การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)


อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดโอกาสแห่งความเสียหาย (Chance of Loss) หรือมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความเสียหาย (Possibility of Loss) หรือก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ (Uncertainty of Event) จนนำไปสู่การคาดการณ์ที่คลาดเคลื่อน (Dispersion of Actual Result) เราสามารถเรียกสิ่งนั้นได้ว่าเป็นความเสี่ยง หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยง ในอีกแง่หนึ่ง โอกาสที่จะทำให้เรื่องใดประสบผลสำเร็จได้ ย่อมขึ้นอยู่กับความเสี่ยงซึ่งเป็นการแปรผกผันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

เมื่อยากที่จะหลบหลีก การจัดการความเสี่ยง หรือการบริหารความเสี่ยง (Risk Managment) จึงมีบทบาทสำคัญอย่างไม่ต้องสงสัย การจัดการความเสี่ยงประกอบไปด้วยกระบวนการในการระบุเพื่อวิเคราะห์ (Risk Analysis) การประเมิน (Risk Assessment) การดูแล ตรวจสอบ และการควบคุมความเสี่ยง

ผู้เผชิญความเสี่ยง (Risk Owner) อาจมีวิธีการตอบสนองต่อความเสี่ยง (Risk Response) ภายใต้เหตุการณ์ (Risk Events) ที่เผชิญนั้นโดยการตัดสินใจไม่ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงนั้น (Risk Avoidance) การยอมรับความเสี่ยงโดยไม่มีการบริหารจัดการ (Risk Acceptance) การดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงด้วยการลดโอกาสที่จะทำให้เกิดหรือลดขนาดของผลกระทบ (Risk Reduction) และการถ่ายโอนความเสี่ยงออกไปให้ผู้อื่น (Risk Sharing) ทั้งนี้ ก่อนที่จะเลือกวิธีการใด ผู้เผชิญความเสี่ยงจะต้องตระหนักรู้ถึงความเสี่ยง (Risk Awareness) เข้าใจถึงสาเหตุด้วยการวิเคราะห์และระบุสาเหตุของการเกิด (Root-Cause Analysis) รวมไปถึงความสามารถในการประเมินระดับความเสี่ยงได้ (Risk Assessment) ทั้งนี้ ควรที่จะชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย ตลอดจนผลประโยชน์สุทธิที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวิธีการก่อนการตัดสินใจ

อ้างอิง : http://www.thanakrit.net/risk-management/

หมายเลขบันทึก: 629426เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2017 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2017 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท