การยกร่างตัวชี้วัดสากล


หากถามว่า เราจะกำหนดตัวชี้วัดสากล จะมีกรอบแนวคิดในการดำเนินการอย่างไรบ้าง?

การดำเนินการได้กำหนดเค้าโครงกรอบแนวคิด โดยยึดกรอบและแนวคิด ของ UN และ world Justice ProJect  เป็นหลัก มีดัชนีตัวชี้วัดด้านหลักนิติธรรม (Rule of Law Index )ของ WJP  ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้ 

 ปัจจัยที่ 1 :  อำนาจรัฐไม่มากเกินไป

ปัจจัยที่ 2 : การปลอดคอรัปชั่น

ปัจจัยที่ 3 : อำนาจของรัฐมีความโปร่งใส เปิดเผยได้

ปัจััยที่ 4 : การเคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน

ปัจจัยที่ 5 : ความสงบเรียบร้อย

ปัจจัยที่ 6 : ความสามาถในการบังคับใช้กฎ กติกา ได้ดี

ปัจจัยที่ 7 : ความยุติธรรมทางแพ่ง

ปัจจัยที่ 8 : ความยุติธรรมทางอาญา

ปัจจัยที่ 9 : ความยุติธรรมที่ไม่เป็นทางการ ยุติธรรมชุมชน


ส่วนของ UN ได้มีตัวชี้วัดตามหลักนิติธรรม (Rule of Indicator)  กำหนดไว้ 4 ด้านด้วยกัน กล่าวคือ


ประการที่หนึ่ง : การทำงานดีมีคุณภาพตามบทบาทหน้าที่ (Performance)

ประการที่สอง : มีความซื่อสัตย์ เป็นธรรม โปร่งใส และ  ตรวจสอบได้ (Integrity,Transparency and Accountability)

ประการที่สาม : การเคารพสิทธิประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง (Treatment of Vulnerable Group)

ประการที่สี่ : มีสมรรถภาพ (Capacity)

 ในการดำเนินการ จะนำกรอบและแนวคิดดังกล่าว เพื่อนำมาปรับให้เข้าปรับบริบท และตัวชี้วัดของสำนักงานฯ ทั้งนี้ จะต้องดูข้อมูล สถิติ และตัวชี้วัดในแต่ละปีที่ผ่านมา มีการดำเนินการ หรือ มีตัวชี้วัดตามกรอบแนวคิดดังกล่าวหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีการแยกแต่ละประเด็น พร้อมทั้งเปรียบเทียบตัวชี้วัดที่มีอยู่ และเคยดำเนินการมาแล้วในอดีต พร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำมาสนับสนุนและมาเป็นฐานการกำหนดตัวชี้วัดด้ว ทั้งยังจะต้องคำนึงการกำหนดตัวชี้วัดที่ดี เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่

ลักษณะตัวชี้วัดที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

1.มีความสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

2.ควรแสดงสิ่งที่สำคัญเท่านั้น

3.ประกอบด้วยตัวชี้วัดด้านการเงินและไม่ใช่ด้านเงิน

4.ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่เป็นเหตุ (Lead Indicator) และผล (Lag Indicater)

5.ต้องมีบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

6.เป็นตัวชี้วัดที่องค์กรควบคุมได้อย่างน้อยร้อยละ 80

7.เป็นตัวชี้วัดที่วัดได้ และเป็นที่เข้าใจของบุคคลทั่วไป

8. ต้องเป็นตัวชี้วัดที่ผู้บริหาร และพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้

9.ตัวชี้วัดที่ดีจะต้องไม่เป็นตัวชี้วัดที่ก่อความขัดแย้งในองค์กร

การกำหนดตัวชีั้วัดแต่ละตัว จึงมีความยุ่งยากพอสมควร และนอกจากนี้จะต้องผ่านคณะทำงานชุดย่อย ชุดใหญ่ และคณะผู้บริหารอีกหลายครั้ง จนกว่าจะตกผลึก และนอกจากนี้ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ จะต้องไปทำความเข้าใจ และสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน จึงจะทำให้การดำเนินการประสบผลสำเร็จ


หมายเลขบันทึก: 631704เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2017 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2017 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท