“ขนมจีนบ้านกะหรอ” ต้นแบบวิสาหกิจชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอินเตอร์


การเติบโตของธุรกิจชุมชนทำแป้งขนมจีนแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการจัดการความรู้จากระดับชาวบ้านสู่บริษัทจำกัด สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

โรงงานเล็กๆ ในตำบลกะหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ที่ผลิตแป้งขนมจีนส่งจำหน่ายในเขตภาคใต้ จนสามารถทำกำไรได้มากกว่า เดือนละ 1 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ“บริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด” หาใช่บริษัท จำกัด ธรรมดาๆ ที่เราท่านพบเห็นกันได้ทั่วไป หากแต่ บริษัทแห่งนี้ คือต้นแบบของชุมชนไทยในการพึ่งตนเองอย่างแท้จริง เนื่องจากโรงงานแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมตัว และการระดมทุนกันเองของชุมชน ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน โดยมีนายวิโรจน์ คงปัญญา ในฐานะผู้นำชุมชน และผู้จัดการบริษัทฯ เป็นแกนนำสำคัญ มีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน มาประยุกต์เข้ากับความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่ ให้มีกรรมวิธีการผลิตเหมาะสมกับการทำอุตสาหกรรม ผลิตแป้งขนมจีนสำเร็จรูปบรรจุถุง ส่งขายมานานกว่า 8 ปี กระทั่งสร้างชื่อเสียงสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นกว่า 7,000 คน ได้มีอาชีพ พึ่งพาตนเองได้บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่




นายวิโรจน์ คงปัญญา เล่าถึงความเป็นมาของบริษัทฯว่า ได้แรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมประชุมผู้นำชุมชนภาคใต้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานในชุมชน ที่ จ.สงขลา เมื่อปี 2535 ตนจึงกลับมาคิดต่อว่าจะสร้างงานในชุมชนของตนเองอย่างไรบ้าง จึงเริ่มเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับธุรกิจชุมชนหลายแห่ง แล้วก็กลับมามองในท้องถิ่นว่าสิ่งใดคืออาชีพและเป็นความต้องการของตลาด กระทั่งพบว่า ชาวนครศรีธรรมราชนิยมกินขนมจีนกันมาก จึงมีการประชุมพูดคุยกับชาวบ้านหลายครั้งจนได้ข้อสรุปว่าจะตั้งโรงงานแป้งขนมจีนขึ้นในชุมชน




นายวิโรจน์ กล่าวว่า ช่วงแรกตั้งใจว่าจะลงทุนเพียง 1 ล้านกว่าบาท โดยใช้วิธีระดมทุนจากชาวบ้าน และองค์กรที่สนใจ แต่เอาเข้าจริงๆ ช่วงระดมทุน และวางแผนการผลิตนั้น มีการพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ศึกษาขั้นตอนการผลิต และประชุมหารือกันหลายต่อหลายครั้ง ติดต่อกัน ใช้เวลานานถึง 3 ปี ( 2535 -2339 ) แต่เมื่อระดมทุนกันจริงก็มียอดจองเกือบ 3 บ้านบาท จึงเริ่มดำเนินการสร้างโรงงาน และเมื่อดำเนินการจริง ทุนที่คิดว่ามากแล้วก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้ทุนจริงๆถึง 5 ล้านบาท ทางกลุ่มจึงได้ใช้วิธีกู้ธนาคารและระดมทุนเพิ่มเติม จนสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2539 โดยมีผู้ถือหุ้นกว่า 100 คน และองค์กรอีก 5 แห่ง ซึ่งแต่ละองค์กรมีสมาชิกอยู่เป็นจำนวนมากรวม แล้วไม่ต่ำกว่า 7,000 คน




เหตุที่ นายวิโรจน์ ต้องการให้ชุมชนได้ระดมทุนกันเอง เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมและสำนึกในความเป็นเจ้าของในกิจการร่วมกัน และการระดมทุนที่ได้มากกว่าที่ตั้งใจไว้ ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานาน เพื่อที่จะขยายแนวคิด และความเชื่อมั่นให้เกิดผู้ลงทุนร่วม แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ควรค่าแก่ความพยายาม ที่นายวิโรจน์ และชาวบ้านได้ลงมือลงแรง กระทั่งสามารถรวบรวมเอามวลสมาชิกจากหลากหลายองค์กรมาเข้ามีส่วนร่วมในกิจการของชุมชน ภายใต้เจตนารมณ์เดียวกันคือ เพื่อสร้างรายได้ ให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด 




นายวิโรจน์ เล่าต่อว่า ขั้นตอนและเทคนิควิธีในการผลิตแป้งขนมจีนนั้น ตนได้รวบรวมเอาภูมิปัญญาจากหลากหลายภูมิภาคมาประยุกต์ร่วมกัน กระทั่งเป็นกรรมวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการทำอุตสาหกรรมแป้งขนมจีน โดยเริ่มแรกได้ใช้แป้งหมักตามสูตรของภาคอีสาน ตามที่ตนได้ไปดูงานมา แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นเมื่อแป้งขนมจีนมีกลิ่นจากการหมัก ไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด ทำให้ต้องไปศึกษาสูตรจากท้องถิ่นอื่นๆ หลายแห่ง เช่นในตัวเมืองนครฯ ปากพนัง ทุ่งสง สิชล สุราษฎร์ธานี กระทั่งนำมาผสมผสานกัน ได้สูตรที่เหมะสมกับความต้องการของตลาด คือวิธี “แช่แป้งแล้วบด” ซึ่งจะใช้ข้าวสารจากลุ่มน้ำปากพนังทั้งสิ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรที่ประสบปัญหา โดยขั้นตอนการผลิตจะนำข้าวสารมาแช่น้ำไว้ 1 คืน จากนั้นนำมาเข้าเครื่องบดและร่อน ก่อนจะนำไปพักไว้ในบ่อพักอีก 1 คืน โดยเติมน้ำเกลือลงไปช่วยเพิ่มจำนวนยีสต์ และทำให้สามารถเก็บแป้งไว้ได้นาน (5 -7 วัน) จากนั้นจึงถ่ายน้ำออก นำแป้งเข้าเครื่องอัดเพื่อบีบน้ำออกอีกครั้งหนึ่ง จนได้เป็นก้อนแป้ง นำมาบรรจุพร้อมส่งจำหน่าย




นายวิโรจน์ กล่าวว่า การดำเนินการในช่วงปีแรกกลุ่มต้องประสบปัญหาขาดทุน เพราะยังไม่มีประสบการณ์ แต่เมื่อปี 2540 เราเริ่มมีประสบการณ์แล้วนำมาพัฒนา จนสามารถทำกำไรมาโดยตลอดเดือนละ ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ทำให้สามารถขยายหุ้นเพิ่มถึง 5 ล้านบาท ซึ่งในตอนแรกชาวบ้านไม่ค่อยเชื่อ ทำให้การระดมทุนเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ตอนนี้เราไม่กลัวแล้วเพราะชาวบ้านเชื่อมั่นจะเปิดโรงงานเพิ่ม ก็ระดมทุนได้ทันที




“ตรงนี้มันมีค่ามหาศาลกว่านักธุรกิจที่หอบเงินมากๆ มาลงทุน เพราะสิ่งที่เราทำมาชาวบ้านได้เรียนรู้ ได้ประสบการณ์ ร่วมกัน มันคุ่มค่ายิ่งกว่าได้กำไร เคยมีบริษัทยักใหญ่ มาขอซื้อกิจการชาวบ้าน 20 ล้าน และเสนอขอซื้อตัวผู้นำในราคาที่พึงพอใจ แต่ผมและชาวบ้านไม่ไป เพราะถ้าไปก็เป็นการทำลายขบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่อุตส่าห์ ร่วมสร้างกันมาหลายปีไปทันที” นายวิโรจน์ กล่าว  


การเติบโตของธุรกิจชุมชนทำแป้งขนมจีนแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง  นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการจัดการความรู้จากระดับชาวบ้านสู่บริษัทจำกัด สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ที่มุ่งสนับสนุนให้เกิดการสร้างและใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกรณีนี้พบว่าเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหารของชุมชนกะหรอนี้ มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ตั้งแต่แรกก่อนที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อผลิต โดยมีนายวิโรจน์ เป็นแกนนำสำคัญจุดประกายหนทางให้ชาวบ้านลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อพึ่งตนเอง แล้วคิดค้นมองหาภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์  คือการทำแป้งขนมจีน ถึงแม้ระยะแรกจะประสบปัญหาแป้งขนมจีนมีรสเปรี้ยว ก็ยังพยายามหาความรู้จากนอกชุมชน มาปรับใช้ กระทั่งได้เป็นแป้งขนมจีนสูตรเฉพาะของกลุ่มเอง รวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ก็มีความพยายามที่จะใช้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ ประกอบเข้ากับความรู้ที่ได้จากการไปดูงานตามที่ต่างๆ มาประยุกต์ ประกอบขึ้นเป็นเครื่องจักรเองได้




ทุกวันนี้ถึงแม้เครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหาร จะประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการ แต่เครือข่ายฯ ก็ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้ มีความพยายามตรวจสอบความรู้เดิมที่มีอยู่ หาข้อบกพร่องจากประสบการณ์การทำงาน แล้วนำความรู้ใหม่มาพัฒนาต่อยอดอยู่ตลอดเวลา 




ซึ่งล่าสุดเครือข่ายฯกำลังปรับปรุงเครื่องจักร ได้แก่ เครื่องกรอง เครื่องโม่แป้ง และถังนอนแป้ง เนื่องจากที่ผ่านมาชาวบ้านพบว่า มีการสูญเสียแป้งไประหว่างการผลิตเป็นจำนวนมาก ปีละกว่า 1 ล้านบาท จึงได้ขอความช่วยเหลือจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ให้มาทำวิจัยร่วมกับเครือข่ายฯ เพื่อหาทางแก้ไขเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น พร้อมกันนี้ก็กำลังวางแผนขยายตลาด โดยยังคงเน้นการขยายฐานตลาดเดิมที่มีอยู่แล้วให้กว้างขวางมากขึ้น และอีกแนวทางหนึ่งก็จะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาทิ “แป้งขนมจีนกึ่งสำเร็จรูปพร้อมบีบ” เพื่อขยายฐานลูกค้าที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการทำขนมจีน โดยจะส่งไปขายที่ ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครปฐมและกรุงเทพฯ นอกจากนี้เครือข่ายก็กำลังคิดที่จะขยายการผลิตแป้งขนมจีนในระบบแฟรนไชส์อีกด้วย




นับได้ว่ากลุ่มผู้ผลิตแป้งขนมจีนชุมชนกะหรอ เป็นกลุ่มธุรกิจชุมชนเข้มแข็งอีกแห่งหนึ่ง ที่มีสมาชิกในชุมชนเป็นผู้ถือหุ้น ร่วมเรียนรู้ประสบการณ์การทำแป้งขนมจีนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น แล้วนำมาประยุกต์เข้ากับความรู้ใหม่ที่เป็นความรู้เชิงเทคโนโลยี ผลักดันให้เกิดเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเชื่อมโยงประเด็นปัญหาเรื่องข้าวของเกษตรกรไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ที่สำคัญเครือข่ายได้มีการจัดการความรู้ของสมาชิกร่วมกัน แล้วนำมาเป็นพลังขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง และกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดนี้ก็คือเบื้องหลังความสำเร็จอย่างยั่งยืนของ “เครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ของชุมชนกะหรอ”



ที่มา http://www.kmi.or.th/document/Noodle.doc

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 63230เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากๆเลยค่ะ  อยากให้ในชุมชนเป็นแบบนี้บ้าง ให้มีผู้นำที่พัฒนาชุมชนอย่างจิงจัง  อยากให้ชุมชนของเราพึ่งพาตัวเองได้ค่ะใครมีคำแนะนำว่าต้องเริ่มต้นตรงไหน  ยังไง กรุณาให้คำแนะนำด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะ

เส้นทางสู่ธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี) เถ้าแก่หน้าใหม่ เจ้าของโรงงานผลิตเส้นขนมจีน

ขนมจีน อาหารพื้นบ้านที่อยู่คู่คนไทยมานาน ที่ผ่านมาการทานขนมจีน อยู่คู่กับประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน เมื่อมีงานบุญทุกคนก็จะร่วมตัวกันเพื่อทำขนมจีนเลี้ยงพระ และเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน วิธีการทำเส้นขนมจีนที่ให้ เส้นลื่น สะอาด ไร้สารกันบูด อยู่ได้นาน ได้คุณภาพ มาตรฐานการส่งออก ก็จะมีการแนะนำและเรียนรู้กันในหมู่เครือญาติ แต่ความต้องการของตลาดก็ยังมีอีกมาก จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เราอยากสืบสานอุตสาหกรรมครัวเรือน ณ ชุมชนบ้านไร่อ้อย ที่ทำให้เราได้รับการยอมรับในนานาประเทศ เช่น มาเลเซีย, สิงคโปร์

คุณสมบัติผู้ที่สนใจ

1. มีความสนใจและความตั้งใจจริง (มีแหล่งการเรียนรู้การผลิตให้ดูงาน)

2. อยากมีธุรกิจส่วนตัว (สามารถทำภายในครอบครัว – อุตสาหกรรมขนาดกลางได้)

3. มีงบประมาณจัดตั้งโรงงานเส้นขนมจีน ใครๆ ก็ทำได้ใช้งบหลักหมื่น

4. มีงบเงินทุนหมุนเวียนบ้างนิดหน่อย

ด้วยวิธีการที่รวดเร็วและง่าย ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องผลิตและอุปกรณ์สำเร็จรูปจำหน่ายมากมายพร้อมทั้งแป้งสำเร็จรูป จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการผสมแป้ง แป้งขนมจีนสำเร็จรูปสามารถผลิตขนมจีนได้เลย เพราะจุดสำคัญของการทำเส้นขนมจีนให้อร่อย เส้นต้องขาว สะอาด เหนียวนุ่ม ได้เนื้อขนมจีนเยอะ ก็ทำให้ผู้ผลิตขนมจีนขายได้กำไรสูง ประหยัดต้นทุน ด้วยการใช้แป้งขนมจีนสำเร็จรูป

แหละนี่ก็เป็นหนึ่งของความภาคภูมิใจที่เราได้จากการเป็นส่วนหนึ่ง ณ ชุมชนบ้านไร้อ้อย ต. ฉลุง

อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา เราหวังที่จะเห็นคุณภาคภูมิใจ ร่วมสืบสานครัวไทย สู่ครัวโลกไปกับเรา ณ ชุมชนบ้านไร่อ้อย เรายินดีแนะนำและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอความเห็นอื่นๆ

ติดต่อ คุณณยกร โชติช่วง โทร. 081-478-8778, 086-959-9878

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท