R2R ศิริราช Session สำหรับหน่วยงานทางห้องปฏิบัติการ


ผมกับทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมมีความคิดเห็นตรงกันว่าบรรยากาศในการประชุมครั้งนี้เป็นกัลยาณมิตรมากๆ ทำให้คนที่เข้าร่วม relax ซึ่งผมคิดว่าเป็นอะไรที่เป็นโยชน์มากครับ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงานซึ่งพบได้ยากมากครับในจัดประชุมทุกๆครั้ง

วานนี้ที่ R2R ศิริราชเราจัดให้มีกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการพัฒนางานวิจัย R2R ในส่วนของห้องปฏิบัติการ ต้องเล่าให้ฟังก่อนครับว่าเมื่อตอนเริ่มต้นโครงการนั้น R2R ที่ศิริราชเรามุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยที่กลุ่ม Care team ซึ่งทำงานทางคลินิกเป็นหลัก ต่อมาเมื่อการทำงาน R2R ทางคลินิกเริ่มต้นไปได้สักพักเราก็เริ่มได้การร้องขอจากภาควิชาทางด้าน pre-clinic บ้าง เราก็ได้หยุดคิดทบทวนตัวเองว่าจริงๆแล้วหากวัตถุประสงค์ของโครงการ R2R นั้นเป็นเพื่อผลักดันให้มี การทำ/สร้าง/ใช้ งานวิจัยในการทำงานประจำแล้ว ก็ควรรวมไปถึงหน่วยงานทุกหน่วยงานที่มีการปฏิบัติงานประจำด้วย เมื่อคิดดังนี้เราจึงขยายการให้ทุนออกไปในส่วนนอก Care team ทางคลินิกด้วย          Session นี้จัดขึ้นสำหรับหน่วยงานทางห้องปฏิบัติการ เราเชิญบุคลากรที่สนใจสร้างงานวิจัยจากหน่วยงานภาควิชาต่างๆ ได้แก่ ภาควิชาพยาธิวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาปรสิตวิทยาและภาควิชารังสีวิทยา มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 30 ท่าน เป็นทั้งอาจารย์รุ่นเยาว์ อาจารย์รุ่นอาวุโส หัวหน้าภาควิชารวมถึงเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และ CF ของโครงการ R2R โดยเฉพาะอาจารย์วิปรซึ่งมีประสบการณ์งานทางห้องปฏิบัติการเป็นอย่างสูง และการประชุมครั้งนี้เราได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจาก ท่านอาจารย์ธาดาและอาจารย์ปรีดาเป็นอย่างสูงอีกครั้งหนึ่ง เกริ่นมาสักพักคงเห็นภาพกิจกรรมแล้วนะครับ ผมจะสรุปเป็นแนวทางเป็น AAR ดังนี้ครับ  <ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สิ่งที่ผมคาดหวังไว้: เมื่อแรกเริ่มนั้นผมความว่าจะเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการเห็นภาพของการทำงานวิจัยที่แบบ R2R ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมากที่มีท่านอาจารย์ธาดาให้คำแนะนำในประเด็น แง่มุมต่างๆ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สิ่งที่ผมได้ตามคาดหวัง: ผมคิดว่าผมได้ตามที่คาดหวังไว้ และจริงๆเกินความคาดหวังไปค่อนข้างมาก กล่าวคือมีการ share idea ในการทำงานวิจัยกันอย่างแพร่หลาย มีการช่วยกันคิดและประสานในส่วนเกี่ยวข้องให้ระหว่างอาจารย์ในต่างภาควิชากัน เช่น เมื่อบุคลากรจากภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกันเล่าเรื่องแนวคิดงานวิจัยของตัวเองเสร็จ ก็มีอาจารย์จากภาควิชาพยาธิ และจุลชีววิทยาช่วยเสริมและชวนทำงานวิจัยร่วมกัน หลังประชุมเสร็จเราทำ AAR กันผมกับทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมมีความคิดเห็นตรงกันว่าบรรยากาศในการประชุมครั้งนี้เป็นกัลยาณมิตรมากๆ ทำให้คนที่เข้าร่วม relax ซึ่งผมคิดว่าเป็นอะไรที่เป็นโยชน์มากครับ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงานซึ่งพบได้ยากมากครับในจัดประชุมทุกๆครั้ง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สิ่งที่ไม่ได้ตามที่คาดหวัง: ผมไม่มีครับ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สิ่งที่ผมจะดำเนินการต่อ: ผมว่าสำคัญที่สุดแล้วครับคือการทำงานต่ออย่างเป็นรูปธรรม จะตีเหล็กต้องตีตอนร้อนๆครับ หลายโครงการผมขอนัดวันเวลาเพื่อประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ทางคลินิกและหน่วยงาน Utilization Management เพื่อเริ่มดำเนินการวิจัยกันต่อเลยครับ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ถ้าจัดคราวหน้า: </li> <ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 72.0pt"> การจัดคราวนี้ผมขอให้จัดแบบไม่ระบุว่าใครจะนำเสนอช่วงเวลาไหน และให้เป็นไปโดยอิสระ ทั้งนี้จุดประสงค์ของผมก็คือการทำให้ผู้เข้าฟังสนใจอยู่ร่วมกันตลอด ไม่อยากให้เข้ามานำเสนอขอตนเองเสร็จ ฟัง comment บางส่วนแล้วก็เดินออกไป ซึ่งผมเข้าใจครับว่าเราทุกคนมีภาระงานประจำค่อนข้างมาก แต่ถ้าสามารถอยู่ฟัง comment หรือร่วม comment งานของผู้อื่นด้วยผมว่าน่าจะได้รับประโยชน์จากการประชุมไปอย่างเต็มที่ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 72.0pt"> ผมจะปรับเปลี่ยนเล็กน้อยสำหรับบางงานที่อยากให้มีเชิญอาจารย์ทางคลินิกเข้าร่วมด้วยผมอาจจะจัดเป็น slot เวลาที่เหมาะสมไว้ให้ด้วยครับ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 72.0pt">เป็น request ของหลายๆคนที่อยากเห็นตัวอย่างในการทำงานวิจัยรูปแบบ R2R ในห้องปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จ และอยากทราบประสบการณ์ในการทำงาน เคล็ดในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ตรงนี้ผมเห็นค่อนข้างชัดเจนเลยครับว่า ทาง ม.อ. โดยเฉพาะภาควิชาพยาธิวิทยาคงมีตัวอย่างให้ทางศิริราชได้เรียนรู้เยอะเลยครับ ยังไงก็ขอเรียนเชิญอาจารย์ปารมีและผู้ร่วมงานไว้ล่วงหน้าเลยนะครับ   </li> </ol> </ol><p>ขอบพระคุณท่านอาจารย์ธาดาและอาจารย์ปรีดาเป็นอย่างสูงครับ</p><p>ผมต้องกราบของพระคุณท่านอาจารย์ธาดาเป็นอย่างสูงที่ให้ความกรุณากับ R2R ศิริราช เรามาตลอด และขอบคุณท่านวิทยากร และเจ้าหน้าที่ของโครงการ R2R ทุกท่านที่ทำให้ session นี้ very productive และสนุกมากๆครับ</p>

หมายเลขบันทึก: 63108เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เพิ่งหาบันทึกคุณหมอพบ
  • มาสนับสนุน R2Rครับผม
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณค่ะสำหรับเรื่องเล่าค่ะ

เมื่อไหร่จะมีเรื่องใหม่คลอดออกมาอีกคะ

(^______^)

กะปุ๋ม

  • รออ่านเรื่องใหม่ครับผม
  • ขอบคุณครับ

อยากให้สอนเรื่องการทำงานวิจัย จากงานประจำ เพราะตอนนี้กำลังจะทำ แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท