ร่วมจัดการความรู้กับเครือข่ายปากพนัง


            เมื่อวันที่ - ๘ ส.ค. ๔๘ สหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช ชมรมสหกรณ์จังหวัดฯ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ชุมชนท้องถิ่น จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางในการนำแนวคิด และเครื่องมือในการจัดการความรู้ มาประยุกต์ใช้ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาขบวนการ สหกรณ์ และอบต.ของจังหวัดนครศรีธรรมราช”

            คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการโครงการฯ ได้นำเสนอประสบการณ์ในการพัฒนาสนับสนุนให้เกิด ‘นักจัดการความรู้ท้องถิ่น’ (นจท.) ในพื้นที่นำร่อง ๕ จังหวัด ภาคกลาง โดยใช้หลัก “การเรียนรู้จากชีวิตและฐานงาน จริง”  จากนั้น ได้นำเสนอแนวคิดและเครื่องมือในการ จัดการความรู้ในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนใน ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) การจัดการความรู้ระดับพื้นที่ (๒) การจัดการความรู้ระดับองค์กร และ (๓) การจัดการความรู้ระดับเครือข่าย
โดยกระบวนการจัดการความรู้ ควรเริ่มจากการ สรรหาแกนนำที่มีใจ มีฉันทะในการเรียนรู้ และเห็นประโยชน์ จากการทำหน้าที ่ดังกล่าวมาเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน

           บทสรุปของเวทีนี้ ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า เรื่อง “การจัดการความรู้”น่าจะเป็นประโยชน์ในการคลี่คลายปัญหา ของการทำงานที่เป็นอยู่ และจะเป็นปัจจัยสำคัญในการ พัฒนาความเข้มแข็งของขบวนการสหกรณ์ และอบต. ในอนาคต จึงมีความเห็นว่าควรดำเนินการเรื่องนี้ต่อ โดยทาง สหกรณ์จังหวัด และคุณทวี วิริยฑูรย์ ประธานกรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์การค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช จำกัด รับจะเป็นผู้ประสานงาน

           การนัดมาพบเจอกันในครั้งนี้ (๒-๔ ก.ย. ๔๘) ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) คือบุคลากรของ อบต.ปากพนังฝั่งตะวันตก แกนนำจากอบต. อื่นๆ และแกนนำสหกรณ์ รวมทั้งสิ้น ประมาณ ๓๕ คน 

           วัตถุประสงค์เพื่อต้องการ ๑) ทำความเข้าใจร่วมกัน เรื่องคุณค่าและประโยชน์เบื้องต้นในการทำงาน ๒) ทำ ความชัดเจนกับเป้าหมายหรือธงร่วม ๓) ร่วมกันวิเคราะห์ ความต้องการในการเรียนรู้ ๔) ร่วมกันพัฒนากรอบของ หลักสูตรการเรียนรู้ ๕) ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการที่มี เป้าหมาย วิธีการ ระยะเวลา บทบาทของแต่ละฝ่ายที่ชัดเจน อย่างน้อยในช่วง ๒ - ๓ เดือนแรก และปรับแผนระยะต่อๆ ไปร่วมกันอีกครั้ง และวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ๖) การสร้างพลังความสามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นทีม

           เริ่มเวทีด้วยเทศนาจากพระเจ้าอาวาส  การถูก กระตุกเรื่องปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร ท่านให้ แง่คิดเกี่ยวกับ ”ธรรมในการทำงานกับชุมชน” และตอกย้ำ การเป็นผู้นำชุมชน ต้องมีความสามัคคี ร่วมแรงใจกันทำงาน  ส่วนในกระบวนการเรียนรู้ ได้ความอนุเคราะห์จาก ทีมงานเสมสิกขาลัย นำโดยพี่น้อง (พูลฉวี เรืองวิชาธร)  มาสร้างการเรียนรู้เรื่องของ สภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม”  กิจกรรมที่นำพากลุ่ม อปท.นครศรีธรรมราช  เรียนรู้ร่วมกัน อาทิเช่น การเขียนหัวใจ ๔ ห้อง เป็นการตั้งสติเพื่อทบทวน ตัวเองในเรื่องของ ๑) ทุกข์ ๒) สุข ๓) งานสำคัญก่อนตาย และ ๔) ใครที่เราอยากขอโทษ และขอโทษอย่างไร กิจกรรมเกม คน ๔ ทิศ ทำให้เราหันมาเรียนรู้ ตัวเองและเรียนรู้ผู้อื่น (เปรียบเทียบกับลักษณะของ : เหยี่ยว กระทิง หมี หนู) ทำให้เรารู้ว่าคนมีหลายประเภท แต่ละ ประเภทมีจุดแข็ง จุดอ่อน เราจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะชีวิต ต้องอยู่ร่วมกับผู้คน ต้องทำงานร่วมกัน ความเข้าใจกัน จะเป็นพื้นฐานในการนำไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จ  เกมข้ามตาข่ายไฟฟ้า เป็นเกมที่ต้องอาศัยความ ร่วมมือกัน ความเชื่อใจกัน การเป็นผู้นำ และการเป็นผู้ตาม การรู้สำนึกความรับผิดชอบ ความเอื้ออาทร เห็นใจเพื่อน และอีกหลายความรู้สึกสำหรับการเรียนรู้ที่ได้จากเกมนี้...นอกจากนี้ ยังมีการสอดแทรกการฝึกโยคะ การ นั่งสมาธิเพื่อเตรียมความพร้อมของสภาพร่างกายและจิตใจ ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ส่วนท้ายเวที ก็ได้ร่วมมือ กันวางแผนการทำงานในระยะต่อไป

            ความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในเวทีครั้งนี้ เราคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำงานร่วมกันต่อไป.

หมายเลขบันทึก: 6426เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2005 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท