ตัวชี้วัดระดับสากล


    ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี 2560  ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ 4.4 ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดระดับสากลด้านประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับ อส. ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีระบบการบริหาร/เครื่องมือในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ทันสมัย

     เหตุผลที่ :  เพื่อให้สำนักงานฯมีการจัดการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดระดับสากลด้านประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม มีการนำตัวชี้วัด (Indicator) หรือดัชนี (Index) มาใช้ในการติดตามสถานะการดำเนินงานตามขั้นตอนของกะบวนการยุติธรรมของประเทศต่าง ๆ โดยสถาบันหรือองค์การในระดับสากล เช่น องค์การสหประชาชาติ (United Nation - UN) และ โครงการยุติธรรมโลก (World Justice Project)

     การดำเนินการครั้งนี้ จำเป็นต้องมีคณะทำงานและมีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมทำงาน จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯขึ้น โดยมีคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อมายกร่างตัวชี้วัดดังกล่าวขึ้น

   สำหรับเกณฑ์การให้คะแนน ระดับคะแนนที่ 1:  ดำเนินการศึกษาและสรุปตัวชี้วัดระดับสากลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสำนักงานฯ  และมีความสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

     คะแนนระดับที่ 2 : จัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดที่สรุปไว้ในขั้นตอนที่ 1 และสำรวจความพร้อมของข้อมูล สารสนเทศ  ที่จะต้องใช้ประกบอการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทั้งหมด และกำหนดตัวชี้วัดเป้าหมายอย่างน้อย 10 ตัวชี้วัด เพื่อจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560

    คณะทำงานฯจึงได้มีการศึกษา และสรุปตัวชี้วัดระดับสากลขึ้น โดยศึกษาข้อมูลจากรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็นหลัก นอกจากนี้ยังศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตเลีย อังกฤษ และอื่น ๆ เพื่อมาเปรียบเทียบ และให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย

    การจัดทำตัวชี้วัดในครั้งนี้ มีปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลากร หาผูที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านนี้ มีไม่มากนัก ยังดีที่เรายังมีบุคลากรบางท่าน เคยไปปปฏิบัติงานที่  UN และ WJP มาก่อน ทำให้การศึกษาตัวชี้วัดระดับสากลง่ายขึ้น ทำให้เห็นภาพรวมของแต่ละประเทศ เขาจัดทำตัวชี้วัดในด้านกระบวนการยุติธรรมในมิติใดบ้าง

      ปัญหาด้านระบบสารสนเทศ ต้องยอมรับว่า ในการจัดทำตัวชี้วัดจะเป็นต้องมีข้อมูลสนับสนุนในการจัดทำ แต่ข้อมูลของหน่วยงาน ไม่เป็นหมวดหมู่ ไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ต่างประเทศที่กำหนดไว้ หากเราดำเนินการตามแนวทางของประเทศต่าง ๆ จะทำให้เพิ่มงานในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลให้กับบุคลากรจำนวนมาก จากการยกร่างตัวชี้วัดจำนวน 19 ตัว เพื่อคัดเลือกให้เหลือจำนวน 10 ตัว ปรากฎว่า มีตัวชี้วัดที่มีข้อมูลสนับสนุน และเป็นสถิติเบื้องต้นจำนวน 7 ตัวชี้วัดเท่านั้น ส่วนที่เหลือไม่มีฐานข้อมูล

    อีกประการหนึ่ง การจัดทำตัวชี้ของกระบวนการยุติธรรม แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน แต่ละหน่วยงาน ก็จัดทำตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจของแต่ละหน่วยงาน ขาดเป้าหมายเดียวกัน ทำให้การพัฒนามีความล่าช้า และไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และความต้องการของประชาชน

    น่าจะถึงเวลาแล้ว หน่วยงานที่ภารกิจเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ควรจะมาบูรณาการเสียที!!!

  


หมายเลขบันทึก: 631637เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2017 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2017 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท