนื่อย

พระองค์ถ่อมตัว ทรงรับดอกบัวจากยายตุ้ม ทรงนั่งทอดแหกับชาวบ้าน

สามารถนำไปใช้กับชาวบ้านได้

แรงบันดาลใจจากนโยบายยกกระดาษเอ 4 จากอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร

ลดต้นทุน และพัฒนาชีวิตเกษตรกร

เชื่อมหลายกระทรวงบูรณาการทำงานร่วมกัน

ทำให้มุ่งมั่นในการทำงาน

แรงบันดาลใจจากสามัญชน เช่น ตูน บอดี้สแลม

เริ่มจากจุดเล็กๆมาสู่การวิ่ง 2 พันกว่ากิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า ต้องมีความเสียสละ ตั้งใจ อดทน คนจึงศรัทธาแล้วเกิดความร่วมมือร่วมใจ ทำให้นำไปใช้กับเกษตรกรได้ โดยต้องเสียสละ ตั้งใจและอดทนก่อน

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอชมเชย เป็นบรรยากาศนำเสนอที่ตรงประเด็น ได้เห็นถึงศักยภาพข้างใน แต่ก็เป็นแค่จุดเริ่มต้น ที่ตั้งฝ่าอุปสรรคมากมาย เมื่อมีอุปสรรค ก็ต้องเอาชนะมัน

          ศักยภาพของคนในห้องนี้และจากมุมคนนอก ก็ต่างกัน จากการจัดหลักสูตรแบบนี้มานาน การรวมพลังกันเกิดจากการสร้างแรงบันดาลใจร่วมกัน พลังนี้ต้องเดินหน้าต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ การทำ workshop และได้ฟังความคิดเห็นของกลุ่มอื่นๆ ทั้ง 5 กลุ่มทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กรอบวิธีการเรียนการสอนทำให้ทุกท่านเข้าใจมุมมองการทำงานของกระทรวง

          กลุ่ม 3 เป็นความเข้าใจของกลุ่มแล้วนำเสนอให้กลุ่มอื่นทราบ เมื่อเข้าใจแล้วก็มีการปลุกพลัง

          กลุ่ม 1 เล่าถึงการก้าวข้ามอุปสรรคโดยใช้กฎหมาย โอกาสมา กระทรวงฉกฉวยได้ทัน ทำให้สามารถทำสิ่งที่ไม่เคยทำได้

          กลุ่ม 2 สรุปว่า ปัญหาอยู่ในดิน น้ำ ลม ไฟและคน ทำให้เห็นภาพ

          กลุ่ม 4 ทำให้เห็นสิ่งที่ต้องการ แต่น่าสนใจคำว่า แสนยานุภาพ ต้องเริ่มจากกลุ่มเล็กๆก่อน เช่น คนที่มีความคิดคล้ายๆกันก่อน

          กลุ่ม 5 กล่าวถึงรัชกาลที่ 9 ทำให้เห็นถึงความเข้าใจ แล้วต้องเข้าถึงวิสัยทัศน์กระทรวงเกษตร หลังจากนั้นก็หายุทธศาสตร์เข้าไปพัฒนา

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะยกระดับรายได้มหาศาล กระทรวงเกษตรเข้าไปอยู่ทุกเรื่อง

วันนี้บรรลุวัตถุประสงค์ทุกข้อ

แรงบันดาลใจจะผลักดันการเปลี่ยนแปลงได้ไหม แต่แสนยานุภาพจะสามารถผลักดันได้

ยุคดิจิตอลมาแล้ว ไม่ควรตกกระแส มิฉะนั้นจะเสียเปรียบต่างชาติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          บรรยากาศแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับการเรียนกับอาจารย์ท่านอื่น

          2 ประเด็นใหม่ที่ฝังกลับไปในตัวคืออะไร

กลุ่ม 1

          2R’s ต้องเป็นจริง ทำไปจะเป็นประโยชน์ เมื่อตรงประเด็นก็แก้ปัญหาได้

          แรงบันดาลใจและมีข้อมูล ก็สร้างวิสัยทัศน์ทำงานต่อได้

กลุ่ม 2

อาจารย์ให้แรงบันดาลใจ ถ้าแรงบันดาลใจถูก IVC  ทำให้กลั่นพลังภายใต้ข้อจำกัด

กลุ่ม 3

กระทรวงเกษตรต้องไม่ย่อท้อ เพื่ออดทนต่อการอธิบาย ติดตาม น่าจะได้นำไปใช้

ในเรื่องรูปแบบอาจารย์นำมาแทบไม่เคยเห็นวิทยากรอธิบายและสรุปซึ่งกันและกัน อาจนำไปใช้ในพื้นที่ได้

กลุ่ม 4

2R’s เช่น นโยบายปรับลดพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ แบ่งตามความเหมาะสมพื้นที่ พื้นที่ที่ไม่เหมาะ ส่วนราชการก็เสนอว่าจะทำอะไร ส่วนมากเกษตรกรปลูกข้าวเพื่อการยังชีพตามความเคยจริง อยากให้ผู้บริหารเข้าใจและสะท้อนในนโยบาย

กลุ่ม 5

แรงบันดาลใจมาจากใจตนเองและจากภายนอก เช่น บุคคลและสิ่งแวดล้อมอื่น บุคคลคือ Idol เราต้องทำให้เหมือนหรือดีกว่าเขา พวกสิ่งแวดล้อมก็เป็นแรงบันดาลใจได้ เช่น ทำให้เกิดการแก้ปัญหา ต้องดูตนเองก่อน จะนำปัจจัยภายนอกอะไรมาใช้ ต้องดูแต่ละพื้นที่ แล้วจะได้ใช้แรงบันดาลใจให้ประสบความสำเร็จ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          หัวข้อนี้มี 3 เรื่องอยู่ในข้อเดียวกัน ถ้าโยงเข้าหากันได้ ก็ดี หลังจากรัชกาลที่ 9 สวรรคต ไม่มีใครคาดว่า คนไทยสำนึกและเข้าใจท่านอย่างลึกซึ้ง แม้ถวายพระเพลิงแล้ว ศาสตร์พระราชาต้องอยู่ต่อ และกลายเป็นแรงบันดาลใจระดับสากลแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงทำให้เกิดความยั่งยืน

          อาจารย์จีระได้ใช้ศาสตร์พระราชาคือ ต้องมีสุขภาพดีและไม่หยุดการเรียนรู้

          นอกจากนี้ต้องทำงานอย่างมีความสุข อาจารย์จีระบอกว่า การทำงานไม่ควรเน้นแค่ผลงานแต่ต้องเน้นสุขภาพ ความสมดุลในชีวิต

          คนในกระทรวงควรรักษาสุขภาพให้ดี เมื่อเกษียณแล้วนำความรู้ไปแบ่งปันได้

          ความสำเร็จที่ยังไม่มาเกิดจากสภาพแวดล้อมในอดีต

          กลุ่มนี้ควรรวมตัวกันและรักกัน ถ้าเริ่มแบ่งปันกันรู้ก็ไม่มีปัญหา อย่าทำงานคนเดียว

          หลายเรื่องที่ทุกกลุ่มนำเสนอเป็นภูมิปัญญา ขอแสดงความยินดี

หมายเลขบันทึก: 643850เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2018 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2018 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันที่ 6 มีนาคม 2561

ภาคเช้า อ.มงคล เหล่าวรพงศ์

เรื่อง 1.การจัดทงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

วัตถุประสงค์

    1.ทบทวนเป้าหมายแนวทางและตัวชี้วัดให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์และแผนงานต่างๆ

    2. ประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับท้ั้งในระยะสั้น/ยาว และประเมินผลสัมฤทธิ์

   การดำเนินงาน

    1.กำหนดหลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขต ภารกิจ เป้าหมาย แนวทาง  ตัวชี้วัด

    2.การจัดทำแผนแม่บทระยะปานกลาง ระยะยาว แผนปฏิบัติงาน แผนการใช้งบประมาณ ทั้ง 3 ด้าน พื้่นที่ กระทรวง           รัฐบาล

    3.ส่งแผนให้กับสำนักงบประมาณ

    4.ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์

   แนวทางการจัดทำงบประมาณ

     1.กำหนดขอบเขต หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยงานดำเนินการ

     2.กำหนดโครงการ กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ

     3.กำหนดแนวทางในการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์

     4.แสดงผลการบูรณาการภารกิจและงบประมาณได้อย่างครบถ้วน

     5.โครงการ-กิจกรรมเป็นไปตามภารกิจและหน้าที่

   การเชื่่อมโยงและการประสานแผนงาน

      1.ใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือ

      2.จัดทำเป็น Project Base

    การกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จ

      ---> เป็นรูปธรรม ชัดเจน

      ---> เข้าใจตรงกัน ยอมรับทุกฝ่าย

     ----> แผนงานบูรณาการอย่างครบถ้วน

# แผนงานบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์  ปีงบประมาณ พ.ศ 2561 (28 แผนบูรณาการ)

2.ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ SEPA

    บริบทของรัฐวิสาหกิจ

        1.การนำองค์กร

        2.การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

        3.การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด

        4.การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

        5.การมุ่งเน้นบุคลากร

        6.การมุ่งเน้นการปฏิบัตการ

        7.ผลลัพธ์

     การวัดผลการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจ มี 2 แบบ

       1.ด้านการเงิน

       2.ด้านที่ไม่ใช่การเงิน

 # แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี (พ.ศ.2559-2568) การเคหะแห่งชาติ

    * 4.6 ล้านครัวเรือนไม่มีที่อยู่อาศัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง<p>    * 2.7 ล้านครัวเรือนเป็นผู้มีรายได้น้อย ที่ต้องให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน</p><p># กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์</p><p>     —–> การเคหะแห่งชาติ 1.7 ล้านหน่วย</p><p>     —–> สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 1.0 ล้านหน่วย</p><p>ต่อด้วย อ.ดวงตา ตันโช</p><p>เรื่อง ระบบงบประมาณของประเทศไทย</p><p>1.ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ SPBB รัฐบาลเป็นผู้ซื้อสินค้า/บริการ สำนักงบประมาณเป็นผู้ช่วยรัฐบาลในการพิจารณาตัดสินใจ —–> สร้างความมั่นใจให้ประชาชน</p><p>2.หน่วยงานภาครัฐเป็นผุ้ผลิต —–> มีคุณภาพและประหยัดเพื่อเสนอขาย</p><p> กระบวนการงบประมาณ มี 5 ขั้นตอน</p><p>     1.การวางแผนงบประมาณ</p><p>     2.การจัดทำงบประมาณ</p><p>     3.การอนุมัติงบประมาณ</p><p>     4.การบริหารงบประมาณ</p><p>     5.การประเมินผล</p><p> การวางแผนต้องสอดคล้องกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ </p><p># การทำข้อเสนองบประมาณ</p><p>-รอบแรกประมาณเดือนธันวาคม</p><p>-รอบที่สอง เสนอประมาณเดือนมกราคม - เมษายน</p><p>  แบ่งเป็น 5 กล่อง</p><p>         1.Function แผนบุคลากร แผนพื้นฐาน</p><p>         2.Agenda แผนบูรณาการ แผนยุทธศาสตร์</p><p>         3.Area จังหวัด ธปท.</p><p>         4.งบกลางฉุกเฉินจำเป็น/ภัยพิบัติ/เร่งด่วน</p><p>         5.ชดใช้เงินกู้/คงคลัง</p><p>แนวการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ.2561 ดังนี้</p><p>         1.สอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ ลำดับความสำคัญสูงในเชิงนโยบายส่งผลสำเร็จต่อยุทธศาสตร์การจัดสรร</p><p>         2.กำหนดเป้าหมาย ค่าเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรมอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม  </p><p>            ตามระยะเวลาที่กำหนด   </p><p>         3.ผลประโยชน์หรือผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ มีความเหมาะสมและคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ สังคม หรือความ                    มั่นคง</p><p>         4.ตรวจสอบและยืนยันอย่างชัดเจนว่าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย</p><p>         5.เป็นพันธกิจหลักตามกฏหมายจัดตั้งหน่วยงาน มีมติครม.รองรับ/มอบหมายให้ดำเนินการ โดยมีแผนรองรับ                  อย่างชัดเจน</p><p>        6.หน่วยงานและบุคลากรมีศักยภาพและจำนวนที่สอดคล้องกับภารกิจที่ต้องดำเนินงานโครงการ ความพร้อมและ             ความเหมาะสมทางเทคนิค/กายภาพพื้นที่ดำเนินการ เครื่องมือและอุปกรณ์</p><p>        7.ไม่ก่อให้เกิดภาระของภาครัฐบาลมากเกินสมควร ทั้งในมิติของวิธีการดำเนินการ ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย โดย              เฉพาะภาระงบประจำ</p><p>       8.โครงการหรือกิจกรรมเดิมให้ทบทวน/ตรวจสอบสถานภาพ ผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่าย ปัญหาและ                     อุปสรรค เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็น</p><p>อ.สาธิต อนันตสมบูรณ์</p><p>       ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง การเคหะฯ ห้องแสดงผลงาน</p><p>         1.สิ่งที่เสียไปเกิดประโยชน์หรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่</p><p>         2.การเคหะฯได้สร้างบ้านให้ประชาชนดีขี้ขหรือยัง มีการดูแลอย่างไร </p><p>   #  สิ่งที่รัฐวิสาหกิจต้องมี คือ ธรรมาภิบาล <สุจริต โปร่งใส ถูกฏหมาย></p><p>  #  การทำงบประมาณทุกอย่างให้มองผลลัพธ์ที่เกิด แล้วไล่กลัลมาหาการดำเนินการ ไม่ว่าเราตั้งอะไรก็ตาม แต่กลับ          มาต้องนำมาใช้ได้จริง </p><p> # มูลเหตุ คือ ทุจริต ประพฤติมิชอบ ไม่รู้ว่าผลคืออะไร การทำงานต้องคิดว่าเกิดผลประโยชน์ได้จริงหรือไม่ ระบบ IT          เหมาะสมหรือไม่</p><p> # เงินทุกอย่างมีค่า เราจะบริหารอย่างไรให้อยู่ได้ ดังนั้นอนาคตในองค์กรต้องมองความเป็นไปได้ในอนาคต</p><p># วิธีการเป็นผู้นำ ต้องคิดเป็น ใช้เงินเป็น คนทำดีต้องสนับสนุนต้องส่งเสริม ผู้นำบางครั้งอาจไม่เปิดเผยตัว เพื่อที่จะรู้จักคนมากขึ้น แล้วจะให้ความเป็นธรรม ความถูกต้อง ปกป้องลูกน้อง</p><p>
</p><p>
</p><p></p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท