(คุยกับตนเอง ตอนที่ 25) ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้


(คุยกับตนเอง ตอนที่ 25) ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ภายใต้ความเชื่อส่วนตัวมองว่า "คนทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเหตุถึงพร้อม" เพราะทุกคนมีศักยภาพการเรียนรู้ หรืออาจจะหมายถึงว่า การเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์มีคุณลักษณะอย่างหนึ่งคือ ความสามารถที่จะเรียนรู้และเกิดปัญญาได้ แต่จะมากหรือน้อยอาจแตกต่างกันไปตามต้นทุนเดิมของชีวิต

หน้าที่ของผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ที่นำมาสู่การใคร่ครวญในตนเองคือ มองเห็นโอกาสของการเอื้อเฟื้อการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้คน เวลาที่จัดการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลได้เคลื่อนไปอย่างเป็นธรรมชาติได้มองคนออกเป็นสี่กลุ่มดังนี้
- คนที่มีใจ หมายถึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่และทุ่มเทกายใจกล้าก้าวออกไปสู่การเรียนรู้อย่างเต็มที่
- คนที่ยังมีความลังเล กล้าๆ กลัวๆ ซึ่งในกลุ่มนี้เราสร้างให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย เขาจะกล้าก้าวโดยที่มีเพื่อน กัลยาณมิตรคอยประคอง
- คนที่หวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง หรือไม่กล้าเผชิญหน้าต่อการเรียนรู้ในสิ่งแปลกใหม่ หัวใจจะเปิดรับยาก แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเรียนรู้ได้เมื่อเขามองเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นดีได้ผลสำเร็จ แต่กลุ่มนี้จะใช้เวลานานมาก
- คนที่มีความสามารถต่อการรับรู้และปฏิเสธการเรียนรู้ทุกช่องทาง ซึ่งในกลุ่มคนนี้อาจจะไม่ต้องไปใช้พลังเคี่ยวเข็ญมากและไม่ต้องไปกังวล แต่ในการจัดการเรียนรู้ก็ต้องไม่ทิ้งเขา ปล่อยให้เขาอยู่ในบรรยากาศการเรียนรู้ไปสบายๆ รับได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถึงพร้อมของเขาเอง

ในการจัดการออกแบบการเรียนรู้ที่นำไปสู่การจัดการความรู้ในองค์กร รวมถึงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในองค์กรให้เกิดการพัฒนางานให้มีคุณภาพได้นั้น เทคนิคอย่างหนึ่งของคุณอำนวย facilitator คือ ต้องเข้าใจในคนและมองคนออก การจัดกระบวนการต้องไม่ไปเร่งให้ความรู้ เนื้อหา หรือคาดคั้นเอา information หรือ Data ใดใด หากแต่เพียงเหนี่ยวนำให้เกิดแรงบันดาลใจให้ผู้คนกล้าก้าวออกจากหลุมดำแห่งความไม่รู้เปิดประตูใจไปสู่การเรียนรู้ในวิถีของตนเองได้

ประเด็นจดจ่อและเป็นโอกาสของการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในเรื่อง UC ที่จะมีขึ้นใน สปสช.เขต 4 นี้สิ่งที่มองเห็นคือ ผู้บริหารให้ความสำคัญในเรื่องการเปิดพื้นที่การเรียนรู้แก่บุคลากรในองค์กร และมองว่าคนทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้อาจจะยากในบางคนแต่ก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้จึงค่อนข้างมีเป้าหมายชัดเจน และมีความเชื่อว่า

"เมื่อคนทำงานที่ดูแลเรื่องเงินให้ประชาชน และนำพาประชาชนให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่เป็นธรรม ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน(คนในองค์กร สปสช.) เกิดแรงบันดาลใจและมีการเปลี่ยนแปลง (Transformation) ที่นำไปสู่การพัฒนาความรู้เชิงเทคนิคและพัฒนาความรู้เชิงชีวิตเบิกบานของบุคคลากร สปสช. มีการจัดการความรู้และนำเครื่องมือต่างๆ มาพัฒนางานให้มีคุณภาพต่อเนื่องอย่างไม่หยุดนิ่ง และสามารถผลักดันกระบวนการทำงานไปสู่การเคลื่อนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้" 

#KMUC


11-08-60

คำสำคัญ (Tags): #KMUC#r2r#สปสช. เขต 4#lo
หมายเลขบันทึก: 633258เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2017 05:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2017 05:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท