รายงานการศึกษาดูงานสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด ณ สหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด อ.พิมาย จ.นครราชสีมา


เจ้าของโครงการ  สหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้เข้าร่วมดูงาน    8 สหกรณ์ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่สหกรณ์โคนมโนนสุวรรณ จำกัด,สหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จำกัด,สหกรณ์พัฒนาประชากรและชุมชนหนองไทร จำกัด,สหกรณ์นางรอง จำกัด,สหกรณ์นิคมนางรอง จำกัด,สหกรณ์โคนมอำเภอปะคำ จำกัด ,สหกรณ์การเกษตรสตึก จำกัดและสหกรณ์การเกษตรหนองหงส์ จำกัด

สหกรณ์การเกษตรหนองหงส์ จำกัด มีผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน 5 คน

  • นายเสนอ  สงครามรอด      ตำแหน่ง เหรัญญิก
  • นายมวล   สิมาจารย์          ตำแหน่ง กรรมการ
  • นายสัญญา  พลราษฎร       ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
  • นายวุฒิไกร  ตุ้ยเขียว         ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
  • นายพิศัณย์  ศรนอก          ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การตลาด

รูปแบบการศึกษาดูงาน

  • ข้อมูลเบื้องต้นสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด
  • แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสอบถาม
  • ดูสถานที่ประกอบการจริง

กำหนดการศึกษาดูงาน     มีรายละเอียด ดังนี้

วันที่ 27 กรกฎาคม 2560

เวลา 07.00 น.     รถตู้จากสหกรณ์จังหวัดมารับที่สำนักงานสหกรณ์การเกษตรหนองหงส์  จำกัด

เวลา 08.20 น.     รับประทานอาหารเช้าที่ร้านทิวไผ่ (ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา)

เวลา 09.00 น.     ถึงสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด เข้าห้องประชุมชั้น 2

  • สหกรณ์ได้ทำการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด (ตามเอกสารแนบหมายเลข 1 และ 2)
  • แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสอบถามในแต่ละสหกรณ์ที่เข้าร่วมศึกษาดูงาน

เวลา 11.45 น.     ดูสถานที่ประกอบการจริง

เวลา 12.00 น.     รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านทิวไผ่ (ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา)

เวลา 13.00 น.     แวะชมสถานที่สำคัญ เช่น ไทรงาม และอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

เวลา 15.30 น.     เดินทางกลับสหกรณ์

 

ข้อมูลเบื้องต้นสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด (ตามเอกสารหมายเลข1)

สรุปและวิเคราะห์ได้ดังนี้

สหกรณ์โคนมพิมาย จำกัดมีจุดแข็งและจุดเด่นคือ

  • ด้านคุณค่า    มีวิสัยทัศน์และภารกิจที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาชีพพระราชทานจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สหกรณ์ได้รับรางวัลและโล่เกียรติคุณสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นหลายปีทั้งตัวองค์กร และรายบุคคลทำให้สมาชิกสหกรณ์มีความภูมิใจที่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์และได้ประกอบอาชีพพระราชทานนี้ ทำให้ก่อเกิดกระบวนการสหกรณ์ที่เข้มแข็ง และนำสู่ความพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป
  • ด้านบริหารจัดการ       มีบุคลากรที่ตั้งใจทำงานเป็นแบบอย่างของสมาชิกและมีความศรัทธาเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ได้เข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการ  ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยกันอย่างดีโดยเฉพาะ การให้ความสำคัญต่อบุคลากรเป็นหลักจะนำไปสู่ความสำเร็จของสหกรณ์ได้ (นายณรงค์ พฤษาชีพ,ประธานกรรมการฯ)
  • ด้านการนำระบบคอมพิวเตอร์    สหกรณ์ฯได้นำระบบโปรแกรมจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เข้ามาใช้ในระบบ 4 โปรแกรม (รายละเอียดตามเอกสารหมายเลข1, การนำระบบ) มาใช้อีกทั้งสหกรณ์เองมีการกำหนดให้ทำการทวนสอบบัญชีสหกรณ์ (ตรวจสอบทานสอบภายใน) ทุก ๆ 3 เดือน หรือไตรมาสโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงิน (CFSAW:SS) ปฏิบัติวิธีการเช่นเดียวกันกับที่สำนักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์เข้าตรวจตอนสิ้นปีงบประมาณทำให้สามารถปิดบัญชีได้รวดเร็วถูกต้อง 
    • อีกทั้งการตรวจสอบทานสอบทุก ๆ ไตรมาส ก็สามารถทำให้คณะกรรมการผู้บริหารได้เห็นความเคลื่อนไหวรวมไปถึงการมองเห็นความถูกต้องหรือผิดพลาดของข้อมูล แล้วสามารถแก้ไขได้ หรือเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่องไปได้ก่อนสิ้นปีบัญชี
  • ด้านการประกอบธุรกิจกับสมาชิก           สหกรณ์ประกอบธุรกิจที่เพียงพอต่อกำลังการผลิตหรือกระบวนการผลิต กล่าวคือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโคนมเช่น การรวบรวมน้ำนมดิบ ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (เช่นยาเคมี เวชภัณฑ์สำหรับโค เป็นต้น) ธุรกิจสินเชื่อ และธุรกิจบริการและส่งเสริมฯ ซึ่งการควบคุมแต่ละปริมาณธุรกิจเป็นไปอย่างเพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกดังจะเห็นได้จากอัตราส่วนของจำนวนสมาชิก จำนวนโคนม จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่อจำนวนของปริมาณการลงทุนแต่ละธุรกิจรวมไปถึง อัตราการทำผลกำไรต่อจำนวนทุน  ซึ่งโดยมากจะเป็นทุนของสมาชิกเอง (สหกรณ์ไม่ได้กู้เงินจาก ธกส.)          การให้ความสำคัญแต่ละธุรกิจเป็นไปโดยตามกำลังผลิต 
    • สำหรับธุรกิจสินเชื่อก็มีการกำหนดเงื่อนไขวงเงินกู้  หลักประกันเงินกู้ และคุณสมบัติสมาชิกที่ระบุว่าหากต้องการกู้ยืมจากสหกรณ์จะต้องมีทุนของตัวเองบางส่วน (ตามแต่ละเงื่อนไขและแต่ละปริมาณการลงทุน โดยวงเงินกู้ไม่เกิน 1,000,000 ปานกลางและระยะสั้น 60,000 บาท ) และต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 ปี จึงจะสามารถกู้ได้   ซึ่งข้อเด่นนี้ทำให้สหกรณ์สามารถควบคุมปริมาณการจ่ายเงินกู้ได้ รวมไปถึงอัตราการชำระหนี้คืนของสมาชิกอยู่ที่ร้อยละ 99.30 จากการที่ผลผลิตของสมาชิกที่สามารถขายที่สหกรณ์ในราคาที่มาตรฐานและการหักชำระหนี้ ณ จุดรับซื้อ (เป็นไปตามเงื่อนไขแต่ละราย)
    • ธุรกิจการผลิตอาหารสัตว์มีการใช้วิธีการทางแผนงานตลาด คือการสร้างจุดรับซื้อจุดเล็กรวบรวม(ทำโควต้า) ก่อนมาส่งที่สหกรณ์ โดยใช้หลักการทั่วไปในการรับซื้อจากพ่อค้ารายย่อย โดยกำหนดให้สมาชิกที่มีศักยภาพเพียงพอเป็นผู้ดำเนินการเอง (จุดรับซื้อต้องมีทุน เงิน เครื่องมือ แรงงานเอง) สหกรณ์ก็จะให้ความแตกต่างราคา แต่สิทธิ์ของสมาชิกก็ยังได้รับอยู่ เช่นการรับซื้อมันเส้นจากเกษตรกรสมาชิก และเกษตรกรทั่วไป
  • ด้านทุนและทรัพย์สิน   ดังที่จะเห็นได้ในเอกสารหมายเลข 1สหกรณ์มีพื้นที่ตั้งเหมาะสมและเพียงต่อปริมาณธุรกิจและฐานะทางการเงิน เป็นไปอย่างเพียงพอ


สหกรณ์โคนมพิมาย จำกัดมีจุดด้อยและถือเป็นอุปสรรคได้ก็คือ

  • สหกรณ์ยังไม่สามารถประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการโคนมยังไม่ครบวงจร เช่นยังไม่สามารถประกอบธุรกิจแปรรูปจากผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนมได้ ด้วยตำแหน่งในตลาดธุรกิจผลิตน้ำนมยังไม่ถือว่าเป็นเข้มแข็ง  เนื่องด้วยยังมีการแข่งขันกันสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น บ.Nestle (ประเทศไทย) , บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เป็นต้น
  • วัตถุดิบที่นำมาผลิตหรือประกอบธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ยังมีบางรายการที่ยังไม่เพียงพอต่อการผลิต เช่นรำข้าว หญ้าสำหรับโคนมเป็นต้น
  • ยังไม่มีบุคลากรทางด้านการตลาดที่เชี่ยวชาญที่จะสามารถทำให้สหกรณ์โคนมพิมาย จำกัดสามารถแข่งขันกับคู่แข่งอื่น ๆ ได้  อีกทั้งยังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากส่วนงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร
  • ขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ ๆ ที่จะมาสานต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสหกรณ์โคนมพิมาย โดยเป็นทายาทในระบบสหกรณ์เช่นบุตรหลานสมาชิก หรือบุตรหลานเกษตรกรในพื้นที่เอง 

โอกาสทางธุรกิจของสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด คือ

  • ในเบื้องต้นสหกรณ์ผลักดันตัวเองเข้าสู่ตลาดอาเซียนเป็นเบื้องต้น โดยดำเนินในลักษณะโครงการพัฒนาธุรกิจโคนมสู่ประชาคมอาเซียน AEC (ตามเอกสารหมายเลข1,สหกรณ์เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าอาเซียน AEC) โดยเน้นเป็นการผลิตที่เป็นพรีเมี่ยม คัดเลือกคุณภาพพิเศษโดยปัจจุบันกำลังเข้าสู่มาตรฐานคุณภาพGMPเพื่อให้เป็นยอมรับในระดับสากล
  • ตลาดแปรรูปก็ยังมีโอกาสอยู่เพียงแต่ยังมีอุปสรรคคือขาดบุคลากรหรือที่เชี่ยวชาญหรือขาดแผนงานทางการตลาดที่เก่ง ทำให้สหกรณ์ยังเติบโตได้ไม่เต็มที่
  • สหกรณ์เปิดช่องทางการทำธุรกิจได้เพิ่มเติมคือการซื้อโคนมมาเลี้ยงเอง แต่ก็มีปัญหาในการต่อรองราคาหรือเงื่อนไขที่ไม่เท่ากัน (สหกรณ์ใช้วิธีการชั่งน้ำหนักซื้อขาดเลยซึ่งหากซื้อมาเป็นโคที่ป่วยต้นทุนก็จะเพิ่มอัตราการทำกำไรก็จะลดลง )


แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสอบถาม

 

Q1 :  นอกจากมีรายได้การประกอบธุรกิจสหกรณ์(โคนมพิมาย) ดังที่กล่าวแล้วมีรายได้จากทางด้านอื่น ๆ บ้างไหม?

A1 :  มีรายได้จากการขายมูลโคนม มูลแห้งราคาประมาณ 1,500 บาทต่อตัน ซึ่งล่าสุดก็มีสกก.คูเมือง บุรีรัมย์มารับไป  ส่วนมูลสดก็จะมีหมู่บ้านที่มาซื้อเพื่อจัดทำปุ๋ยอินทรีย์(โครงการของหมู่บ้าน)ก็จะขายในราคาที่ถูกลง) โคนมที่ซื้อมาก็จะมีการกำหนดค่าเสื่อม หากมีการตายก็จะตัดจ่าย (ขายในราคาถูกแต่กำหนดแต่ละราย ๆ ไป )

Q2 : การรับซื้อมันเส้นมีอัตรายุบตัวหรือน้ำหนักหายไหม? มากน้อยเพียงใด?

A2 : สหกรณ์(โคนมพิมาย) ได้ทำการทวนสอบทดสอบที่โรงงานทุกสายพันธ์ ทุกลักษณะมันแล้วนำผลทดสอบกำหนดเป็นอัตราการยุบตัวและรวมไปถึงกำหนดที่น้ำหนักยุบตัว  โดยที่ผ่านมาประเมินแล้วไม่เกินที่กำหนดร้อยละ 2 ( ประมาณ 1 กว่า)  สหกรณ์จะรับซื้อเฉพาะมันเส้นซึ่งจะแตกต่างจากการรับซื้อมันหัว (โดยมันหัวก็จะเชื่อมโยงไปกับคู่ค้าที่มีโควตากับสหกรณ์ วิธีการซื้อก็กำหนดราคาตัดการยุบตัวให้กับผู้ค้ารายย่อย 2 ตัด 3 )

Q3 : สหกรณ์(โคนมพิมาย) มีการเชื่อมโยงกับสหกรณ์ระหว่างพื้นที่บ้างไหม ?

A3 : อย่างที่แจ้งเบื้องต้นก็มีสหกรณ์คูเมือง มาซื้อมูลแห้ง แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงทั้งหมด  แต่ตอนนี้สหกรณ์ต้องการจะเชื่อมโยงกับสหกรณ์ที่มีโรงสี เพื่อที่จะได้จัดซื้อรำข้าวและทำMOU ให้ชัดเจน  ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์(โคนมพิมาย)เองทำข้อสัญญากับโรงสีวิริยะ อยู่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการผลิตอาหารสัตว์  หากสหกรณ์สหกรณ์ไหนมีผลผลิตที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ก็ยินดี   

ดูสถานที่ประกอบการจริง (ตามเอกสารหมายเลข 2 )

หมายเลขบันทึก: 631798เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท