พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างใหม่ ปี 60


สรุปสาระสำคัญ ร่างพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 

สรุปได้ดังนี้

          1. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

          ๒. กำหนดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในลักษณะของการทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้เข้ายื่นข้อเสนอ โดยทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลาง และไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น

          ๓. กำหนดให้มีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดเผยแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีการประกาศเผยแพร่ราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทำประกาศเชิญชวน การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอการประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาการประกาศยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง และการทำสัญญา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนในการเข้ามาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้อย่างเต็มรูปแบบ

          ๔. กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอหรือเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยเกณฑ์การประเมินให้พิจารณาจากผลการดำเนินการที่ผ่านมาของผู้ประกอบการเป็นสำคัญซึ่งผู้ที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจะถูกระงับการเสนอราคาหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐชั่วคราวทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีความพร้อมในการทำงานได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐและยังเป็นการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐ กรณีที่ผู้ประกอบการไม่มีความพร้อมในการทำงานอันอาจจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาให้แล้วเสร็จและนำไปสู่การลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงานต่อไปในภายหลัง

          ๕. กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ราคาต่ำสุดเสมอไปแต่ให้พิจารณาคุณภาพประกอบราคาได้ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานของรัฐได้พัสดุที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานมากที่สุด อีกทั้งยังก่อให้เกิดความคุ้มค้าต่อภารกิจของรัฐซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอีกด้วย

          ๖. กำหนดให้มีกระบวนการร้องเรียนและอุทธรณ์ กรณีที่พบว่าหน่วยงานของรัฐ มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้ร้องเรียนต่อหน่วยงานผู้จัดซื้อจัดจ้างโดยตรง และเมื่อหน่วยงานผู้จัดซื้อจัดจ้างงมีคำวินิจฉัยแล้ว หากผู้ร้องเรียนไม่พอใจผลการวินิจฉัยก็สามารถอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ได้อีก           ๗. กำหนดเรื่องบทลงโทษ กรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยทุจริต ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำความผิดนั้นและหากการกระทำความผิดนั้นเกิดจาการสั่งการหรือไม่สั่งการของผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการหรือไม่สั่งการของผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการ

หมายเลขบันทึก: 643611เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2017 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2017 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท