ชวนครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษทำวิจัย


หมายเลขบันทึก: 633578เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2017 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2017 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การทำวิจัยในชั้นเรียนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ครูผู้สอนควรปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อครูจะได้ศึกษา วิธีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มพฤติกรรมบางอย่างให้แก่ผู้เรียนได้ ทั้งนี้ช่วงวัยก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการของผู้เรียน ยิ่งครูส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนได้เหมาะสม การเรียนการสอนย่อมส่งผลได้ดีที่สุด

การแสดงความคิดเห็นนี้ ขออนุญาตแสดงผ่านความคิดเห็นของผู้ที่ไม่ได้มีประสบการณ์ของการเป็นครูผู้สอนในชั้นเรียนและไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆต่อการเลื่อนตำแหน่งของครู ความรู้สึกแรกที่ได้จากการอ่านบทความนี้ คือความรู้สึกของการมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพครู มีความหวัง เพราะหากการที่ครูสักหนึ่งคน จะมีการตั้งคำถามเพื่อที่จะหาแนวทางการช่วยเหลือนักเรียนเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน โดยผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าวิจัย นั่นคือปัจจัยที่ดีที่สุด ที่จะเป็นจุดเล็กๆในการพัฒนาวิชาชีพครูที่ยิ่งใหญ่ นอกจากจะเป็นการพัฒนางานที่ทำประจำแล้ว ในส่วนของครูเองก็จะได้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในการให้การดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อีกทั้งยังได้สร้างความภาคภูมิใจต่อตนเองที่ได้สามารถพัฒนาเครื่องมือ หรือแนวทางการสอนให้กับเด็กปฐมวัยหรือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพราะเหตุนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นด้วยกับผู้เขียนที่ว่า การเปลี่ยนกฎเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะครูเป็นเพียงกระแสที่สร้างความแปลกใหม่เท่านั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้มีผลใดๆกับการศึกษาวิจัยของครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษ เพราะคุณค่าและผลลัพธ์ที่ได้นั้นแตกต่างกัน ข้าพเจ้ามีหลักคิดอย่างหนึ่งว่า การมีพลังใจที่เต็มเปียมไปด้วยความมุ่งมั่น ความภาคภูมิใจในตนเองนั้น จะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้หลายคนก้าวถึงฝั่งฝันได้อย่างสวยงาม

การทำวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งจะสามารถนำผลที่ได้ไปช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม คนเป็นครูจะต้องมีการทำวิจัยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและวิธีการแก้ไข ตลอดจนเป็นการคิดอย่างมีเหตุผล เป็นกระบวนการขั้นตอน ซึ่งจะมีประโยชน์หลากหลายในแต่ละกลุ่มคนที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสายงานของตน

จากการอ่านบทความข้างต้นทำให้ทราบว่าการทำงานวิจัยในชั้นเรียนนั้นมีความสนุกสนานและมีความยากลำบากแต่เป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยแท้จริง ทำให้ครูผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาผู้เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีในการพัฒนาผู้เรียน มีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของนักเรียน ซึ่งงานวิจัยที่เกิดขึ้นยังช่วยพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษให้เขามีความสุข สนุกสนาน สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เมื่อนักเรียนมีความสุขสามารถมีชีวิตในสังคมได้ ก็จะสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวนักเรียนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท