"คนไร้ที่พึ่ง" "ผู้ด้อยโอกาส" และ “บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะยากลำบากหรือที่จำต้องได้รับความช่วยเหลือ” หมายถึง ใครบ้าง???


"คนไร้ที่พึ่ง" "ผู้ด้อยโอกาส" และ “บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะยากลำบากหรือที่จำต้องได้รับความช่วยเหลือ” หมายถึง ใครบ้าง???

13 สิงหาคม 2560

[1] คนไร้ที่พึ่ง

 

บุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้เป็น "คนไร้ที่พึ่ง" ตาม ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559 [รจ. 9 กุมภาพันธ์ 2559] [1]

 

มีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้

(1) บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มีความยากลำบากในการดำรงชีพ เนื่องจากเหตุหัวหน้าครอบครัวหรือบุคคลที่เป็นหลักในครอบครัว

(ก) ตาย

(ข) ทอดทิ้งสาบสูญหรือต้องโทษจำคุก

(ค) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้

(ง) ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด

(2) คนเร่ร่อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิม ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม มาอยู่ในที่สาธารณะ หรือบุคคลที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิมมาตั้งครอบครัวหรือมาใช้ชีวิตแบบครอบครัวใหม่ในที่สาธารณะ และทั้งสองกลุ่มอาจจะย้ายที่พักไปเรื่อย ๆ หรืออาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดำรงชีวิตประจำวันในที่สาธารณะนั้น ๆ

(3) บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มาทำภารกิจบางอย่างและไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเงินเช่าที่พัก

(4) บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรแต่ยังไร้สัญชาติ หมายถึง บุคคลที่ถูกบันทึกทางทะเบียนราษฎรของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มิได้รับการรับรองในสถานะคนสัญชาติโดยรัฐนั้นหรือรัฐอื่นใดที่ประสบปัญหาการดำรงชีพ

(5) บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หมายถึง คนไร้รัฐซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ได้ แต่มีเหตุทำให้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ทั้งของประเทศต้นทางและของประเทศไทยที่ประสบปัญหาการดำรงชีพ

 

 

[2] ผู้ด้อยโอกาส

 

ส่วนคำว่า "ผู้ด้อยโอกาส" (คล้ายคลึงกับ "คนไร้ที่พึ่ง") หมายถึง “ผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน และได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจสังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม ภัยธรรมชาติและภัยสงคราม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนผู้ประสบปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรหลักรับผิดชอบอันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่าเทียมกับผู้อื่น”

โดย สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีอยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้ [2]

(1) คนยากจน  หมายถึง  บุคคลที่มีรายได้ไม่เพียงพอในการใช้จ่ายเพื่อสนองตอบความต้องการพื้นฐานขั้นต่ำที่ทุกคนในสังคมควรได้รับเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ

ปี 2556 นี้กำหนดรายได้ขั้นต่ำไว้ที่ 2,422 บาทต่อเดือน หรือ 29,064 บาทต่อปี ซึ่งหากมีรายได้น้อยกว่านี้จะถือว่าเป็นคนยากจน

(2) คนเร่ร่อน/ไร้ที่อยู่อาศัย  หมายถึง  ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง กินอยู่หลับนอนในที่สาธารณะและครอบคลุมถึงคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน

(3) ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร  หมายถึง  ผู้ที่ไม่มีเอกสารหลักฐานทางทะเบียนราษฎรที่แสดงถึงชื่อ นามสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด และถิ่นที่อยู่หรือบัตรอื่นที่มีเลข 13 หลัก รวมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้

มีอยู่ 2 ประเภท คือ (3.1) คนไร้สัญชาติที่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย และ (3.2) คนไร้สัญชาติที่ไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทย

(4) ผู้พ้นโทษ  หมายถึง  ผู้ที่ได้รับการปลดปล่อยจากเรือนจำ หรือ ทัณฑ์สถานในกรณีที่ได้รับการพักการลงโทษ ลดวันต้องโทษจำคุก อภัยโทษ และได้รับการปลดปล่อยเมื่อจำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษาของศาล รวมทั้งผู้ที่พ้นจากการคุมประพฤติ

(5) ผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี (HIV)/ผู้ป่วยเอดส์ (AIDS)/ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ

(5.1) ผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี  หมายถึง  บุคคลที่มีกลุ่มอาการของโรคที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมหรือบกพร่องที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ซึ่งไม่ได้เป็นมาแต่กำหนดโดยมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Human Immune Deficiency Virus ได้เข้าสู่ร่างกายไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรค จึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ

(5.2) ผู้ป่วยเอดส์  หมายถึง  ผู้ที่ได้รับเชื้อเอดส์แล้ว และเมื่อร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือไม่มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย ทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อรามะเร็งบางชนิด เป็นต้น

(5.3) ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ  หมายถึง  ครอบครัวของผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี/ผู้ป่วยเอดส์

 

[3] บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะยากลำบากหรือที่จำต้องได้รับความช่วยเหลือ

 

ซึ่ง ตาม "ข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมายเป็นผู้รับบริการสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2555" ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 [รจ. 16 พฤศจิกายน 2555] ออกตามความใน มาตรา 13 (5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 [3]

 

เรียกว่า “บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะยากลำบากหรือที่จำต้องได้รับความช่วยเหลือ”  (คล้ายคลึงกับ "ผู้ด้อยโอกาส") รวม 13 กลุ่ม ได้แก่

(1) กลุ่มเด็กและเยาวชน

(2) กลุ่มผู้หญิง ครอบครัวและผู้ถูกละเมิดทางเพศ

(3) กลุ่มผู้สูงอายุ

(4) กลุ่มคนพิการ

(5) กลุ่มชุมชนเมือง คนจนเมือง คนเร่ร่อน

(6) กลุ่มแรงงานข้ามชาติและแรงงานต่างด้าว

(7) กลุ่มแรงงานนอกระบบ

(8) กลุ่มคนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้

(9) กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์และผู้ได้รับผลกระทบ

(10) กลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะบุคคลและกลุ่มชาติพันธุ์

(11) กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ

(12) กลุ่มผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และ

(13) กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

[1]ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 38 ง วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559, http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/buzzfile/20160309160438-518.pdf

[2]ดู นิยามและการแบ่งกลุ่มของผู้ด้อยโอกาส, http://www.thaieditorial.com/กลุ่มของผู้ด้อยโอกาส/  

& กมลชนก ขำสุวรรณ, ผู้ด้อยโอกาส : โจทย์ใหญ่เมื่อประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, วารสารมหิดล ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2555 เดือน สิงหาคม - กันยายน 2555, http://www.popterms.mahidol.ac.th/newsletter/showarticle.php?articleid=311

[3]ข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมายเป็นผู้รับบริการสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555, ราชกิจจานุเบกษา หน้า 17 - 24 เล่ม 129 ตอนพิเศษ 173 ง วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555, https://www.m-society.go.th/article_attach/1363/2081.pdf


คนไร้รากเหง้า (Rootless) และ เด็กไร้รากเหง้า เด็กกำพร้า

หมายเลขบันทึก: 633436เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2017 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2017 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

Thank you.

This is quite interesting as -- water level for 'standard of living'. And the fact that there are still amounts of money (without adjusting factor to inflation, de/valuation, market prices, regional differences...) show our lawmakers are not really livng in our communities. ;-)

Thanks for your comments.

I think like so, some lack of things & opportunity make them trouble ; the main causes, i believe, from poverty and social inequity.


สวัสดีค่ะหนูชื่อสาลี่ นามวงษา อายุ19ปีเกิด 16พย.2541

แม่หนูเสียตอนหนู4ขวบหนูไม่รู้จักญาติฝั่งแม่เลยเพราะหนูยังเด็กพ่อเสียตอนหนูอยู่ป.3หนูจบป.6ค่ะ

ออกมาทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองตอนอายุ14จนมีแฟนมีลูกตอนนี้ลูกหนู2ขวบครึ้งค่ะแฟนหนูอายุ42ทำงานคนเดียวเป็นเซลล์เงินเดือน30000เขาไม่แบ่งหนูใช้จ่ายเลยไม่มีเงินเดือนให้หนูแม้แต่บาทเดียว.ให้เวลาจะไปข้างนอก100บาทซื้อของให้ลูกกินค่ารถก็หมดเเล้วค่ะแฟนหนูกินเหล้าเก่งมากกินทุกวันเล่นบอล.เดือนของทุกเดือนพี่เขาก็ซื้อมาม่า.กับไข่มาเก็บไว้ห้องให้หนูกับลูกกิน.พี่เขาไม่เก็บตังไว้ให้ลูกเรียนหนังสือเลยเงินเดือนหมดก่อนสิ้นเดือนทุกเดือนหนูอยู่กับพี่เขามา3ปีแล้วค่ะหนูไม่มีที่ไปไม่มีญาติมีแต่น้องพ่อแม่เดียวกันน้องหนูอายุ17ทำงานร้านอาหารกลางคืนน้องหนูก็มาหาเลี้ยงตัวเองจบป.6.พี่เขาไม่สนใจหนูกับลูกเลยหนูเป็นคนเลี้ยงลูกเองค่ะ(หนูอยากไปเริ่มต้นใหม่ทำงานหาเงินแต่หนูไม่มีคนเลี้ยงลูกให้ไม่มีตังแม้แต่บาทเดียวหนูจะทำยังไงกะชีวิตต่อไปค่ะ)

เบอร์ติดต่อ0645477181

สวัสดีครับผมชื่อเดชครับ อายุ34ปี เป็นคนไม่มีสัญชาติ ถือบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ตอนนี้ได้สับสนกับชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่รู้จะไปทางไหน เพราะเป็นคนกำพร้า ไม่รู้จักญาติ ที่ผ่านมาอาศัยอยู่กับคนรู้จัก ซึ่งเขาเองยากจนช่วยเหลือผมได้ไม่มาก ตอนนี้ผมลำบากมากเลยครับ เพราะหางานรับจ้างเขาก็ไม่รับ เนื่องจากบัตรที่ผมถืออยู่หมดอายุ แต่ทางอำเภอยังไม่ต่ออายุให้ ผมจึงพึ่งพาตัวเองได้ยากมากครับ ผมจะทำยังไงดีครับ 0618416719 ช่วยผมด้วยครับ

ตอบคุณ [email protected]กรณีเป็นบุคคที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (เลข 0 กลุ่ม 00) ที่เป็น “คนไร้รากเหง้า” ซึ่งไม่ปรากฏบุพการี (พ่อแม่) หรือ ไม่สามารถติดตามหรือติดต่อบุพการีได้ ลองไปติดต่อที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ณ จังหวัดที่ตนเองถือบัตร และสอบถามเพื่อขอรับความช่วยเหลือ … กรณีบัตรหมดอายุ ก็ไปทำบัตรใหม่ (ต่ออายุบัตร) ณ สำนักทะเบียนที่ออกบัตร

อยากสอบถามครับหน่วยงานมาตรจบ้านแล้วเงินช่วยเหลือกี่วันถึงได้ครับผม

อยากสอบถามครับหน่วยงานมาตรจบ้านแล้วเงินช่วยเหลือกี่วันถึงได้ครับผม

ตอบคุณ [email protected]#ปกติระยะเวลาขั้นตอนการบริการประชาชน หากไม่มีระเบียบกำหนดก็ไม่เกิน 90 วัน หรือ ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดภัย ในกรณีวงเงินจังหวัด (เชิงบรรเทาความเดือดร้อน 20 ล้านบาทต่อทุกภัย)

หากเป็นการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องไปดูระเบียบกระบวนงานการบริการประชาชนในเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ใน “คู่มือสำหรับประชาชน : การให้ความช่วยเหลือสาธารณภัย” ว่ากำหนดขั้นตอน ระยะเวลาไว้อย่างไร

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปท. ระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือ (อย่างเร่งด่วนที่สุด) กำหนดระยะเวลาให้ความช่วยเหลือทันทีใน 1 วัน 20 นาที/ราย หรือภายใน 7 วัน (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด)

อ้างอิง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556

ดู http://www.tbl.go.th/UserFiles/File/การให้ความช่วยเหลือสาธารณภัย.docx

ยกตัวอย่างกระบวนงานเก่าของ อบต. แห่งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2556 กำหนดระยะเวลาการให้บริการประชาชนไว้ ประมาณ 16 กระบวนงาน ตามประกาศลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนฯ
ดังนี้

  1. การรับแจ้งเหตุเดือดร้อน/รับเรื่องราวร้องทุกข์ 7 วัน
  2. การให้ความช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย 30 นาที
  3. สนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค 1 วัน
  4. การขอหนังสือรับรอง 5 นาที
  5. การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ 3 นาที
  6. การชำระค่าธรรมเนียมอื่นๆ 3 นาที
  7. การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ 7 นาที
  8. การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน 7 นาที
  9. การจัดเก็บภาษีป้าย 7 นาที
  10. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ(กรณีรายใหม่) 7 นาที
  11. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร(พื้นที่เกิน 200 ตร.ม.) 7 วัน
  12. การขออนุญาตกิจการค้าน้ำมัน 15 วัน
  13. ขอแบบบ้านเอื้ออาทร 5 นาที
  14. การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน 3 วัน
  15. การขออนุญาตสิ่งปลูกสร้าง 3 วัน
  16. การขออนุญาตใช้น้ำประปา 3 วัน

หมายเหตุ ระยะเวลาการให้บริการนับเริ่มจากเอกสารครบถ้วนแล้วเท่านั้น

ต่อมามา พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ทำให้ อปท. ทุกแห่งต้องกำหนด “คู่มือสำหรับประชาชน” ระบุขั้นตอนและระยะเวลาการบริการประชาชนใหม่ทั้งหมด ตามแนวทางที่ ก.พ.ร. กำหนด

คู่มือการปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,

ศูนย์ช่วยเหลือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หน้า 110, 2561.https://drive.google.com/file/d/1GS5VoOJLpsCfLAKCwcJ5Th66zz2p5BSJ/view?fbclid=IwAR0iQOqwXG-LmRTGUQkEXhcolHpOLbLU0l_TCbSZsCyXufamnx6eS7gVp30

สวัสดีครับผมมาดารูดิง มะสะ อายุ27ปีพ่อแม่ผมเสียชีวิตแล้วครับผมแต่งงานมีลูก1คน ผช 1ปี2เดือน ภรรยาเป็นแม่บ้าน บ้านทีอาศัยอยู่บ้านของพี่สาวไม่มีห้องน้ำ ถ้าจะอาบน้ำรือเอาน้ำกอนก็ต้องเดินไปบ้านน้าอยู่แบบนี้มาหลายปีแล้วคับสู่ชีวิตไม่ท้อผมไม่มีบ้านเป็นของตัวเองฐานะยากจน กรีดยาง3-4วันได้ร้อยกว่าบาทไม่พอใช้บางทีต้องยืมเงินเพื่อนบ้านขนาดเสิ้อผ้าของเล่นลูกไม่ค่อยจะได้ซื้อ มีแต่พี่สาว น้าๆ ญาติๆบริจาคให้ อยู่ได้จนถึงวันนี้เงินอุดหนุนลูกคับ

สวัสดีครับผมมาดารูดิง มะสะ อายุ27ปีพ่อแม่ผมเสียชีวิตแล้วครับผมแต่งงานมีลูก1คน ผช 1ปี2เดือน ภรรยาเป็นแม่บ้าน บ้านทีอาศัยอยู่บ้านของพี่สาวไม่มีห้องน้ำ ถ้าจะอาบน้ำรือเอาน้ำกอนก็ต้องเดินไปบ้านน้าอยู่แบบนี้มาหลายปีแล้วคับสู่ชีวิตไม่ท้อผมไม่มีบ้านเป็นของตัวเองฐานะยากจน กรีดยาง3-4วันได้ร้อยกว่าบาทไม่พอใช้บางทีต้องยืมเงินเพื่อนบ้านขนาดเสิ้อผ้าของเล่นลูกไม่ค่อยจะได้ซื้อ มีแต่พี่สาว น้าๆ ญาติๆบริจาคให้ อยู่ได้จนถึงวันนี้เงินอุดหนุนลูกคับ

พอจะมีที่พักใหคนแก่อยู่ก่อนไหมค่ะ พอดีแม่ทะเลากับน้องหลายครั้งแล้ว ดิฉันตอนนี้ก็แย่ เดี๋ยวหางานพิเศษได้จะรับแม่มาอยู่ด้วย เพราะตอนนี้เช่าอยู่กับเพื่อน เขายังไม่ย้ายออก เลยยังเอาแม่มาอยู่ด้วยไม่ได้

พอจะมีที่พักใหคนแก่อยู่ก่อนไหมค่ะ พอดีแม่ทะเลากับน้องหลายครั้งแล้ว ดิฉันตอนนี้ก็แย่ เดี๋ยวหางานพิเศษได้จะรับแม่มาอยู่ด้วย เพราะตอนนี้เช่าอยู่กับเพื่อน เขายังไม่ย้ายออก เลยยังเอาแม่มาอยู่ด้วยไม่ได้

พอจะมีที่พักใหคนแก่อยู่ก่อนไหมค่ะ พอดีแม่ทะเลากับน้องหลายครั้งแล้ว ดิฉันตอนนี้ก็แย่ เดี๋ยวหางานพิเศษได้จะรับแม่มาอยู่ด้วย เพราะตอนนี้เช่าอยู่กับเพื่อน เขายังไม่ย้ายออก เลยยังเอาแม่มาอยู่ด้วยไม่ได้

พอจะมีที่พักใหคนแก่อยู่ก่อนไหมค่ะ พอดีแม่ทะเลากับน้องหลายครั้งแล้ว ดิฉันตอนนี้ก็แย่ เดี๋ยวหางานพิเศษได้จะรับแม่มาอยู่ด้วย เพราะตอนนี้เช่าอยู่กับเพื่อน เขายังไม่ย้ายออก เลยยังเอาแม่มาอยู่ด้วยไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท