เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง


เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง

1. ต้องรู้ที่มาของสูตร

          นักเรียนจำนวนมาก เรียนคณิตศาสตร์ แบบจำสูตรๆๆๆ แล้วก็แทนสูตรๆๆๆ แล้วก็หวังว่าจะได้คำตอบครับ แน่นอนว่าบางครั้งก็ได้คำตอบ บางครั้งก็ไม่ได้คำตอบ บางครั้งก็ลืมสูตรที่จำ การแก้ปัญหาง่ายมากๆเลยคือต้องเข้าใจที่มาของสูตร ว่าสูตรแต่ละสูตรพิสูจน์มาได้อย่างไร อาจจะเสียเวลาหน่อยในการหาว่าสูตรแต่ละสูตรมาได้อย่างไร แต่เชื่อเถอะครับว่ามันคุ้มค่าที่จะรู้ และจะทำให้การ เรียนคณิตศาสตร์ ของน้องๆได้ผลมากขึ้นอย่างแน่นอน

2. หมั่นทำโจทย์บ่อยๆ

          คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยการทำโจทย์บ่อยๆ เพราะการที่ได้เจอโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์บ่อยๆนั้น จะทำให้สมองได้ฝึกคิดแก้ปัญหาโจทย์ และจำรูปแบบวิธีการแก้โจทย์ปัญหาลักษณะที่เคยทำได้ ดังนั้นเมื่อต้องลงสนามสอบคณิตศาสตร์จริงๆ ถ้าหากเจอโจทย์ลักษณะที่เคยเห็นมาก่อนแล้ว น้องจะสามารถทำโจทย์ได้อย่างรวดเร็วมาก จะได้นำเวลาที่เหลือไปทำโจทย์ข้อที่ไม่เคยเจอมาก่อนไงครับ ดังนั้นควรฝึกทำโจทย์บ่อยๆโดยอาจจะตั้งเป้าหมายว่า 1 วันต้องทำได้ 15 ข้อ อย่างนี้ก็ได้ครับ แต่อย่าลืมว่ายิ่งทำมากยิ่งได้มากนะครับ

3. อย่าข้ามบทนิยาม

          เชื่อว่านักเรียนไม่น้อยกว่า 90% ไม่อ่านบทนิยามเมื่อ เรียนคณิตศาสตร์ เพราะอาจจะอ่านไม่รู้เรื่อง หรือแปลความหมายไม่ได้ หรือรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ แต่นั่นเป็ความคิดที่ผิดครับ! บทนิยามเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นข้อตกลงพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ ซึ่งบทนิยามนี้เองที่จะนำไปพิสูจน์ออกมาเป็นสูตรหรือสมการให้เราได้เรียน เช่นเรื่องภาคตัดกรวยบทนิยามของวงรีคือ "เซตของคู่อันดับที่ ผลรวมของระยะทางไปถึงจุดคงที่สองจุดมีค่าเท่ากัน" เรียกจุดคงที่นั้นว่าจุดโฟกัส คนที่เรียนคณิตศาสตร์ได้เก่งจริงๆเขาสามารถเขียนสมการของกราฟวงรีได้จากนิยามโดยที่ไม่ต้องจำสมการวงรียากๆนั่นเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจะเห็นว่าการรู้บทนิยามจะทำให้เราสามารถต่อยอดเป็นสูตร เป็นสมการ หรือจะสร้างสูตรใหม่ขึ้นมาเองก็ยังทำได้เลยครับ ดังนั้น เรียนคณิตศาสตร์ อย่าข้ามบทนิยามนะครับ

4. จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญ

          หลายคนอาจไม่เชื่อว่าจินตนาการนั้นเป็นสิ่งสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ แต่ถ้าหากได้ เรียนคณิตศาสตร์ ไปลึกๆแล้วนั้นจะพบว่าการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์นั้นต้องอาศัยจินตนาการเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องเรขาคณิต ที่ถ้าหากว่ามัวแต่สนใจสูตรหรือสมการเพียงอย่างเดียว อาจใช้เวลาแก้โจทย์นานกว่าการใช้จินตนาการเข้าช่วยเยอะมากๆ 

5. อย่ามองการคำนวนทุกอย่างเป็นเลขคณิต (Arithmetic)

          การคำนวนทางเลขคณิต(Arithmetic) คือการคำนวนที่เราคุ้นชินกันอยู่ทุกๆวันเช่น บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลังสอง เป็นต้น หลายๆคน เรียนคณิตศาสตร์ เรื่องใดๆก็จะนำความคิดการคำนวนแบบเลขคณิตติดตัวไปเสมอ ส่งผลให้คำตอบที่ได้นั้นผิด เช่นการคำนวนเรื่องเมทริกซ์ AxB นั้นจะไม่เท่ากับ BxA ซึ่งแตกต่างจากการคำนวนทางเลขคณิตที่มีการสลับตำแหน่งได้ หรือจะเป็น A² ที่ไม่ใช่ว่าจะสามารถกระจายยกกำลังสองเข้าไปในตัวเลขแต่ละตัวที่อยู่ในเมทริกซ์ได้เหมือนการคำนวนเลขคณิตปกติ

หมายเลขบันทึก: 636890เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2017 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2017 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท