Hand skills


Hand skills  เป็นเครื่องมือถอดบทเรียนอย่าง่ายสำหรับเด็กและเยาวชน โดยเป็นเครื่องมือการจัดการความรู้(Knowledge management Tolls) ที่จะช่วยให้เด็กเห็นถึง ความรู้สึก ความรู้ ทักษะ และเป้าหมายต่อไปของตนเอง ทั้งนี้ยึดทฤษฎ๊ของบลูม คือ พุทธิพิสัย(K) ทักษะพิสัย(P) และจิตตพิสัย(A) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ได้ด้วย กล่าว คือ เป็นอีกเครื่องมือในการถอดบทเรียนของเด็กๆที่ได้มีการรับเข้าข้อมูล ลงมือทำ แล้วเกิดองค์ความรู้ที่สามารถถอดบทเรียนได้นั่นเอง 

วิธีการ ดำเนินกิจกรรม
๑) ครูแจกกระดาษ A4 ให้นักเรียนคนละ ๑ แผ่น
๒) ครูให้นักเรียน เอามือไปทาบบนกระดาษแล้วลากปากกาลงบนกระดาษ รูปมือของตนเอง
๓) นิ้วโป้ง ถามว่า “จากกิจกรรมที่นักเรียนได้เรียนรู้มาทั้งคาบ นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง” แล้วให้นักเรียนเขียนอธิบาย
๔) นิ้วชี้ ถามว่า “จากกิจกรรมที่ได้เรียนเมื่อตะกี้นี้ เราประทับใจอะไรบ้าง” แล้วให้นักเรียนเขียนอธิบาย
๕) นิ้วกลาง ถามว่า “จากกิจกรรมที่ทำ คิดว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง” เช่น ถ้า……….จึง………. แล้วให้นักเรียนเขียนอธิบาย
๖) นิ้วนาง ถามว่า “จากกิจกรรมที่ทำ คิดว่าเราได้ฝึกทักษะอะไรบ้าง” แล้วให้นักเรียนเขียนอธิบาย
๗) นิ้วก้อย ถามว่า “จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาทั้งหมด เราจะนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย” แล้วให้นักเรียนเขียนอธิบาย
๘) เสร็จแล้วให้นักเรียนจับกลุ่ม ๕ คนตั้งวงคุยกัน ผลัดกันเล่าเรื่องราวของตนเองให้กันฟังในกิจกรรม สุนทรียสนทนา หรืออื่นๆ
๙) ครูพานักเรียนจับประเด็น หรือพานักเรียนจับประเด็น สรุปบทเรียนร่วมกัน 

***หมายเหตุ
- หากครูพาเด็กๆทำซ้ำๆ จนเริ่มเห็นเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง ให้เพิ่ม ตรงฝ่ามือ ถามว่า “จากที่เราเรียนรู้มาตลอดทั้งเทอม คิดว่าเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อาจให้เพื่อนๆตั้งวง ช่วยสะท้อนเพื่อจะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- คำถามสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับบริบทของห้องกิจกรรมและห้องเรียน
- สำหรับเด็กประถมศึกษาจะเข้าไม่เข้าคำว่าทักษะ ให้เปลี่ยนเป็น “ทำอะไรเป็นบ้าง” หรือครูช่วยยกตัวอย่างมากๆให้เด็กเห็นภาพมากยิ่งขึ้น


บันทึกนี้ เพื่ออภวิฒน์กระบวนการเรียนรู้ ๒๑ ครับ

หมายเลขบันทึก: 635371เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยตั้งคำถามลักษณะแบบนี้เหมือนกันครับ  พบว่า บางอันเวิร์คบางอันไม่เวิร์ค ตอนหลัง ๆ มักใช้การเปลี่ยนคำถาม ดังนี้ 

  1. ประทับใจอะไร ?  เปลี่ยนเป็น ชอบอะไรหรือกิจกรรมไหนมากที่สุด? ... แล้วค่อยถามต่อว่าเพราะอะไร? 
  2. ได้เรียนรู้อะไร ?  เปลี่ยนเป็น อะไรที่เพิ่งจะรู้ก็คราวนี้ ?  อะไรที่เคยเห็นแต่เพิ่งจะเข้าใจ ? อะไรที่ยังสงสัยอยู่ ? 
  3. ได้ฝึกทักษะอะไร ? เปลี่ยนเป็น อะไรที่เพิ่งจะทำเป็นก็คราวนี้ ? อะไรที่ทำยังไม่ดีแต่ก็พอทำได้ ?  อะไรบ้างที่ยังทำไม่ได้แต่ยังอยากทำ ? 
  4. รู้สึกอย่างไร ? เปลี่ยนเป็นใช้ บัตรคำแสดงอารมณ์ โชว์ให้ดูทีละใบ แล้วให้จดเฉพาะสิ่งที่ใช่ในใจตนเอง (แสนมาลองเอากับผมไปใช้ดูได้ครับ)
  5. นำไปใช้อย่างไร ? เปลี่ยนเป็น อะไรที่มีประโยชน์กับงานของฉัน ?  

คำว่า "ความรู้" "ทักษะ" "เรียนรู้" "รู้สึก" และ "นำไปใช้"  เด็กนักเรียนเยาวชนส่วนใหญ่ มักจะให้คำตอบที่ไม่ตรงประเด็นกับภายในตนเอง ...มักเป็นความคิด ณ ขณะถาม ... ไม่ย้อนหนึ่งสะท้อนตอนทำกิจกรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท