กฎหมายภายในของไทยที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต Part III


กฎหมายที่มีการกำหนดความผิดและโทษสำหรบเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริต

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                      พระราชบัญญัตินี้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ซึ่งได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยกำหนดความผิดอาญา และมาตรการลงโทษเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยมีหน่วยงานที่กำกับดูแลและใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) โดยเหตุผลสำคัญในการตราพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากหน่วยงานเดิมที่มีอยู่ประสบปัญหาในการตรวจสอบ และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

                   ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการและป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นกลางและอิสระ และมุ่งตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้ครอบคลุมทุกระดับและรอบด้าน โดยกลไกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการแบ่งแยกการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐทั่วไปออกจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีการชี้มูลความผิดทั้งทางวินัยและทางอาญา และมีการจัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สำหรับนักการเมืองโดยเฉพาะ

พระราชบัญญัติว่าด้ยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

                    การฟอกเงินได้กลายเป็นหนึ่งในอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก นานาประเทศจึงได้ร่วมกันกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เช่น อนุสัญญาเวียนนา รายงานของ FATF ( Financial Action Task Force ) แถลงการณ์ของบาเซิล ( Basel Committe ) และ Council of Europe Convention ซึ่งประทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

                      เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบอาชญากรรม ได้นำเงินซึ่งได้มาจากการกระทำความผิดกฎหมายมากระทำการในรูปแบบต่างๆอันเป็นการฟอกเงิน เพื่อให้ทรัพย์สินนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดได้ต่อไปอีก ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงมีการกำหนดมาตรการต่างๆให้สามารถดำเนินการป้องกั นและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                     สำหรับความผิดเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รับชั่น ได้ถูกกำหนดให้เป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัตินี้ ตามมาตรา ๓(๕) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น

                      มาตรการลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้การกระทำความผิดฐานฟอกเงินเป็นความผิดทางอาญา ในส่วนของมาตรการการลงโทษเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น มีการกำหนดให้มีการยึดและ/หรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานให้ตกเป็นของแผ่นดิน

หมายเลขบันทึก: 63365เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบใจมากจ๊ะ ที่มาเล่าสู่กับฟัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท