อาณาจักรโบราณของชนชาติไทย


อาณาจักรฟูนัน

สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชาวขอม

            มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอู่ทองหรือเมืองออกแก้วไม่ทราบแน่ชัด แต่มีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่า วยาธปุระ มีอาณาเขตครอบคลุมประเทศกัมพูชาทั้งหมด และบริเวณภาคกลางของไทย   ฟูนันเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-10

เมื่อฟูนันเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรทวารวดีมีอำนาจขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแทนอาณาจักรฟูนัน

 ฟูนันมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและอินเดีย วัฒนธรรมประเพณีของฟูนันได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

       อาณาจักรทวารวดี 

        อยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 11-12   มีเมืองสำคัญ  คือ เมืองละโว้ และเมืองนครชัยศรี นอกจากนี้ยังมีเมืองอื่นๆอีก เช่น เมืองคูบัว เมืองอู่ทอง  เมืองศรีเทพ  

    อาณาจักรทวาราวดีตั้งอยู่ในบริเวณสองฝั่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  อาณาจักรทวารวดีเกิดขึ้นหลังจากฟูนันเสื่อมอำนาจลง  วัฒนธรรมประเพณีคล้ายกับอาณาจักรฟูนัน เป็นลักษณะเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบเมืองเป็นรูปวงกลมหรือวงรี ประมาณ ๑-๓ ชั้น แต่ละเมืองจะมีกษัตริย์ปกครองตนเอง ชุมชนทวารวดีเจริญรุ่งเรืองมาก

อาณาจักรละโว้ 

             แต่เดิมสันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของขอม แต่จากหลักฐานในปัจจุบัน น่าเชื่อว่าเป็นอาณาจักรโบราณของไทย อาณาจักรละโว้อาจเป็นถิ่นกำเนิดของพระเจ้าอู่ทอง ผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ละโว้ตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในช่วงที่ขอมเจริญรุ่งเรือง วัฒนธรรมคล้ายขอม

มีอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ พร้อมๆกับอาณาจักรทวารวดีและศรีวิชัย

มีพัฒนาการต่อเนื่องมาจากอาณาจักรทวารวดี บางเมืองเกิดขึ้นซ้อนทับเมืองทวารวดี บางเมืองย้ายไปสร้างใหม่ในที่ไม่ไกลนัก

อาณาจักรตามพรลิงค์ 

        เป็นชุมชนสำคัญแถบชายทะเลในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทย   มีหัวเมืองสำคัญได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา เมืองปัตตานี เมืองสงขลา เมืองตะกั่วป่า

       เริ่มราวปลายพุทธศตวรรษที่ 13 ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 นับเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในแหลมมลายู มีชื่อเรียกในศิลาจารึกว่า ตามพรลิงค์ และยังมีชื่อในตำนานต่างๆว่า นครดอนพระ ศรีธรรมราช ศิริธรรมราช เป็นต้น

        อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นชุมชนสำคัญแถบชายทะเลในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทย มีหัวเมืองสำคัญได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา เมืองปัตตานี เมืองสงขลา เมืองตะกั่วป่า เคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย แต่ได้กลับมาตั้งตัวเป็นอิสระและมีความเจริญถึงขีดสุดทั้งด้านอาณาจักรและศาสนจักร ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีเมืองขึ้นถึง 12 หัวเมือง โดยใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีนักษัตรเป็นตราประจำเมืองขึ้นนั้นๆ

 สายบุรี – หนู   /  ปัตตานี – วัว   /  กลันตัน – เสือ  / ปาหัง – กระต่าย   / ไทรบุรี –งูใหญ่  /  พัทลุง – งูเล็ก  ตรัง –ม้า  /  ชุมพร – แพะ   / บันไทยสมอ – ลิง     /สงขลา – ไก่  / ตะกั่วป่า (ถลาง) – หมา   /  กระบุรี – หมู 

        เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 20หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุเจดีย์

อาณาจักรศรีวิชัย

     เป็นอาณาจักรใหญ่ในภาคใต้ของไทย ตั้งอยู่บนเกาะชวา เกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายู และดินแดนบางส่วนของไทย

    มีความเจริญรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 เสื่อมอำนาจราวพุทธศตวรรษที่ 18 เสียอำนาจให้กับอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไชยา และนครศรีธรรมราช

อาณาจักรโคตรบูร 

             ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนม ครอบคลุมดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่เมืองอุดรธานี หนองคาย เวียงจันทน์ นครพนม จนถึงอุบลราชธานี มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านช้าง

     หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ

พระธาตุพนม จ.นครพนม

ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา

ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

อาณาจักรหริภุญชัย 

            ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ตรงกับปี พ.ศ.1206 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำวัง มีเมืองสำคัญคือ เมืองลำปาง (เมืองเขลางค์นคร) เมืองลำพูน (เมืองหริภุญชัย) มีปฐมกษัตริย์คือ นางจามเทวี ธิดากษัตริย์แห่งกรุงละโว้ จนถึงพญายีบา

รวมทั้งสิ้น 49 พระองค์

           ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายมหาราช ประมาณปี พ.ศ.1824

           หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ วัดจามเทวี วัดพระธาตุหริภุญชัย

         อาณาจักรล้านนา 

         เป็นอาณาจักรโบราณอยู่ทางภาคเหนือของไทย ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 บริเวณดินแดนแม่น้ำปิง แม่น้ำกก และแม่น้ำโขง แบ่งเป็น 2 แคว้น คือ แคว้นโยนกเชียงแสน พระเจ้าสิงหนวัติ ผู้สร้างเมือง “โยนกนาคพันธุ์” ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบเชียงราย 

        มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงพระเจ้าพรหมมหาราช แต่ต่อมาในตำนานสิงหนวัติกล่าวไว้ว่า อาณาจักรแห่งนี้ถูกรุกรานจากภายนอกและเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมจนเมืองล่มกลายเป็นหนองน้ำ และแคว้นเงินยางเชียงแสน ต่อมาได้รวมกับอาณาจักรหริภุญชัย

     หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาได้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง

หมายเลขบันทึก: 643818เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2018 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2018 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Thank you fir this very informative article.

I read the title 'อาณาจักรโบราณของชนชาติไทย' and the first passage 'อาณาจักรฟูนัน ...สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชาวขอม...'. This implies/assumes ชาวขอม is ชนชาติไทย, does it not?

Another question please. The names of ancient kingdoms listed are very much 'indic' (Sanskrit/Pali) except  อาณาจักรฟูนัน which sounds 'chinese'? The ariticle says 'อาณาจักรฟูนัน...แต่มีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่า วยาธปุระ...วัฒนธรรมประเพณีของฟูนันได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย...' - any explanation for the origin of this name?

ดีมากเลยคร้าาา เข้าใจง่าย

ขอบคุณมากนะคะที่สรุปให้คะ อ่านรู้เรื่องดีมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท