โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 6: ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล๊อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 6: ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2560)

ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

#PSUfutureleaders3

#โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่3


หลักสูตร พัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รุ่นที่ 3)

วันที่ 24 สิงหาคม 2560

วิชาที่ 35

Learning Forum หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางคุณธรรม-จริยธรรมในองค์กรและสังคม

โดย     ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

          ประธานที่ปรึกษา

          บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

คำถาม

          ขณะนี้ ถ้าประเมินม.อ.ด้านการสร้างทุนทางคุณธรรม-จริยธรรมในองค์กรจะได้กี่คะแนน

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

9 คะแนน เพราะมีการส่งเสริมการปลูกฝังให้นักศึกษา มีการแบ่งเป็นขั้นย่อยๆให้ปฏิบัติได้ สิ่งที่ขาดคือความชัดเจนและการต่อเนื่องในการส่งเสริม

8 คะแนน เพราะขาดความต่อเนื่องและรอบด้าน อาจารย์ต้องมีคุณธรรมเพื่อเป็นแบบอย่าง แต่สังคมไม่เอื้อ ยังมีหลายสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมาก ต้องนำไปสู่ส่วนต่างๆนอกเหนือจากนักศึกษา ม.อ.ใช้พระราชปณิธานของพระบิดาให้ถือ “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เมื่อคนนอกประเมินบัณฑิต ก็มีความโดดเด่นเรื่องนี้

6.5 คะแนน บางครั้งครูยังทำไม่ได้

5 คะแนน ความดีวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ เวลาสอนคนยึดพระปณิธาน เด็กควรยึดแบบนี้ เวลาจัดงานวิชาการ เด็กก็กลับบ้าน แต่คนที่ได้รับมอบหมายงานก็ยังอยู่ จึงไม่ได้น่าคะแนนสูง ระดับที่ฝังเข้าไปใช้ยังไม่มาก

คำถาม

เทียบกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันใดบ้างในเชิงคุณธรรม-จริยธรรม มี Benchmark หรือไม่

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

          สัตยาไสย พยายามฝังในระบบการเรียนการสอน

          มหาวิทยาลัยมหิดล มีพระบิดาเป็นสัญลักษณ์ มีปรัชญาที่สั่งสอนมาร่วม เป็นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพทำให้คุณธรรม จริยธรรมเด่น    

          มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและมหามกุฏราชวิทยาลัย สอนผู้ทรงศีล

          แต่ละมหาวิทยาลัยมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ต่างกัน อาจจะเทียบกับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและมหามกุฏราชวิทยาลัย

ความคิดเห็นจากวิทยากร

          เมื่อประมวลแล้ว ยังไม่เห็นภาพชัดเจนด้านคุณธรรม ก้ควรจะไปในทิศทางนั้น

          อาจารย์วศิน อินทสระ เขียนหนังสือ ลูกรักของพ่อแม่ บอกว่า แม้คนไม่ค่อยสนใจเรียนศีลธรรม แต่เมื่อโตขึ้น คนจะให้คะแนนวิชานี้ตลอดเวลาว่าคนมีศีลธรรมมากเท่าใด

เนื้อหา

          วิชาศีลธรรมมีอยู่จริง คุณธรรมจับต้องยาก เหตุผลที่ต้องให้ความสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรม

คำถาม

          ประเทศไทยน่าอยู่หรือไม่ ในอดีตในภาพรวม ไทยเจริญมากน้อยเท่าใดเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

 

          เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้เป็นประเทศยากจนอันดับ 6 ของโลกและเคยขอความช่วยเหลือจากไทย ไทยมีความพร้อมด้านการศึกษามาก เป็นสังคมอุดมปริญญา เป็นค่านิยมที่ต้องมีปริญญา แต่ปริญญาไม่ใช่ปัญญา

          ปัจจุบัน เกาหลีใต้เจริญกว่าไทย แต่ไทยยังอยู่ที่เดิม

คำถาม

ทำไมไทยยังอยู่ที่เดิม

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

เวลาคนเกาหลีทำผิด เขาลาออกจากตำแหน่ง แต่คนไทยต้องให้ศาลตัดสิน

คนไทยไม่ค่อยละอายต่อการกระทำผิด มีการคอรัปชั่น ทำให้พัฒนาได้ช้า

คำถาม

สิงคโปร์เคยเป็นเกาะสลัมในปี 1960 ตอนได้เอกราชจากอังกฤษจะรวมกับมาเลเซีย แต่มาเลเซียก็ไม่ยอมรวมประเทศด้วยเพราะไม่มีทรัพยากร  แต่ปัจจุบัน สิงคโปร์เจริญกว่าไทย ทำไมสิงคโปร์ไปถึงจุดนั้น แล้วไทยยังอยู่ที่เดิม

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

          มีคนน้อย

คำตอบจากวิทยากร

          ลีกวนยูพัฒนาสิงคโปร์ได้โดยพัฒนาทุนมนุษย์แล้วพัฒนาจิตวิญญาณของคนขึ้นมา ในการพัฒนาตลอดเวลา 50 ปี ลีกวนยูมองในหมู่ประเทศอาเซียนคิดว่า ประเทศไทยมีความพร้อมมากที่สุดในอาเซียน ถ้าตั้งใจพัฒนา จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสิงคโปร์ แต่จากการติดตามประเทศไทย ก็คิดว่า ไทยไม่สามารถขึ้นมาแข่งกับสิงคโปร์ได้เพราะคนไทยไม่มีการศึกษา   

ความคิดเห็นผู้เข้าร่วม

          ประเทศไทยปลูกฝังความริษยาผ่านละครมาตลอด จึงไม่พัฒนา ถ้าไทยส่งเสริมคนเก่งได้ทำงาน คนมีความรู้ได้แสดงออก ประเทศไทยก็เจริญ

ความคิดเห็นจากวิทยากร

          การทำงานเป็นทีมเป็นปัจจัยสำคัญ ประเทศไทยติดอันดับโลกที่มีทรัพยากรสมบูรณ์

จากการเป็นที่ปรึกษาสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในทุกการประชุมต้องจดเป็นภาษาจีน แต่ภาษาไทยก็ไม่แพ้ใคร การท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมา ประเทศที่เจริญทุกประเทศมีความเป็นชาติเข้มแข็งมาก

เนื้อหา

          โลกมี Mega Trends 5 เรื่อง

  • Demographic Shift ประเทศไทยมีคนก้าวสู่ผู้สูงอายุ (Silver Gen) มากขึ้น กระทบกับมหาวิทยาลัยในด้านรายได้ เพราะมีเด็กมาเรียนน้อยลง หลายมหาวิทยาลัยกำลังมีปัญหานี้
  • Shift in Global Economic Power ตอนนี้กลุ่มเศรษฐกิจสำคัญของโลกคือ BRIC ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน  ด้วยนโยบาย Trump เรื่อง America First ทำให้จีนผงาดขึ้นมา
  • Accelerating Urbanization มีกลุ่มคนเมืองมากขึ้นมีวิถีชีวิตเหมือนกันทั่วโลก
  • Resources Scarcity and Climate Change โลกมีผืนน้ำมากขึ้น พื้นดินลดลง คนออกไปกลางแดดเป็นมะเร็งมากขึ้น
  • Technology Breakthrough การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้โลกเปลี่ยน งานของคนจะหลายไป มี AI มาแทน ที่ญี่ปุ่น ใช้หุ่นยนต์ทำพิธีแทนพระ

โลกและประเทศไทยต้องการผู้นำ 3 ประเภทมากที่สุดคือ

1.ผู้นำที่สร้างแรงบันดาล Inspiration Leadership ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งหรือเงินแต่สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นเดินตามได้

2.ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม คนไทยเป็นคนดีและเป็นเก่งโดยส่วนใหญ่ แต่ขาดคนกล้าชี้ทางออก บอกทางถูก เตือนสติ

3.ผู้นำที่มีความเสียสละมีจิตอาสา ดาไลลามะกล่าวว่า วิธีที่ฉลาดในดารเห็นแก่ตัวคือการทำงานเพื่อส่วนรวม

ผู้นำที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ Servant Leadership ในประเทศไทยได้แก่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นปิระมิด

หัวกลับรองรับทุกเรื่อง ช่วยให้ทุกคนทำงานได้

          ผู้นำที่เหนือกว่า แบบ Servant Leadership เสียสละ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความเปลี่ยนแปลง ศรัทธาในความเป็นมนุษย์

          องค์กรผลสัมฤทธิ์ดีเด่น ประกอบด้วย  scores

          1.Share information

          2.Compelling Vision วิสัยทัศน์อันทรงพลัง

          3.Ongoing learning การเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนอย่างเดียวเท่านั้น

          4.Relentless focus on customer results

          5.Energizing system and structure

          6.Share power and high involvement

ผู้นำเพื่อการรับใช้ (Serve)

  • See the future มองเห็นภาพในอนาคต จากการทำโครงการยุวทูตความดี สิ่งที่ทำให้เด็กมีพลังคือคุณดนัยบอกว่า จะมาส่งมอบประเทศไทยให้เด็ก บอกให้คิดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรแล้วออกแบบประเทศ ผลลัพธ์ยิ่งใหญ่มาก เด็กเป็น change agent สิ่งสำคัญคือ compelling vision เห็นอนาคตร่วมกัน
  • Engage and develop people
  • Reinvent continuously ขวนขวายใฝ่รู้แบบไม่หยุดยั้ง เคยเป็นที่ปรึกษาบริษัท Microsoft มีแนวคิด continuous reinvention คิดผลิต software ใหม่เสมอ
  • Value results and relationships ให้ความสำคัญทั้งผลลัพธ์และสัมพันธภาพ มีการดูแลคนด้วย
  •  Embody the values สร้างความเป็นรูปธรรมให้กับค่านิยม

คำถาม

          บทบาทของครูในปัจจุบัน เป็นผู้สอนหรือผู้เรียนรู้ เป็นผู้ให้คำตอบหรือผู้ตั้งคำถาม

คำตอบจากวิทยากร

          เวียดนามพัฒนาได้เร็วมาก ลักษณะคนเวียดนามขยัน ตั้งใจ ไม่ยอมแพ้ แต่คนไทยไม่มีนิสัยแบบนี้ ตอนนี้เวียดนามปลูกข้าวและทุเรียนได้มากกว่าไทย พัฒนาด้านนวัตกรรมได้แล้ว ครูเวียดนามตั้งคำถามนักเรียน 5 ข้อ ดังนี้

1.วันนี้เธอช่วยพ่อแม่ทำงานอะไรบ้าง?

2.วันนี้เธอทำความดีกับคนอื่นอย่างไรบ้าง?

3.ที่บ้านเธอมีข่าวท้องถิ่นอะไรน่าสนใจบ้าง?

4.มีข่าวการเปลี่ยนแปลงอะไรในประเทศเธอบ้าง?

5.ในโลกของเรามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

ทำให้เด็กปฏิปักษ์จนเป็นวิถีชีวิต ต่างจากคนไทย คนไทยเรียนจบปริญญา รู้ลึกแต่โง่กว้าง คนไทยเป็นชนชาติเดียวที่ไม่สามารถตอบความรู้อะไรนอกประเทศได้ เพราะไม่มีการส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้

คำถาม

          บทบาทของครูในปัจจุบันเป็นนักจัดการนักเรียน หรือนักจัดการการเรียนรู้ เป็นครูผู้สร้างวินัยหรือสร้างแรงบันดาลใจ

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

          สร้างแรงบันดาลใจจากประสบการณ์และแนวคิดที่ดี โดยสอนนักศึกษาและเป็นแบบอย่าง

          มีวิชาสัมมนาที่เด็กต้องเขียนเองทั้งหมด ครูส่งเสริมให้เด็กผลักดันตนเองขึ้นมาให้ถึงมาตรฐานที่กำหนด เป็นการสร้างความตระหนัก ให้ค้นหาความรู้เองแล้วมาอธิบายให้ครูฟัง

คำตอบจากวิทยากร

          นักเรียนต้องการครูเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจมาก

คำถาม

          บทบาทของครูในปัจจุบันเป็นครูหรือเป็นเพื่อน สอนอย่างไร

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

          สอนน้อยลง ลดบรรยายให้น้อยลง ให้คำถามไปหารือ หาข้อมูล มี Group Discussion ครูก็ช่วยปรับให้เข้าทาง

คำตอบจากวิทยากร

          ปัจจุบัน ต้องสอนแบบไม่สอน เพราะเด็กสมัยนี้สอนยาก ใช้ research-based เมื่อเด็กสนใจเอง ก็จะค้นหาความรู้ได้เร็วมาก ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจ นอกจากนี้ต้องสอนให้ศรัทธาในตัวเองเท่ากับศรัทธาในผู้อื่น เด็กที่มีปัญหา มาจากปัญหาส่วนตัว เมื่อเข้าเรียน ไม่มีการคลี่คลายปัญหา เมื่อเรียนจบออกไปก็มีปัญหา ครูต้องสอนให้รู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน รู้หน้าที่ต่อโลก

          ครูที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือครูที่สามารถสร้างนักเรียนที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง

เนื้อหา

          การเรียนรู้ของมนุษย์มี 3 อย่าง

1.ฐานกาย คือ กฎระเบียบ กติกา วัฒนธรรม

2.ฐานจิต

3.ฐานคิด

          สังคมที่แข็งแรงทางจริยธรรมจะมีฐานกายและฐานจิตเข้มแข็งก่อนจึงจะมีฐานคิด (วิชาการ) ที่ดี

คนต้องฝึกตนและจะได้ผลเอง

          นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์โลกเมื่อเดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ทำแตกต่างออกไปคือ การเดินจงกรม จนโค้ชเกาหลีมาถามโค้ชไทย ครูมายโค้ชทีมชาติไทยให้นักกีฬาไทยเดินจงกรมทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมง เป็นการฝึกฐานกายและจิต ทำให้ฐานคิดดีขึ้น

อาจารย์ทันตแพทย์ไปถอนฟันคุดให้หลวงพ่อโดยท่านบอกไม่ให้ใช้ยา ส่วนหลวงพ่อนิ่งสงบ เป็นกรณีฐานกายและฐานจิตเข้มแข็ง พระบางรูปเรียนจบประถมศึกษาแต่มีลูกศิษย์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเพราะมีฐานคิดดีมาจากฐานกายและจิต

          หลวงพ่อชาสอน 2 คำที่ทำให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม คือ อายกับกลัว

          บริบทความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย ประเทศไทยกำลังจะเป็นประเทศไทย 4.0 แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น 4.0 ทั้งหมด ต้องขึ้นกับความพร้อมแต่ละ Sector ตอนนี้ประเทศไทยกำลังจะผลักดัน soft side ของประเทศไทย 4.0

ประเทศไทยมีแผนแม่บทคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ 1 แล้ว เรียกว่า คุณธรรม 4.0 คือ คุณธรรม 4 ประการตามรอยในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกอบด้วย

1.พอเพียง

2.วินัย

3.สุจริต

4.จิตอาสา

          กำลังมีการหารือโมเดลสร้างคุณธรรม จริยธรรมในสภาอุตสาหกรรม

          กระบวนการเรียนรู้เพื่อนำคนไทยสู่สังคมไทย 4.0 ประกอบด้วย

          1.เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้นการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรม เน้น Personalized และ Passion ไม่ใช่ถูกบังคับให้เรียน

          2.เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนจากสิ่งรอบตัว อาจารย์เป็น Facilitator มีการเรียนรู้สิ่งใหม่คือ Learn จากการมีมุมมองใหม่ๆ Relearn ต้องทิ้งความรู้เก่า Unlearn ความคิดที่ดีที่สุดจะมาจากความว่าง

          ในต่างประเทศ มี Mindfulness Learning ซึ่งเป็นแนวโน้มโลก ซึ่งม.อ.ควรจะทำเรื่องนี้ บริษัทใน Silicon Valley ทั้งหมดให้พนักงานนั่งสมาธิ ใน Google มีทางเดินจงกรม ให้พนักงานเข้าโปรแกรม Search Inside Yourself

          3.เรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นปลูกจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม มีการทำงานสร้างคุณค่าร่วมกัน โดย Open, Collaboration และ Sharing

          4.การเรียนรู้เพื่อไปสู่การลงมือปฏิบัติได้จริง ต้องมีการ Re-engineering องค์กรให้เป็น Project-based องค์กรเอกชนสร้างสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงความต้องการของตน

          เพื่อให้เป็นคนไทย 4.0 ซึ่งมี 4H

1.Head มีปัญญาเฉียบแหลม

2.Hand มีทักษะที่เห็นผล

3.Health มีสุขภาพแข็งแรง มีวินัยและวัฒนธรรม

4.Heart มีจิตอาสา จิตสาธารณะ จิตใจที่งดงาม

          สังคมไทยที่มุ่งหวังเป็นสังคมที่มีความหวัง สังคมเปี่ยมสุข และสังคมสมานฉันท์

คำถาม

ม.อ.มีกระบวนการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรมอย่างไร

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

มีวิชาพวกศึกษาทั่วไป ให้เด็กทำโครงการลงชุมชนทำกิจกรรมช่วยเหลือชุมชน แล้วกลับมารายงานผล

ความคิดเห็นจากวิทยากร

โมเดลนี้มาจากองค์กรประสบความสำเร็จด้านคุณธรรม ม.อ.ควรเป็นมหาวิทยาลัยคุณธรรม

เนื้อหา

          โมเดลการสร้างคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วย

          1.มีการอบรมให้เข้าใจคุณสมบัติคนไทย 4.0

          2.องค์กรคุณธรรมที่ประสบความสำเร็จก็มีต้นทุนความดีอยู่แล้ว จะต้องทำต่อยอดความดีที่มีอยู่ คุณธรรม 4 ประการเป็นต้นทุนที่มี

          3.ตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณธรรมที่เป็นรูปธรรม วัดผลได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน

          4.ออกแบบวิธีการดำเนินงาน มีคณะทำงานกำหนดกระบวนการดำเนินงาน คนรับผิดชอบ กำหนดระยะเวลา

          5.มีแผนงานโดยทุกคนมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม แล้วจะขับเคลื่อนได้

          6.ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

          7.ชื่นชม ยกย่องความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอ

8.ต้องมีการติดตามประเมินผล

9.ต้องมีการสร้างเครือข่ายคุณธรรมกับสังคมต่างๆ

ความคิดเห็นจากวิทยากร

          ถ้าม.อ.มีความพร้อม คุณดนัยจะเชิญประธานศูนย์คุณธรรมมาลงนามใน MOU ร่วมกับม.อ.

          จะขอให้อาจารย์จีระเพิ่มการมอบหมายหนังสือเรื่องนี้ให้ลูกศิษย์อ่านคือ The 8th Habit กล่าวถึงภาวะผู้นำ โดย Stephen Covey เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดของโลก ใช้เวลา 15 ปีเขียนเรื่องนี้ โดยตั้งคำถามว่า คนเกิดมาเหมือนกัน แต่ทำไมผลลัพธ์ต่างกัน อะไรคือความแตกต่างนั้น

          โมเดลการสร้างคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรมีอยู่ในหนังสือ White Ocean Strategy

เนื้อหา

          แนวโน้มโลก

1. Collective Action Coalition การทำงานเชิงคุณธรรม จริยธรรมต้องมีการรวมพลังกันทำจึงจะเกิดผล ม.อ.ต้องกำหนดประเด็นที่จะทำแล้วไปหาพันธมิตร เช่น การต่อต้านคอรัปชั่น ก็ควรไปร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย)

          2. ISR (Individual social responsibility-ISR)

               2.1 ต้องเริ่มที่ระดับบุคคล (Individual social responsibility-ISR) ต้องทำความดีทุกวัน

               2.2 Children social responsibility  เริ่มต้นที่เด็ก เช่น โครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย ให้เด็กลงพื้นที่ให้พบเหตุการณ์จริง แล้วมานำเสนอ ทำให้สร้างแรงบันดาลใจมาก เด็กภาคใต้บอกว่า ควรเปลี่ยนนิสัยคนไทย เด็กภาคอีสานบอกว่า สังคมแย่คือคนดีหายหัว คนชั่วลอยนวล สิ่งที่ประทับใจคือ เด็กราชภัฏอุบลตาบอด เรียนการศึกษาพิเศษอยากเป็นครู บอกว่า ครูสอนอย่าง ทำอีกอย่าง เป็นหายนะของสังคม นำรูปรัชกาลที่ 9 มาชู บอกว่า ตนมีความฝันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ อยากเห็นรัชกาลที่ 9 เวลาที่ท่านเสด็จ จึงใช้ใจสัมผัส และคิดว่า ท่านเป็นบุคคลงดงาม ขอสัญญาว่า แม้เกิดมาจน ตาบอด จะไม่ยอมให้คนเรียกว่า พิการทางใจ ไม่ยอมโกงกิน จะเป็นข้าราชการครูที่ดี ทุกคนนั่งเงียบด้วยความทึ่ง ในการทำงานด้านคุณธรรม ต้องเปิดใจคนให้ได้ เป็นครั้งแรก คุณดุสิต นนทะนาครตั้งองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย) โดยได้แรงบันดาลใจจากเยาวชน

               2.3 Corporate/citizen social responsibility   

               2.4 Community/city social responsibility เป็นการที่ทำให้ชุมชนดูแลตนเองได้ และเป็นการยั่งยืนกว่า

ขอให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอาจารย์ที่เป็นหัวหอกทางปัญญา สร้างไทยให้เป็นต้นแบบโลกด้าน Country social responsibility  ประเทศที่มีคนไทยหัวใจอาสา คนไทยมีความเมตตาอยู่แล้ว เรื่องนี้เป็นไปได้แต่ต้องทำให้ชัดเจน

          คุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

 

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม

บางครั้งทำแล้วท้อ จะทำอย่างไร

ตอบ

จากคลิปวีดิโอ ทุกคนมีงานล้นมือตลอด แต่มีคนที่ทำงานตลอดเวลาและยอมลำบากเพื่อผู้อื่นคือในหลวงรัชกาลที่ 9 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ถามว่า ท่านทรงเหนื่อยหรือไม่ ท่านทรงตอบว่า ท้อไม่ได้ เพราะมีความสุขของประชาชนเป็นเดิมพัน

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สังคมไทยอยู่ได้ด้วยคนไม่มีตำแหน่ง แต่ถ้ามีความมุ่งมั่นทำประโยชน์ให้ประเทศก็ทำได้

ประเทศไทยมีคนดีอยู่มาก คุณดนัยกำลังปลูกคนดีขึ้นมา

ถ้าคนดีรวมพลัง ก็จะมีบทบาทต่อไป

ขอแสดงความยินดีกับคุณดนัยและลูกศิษย์ด้วย

วิชาที่ 36

Learning Forum หัวข้อ การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล       

 

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

          หลายบริษัทลงทุนพัฒนาคนมากแต่ไม่เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงใด ประเทศไทยต้องเปลี่ยนการทำงานจาก Standard เป็นแบบ Personalized และ Passion-driven เป็น Self-director learner การเรียนต้องเป็น Active Learning และ Generative Learning ซึ่งก็ตรงกับวิทยานิพนธ์ของดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์คือ การสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในองค์กร เมื่อคนเรียนแล้วต้องนำไปสร้างความคิดใหม่ๆ แบ่งปันให้ผู้อื่นด้วย ควรมีการเรียนแบบ Result-based Learning ไม่ได้เรียนแต่ทฤษฎีแต่ต้องมีการนำไปปฏิบัติด้วย

ต้องทำให้คนไทยเป็น

1.Self-director learner คือ มีจิตสำนึกเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.Active Citizen เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น เป็นประชากรที่ดีของประเทศ ไม่ใช่ผู้ตามอย่างเดียว แต่สร้างสิ่งใหม่ๆด้วย

3.Engaged Contributor ทำประโยชน์คืนให้กับสังคม

4.Social Innovator

จากการประชุม World Economic Forum ระบุว่า ทักษะที่เป็นที่ต้องการทั่วโลกคือ Process, Content, Problem-solving, System Thinking และ Cognitive Ability ความสามารถในการเรียนรู้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์เคยได้รับการทาบทามไปออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนจากคนที่ Learn แล้วไม่ยอม Unlearn

          สิ่งที่สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมพยายามทำคือ ออกแบบหลักสูตร HR โดยคนเข้าร่วมเป็น HR ทุกครั้งทำโครงการเดี่ยวและโครงการกลุ่ม มีกรณีศึกษาและปฏิบัติ ส่งเสริมทักษะการคิด ทุก 2 สัปดาห์มีการทำคลินิก แต่ละคนต้องมาหารือการทำโครงการเดี่ยว พบว่า คนติดกับของเดิม คนจะ Learn, Unlearn และ Relearn ต้องทำให้ผู้เรียนเห็นว่า ของเดิมใช้ไม่ได้ HR ที่เข้าร่วมได้เสนอโครงการให้ผู้บริหาร โครงการที่ทำเป็นโครงการที่ 2-3 บริษัททำร่วมกันเป็นทีมแล้วนำไปเป็นโมเดลสำหรับบริษัทอื่นโดยปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท ทำให้เกิด Community of Practice เป็นชุมชนการเรียนรู้ ทุกโครงการที่ทำ จะต้องเชื่อมโยงกับศาสตร์พระราชา ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะต้องเปลี่ยน Mindset เมื่อสร้าง HR 1 คนให้ไปสร้างแรงกระเพื่อมต่อให้คนอื่นในองค์กร ในการปรับเปลี่ยนต้องเริ่มที่ตนเอง คนไม่กล้าตัดสินใจ

          กระบวนการเรียนรู้ในองค์กรไม่เกิดเพราะความเกรงใจไม่กล้าบอก และต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง บางครั้งวางแผนสวยงาม แต่ไม่กล้านำไปปฏิบัติ

          ในวิทยานิพนธ์ของดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ พบว่า การสร้างองค์กรการเรียนรู้ต้องมีผู้เกี่ยวข้องคือ Leader, Manager และ General staffs จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับองค์กรต่างๆ มีประเด็นการสร้างองค์กรเรียนรู้ Vision กับ Implement ต้องไม่เกิด Gap ทุกคนเห็นวิสัยทัศน์สวย แต่มีช่องว่างในการเข้าถึง พนักงานไม่มีเวลาเรียนผ่าน e-learning เพราะคนถูกจำกัดให้คิดว่าการเรียน e-learning นั้นต้องเข้าเว็บไซต์ของบริษัทและต้องอยู่ที่ทำงานในความเป็นจริงแล้ว เรียนที่ไหนก็เรียนได้ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ทำงาน

          ในการเรียนรู้ ต้องสร้าง environment ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 อย่าง

  • Work  Environment
  • Leadership
  • Culture

ถ้าวัฒนธรรมการเรียนรู้ นายสั่งตลอดเวลา จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ยากมากเพราะคนจะเรียนตามสั่ง  

นอกจากนี้ ควรลด Hierarchy ในองค์กร ทำให้คนคุยกันได้ง่ายขึ้น ปัญหาคือคนคุยกันน้อยลง ใช้ไลน์มาก ไม่ส่งเสริมทักษะการคิด บางความคิดไม่ใช่ความคิดที่ดีแต่คนส่วนมากชอบ ทำให้กลายเป็นความคิดที่ยอมรับ การคิดต่างทำให้ถูกต่อต้าน

          ต้องสำรวจว่า องค์กรเป็น Formal Learning มากหรือไม่ อย่าจำกัดตัวเองอยู่ใน Competency พื้นฐานที่ต้องมี ควรเน้น Need-based learning เมื่อคนเก่งแล้ว จะมีการปรับ Competency ได้ องค์กรข้ามชาติไม่ทำ Competency แต่เน้น Need-based learning มาจากงานที่ทำ

          ก.พ. ส่งคนไปเรียนสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อเรียนจบก็ยังมาอยู่ในรากเหง้าไทย ไม่กล้าพูดในที่ประชุม แต่พูดนอกที่ประชุม เพราะมีความเกรงใจสูง อาจกลัวการแก้แค้นในภายหลัง

          หลักสูตรอาจารย์จีระเป็นการกระทุ้งความคิด ต้องมีคนมาให้ความรู้ในแต่ละเรื่อง ความไม่เห็นด้วยจะเกิดการต่อยอด ปัญหาคือ คนไทยมักคิดว่า คนที่ไม่เห็นด้วยไม่ใช่ฝ่ายของตน สิ่งสำคัญในการทำงานต้องคิดว่า มาเพื่อสร้างให้พนักงานเห็นคุณค่าในการนำความรู้ไปใช้

          ในช่วงการหารือเพื่อการสร้างองค์กรเรียนรู้ คือ ต้องให้ความสำคัญกับ Generative Learning กับ Emerging Learning

Emerging Learning เกิดจากการหารือกันเพื่อแก้ปัญหาและตัดสินใจ ทำให้มีความคิดใหม่เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้วางแผน ต้องทำให้คนรู้ว่า ทุกครั้งที่แก้ปัญหาต้องได้รับบทเรียนที่สำคัญ (Key Learning) ในบริษัทข้ามชาติจะมีการทำ Reflection ในตอนสุดท้าย เพื่อสะท้อนว่าได้รับอะไรใหม่ๆ กลับมา

          ในกระบวนการการเรียนรู้ เวลาที่ทำ Learning Academy ในองค์กร ในการออกแบบหลักสูตรเพื่อพัฒนาคน ทุกครั้งที่หารือกันต้องทำ Reflection เพราะจะทำให้คนจำได้แม่นยำว่าเกิดการเรียนรู้เรื่องใด จะนำไปปฏิบัติอย่างไร นอกจากนี้ ต้องค้นหาอุปสรรคในการเรียนรู้

          Peter Senge มีหลักการเรียนรู้ 5 ประการคือ

          1.Personal Mastery เป็น Self-director learning ทำความเข้าใจประเด็นหลัก เกี่ยวกับความสนใจที่อยู่บน 2R’s

          2.Mental Model คือพร้อม Unlearn และ Relearn เหมือนปะทะกันทางปัญญาและเรียนรู้จากคนอื่น ไม่จำเป็นต้องปิดกรอบความคิด

          3.Shared Vision มีวิสัยทัศน์ทำร่วมกัน วิสัยทัศน์ส่วนตัวกับขององค์กรไปด้วยกัน และวิสัยทัศน์ระหว่างผู้นำกับผู้ตามไปด้วยกัน

          4. Team Learning

          5. System Thinking คิดเป็นระบบ

          Peter Senge กล่าวว่า การสร้างให้คนเกิดการเรียนรู้ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ข้อ แต่การนำไปปฏิบัติต้องทำให้เป็นระบบ คิดเป็นระบบว่า ถ้าทำสิ่งนี้แล้วจะเกิดผลลัพธ์อะไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการคุยกับ Peter Senge ก็มีความรู้ที่แลกเปลี่ยนกัน ได้ถาม Peter Senge ว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในการเรียนที่อังกฤษและนิวซีแลนด์ ถ้าไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ก็จะสอบไม่ผ่าน ในการอ่านหนังสือ ก็ไม่ได้อ่านเรื่องวิชาการอย่างเดียว แต่ก็มีความสนุกในการอ่านเรื่องอื่นด้วย ต้องอ่านให้มากแล้วประมวลเป็นความคิดของตนเอง การอ่านอย่างเดียวเป็นการลอกแต่การอ่านมากเป็น Value Diversity เมื่อทำ Workshop ก็จะเป็น Body of Knowledge ที่เกิดขึ้น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

Peter Senge ฝึกสมาธิ สอน Mindfulness ซึ่งตอนนี้โลกตะวันตกสนใจเรื่อง Mindfulness แล้วสอนเรื่องนี้ ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นพุทธปรัชญา ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ต้องให้ชาวตะวันตกมาสอนเรื่องนี้ คนไทยยังไม่เคยใช้ความรู้เรื่องนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Learning Culture กับ Human Capital ไปด้วยกัน ในอดีตมี Managerial Grid ที่กล่าวว่า เมื่อคนไปเจอองค์กร ผ่านนโยบาย วัฒนธรรม ถ้าดีก็เกิด Performance

          ถ้ามีม.อ.มี Learning Culture แล้วก็ไปสู่ Learning Organization ได้ ผลประกอบการนี้ก็จะเกิดขึ้น

จึงมีสมมติฐานว่า มีความรู้หรือ KM แต่ไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้

          KM เป็นการเก็บผลประกอบการในอดีตไม่ใช่ในอนาคต ถ้าต้องการทราบอนาคต ต้องอ่านหนังสือ มีนิสัยรักการอ่าน ถ้าทุกคนมีนิสัยรักการอ่าน จะทำให้เกิด Learning Organization

Learning Organization ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนที่สามารถนำอดีตกับอนาคตมารวมกันแล้วไปสร้างความคิดใหม่

ในด้าน KM คือการเก็บข้อมูลที่มีทั้ง Tacit และ Explicit ถ้าไม่มี Learning Culture ก็ไม่มีการ Share

          เมื่อเร็วๆนี้ Dr. Marshall Goldsmith มาประเทศไทยไทย มีการ Share กันจนทุกคนรู้จักกันหมด ระบบการเรียนรู้แบบ Chira Way คือ Learn, Share, Care ปรากฏการณ์การ Share เกิดจากการได้เรียนรู้จากลูกศิษย์

          ได้ทำโครงการให้กฟภ. มี 3 ระยะ แต่สำเร็จแค่ 2 ระยะ ในช่วงแรกเป็นการสร้างความตระหนัก

ได้ให้ผู้เรียนตอบแบบสอบถามว่า สิ่งก่อนเรียนและหลังเรียนมีประโยชน์มากเท่าไร คำตอบคือ ได้ความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 15###/span#< ผู้เรียนได้วัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ใช้ 4L’s กระตุ้นผู้เรียน                                                                                                                                                                        

          นอกจากนี้ เคยได้ทำให้การรถไฟ ซึ่งประเมินตัวเองว่า มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ 2 จาก 10 คะแนน แต่ก็ไม่ได้ทำต่อ

          ต่อมาได้ไปทำโครงการในลักษณะเดียวกันให้บริษัทไทยซัมมิต กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

          จากการทำงานให้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ พบว่า คนมักคิดในกรอบที่ค่อนข้างจะกลัวเจ้านาย ถ้ารอคำสั่ง ก็ทำอะไรไม่ได้

          มีองค์กรหนึ่งต้องการจัดโครงการให้ความรู้พนักงาน แต่ทางองค์กรขอเลื่อนเพราะกรรมการที่อยากให้ทำหมดวาระจึงไม่ทำ ต้องทำโครงการเพราะมีเหตุผลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงไม่ใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารขององค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการที่ได้มีโอกาสทำงานให้ม.อ.มาตลอด โครงการนี้เป็นการทำงานหนักมาก แต่ชอบทำเพราะทำอย่างต่อเนื่อง

ศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง Realistic เช่น เรื่องภูมิคุ้มกัน ในมุมมองส่วนตัว ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่คือสุขภาพดีและไม่หยุดการเรียนรู้ แม้มีแก่นความรู้แล้ว ก็ต้องพัฒนาตลอดเวลา ศาสตร์พระราชาสอนให้เป็นสังคมการเรียนรู้

นอกจากนี้ ท่านทรงถามว่า ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใครและทำแล้วได้อะไร ท่านทรงสอนให้คิด Macro ทำ Micro ต้องสร้างสมดุลระหว่างความรู้ลึกและความรู้กว้าง ทำเป็นขั้นตอน เน้น Communication, Coordination และ Integration

รู้ รัก สามัคคีก็เหมือน Personal Mastery คนเรียนเก่งเพราะเข้าใจ ความเข้าใจจะอยู่กับคนเราตลอดชีวิต คนเรียนด้วยความสนุกจะไม่แผ่ว

ต้องให้ฝ่ายสนับสนุนเป็นสังคมการเรียนรู้ด้วย ต้องเป็นประชาธิปไตยแห่งการเรียนรู้

          สิ่งสำคัญคือต้องมีองค์กรที่พร้อมจะเรียนรู้ คนในองค์กรต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้  Peter Senge กล่าวว่า ต้องทำให้คนอยากเรียนรู้เหมือนเด็กอยากหัดเดิน

ปัจจัยความสำเร็จคือ

1.ผู้นำ

2.บรรยากาศการทำงาน

3.Incentives ทำสำเร็จแล้วได้อะไร

4.การสร้าง Support Facilities

5.ระบบการประเมินผล สำคัญมาก ถ้าวัดผลโดยไม่มีการเรียนรู้ คนก็จะไม่เรียนรู้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล       

          สิ่งที่อาจารย์ทั้งสองท่านได้กล่าวถึงอยู่ใน 2 เรื่องคือ KM และ Learning Organization ซึ่งต้องใช้ทั้งคู่ เพราะ KM มักจะมาก่อนแล้วมาเป็นส่วนๆ แล้วนำองค์ความรู้มารวบรวมเป็นแต่ละเรื่อง แต่มักไม่ค่อยมีการนำไปใช้ประโยชน์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์กล่าวถึงการจัดการความรู้ว่า คนที่เป็นคนไทย 4.0 จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เป็นเรื่องที่นำไปใช้ได้ทันที

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มี KM มากมาย สุดท้ายก็ค้นพบ Learning Organization เพราะ Chira Way ประกอบด้วย Learn, Share, Care คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ปะทะกันทางปัญญา

KM เหมือนอาหารสำเร็จรูปที่อาจารย์ปรุงให้ลูกศิษย์ ถ้าสามารถพัฒนาเป็น LO ก็คือการที่ให้ลูกศิษย์รู้จักปรุงอาหาร LO จะทำให้เกิดความยั่งยืนเพราะเกิดจากภายในองค์กรและแต่ละบุคคล เมื่อเกิดความตระหนักรู้ก็จะเกิดความใฝ่รู้ เกิดความใฝ่ดี อยากทำให้สำเร็จ เมื่อทำสำเร็จแล้ว ก็จะเกิดการทำซ้ำ

เมื่อใช้การปะทะกันทางปัญญา นำคุณค่าจากความหลากหลายมา ทำให้มีทักษะของแต่ละคนมารวมกัน เกิดแนวคิดที่จะนำความรู้ไปขยาย ทำให้สำเร็จ

เมื่อเกิดองค์กรการเรียนรู้ จะเกิดเรื่องใหม่ๆมาถกเถียง แล้วค้างในสมองสามารถนำมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ ก็จะเป็นวงจรต่อไป 


วันที่ 25 สิงหาคม 2560

วิชาที่ 37

EdPEx– TQC – TQA กับการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่ความเป็นเลิศ

โดย     ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ

          คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

          อาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัช

          ที่ปรึกษากรรมการบริษัทนาวีกรุ๊ป

          อนุกรรมการประเมินผลกองทุนหมุนเวียนกระทรวงการคลัง

          ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย

          อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ

          ผู้รับบริการของมหาวิทยาลัยมีทั้งนักศึกษาและผู้มีอิทธิพลต่อนักศึกษาในการเรียนคือครอบครัว EdPex เป็นคนผลักดัน ใช้ IQA ทำให้ ranking ของประเทศไทยลดลง ในระดับสกอ.เริ่มคิดว่า IQA เริ่มตัน จึงมี TQA เข้ามา ที่บางคณะประเมิน TQA ตามระเบียบราชการได้ 900 กว่าคะแนน แต่ประเมินจริงได้ 100 กว่าคะแนน  

          สิ่งสำคัญคือการบูรณาการระบบงานหลายด้าน สิ่งที่ยังไม่มี solution คือต้นทุน

          Supply Chain เมื่อทำไป เกิดการเรียนรู้ นำมาดัดแปลง

          ต้องมีการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทุกฝ่าย เมื่อคุยแล้วเห็นโอกาสพัฒนาตนเอง

          จากการเป็นผู้ประเมิน HA พบว่า จะทำอย่างไร ทำให้โลกทัศน์เปลี่ยน

เพิ่งได้รับการรับรองการดูแลคนไข้เฉพาะโรคได้ทำวิจัย

          การดูแลคนไข้ทำให้ได้เรียนรู้ ทำงานวิชาการและได้เงินด้วยเพราะคนไข้บริจาค สิ่งสำคัญคือบูรณาการมองทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกัน ควรทำไป รู้ไปแล้วจะเข้าใจตัวเอง เวลาทำงานอย่างหนึ่งก็อาจจะได้ผลอีกอย่างหนึ่ง

          เกณฑ์จะถามตลอดว่า ทำเพื่อใคร

ตอนนี้กำลังส่งเสริมคณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ให้ได้ไซพอพ ตอนนี้คณะวิทยาศาสตร์ใช้ไซพอพแล้ว ทำให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น ต้องใช้ระเบียบราชการให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน

จากการไปตลาดโก้งโค้ง ร้านติ่มซำบอก ม.อ.ไม่ดัง เพราะถูกและดี คนไข้ที่ต้องการรักษาดีแต่จ่ายน้อยก็มารักษาที่ม.อ. ประชาชนได้ประโยชน์สมดังปณิธาน ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

MBNQA ใช้ Baldrige เป็นแกน  

ม.อ.ควรทำสิ่งที่ตนเขียนแล้วดูว่าเกณฑ์ถามอะไร ควรอ่าน Baldrige ให้มาก

ศิริราชได้ TQC   ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ศิริราชเป็นศิษย์เก่าม.อ. ทำงานได้ดีได้รับคำชม เข้าใจว่าทำไมต้องมี EdPex, TQC

ตอนนี้เปลี่ยนทุก 2 ปี การเป็น TQA Assessor ทำให้ต้องรอดูว่า ปีต่อไปจะได้เป็นต่อหรือไม่

ปัจจุบันต้องเน้น Change Management และ Big Data ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่ๆ เมื่อก่อนเป็นเรื่อง Innovation และ Intelligent Risk (เป็นความเสี่ยงที่มีการชั่งน้ำหนักแล้วว่าเป็นความเสี่ยงที่ดีหรือความเสี่ยงที่ไม่ดี มีการจัดการความเสี่ยงอย่างชาญฉลาด) นอกจากนี้มีเรื่อง Social Media และ Work Systems (แต่ก่อนอยู่ในบอร์ดและกระบวนการ) ปัจจุบันการจัดการไม่ได้อยู่ในกระบวนการ ไม่มีโรงงานผลิต ส่วนในเรื่องการศึกษา ก็พยายาม Implement เข้าไปในระบบให้เป็นไปตามวัฒนธรรมและบรรยากาศของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นความแตกต่าง

อย่างไรก็ตาม ก็มีหลักการเหมือนเดิม คือ มุ่งผลลัพธ์ ไม่บังคับวิธีการ มุมมองเชิงระบบสอดคล้องไปในแนวเดียวกันทั้งองค์กร วงจรการเรียนรู้ (ADLI)  และค่านิยม 11 ข้อที่เปลี่ยนไป มีการปรับค่านิยมในองค์กรใหม่

เป้าหมายในการใช้ EdPex คือ ช่วยสถาบันบรรลุเป้าหมาย ปรับปรุงผลการดำเนินการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

สถาบันอุดมศึกษาในอนาคตอาจจะมีการปิดตัวลงเพราะไม่มีลูกค้า

EdPex ช่วยบอกความคาดหวัง วิธีการบอกแบ่งเป็น 7 หมวด 36 ประเด็นพิจารณา ค่านิยม 11 ข้อจะเปลี่ยนช้า เกณฑ์พื้นฐานขึ้นอยู่กับค่านิยมเหล่านี้ ถ้ายิ่งเป็น Multiple Specific Areas ก็ยิ่งมีรายละเอียดมากขึ้น มี Multiple Requirements

ตอนนี้ที่ ทำ EdPex 200 คือเอาชนะ Basic ให้ได้ก่อน ถ้าผ่านได้ ก็จะได้ 450 มีโครงการ 3 รุ่นแล้ว

จากโครงการ 2 รุ่น มีแค่ 8 คณะทั่วประเทศได้ EdPex 200 คะแนน ส่วนปีนี้มี 4 คณะที่ผ่าน ปีนี้ม.อ.ควรเตรียมตัว กลางเดือนพฤศจิกายนจะมีการประกาศหลักเกณฑ์ ส่วนเดือนธันวาคม ส่ง Screening ได้ มีความยาว 10 หน้า ตั้งแต่รุ่นที่ 1-4 ของ EdPex 200 พบว่า ปีนี้ชัดเจนแล้วว่า คณะที่เขียนส่งรู้จักเกณฑ์และเข้าใจตัวเองมากขึ้น รู้ว่าจะทำอะไร

สิ่งสำคัญคือ result ผลดีขึ้น คณะที่ผ่าน ชนะต่างประเทศ เริ่มต้นที่ result และคณะต้องอาศัยมหาวิทยาลัยสนับสนุนแต่ละคณะจึงจะไปได้ไกล

มีคำถาม what and how ไม่บังคับวิธีการ

Baldridge มี overall requirement 

EdPex มี overall requirement 2 ระดับ ซึ่งใช้ทั้งคู่

Overall level 1 คือของเก่า

Overall level 2 คือความต้องการระดับทั่วไป ควรใช้อย่างนี้มากกว่า

EdPEx ช่วยยกระดับคุณภาพโดย

1.บอกความคาดหวัง หรือ ความต้องการ ของเกณฑ์

2.ข้อกำหนด/ความต้องการ  ที่ครอบคลุมองค์ประกอบการดำเนินการในองค์กรทุกประเภท

3.กรอบการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อการจัดการผลการดำเนินการ

4.เป็นพื้นฐานการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5.เกณฑ์ไม่กำหนดวิธีการ  (non-prescriptive)

6.เพื่อไปสู่ performance excellence

ความเป็นเลิศคือตอบสนองลูกค้าให้ตรงใจทั้ง ในปัจจุบันและอนาคต ระเบียบราชการใช้มานานแล้วแต่ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มหาวิทยาลัยต้องเข้าใจอนาคตของชาติเพราะต้องสร้างอนาคตชาติ อาจารย์สำคัญมาก ต้องมี 21st century learning  ในอนาคต จะมีหุ่นยนต์มาทำงานแทน ต้องมีการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดประสิทธิผล ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานด้านความคุ้มทุน แม้ไม่คุ้มที่สุด ก็ต้องได้ผลดีที่สุด ต้องมีการเรียนรู้ทั้งด้านของคนและองค์กร

ในภาพรวม EdPex มีการเข้าใจเกณฑ์ EdPex ดีขึ้น มีการสร้างเครือข่าย สามารถจัดกลุ่มได้ว่า กลุ่มใดทำในด้านใด ถ้าทำและเรียนรู้ไปด้วยกัน ก็จะได้ประโยชน์

การทำ EdPex เริ่มด้วยการรู้ผลลัพธ์ แล้วทำให้มีค่าคือ ถูกใจลูกค้าและสังคม  แล้วคนทำงานก็จะมีความสุข

ผลที่ต้องการ

มุมนอก คือ ความพอใจของลูกค้า เช่น สมรรถนะหลักของบัณฑิตประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิต

มุมใน คือ ผลงานวิชาการ กระบวนการการเรียนการสอน

สิ่งสำคัญคือจะต้องมีผลบอกว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร

มุมมองในอนาคต เช่น สอนนักศึกษาปีที่ 1 ก็จะรู้ว่านักศึกษาปีที่ 2 จะเป็นอย่างไร อาจารย์ต้องเป็นผู้สร้างประสบการณ์การเรียนรู้

ผลลัพธ์จะต้องสะท้อนความต้องการและประทับใจลูกค้ามาก

ต้องรู้จักลูกค้าและผูกใจลูกค้า คนจะต้องผูกใจลูกค้าให้ได้ คนเข็นเปลสำคัญเป็นคนสุดท้ายที่พบคนไข้แล้วทำให้ประทับใจ

บางโรงพยาบาลมีคำขวัญว่า ห้องเก็บศพคือห้องรับแขก จัดสภาพห้องเหมือนห้องรับแขก มีญาติมาเยี่ยม ก็ต้อนรับเสมือนแขก ให้ความเคารพ มีการแต่งหน้าศพให้เหมือนกับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ คนที่เห็นความเชื่อนี้ก็ทำงานตามความเชื่อนี้ แต่ถ้าเชื่อว่าเป็นแค่ห้องส่งศพ ก็จะทำงานเหมือนห้องเก็บศพ

ม.อ.มีปณิธาน เน้น “ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” ลูกเคยถามว่า การสอบได้ที่ 1 หมายถึงว่าไม่เห็นแก่คนอื่นใช่หรือไม่ จึงได้ตอบไปว่า “การที่ได้คะแนนสูงแล้วเกิดการแข่งขัน สังคมจะได้ประโยชน์ เพื่อนจะทำตามแล้วทำให้เกิดสภาพดังกล่าว คือ มุ่งมั่นแข่งกันทำดี”

โครงการที่ให้ความสนใจลูกค้าและนักศึกษาเป็นเรื่องที่ดี ใครทำดี ก็ควรชื่นชมแม้จะเป็นงานเล็กน้อยก็ตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้คนทำงาน

ต้องมีกระบวนการทำงานว่า ทำอย่างนี้แล้วได้ผลอย่างไร เช่น กำหนดว่า นักศึกษาต้องเข้าเรียน 80###/span#< แต่อาจทำได้ยากถ้าอาจารย์นำสไลด์เก่ามาสอนหรือนำมาจากอินเตอร์เน็ต ในกรณีที่มีนักศึกษาที่เก่งและอ่านมาก่อนแล้ว นักศึกษาก็ไม่เข้าเรียน อาจารย์ต้องสนใจความคิดเห็นของนักศึกษาซึ่งถือเป็นลูกค้า การที่ออกข้อสอบง่ายเกินไป ถือเป็นอันตรายเพราะนักศึกษาจะไม่อ่านหนังสือ แค่อ่านเพื่อสอบผ่าน

เมื่อทำงานแล้วต้องได้ตัวเลข เหมือนร้านสะดวกซื้อที่ขายของแล้วบันทึกอยู่ในระบบทำให้ทราบว่า สินค้าชนิดใดขายดี

ระบบไอทีอยู่ในหมวด 6 ซึ่งมีความสำคัญมาก

จากข้อมูล สามารถนำไปสู่การประชุมทีมนำและการทำยุทธศาสตร์ ออกมาเป็นโจทย์แบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ

การจัดการต้องอาศัยข้อมูล ต้องมีการปรับข้อมูลตลอดเพื่อนำเสนอสื่อได้ดี ต้องระวังข้อมูลและความรู้สึก ในการเก็บข้อมูล ต้องมีวัตถุประสงค์ในการเก็บ ต้องทำความเข้าใจกับคนในการเก็บข้อมูลแต่ละครั้ง การทำ TOR ต้องมีการประกาศล่วงหน้า ต้องบริหารความรู้สึกให้ดี

          องค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนของการดำเนินการที่เป็นเลิศคือ

  • ระบบการนำที่มุ่งเป้าหมายกลยุทธ์ (Strategic Leadership)
  • การปฏิบัติที่มุ่งความเป็นเลิศ (Execution Excellence)
  • ผลการปรับปรุงที่เป็นเลิศ (Organizational Learning)

ในเกณฑ์เป็นเรื่องของ Input, Process และ Output หลักการเหมือนกัน ต้องมองทุกอย่างให้มีความเหมือน แล้วลงมือปฏิบัติ ก็จะเข้าใจว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะการทำงานคุณภาพคือการทำงานประจำให้ดีขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้น แสดงว่า มีความผิดปกติ อาจจะไม่ใช่จากเกณฑ์ แต่มาจากการลงมือปฏิบัติ ต้องมีการพัฒนาให้ทำออกมาแล้วใช้ได้

          ในการสร้างพลังการขับเคลื่อน คือ ต้องมีเครือข่ายของการพัฒนา ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน และการประเมินตัวเองและภายนอก

การประเมินตนเองจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับพัฒนาการขององค์กร  โดยเริ่มจากเกณฑ์ที่รู้จักก่อน เมื่อประเมินแล้วต้องเกิดการพัฒนา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ระบบประกันคุณภาพภายในโดยเฉพาะเรื่องการศึกษา จะเห็นว่า ถ้าประเมินตัวเอง ไม่ตรงมุมมองข้างนอก บางครั้งความเป็นเลิศก็มีเรื่องการแข่งขันมาเกี่ยวข้อง บางคนไม่คิดเรื่องการแข่งขัน ระบบตรงนี้จึงมาช่วยให้ทำงานเป็นกระบวนการไป ความคิดแตกต่างหลากหลายได้ แต่คุณภาพจะต้องมีตัวที่จะกำกับ

อาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัช

          จากการสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการนี้ มีคนที่ไม่เคยได้ยินเรื่อง TQA แต่ถ้าได้ไปดูงานที่กรุงเทพ ก็จะได้ยินชัดเจนที่มจธ. แม้ว่าบางคนไม่คุ้นเคยเรื่องนี้ แต่ก็ต้องเคยได้ยินเรื่อง EdPex

          EdPex เกิดจากเรื่องคุณภาพของสินค้าแล้วพัฒนามาเรื่อยๆจนถึงจุดที่ต้องการให้มีคุณภาพการบริหารจัดการ ปตท.สมัยมีหน่วยงานเรียกว่า Q ทำหน้าที่ QC สินค้าประเภท น้ำมัน แก๊ส และปิโตรเลียม ปตท.ซึ่งมีฐานเป็นรัฐวิสาหกิจด้วยก็มายึดเกณฑ์ TQA ก็พัฒนาหน่วยงานที่เรียกว่า Q ใหญ่ คือ Management Q ดูคุณภาพของการบริหารจัดการด้วย

เมื่อเข้ามาในประเทศไทย จะเป็น TQA ก่อนประมาณปีค.ศ. 2001 TQA เข้ามาเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจเอกชนในประเทศ มีสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติก็ได้ทุนส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลและอีกส่วนหนึ่งต้องหาทุนเลี้ยงตัวเอง ก็กลายเป็น TQA เปิดให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อมสามารถมายื่นสมัครขอรับรางวัลได้

เกณฑ์คือ Thailand Quality Award เป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ แต่ก็ยังมีคนคิดว่าเป็นตัวคุณภาพสินค้าหรือบริการ แต่ความหมายที่แท้จริงคือ Management Q เป็นภาพที่ใหญ่ขึ้นมาอีก

เมื่อ TQA ทำไปได้ระยะหนึ่ง ส่วนราชการจึงมีความสนใจ เป็นผลมาจากการปฏิรูประบบราชการ จากสำนักงานก.พ. มาเป็นสำนักงานกพร. แล้วนำเกณฑ์ TQA ไปพัฒนาต่อ ในความเป็นจริงแล้วมาจากเกณฑ์แม่บทเดียวกันคือ Baldrige แต่เมื่อนำมาใช้ในระบบราชการ ก็มีการปรับให้เข้ากับบริบทระบบราชการมากขึ้น เพราะส่วนราชการไม่มีเรื่องกำไร ขาดทุน แต่เป็นเรื่องของความคุ้มค่า กลายเป็นเกณฑ์ของส่วนราชการเรียกว่า PMQA ย่อมาจาก Public Sector Management Quality Appraisal เป็นการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการส่วนราชการ เป็นการย่อส่วนจาก Baldrige ส่วนราชการจึงแบ่งออกมาเป็น 2 ระดับ

3 ปีแรกถือเป็นภาคบังคับของหน่วยราชการ คือการตรวจประเมินระดับ Fundamental Level ถ้าเทียบกับเกณฑ์ EdPex หรือ TQA ก็เท่ากับ Basic Requirements เป็นการปรับองค์กรขั้นพื้นฐานให้เวลาส่วนราชการ 3 ปีพัฒนา เมื่อจบปีที่ 3 ก็ต้องเข้ารับการตรวจประเมิน Fundamental Level จะได้ใบรับรองว่าผ่าน Fundamental Level หลังจากพ้น 3 ปี ก็เป็นภาคสมัครใจ แต่ก็เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อ เกิดเป็นรางวัล แต่รางวัลจะแตกต่างออกไปจาก TQA เนื่องจากให้รางวัลเดียวสำหรับทุกหมวดคะแนนรวม 7 หมวด  อาจจะสมัครเข้ารับรางวัลเฉพาะหมวดก็ได้ เมื่อผ่านไป 3 ปีก็จะมีความพร้อมในองค์กรมากขึ้น ต้องมีเกณฑ์ว่า ต้องผ่านการรับรางวัลแล้ว ถ้ามีความพร้อม ก็ขอรับรางวัลดีเด่นได้ ตัวอย่างเช่น กรมปศุสัตว์ซึ่งพัฒนาไปตลอด หลังจากรับรางวัลรายหมวดแล้ว ก็มีการตั้งเป้าหมาย หลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้รางวัล แต่ก็มีกรมสุขภาพจิตที่ยื่นขอรับรางวัลดีเด่น มีรายละเอียดในเว็บไซต์สำนักงานก.พ.ร.

รัฐวิสาหกิจมีหน่วยงานกำกับคือ กระทรวงต้นสังกัดและกระทรวงการคลังเพราะรัฐวิสาหกิจต้องส่งเงินคืนให้กับแผ่นดิน เวลาที่รัฐวิสาหกิจขอโบนัส ต้องขอจากกระทรวงการคลัง โดยต้องทำข้อตกลงกับกระทรวงการคลังว่าในปีนั้นๆ กระทรวงการคลังมีตัวชี้วัดอะไร เมื่อทำข้อตกลงแล้ว ก็จะไปดำเนินการ ปลายปีต้องมีการวัดผลว่า ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้นั้นทำได้ตามเกณฑ์หรือไม่ ถ้าทำได้ ก็จะได้โบนัส มีรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่มีโบนัส เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งแห่งชาติ EXIM Bank บางครั้งก็มีบางหมวดที่ทำให้แตกต่างจากเกณฑ์แม่

EdPex แต่เดิมทางสายการศึกษาก็เป็นเรื่องของความสมัครใจ มหาวิทยาลัยบางแห่งก็สนใจเรื่อง TQA เช่น มจธ.ก็ยื่นสมัคร TQA ช่วง 10 ปีที่แล้วก็สมัครมาครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ผ่าน ผู้บริหารมจธ.แสดงให้เห็นว่า Fail ก็หากฎเกณฑ์ว่า A อาจจะเป็น Approach หรือ Achievement จากการที่ได้เห็นใบสมัครปีแรกของมจธ. แล้วเห็นว่า พัฒนาการดีขึ้นมาก แต่ไม่น่าจะสมัคร TQA แล้ว

ควรใช้คำว่า ใช้ EdPex เป็นแนวทางบริหารงานและพัฒนาองค์กร เกณฑ์ทั้งหลายเป็นการนำมาประเมินความก้าวหน้าขององค์กร ประเมินตนเองกับเกณฑ์ว่าพัฒนาไปถึงระดับใด

          ปัญหาคือ

1.ประเมินตนเองสูงเกินไปเพราะตั้งเกณฑ์ง่ายเกินไป

2.ประเมินแบบไซโล ไม่ได้ดูความสำเร็จว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่

สิ่งสำคัญต้องบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการก่อน แล้วประเมินตนเอง

จากการไปดูงานมจธ. ทำให้เห็น Better Practice อาจจะเปรียบเทียบหา Gap หรือ Opportunities for Improvement (OFIs) แล้วพัฒนาตนเอง เมื่อพร้อมจึงไปขอรับรางวัล ในที่สุดเกณฑ์ EdPex จะกลายเป็นภาคบังคับ ส่วน PMQA ตอนนี้ส่วนราชการผ่าน Fundamental Level หมดแล้ว ถ้าไม่สมัครใจที่จะพัฒนาต่อ หน้าที่คือก็ต้องรักษาระดับให้ดีใน 3 ปี ถ้า 3 ปีผ่านไปแล้วไม่สมัครรับรางวัล ส่วนราชการนั้นจะถูกประเมิน Fundamental Level รอบที่ 2 แล้วเกณฑ์ก็จะยกระดับสูงขึ้นไปอีก จะถูกผลักดันขึ้นไปเรื่อยๆ ในที่สุด ถ้าไม่สมัครใจรับรางวัล Fundamental Level จะถูกยกระดับขึ้นไปใกล้เคียงกับรางวัล TQC ของ MBNQA ตอนนี้ถูกบังคับเหล่านี้แล้ว และก็จะยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ

          บางครั้งการตั้งเกณฑ์ไม่สอดคล้องกับความจริง เช่น เมื่อ 5 ปีที่แล้ว บขส.ถูกบังคับใช้อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเกณฑ์แต่ต่อมาเจรจากับสนข. จึงได้เกณฑ์ใหม่เป็น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่บขส.ควบคุมได้

          การรับตัวชี้วัดมาจากมหาวิทยาลัยหรือคณะ ควรดูว่าเป็นสิ่งที่ควบคุมได้หรือไม่ ถ้าควบคุมไม่ได้ ควรเจรจาต่อรอง

          ถ้าเป็น tools พัฒนาผู้นำ ก็ต้องพัฒนารุ่นใหม่ด้วย ต้องมีการสร้างผู้นำในทุกระดับ ไม่ใช่พัฒนาเมื่อมีตำแหน่ง

          หลายองค์กรอยากพัฒนาหลายเรื่อง เวลาดูผลลัพธ์แล้ว ก็เห็นว่า แค่ได้ทำ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ว่าทำได้ สภามีสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีการตั้งตัวชี้วัดเพื่อพิสูจน์ว่าได้ทำ ไม่ใช่ทำได้ ส่วนราชการต้องให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าด้วย บางเรื่องความคุ้มค่าไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ เช่น กรมทางหลวงสร้างเส้นทางใหม่ ไม่คุ้มทุน แต่คุ้มค่าคือประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น รัชกาลที่ 9 ทรงถือว่า ขาดทุนคือกำไร

          สำนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีเกณฑ์ชี้วัดโดยใช้จำนวนผู้เข้าอบรม จึงได้เสนอแนะให้ถอยตัวชี้วัดเป็นเชิงประสิทธิภาพ คือนำกลุ่มเป้าหมายมาร่วมโครงการได้ตามเป้าหมาย ถ้าวัดเชิงประสิทธิผล คือ วัดตามวัตถุประสงค์โครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีความสามารถที่กำหนด

ควรใช้ Saint Patrick model ประกอบด้วย

1.Reaction ประเมินความสนใจในความรู้

2.Learning

3.Self-assessment ควรแยกเป็นหัวข้อให้ชัดใน post test ว่าได้ประโยชน์อะไร

4.Behavior พฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือไม่ ต้องมีการติดตามผล

5.Result ใช้จริงแล้วเกิดประโยชน์หรือไม่ ถือเป็นความคุ้มค่า

ยุทธศาสตร์องค์กรต้องตอบโจทย์ของวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ต้องตอบยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ บางครั้งควรจะต้องมีการสำรวจก่อน เช่น เรื่องความผูกพันของพนักงานกับองค์กร ควรสำรวจความคิดเห็นของพนักงานด้วยแล้วกำหนดตัวชี้วัด

กรณีที่ทำ rolling plan แต่แผนปฏิบัติราชการเปลี่ยน ก็ต้องปรับงบประมาณให้สอดคล้องกับแผน

บางองค์กรเขียนวิสัยทัศน์สวยงาม แต่เปลี่ยนทุกปี ส่วนมากพบในรัฐวิสาหกิจเนื่องจากผู้นำมาจากการสรรหา ซึ่งเสนอวิสัยทัศน์ของตนเอง บางหน่วยงานต้องทำรายงานวิสัยทัศน์ของทั้งองค์กรเสนอต่อกระทรวงการคลังและรายงานวิสัยทัศน์ผู้บริหารเสนอต่อผู้บริหาร

          ถ้าสร้างผู้นำทุกระดับ ทุกคนต้องเป็น role model ให้รุ่นต่อๆไป

          ค่านิยมคือ การมีชีวิตอยู่ในองค์กรตามค่านิยม

          ในเกณฑ์มีคำถามว่า ผู้นำสื่อสารอย่างไรกับบุคลากร ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถ่ายทอดคือ ทำให้คนอื่นเข้าใจและปฏิบัติได้ ต่างจากการสื่อสาร

          การทำตามตัวชี้วัด ต้องอาศัยความร่วมมือทุกฝ่าย ทุกคนต้องทำความเข้าใจเกณฑ์ EdPex แล้วปฏิบัติในส่วนที่ตนเกี่ยวข้องโดยบูรณาการกับฝ่ายต่างๆ

ช่วงคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ถาม

ในฐานะเป็นอนาคตของมหาวิทยาลัย ทราบดีว่า การศึกษากับ Training เป็นคนละสิ่ง ตนไม่ศรัทธาการประเมิน เป็นการกดหัวคน แต่ระบบการศึกษาก็ถูกประเมิน

ตอบ

อาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัช

ทุกคนถูกประเมินตลอดชีวิต ตั้งแต่คลอด หมอก็ประเมินว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ การอบรมก็มีการประเมิน เช่น เวลานัดหมาย บางครั้งก็ไม่ได้ประเมินเรื่องเล็ก จะพัฒนาอะไรไม่ได้ถ้าไม่มีการประเมิน

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ

ตอนอาจารย์วิจารณ์นำ QC เข้าคณะแพทย์ เคยรู้สึกต่อต้านเพราะไร้สาระ เคยคิดว่า คนทำงานคุณภาพคือคนไม่มีคุณภาพ แต่ทำงานแล้วทำให้เรียนรู้ตนเอง เป็นการเจริญสติ ประเมินตนเอง ถ้าไม่มีสติ ปัญญาไม่เกิด

เวลาเข้ากระบวนการคุณภาพ กระบวนทัศน์จะเปลี่ยน การประเมินที่มีคุณค่าคือการประเมินที่ทำให้เกิดการพัฒนา แม้ไม่ได้คะแนนถึงเกณฑ์ แต่ก็ได้ประโยชน์ในการพัฒนาเพราะถือเป็นการเรียนรู้ ประเมินแล้วต้องทบทวน การประเมินต้องมีระยะเวลากำกับ การประเมินทำให้โลกทัศน์เปลี่ยน ความคุ้มค่าวัดยากโดยเฉพาะกับเรื่องคน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิชานี้เป็นเรื่องยากจากมุมคนนอก ทั้งศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศและอาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัชเป็นผู้ตรวจประเมิน

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศเคยเป็นคนต่อต้านระบบการประเมินมาก่อน แล้วกลับมาเป็นผู้ตรวจประเมิน

อาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัชกล่าวถึงการตรวจประเมินภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ทุกองค์กรทำเรื่องการประเมินมาแล้วหลายปี เพื่อให้เห็นคุณภาพที่ดีขึ้นและเพื่อให้ประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทุกด้าน

          ก่อนเป็นประเทศไทย 4.0 ก็มีการประเมินอยู่แล้ว แต่ละคนทำดี แต่ความดีของแต่ละคนวัดผลไม่ได้ วิธีที่แต่ละคนทำสู้วิธีการแบบบูรณาการไม่ได้

มจธ.สามารถปรับตัวได้ไปเป็นอันดับ 2 โดยใช้ EdPex เป็นแนวทางบริหารจัดการ ถือเป็นสิ่งที่ดี

อาจารย์นาตยา อุ่ยวิรัชกล่าวว่า TQA ประเมินทุกด้าน

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์กล่าวไว้ว่า ความเป็นเลิศมี 2 แบบ แบบแรกคือแบบเทียมใช้เพื่อสนับสนุนการแข่งขัน เป็นแรงขับดัน เป็นสิ่งที่มนุษย์มีมานะที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้เกิดความประมาท ถ้าทำงานในเกณฑ์เพื่อชาติและลูกค้า ก็นำตนเองมาวัดอย่างเดียวไม่ได้ ส่วนความเป็นเลิศที่แท้เกิดจากภายใน ดีมาก แต่ละคนมีไม่เท่ากัน

ความเป็นเลิศ

1.ดีที่สุดในความสามารถของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2.ดีที่สุดในความสามารถของเรา

3.ดีที่สุดในฐานะที่เป็นประโยชน์การเกื้อกูลต่อชีวิตและสังคม

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศอธิบายว่า ทำไมต้องประเมิน ถ้าประเมินตนเอง ก็มองไม่รอบด้าน ถ้าทำ EdPex มีการวางรูปแบบ มีกลไกผลักดันให้ก้าวหน้า มีกระบวนการ เข้มข้นกว่า HA เมื่อดีแล้ว ก็ต้องมีการพัฒนา ทำเพื่อให้เห็นโอกาสการพัฒนาตัวเอง ส่งผลกระทบไปทุกด้าน

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศเสนอแนะว่า ต้องถามตนเองว่า ทำเพื่อใคร ม.อ.ทำเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง เมื่อทราบว่าทำไมต้องทำ ก็ต้องประเมินวิสัยทัศน์ พันธกิจ core value ตามความเป็นจริง ยอมรับความจริง มองระบบ จะเห็นปัญหาจากการประเมิน ต้องปรับตัวทุกวันเพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน เวลาเรียนรู้ เก็บข้อมูล ต้องระวังอารมณ์ ความรู้สึก วิธีบริหารจัดการต้องเน้นการบูรณาการ เวลาเขียนเกณฑ์ประเมิน ต้องครอบคลุมทุกด้าน สุดท้ายต้องทำงานแบบบูรณาการสอดคล้องกัน ปรับให้สอดคล้องกัน

ถาม

ในฐานะที่อบรม Internal assessor มาแล้ว ตนและทีมพยายามใช้ EdPex ตอนแรกที่อบรมก็ต่อต้าน เมื่ออบรมหลายครั้ง ก็เริ่มใจว่า เป็นการทำเพื่อพัฒนาองค์กร การ implement สำคัญก็พยายามชี้แจงให้คนอื่นๆเห็นข้อดี แต่คนที่อยู่นานๆแล้วเข้าใจว่าเป็นการประกันคุณภาพ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จึงพอใจระบบเดิมเพราะคิดว่าดีอยู่แล้วแม้จะมีข้อเสนอแนะในการทำงานให้ดีขึ้น มีเทคนิคอะไรช่วยหรือไม่

ถาม

ถ้ามหาวิทยาลัยจะไปสู่เกณฑ์คุณภาพ หลังทำรายงาน ไม่เคยมี feedback ไปยังระดับบริหาร คนกลุ่มนี้แค่ถามว่า ทำแล้วได้อะไร

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ

คุณภาพต้องทำให้งานประจำดีขึ้น ตนเคยผลักดันมาเป็นเวลาหลายปีจึงจะได้รับการยอมรับ

ผู้นำต้อง integrate มองความเหมือน ความต่าง การใช้ประโยชน์อยู่ที่ใด มองทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกันแล้ว Implement ต้องตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ชุมชน สังคม ไม่ใช่ตอบเกณฑ์ หมอต้องตอบโจทย์คนไข้และทีมได้ ปัจจัยความสำเร็จคือ ผู้นำ เช่น ผู้นำคณะวิทยาศาสตร์ เกิดบรรยากาศการเรียนรู้

อาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัช

การทำงานตอบโจทย์ลูกค้าก่อน ต้องใช้วิธีใดเพื่อตอบโจทย์

ถาม

เคยได้ไปอบรมกับอาจารย์ เคยตั้งคำถามตนเอง ตรงนี้ต้องก้าวผ่านให้ได้ มีสิ่งที่ทำให้เกิดกับดัก

ตอนเรียนจบพบคำย่อภาษาอังกฤษมาก เมื่อทำไป ใช้เวลาทำ TOR 3 วัน คือ ทำใจ หาเอกสาร ทำงานรายงาน

สมัยก่อนรู้สึกต่อต้าน ประเมินเอกสารแล้วสงสัยว่าอยู่ในการทำงานจริงหรือไม่ ตอนนี้ต้องการทำงานให้มากแล้วจะทราบว่าเขียนอะไร  บางครั้งผู้บริหารต้องการรายงานสวยงาม แต่ขับเคลื่อนจริงไม่ได้ แต่การประเมินต้องนำเสนอความจริง เรื่องนี้เป็นการเขียนโปรแกรมองค์กร การทำให้สมบูรณ์เป็นเรื่องท้าทาย มีเทคนิคในการรายงานเรื่องนี้อย่างไร จะเชื่อมโยงแต่ละหมวดได้อย่างไร

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ

ศิริราชเป็นครั้งแรกที่ระดับคณะได้ TQC ศิริราชส่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่ได้เพราะไม่มีเนื้อ แต่ส่งแล้วได้ทีหลังเพราะเห็นความสำคัญว่าต้องทำ

มจธ.ทำส่งแม้รู้ว่าไม่ได้ แต่ก็รู้ว่าต้องพัฒนาอะไร

ควรมีความกล้าในการเขียน มีคนประเมินให้เสริมทำอะไรดีขึ้น ผู้นำต้องเห็นประโยชน์ เขียนในสิ่งที่ทำแล้วทำให้ตอบโจทย์นั้น การเป็น Internal Assessor ทำให้ได้ประสบการณ์ ต้องเชื่อมโยงกับคนอื่นด้วย

ถาม

วิทยากรที่เข้ามาสอนเรื่องประกันคุณภาพไม่ได้สร้างทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพ บอกว่า ที่ทำใช้ไม่ได้ แต่ไม่บอกวิธีปรับปรุง แต่ SCG บอกพนักงานว่า การประกันคุณภาพช่วยอะไรบ้าง ทำให้พนักงานเห็นคุณค่าว่า มีประโยชน์ต่อคน ทำให้คนอยากมีส่วนร่วม จะมีวิธีปรับทัศนคติอย่างไร ภาคเอกชนสอนว่า ปัญหาคุณภาพเกิดที่ใด เร่องใดที่แก้ในระดับบุคคลได้ก่อน ปัญหาคือ ม.อ.มองข้างนอกก่อน แทนที่จะเริ่มที่ตน

อาจารย์นาตยา  อุ่ยวิรัช

ผู้นำต้องเห็นประโยชน์ก่อน

สมัยก่อน การประปาภูมิภาคไม่เข้าใจว่า ลูกค้าคือ ใคร

กฟผ.ย่อ SEPA ลงไปใช้ในระดับสายงาน มีคณะอนุกรรมการประเมินผลสายงานรองผู้ว่า มีรองผู้ว่าเกษียณไปแล้วมาเป็นคณะทำงาน

ถาม

เอกชนเวลานำประกันคุณภาพมาใช้ ไม่ได้นำเรื่องเอกสารมาเป็นเรื่องภาระ คนมุ่งเอกสารมากกว่า outcome  ทำอย่างไรให้ลดขั้นตอนพวกนี้ลงแล้วเกิดคุณภาพมากขึ้น

ศ.นพ.สงวนสิน  รัตนเลิศ

สัปดาห์ที่แล้วได้อีเมล checklist คนไข้เข้า ICU คนที่ checklist มักบ่นว่า เอกสารมาก เวลาทำเรื่อง EdPex ก็จะทำให้เกณฑ์ EdPex เป็นการบูรณาการ

ตอน HA มาตรวจโรงพยาบาล ก็มาขอ service profile จึงนำเสนอแบบฟอร์มที่ดี แล้วแสดงวัตถุประสงค์ที่เขาต้องการ ผู้บริหารต้องรู้จักเจรจา

ควรใช้ไอทีมาช่วย และใช้การบูรณาการ ควรทำงาน routine ให้ดี มองลูกค้าและแนวโน้มโลก ลดงานที่ไม่จำเป็น  ก่อนที่บอกคนอื่น ตนเองต้องทำก่อน ต้องมอง process และระบบ ทุกอย่างก็จะมีคำตอบ บางเรื่องแก้ไม่ได้

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ

สมัยก่อน ทำงานแล้วผิดพลาด จึงสอบสวนตัวบุคคล ทำให้เกิดอคติ ความขัดแย้ง ตอนนี้ไปดูกระบวนการทำงาน ไม่โจมตีตัวบุคคล ทำให้ความรู้สึกดีขึ้น ช่วยกันพัฒนากระบวนการให้ดีขึ้น

ปัญหาคือการ Implement ให้เกิดรายละเอียดมากเกินไปทำให้เกิดภาระมาก บางครั้งติดกับดัก KPIs ที่วางเอง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          วันนี้ได้มุมมองจากผู้ตรวจประเมินและผู้ทำงานเอง แล้วผู้นำในอนาคต คลื่นลูกใหม่ก็ได้เรียนรู้ไปด้วย ต้องใช้เวลาในการปรับตัว รุ่นนี้สามารถนำข้อมูลวันนี้ไปเผยแพร่เพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น


วิชาที่ 38

Learning Forum หัวข้อ การบริหารการเงินและงบประมาณเชิงกลยุทธ์ และการวัดผลตอบแทนการลงทุน

โดย     ดร.มงคล เหล่าวรพงศ์

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

ปัจจุบันนี้ กฎหมายระบุว่า คนจะติดคุกเมื่อทำสิ่งผิดกฎหมาย หรือไม่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น ถ้ากรรมการบริษัทลาป่วยในวันที่มีการอนุมัติงบบางอย่าง ก็ถือเป็นการทำไม่ถูกต้อง

ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 รัฐบาลมีการพิจารณางบประมาณเชิงกลยุทธ์ปี 2562 แล้ว

สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ชายแดน ในยุทธศาสตร์ได้มีการระบุถึงปี 2562 แล้ว

สภาพปัจจุบันของม.อ.ออกนอกระบบแล้ว ยังได้งบบางส่วนจากสำนักงบประมาณ และต้องหารายได้เพิ่ม

เมื่อพิจารณาแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2558-2561 มีวาระแห่งการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก้าวเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคม” มุ่งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ 1 ใน 5 ของอาเซียน

สำนักงบประมาณได้กล่าวถึง การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นนำไปใช้ประกอบ ในการพิจารณาจัดทำ งบประมาณ โดยทบทวนเป้าหมายแนวทางและตัวชี้วัดให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560 –2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 (2560 –2564) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (2558-2564) และนโยบายรัฐบาล และแผนแม่บทกระทรวง/หน่วยงานรวมถึงแผนแม่บทด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินงาน

1.พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขตภารกิจ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยงานเจ้าภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์

2.ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่มีการบูรณาการใน 3 มิติ ได้แก่ มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวง/ หน่วยงาน (Function) และมิติยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล(Agenda)

ตัวอย่างเช่น เป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ชายแดน

เป้าหมายที่ 1. ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวเพิ่มขึ้นและมีกระจายรายได้เหมาะสม มีตัวชี้วัดคือ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเพิ่มขึ้น และ สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้

ในการทำให้รายได้เพิ่มขึ้น จุดหนึ่งก็เน้นภาคเกษตร คนในพื้นที่มองเป็น 3 ส่วน (Area)

ส่วนแรกคือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่วนที่ 2 คือ สงขลา ยะลา

ส่วนที่ 3 คือ สงขลา และ เขตอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (สะเดา สงขลา และ นราธิวาส)

ในส่วน Agenda กล่าวถึง

1.สนับสนุนแผนบูรณาการภาคใต้

2.สนับสนุนแผนบูรณาการวิทยาศาสตร์

3.สนับสนุนแผนบูรณาการ อุตสาหกรรม

4.สนับสนุนแผนบูรณาการ เกษตร

5.สนับสนุนแผนบูรณาการ SMEs

Function คือกิจกรรมที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การพัฒนาโลจิสติกส์และการพัฒนาแรงงาน

แนวทางการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

1.กำหนดขอบเขต หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยงานดำเนินการ

กรณีศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการประชุมกันมีผลออกมาว่า ในอนาคต ทางคณะจะไม่มีการแบ่งการสอนเป็นสาขาวิชาเอกต่างๆ แล้ว แต่เป็นการเรียนการสอนเป็นแต่ละหลักสูตร อาจารย์ที่สอนได้จะต้องมีความสามารถสูงในระดับหนึ่ง

2.กำหนดโครงการ กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ให้ชัดเจนพร้อมรายละเอียดประกอบ

3.กำหนดแนวทางในการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนงานบูรณาการให้สามารถแสดงผลการบูรณาการภารกิจและงบประมาณได้อย่างครบถ้วน และนำไปสู่เป้าหมายของแผนงานบูรณาการได้อย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4.โครงการ -กิจกรรม ในแผนงานบูรณาการต้องเป็นไปตามภารกิจและหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน และสอดคล้องกับพันธกิจของรัฐวิสาหกิจ สะท้อนและส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนงานบูรณาการ เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และนโยบายสำคัญของรัฐบาล

แนวคิดการเชื่อมโยงและการประสานแผนงานในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์

1.การจัดการงบประมาณในเชิงบูรณาการนั้น เป็นการบูรณาการโดยใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยให้การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นไปอย่างสมดุล และมีการรวบรวมรายจ่ายในลักษณะองค์รวมก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงขึ้นกว่าการดำเนินภารกิจอย่างเป็นอิสระจากกัน

2.หลักการในการดำเนินการคือ หน่วยงานเจ้าภาพมีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ขอบเขตงาน ระยะเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณเชิงบูรณาการโดย เน้นการจัดทำเป็น Project Base มีความเป็นไปได้ คุ้มค่า และไม่ซ้ำซ้อน

ในกรณีที่คณะต่างๆ มีโครงการที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น วิชาบริหารธุรกิจของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการเงินก็เปิดหลักสูตรปริญญาโทการเงิน ภาคบัญชีก็เปิดหลักสูตรปริญญาโทบัญชี เป็นการแย่งลูกค้ากันเอง ต่อไป ทางคณะจึงยุบสาขาวิชารวมเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจแทน จึงต้องนำอาจารย์ที่เก่งทั้งจากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยมาสอน

ถ้ามีโครงการวิจัยโครงการหนึ่งที่ต้องการนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์เข้ามาด้วย ก็ดีกว่า แต่ละคณะทำงานแยกกัน

แนวคิดการกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จ

1.สามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรม มีความชัดเจน โดยมีการระบุเป็นค่าของตัวเลขที่ชัดเจน

2.เป็นที่เข้าใจตรงกันและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

3.ความครอบคลุมภารกิจตามแผนงานบูรณาการอย่างครบถ้วน

ควรดูว่า ม.อ.เกี่ยวข้องส่วนใดกับแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประจำปี 2561 เช่น การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลแล้วปรับตัว

          เวลาทำงบประมาณ ควรมีรายละเอียด คำบรรยาย มองเรื่อง Area, Agenda และ Function

เวลากำหนดแนวทาง ควรดูในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ชายแดน โดยดูตามจังหวัดที่ตนอยู่แล้วกำหนดแนวทาง

การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

1.สอดคล้องกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560 –2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 (2560 –2564) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (2558-2564) และนโยบายรัฐบาล และแผนแม่บทกระทรวง/หน่วยงานรวมถึงแผนแม่บทด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.เป็นแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว

3.การบูรณาการโดยใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยให้การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นไปอย่างสมดุล และมีการรวบรวมรายจ่ายในลักษณะองค์รวมก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงขึ้นกว่าการดำเนินภารกิจอย่างเป็นอิสระจากกัน

4.หลักการในการดำเนินการคือ หน่วยงานเจ้าภาพมีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ขอบเขตงาน ระยะเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณเชิงบูรณาการโดย เน้นการจัดทำเป็น Project Base มีความเป็นไปได้ คุ้มค่า และไม่ซ้ำซ้อน

5.กิจกรรมที่มีการบูรณาการใน 3 มิติ ได้แก่ มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area )มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวง/ หน่วยงาน (Function)และมิติยุทธศาสตร์สาคัญของรัฐบาล(Agenda)

6.กำกับดูแลติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการรวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ (3 มิติ ได้แก่ มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวง/หน่วยงาน (Function) และมิติยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล (Agenda))

เป้าหมายของแผนงาน + ตัวชี้วัด

แนวทางการดาเนินงาน + ตัวชี้วัด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และโครงการที่เกี่ยวข้อง (เช่น การวิจัยอาจมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมากกว่า 1 หน่วยงาน)

งบประมาณและรายละเอียดประกอบ

การกำหนดตัวชี้วัด สามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรม มีความชัดเจน โดยมีการระบุเป็นค่าของตัวเลขที่ชัดเจน

การกำหนดตัวชี้วัด เป็นที่เข้าใจตรงกันและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

การกำหนดตัวชี้วัด ความครอบคลุมภารกิจตามแผนงานบูรณาการอย่างครบถ้วน

คำถาม

สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำงบประมาณ

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

อาจารย์พลชาติ

นี่เป็นงบพัฒนาภาค ถ้าเขียนเป็นวิจัย จังหวัดจะไม่ให้งบ

บางครั้งที่ติดต่อกองแผนงาน มีเวลาให้ทำเอกสาร 3 วันเป็นอย่างมาก

ต้องมีการหารือความต้องการของจังหวัด

ต้องดูสภาพัฒน์ของจังหวัดชี้ช่องอะไรไว้บ้าง

สงขลาต้องเขียนเพิ่มในด้าน Value Chain ใครจะได้อะไร

ต้องเขียนแนวคิดโครงการให้ดี มีผลต่อการอนุมัติโครงการ

โครงการมีการดึงหลายหน่วยงานมาร่วมทำ

งบนี้ยังใหม่ มหาวิทยาลัยไม่ได้เตรียมความพร้อมให้ก่อน ปีนี้เตรียมตัวแล้ว มีการหารือว่า ภาคต้องการอะไร

อาจารย์จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดว่า ไม่ใช่วิจัย เพราะผู้ว่ามองไม่เห็นผลในทันที

ตอนนี้มีศูนย์บริการวิชาการ

คำถาม

มีวิธีการกระจายข้อมูลแบบนี้ให้ทุกคณะอย่างไร

คำตอบจากผู้เข้าร่วม

อาจารย์พลชาติ

ถ้ารัฐบาลนี้อยู่ต่อ ก็จะให้เป็นงบบูรณาการ จะเป็นเงินก้อนใหญ่กว่า

งบนี้เป็นงบพัฒนาภาค ทำเป็นงานบริการวิชาการได้ แต่ไม่ใช่วิจัย

คนที่ 2

บางคณะเข้าไปทำไม่ได้ เพราะแต่ละจังหวัดต้องการไม่เหมือนกัน

จังหวัดมองว่าตนต้องการอะไร แล้วม.อ.ตอบสนองอะไรได้บ้าง

คนที่ 3

ที่ปัตตานี รองอธิการบดีเรียกประชุมหารือ

ตอนนี้มีแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนม.อ. 20 ปี มีแผนวิทยาเขต มีจุดเน้นแต่ละวิทยาเขต

ส่วนใหญ่ม.อ.มีแผนอยู่แล้ว ก็ดูว่า งานใดไปตรงความต้องการของจังหวัด ก็เสนอเข้าไป บางงานก็มีวิจัยไปสังเคราะห์ด้วย ซึ่งม.อ.ก็มีงานวิจัยนั้นแล้วก็สามารถเสนอไปได้

ม.อ.จะดูความเชี่ยวชาญแล้วไปเปรียบเทียบกับยุทธศาสตร์ก็จะทำให้ได้งบง่ายขึ้น

ถ้าเสนอเป็นกลุ่มคณะหรือสถาบันก็จะได้งบมากขึ้น

 

เนื้อหา (ต่อ)

ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ SEPA (จาก website ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สคร.) เกณฑ์หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

 

ม.อ.แต่ละคณะมีลูกค้าเป็นของตนเอง เช่น นักศึกษา ลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาล

ควรถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของม.อ.ให้คนในม.อ.ทราบ

ควรมีการหารือว่า ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ก่อนวางแผนต้องรู้ตัวเอง โดย นำจุดแข็งและจุดอ่อนองค์กร แล้วศึกษาลูกค้า ประเมินความเสี่ยง

มหาวิทยาลัยอาจใช้โคโซ COSO

กระบวนการวางแผนทางยุทธศาสตร์ ต้องมีการกำหนด Core Competencies, SWOT

เมื่อวางแผนแล้ว พิจารณาว่าตอบสนองลูกค้าได้มากเพียงใด

การวัดผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ –Financial

ตัวชี้วัดทางการเงิน

หมายเหตุ

1. EVA

1. วัดความสามารถในการทำกำไร และ/หรือ การบริหารสินทรัพย์

2. ROA

2. วัดการบริหารสินทรัพย์

3. Profitability: EBITDA, Profit margin, etc.

3. วัดความสามารถในการทำกำไร

4. Human Productivity: Net Profit/ personnel

4. วัดความสามารถในการทำกำไร

5. Cost: Cost/personnel, Cost/unit

Product or service etc.

5. วัดความสามารถในการทำกำไร (โดยการควบคุมต้นทุน)

6. Debt Service Coverage Ratio (DSCR)

6. วัดความสามารถในการชำระหนี้คืน

 

การวัดผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ –Non-financial

ประเภทตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ทางการเงิน

  • Human Productivity/Productivity
  • Utilization
  • Loss/Defect
  • Quality of product/service
  • Etc.

การวัดผลการดำเนินงาน

ต้องเป็นองค์กรที่เป็น Decentralization เพราะระดับล่างอยู่ในจุดที่ปฏิบัติงานจึงมีข้อมูลที่ดีกว่าในการตัดสินใจ การมอบอำนาจทำให้ตอบสนองลูกค้าได้เร็วขึ้น ถ้าให้แต่ละหน่วยเป็น Decentralization จะขาดการทำงานเป็นภาพรวม บางครั้งความคิดด้านนวัตกรรม ถ้าปล่อยให้ทำกันเอง ก็จะพัฒนาได้ยาก

องค์กรที่เป็นอิสระ จะระบุได้ชัดเจนว่า จุดใดเป็น Cost Center, Profit Center หรือ Investment Center

1. Cost Center ผู้ที่สามารถควบคุมต้นทุนได้เท่านั้น แต่ควบคุมส่วนอื่นไม่ได้ เช่น ฝ่ายการเงิน บุคคล

2. Profit Center สามารถรับผิดชอบรายได้และต้นทุน เช่น ฝ่ายขาย ต้องขายแล้วไม่ขาดทุน อาจจะทำแล้วมีกำไรก็ได้ ต้นทุนคือส่วนที่ใช้หมดไป งบลงทุนคือลงแล้วมีผลตอบแทนมา

3. Investment Center รับผิดชอบต้นทุน รายได้และผลตอบแทนจากการลงทุน เช่น ฝ่ายบริหาร เป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

Return on Investment (ROI) ผลตอบแทนจากการลงทุน

คิดจาก กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้นิติบุคคล (Net Operating income) หารด้วย ค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ที่ใช้ประกอบการ (Average Operating Income)

Margin

คือ อัตรากำลังสุทธิ มีหน่วยเป็น ###/span#< คิดจาก กำไรสุทธิ (หน่วยเป็นบาท) หารด้วย ยอดขาย (หน่วยเป็นบาท) ใช้คำนวณว่า สินค้าที่ขายได้กำไรมากเท่าใด ยิ่งมากยิ่งดี

Turnover

มีหน่วยเป็น ###/span#< คิดจาก ยอดขาย (หน่วยเป็นบาท) หารด้วย สินทรัพย์ดำเนินงาน (หน่วยเป็นบาท) มีสินทรัพย์น้อย แต่ขายได้มาก จึงจะดี

ROI = Margin x Turnover ผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมาก ยิ่งดี มีหน่วยเป็น ###/span#<

วิธีการเพิ่ม Ratio ทำได้โดยขายสินทรัพย์ทิ้งแล้วเช่ากลับมา

 

กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต มีศูนย์ประชุมที่สร้างรายได้ดีมาก มีการจัดเป็นศูนย์สอบและศูนย์ event มีการพัฒนา TU-Get และ SMART ให้เป็นแบบทดสอบพนักงานหน่วยงานทั่วไปนอกจากนักศึกษา

การบริหารการเงินและงบประมาณเชิงกลยุทธ์ให้มีประสิทธิผล         

1.งบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ เป้าหมายแนวทางและตัวชี้วัด

2.จัดทำแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การดำเนินงานโครงการ

3.กำหนดขั้นตอนการกากับดูแลติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

การบูรณาการโดยใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยให้การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นไปอย่างสมดุล

4.หน่วยงานเจ้าภาพมีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ขอบเขตงาน ระยะเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณเชิงบูรณาการโดย เน้นการจัดทำเป็น Project Base

ช่วงคำถาม

ถาม

ทำไม KPIs ต้องใช้กับ Balance Scorecard

ตอบ

KPIs กับ Balance Scorecard มาคู่กัน

KPIs เป็นตัวชี้วัด KPIs แต่ละฝ่ายไม่เหมือนกัน เช่น ฝ่ายขายต้องขายได้อย่างน้อย 90###/span#< ของแผนที่เสนอ คือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่ถ้าฝ่ายบัญชีมี KPIs ว่า ต้องปิดงบให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย 90###/span#< ไม่สามารถยอมรับได้

KPIs กับ Balance Scorecard มาคู่กัน ต้องมีเป้าหมายของฝึกอบรมของพนักงาน

Balance Scorecard ช่วยประเมินให้เหมาะสมได้

บริษัทเอกชนจ้างคนให้ทำงานตามมอบหมาย พนักงานต้องทำตามระเบียบบริษัท ถ้าพนักงานทำได้แบบนี้ ก็ได้ผลการประเมินเป็น C

ถาม

งบคณะเทคนิคการแพทย์มีงบจากรายได้และงบจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นมา และให้คณะทำแบบเร่งด่วน ตอนนี้ไปถึงไหน

ตอบ

หน่วยงานในกำกับของรัฐต้องเริ่มจัดทำงบประมาณด้วยการทำคำของบประมาณรายจ่ายก่อน แล้วพิจารณาว่ารัฐให้เท่าไร ทางหน่วยงานเลี้ยงตัวเองอีกเท่าไร

ควรแยกงบกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา เพื่อไม่ให้รวมกับงบประมาณรายจ่ายก่อน

วิชาที่ 39

หัวข้อ   เส้นทางสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจของจีนและบทเรียนสำหรับประเทศไทย

โดย     ศ.(พิเศษ)เจริญ วรรธนะสิน

          คนจีนมีความทระนง จงกั๋ว แปลว่า ศูนย์กลางของโลก คนจีนถือว่า จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นจุดศูนย์กลางของโลก ความหยิ่งผยองแบบนี้ทำให้เกิดความเสียหายเพราะคิดว่าไม่มีใครสามารถชนะจีนได้

          ตั้งแต่ยุคจักรวรรดินิยมจนถึงปัจจุบัน คนไทยเก่งเรื่อง Balancing of Power ล่าสุด โอบามาตั้ง TPP ไทยไม่เข้าร่วม แต่ประเทศอื่นเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์เข้าร่วม สหรัฐอเมริกาถือว่า ไทยเป็น Regime เผด็จการ เมื่อมีประชามติ สหรัฐอเมริกาเปลี่ยน จึงรู้วิธีหยุดประเทศจีน

          จีนมีหลายอย่างคล้ายไทย แต่ไทย react แตกต่างไปจากจีน

          ความเชื่อมั่นในตัวเองของจีนนำไปสู่ความอ่อนแอตกต่ำของประเทศจีน เช่น การเสียมาเก๊า ฮ่องกง เป็นเพราะขาดความรู้เท่าทันชาติมหาอำนาจ แล้วญี่ปุ่นซึ่งไปรบชนะรัสเซียก็มาบุกจีนทางด้านแมนจูเรียตั้งเป็นประเทศแมนจูเรีย นำคนจีนมาทำงานกับญี่ปุ่น ซึ่งคนจีนเหล่านี้เรียกว่า ฮั่นเจียง หมายถึง คนทรยศต่อชาติ

ญี่ปุ่นยึดจีนและรุกรานประเทศอื่นภายใต้โครงการร่วมวงเอเชียไพบูลย์โดยประกาศว่า ญี่ปุ่นมาช่วยคนจีนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี นำประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมวงไพบูลย์ ตั้งประเทศแมนจูเรียขึ้น ตั้งปูยีเป็นกษัตริย์ที่แมนจูเรียเพื่อกลืนชาติจีน จีนก็ยังเข้าใจว่าญี่ปุ่นเป็นงูดินไม่มีทางที่จะมากลืนพญามังกรอย่างจีนได้ ทั้งๆที่เสียเอกราชไปมากมาย สิ่งที่แย่ที่สุดคือ ภายใน 2 สัปดาห์มีการฆ่าคน 350,000 กว่าคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ญี่ปุ่นพยายามจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ คนจีนต่อต้านทั้งประเทศ สิ่งที่น่าศึกษามากที่สุดคือ จีนพัฒนาตัวเองจากประเทศที่อ่อนแอที่สุดขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจภายในระยะเวลา 10-20 ปี

          คนที่อาจารย์เจริญนับถือ คือ ดร.ซุนยัดเซ็นซึ่งเป็นคนที่มี Practicality ไม่มากเท่าเติ้งเสี่ยวผิง เติ้งเสี่ยวผิงเป็นคนที่พลิกประเทศจีนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เป็นมหาอำนาจ

ในศตวรรษที่ 21 ประเทศจีนจะไม่ยอมกลับไปสู่สภาวะที่ถูกประเทศอื่นไล่ต้อนอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยสามารถเรียนรู้การสร้างชาติจากประเทศจีนได้

          ผู้นำจีนรุ่น 3 และรุ่น 4 มีปรัชญาการบริหารที่น่าสนใจ

          เรื่องช่องว่างชนบทกับเมืองเป็นปัญหา ผู้นำรุ่นใหม่จะทำอย่างไร

          เมื่อย้อนไปในประวัติศาสตร์ ในปีค.ศ. 1830 เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม เจมส์ วัตต์คิดเรื่องรถจักรไอน้ำ สร้างรถไฟแมนเชสเตอร์ ลิเวอร์พูล มีการใช้เครื่องจักรผลิตสินค้า ทุกประเทศที่เป็นมหาอำนาจเริ่มขาดแคลนวัตถุดิบ เกิดการล่าอาณานิคม ขยายมาทางเอเชียเพื่อนำวัตถุดิบไปใช้

ในปีค.ศ. 1840 อังกฤษนำเข้าชาไปให้จีน Trade Balance ของจีนมีสูงกว่าอังกฤษมาก อังกฤษนำฝิ่นไปให้คนจีนสูบ อังกฤษส่งเรือรบเข้าไปที่จีน จีนแพ้สงครามฝิ่น ต้องยกฮ่องกงให้ เสียค่าปฏิกรรมสงครามมากถึง 2 ล้านหยวน

สิ่งที่น่าอดสูคือ ซูสีไทเฮาไม่คิดถึงภัยจากต่างชาติ ปิดเรื่องนี้ไม่ให้ประชาชนรู้เพราะเป็นความอัปยศ ข้าราชการยังเห็นแก่ตัว แย่งชิงอำนาจกัน เหมือนคำกล่าวของคนจีนว่า “ฟ้าหลังพายุ ก็ลืมฟ้าร้อง” หมายถึงเหตุการณ์ที่ร้ายแรงไม่สามารถปลูกจิตสำนึกได้ คนจีนก็ไปเปิดโรงฝิ่นกับต่างชาติ ทางการก็ปิดข่าว ห้ามการวิจารณ์การเมือง คนต่อต้านอังกฤษถูกให้ออกจากราชการ คนจีนจึงไม่พอใจ

ปีค.ศ. 1851 เกิดกบฏไถ้หลิง อุดมการณ์ต่อต้านรัฐบาลต้าชิง ที่ไม่สามารถหยุดการรุกรานของชาติตะวันตก มี 8 ชาติยุโรปรุกล้ำอธิปไตยทำให้จีนเป็นเมืองขึ้น อังกฤษและฝรั่งเศสบุกไปเผาพระราชวังหยวนหมิงหยวน กลางกรุงปักกิ่ง

ค.ศ. 1894 ญี่ปุ่นสร้างกำลังทหารขึ้นป้องกันตนเอง รบชนะรัสเซีย เมื่อเยอรมนีบุกยุโรป  ญี่ปุ่นบุกและชนะสงครามกับจีน แล้วจีนต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม 2.3 ล้านหยวน เท่ากับรายได้เก็บภาษีของจีน 3 ปี และเป็นรายได้ 4 ปีของรัฐบาลเมจิ

หลู่ซิ่น กล่าวว่า ความพินาศแล้วยิ่งโง่  ยิ่งโง่ก็ยิ่งพินาศ หมายความว่า ควรนำเหตุการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต

ดร.ซุนยัดเซนสามารถล้มราชวงศ์ชิงได้ โดยกล่าวกับนายทหารว่า “พวกท่านคิดหรือไม่ว่า สิ่งที่ทุกคนได้รับผลประโยชน์ขณะนี้ กำลังทำลายอนาคตของลูกหลานของท่านเอง....” เรื่องนี้ต้องกระตุ้นให้คนไทยทราบ คนไทยยอมรับรัฐบาลโกงได้ แต่ตนขอมีส่วนแบ่งบ้าง แต่ดร.ซุนยัดเซนคิดทำงานชาติเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง

แม้จะล้มราชวงศ์ชิง แต่เขาไม่เป็นประธานาธิบดี นายพลหยวนซื่อไข่อยากเป็นประธานาธิบดี นายพลคนนี้รับเงินจากทุนนิยมสามานย์  ดร.ซุนยัดเซนตายในปีค.ศ. 1925  ก่อนตายบอกว่า การปฏิวัติยังไม่สำเร็จ ต้องสู้ต่อไป แต่เสนอให้ประเทศเล็กรวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับประเทศใหญ่ ส่วนนายพลหยวนซื่อไข่พยายามเปลี่ยนตนเองเป็นฮ่องเต้แล้วนำระบบราชวงศ์กลับมาแต่ทำไม่สำเร็จ

ปีค.ศ. 1917 มีปฏิวัติโบเชวิคในรัสเซีย จีนเริ่มสนใจลัทธิสังคมนิยมเพราะคิดว่า คอมมิวนิสต์จะช่วยแก้ปัญหาการเมืองจีนได้ มีสงครามกลางเมืองระหว่างเจียงไคเช็คกับเหมาเจ๋อตุง ต่อมามีสงครามกับญี่ปุ่น แล้วมีการทำสัญญาสงบศึก

ปีค.ศ. 1929 สภาวะเศรษฐกิจโลกทรุดหนัก ประชาชนในสหรัฐและยุโรปว่างงาน คนจีนในประเทศต่างๆ ที่ส่งเงินกลับประเทศก็อดตายกันหมด

พรรคก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์จีนพักรบเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่หนานจิง ถือเป็นความเจ็บปวดของจีน

ชาวจีนเริ่มตื่นจากความเฉยเมย ตื่นจากความอึมครึมของความคิด

ประชาชนเริ่มรู้ทันนักการเมืองที่แฝงมาในหลายรูปแบบของคำว่ารักชาติ รักประชาชนแต่ทุจริตคอร์รัปชั่น ขายชาติ ขายแผ่นดิน ขายผลประโยชน์

โฉมหน้าข้าราชการส่วนใหญ่ยุคนั้นคือนายทุน หรือลูกมือนักธุรกิจทุนสามานย์ ในขณะที่ประชากรมากถึง 85>#span### เป็นชาวนา/กรรมการผู้ยากไร้

ปี ค.ศ. 1935 เมื่อคนชั้นกลางเห็นความเหลวแหลกของสังคมชั้นผู้นำ เบื่อหน่ายที่ถูกต่างชาติดูถูกข่มหงรังแกชาติจีน จึงเอนเอียงมาสนับสนุนชนชั้นกรรมาชีพ พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ปรมาณู 2 ลูกทำให้ญี่ปุ่นยอมจำนน การต่อสู้ของจีนที่มีต่อญี่ปุ่นอย่างทรหดเสียชีวิตชาวจีนมากถึง 35 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกับนานาชาติเห็นใจและนับถือชนชาติจีน สงครามโลก 2 จึงมีส่วนช่วยกู้ศักดิ์ศรีจีนในสายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก และยึดเกาะไต้หวันคืนจากญี่ปุ่น

ตุลาคม 1945 พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนลงนามในข้อตกลงสงบศึกเพื่อสร้างชาติ แต่ไม่ถึงปี ก๊กมินตั๋งได้รับการสนับสนุนจากพี่เบิ้มสหรัฐอเมริกาทางการเงิน-อาวุธ เปิดฉากการรบเพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ หักหลังผิดสัญญาข้อตกลงอย่างหน้าตาเฉย

รัฐบาลก๊กมินตั๋งปราบปรามคนกลุ่มใหญ่รุนแรงมากเท่าใด ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยิ่งโน้มเอียงไปทางพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้น ชาวจีนไม่พอใจงานเขียนของเจียงไคเช็ค “ชะตากรรมของประเทศจีน” ที่เขียนล่วงหน้าก่อนลงนามสงบศึก 2 ปี

สงครามกลางเมืองของจีนแตกหักขั้นสุดท้ายที่เมืองเหลียนเสิ่น ผิงจิน กวั๊วไห่ กำลังพลก๊กมินตั๋งที่มีมากถึง 1.54 ล้านคน รบกันนาน 19 วัน ก็พบกับความพ่ายแพ้เมื่อกองทัพประชาชนยึดที่ตั้งรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานจิงได้ ยุติการบริหารประเทศ 22 ปีของพรรคก๊กมินตั๋ง นายพลเจียงไคเช็คยกสมบัติและพาพลพรรคหนีไปปักหลักบนเกาะไต้หวัน

ปีค.ศ. 1949 เหมาเจ๋อตุงตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปีค.ศ. 1958 เหมาเจ๋อตุงไปยุโรป คิดว่า ประเทศที่เจริญเป็นเพราะอุตสาหกรรม จึงให้คนจีนเลิกทำนาแล้วมาทำอุตสาหกรรม ในปีค.ศ. 1959 คนจีนอดตาย 39 ล้านคน ความนิยมในตัวเหมาเจ๋อเริ่มเสื่อม

มีแก๊ง 4 คนประกอบด้วย นางเจียงชิง จางชุนเฉียว เหย้าเหวินหยวน หวางหงเหวิน เริ่มปฏิวัติวัฒนธรรม มีการทำลายหนังสือขงจื๊อและทำลายฝ่ายตรงข้าม

หนังสือที่เขียนโดยลูกสาวเติ้งเสี่ยวผิงบรรยายการกระทำของแก๊ง 4 คนทำให้เกิดการปฏิวัติจับแก๊ง 4 คน แล้วนำเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งพยายามนำจีนกลับไปสู่ระบบนายทุน เติ้งเสี่ยวผิงเริ่มเข้ามามีบทบาท แต่ถูกโค่นล้ม 3 ครั้ง โดยถูกข้อหาพยายามรื้อฟื้นปลุกระบบนายทุน Revisionist นอกจากนี้ สื่อตะวันตกระบุว่า เติ้งเสี่ยวผิงถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

ปีค.ศ. 1978 เติ้งเสี่ยวผิงกลับมามีอำนาจบริหารประเทศ ได้เขียนบทความว่า เหมาเจ๋อตุงเป็นคน ไม่ใช่เป็นเทวดา

ต่อมาสังคมนิยมในประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรปและเอเชียเริ่มล่มสลาย

ปีค.ศ. 1989 โปแลนด์เปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับระบบสังคมนิยม

ปีค.ศ. 1990 เยอรมนีรวมชาติเป็นหนึ่งเดียว

ปีค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียดล่มสลาย แตกแยกออกไปเป็นอิสระหลายประเทศ

ปีค.ศ. 1989 มีนักศึกษาประท้วงเทียนอันเหมิน เป็นทดสอบสังคมนิยมที่สำคัญของจีน

เติ้งเสี่ยวผิงพิจารณาว่า “ทุนนิยมพัฒนามาหลายร้อยปีแล้ว เราเพิ่งใช้สังคมนิยมมาเพียงไม่กี่ปี ถูกแทรกแซงมาโดยตลอด ไม่มีสังคมนิยม เราก็ไม่มีการปฏิวัติ ไม่มีโอกาสขยายเศรษฐกิจ ไม่มีการยกระดับชีวิตประชาชน เรามีแต่ตายกับตายลูกเดียว” และเล็งเห็นว่า “แผนนโยบายกับการตลาดหาใช่ความแตกต่างของสังคมทุนนิยมกับสังคมนิยมไม่ ทุกอย่างนำมาใช้กับระบบสังคมนิยมได้ดีเท่ากับที่ใช้กับสังคมทุนนิยม” จึงเกิด 1 ประเทศ 2 ระบบ

ปีค.ศ. 1978 จีนเป็นประเทศส่งออกอันดับ 33 ของโลก มีเงินคงคลัง 3 แสนหยวน

ปีค.ศ. 1997 จีนเป็นประเทศส่งออกอันดับ 10 ของโลก มีเงินคงคลัง 7 ล้านล้านหยวน

ปีค.ศ. 1998  จีนเป็นประเทศนำเข้าอันดับ 12 ของโลก เป็นตลาดใหญ่ที่มีพลเมือง 1.3 พันล้านคน พร้อมกำลังซื้อที่ทั่วโลกพิศมัยอยากจะเข้ามาค้าขายด้วย ทำให้จีนไม่เดือดร้อนถ้าถูกคว่ำบาตร

จาก ปีค.ศ. 1980 – 1990 GDP per Capita ของจีนเพิ่ม 10>#span### ติดต่อกัน – ทำให้จีนกลายเป็นประ เทศมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก

ปีค.ศ. 1978 คนจีนทำงานให้ตัวเอง 1.5 แสนคน  ปี ค.ศ. 2007 มีกิจการของตัวเอง 127.5 ล้านคน

ปีค.ศ. 1997 อังกฤษคืนเกาะฮ่องกง   -  ค.ศ.1999 โปรตุเกสคืนเกาะมาเก๊าให้แก่จีน

แนวคิดเติ้งเสี่ยวผิง

ประเทศจีนขณะนี้ พรรค ประเทศ กับประชาชน ต่างเดินไปคนละทิศคนละทาง ต่างคนต่างความ คิด ต่างความเห็น ต่างความเชื่อ ทำให้ประเทศสะดุดขาตนเอง ไม่อาจเดินไปข้างหน้าได้ โอกาสก็จะหมดไป พรรคก็จบ ชาติก็จบ ประชาชนก็จบ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนภารกิจและปรับรูปแบบของสังคมนิยม ชาติย่อมมีอันต้องล่มสลาย

เราต้องสร้าง สังคมนิยมที่โดดเด่น เราจะสร้างมันด้วยประสบการณ์อันยาวนานของพวกเรา ต้องเน้นให้เห็นความสำคัญต่อวิทยาการสมัยใหม่ สร้างศักยภาพให้แก่ประเทศเพื่อเดินหน้าต่อไป

สิ่งที่เราพูดในวันนี้ บรรพบุรุษของเราไม่เคยพูด เป็นของใหม่ ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี ไม่เคยมีการเขียนเอกสารแบบนี้ เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียน เขียนแล้วไม่ผ่าน แถมยังถูกตั้งข้อหาว่าแหกคอกอีกด้วย

ถ้าจะจับหนู ไม่สำคัญว่าจะใช้แมวขาวหรือแมวดำ ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน..

มีการแก้กฎหมายสำคัญสวนทางสังคมนิยม

1 ประเทศ 2 ระบบ

          - เสิ่นเจิ้น จูไห่ ซานโถว และเซียเหมิน 4 เมืองชนบทกลุ่มแรกที่ใช้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจีน

          - ใช้กลไกการตลาดยุคใหม่ 

          - เปิดตลาดให้เงินทุนต่างประเทศเข้ามาสู่ระบบ

          - อุนเจียงในเจ๋อเจียง เมืองเดียว มีบริษัทผลิตเครื่องไฟฟ้า 1000 แห่ง มูลค่าผลิต 100 ล้านหยวน

          - ค.ศ. 1982 เติ้งเสี่ยวผิงกุมอำนาจได้มั่นคงยิ่งขึ้น  ในการประชุมใหญ่ของผู้แทนทั้งประเทศ  เขากล้าวิจารณ์ว่า “การปฏิวัติทางวัฒนธรรมทำให้เศรษฐกิจกับกฎหมายของประเทศเสียหายยับเยิน  หลายอย่างของสังคมต้องเริ่มต้นกันใหม่หมด  จากประสบการณ์ที่ผ่านมา  ถือว่าเป็นบทเรียนที่ต้องปรับแก้กฎหมายไปตามสภาพการพัฒนาที่เป็นจริงของสังคม...”

          - ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ เริ่มเปิดตลาด 19 ธันวาคม ค.ศ. 1990

แก้กฎหมาย อนุญาตให้ ปัจเจกบุคคลสามารถครอบครองทรัพย์สินได้

 

ช่วงถาม-ตอบ ช่วงที่ 1

1. ขอให้วิเคราะห์ One Belt One Road

 

2.ประวัติศาสตร์ช่วงใดที่ทำให้จีนกับไต้หวันเริ่มบาดหมางกัน

ตอบ

มันกลายเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ญี่ปุ่นเข้ามารบ ทั้งก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์ก็ร่วมมือกันรบและต่อต้านญี่ปุ่น เจียงไคเช็คฉีกสัญญาตั้งแต่รบชนะญี่ปุ่นเพราะได้รับการสนับสนุนงบและอาวุธจากสหรัฐอเมริกา

 

3.เห็นความหวังในประเทศไทยหรือไม่ เพราะไทยมีครบเหมือนจีนโดน ทั้งการปฏิวัติ และการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เช่น การสูญเสียในหลวงรัชกาลที่ 9

ตอบ

นักบริหารไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีความหวัง ผู้นำแต่ละประเทศต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองและความหวัง ต้องมีความหวัง แต่ไม่มั่นใจว่าปฏิรูปประเทศไทยไปได้มากแค่ไหน กฎหมายไทยมี Law Enforcement ไม่เหมือนเกาหลีใต้ ถ้าจะทำให้ประเทศเจริญ ต้องทำให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์

รัชกาลที่ 10 ทรงมีความเด็ดขาด พระราชทานคำแนะนำ 9 ข้อ หนึ่งในนั้นคือ เรื่องการศึกษา การศึกษาของต่างประเทศสอนให้เด็กกล้าคิด คิดเป็น คิดถูก มีวุฒิภาวะมากขึ้น ครอบครัวก็มีความสำคัญต่อเด็ก คนจีนบอกว่า เด็กไม่ดีเพราะไม่ได้รับการอบรมจากบ้าน สิ่งที่ควรสอนคือความพอเพียง ไม่ซื้อของจนเกิดปัญหาหนี้สิน ต้องมีภูมิคุ้มกัน ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บอกว่า ซื้อรถกระบะดีกว่ารถเก๋งเพราะบรรทุกของไปขายได้

มีคนบอกว่า ธนาคารเป็นเพื่อนที่เลวที่สุด เวลาที่มีกำไรธนาคารก็แบ่ง แต่เวลาที่ขาดทุนก็มายึดเรา

 

เนื้อหา (ต่อ)

สรุปความคิดของนักวิจารณ์จีนเกี่ยวกับผลของ 3 ผู้แทนทางการเมือง

1. สังคมนิยมของมาร์กซีส-เลนิน

2. ความคิดของประธานเหมาเจ๋อตง

3. ทฤษฎีของเติ้งเสี่ยวผิง

ทฤษฎี 3 เรื่องของเติ้งเสี่ยวผิงเป็นจุดสำคัญที่แปรเปลี่ยนให้ประเทศจีนเป็นประเทศมหาอำนาจ

ดร.ซุนยัดเซน โค่นแมนจู เปิดความคิดประชาชนให้รู้จักโลกใหม่และชีวิตใหม่

ประธานเหมาเจ๋อตงปลุกสร้างจีนใหม่ให้ประชาชนยืนหยัดโงหัวลุกขึ้นได้

เติ้งเสี่ยวผิง กอบกู้ระบบสังคมนิยม ค้นพบเส้นทางนำพาชาติกับประชาชนสู่ความเจริญรุ่งเรือง

จีนพัฒนาบนเส้นทาง สังคมนิยมโดดเด่น พัฒนาดีกว่าสังคมนิยมแบบเดิมมาร์คกับเลนิน

สิ่งสำคัญที่ทำให้จีนพลิกได้คือสังคมนิยมสีสันพิเศษ จีนใช้สังคมนิยมและระบบทุนนิยม เติ้งเสี่ยวผิงจะเน้นเดินไปข้างหน้า ไม่กลับไปทางเดิม นโยบายเขาถูกต้องและนำไปสู่ความเจริญ แสดงให้เห็นว่า แนวนโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบเป็นนโยบายที่ถูกต้อง

เติ้งเสี่ยวผิงกล่าวว่า “บุญคุณของท่านที่เคยช่วยข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าไม่ลืม  หากท่านต้องการอะไรจากข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว  ข้าพเจ้าก็ยินดีตอบสนองคุณท่านมิได้ลืม แต่ประเทศชาติหาได้เป็นหนี้บุญคุณต่อท่านไม่ ข้าพเจ้าไม่อาจตอบแทนบุญคุณส่วนตัวแก่ท่านด้วยผลประโยชน์ของชาติได้”

          ตอนที่เติ้งเสี่ยวผิงตาย ประชาชนมาไว้อาลัยจำนวนมาก และยกย่องเติ้งเสี่ยวผิงเป็นนักการเมืองที่ดี

แต่คนไทยไม่ค่อยคิดถึงคนทำความดี นอกจากจะมีคนมาคอยเตือน

ยุคเจียงเจ๋อหมิน จีนเป็นมหาอำนาจ คู่กับประเทศต่างๆ ไปยืนข้าง Clinton กับ George W. Bush จับมือกับ Putin

มิติใหม่ของการแข่งขัน

สมัย Clinton เน้น One World One Market และ สมัย George W. Bush เน้น New World Order เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของตัวเอง ต่อมา มี World Trade Organization. International Monetary Fund. EBU. etc.

          - ปี ค.ศ. 2001 สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นสมาชิก WTO หลังถูกแช่แข็ง 15 ปี

          - โลกอยู่ในสภาพ “สองมาตรฐาน” มาโดยตลอด (นิวเคลียร์ – จีน อินเดีย-ปากีสถาน-(อิสราเอลมี นานแล้ว) vs. เกาหลีเหนือ-อิหร่าน)

จากบทเรียนอันเจ็บปวดของเติ้งเสี่ยวผิง ทำให้ผู้นำจีนเห็นความสำคัญของ Successors ทางการเมือง

Hierarchy ทางการเมือง – ผู้ว่าการเซี่ยงไฮ้ ผู้ว่าการกรุงปักกิ่ง หรือหัวเมืองใหญ่อื่น ๆ

นายหลี่เผิงขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่ 4 ระหว่างปี ค.ศ. 1987-1998

นายจูหรงจีปราบคอรัปชั่นอย่างเฉียบขาด เขาเป็นคนรอบรู้ สุขุม เฉียบขาด มือสะอาด ยุติธรรม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในนักการเมือง

“การปฏิรูปมักต้องขัดผลประโยชน์ของใครบางคนเสมอ”

“ขุนนางที่ไม่ออกหน้าแทนประชาชน ควรลาออกไปขายเผือกขายมันที่บ้านเกิด”

หัวหน้ากองตรวจสอบพฤติกรรมข้ารัฐการเมืองเซี่ยงไฮ้ “เตรียมใจหลุดจากตำแหน่ง”

จูหรงจีปลอบว่า “เอาตาทั้งสองข้างของคุณสอดส่องข้ารัฐการ 506 ตำแหน่ง ตราบเท่าที่คุณไม่กลัวที่จะท้าทายอำนาจบนเส้นทางปราบทุจริต ผมรับประกันคุ้มครองตำแหน่งให้คุณ หากผมทำไม่ได้ ผมก็พร้อมที่จะออกจากตำแหน่งไปเป็นเพื่อนคุณ...”

สูตรการปราบคอรัปชั่นของจูหรงจี

1.“อย่ารับเลี้ยงจากใครง่าย ๆ คนเลี้ยงมีหรือไม่ต้องการผลประโยชน์ การรับเลี้ยงมีแต่จะเพิ่มไขมัน ขอให้ทุกท่านลดไขมัน และเพิ่มกระดูกในตัวให้มากขึ้น...”

2.“ปราบทุจริตคอรัปชั่น ต้องจัดการกับพวกตัวการระดับใหญ่ ๆ ก่อนแล้วค่อยจัดการกับระดับรอง ๆ ลงไป...”

3.“ให้เตรียมโลงศพไว้ 100 โลง ในจำนวนนั้นให้ผม 1 โลง จะได้กอดคอตายไปพร้อม ๆ กับพวกโกงกิน  เพื่อแลกมาซึ่งความสงบสุขยั่งยืนของประเทศชาติ”

สิ่งที่น่าหนักใจสำหรับผู้นำจีนรุ่นใหม่ คือวิธีการแก้ไขปัญหาจะใช้แบบเดิม ๆ ที่เคยใช้มาแล้วในอดีตไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมของผู้คน สังคม วัฒนธรรม วิทยาการที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วทั้งภายในกับภายนอก ได้เปลี่ยนโฉมไปมากมายในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ประธานเหมาเจ๋อตุง หรือเติ้งเสี่ยวผิงเคยใช้ อาจจะใช้ไม่ได้สำหรับผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21

ศ.ตู้ยุ่ยหมิง กล่าวว่า นอกจากกฎหมายที่เข้มแข็งแล้ว ยังต้องมีวัฒนธรรมของตัวเอง ระบบสังคมนิยมจะมีคุณค่าได้  ต้องเป็นสังคมนิยมที่มีชีวิตและจิตใจ ชาติที่เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง ต้องเริ่มที่วัฒนธรรม ต้องสร้างจิตสำนึกในวัฒนธรรมของตนเอง ต้องเห็นคุณค่าในสิ่งที่เรามีก่อน แล้วทำสิ่งนั้นแบ่งเสนอต่อชาวโลก

ในปี ค.ศ. 1998 – ยุคนายกรมต.จูหรงจี – มีการอภิปรายถกเถียงในการเลือกระหว่างระบบ

รถไฟความเร็วสูง กับ Maglev (Magnetic Levitation) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากเยอรมนี ทำให้รถไฟสามารถวิ่งโดยไม่อยู่ในราง แต่ไม่สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เพราะมีราคาแพง จากท่าอากาศยานผู่ตง – เซี่ยงไฮ้ 30.5 กม. ใช้เวลาวิ่ง 7.5 นาที  (สูงสุด 431 กม./ชม.) ใช้เงินถึง13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (390,000 ล้านบาท)

ปัญหาคอรัปชั่นในจีน

Transparency International จัดอันดับจีนไว้ที่ 79 จาก 178 ชาติ (ไทย 80)

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น เกาหลีปราบคอรัปชั่นอย่างมีผล เช่น ประธานาธิบดีหนีอัปยศฆ่าตัวตาย  ประธานกรรมการบริหารฮุนไดถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี (จาก 6 ปี) ปธน.หญิงโดนปลดจากตำแหน่ง ถูกจองจำ

การปราบการฉ้อราษฎร์บังหลวงในจีนมีการตัดสินให้ประหารชีวิต และจำคุกในคดีคอรัปชั่นในจีน

          นายสีจิ้นผิง  ผู้นำจีนรุ่น 5 เป็นประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2013 ได้แถลงนโยบายใหม่ไว้ดังนี้

1. จะฟื้นฟูประเทศขนานใหญ่

2. การเปลี่ยนแปลงระบบ “ค่ายแรงงาน” ให้อำนาจรัฐบาลกักตัวผู้มีแนวความคิดต่อต้านรัฐบาลได้นาน 4 ปีโดยไม่ต้องมีการพิจารณาคดี

3. ลดจำนวนเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็น “แรงงานแฝง”

4. เพิ่มศักยภาพกองทัพให้เข้มแข็งเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ

ปัญหาที่ผู้นำจีนรุ่นที่ 5 เผชิญและต้องแก้ไข

1.การชะลอตัวของเศรษกิจ

2.ปราบคอร์รัปชั่น (ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ครอบครัวของผู้บริหารประเทศของจีนหลายคน รวมทั้งนายสีจิ้นผิง ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจสร้างความร่ำรวยให้กับเครือญาติ และพรรคพวกของตัวเอง ทำให้ชาวจีนลดความศรัทธาในตัวผู้นำประเทศ)

3.ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างเมืองกับชนบท

4.การแก้ไขสภาวะแวดล้อม อากาศในเมืองใหญ่ ๆ เป็นพิษ

5.การสานต่อโครงการใหญ่ต่าง ๆ จากผู้นำชุดก่อน รถไฟความเร็วสูง  ฯลฯ

6.แก้ไขข้อพิพาทขัดแย้งเรื่องดินแดน หมู่เกาะ เตี้ยวหวี กับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ 

7.สร้างสมกำลังเพื่อป้องกันประเทศ และผลประโยชน์การลงทุนทั่วโลก

เมื่อ ค.ศ. 1977 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ลงนามกับประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ประเทศที่ค้ำน้ำมัน หรือ OPEC ซื้อขายน้ำมันด้วยเงินสหรัฐเพียงสกุลเดียว

เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจึงเป็นสกุลเงินที่ได้รับการเชื่อถือมากทึ่สุด  แม้จะมียูโรดอลลาร์ออกมาแข่งขันก็ตาม

เงินตราที่ต้องใช้ทองคำหนุนคุณค่าสำหรับ U.S. Dollar จึงหมดไป

ประเทศที่ล้มละลายต้องกู้ไอเอ็มเอฟ แต่สหรัฐอเมริกาแก้โดย QE (Quantitative Easing) เหมือนการโกงเงินคนทั้งโลก ธนาคารกลางออกมาซื้อทรัพย์สิน หรือพันธบัตรรัฐด้วย “เงินที่พิมพ์” ขึ้นใหม่

ประธาธิบดีโอบามา ประกาศโครงการ หุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค Trans Pacific Partnership (TPP) เป็น Free Trade Agreement มุ่งที่จะมีเป้าหมายปิดล้อมการเติบใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีน

เริ่มต้นมี 12 ชาติร่วมด้วย สหรัฐ ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ บรูไน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก เปรู ชิลี  รวมพลเมือง 800 ล้าน

แต่ประธานาธิบดี ทรัมพ์ ล้ม TPP

สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ประกาศเปิดสถาบันการเงิน AIIB  (16 มค. 2016) ร่วมกันก่อตั้งโดยกลุ่มประเทศ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa)

ประกาศร่วมกับประธานาธิบดีปูติน ร่วมมือกันผลักดันโครงการนี้อย่างเปิดเผย การซื้อขายน้ำมันจะใช้เงินหยวนเป็นหลัก

แม้ว่าจะได้รับการคัดค้านจากวอชิงตัน แต่มีหลายประเทศชั้นนำประกาศร่วมด้วย อาทิ ออสเตรเลีย อังกฤษ อิตาลี ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้

สีจิ้นผิงเดินทางไปเยือนตะวันออกกลาง

IMF ประกาศรับเงินหยวนเข้าตะกร้า หมายถึง เงินหยวนไม่ได้ติดอยู่กับดอลลาร์ต่อไป

ประเทศมหาอำนาจกำหนดราคาขายสินค้าอุตสาหกรรมของตนได้ แต่ประเทศผู้ผลิตอาหารกำหนดราคาเองไม่ได้

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.2017 สีจิ้นผิง ประกาศโครงการ One Belt One Road เป็น “การไม่ยอมรับระบบปิดทางการค้า คือ ส่วนหนึ่งของการมี One Belt One Road”

ผู้บริหารระดับสูงของจีนมองไกล 40 ปี ประเทศอื่น ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยมองไกลแค่ 4 ปี

ค.ศ.2003 จีนประเทศนิวเคลียร์ใหม่ และเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ที่ส่งมนุษย์ Yang Liwei ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

จีนมีขีปนาวุธพิสัยใกล้ ระยะสั้น กลาง และพิสัยไกลติดหัวรบนิวเคลียร์ 260 ลูก ภาคพื้นดิน Ballistic Missiles ภาคพื้นดิน 150 ลูก ภาคทะเล 48 ลูกและสามารถใช้ในเครื่องบินทิ้งระเบิดอีกด้วย

สหรัฐอเมริกามีขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ 1740 ลูก

เปรียบเทียบแสนยานุภาพทางทหารระหว่างชาติมหาอำนาจในโลก 2017

1.สหรัฐยังนำ แต่จีนไล่ตาม

          - ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงประกาศ งบประมาณการทหาร จีน 151 พันล้านเหรียญสหรัฐ

          - ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศงบประมาณการทหารสหรัฐ 630 พันล้านเหรียญสหรัฐ

2.กองทัพอากาศ

          - สหรัฐมีเครื่องบินรบชนิดต่าง ๆ 13,000 ชนิด มีเฮลิคอปเตอร์ 6,000 ลำ

          - จีนมีเครื่องบินรบ 3,000 ลำ มีเฮลิคอปเตอร์ 820 ลำ

          - กองทัพอากาศจีนมีบุคลากร 398,000 คน กองทัพอากาศสหรัฐมีบุคลากร 308,000 คน

3.กองทัพเรือ

            - สหรัฐมีเรือดำน้ำ 68 ลำ มีบุคลากร 323,000 คน จีนมีเรือดำน้ำ 32 ลำ มี 235,000 คน

ปัญหาของประเทศไทย

1.Balancing with world great power ประเทศไทยดำเนินนโยบายนี้มาโดยตลอด

2.One Belt One Road

3.รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง

4.ในโลกนี้ไม่มีเอกชนไหนที่ลงทุนรถไฟฟ้า

5.ปัญหาของการฉ้อราษฎร์บังหลวง คอร์รัปชั่นเงียบ กินตามน้ำ แช่ดองคดี

5.1 Over Time การท่าเรือ

5.2 หลายอย่างให้รัฐทำก็ทำไม่ได้ แต่พอเอกชนรายหนึ่งรายใดจะทำ ก็จะมีคนจุดประเด็น 

ขัดแย้งเสมอ เพราะตัวเองไม่ได้รับผลประโยชน์

ช่วงถาม-ตอบ ช่วงที่ 2

1.ช่องโหว่ของการศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดคืออะไร

ตอบ

ต้องเปลี่ยนระบบ มหาวิทยาลัยทั่วโลกกำลังจะเจ๊ง ต้องเริ่มคิด คนจะเรียนจากคอมพิวเตอร์ บางคนเรียนจบปริญญาเอกจากการเรียนทางอินเตอร์เน็ต ต้องนำมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาเป็นแบบอย่างเพราะสอนให้คนรู้จักคิด ขยายความคิดให้แตกออกไป ต้องมี Flexibility ควรเลือกทำในสิ่งที่รู้ สิ่งใดที่ไม่รู้ ก็ควรเรียน outsource หรือหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วย ระบบการศึกษาต้องดูมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จ และดูว่าทำไมผลิตคนเก่งได้ หลายๆ สิ่งอยู่สถาบันไม่ใช่ตัวบุคคล

2.ขอขอบคุณอาจารย์ ชอบการรวมกลุ่มประเทศ ตั้งแต่ Trump ได้เป็นประธานาธิบดี รัสเซียก็น่าจะมีส่วน แทรกแซง คิดว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียของรัสเซียจากการที่ Trump มาเป็นประธานาธิบดี อาจจะมีต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต และอาจจะมีผลมาถึงไทยด้วย

ตอบ

ไม่เชื่อว่ารัสเซียแทรกแซงเพราะไม่มีหลักฐาน แต่ในจุดนี้อาจจะเป็นชนวน Impeachment สำหรับ Trump ถ้าค่าเงินดอลล่าร์ตกต่ำ สงครามโลกเกิด และจะมีการสร้าง New World Order

3.ตอนเรียนต่างประเทศ เห็นความตั้งใจของนักเรียนจีนที่โดดเด่น มี Character ต่างจากนักเรียนชาติอื่น ตอนที่ไปเรียนที่ญี่ปุ่น ทำให้เห็นว่า ตัวอักษรภาษาจีนเหมือนตัวคันจิของญี่ปุ่น ทำให้คนจีนเรียนภาษาญี่ปุ่นได้เร็วมากแม้ไม่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาก่อน ถ้าศึกษา Character หรือกระบวนการการคิดต่างๆ ของคนจีน จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาจีนหรือไม่

ตอบ

การเรียนภาษาจีนไม่ง่าย คำว่า คันจิ เรียกว่า ฮั่นซื่อ ในภาษาจีน หมายถึง อักษรชาวฮั่น เมื่อ 2,150 ปีที่ผ่านมา จิ๋นซีฮ่องเต้ต้องการหายาอายุวัฒนะ มีคนหลอกจิ๋นซีฮ่องเต้ว่า ต้องเดินทางไปหายาอายุวัฒนะ แต่หาไม่เจอ จึงย้ายไปอยู่ญี่ปุ่น บางครั้งภาษาจีนในญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยจะมี จึงเรียกว่า คันจิ

แม้ไม่รู้ภาษาจีน แต่ต้องหาข้อมูลที่ถูกต้อง รู้แล้วต้องวิเคราะห์ให้ดี แล้วความคิดแตกออกไป แล้วเชื่อมโยงให้สว่างขึ้น

วันที่ 26 สิงหาคม 2560

นำเสนองานกลุ่ม : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน และแนวทางการปรับใช้ให้เกิดคุณค่าที่ ม.อ.

                   ร่วมวิเคราะห์โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่ม 1

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชัยพัฒนา นำเสนอโดย อาจารย์จารึก อรรถสงเคราะห์

          ได้รับเกียรติจากรองเลขาธิการบรรยาย

เริ่มต้นด้วย การอธิบายความหมายของตรามูลนิธิชัยพัฒนา ประกอบด้วย

          พระแสงขรรค์ชัยศรี มีความหมายถึง พระราชอำนาจ พระบารมีและกำลังแผ่นดินที่จะ ฟันฝ่าให้เกิดการดำเนินการต่างๆ อันเป็นผลไปสู่ความมั่นคงแห่งพระราชอาณาจักร

ธงกระบี่ธุช เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะในการต่อสู้ เพื่อป้องกันอาณาประชาราษฎร์ และพระราชอาณาจักรให้พ้นภยันตรายทั้งปวงและประสบความสำเร็จในการต่อสู้นั้น

ดอกบัว มีความหมายถึง ศักดิ์ศรี ความสงบร่มเย็น ความเจริญงอกงามและความบริบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร และบรรดาทรัพยากรทั้งปวงอันจะนำไปสู่ความอยู่ดีกินดี และความสงบสันติสุขของประชาชนโดยทั่วหน้ากัน

สังข์ มีความหมายถึง น้ำที่จะสร้างความชุ่มชื้น ชโลมแผ่นดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และความร่มเย็นเป็นสุข

          สิ่งที่ได้

ศาสตร์พระราชา ทำทั้งระบบ มีเรื่องน้ำ การปรับปรุงดิน การแกล้งดิน มีกิจกรรมเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดสรรที่ดิน ได้รับการเติมเต็มจุดนี้มากจึงเข้าใจศาสตร์พระราชา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ได้ดูรายการโทรทัศน์ ทำให้ทราบว่า ทรงทำโครงการที่พระราม 9 ทั้งระบบมีตั้งแต่การบำบัดน้ำเสีย มีโรงพยาบาล ทำให้ทราบว่า รัชกาลที่ 9 ทรงมองทุกอย่างเป็นองค์รวมในการพัฒนา

ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ คือ ภูมิคุ้มกัน จากภายนอก เช่น ทรัพย์สิน ทรงแนะนำบัญชีครัวเรือน  ภูมิคุ้มกันทางสังคมศิลปวัฒนธรรม

การนำมาประยุกต์ใช้กับม.อ. นำเสนอโดย ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์

ม.อ.สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ทุกที่ คือ

บทบาทการบริการชุมชนของม.อ. ใช้ศาสตร์พระราชา 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ความสมดุล 4 ด้าน รวมถึงเรื่องความรู้ คุณธรรม

สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่จะทำคือ ระบบฐานข้อมูลโครงการพระราชดำริ แล้วใส่รายละเอียดของจุดที่สำคัญ ต่อยอดได้ แต่ละวิทยาเขตก็สามารถนำแนวคิดไปส่งเสริมมิติต่างๆ 

เห็นผลได้จากโครงการพระราชดำริพรุโต๊ะแดง โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง โครงการสวนเกษตรของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ที่คลองหอยโข่ง โครงการพระราชดำริที่พัทลุง เป็นโครงการที่ใกล้ชิดกับม.อ.

ม.อ.ควรเป็นตัวนำผลักดันศาสตร์พระราชาให้เป็นรูปธรรม ถ่ายทอดให้นักศึกษาเข้าใจ รูปธรรมของศาสตร์พระราชาคือเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ นักศึกษาสามารถประยุกต์แนวคิดได้ อาจนำประสบการณ์ไปใช้ต่อ เช่น ส่งเสริมความรู้ ทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตอนนี้กำลังพัฒนา core course เศรษฐกิจพอเพียงในทั้ง 5 วิทยาเขต ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ประสานงานและสร้างหลักสูตรนี้โดยใช้ 5 วิทยาเขต

ดร.สมพร ช่วยอารีย์

ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขตควรทำเครือข่ายร่วมกันให้เป็นรูปธรรม ตอนนี้ก็ได้ทำศูนย์เรียนรู้ในระดับครัวเรือน ทำให้ระดับชุมชนได้มีการประยุกต์ใช้มากขึ้น

ในด้านพลังงาน ได้ทำที่ม.อ.ปัตตานี ติด solar roof top เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องนี้

กลุ่ม 2

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย  

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีระบบ security มาก จึงมีการตรวจมากมาย

ได้ฟังวิทยากรคือคุณณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์บรรยายได้ดีมาก จึงขอนำเสนอเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

1.Global Awareness ทำให้ทราบความเปลี่ยนแปลงทางโลก โลกมีความซับซ้อนมีการเมืองมากมาย ทำให้ทราบว่า มีประเด็นสำคัญอะไร เพื่อมองภาพรวมทั้งโลก เหตุการณ์ทั่วโลกเชื่อมโยงผลประโยชน์คือน้ำมัน และสหรัฐอเมริกา การทราบความเปลี่ยนแปลงของโลกอาจจะมีผลต่อทิศทางการดำเนินงานของประเทศ

2.Disruptive Technology มีคำกล่าวที่ว่า “ไม่ใช่ species ที่แข็งแรงที่สุด ที่จะอยู่รอดได้ ไม่ใช่ species ที่ฉลาดที่สุด ที่จะอยู่รอดได้เหมือนกัน แต่ species ที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด ที่จะอยู่รอดได้” จึงจำเป็นต้องรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ซึ่งบางอย่างมาแล้วจากไป เช่น Pager, Soundabout กล้องถ่ายรูปแบบฟิล์ม Uber ทำให้ประชากรแท็กซี่ล่มสลาย 

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่

ปีพ.ศ. 2548 มีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้นในปี 2020 โดยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 1 ใน 4

3.ปัญหาการศึกษาไทยไม่ได้คุณภาพ เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในด้านหนึ่งเด็กไทยอ่านออกเขียนได้น้อย อ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด แต่ทุกปี ประเทศไทยก็มีเด็กที่ชนะเลิศด้านโอลิมปิกวิชาการ ประเทศไทยมีทั้งเด็กเก่งและเด็กที่มีปัญหาการศึกษา มีการนำเสนอข้อมูลความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ตัวอย่างเช่น สถาบันการศึกษาซึ่งสังกัดกทม.บางแห่งก็มีคุณภาพการศึกษาด้อยกว่าโรงเรียนอื่นๆ แสดงถึงความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาภายในเมืองหลวงด้วย

การเรียนที่แย่ที่สุดคือ การเรียนแบบ Lecture หรืออ่านหนังสือก็อยู่ได้ไม่นาน ถ้ามีการแลกเปลี่ยน

ความรู้หรือนำไปปฏิบัติหรือสอนคนอื่นก็จะทำให้ความรู้ยั่งยืนได้

4.4C for 21st century education ทักษะที่จำเป็นในการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

Communication

Collaboration

Critical Thinking

Creativity

ผศ.ผจญ คงเมือง

ผศ.ผจญ คงเมืองได้เคยให้นักศึกษาไปค้นคดีต่างประเทศมาแปล โดยผศ.ผจญ คงเมืองกำกับการแปล เมื่อแปลแล้วก็สรุปออกรายการวิทยุ มีการให้นักศึกษานำเสนอเป็นภาษาอังกฤษกับอาจารย์ชาวต่างชาติด้วย

กลุ่ม 2

การนำความรู้มาปรับใช้กับม.อ.

1.ม.อ.ต้องมีนวัตกรรมการศึกษาเพิ่มขึ้น

2.ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากความผิดพลาด อาจารย์นาตยา อุ่ยวิรัช บอกว่า Fail คือ first attempt in learning

ดร.สมพร ช่วยอารีย์

          น่าสนใจมาก ประเด็นก็คือ เป็นการเติมเต็มความเข้าใจสถานการณ์โลก

ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์

คาดหวังที่จะฟังการวิเคราะห์การเงิน อาเซียนและโลก แต่เนื้อหาเรื่องนี้ยังมีค่อนข้างน้อย อยากจะทราบว่า ถ้าใช้เงินดิจิตอล ในอนาคตจะเป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไรทั้งด้านเศรษฐกิจและการศึกษา

ดร.สมพร ช่วยอารีย์

ได้ Fail มาอีกคำคือ Facility Approach Integration Leadership

กลุ่ม 3

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ณ อาคารเคเอกซ์ (KX: Knowledge Exchange) 

          สิ่งแรกที่ทำให้ตื่นเต้นคือ สัญลักษณ์ KX แต่ไม่มีสัญลักษณ์ มจธ. ใช้ Motto “Increase Thailand’s competitiveness” เป็นโมเดลที่ดีมากที่ม.อ.ควรนำไปเป็นแบบอย่าง มจธ.ไม่ได้ประกาศว่า คนเป็นผู้ทำ แต่ทำเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ถือเป็น Vision ที่ม.อ.ควรทำคือ เพื่อความสามารถในการแข่งขันทั้งภูมิภาค ไม่ใช่แค่ภาคใต้ต้องรวมไปถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ด้วย

อาจารย์ที่มจธ.ได้กล่าวว่า แต่ก่อนมีคนทำงาน 2 คน ซึ่งทำงานทุกอย่าง ต่อมา ผู้บริหารเห็นผลเข้ามาเรื่อยๆ จึงมีคนเริ่มเข้ามา ผู้บริหารจึงได้ให้ความสำคัญ

          ลักษณะของอาคาร แต่ละชั้นมีพื้นที่ดีมาก บางชั้นสมบูรณ์แล้วสามารถใช้งานได้ เริ่มต้นดูตั้งแต่ชั้นบนที่ไม่พร้อมใช้งานลงมาเรื่อยๆ จนถึงชั้นล่างๆ ที่มีการใช้งาน มีบริษัทต่างชาติมาทำงานด้วย มีหน่วยงานทำวิจัยของมหาวิทยาลัย มีผู้ประกอบการมาใช้บริการ

KX นำนวัตกรรมที่เกิดจากการทำวิจัยของมจธ.เป็นหลักมาเสนอ ในอนาคตจะนำจากมหาวิทยาลัยอื่นไปเผยแพร่และได้เชิญมอ.ด้วย

อาคารมีอาจารย์ทำวิจัยที่ทำสำเร็จแล้วมาพบผู้ประกอบการของบริษัท ออกมาเป็น knowhow ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ SMEs , startup จะได้การเติบโตของธุรกิจของประเทศ ผ่านการทำงานของ KX

สิ่งที่ KX ได้เปรียบคือ อยู่ที่กรุงเทพซึ่งมีธุรกิจมาก แต่ม.อ.ก็ทำได้เพราะมี 5 วิทยาเขต แต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญ ทุกวิทยาเขตควรมีอาคารแบบ KX แล้วนำความรู้ที่ไปดูงานหรือสิ่งที่ม.อ.ทำมาเผยแพร่

มจธ.ต้องดิ้นรนด้วยตนเอง เหมือนคณะเทคนิคการแพทย์ที่ไปอาศัยสถานที่เรียนที่อื่น เมื่ออยู่ในสภาวะขาดแคลน ก็ต้องดิ้นรนจนนักศึกษา 2 รุ่นสอบได้ที่ 1 ใบประกอบวิชาชีพ มจธ. ดำเนินงานโดยใช้ EdPex มานานแล้ว ม.อ.ควรเปลี่ยนความคิดให้เห็นว่า EdPex ทำให้มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น

รศ.ดร.วราภรณ์ ตันรัตนกุล

KX คล้ายอุทยานวิทยาศาสตร์ของม.อ. ตอนนี้ได้งบจากรัฐบาลสร้างอาคารที่ท่าข้าม เป็นสถานที่เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาจารย์ม.อ.และ ให้บริษัทต่างๆไปอยู่ด้วย

กลุ่มอื่น

จากที่กลุ่ม 3 นำเสนอ ในความเป็นจริงแล้ว Startup ในหาดใหญ่มีการรวมตัวอยู่แล้ว มีแผนใช้ม.อ.เป็นที่ตั้ง Creative Design Center มีแผนจะเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่นี้ต่อจังหวัด มีหลักการคือเผยแพร่งานวิจัยม.อ.เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้จริงในชุมชน

ดร.สมพร ช่วยอารีย์

ต่อไป ม.อ.จะเป็น A2 X คือ Alumni and Alliance Exchange

ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์

KX มีตัวขับเคลื่อนคือ Oxygen Team ช่วยให้ไฟติดแต่ตัวเองไม่ติดไฟ นอกจากนี้มีการนำเสนอระบบการประชาสัมพันธ์ มีการสื่อสารกิจกรรมผ่านวีดิโอให้ SMEs มาดูและใช้บริการ ม.อ.น่าจะมี Social Building ที่จะบริการครอบคลุมทางมิติด้านสังคม อาจใช้สถานที่อุทยานวิทยาศาสตร์ก็ได้

 

กลุ่ม 4

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ได้รับความรู้จากรองอธิการบดีซึ่งได้เล่าประวัติมจธ. มจธ.ออกนอกระบบเป็นแห่งแรก ใช้วิธี change management เน้น sci tech ส่งเสริมให้คนคิดต่างได้ แต่ต้องยอมรับกติกา มจธ.เน้นการเข้าใจตัวเอง มีจุดเด่น sci tech จะเน้นเรื่องนี้ ก้าวไปอย่างก้าวกระโดด มจธ.มีเครือข่าย นำเทคโนโลยีออกมา นำไปใช้ในสังคม มีการทำงานเป็นทีม มุ่งช่วยวิชาการสู่การปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรม ผู้บริหารยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

การนำความรู้มาปรับใช้กับม.อ.

มจธ.มีการหล่อหลอมผู้บริหาร กระบวนการสร้างคนมีการเตรียมการ แต่ม.อ.ไม่มีการเตรียมมาก่อน จะเริ่มเปลี่ยน 3-4 ปีที่ผ่านมาเริ่มเตรียม 5 วิทยาเขตมีความหลากหลาย การประเมินมาใช้กับม.อ.มีปัญหามาก

มจธ.มีกฎว่า อาจารย์สามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้จะเป็นที่ยอมรับ ในส่วนการทำงานมจธ.มองเป็นทีม ทุกคนสำคัญที่จะขับเคลื่อนทั้งกระบวนการ ม.อ.มีเงินเพราะฝากสหกรณ์ แม่ให้ยืม ม.อ.มีเงินส่วนต่างมาก ถ้าระดมสมองทำ ก็ดี

ดร.สมพร ช่วยอารีย์

จบหลักสูตรแล้วน่าจะทำหนังสือได้แล้วขายเป็นกองทุนรุ่น 3

กลุ่ม 5

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ณ บริษัท ยูนิลีเวอร์เน็ตเวิร์คฯ

บริษัท ยูนิลีเวอร์เน็ตเวิร์คฯ เป็นบริษัทใหญ่

รู้สึกประทับใจวิธีการนำเสนอ น่าจะนำมาปรับใช้ เป็นการสร้างกำลังใจที่ดี ชอบแนวคิดที่ปรับตัวเข้า Thailand 4.0 Unilever ปรับตัวจาก MLM  เป็น Omni connect ขายของออนไลน์และออฟไลน์

การขายสินค้าก็มาทาง social network คนมีช่องทางการศึกษามากขึ้น ม.อ.ควรนำโมเดลนี้ส่งการศึกษาไปยังผู้รับ อาจปรับคอร์สเป็นออนไลน์ จะขายคนทั่วไปได้มากขึ้น เป็นแบบ short course

Unilever ใช้เป็น platform ที่คนใช้ง่าย แบบ Facebook ม.อ.ต้องคิดเนื้อหาที่ทุกคนเรียนได้ ตอบความต้องการ

ดร.สมพร ช่วยอารีย์

ต้องเปลี่ยนแข่งขันเป็นแบ่งปัน และควรคิด platform การกระจายการศึกษา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

แต่ละกลุ่มนำเสนอได้ดีมาก

ดีใจที่ทุกท่านเข้าใจศาสตร์พระราชา การใช้เศรษฐกิจพอเพียงในม.อ.เป็นเรื่องที่ไม่ผิด

ผักที่มูลนิธิชัยพัฒนามาจากร้านจันกะผัก (มาจาก จักรพันธุ์) ในร้าน จะเห็นผลิตภัณฑ์วิจัยใหม่ของมูลนิธิ เช่น น้ำมันมะรุม ชาน้ำมัน ม.อ.อาจจะทำเป็นร้านแบบนี้ก็ได้

ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยมีการนำเสนอทำให้เห็นเทคโนโลยีนำเสนอ Google Earth

เรื่องโดรนภาพมุมสูง จะเข้ามาแทนหลายอย่าง เด็กเริ่มเรียนเรื่องโดรน โดรนจะเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง วิทยากรสามารถนำภาพเล็กมาประกอบเป็นภาพใหญ่แล้วจะฝังในความคิด

ในแง่วิทยากร เตรียมตัวดี Open source ต่อไปจะเป็นปัญหา แต่อาจจะเป็นโอกาสในการเรียนการสอน เพราะหาข้อมูลง่าย  วันนี้มีการเล่าแบบนิเวศวิทยา ทำให้ลูกศิษย์เข้าใจง่ายเพราะมีชีวิตชีวา วิทยากรใช้ภาษาดีมาก พระบิดาถือเป็นเกียรติภูมิ มีการสร้างภูมิคุ้มกันของเราและเด็ก พันธกิจมหาวิทยาลัยคือ สร้างคน องค์ความรู้และจัดการองค์ความรู้ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ก็เป็นตัวอย่างในจัดการความรู้ให้ลูกศิษย์ค้นคว้า

วิทยากรที่นำเสนอเน้น

1.ชัยภูมิ ม.อ.มองว่าเป็นเสาหลักภาคใต้ เหมือนจีนนำทางสายไหมมาเป็น one belt one road อย่ามองข้ามความเก่งของคนทุกรุ่น ซึ่งจีนใช้ทั้งสองแบบ อาจารย์ยุทธนา จะเน้นเส้นทางพระบิดา แต่บางวิทยาเขตไม่ได้เข้าร่วม ถ้าผู้นำรุ่นนี้ขึ้นมา ก็จะเป็นความภูมิใจ

2.ยุทธภูมิ คิดถึง Alliance ควรคิดกิจกรรมความร่วมมือข้ามวิทยาเขต ควรหายุทธภูมิใหม่แล้วแข่งในสนามที่ถนัด

3.ยุทธศาสตร์ การจัดการองค์ความรู้สำคัญกว่าปริมาณความรู้

ที่มจธ. แบ่งเป็น 3 ยุค

ยุคแรก วิศวกรรม

ยุคที่ 2 วิชาการ

ยุคที่ 3 Integrate

ยุคใหม่ของมจธ.เป็น Paradigm Shift Strategy เน้น Improve result, Niche goal เป้าหมายที่หลากหลาย เน้น Integrated Management System ระบบผู้นำดี ไม่ได้นำด้วยคนใดคนหนึ่ง

EdPex มจธ.ใช้เป็นกรอบการบริหารจัดการ มีการ engage workforce ออกแบบตึกไม่มีโลโก้มจธ.

มจธ.มีกฎระเบียบเพื่อเพิ่มรายได้พิเศษให้ตามภาระงาน ม.อ.ต้องทำเพื่อดึงคนเก่งไว้ มีกฎว่า แบ่งเงินแล้วส่งกลับไปสู่มหาวิทยาลัย มีการปลูกฝังเป็น identity ของมจธ.คือต้องตอบโจทย์ความสุขส่วนรวม ลงทุนแล้วต้องใช้ได้หลายด้าน มจธ.พบความขาดแคลนจึงต้องสร้างนวัตกรรม ถ้าไม่เปลี่ยนก็อาจจะหานักศึกษาไม่ได้

Professionalism สำคัญคือตอบโจทย์ลูกค้า บริการตรงใจ

ส่วนที่ Unilever มีการแสดงสินค้าผ่านห้องกระจกและมีการนำเสนอผ่านจอดิจิตอลที่น่าสนใจ

รศ.ดร.ประณีต ส่งวัฒนา ศิษย์เก่าจากโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1

จากที่ได้ฟังการนำเสนอ เวลาอยู่ในโลกปัจจุบันหรือนาคต ก็ยังมีความคาดหวังจากคนรุ่นใหม่ ให้ใช้เทคโนโลยีการทำงานมากขึ้น

สายวิชาชีพพยาบาล ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงมาก ไม่สามารถสอนแบบเดิมได้ ต้องมีการปรับตัว ได้ฟังและเห็นมจธ. ซึ่งออกนอกระบบนานแล้ว ทำให้ปรับตัวเข้ากับระบบใหม่ ต้องหาทางเลือกใหม่ ไม่ควรเดินทางเดิม ต้องเปลี่ยนตัวเอง ขอฝากความหวังและขอเป็นกำลังใจให้ 

ผศ.ดร.โสเพ็ญ ชูนวล ศิษย์เก่าจากโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1

มาแล้วเป็นการจุดประกาย หลายคนได้ประเด็น วิชาที่เรียนก็มาใช้กับตนเองและหน่วยงาน

ไทยการศึกษาตามหลังเพื่อนบ้านมาก ภูมิใจที่เห็นรุ่นใหม่มีวิสัยทัศน์พัฒนา


Learning Forum& Activity                       

หัวข้อ   ศิลปะ....สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

โดย     อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

          อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

          และทีมงาน

อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

เริ่มจากการขึงกระดาษ ควรทำกระดาษให้เปียกทั้งหมด แล้วขึงด้วยกระดาษกาวทาน้ำ ติดด้านที่เรียบก่อนแล้วจึงติดหลวมๆที่ด้านยังไม่เรียบ เมื่อกระดาษแห้งแล้วจึงเขียน จะลดอาการกระดาษบวมลงได้ 50-60>#span###

เทคนิคการวาดเปียกบนแห้ง

เป็นการฝึกระบายสีให้เรียบบนพื้นแห้ง เริ่มโดยการนำสิ่งของมาหนุนใต้กระดานวาดรูปให้เอียงประมาณ 10 องศา

การระบายเรียบสีเดียว

1.นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี

2.ระบายจากซ้ายไปขวาทิศทางเดียวเท่านั้นอย่าถูไปถูมา

3.ระบายแถวถัดไปที่อยู่ด้านล่างด้วยวิธีการเดียวกัน อย่าเว้นช่องว่าง ใช้หลักการน้ำต่อด้วยน้ำ สีต่อด้วยสี ต้องระบายต่อตอนเปียก

การระบายเรียบสีแก่อ่อน เป็นการฝึกระบายไล่น้ำหนักสี

1.นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี

2.ระบายจากซ้ายไปขวาทิศทางเดียวเท่านั้นอย่าถูไปถูมา

3.ระบายทับแถวเดิมให้เหลื่อมไปแถวล่างเล็กน้อย แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ

4.นำพู่กันจุ่มน้ำไปผสมสีให้อ่อนลงแล้วมาระบายต่อแถวต่อไป

การระบายเรียบสีอ่อนแก่

1.นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี

2.ระบายจากซ้ายไปขวาทิศทางเดียวเท่านั้นอย่าถูไปถูมา

3.นำพู่กันจุ่มสีให้เข้มขึ้นแล้วมาระบายต่อแถวต่อไประบายทับแถวเดิมให้เหลื่อมไปแถวล่างเล็กน้อย แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ

การระบายเรียบหลายสี

  • นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี ทำเตรียมไว้ หลายๆสี
  • นำพู่กันจุ่มสีแรกมาระบายแถวแรก
  • นำพู่กันไปจุ่มน้ำล้างสี
  • นำพู่กันจุ่มสีที่สองแล้วนำมาระบายแถวที่อยู่ถัดไปด้านล่างโดยระบายให้เหลื่อมขึ้นมาทางสีแรกเล็กน้อย จะเกิดสีที่ผสมกัน

เทคนิคการวาดเปียกบนเปียก

ทำกระดาษให้เปียก เมื่อระบายสีลงไป จะมีลักษณะฉ่ำๆ ฟู่ๆ

1.นำแปรงจุ่มน้ำมาทากระดาษให้เปียกก่อน

2.นำพู่กันจุ่มน้ำผสมสีอ่อนแล้วระบายลงก่อน แล้วจึงค่อยระบายสีเข้ม

เทคนิคการวาดแห้งบนแห้ง

นำสีแห้งๆ ไปวาดบนพื้นแห้ง เหมาะกับการไล่น้ำหนักแสงเงา

1.นำพู่กันจุ่มสีผสมน้ำน้อยที่สุด

2.นำพู่กันมาลาก สีจะติดเข้มช่วงแรกแล้วค่อยๆจางหายไปช่วงหลัง

หมายเหตุ การเขียนกระดาษสีน้ำ ต้องใช้ด้านหยาบ คือด้านที่อ่านชื่อยี่ห้อออก สำหรับผู้เพิ่งเริ่มเขียน ควรจะวางกระดาษแบนราบก่อน

วิธีการวาดท้องฟ้า

1.เอาแปรงจุ่มน้ำทากระดาษให้เปียก บริเวณที่จะวาดท้องฟ้า

2.ใช้พู่กันจุ่มน้ำแล้วจุ่มสีผสมน้ำให้เปียกแล้วระบายสีอ่อนก่อนสีเข้ม ระบายซ้ำให้ฉ่ำๆ ไล่ระดับทำให้มีมิติ อาจจะเอียงกระดาษให้สีผสมกันไล่ระดับก็ได้ โดยเอียงเข้าหาตัว สีท้องฟ้าควรเป็นสีเรียบไม่ให้รบกวนสิ่งอื่นๆ

3.วาดก้อนเมฆเป็นก้อนๆด้วยการใช้สีข้นกว่าเดิม อย่าใช้น้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้ด่าง

4.วาดก้อนเมฆแล้วอียงกระดาษเข้าหาตัว จะได้ภาพเมฆที่มีสายฝนด้วย

วิธีการวาดภูเขา

1.ใช้ดินสอร่างแนวภูเขาเบาๆ อย่าวาดไปทับเมฆและฝน

2.ใช้พู่กันกลมจุ่มสีเข้มระบายเป็นขอบแนวภูเขา โดยระบายอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการน้ำตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ต้องระบายต่อขณะที่สียังไม่แห้ง

3.ส่วนตีนเขา ใช้พู่กันจุ่มน้ำระบายเป็นสีอ่อน

4.ใช้พู่กันกลมจุ่มสีผสมน้ำให้อ่อนลง ระบายไล่ระดับเป็นสีภูเขา

วิธีการวาดทะเล และหาดทราย

1.รอขอบล่างของภูเขาให้สีแห้งก่อน แล้วใช้สีฟ้าระบายเป็นน้ำทะเล ระบายต่อเนื่องขณะเปียก

2. นำสีเหลืองมาระบายเป็นหาดทรายระบายไล่ระดับไปตรงสีทะเล แล้วระบายทับสีทะเลส่วนหนึ่งให้สีผสมกัน

วิธีการวาดต้นไม้สูงมีดอกและใบเล็กจำนวนมาก

1.นำดินสอมาร่างโครงต้นและกิ่งก้านแบบเบาๆ

2.นำแปรงมาจุ่มสีข้นแต่เป็นสีอ่อนแล้วกระทุ้งหัวแปรงที่กระดาษให้เป็นจุดเล็กๆ หลายๆจุดแบบ แต่ต้องมีช่วงว่างเล็กๆพอประมาณด้วย แล้วเปลี่ยนเป็นใช้สีเข้มขึ้นเพื่อกระทุ้งตามแนวกิ่งก้านที่ร่างไว้

3.นำพู่กันเล็กจุ่มสีน้ำตาลข้นวาดกิ่งก้านและลำต้น

วิธีการวาดเงาสะท้อนใต้ต้นไม้

นำพู่กันจุ่มสีเขียวข้นมาขีดเป็นเส้นตั้งเล็กๆ ใต้โคนต้นไม้แบบถี่ๆแต่ไม่ติดกัน



หมายเลขบันทึก: 634505เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2017 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2017 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Summary of what has been learned and what will be applied to the work

24-August-17

Subject 34:

  • When you find yourself in a hole, the best thing you can do is stop digging. This is a good quote to reflect the sunk-cost trap.
  • The decision making in the meeting can be in 2 ways: advocacy and inquiry. Advocacy has a leader influence in making a decision. Inquiry has a shared and discussed opinion before the decision is made.

Subject 35:

  • Mega trends such as demographic shifts, economic shifts, climate change, technology breakthrough are changing the world we live in.
  • To be a servant leadership is to sacrifice and inspire others.
  • Morality 4.0 = Sufficiency, Discipline, Honesty, Volunteerism
  • 4H for Thai People 4.0 = Head,  Hand, Health, Heart
  • Learning 4.0 involves purposeful, generative, mindful and result-based learning. 

Subject 36:

  • Learning can be formal or informal (generative / emergent)  learning. Personal aspects are barriers to learning.
  • Learning organization is compared between Chira Way and Senge Way.
  • Chira Way of learning follows the King working principles and 4L+3L+2R+2I.
  • His Majesty King Bhumibol Adulyadej Six Steps of Working:
  • 4L = Learning MEOC (Methodology, Environment, Opportunities, Communities)
  • 3L = Learning from PEL (Pain, Experiences, Listening)
  • 2R = Reality, Relevance
  • 2I = Inspiration, Imagination
  • Peter Senge Way of learning consists of:
  • Think MACRO, do MICRO
  • Work in steps
  • Turn difficult things into easy things
  • Consider local knowledge
  • Apply communication, coordination, and integration
  • Take ownership
  • Personnel Mastery
  • Mental Models
  • Shared Vision
  • Team Learning
  • System Thinking

25-August-17

Subject 37:

  • EdPEx stands for Education Criteria for Performance Excellence which has 7 categories, 17 items, 36 areas to address, 89 specific questions, and 11 core values.
  • The roadmap started from TQA (2001) to PMQA (2005), SEPA (2008) and EdPEX (2009). The performance indicators are important. They must be real and measurable.

Subject 38:

  • Government project proposal requires fitting the plan in 3 dimensions: Area, Function, and Agenda.
  • Return on Investment (ROI) is the ratio of the net operating income to the average operating assets.
  • Margin is the ratio of the net operating income to sale values.
  • Turnover is the ratio of sale values to the average operating assets. 

Subject 39:

  • Nanjing massacre was a mass murder and rape which left over 300,000 deaths.
  • Deng Xiaoping famous quote is “It doesn’t matter if a cat is black or white, so long as it catches mice”.

26-August-17

Subject 40:

  • Each group summarized the trip in Bangkok. The Chaipattana Foundation is an inspirational trip and it can be taken as the working model for sufficient development.
  • At the Bank of Thailand we learned that the world has changed. The challenges are disruptive technologies, aging society, learning gaps of students and so on.
  • KX is the knowledge exchange building which provides co-working space, maker's space, innovation capability building program and so on.
  • KMUTT was founded in 1960. It was the first university that went out of the government system. The quality control uses EdPEx in driving the development.
  • Unilever has been with Thai people for a long time and now the marketing strategy has evolved by using internet and digital platform to connect clients and business partners.

Subject 41:

  • Today activity is different from other days. Another side of the brain was used in learning the art of drawing picture using watercolor.
  • Drawing helps practicing mindfulness, temper control, and to plan things in advance. 

14 มีนาคม 2561

การบริหารกลยุทธ์องค์กร กรณีศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย

โดย ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ

ผู้ช่วยผู้ว่าการสายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูลย์

บริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด

          โลกยุค VUCA คือ ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน ไม่ชัดเจน ในยุคนี้เป็นยุคของ disruptive

องค์กรและการเปลี่ยนแปลง

          ไม่มีองค์กรไหนที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่ปรับเทคโนโลยี เพราะโลกเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในอดีตจะเห็นว่าเราไม่สามารถป้องกันอะไรได้ อนาคตเป็นสิ่งที่ต้องดูในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน มีการกำหนดเรื่องโครงสร้างทางสังคมในการเลือกปฏิบัติ มีการปรับกฎระเบียบต่าง ๆ

Key Questions in Strategic Management 1. Where are we now?  2. Where do we want to go? 3. How will we go there?

ทิศทางการเปลี่ยนแปลง เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี สถานที่ทำงาน

การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรสร้างสรรค์

1. COD – Creative Organization Development

2. Strength Based Organization

หลักความคิดสร้างสรรค์ 4 M

             1. Mindset – ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ

             2. Mood – อารมณ์ ความรู้สึกที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์

             3. Mechanic – ขั้นตอนการคิด

             4. Momentum – ทำอย่างไรให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยั่งยืนไม่เป็นไฟไหม้ฟาง

             สิ่งที่ทำคือให้พนักงานทุกระดับมี Creative Process ,Creative Leadership, Creative Thinking เพื่อจูงใจให้พนักงานคิดไอเดียใหม่ ๆ  ให้สอดรับกับความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร  และจะพบว่าเมื่อเชื่อม Creative จะมี 4 M คือมี Content ทั้งหมดที่คิดคือ 12 Module คือ Creative Thinking

การคิดสร้างสรรค์ มีกรอบอยู่ 3 กรอบ มีกรอบของความคิด กรอบองค์กร และกรอบสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท