๑๖. ศาสตร์พระราชา..ช่วยพัฒนาบ้านเล็กในป่าใหญ่..(๑)


โรงเรียนขนาดเล็ก..ปัญหาอยู่ที่คุณภาพการเรียนการสอน..ปัจจัยหลักๆของปัญหา คือ นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้..จึงไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม..

            วันพรุ่งนี้..คณะผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะเดินทางถึงโรงเรียนเก้าโมง เพื่อชมผลการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน..ด้วยศาสตร์พระราชา..

            คณะที่จะมา..สนใจโรงเรียนเล็กในป่าใหญ่..ที่ใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร..ซึ่งผมเคยบอกคณะผู้ประสานงานไปแล้วว่า..ที่โรงเรียนยังไม่สมบูรณ์แบบ ยังอยู่ในขั้นศึกษาเรียนรู้ ควบคู่การปฏิบัติ..

            คำสอนของพระองค์ท่าน..ลึกซึ้ง..ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้..และดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป..จะทำให้เข้าถึง และฝังลึกเป็นนิสัย..ปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ..

            ผมจะบอกคณะที่มาเยี่ยมชมว่า..ศาสตร์พระราชา..ที่โรงเรียนน้อมนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็คือ..ทำให้ง่าย(simplicity)..ที่พระองค์ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงานการพัฒนาประเทศ ตามแนวพระราชดำริโดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน..

            ทรงโปรดที่จะทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย “ทำให้ง่าย”

            ดังนั้น..โรงเรียนขนาดเล็ก..ต้องทำให้ง่าย แปลงนโยบายการศึกษาระดับประเทศ..มาปรับและคิดค้นนวัตกรรม(วิธีการ) นำสู่ภาคปฏิบัติให้หลากหลายและทำได้จริง..

            การพึ่งตนเอง..ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่สำคัญ การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้เขาแข็งแรงพอที่จะดำเนินชีวิตได้ต่อไป...

            แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้เขาสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ “พึ่งตนเองได้” ในที่สุด...

            ศาสตร์ข้อนี้..โรงเรียนขนาดเล็ก..ต้องตระหนักและรู้จักตนเอง..ด้วยการทำงานไปข้างหน้า มากกว่า..การรอ เพราะการรอรับการช่วยเหลือจากต้นสังกัดตลอดเวลา อาจทำให้องค์กรไม่มั่นคง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขาดความเชื่อมั่น ถ้าจะทำงานให้ได้ผล..ก็ต้องรู้จัก..พึ่งตนเองบ้าง..ในบางเรื่อง....

            “แก้ปัญหาที่จุดเล็ก” ก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่ง ที่พระองค์ใช้ทรงงานมาตลอด ทรงมองปัญหาในภาพรวมก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาจะเริ่มจากจุดเล็กๆ คือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งคนมักจะมองข้าม

            “..ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก..ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน..เพื่อให้อยู่ในสภาพที่คิดได้..”

            โรงเรียนขนาดเล็ก..ปัญหาอยู่ที่คุณภาพการเรียนการสอน..ปัจจัยหลักๆของปัญหา คือ นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้..จึงไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม..

            ปัญหาดังกล่าวมองดูเหมือนเป็นปัญหาใหญ่ แต่ในโรงเรียน..มีครูและผู้บริหาร จึงต้องมองปัญหานี้ให้เล็ก แล้วช่วยกันบริหารจัดการ..แก้ปัญหาที่จุดเล็ก..เป็นปัญหาที่เด่นชัดเฉพาะหน้า..จะช่วยแก้ปัญหาในภาพรวมได้ทั้งหมด...

            ข้อสุดท้าย..ที่ผมนำศาสตร์พระราชามาปฏิบัติ โดยจะดูที่..ภูมิสังคม..การพัฒนาใดๆต้องคำนึงถึง (๑) ภูมิประเทศของบริเวณนั้น ดิน น้ำ ป่า เขา ฯลฯ (๒) สังคมวิทยา (นิสัยใจคอของผู้คนตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น)

            นั่นคือ..การพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน..ที่ควรจะเป็น คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ทำงานให้ใกล้ชิดธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น เคียงคู่อย่างรู้คุณค่า จะช่วยให้โรงเรียนก้าวไปข้างหน้า..แม้จะช้า..แต่ก็มั่นคง..และยั่งยืน..

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๒๐  ธันวาคม  ๒๕๖๐

 

   

  

 

  

   

            

หมายเลขบันทึก: 643486เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2017 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2018 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท