เครือข่ายองค์กรชุมชนเขาหลวง


เครือข่ายองค์กรชุมชนเขาหลวง

เครือข่ายองค์กรชุมชนเขาหลวง
กับการดูแลภูเขาหลังบ้าน

จุดเริ่มต้นของเครือข่าย
     เครือข่ายองค์กรชุมขนเขาหลวง เป็นเครือข่ายที่ร่วมกัน ดำเนินงานในด้านต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ยาวนานพอประมาณ โดย เฉพาะการดำเนินงานทางด้านการอนุรักษ์ และการท่องเที่ยว โดยชุมชนมาก่อน จนทำให้มีสัมพันธ์ในการร่วมกันทำงาน มาอย่างดียิ่ง การขับเคลื่อนงานเครือข่ายองค์กรชุมชน เขาหลวงในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนกับการยกระดับการทำงาน ของเครือข่าย ให้มีทิศทางและมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นโดย การมองการทำงาน ที่ใช้เครื่องมือในการสร้างความรู้ (งาน วิจัยชาวบ้าน) มาเป็นกิจกรรมหลักในการยกระดับการ ทำงานเพื่อมุ่งสู่การใช้ความรู้ ข้อมูล มาเป็นเครื่องมือในการ ทำงาน
โดยการทำงานในครั้งนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2548 โดย ในช่วงแรกเป็นการศึกษาถึงสถานการณ์ สภาพการ ข้อจำกัด และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสมาชิกในเครือข่าย เพื่อร่วม กันถอดบทเรียนในการทำงาน วิเคราะห์การทำงานที่ผ่านมาเพื่อ นำมาสู่การปรับทิศทางในการทำงานต่อไป มีการจัดเวทีเพื่อร่วม กันกำหนดทิศทางในการทำงานที่ควรจะเป็นในอนาคต
โดยในเบื้องต้นได้เลือกทำงานร่วมกับสมาชิกของเครือข่ายที่เคยร่วม ดำเนินกิจกรรมกันมาก่อน จำนวน 10 แห่ง ซึ่งในความเป็นจริงใน พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีองค์การบริหารส่วนตำบล และ องค์กรของภาคประชาชน มากกว่านี้ การดำเนินงานในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานที่มุ่งเอา พื้นที่เป็นตัวตั้ง ด้วยเพราะว่าสมาชิกของเครือข่ายมีการใช้ ประโยชน์ร่วมกันของเขาหลวง ในรูปแบบต่าง ๆ กันอยู่แล้ว ( มีทุน ทางทรัพยากรร่วมกัน )

ทำไมถึงเป็นพื้นที่เขาหลวง
     ด้วยการเปรียบเทียบอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ว่า เป็นขุนน้ำแห่งแดนใต้ เป็นหลังคาของภาคใต้ เป็นจุดแรก เกิดของแม่น้ำตาปี คำพูดต่าง ๆ เหล่านี้ คงเป็นการตอกย้ำ อย่างดียิ่งว่า เขาหลวง มีความสำคัญต่อทุกสรรพชีวิตในโลก นี้อย่างไร แต่ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของเขาหลวง ทั้งความ หลากหลายทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ จน ทำให้เขาหลวงในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาชีพ การท่องเที่ยว การศึกษาวิจัยและอีกหลากหลาย กิจกรรม จนทำให้วันนี้ จึงมีคำถามว่า มีใคร กลุ่มไหน ที่มีภารกิจในการเฝ้าดูแลเขาหลวง อย่างจริง ๆ จัง ๆ บ้าง ด้วยเชื่อว่าลำพังเจ้าหน้าที่อย่างเดียว ไม่สามารถที่จะดูแล ภารกิจที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้ได้โดยตลอดรอดฝั่ง
      การสนับสนุนให้องค์กรชุมชนทีอยู่รายรอบ เขาหลวง ได้มีการดำเนินกิจกรรมที่มุ่งสู่การสร้างและเชื่อม ร้อยให้คนตีนเขาหลวง มารับรู้และเฝ้าระวัง ภูเขาหลังบ้าน โดยเชื่อว่าไม่มีใครรักภูเขาหลังบ้านมากกว่าคนที่อยู่ตีนเขา

บทบาท อบต. ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
     องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรที่ถูกเปรียบ เทียบว่าเป็นเสมือนกับรัฐบาลน้อยของท้องถิ่น และในขณะ เดียวกัน เสมือนกับเป็นการปรับทิศทางในการบริหารบ้านเมือง โดยการกระจายอำนาจในการปกครองมาสู่ส่วนท้องถิ่น เป็นการ สร้างการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง โดยตรงของคนใน ชุมชน การจัดการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นทั้งความหวังและทางออกของ การพัฒนาระบบการปกครองตามครรลองของระบอบ ประชาธิปไตย จึงเป็นคำถามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทุก แห่งต้องตอบคำถามให้แก่ชุมชนว่า การบริหารจัดการพัฒนา ตำบลในทิศทางใดที่จะเป็นการนำพาชุมชนให้เป็นไปทิศทางที่ ควรจะเป็นและตรงกับความต้องการของคนในชุมชน
     ด้วยภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งภารกิจ ตามตัวบทกฎหมาย และภารกิจในฐานะที่เป็นคนของชุมชน จึงทำ ให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการบริหาร งานที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังของคนในชุมชน ที่มีต่อการบริหารจัดการในการพัฒนาตำบลในทุก ๆ ด้าน ให้เป็นไปในทิศทางที่มี ความเหมาะสมและมีความถูกต้อง โดยเฉพาะการบริหารจัดการ เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนในชุมชนทุกคน

เป้าหมาย การสนับสนุน ของหน่วยประสานงานฯ
     การสนับสนุนการขับเคลื่อนงานที่มุ่งเอาพื้นที่เป็น ตัวตั้งในการทำงานครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนการทำงานใน รูปแบบของชุดโครงการวิจัย ที่มีพื้นที่ในการทำงานร่วมกัน คนมีความสัมพันธ์ต่อกัน มีความเชื่อมโยงกัน หรือที่เรียก งานวิจัยในลักษณะนี้ว่างานวิจัยในพื้นที่ ( Area Base ) โดยมี เป้าหมายในการทำงาน สนับสนุนให้องค์การบริหารส่วน ตำบล ที่มีพื้นที่อยู่รายรอบอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัด นครศรีธรรมราช จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
1. องค์การบริการส่วนตำบลกรุงชิง
2. องค์การบริหารส่วนตำบลนาเหรง
3. องค์การบริหารส่วนตำบลนบพิตำ
4. องค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์
5. องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมโลก
6. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดี
7. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ และในขณะเดียวกัน ได้ดำเนินงานร่วมกับชมรม

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่รอบอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จำนวน 3 ชมรม ได้แก่
1. ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านวังลุง
2. ชมรมอนุรักษ์ต้นน้ำคลองแซะ ( กรุงชิง )
3. ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ท่าดี

โดยการดำเนินงานในครั้งนี้ เป็นการมุ่งสนับสนุนให้ องค์กรชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อนำมาสู่การ สร้างความรู้ของชุมชน
2. เกิดการพัฒนาคนที่เข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัย เพื่อรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
3. สนับสนุนให้เกิดการนำความรู้ที่สร้างขึ้นมาสู่การ ทำงานพัฒนาในพื้นที่
4. เกิดการเชื่อมร้อยคนทำงานในพื้นที่เขาหลวง เพื่อการ ร่วมกันดูแลรักษาเขาหลวง

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม
1) เกิดแนวทางและรูปแบบในการทำงานร่วมกัน ระหว่าง สกว. กับ อบต. โดยเป็นการทำงานร่วมกันในเชิงความ ร่วมมือ โดยทาง อบต. เข้ามาเรียนรู้และนำเครื่องมืองานวิจัย ชาวบ้าน เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานในชุมชน
2) การเกิดโครงการวิจัยในพื้นที่เขาหลวง โดยใน ปัจจุบัน มีโครงการที่ดำเนินการจำนวน 4โครงการ ได้แก่
      1. โครงการจัดการฟื้นฟูป่าต้นน้ำคลองปริกอย่างมี ส่วนร่วมชุมชนท่าดี
      2. โครงการศึกษารูปแบบการจัดการขยะอย่างมี ส่วนร่วมของ อบต. ทอนหงส์
      3. โครงการศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ/วัฒนธรรมของ อบต. เขาพระ
      4. โครงการจัดทำหลักสูตรการจัดค่ายเยาวชน สิ่งแวดล้อมวังลุง/กรุงชิง       (และมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาโครงการอีก 7 โครงการ)
3) เกิดการจัดทำงบประมาณในการสนับสนุนงาน วิจัยในพื้นที่ โดยที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งงบประมาณ เพื่อสนับสนุนให้แก่โครงการวิจัย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ วิจัย โดยนำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการทำงาน
4) การจัดตั้งคณะกรรมการวิจัยระดับตำบล เพื่อที่จะ ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นในชุมชน
5) เกิดโครงการวิจัยร่วมระหว่าง อบต. ในพื้นที่ เขาหลวง โดยเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลเรื่อง ที่ดินทำกิน เพื่อนำข้อมูลมาสู่การจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน

     จากการดำเนินงานมาร่วมปีของเครือข่ายองค์กรชุมชน เขาหลวง จ. นครศรีธรรมราช เป็นการทำงานที่มุ่งหวังให้เกิดการ พัฒนาคุณภาพของสมาชิกเครือข่าย ที่เข้ามาร่วมในขบวนการ โดยการนำเครื่องมือที่เรียกว่า “งานวิจัยแบบชาวบ้าน” มาเป็น เครื่องมือในการทำงาน และในขณะเดียวกันการทำงานของ เครือข่ายในครั้งนี้ เป็นการทำงานที่มุ่งประสานความร่วมมือกับ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เหมือนกับที่พวกเราในเครือข่ายพูดว่า
วันนี้ เราทิ้งใครไม่ได้อีกแล้ว เพียงแต่ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เข้ามา ร่วมพูดคุยหารือถึงแนวทางในการทำงานร่วมกัน พวกเรายึด ถือคติที่สำคัญยิ่งว่า มีจุดร่วม สงวนจุดต่าง มาเป็นคาถาใน การทำงาน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะเกิดผล ในทางปฏิบัติขึ้นมาบ้าง แต่ยังถือว่าเป็นแค่จุดตั้งไข่ของการ ทำงานที่ยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญเยี่ยงนี้ การทำงานในครั้งนี้ เป็นการมุ่งสนับสนุนให้องค์การ
      การทำงานในครั้งนี้ เป็นการมุ่งสนับสนุนให้องค์การ บริหารส่วนตำบล เข้ามาเรียนรู้เครื่องมืองานวิจัยเพื่อ ชาวบ้าน แล้วนำไปสร้างกระบวนการในการทำงานร่วมกับ ภาคีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพัฒนาตำบล โดยการทำงาน เป็นการคาดหวังว่าจะช่วยกันสร้าง อบต. พันธุ์ใหม่ของ สังคมต่อไป

จดหมายข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2549

ที่มา :: http://www.rakbankerd.com

หมายเลขบันทึก: 63232เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท