pkkoyo
นาย เถลิง ไพโรจน์ภักดิ์

แนวคิดสวัสดิการชุมชน


1. ฐานคิดสำคัญสวัสดิการชุมชน  

คน เมื่อจะทำอะไร จะคิดถึงเรื่องทุนเป็นอันดับแรก โดยมุ่งไปที่ทุนเงินตรา ไม่มีทุนเงินตราแล้วจะทำอะไรไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วทุนเงินตราเป็นทุน ทุนหนึ่งเท่านั้นทุนในชุมชน มี 7 ทุน ได้แก่1. ทุนคน 2. ทุนภูมิปัญญา 3. ทุนวัฒนธรรม 4. ทุนธรรมชาติ 5. ทุนแรงงาน 6. ทุนเวลา 7. ทุนเงินตรา ( เป็นทุนที่คนกำหนดขึ้น )2. สวัสดิการชุมชน คือ การสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ให้คนมีวิถีชีวิตที่ดีให้คนมีความสุข ให้คนเกิดความมั่นคงในชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย3. หัวใจของการจัดสวัสดิการชุมชน คือการพึ่งตนเอง และการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพ และการอยู่ร่วมกัน กับธรรมชาติอย่างเห็นคุณค่าและการมีส่วนร่วมทุกระดับ4. การจัดสวัสดิการชุมชน ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักศาสนา ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น5. รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนในประเทศไทย1. การจัดสวัสดิการตามฐานคิดหลักศาสนา ใช้หลักคำสอนศาสนา 2. การจัดสวัสดิการตามฐานคิดการจัดการทรัพยากรชุมชน ให้สมบูรณ์เพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร3. การจัดสวัสดิการตามฐานคิดวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจชุมชน ลดการพึ่งพาภายนอก เพิ่มมูลค่าผลผลิต4. การจัดสวัสดิการผู้นำชุมชน โดยชุมชน หน่วยงานของรัฐร่วมกันดูแลเกื้อกูลผู้นำ5. การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยใช้กองทุนที่รัฐสนับสนุนมาจัด6. การจัดสวัสดิการตามฐานคิดชุมชนเมือง จัดสวัสดิการที่อยู่อาศัย บ้านกลางรับผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ7. การจัดสวัสดิการตามฐานคิดขององค์กรการเงิน บริหารการเงินนำผลกำไรมาจัดสวัสดิการ

หัวใจสำคัญ คือ วินัยการออม จากรายได้ แต่

6. ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดสวัสดิการชาวบ้าน

  • เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของของชาวบ้าน , มีความผูกพัน พึ่งพาตนเอง การช่วยเหลือเกื้อกูล
  • การอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ความรู้สึกภาคภูมิใจ และการมีความสุขทั้งกายและใจร่วมกัน
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6369เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2005 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขบวนสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาทของสงขลาดูท่าจะไปได้สวยแล้ว (ในเชิงอุดมการณ์และรูปแบบ) ขั้นตอนต่อไปน่าจะเคลื่อนไปยังการจัดการทุนอื่นๆ  อาจจะนำร่องตำบลเข้มแข็งที่เป็นแกนก่อน
ทำอย่างไรให้ทุนแรงงาน เวลา วัฒนธรรม ทรัพยากร เป็นต้น เกิดการออม เกื้อกูลช่วยเหลือกันเช่นเดียวกับทุนเงินตรา อาจารย์สนใจบ้างมั้ยครับ?

เข้าใจว่า เป็นการใช้ทุนเงินตรา (ที่ออมจากรายจ่ายวันละ 1 บาท ) เป็นเครื่องมือในการรวมคนและจะนำไปสู่การออมทุนอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน

แนวคิดเรื่องการออมจะเป็นฐานสำคัญต่อการออมทุกอย่าง

สงขลาเคยทำเรื่องกองทุนออมทรัพย์เพื่อการจัดการหลายๆ เรื่องให้แก่สมาชิก และยังมีการปันผลเป็นเงินตราให้อีกเมื่อครบรอบปี ซึ่งก็ยังไม่ถึงที่สุดของการพัฒนาเรื่องการการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ช่วยเหลือดูแลกันและกัน และมีการจัดการทุนทางสังคมอย่างสอดคล้องกับวิถีชุมชน 

เรื่องสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท จึงเป็นนวัตกรรทางสังคมที่เป็นคู่แฝดของกองทุนออมทรัพย์ที่กล่าวมาแล้วอย่างลงตัวทีเดียว

ที่น่าสนใจมากที่สงขลาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเกิดกระบวนการพัฒนานโยบายร่วมกันของภาครัฐ (ผู้ว่า CEO) - ชุมชน,ท้องถิ่น (อบต.-อบจ.-เทศบาล) และองค์กรพัฒนาเอกชน (มูลนิธิครูชบ) - ภาควิชาการ (มอ.)

ทราบว่า ตอนนี้ เครือข่ายได้ขยายออกไปครอบคุลมเกือบทั้งจังหวัดแล้ว มีผู้มาศึกษาดูงานจำนวนไม่น้อยเพื่อที่จะมาเรียนรู้ How to จากทีมของครูชบและเครือข่าย รวมทั้งในส่วนของ จ. สงขลาเอง อบจ. ก็เข้าร่วมเรียนรู้ด้วย

สงขลาจึงเกิด "ศูนย์การเรียนรู้" ขึ้นจำนวนมากมาย สถาบันการศึกษาน่าจะได้เข้ามาใช้เป็นสถานีเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของชุมชนได้อย่างดี

ทางทีมงานในสงขลากำลังวางแผนว่าจะจัด "มหกรรมสวัสดิการชุมชน" เดืนมีนาคม 2549 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชิญชวนเพื่อนๆจากจังหวัดอื่นๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนด้วย

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท