ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ผู้นำตามแนวพุทธศาสนา 2


20171116150914.pptx

ผู้นำตามแนวพุทธศาสนา

สิบเอก ฐิติกร  น้อยอ่ำ ชั้นปี 4 เลขที่ 27

                           ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ สั่งการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้มีการเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้บัญชา  การเหล่าทัพ ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ กำนัน เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ปลัดกระทรวง คณบดี[1] 

                              ผู้นำมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   เพราะองค์กรหรือหน่วยงานจะเจริญก้าวหน้าหรือตกต่ำ   ผู้นำเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   ในทางพระพุทธศาสนา มีพุทธพจน์บทหนึ่งได้กล่าวแสดงถึงความสำคัญของผู้นำไว้ว่า

                           “เมื่อฝูงโคจ่ายข้ามน้ำ ถ้าโคจ่าฝูงไปคด โคหมดทั้งฝูงนั้นก็ไปคดตามกัน เพราะมีผู้นำไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ฉันนั้น บุคลผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ หากบุคคลผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม หมู่ประชาชนนอกนั้นก็จะประพฤติซ้ำเสียหาย แว่นแคว้นทั้งหมดก็จะยากเข็ญ หากผู้ปกครองเป็นผู้ไร้ธรรม”

                            “เมื่อฝูงโคว่ายข้ามน้ำ ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคหมดทั้งฝูงนั้นก็ไปตรงตามกัน เพราะมีผู้นำที่ไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น บุคคลผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ หากบุคคลผู้นั้นประพฤติชอบธรรม หมู่ประชาชนนอกนั้นก็จะพลอยดำเนินตาม ทั้งแว่นแคว้นก็จะอยู่เป็นสุข หากผู้ปกครองตั้งอยู่ในธรรม”[2]

                          พุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นความสำคัญของผู้นำต่อความอยู่รอด สวัสดิภาพ และสันติสุขของสังคมและประเทศชาติทั้งหมด    คำสอนในทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นอกาลิโก  คือไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย   โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคุณสมบัติผู้นำ  พระพุทธเจ้าได้แสดงหลักธรรม หรือคุณสมบัติของผู้นำไว้หลายประการ 

                    หลักผู้นำจากพระพุทธศาสนาประการแรก คือ บทบาทของผู้นำกับการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะจากปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ทำให้ผู้นำขององค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยภายใต้หลักกัลยาณมิตรธรรมหรือธรรมของกัลยาณมิตร 7 ประการนั้นมีอยู่ข้อหนึ่ง คือ วัตตา หรือเป็นผู้รักจักพูด โดยการที่จะเป็นนักพูดที่ดีนั้นต้องพูดให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ พูดให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ หรือพูดให้ผู้อื่นช่วยกันสร้างสรรค์ประโยชน์ ไม่ใช่การพูดเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ลักษณะของนักสื่อสาร หรือนักพูดที่ดีไว้ 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ พูดแจ่มแจ้ง (อธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจน) พูดจูงใจ (พูดจนคนยอมรับและอยากจะลงมือทำ) พูดเร้าใจ (พูดให้เกิดความคึกคัก กระตือรือร้น) และพูดให้ร่าเริง (พูดให้เกิดความร่าเริง มีความหวัง ในผลดีและทางที่จะสำเร็จ)ผู้นำควรจะยึดเป็นหลักธรรมในการบริหารงานเป็นประจำวันทั่วไปเลยครับ โดยเฉพาะกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ กับองค์กร โดยเมื่อบุคคลอื่นมีปัญหา มีทุกข์ เดือดร้อน ผู้นำก็ต้องมีความกรุณาที่จะแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลอื่นประสบความสำเร็จ มีความสุข ก็ต้องมีมุทิตา ที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน และยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ในช่วงสถานการณ์ปกตินั้นก็ต้องคอยดูแล เอาใจใส่ให้บุคคลต่างๆ ในองค์กรมีความสุขในการทำงาน และสุดท้าย ในการบริหารงานทุกอย่างผู้นำจะต้องมีและสามารถรักษาความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งหลักของอุเบกขานั้นจะคุมเมตตา กรุณา มุทิตา ไว้อีกด้วย โดยการปฏิบัติหรือช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ก็จะต้องมีความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง[3]

                       หลักผู้นำจากพระพุทธศาสนาประการที่สอง คือหลักพรหมวิหาร 4 ประการ ซึ่งถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ผู้บริหารจะต้องมีอยู่ประจำในจิตใจ เพื่อนำไปสู่การแสดงออกที่ดีและเหมาะสม สำหรับตัวผู้นำ ถ้าสามารถแสดงออกได้อย่างดีและเหมาะสมแล้ว ก็จะนำไปสู่ศรัทธาจากบุคคล  ต่าง ๆ ในองค์กร และทำให้สามารถนำพาทุกคนไปในทิศทางเดียวกันได้ พรหมวิหาร 4 นั้นประกอบด้วย เมตตา ความเป็นมิตรไมตรีต่อผู้อื่น มีนํ้าใจ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น กรุณา คือ ความต้องการช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน โดยเมื่อผู้อื่นมีทุกข์นั้นผู้นำจะต้องมีกรุณา ช่วยบำบัดทุกข์ให้ มุทิตา คือ เมื่อพนักงาน เพื่อนร่วมงานมีความสุข ความสำเร็จมากขึ้น ผู้นำก็จะต้องพลอยยินดี ช่วยส่งเสริมสนับสนุน และสุดท้าย คือ อุเบกขา คือ การรักษาความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง หลักพรหมวิหารสี่นั้นเป็นสิ่งที่ผู้นำควรจะยึดเป็นหลักธรรมในการบริหารงานเป็นระจำวันทั่วไป โดยเฉพาะกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ กับองค์กร โดยเมื่อบุคคลอื่นมีปัญหา มีทุกข์ เดือดร้อน ผู้นำก็ต้องมีความกรุณาที่จะแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลอื่นประสบความสำเร็จ มีความสุข ก็ต้องมีมุทิตา ที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน และยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ในช่วงสถานการณ์ปกตินั้นก็ต้องคอยดูแล เอาใจใส่ให้บุคคลต่าง ๆ ในองค์กรมีความสุขในการทำงาน และสุดท้าย ในการบริหารงานทุกอย่างผู้นำจะต้องมีและสามารถรักษาความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งหลักของอุเบกขานั้นจะคุมเมตตา กรุณา มุทิตา ไว้อีกด้วย โดยการปฏิบัติหรือช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ก็จะต้องมีความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ปัจจุบันเรารับอิทธิพลในแนวคิดทางด้านการบริหารจากโลกตะวันตกมามากขึ้น ทำให้เรามักจะละเลยการนำหลักธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้กับการนำองค์กรของเรา แต่จริง ๆ แล้ว การนำหลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้กับการบริหารองค์กรนั้น น่าจะเหมาะกับบริบทของประเทศไทยมากกว่าการนำหลักของตะวันตกมาใช้แต่เพียงอย่างเดียว[4]

                          สรุป หากเราพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันนั้น ก็จะพบว่าผู้นำขององค์กรต่างๆ กำลัง เผชิญหน้ากับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน รุนแรง และมีพลวัตสูง อันเกิดจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ มีผลทำให้ศักยภาพในการแข่งขัน ขององค์การต่างๆ สูงขึ้นตามลำดับ การที่องค์การจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยภายใต้สภาวการณ์ ดังกล่าวย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่ถูกต้อง มีความสมเหตุสมผล รอบคอบและทันต่อสถานการณ์ของ ผู้บริหารในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กร ด้วยเหตุผลดังกล่าว องค์การต่างๆ จึงต้องการผู้นำที่เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้งาน รู้จุดมุ่งหมาย ของงาน มีความเข้าใจตนเอง รู้จักความพอดีรู้จักบริหารเวลา มีมนุษย์สัมพันธ์และเข้ากับเพื่อน ร่วมงานได้เป็นอย่างดีเพื่อที่จะสามารถนำพาองค์การพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง ท่ามกลางสภาพของการแข่งขันที่รุนแรงเฉกเช่นในปัจจุบัน หลักธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสามารถนำมาปรับใช้กับผู้นำขององค์กรในยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่าง   และผู้นำที่มีคุณสมบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์การในปัจจุบัน และรับมือกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดียิ่ง


[1]บุญทัน ดอกไธสง  http://www.baanjomyut.com  ( 14 ต.ค. 60 )

[2] ขุ.ชา. 27/634-637/149 เข้าถึงจาก http://84000.org (14 ต.ค.60)

[3]ผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา  รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์  http://www.onab.go.th/en/ ( 14 ต.ค. 60 )

[4] ผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา  รศ .ดร.พสุ เดชะรินทร์ https://www.gotoknow.org/ ( 14 ต.ค. 60 )

หมายเหตุ :  บทความนี้เป็นการฝึกเขียนของนักศึกษาภาคพิเศษ  ที่ได้รับการมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนรายวิชาสัมมนาศาสนากับการเมือง  

คำสำคัญ (Tags): #ผู้นำ#พุทธศาสนา
หมายเลขบันทึก: 642786เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2017 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2017 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท