งานวิจารณ์หนังสือต่อ (3)


ต่อจาก (2 )

          ต่อไปก็จะกล่าวถึงในเนื้อหาเกี่ยวกับ  ภาคเกษตร  โดยจะกล่าวถึงการค้าเสรีไทย จีน              

          โดยในเรื่อง การค้าเสรีไทย-จีนนั้น  ซึ่งรัฐบาลไทยยกเหตุผลในการเปิดเขต  การค้าเสรีกับจีนว่าจะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ  โดยอ้างว่าจีนมีประชากรจำนวนมาก  ถือเป็นตลาดใหญ่  ซึ่งในเรื่องนี้ผู้เขียนได้แสดงความเห็นว่าประเทศไทยนั้นจะต้องมีอุปสรรคในเรื่องการส่งออกผัก-ผลไม้ไปจีนเพราะการนำเข้า ผัก-ผลไม้ไปจีนนั้นต้องดำเนินการผ่านผู้นำของจีนเท่านั้น  ซึ่งการออกใบอนุญาตแต่ละครั้งใช้เวลานาน  และมีการควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวด  ทำให้ผล-ผลไม้ตกค้างที่ด่านจนเน่าเสียและการกระจายสินค้าในประเทศจีนไม่สะดวกรวดเร็ว               

          นอกจากนี้หลังจากที่ไทยทำเอฟทีเอกับจีน ทำให้ผัก-ผลไม้ของไทยขาดดุลการค้าอย่างมากเพราะผัก-ผลไม้  จากจีนสามารถจงตลาดในประเทศไทย              

          ดังนั้นจึงมีข้อเท็จจริงที่ควรคำนึงคือ  

1. ประเทศจีนมีการปกครองแบบสังคมนิยม  จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้มีวิธีปฏิบัติในเรื่องต่างๆเช่นเดียวกับประเทศไทย

2. ประเทศไทยไม่ใช้แหล่งนำเข้าสินค้าเกษตรแต่เพียงอย่างเดียวของจีน  โดยไทยยังมีคู่แข่งอีกหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสหรัฐฯเป็นต้น

3. การเปิดเสรีระหว่างไทยกับจีนนั้นเป็นการเปิดเสรีเฉพาะสินค้า ผักและผลไม้  มิได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเสรีโดยสิ้นเชิง

4. ปัจจุบันจีนเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตร  มีสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่อย่างที่จีนต้องนำเข้าจากภายนอก             

          จากปัญหาทั้งหมดนี้  เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไทยเร่งเปิดเสรีกับจีนล่วงหน้าเพียง 3 เดือน  ทำให้ไทยไม่มีความพร้อมในหลาย ๆ  ด้าน  เช่น  เกษตรกรเพิ่งรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเปิดเสรีกับจีน  ภายหลังจากที่เปิดเสรีกับจีนเป็นเวลาหลายเดือน  ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจงานแผนได้อย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีความพร้อมกว่าไทยมาก เช่น  ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี  ดังนั้นจึงทำให้เกิดการค้าเสรีที่เป็นธรรมได้ยาก                  

          ต่อไปในเรื่องของสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ  จะกล่าวถึงสินค้าจีเอ็มโอที่สหรัฐฯจะส่งออกมายังประเทศไทย ซึ่งมี  2  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ  อาหารแปลงพันธุกรรม  และพันธ์พืชแปลงพันธุกรรม  โดยบทความนี้จะกล่าวเฉพาะประเด็นหลังเป็นสำคัญ  เนื่องจากหากรัฐบาลไทย  เปิดให้มีการนำพืช ดังกล่าวเข้ามาปลูกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อระบบการผลิตเกษตรกรรมของไทย               

          ดังนั้นรัฐบาลไทยต้องไม่ยินยอมให้สหรัฐฯ  ผลักดันให้ประเทศยอมรับมีการปลูกพืชจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์โดยเด็ดขาด  ทั้งนี้เนื่องจากการอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศได้หรือไม่นั้น  ไม่ใช้สื่อสารการค้าแต่เพียงอย่างเดียว  แต่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม  สุขภาพและอนาคตของประเทศ  การปลูกพืชจีเอ็มโอแม้เพียงบางส่วนก็อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรม  และเป็นการทำลายฐานความหลากหลายทางชีวภาพ  ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำหรับชีวิตและเศรษฐกิจของเรา               

1.  ในกรณีการผลักดันจีเอ็มโอของบรรษัทข้ามชาติเข้ามาปลูกในประเทศนั้น  รัฐบาลไทยต้องยืนยันว่าการปลูกพืชจีเอ็มโอนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้าเท่านั้น  แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางการเกษตรเรื่อความปลอดภัยของฐาน ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ  ดังนั้นการตัดสินใจในการห้ามปลูกจีเอ็มโอในประเทศไทยไม่อาจอ้างเงื่อนไขในข้อตกลงองค์การการค้าโลกว่าประเทศไทยกำลังกีดกันสินค้าของสหรัฐได้               

 2.  ที่จริงแล้วข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกในหลายมาตรา  ก็เปิดช่องให้ประเทศต่าง ๆ  ห้ามิให้ปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศของตน เช่น  ในมาตรา  20  ของแกตต์  1994  อนุญาตให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันทั่วไปของ  WTO  ได้ในกรณีที่ต้องออกมาตรการเพื่อการปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์และสัตว์  อนุรักษ์ทรัพยากร  ธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม               

          ประเทศไทยในฐานะประเทศอธิปไตย  ย่อมมีสิทธิในการกำหนดนโยบายเกษตรกรรมของตนเองในการจะปลูกพืชอะไรหรือไม่ปลูกพืชอะไร               

          ในเรื่อง  ทรัพย์สินทางปัญญา  ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนได้เขียนในประเด็นเรื่องยา  ซึ่งยาและสาธารณสุขเป็นเรื่องของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์  และเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นยุทธศาสตร์การเจรจาแลกเปลี่ยนต้อง อยู่บนหลักการว่าเกิดผลกระทบทางลบต่อการเข้าถึงยา และระบบสุขภาพหรือไม่  โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับข้อเสนอหลักการผลประโยชน์จากการค้าที่ได้รับเพราะชีวิตมีค่าเกินกวาที่จะนำไปเปรียบเทียบเป็นตัวเงิน   มีต่อ.....(4)

หมายเลขบันทึก: 64154เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท