ฟันดี กินดี อยู่ดี เพราะมี self care (๑)


กินไม่ดี  ก็อาจจะอยู่ดีได้  แต่ถ้าได้กินดีด้วย  ก็น่าจะอยู่ดีกว่า

ฟันไม่ดี  ก็อาจจะกินดีได้  แต่ถ้าฟันดีด้วย  ก็น่าจะกินดีกว่า

ฟันไม่ดี  ก็อาจจะอยู่ดีได้  แต่ถ้าฟันดีด้วย  ก็น่าจะอยู่ดีกว่า

ไม่งงใช่ไหมคะ?

^_,^

จาก  ๑๖  มิถุนายน ๒๕๖๐  ที่ไปประชุมรับฟังแนวคิดหลักของโครงการ self care  การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ  ๓  ประเด็นหลักที่ สป.สช.เขต ๘ อุดรธานี  ให้งบประมาณสนับสนุนให้ทำ  โรคเรื้อรัง  สารเคมีในเกษตรกร  และช่องปากเด็กปฐมวัย

เราเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ ๓ ช่องปาก

ถึง ๑๓-๑๔ กรกฎาคม  เป็นวันจัดกิจกรรมที่หนึ่ง  ประชุมเชิงปฏิบัติการ  

ถ่ายทอดบทเรียนการทำงานที่ดี  Self care ช่องปากเด็กปฐมวัย :

การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

บ้านพลายงาม  รพ.สต.คอกช้าง อ.สระใคร  จ.หนองคาย  </p><p>ค่อย ๆ เตรียมการมาทีละขั้นตามที่เขียนในบันทึกก่อนแล้ว  แบ่งงานตามความถนัดให้กับน้อง ๆ ในทีมอำเภอสระใครเรียบร้อย  รู้งานรู้ใจกันดี  คล่องแคล่วกันทุกคน  เตรียมเอกสารที่ต้องใช้  ทั้งในกระบวนการเรียนรู้  และด้านการเงิน … ชิลมาก  น้องอ๊อบเยอะหน่อยต้องเตรียมชุมชนหลังงานรับประเมิน รพ.สต.ติดดาว  งานชุกติด ๆ กัน</p><p>ทีมวิทยากรเองนี่แหละ  ชิลมากเกินนะคะครั้งนี้  คุยจริงจังตอน ๙ โมงเช้า  ศัพท์จากพี่ล่า BAR (before action review) เป็นระยะ  </p><p>ระยะเผาขนใช่ไหมคะคุณพี่</p><p>^_,^</p><p>ทีมวิทยากร

ทพญ.สุรัตน์  มงคลชัยอรัญญา  สำนักทันตสาธารณสุข  กรมอนามัย

ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต  สสจ.หนองบัวลำภู

ทพ.วัชรพงษ์  หอมวุฒิวงศ์  สสจ.หนองคาย

ทพญ.ธิรัมภา  ลุพรหมมา  รพ.สระใคร  สสจ.หนองคาย

น่าจะเพราะหัวหน้าทีมวิทยากรเอง  พี่สุรัตน์และทีมพี่พวงทอง  สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย  พาทำกับมือ  โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชน  ราว ๆ ปี ๒๕๔๙ (ราว ๆ เพราะเริ่มไม่แม่นละ  คุณป้า สว.) ... เบื้องหลัง  เบื้องลึก  ยาวนานมาก

โครงการสระใครวิจัยจบ ๑ หมู่บ้าน  (ขอนแก่น  หนองบัวลำภู  หนองคาย  เลย...)  ต่างพากันทำต่อเนื่อง  พื้นที่สระใครเองก็ไม่จบ 

ปี ๒๕๕๐  สถานการณ์ฟันผุในเด็กกลุ่มอายุ ๓ ปี สูงถึงร้อยละ ๖๘  เดินมา ๑๐ คน ผุราว ๗ คน  ลำดับปัญหาแล้ว  หนักสุดในทุกกลุ่มอายุ ขณะนั้น

ค่อย ๆ ติดตามนะคะ  ทำไมคณะกรรมการ service plan สาขาสุขภาพช่องปากของเขต ๘  จึงเลือกพื้นที่อำเภอสระใคร  ให้เพื่อน ๆ อีก ๘ พื้นที่ใน ๔ จังหวัด  มาประชุมเชิงปฎิบัติการที่นี่  ที่อำเภอสระใคร  หนองคาย

^_,^

^_,^

ผลประชุมถ่ายทอดการทำงานที่ดี  Self care ช่องปากเด็กปฐมวัย

ž แนะนำตัว
ž สรุปการไปเยี่ยมชมบ้านพลายงาม  หมู่ ๑๑  ต.คอกช้าง  อ.สระใคร จ.หนองคาย

     รู้สึกอย่างไร   ได้เรียนรู้อะไร

ž อสม. หนองบัวลำภู  ได้ความรู้เรื่องสมุดสุขภาพ อยากเฮ็ด เรื่องแข่ว  ไปประชุมอยู่ ไปให้ความรู้เรื่องฟัน
ž สสจ. เลย รู้สึกถึงความอบอุ่น ญาติพี่น้อง อยู่เป็นเครือญาติ การทำงานเข้มแข็ง  

น่าจะเกิดจากพี่เลี้ยง CUP เข้มแข็ง  ในชุมชนที่เข้มแข็งเอาอะไรไปใส่ก็จะเข้มแข็ง   อยากให้เกิดแบบนี้ที่บ้านตัวเอง

ž กำนัน ต.ห้วยส้ม  อ.ภูกระดึง  เลย  แต่ละภาคส่วนมีความรักสามัคคีร่วมมือกัน  หมอผลักดันให้ชุมชนรวมกัน จัดประกวด / ชุมชนมีความรักสามัคคี  

      การทำปราสาทผึ้ง จากความร่วมมือ/ วิธีสอนแปรงฟัน ผปค.เด็ก 

      เริ่มจากคนน้อยๆ   ค่อย  เพิ่ม/ นำต้นแบบไปปฎิบัติก็จะได้

ž ทันตะ รพ.วังสะพุง  เรียนรู้การทำงานชุมชนที่ดี  ทำอย่างไรจะทำแล้วเห็นผล

      คนในชุมชนรัก. ทำด้วยจิตอาสา ทุ่มเท  ผปค.ร่วมใจสุขภาพช่องปากเด็ก

ž นวก.อาคมสรรค์  ความต่างจากที่อื่น คือ ที่อื่นมีคนเก่งอยู่คนเดียว  ที่นี่ไม่เก่งคนเดียวช่วยกันทำงาน  ในเรื่องดีๆ  สิ่งเด่นที่เห็น คือ สี่ห้าเครือญาติ ช่วยกันดี แก้ไขปัญหา

      แต่น้อยๆ  มีกิจกรรมดีๆ  มีการประกวดกระตุ้น “สาม ด”  นมเป็นปัจจัยที่เกิดฟันผุ 

      ลูกคนแรกฟันไม่ผุอายุ แปดขวบ  คนที่สองอายุสี่ขวบมีฟันผุ  อาจจะเป็นเพราะคนแรกดูลูกจนแปดขวบ  แต่คนสองให้เขาแข่งกันแปรงเอง

^_,^

^_,^

ก่อนไปต่อ  ทำความแจ่มชัดความเข้าใจ self care  ของกลุ่มพวกเราก่อน  แบ่งคุยใน ๖ กลุ่ม  แล้วค่อยเสนอผล

ความหมาย Self care

ž การพึ่งตนเองด้านสุขภาพช่องปาก<p></p><p> ž(แอ๊น) การที่เรามีความรู้ เห็นความสำคัญของสุขภาพ ปัญหาในช่องปาก ดูแลเราและครอบครัวได้ถูกวิธี  พบปัญหาก็จัดการแก้ไขได้ หาทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม</p><p>ž ดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองให้ดีก่อน    แล้วขยายผลไปยังคนรอบข้าง   และมีการเฝ้าระวังในชุมชน </p>

ž เจ้าหน้าที่ถอยออกมา

ž เริ่มจากการตระหนักถึงการเอาใจใส่สุขภาพของตนเอง  เช่น แปรงฟันถูกวิธี ป้องกันฟันผุ  และช่วยแนะนำคนในครอบครัว    ให้ดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ

ž(แจ๋ว) มีหลายระดับ เบื้องต้น ดูแลตนเองได้เหมาะสมต่อเนื่อง  แปรงฟันถูกวิธี  เลือกอาหารที่เหมาะสม  พบหมอฟันทุก ๖ เดือน  การเรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อให้ได้รับความรู้ การดูแลสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ  ไม่ดื่มหรือกินอาหารอันตราย
ž ครอบครัวดูแลตัวเอง เช่น พ่อแม่แปรงฟันให้ลูก 

    หรือแปรงฟันให้ผู้ป่วยติดเตียง

ž ระดับชุมชน
ž ระดับสังคม  คือ เกิดนโยบายสาธารณะ
ž เครือข่ายขับเคลื่อนให้ชุมชนดูแลตัวเอง ได้ เช่น ผู้นำชุมชน    อสม. และหน่วยงานต่างๆ

ž ค้นหา good model จะทำให้เกิดต้นแบบ  เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพช่องปาก  ให้ดูแลตัวเองได้มากขึ้น

ž (โอ ภูกระดึง)  พูดมาคล้ายๆ กัน   ระดับบุคคล  แปรงฟันถูกวิธี  ,การรับประทานอาหาร, ตรวจฟันด้วยตนเอง  , การให้ความรู้ในการดูแลช่องปาก  

žอีกกลุ่ม  : สิ่งที่เราสามารถทำทันทีจากความรู้เดิม  หรือแนะนำกันนิดหน่อย เช่น การแปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง  หาหมออย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง  ชุมชนมีส่วนร่วม  ,  ฟันไม่ผุ 

ทพญ.สุรัตน์  เพิ่มความรู้  การพึ่งตนเองด้านสุขภาพช่องปาก

ž มองได้หลายระดับ  

ž วิธีปฏิบัติ  คือ การดูแลตนเอง   ขยายไปสู่ครอบครัว  ขยายไปถึงคนในชุมชน  (อสม.)  ขยายไปในสังคม

ž ถ้าจะพึ่งตนเอง  ต่อให้ดูแลตนเองอย่างดี แต่สังคมไม่ขยับก็ยากที่จะแก้ไขปัญหา    ถ้าที่ศูนย์เด็กและโรงเรียนดูแลไม่ต่อเนื่องก็จะเกิดปัญหา  ตัวอย่างของคอกช้าง  จะเห็นความต่อเนื่อง 

ž การพึ่งตนเองไม่ใช่แค่ทำที่บ้านเรา  ต้องไปถึงชุมชนด้วย 

    เพื่อให้สิ่งแวดล้อมโดยรอบเอื้อให้เกิดการพึ่งตนเองอย่างต่อเนื่อง 

^_,^

มี you tube  กรมอนามัยให้เปิดนับเลขตาม  ได้ขยับร่างกายบ้าง ... ดีต่อพุง  อิ อิ

เข้ากลุ่มพื้นที่  ออกแบบงานของเรา  

ž กำหนดพื้นที่ทำงาน (หมู่บ้านไหน)
ž จะทำกิจกรรมอะไรบ้าง
ž แบ่งหน้าที่ว่าใครเป็นเจ้าของ  เช่น  อสม. ทำอะไร   ผู้นำชุมชน   ท้องถิ่น    เจ้าหน้าที่  มีบทบาทอย่างไร

พรุ่งนี้  ๑๔ กรกฎาคม  ค่อยไปนำเสนอกิจกรรมในแผนดำเนินการ  ที่ห้องประชุม โรงพยาบาลสระใคร

โปรดติดตามต่อนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

ราตรีสวัสดิ์จร้า

ปากสะอาดสดชื่น  พร้อมเข้านอนละ

Bye.






ความเห็น (6)

เป็นโครงการที่ดีมาก

รักษาฟันแต่เด็กเลย

ชอบใจผ่อนพักตระหนักรู้

คุณหมอสบายดีนะครับ

ขอบคุณมากค่ะ อ.ขจิต  โครงการเริ่มจากจุดเล็กๆ ค่อยๆทำ  ค่อยๆขยายทำจนเป็นเครือข่ายค่ะ

ผ่อนพักเป็นกิจกรรมที่ทุกคนชอบค่ะ  โดยเฉพาะทีมวิทยากร มาจาก ต่างจังหวัดไกลกันนะคะ  บางคนตื่นตั้งแต่ตีสี่

ช่วงนี้งานชุกติด ๆ กันมากค่ะ  แต่ยังสบายดี  รักษาสมดุลพักผ่อน  ออกกำลังกาย (เดินเร็ว)  ดูแลอาหารเพื่อสุขภาพ

ปีนี้เฮ !!! เลยละค่ะ  ปกติดี  คลอเลสเตอรอลไม่เกินแล้ว  ลดน้ำหนักแล้วได้ผลดีจริง

อาจารย์ขจิตก็ไปตลอดเลยนะคะ  ไม่เห็นหยุดบ้างเลย

คนแก่แบบยายธี..ฟันไม่ดีปวด..เลยกินดีไม่ได้..ตอนนี้..ต้องซ่อมสังขาร..คงต้องทำครอบฟันใหม่....แล้วจะดีเหมือนเดิมไหมเนี่ยะ..แถมคงจะไม่มีจ่ายค่ากินดีต่อไป..เพราะฟันดีขึ้น..ละมัง..

แวะมาครวนครางเรื่องค่าทำฟันมันแพงจริงๆๆๆอิอิ

เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา (ฟัน) ;)...

จึงต้องสอน / ปลูกฝัง เด็ก ๆ ผู้ปกครองรุ่นใหม่  ให้ใส่ใจดูแลปากและฟันลูกหลานไงคะคุณยายธี

ใช่แล้วค่ะคุณครูเงา  พี่ ๆ สำนักทันตฯ เคยทำโปสเตอร์แนวคิดการทำงานทันตสาธารณสุขในชุมชน  โดยยึดแนวทางตามพระราชดำริในหลวง ร.๙ เข้าใจ  เข้าถึง พัฒนา

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท