สำนึกในความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม


..........บ่อยครั้งเคยเห็นเพื่อนพ้องน้องพี่สอนหนังสือแล้วให้นักศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนามจากท้องถิ่นเพื่อนำเสนอตามประเด็นที่กำหนด  ทุกครั้งนักศึกษาจะเป็นผู้เก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และนำเสนอข้อมูล  โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้วิพากษ์  ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ "การละทิ้งเจ้าของวัฒนธรรม" เพราะบางครั้งการที่นักศึกษาเก็บมาแล้วตีความอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง  จึงอาจต้องให้ "สิทธิ์" แก่เจ้าของวัฒธรรรม (เจ้าของข้อมูล) มารับฟังและร่วมวิพากษ์ด้วย และจะเป็นการสร้างแรงเสริมในความภูมิใจของวัฒนธรรมตนเองแก่คนในท้องถิ่นด้วย

..........ในทุกครั้งที่สอนรายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผมจะมีงานภาคสนามให้นักศึกษาเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มในพื้นที่เดียวกันโดยผมจะลงดูวิธีการของแต่ละกลุ่ม(เชิงการสังเกต) เพื่อดูความสามารถในการเก็บข้อมูลภาคสนามของนักศึกษา  และท้ายที่สุดก็ให้รายงานผลการเก็บข้อมูลโดยมี "เจ้าของวัฒนธรรม" ที่เป็นผู้บอกข้อมูลมาร่วมวิพากษ์ด้วยเสมอ การทำเช่นนี้ได้เห็นมิติความคิดเจ้าของข้อมูลและรอยยิ้มของเขาในการที่เห็นลูกหลานนักศึกษาและมหาวิทยาลัยร่วมคุย ร่วมเรียนรู้  และให้เกียรติกันและกัน  

..........ฉะนั้น ความ "สำนึกในความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม" จะช่วยสร้างความชอบธรรมให้แก่นักวิชาการ  นักศึกษา และท้องถิ่นในฐานะเจ้าของข้อมูล ซึ่งเดิมมักเป็นการหยิบฉวยข้อมูลเพื่อคะแนนในรายวิชาหรือเพื่องบประมาณโครงการวิจัยเท่านั้น มิติเหล่านี้ควรเป็น "จริยธรรม" สำหรับการศึกษาท้องถิ่นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่ง  

..........นั่นเอง 

(ภาพการนำเสนองานศึกษาผู้ไทยบ้านโนนหอม  จังหวัดสกลนคร โดยมีชาวบ้านร่วมวิพากษ์ผลงานนักศึกษา)


หมายเลขบันทึก: 638483เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2017 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2017 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท