AAR ทดลองสอน วิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ๑


ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ ได้ออกลงพื้นที่ ทดลองสอน ของวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร มีที่ปรึกษา คือ รศ.ดร.ชวลิต  ชูกำแพง เพื่อเก็บข้อมูลสภาพปัญหาและปัญญาต่างๆ เพื่อมาเป็นต้นทุนในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรของตัวเอง โดยผมได้สอน ๒ วิชา ได้แก่ วิชาประวัติศาสตร์ไทย เนื้อหา รัชกาลที่๔-๖ ระดับชั้น ม.๓ และวิชาพระพุทธศาสนา เนื้อหา นิทานชาดก ระดับชั้น ม.๖ ณ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด คุณครูพี่เลี้ยง คือ คุณครูศุภวรรณ  แก้วขอนแก่น และ คุณครูเมธี  อนุมลฑล

ก่อนลงพื้นที่ "คิดว่าตนเองเตรียมกิจกรรมแน่นมาก" แต่ก็เชื่อมั่นว่าเด็กจะทำได้ ตามชั่วโมงเรียน ๕๐ นาที ซึ่งมีสื่อการสอน มีเครื่องมือ KM และมีการสรุปผล กล่าวคือ "ครบถ้วนกระบวนการ" โดยเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

วิชาพระพุทธศาสนา เนื้อหา นิทานชาดก (ม.๖)

กิจกรรมเตรียมความพร้อม : .ใบ้ให้สุดโลก"
สื่อ : วิดีทัศน์ นิทานชาดก เรื่อง พระเวสสันดร พระมหาชน
เครื่องมือ KM : Mild map
กระบวนการ ดังนี้

  • กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ใช้สันทนาการ "ใบ้ให้สุดโลก"
  • ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาใบ้ และคนในห้องตบคำถามช่วยกัน
  • ครูตั้งคำถามกับนักเรียนว่า "เมื่อนึกถึงพระเวสสันดร พระมหาชนก จะนึกถึงอะไร"
  • ครูให้นักเรียนดูนิทานชาดกบนจอ ทั้ง ๒ เรื่อง
  • แบ่งกลุ่มนักเรียน ๔ กลุ่ม (เรื่องละ ๒ กลุ่ม)
  • จากนั้นให้นักเรียนทำ Mild map จากโจทย์ ต่อไปนี้
    ๑) เมื่อนึกถึงนิทานเรื่องดังกล่าวจะนึกถึงอะไรบ้าง (คิดคล่อง)
    ๒) ตัวละครใดในเรื่องที่ชื่นชอบมากที่สุด เพราะอะไร (เหตุผล)
    ๓) ตัวละครเอกในเรื่องเขามีขั้นตอนการบำเพ็ญตนอย่าไร (คิดวางแผน)
    ๔) สมมติว่าเขาเป็นตัวละครเอกของเรื่อง เขาจะแก้ปัญหาอย่างไร (กล้าคิด)
    ๕) คุณธรรมสำคัญ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง คือ อะไร เพราะอะไร (เหตุผล)
  • ให้นักเรียนแต่ละสรุป แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน

วิชาประวัติศาสตร์ไทย เนื้อหา รัชกาลที่ ๔-๖ (ม.๓)
<p>กิจกรรมเตรียมความพร้อม : สันทนาการ สัตว์บก-สัตว์น้ำ
สื่อ : QR Code
เครื่องมือ KM : Timeline
กระบวนการ มีดังนี้

  • กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ใช้สันทนาการสัตว์บก-สัตว์น้ำ 
  • ครูตั้งคำถามกับนักเรียนว่า “เมื่อนึกถึงรัชกาลที่ ๔-๖ จะนึกถึงอะไรบ้าง”
  • ให้นักเรียนตอบคำถาม ครูจับประเด็นและอธิบายโยงเข้าสู่บทเรียน
  • ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน ๔ กลุ่มเพื่อศึกษา “นโบายสำคัญของแต่ละรัชกาล” 
  • ได้แก่ รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และ รัฐชาติ
  • นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดนใช้เครื่องมือ Timeline 
  • ครูอธิบายสรุปเนื้อหาและเสริมความรู้ในด้านต่างๆเพิ่มเติม  

เมื่อเดินทางไปถึงพื้นที่โรงเรียนก่อนสอน มีข้อจำกัดเข้ามา คือ วันนั้นจะมีคาบลดเวลาเรียน แต่ละคาบของทุกวิชาจะลดเหลือ ๔๐ นาที “แน่นอนว่าไม่พอแน่ๆ” แต่ถึงอย่างไรวันนี้ก็มาเรียนรู้เพื่อพบสภาพปัญหาและปัญญา ถือว่าเป็นข้อเรียนรู้อย่างหนึ่งของผมเลยทีเดียว  ปกติผมจะชินอยู่กับห้องกิจกรรมที่ไร้เก้าอี้ ให้ทำเด็กเคลื่อนตัวง่ายจับกลุ่มง่าย สนใจกระบวนกร แต่ที่นี้เราไม่ได้มีบทบาทเป็นนักกิจกรรม บรรยาห้องเรียนไม่ใช่ค่ายกิจกรรม เรามาในบทบาทครูผู้สอน ซึ่งมันจะแตกต่างกันมาก จากเดิมที่ One man Show แล้วเด็กๆเขาพร้อมจะเล่นตาม มายืนตรงนี้กลับกัน เพราะเป็นห้องเรียน ไม่ใช่ห้องกิจกรรมและห้องติว ผมรู้สึกว่าต้องมีอะไรสักอย่างที่ผิดพลาดแน่ๆ

ในช่วงระหว่างสอน ผมใช้วิธีการพูดคุยเพื่อละลายพฤติกรรมเข้าผมและนักเรียนเข้าหากัน ทำให้เลยเวลาสันทนาการ จึงไม่ได้ทำ แต่ก็ประเมินแล้วว่า เด็กเริ่มจดจ่อกับครูมากกว่าโทรศัพท์ จึงเริ่มคลาส ภายใต้การสอนดำเนินไปปกติ มีข้อจำกัด คือ ระยะเวลา กับกิจกรรมที่อัดแน่น ทำให้ผมได้เรียนรู้อีกข้อ คือ กิจกรรมมันแน่นเกินไป ธรรมชาติของเด็กเขาต้องใช้เวลาคิด และการถกเถียง อย่างค่อยเป็นค่อยไป ผมก็เลยเดินคลาสไปช้าๆ พยายามเว้นจังหวะให้คิดคำตอบอยู่เรื่อยๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาอีก คือ โปรเจคเเตอร์ฉายไม่ได้ ก็เลยเปลี่ยนให้เด็กหาข้อมูลจากโทรศัพท์แทน แต่ว่าต้องให้ตอบคำถามภายใต้ชุดคำถามดังกล่าว  เพื่อจะเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้ ด้วยชุดเครื่องมือ KM ต่างๆ ปัญหาต่อมา คือ เด็กผู้ชาย "มึนๆ ไม่ทำ เดินรอบห้อง "ทำไงดี" ผมก็เรียกออกมานอกห้อง แล้วมาอ่านชุดข้อมูลให้เพื่อนฟัง "เพื่อนๆก็ขำกันใหญ่" กลายเป็นห้องเรียนที่เสียงดังที่สุด มีเด็กๆห้องข้างๆประมาณ ๗ คน มานั่งฟังด้วยหลังห้อง "คงไม่เคยเห็นครู" ฮ่าๆๆ ปัญหาสุดท้าย คือ ระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ได้เพียงแค่การนำเข้าข้อมูล และการถอดบทเรียนไม่กี่ข้อเพียงเท่านั้น 


จากสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้(มิติการออกแบบและพัฒนากระบวนการ) 

  • ธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน จะเรียนหลายวิชา เขาไม่ได้สนใจแค่วิชาสังคม หรือคนที่สนในสังคมศึกษามีน้อยมาก
  • เด็กจะทำงานและเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป อัดเเน่ไม่ได้ ต้องออกแบบกระบวนการอย่างเข้าใจเวลาในการคิด ซึ่งจะเร่งรัดไม่ได้
  • เด็ก Gen Z จะสนใจเรียนด้วยเทคโนโลยี มากกว่า ตามทฤษฎี "อันนี้ จริง" เมื่อเขาสนใจเรียนอย่างนั้น เราก็ต้องออกแบบให้เท่าทัน
  • เมื่อให้เขียนกระดาษ ปรู๊ฟ เด็กๆมักจะกังวลว่า ตัวหนังสือจะไม่สวย มันจะออกมาไม่สวย "ด้วยปัจจัยแห่งสมองโหมดปกป้องแบบเดิมที่เขาคุ้นชิน" ทำให้เขาใช้เวลานานมากในการเขียนงานกลุ่ม ทั้งนี้อาจเป็นครั้งแรกๆ แต่เชื่อว่าหากฝึกไปเรื่อยๆเขาจะคล่องขึ้น
  • บรรยากาศให้ชั้นเรียนสนุกมากไปไม่ดี เพราะเด็กจะไม่ฟัง ไม่ให้เกียรติครู ไม่เกิดเงื่อนไขในการเรียนรู้
  • ระยะเวลา ๕๐ นาที ไม่ควรออกแบบเยอะ ควรออกแบบให้เรียนรู้เป็นขั้นๆตอน หรือเป็นเรื่องๆ เพราะข้อมูลมาก เด็กไม่จำ  
  • การตั้งคำถามไม่เน้นให้ครูตั้งไปถามเด็ก แต่เน้นให้ครูโค้ชให้เด็กตั้งคำถามเอง "ในคลาสนี้ ผมตั้งคำถามให้เด็กตอบหมดเลย" ซึ่งมันต้องเปลี่ยนให้เกิดสภาวะให้เด็กตั้งคำถามเอง เช่น "เห็นภาพนี้แล้ว นักเรียนตั้งคำถามอะไรก็ได้ ๑ คำถาม แล้วให้เขาหาคำตอบด้วยสื่อ" "เห็นนิทานเรื่องเหล่านี้แล้ว ให้นักเรียนตั้งถาม ๑ ข้อ แล้วแลกเปลี่ยนกัน"  เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 635176เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2017 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2017 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท