ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

พุทธศาสนากับกรณีการเมืองประเทศพม่า


พุทธศาสนากับกรณีการเมืองประเทศพม่า

พระทศพร ทินฺนวิโร เลขที่ ๖

          พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่าในยุคใดนั้น ประวัติศาสตร์ยังเลือนลางอยู่ แต่เชื่อกันว่า พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคยานา ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบ ประเทศต่าง ๆ รวม ๙ สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วย และชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ทางตอนใต้ของพม่า จากประวัติศาสตร์ ได้ทราบว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าในราว พุทธศตวรรษที่ ๖ เพราะ ได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง ชื่อว่า ตารนาถ เห็นว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้ามาสู่เมือง พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้มีพระสงฆ์ฝ่ายมหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิตันตระ เข้าไปเผยแผ่ ในครั้งนั้น พม่ามีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง มีชื่อเรียกชาวพม่าว่า "มรัมมะ" ส่วนพวกมอญ หรือ ตะเลง ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ "สะเทิม" (สุธรรมวดี) และถิ่นใกล้เคียงรวมๆ เรียกว่า รามัญประกาศ จนพระพุทธศาสนาทั้งแบบมหายาน และแบบเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพม่า เป็นเวลาหลายร้อยปี (http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/burma.php เข้าถึงเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

 

๑ .การนับถือและการถูกกีดกันทางศาสนาของพม่า

ในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ชาวพุทธถูกกีดกันในการเข้าทำงานกับรัฐบาลทั้งๆที่    ตามกฎหมายแล้วก็ไม่ได้มีการห้ามคนศาสนาอื่นเข้ารับราชการ แต่ทางปฏิบัติ รัฐบาลก็พยายามใช้คนอินเดีย คนอังกฤษลูกครึ่งพม่า และคนอังกฤษเองเป็นพนักงานของรัฐเสียเป็นส่วนมาก ศาสนาพุทธ ถูกตัดความสำคัญออกไปจากรัฐอาณานิคมอย่างสิ้นเชิง ได้มีการพยายามปลูกฝังศาสนาคริสเตียน บ่อนทำลายวัฒนธรรมของชาติต่างๆ นานา เช่น การบังคับให้ใช้ภาษาอังกฤษ  และการจัดการศึกษาแบบอังกฤษโดยให้มิชชั่นนารีตั้งโรงเรียนขึ้นมา ยกเลิกโรงเรียนวัดที่สอนโดยพระสงฆ์มาแต่โบราณ

พระสงฆ์พม่ามีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันพระสงฆ์ในพม่าก็ยังคงมีบทบาทในการเมือง ประชาชนพม่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดมากเมื่อเปรียบเทียบกับของคนไทย พระสงฆ์พม่าถือเป็นผู้นำทางศาสนาและผู้นำชุมชนที่คนพม่าให้ความเคารพนับถือมากที่สุด พระสงฆ์พม่ามีบทบาททางการเมืองมานานโดยออกมาร่วมชุมนุมกับประชาชนเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จ ตั้งแต่นั้นมาพระพม่าก็แสดงบทบาททางการเมืองต่อต้านรัฐบาลทหารพม่ามาตลอด พระพม่ามีอิทธิพลทางความคิดต่อประชาชนมาก คนพม่าจะเชื่อพระมากกว่าเชื่อรัฐบาล....จะเห็นได้ว่ารัฐบาลทหารพม่ามักจะไม่ค่อยไปยุ่งอะไรกับพระพม่าเพราะถ้าขืนไปยุ่งจะกลายเป็นเรื่องใหญ่โตมากและมัณฑเลย์ก็คือศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ในปัจจุบันนี้ประเทศพม่าเป็นประเทศที่พุทธสาสนามีความมั่นคงที่สุดในโลกก็ว่า ประเทศพม่าจึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ประชาชนเคร่งครัดในเรื่องพุทธศาสนามากที่สุดถึงขนาดที่หากหมู่บ้านไหนที่มีพระสงฆ์ชื่อดัง..ไม่ได้ดังทางด้าน ปลุกเสกเครื่องรางแต่ดังทางด้าน วิปัสสนากรรมฐาน และท่านไม่ฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิดชาวบ้านก็จะไม่กินกันทั้งหมู่บ้านเหมือนกัน หากใครอยากจะทานเนื้อสัตว์ก็ต้องออกมาทานนอกหมู่บ้านที่เขาทานเนื้อสัตว์กัน ประเพณีแบบนี้ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน (People of ASEAN อ้างมาในhttp://oknation.nationtv.tv/bl... เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

 

๒.เหตุการณ์ที่สำคัญในพม่า

พระพุทธศาสนาอยู่ในฐานะประจำชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ รัฐบาลพม่าได้ออกกฎหมายรับรองว่าเป็นศาสนาประจำชาติ และกฎหมายอื่น ๆ อีกมาก เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้ประเทศพม่า โดยการปกครองของรัฐบาลทหารพม่า หรือ SLORC  State Law and Order Restoration Council ได้ถูกประณามว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการ โดยการปกครองที่ใช้อำนาจเป็นใหญ่ ได้การกดขี่ประชาชนและพระสงฆ์อย่างไร้จิตสำนึกทางด้านมนุษยธรรม ในครั้งที่รัฐบาลทหารได้ยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนั้นพรรคของนาง อองซาน ซูจี เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ถูกยึดอำนาจโดยรัฐบาลเผด็จการทหารของพม่า ปัจจุบันนี้ทางพระภิกษุสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองโดยการต่อสู้อย่างสันติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยได้จัดตั้งสหภาพยุวสงฆ์แห่งพม่า ( All Burma Young Monks’ Union) ในเขตปลดปล่อย โดยมีพระภิกษุเคมะสาระ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของสหภาพยุวสงฆ์แห่งพม่า ในเขตปลดปล่อย ได้พิมพ์เอกสารและข้อเขียนเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนกับรัฐบาลทหารพม่า พระสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของรัฐบาล ประเทศพม่านั้นจัดได้ว่าเป็นประเทศเดียวในโลกก็ว่าได้ที่พระสงฆ์เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากที่สุด โดยมีการลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้

                   - พ.ศ. ๒๔๒๙ อังกฤษได้ผนวกพม่าไว้ในอำนาจ สมเด็จพระสังฆราชได้ห้ามพระสงฆ์เข้ายุ่ง

- พระพม่ายุ่งเกี่ยวกับการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา

- พ.ศ. ๒๔๙๑ หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชรัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพจัดฉัฏฐสังคีติ ๒๙สังคายนาครั้งที่ ๖

- พ.ศ. ๒๔๙๓ รัฐบาลพม่าได้ออกกฎหมายตั้งสำนักสงฆ์คล้ายๆ กับศาลพระ ขึ้น ๒ แห่ง ที่เมืองย่างกุ้ง และเมืองมัณฑเลย์ โดยใช้กฎหมายที่เรียกว่า “ธรรมาจริยะ” รัฐบาลพม่าได้ออก

กฎหมายรับรองพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ้าชาติ และยังออกกฎ หมายอีกฉบับรับรองว่าจะให้ความคุ้มครองและและอุปถัมภ์แก่ทุกๆ ศาสนา ที่มีในประเทศพม่า

- พ.ศ. ๒๕๓๑ การต่อต้านของนักศึกษาประชาชนและพระสงฆ์ ซูจี และท้าให้พม่าต้องปิดประเทศ หันหลังให้วัฒนธรรมตะวันตกอย่างยาวนาน

- พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ได้เกิดการต่อสู้ระหว่างประชาชนที่นำโดยพระสงฆ์กับรัฐบาลขึ้นอีกครั้ง ที่สนับสนุนนางอองซาน

- ๒๙ ส.ค. ๒๕๕๐ พระสงฆ์เข้าร่วมการประท้วงเป็นครั้งแรก ที่เมืองสิตต่วยในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากการประท้วงครั้งแรกสองสัปดาห์ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยนักเคลื่อนไหวทางสังคมและสมาชิกพรรคฝ่ายค้านเอ็นแอลดี

-๕ ก.ย. ๒๕๕๐พระสงฆ์ในเมืองปะก๊อกกู (Pakokku) นำประชาชนประท้วง โดยการเดินสวดมนต์ไปตามถนนในเมือง เหตุการณ์เลวร้ายลง หลังจากทหารยิงปืนข่มขู่ และ เข้าทุบตีพระ

- ๖ ก.ย. ๒๕๕๐ กลุ่มพระภิกษุชุมนุมอีกครั้งและมีการบุกทำลายร้านค้า บ้านเรือนของผู้นำทหาร พร้อมทั้งควบคุมเจ้าหน้าที่รัฐบาลเป็นตัวประกันนานหลายชั่วโมง

เหตุการณ์ต่างๆดังกล่าวมานี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในพม่าแต่เหตุการต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นก็ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนเป็นอย่างมากเพราะพม่าเชื่อพระสงฆ์มากกว่านักการเมือง ( http://www.myanmartouring.com/webboard/index.php?topic=๑๖.๐ เข้าถึงเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ )

ในกรณีของการเมืองพม่า เราจะเห็นการประยุกต์เอาหลักการทางศาสนาพุทธ ไปใช้ทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีแนวความคิดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อูนุ ได้เขียนไว้ในข้อเขียนชื่อ Kyan-to  Bu  Thamd ในราวปี ๑๙๓๕ – ๓๖ (ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีพม่า) เกี่ยวกับทัศนะทางสังคมนิยมในสายตาของชาวพุทธ  โดยพยายามตีความเข้าข้างตนเอง ว่า  “เนื่องจากโลภ โกรธ หลง ตามหลักศาสนาพุทธนั้นทำให้เกิดความทุกข์ ในทางเศรษฐกิจก็จะทำให้เกิดความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ การจัดระบบเศรษฐกิจใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อกำจัดความอยุติธรรมเหล่านี้  สังคมพม่าได้รับความกระทบกระเทือนจากลัทธิทุนนิยมก็เพราะ ผู้คนพากันหันหลังให้ศาสนา แต่คนเราก็จำต้องมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพียงพอเสียก่อน จึงจะมีเวลาว่างไปทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น นั่งทำสมาธิเพ่งถึงความไม่แน่นอนของวัตถุในโลก การปรับปรุงระบบเศรษฐกิจเสียใหม่จึงสมควรทำยิ่ง ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความยุติธรรมแก่มวลชนและยกระดับคนยากคนจนเท่านั้น แต่ยังจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์บรรลุเป้าหมายสูงสุดทางศาสนาพุทธ นั่นคือ นิพพาน”

(เสรีภาพ ณ ชะเยือง อ้างมาใน http://www.natureconcern.com/n...  เข้าถึงเมื่อ ๓๑ ตุลาคม๒๕๖๐ )

 

สรุป

ความได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศพม่านั้นส่วนมากจากปัญหาหลายประการเช่น ปัญหาเชื่อชาติ ปัญหาศาสนา และปัญหาทางการเมือง ประเทศพม่านั้นเป็นประเทศที่เสียเอกราชในช่วงยุคล่าอาณานิคม โดยการถูกข่มเหงรังแกแต่ด้วยประการต่างๆแต่พม่าก็สามารถเอาเอกราชของตนกลับมาได้ เพราะด้วยความเพียรพยายามของประชาชนและองค์กรต่างๆร่วมมือกันโดยเฉพาะองค์กรศาสนาที่มีบทบาทสำคัญ แสดงถึงจุดยืนขององค์กรที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศพม่า ประเทศพม่านั้นบริหารงานด้วยนักการเมืองแต่ขับเคลื่อนประเทศด้วยความรักในศาสนา คือไม่ว่าจะทำไรจะมีองค์กรศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อถือในพระสงฆ์มากกว่านักการเมืองเสียอีก

 ไฟล์เพาเวอร์พอยท์ 

20171116150519.pptx

อ้างอิง

 

(http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/burma.php เข้าถึงเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

(People of ASEAN อ้างมาในhttp://oknation.nationtv.tv/bl... .เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

( http://www.myanmartouring.com/...๑๖.๐ เข้าถึงเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ )

(เสรีภาพ ณ ชะเยือง อ้างมาใน http://www.natureconcern.com/n...  เข้าถึงเมื่อ ๓๑ ตุลาคม๒๕๖๐ )

 

หมายเลขบันทึก: 641491เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท