โมเดล "๓ กำลัง ส."


ผมติดตามงานของแสน ธีระวุฒิ ศรีมังคละ นิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียนอยู่ไม่ขาด แม้จะพลาดไปบ้างก็เพียงเฉพาะห้วงเวลายุ่งเหยิง แต่เมื่อมีโอกาสก็จะกลับมาอ่านติดตามงานเขียนของแสนเสมอ ช่วงหลังแสนมาเขียนงานผ่านเฟสบุ๊คมากกว่า G2K เหมือนเดิม

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม แสนโพสท์งานคิดสร้างสรรค์ ที่ผมถือว่า จุดเริ่มของนวัตกรรมการสร้างกิจกรรมพัฒนานิสิตในมหาวิทยาลัยชิ้นหนึ่ง เขาให้ชื่อว่า "๓ กำลัง ส." (ใครยังไม่เคยเห็นคลิกอ่านได้ที่นี่ครับ)

ผมประทับใจแนวคิดการรวบรวมเอาประสบการณ์การนำกระบวนการเรียนรู้ของแสน มารวบรวมไว้ในลักษณะรูปลักษณะแบบนี้มาก สิ่งนี้เป็นมากกว่า "อินโฟกราฟฟิค" (Infographic) ส่วนจะเรียกอะไรดี ขอให้ผู้รู้หรือผู้ใหญ่มาให้ความหมายจะดีกว่า

ผมลองเอาแนวคิดของแสน มาเป็นโครง แล้วสวมใส่ประสบการณ์ของตนเอง เพื่อให้ได้ โมเดล "๓ กำลัง ส." ในแบบของตนเอง เพื่อจะได้บันทึกไว้เป็นเครื่องมือใช้นำกิจกรรมการเรียนรู้ในงานของผมเอง ดังภาพ


(หมายเหตุ หลายกิจกรรม เรียนรู้แบบครูพักลักจำ ส่วนใหญ่จะได้จากแสนผู้คิดโมเดลนี้ )

เป้าหมายการศึกษาของไทย บอกว่า ต้องการสร้าง "มนุษย์ที่สมบูรณ์" ที่ "เก่ง ดี และมีสุข" โดยกำหนดเป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ ๓ ด้าน (ความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ) และ ๕ สมรรถนะ (ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด ทักษะชีวิติ และทักษะทางเทคโนโลยี) และ ๕ ด้านในระดับอุดมศึกษา ได้แก่ ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านทักษะการใช้ตัวเลข เทคโนโลยี และการสื่อสาร

โมเดล "๓ กำลัง ส." นี้ เป็นการมองเป้าหมายการศึกษาไทย ในมุมของกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ แบบ "ปัญญา ๓ ฐาน" คือ ฐานกาย ฐานใจ และฐานคิด และให้ความสำคัญกับ "ความเป็นจริง" รวมถึงสิ่งที่เป็นกระแสโลก คือความ "สร้างสรรค์"

หมายเลขบันทึก: 629799เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2017 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2017 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท