บันทึกครั้งที่3 เนื้อความในคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด กรณีศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องถอนสัมปทานเอื้อเทมาเส็ก


กรณีศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องถอนสัมปทานเอื้อเทมาเส็ก โอกาสล่วงรู้ความรับเกี่ยวกับการสื่อสารของผู้ใช้บริการ หากอำนาจบริหารจัดการตกอยู่กับบุคคลต่างด้าวอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายได้ในอนาคตและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม

สัปดาห์นี้ ผมได้รับการบ้านให้สรุปเนื้อความในคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด กรณีศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องถอนสัมปทานเอื้อเทมาเส็ก ว่ามีการกล่าวถึงบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อย่างไร

 

ก่อนอื่นคงต้องกล่าวก่อนว่าการฟ้องคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานราชการ รวม 3 แห่ง ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงคมนาคม และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  โดยผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันอาจได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้อง

 

เนื้อความในคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดกล่าวถึงบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า   เนื่องมาจากการทำสัญญาโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับทุนข้ามชาติเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ เป็นผลให้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทในเครือบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 แห่ง อันได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอวิส จำกัด (มหาชน) บริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)  ส่งผลให้นิติบุคคลต่างประเทศเข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้งกรรมการและสามารถกำหนดทิศทางการบริหารในบริษัททั้งสามแห่งได้ ซึ่งเป็นกิจการคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐและเป็นสัญญาทางปกครองในรูปแบบของสัญญาสัมปทาน โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 40 กำหนดให้เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และนอกจากนี้กรณีบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ยังมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 39 วรรคห้าของรัฐธรรมนูญ ที่เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอีกด้วย ถึงแม้ว่าในการทำสัญญาโอนหุ้นเป็นไปตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ แต่ผู้ถือหุ้นจริงส่วนใหญ่กลับเป็นนิติบุคคลสัญชาติสิงคโปร์

 

และเนื้อความในคำสั่งได้กล่าวต่อไปว่า  ด้วยการที่นิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาครอบครองกิจการดังกล่าวผ่านสัญญาโอนหุ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามละเลยต่อหน้าที่ในการตรวจสอบและยกเลิกสัญญาสัมปทานที่มีการละเมิดต่อหลักการตามมาตราที่เกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการใช้อำนาจในการยกเลิกสัมปทานถือเป็นอำนาจมหาชนหรือเอกสิทธิ์ที่หน่วยงานของรัฐมีเหนือเอกชนตามหลักการทั่วไปของสัญญาทางปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามไม่ได้ใช้เอกสิทธิ์หรืออำนาจมหาชน แต่ปล่อยให้นิติบุคคลเอกชนซึ่งดำเนินการต่างๆ บนพื้นฐานของประโยชน์ปัจเจกบุคคลมีอำนาจเหนือกว่านิติบุคคลมหาชน กรณีการละเลยปฏิบัติหน้าที่เป็นการขัดกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชนอย่างร้ายแรงและอาจส่งผลเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและในฐานะผู้ใช้บริการ

ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ทำการยกเลิกสัญญาสัมปทานทั้งฉบับกับ 3 บริษัทในเครือบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และได้ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยขอให้ทุนข้ามชาติเทมาเส็ก งดเว้นการดำเนินการหรือรับผลประโยชน์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามสัมปทานทั้งสามฉบับโดยเด็ดขาด

 

และเนื้อความตอนท้ายในคำสั่งได้กล่าวว่า  ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำฟ้องไว้พิจารณาและดำเนินการต่อไปตามรูปคดี เพราะผู้ฟ้องคดีจะอยู่ในฐานะผู้อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายได้ในอนาคตและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม แม้ว่าผู้ฟ้องคดีจะไม่ปรากฏว่าได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในขณะหรือก่อนฟ้องคดีนี้ แต่สัมปทานของสามบริษัทมีโอกาสล่วงรู้ความรับเกี่ยวกับการสื่อสารของผู้ใช้บริการ หากตกไปอยู่ในอำนาจบริหารจัดการของบุคคลต่างด้าวอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายได้ในอนาคตและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จากเวปไซด์ http://www.rakbankerd.com

สรุปลำดับเหตุการณ์ความเป็นมา  จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 26 ม.ค. - 28 ม.ค. 2549

21 มิถุนายน 2526 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และคุณพจมาน ชินวัตร พร้อมผู้บุกเบิกรุ่นแรกก่อตั้ง บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ เซอร์วิส แอนด์ อินเวสเมนท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่าย ให้เช่าและบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ของไอบีเอ็ม

27 กุมภาพันธ์ 2527 จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ เป็น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ จำกัด

5 กันยายน 2528 จัดตั้งบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือไอบีซี ขึ้นมา

24 เมษายน 2529 จัดตั้งบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์แก่กรมตำรวจและได้รับอนุญาตจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยให้ดำเนินการติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์ 900 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2533 และได้เปิดให้บริการวันที่ 1 ตุลาคม 2533

มิถุนายน 2532 บริษัท ชินวัตร ดาต้าคอม จำกัด ได้รับอนุญาตจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยให้เป็นผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลดาต้าเน็ต เป็นระยะเวลา 10 ปี

12 มิถุนายน 2533 บริษัทชินวัตรเพจจิ้ง จำกัด ได้รับอนุญาตจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้เป็นผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์ติดตามตัวโฟนลิ้งค์ ระยะเวลาสัมปทาน 15 ปี

31 สิงหาคม 2533 บริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ จำกัด ได้รับอนุญาตให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับเป็นบริษัทแรกที่เข้าตลาดฯ โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 210 ล้านบาท

11 กันยายน 2534 บริษัทชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นผู้จัดสร้าง จัดส่ง และให้บริการ ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ โดยมีอายุสัมปทานเป็นเวลา 30 ปี คุ้มครองสิทธิภายใน 8 ปี

5 พฤศจิกายน 2534 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับอนุญาตให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535

17 ธันวาคม 2536 ดาวเทียมไทยคม 1 ได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จ

7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียมไทยคม 2ได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จ

20 กันยายน 2539 บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ให้ขยายอายุสัญญาการให้บริการ จากระยะเวลา 20 ปี เป็น 25 ปี โดย ทศท. สามารถให้มีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหม่ได้

16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 ได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จ

19 กุมภาพันธ์ 2542 ขายหุ้นสามัญของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ให้แก่ พันธมิตรทางธุรกิจ คือ Singapore Telecom International Private Limited (STI) จำนวน 18 ล้านหุ้น และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นการเฉพาะเจาะจง ให้ STI จำนวน 36 ล้านหุ้นเป็นผลให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นจากร้อยละ 55 เหลือร้อยละ 40 และ STI เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 20 %

พฤษภาคม 2543 เข้าร่วมลงทุนกับ Telecom Malaysia International Sdn. Bhd. โดยถือหุ้นคิดเป็นสัดส่วน 45.59% ของทุนชำระแล้วของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (DPC) จาก บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2543 ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใน DPC ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 47.55% และเข้าร่วมลงทุนในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (iTV) โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 17% ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2543 บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใน iTV ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 39% 2534

14 พฤษภาคม 2544 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เป็น "บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)"

ตุลาคม 2545 ซีเอส คอมมิวนิเคชั่นส์ (CSC)ได้ลงนามร่วมกันในสัญญาซื้อขายหุ้น และสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทพอยท์ เอเชีย ดอทคอม (ประเทศไทย) จำกัด (PA) เพื่อควบรวมกิจการธุรกิจอินเตอร์เน็ตระหว่าง CSC กับ Loxinfo โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันให้บริการภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน คือ ซีเอส ล็อกซอินโฟ ซึ่งกระบวนการควบรวมกิจการได้แล้วเสร็จประมาณต้นปี 2546

ธันวาคม 2546 ชินคอร์ปร่วมกับบริษัทในกลุ่ม Air Asia Sdn Bhd ผู้ดำเนินการสายการบินราคาประหยัด ที่ประสบความสำเร็จในประเทศมาเลเซีย จัดตั้ง บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (TAA) ด้วยทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท ถือหุ้นโดย SHIN และกลุ่ม Air Asia Sdn Bhd ในสัดส่วนร้อยละ 50 และ 49 ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินราคาประหยัดในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ "แอร์เอเชีย" ซึ่งเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2547

ธันวาคม 2546 ชินคอร์ปและธนาคารดีบีเอส จากสิงคโปร์ ร่วมกันจัดตั้งบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด (Capital OK) ด้วยทุนจดทะเบียน 1 พันล้านบาท โดยชินคอร์ป ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 60 และ DBS ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 เพื่อดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งคาดว่า จะเปิดให้บริการในปี 2547

8 สิงหาคม 2548 ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ ได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จ

สรุปที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535  จากหนังสือพิมพ์มติชน 30 มกราคม 2549

มาตรา 246 บุคคลใดได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการใดในลักษณะที่ทำให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนทุกร้อยละห้าของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการนั้น ไม่ว่าจะมีการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์นั้นหรือไม่ และไม่ว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหลักทรัพย์นั้นจะมีจำนวนเท่าใดในแต่ละครั้ง บุคคลนั้นต้องรายงานถึงจำนวนหลักทรัพย์ในทุกร้อยละห้าดังกล่าวต่อสำนักงานทุกครั้งที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ภายในวันทำการถัดจากวันที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการนั้น เว้นแต่ในกรณีการจำหน่ายที่ไม่มีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือธุรกิจของกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด  การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด

มาตรา 247 บุคคลใดเสนอซื้อหรือกระทำการอื่นใดอันเป็นผลให้ตนได้มาหรือเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ถึงร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ เว้นแต่เป็นการได้มาโดยทางมรดก   การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการตามวรรคหนึ่งให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด ในการนี้คณะกรรมการ ก.ล.ต.จะกำหนดให้บุคคลดังกล่าวจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ก็ได้  ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดให้จัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคสอง คำเสนอดังกล่าวต้องยื่นต่อสำนักงาน และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่คระกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด

มาตรา 258 หลักทรัพย์ของกิจการที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา 246 และมาตรา 247 ด้วย(1) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว(2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้ามหุ้นส่วนจำกัด(5) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือ(6) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น(7) นิติบุคคลที่บุคคลตามมาตรา 246 และมาตรา 247 สามารถมีอำนาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล

สรุปที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 จากหนังสือพิมพ์มติชน 23 มกราคม 2549

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2549  เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม  พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมายเลขบันทึก: 63225เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เอ..ชัยวัฒน์จะต้องตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับใครหนอ ?

จำได้ไหมเอ่ย

อ่านอีกทีแล้ว ต้องวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับชิน ใช่ไหมคะ

อยากให้เพื่อนๆ มาร่วมแสดงความเห็นส่วนตัวหน่อย ว่าในใจเพื่อนๆ อยากให้เรื่องนี้ดำเนินต่อไปอย่างไร เพื่อให้ประเทศไทยมีทางออกที่ดีที่สุด หลังจากเหตุการณ์การรับซื้อสัมปทานเถื่อนที่เกิดขึ้นนี้http://gotoknow.org/blog/sirachat/63765

สำหรับกรณีศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องถอนสัมปทานเอื้อเทมาเส็ก หากวิเคราะห์ว่ามีการกล่าวถึงบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นอย่างไร นั้น

ผมคิดว่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการทำสัญญาโอนหุ้นบริษัทฯ ให้กับทุนข้ามชาติเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ เป็นผลให้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท  ส่งผลให้นิติบุคคลต่างประเทศเข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้งกรรมการและสามารถกำหนดทิศทางการบริหารในบริษัทในเครือทั้งสามแห่งได้

ซึ่งมีโอกาสล่วงรู้ความรับเกี่ยวกับการสื่อสารของผู้ใช้บริการ และอาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายได้ในอนาคต  รวมถึงอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศด้วย  จึงเป็นที่มาของการฟ้องร้องคดี

ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ถึง

1.บริษัทฯ ดำเนินกิจการคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐและเป็นสัญญาทางปกครองในรูปแบบของสัญญาสัมปทาน โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 40 กำหนดให้เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

2.เป็นบริษัทมหาชน ซึ่ง การบริหารกิจการดีหรือไม่ดี จะมีผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะคู่สัญญา

3. กรณีบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ยังมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 39 วรรคห้าของรัฐธรรมนูญ ที่เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย

จึงเป็นที่มาของการรับฟ้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ด.ต.เอกภูมิ พลศักดิ์

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 48/2550

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท