(๒) สร้างเสริมเด็กปฐมวัย ๓ ดี : สูงดี ฟันดี พัฒนาการดี



รับนัดเป็นทีมผู้เหนี่ยวนำจัดกระบวนการเรียนรู้ สำหรับการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย

“สูงสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัยในชุมชน”

นำทีมผู้เหนี่ยวนำโดย ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และ ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู พ่วงหน้าที่ Note-taker มือหนึ่งและสองด้วยกันอีกด้วยนะคะ

เจ้าภาพหลักที่เชื้อเชิญ พี่จิ๋ม ทพญ.สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ซึ่งดำเนินโครงการมาหนึ่งปีแล้ว

พื้นที่ดำเนินงานนำร่อง ๙ จังหวัด ๙ อำเภอ ทีมส่วนกลางที่สมาชิกจากกรมอนามัย คือ สำนักทันตสาธารณสุข สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักโภชนาการ และกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ร่วมกับสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ ได้ออกติดตามเยี่ยมเยียนพื้นที่ดำเนินโครงการนำร่องไปแล้วหนึ่งรอบ

นัดหมายสองวันนี้ ๑-๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ที่ห้องประชุมโรงแรมเอบีน่าเฮาส์ กทม. เชิญตัวแทนสมาชิกพื้นที่ทั้ง ๙ ทีม ๆ ละ ๖ คน มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย

ช่วงเช้าได้ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ กล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ พวกเราได้รับรู้สถานการณ์สุขภาพช่องปากเด็ก ๐ - ๕ ปี และแนวทางการบูรณาการงาน ร่วมคิด ร่วมทำ ภายในกรมอนามัย และเชื่อมโยงถึงระดับเขต จังหวัด จนถึงอำเภอ และตำบล

^_,^

ชี้แจงกติกาการอยู่ร่วมกันเล็กน้อย ทุกความคิดมีคุณค่า ไม่มีถูก-ผิด

รับฟังความเห็นที่แตกต่างและพยายามเข้าใจเขา

กรุณาปิดเสียงโทรศัพท์

เริ่มทำความรู้จักกันด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยน .... ความสุขของ "ฉัน" จากการได้ทำงานร่วมกับคนอื่น

จากนั้นเริ่มแลกเปลี่ยนกลุ่มใหญ่ขึ้น สมมติสองคู่ ดอกไม้กับผึ้ง และต้นยางนากับนก รวมเป็น ๔ คน

บันทึกความรู้สึกต่อตนเอง และต่อคนอื่นหรือบรรยากาศรอบ ๆ ตัว

ลองดูตัวอย่างนะคะ ดอกไม้ประทับใจผึ้ง ผึ้งประทับใจดอกไม้ ยางนาประทับใจนก นกประทับใจยางนา

เรื่องราวประทับใจที่เพื่อนผู้ร่วมกิจกรรมอยากแบ่งปันให้ทั้งห้องใหญ่ฟัง

• พี่เลอศักดิ์ (พัทลุง) ประทับใจน้องเจน ทันตาภิบาล รพ.สต.(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ต้องขึ้นไปทำงานอาทิตย์ละ ๑ วัน ที่ รพ.(โรงพยาบาล) ได้ลงพื้นที่ ชุมชน ได้รับฟังปัญหาของชุมชน ทำงานร่วมกับคนอื่น ได้ทำงานใน ศพด. เป็นที่รักของเด็กๆ (พี่เจนของเด็กๆ)

• น้องเป้ นักวิชาการทันตสาธารณสุข รพ.สต. บ่อโพธิ์ อ.นครไทย , ประทับใจท่านรองไพบูลย์ เกษียณมาแล้ว ๔ ปี แล้วทำหน้าที่รองนายก ดูแลงาน ศพด. (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ก่อนเกษียณเป็นครู ตอนนี้ยังทำงานอยู่ ได้กลับมาช่วยเหลือสังคม ได้ดูแลเด็กๆ ลูกๆหลานๆ (อยู่อำเภอนครไทย)

• พี่พะออง (รพ.สต.หัวตะพาน) อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทอง พูดถึงน้อง ที่สามชุก เป็น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ปฏิบัติงาน มีคู่แฝด เป็น พอ. (เจ้าพนักงานสาธารณสุข) เหมือนกัน น้องประทับใจ ผอ.รพ.สต. ที่สอนงาน ให้น้องได้คิดเองทำเอง ในตำบลนี้มี ๒ รพ.สต. มีความสุขเพราะอยู่บ้านเกิด คนในชุมชนร่วมมือ รักใคร่ รู้จักน้องทุกคน มีโรงเรียนผู้สูงอายุที่เด่น เป็นที่ดูงาน ได้ทำงานสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม แผนไทย ได้งานเยอะ แต่เต็มใจที่ได้ทำงาน รักงานที่ทำ เงิน LTC (Longterm care) ยังไม่ออก

แค่เริ่มกิจกรรมแรก ความรู้สึกดี ๆ ที่ประทับใจกันและกันเริ่มหลั่งไหลมา ... ไม่ธรรมดาค่ะไม่ธรรมดา ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ น่าสนใจมากจริง

^_,^

ค้นหาความสุขร่วมของสมาชิกกลุ่ม

• การมีทีมงานที่ดี จะเป็นการช่วยเสริมพลัง สร้างพลัง เปลี่ยนจากการทำงานให้สนุกไม่น่าเบื่อ ถ้าทำทุกอย่างคนเดียวไม่มีทีมไม่มีเพื่อน ไฟจะมอด

• ประชาชนรู้สึกมีความสุขที่เราไปทำงานให้เขา

• มีการบูรณาการกับทีมงานและเครือข่าย ในกลุ่มมีบุคลากรหลากหลาย (พยาบาล ทันตาภิบาล นักวิชาการสาธารณสุข จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, ทันตแพทย์) ถ้าทุกคน ทุกทีม ทุกระดับให้ความร่วมมือกัน ก็จะมีความสุข

• ผู้บริหารและระบบ หัวหน้างาน ถ้าเขามีการรับฟัง ผู้บริหารที่ดี ใส่ใจ จะทำให้ทีมงานมีความสุข

• (เก๋ ทันตแพทย์จาก รพช.เชียรใหญ่) มีหัวหน้างานที่ดี ให้คำปรึกษา แนะนำ การทำงาน่รวมกันใน รพ.สต. มีความสุข , เพื่อนร่วมงานดี ทุกวิชาชีพมาช่วยกัน เช่น เวลามีประเมิน ทุกคนมาร่วมกันไม่แบ่งแยก การทำงานบูรณาการกับวิชาชีพอื่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รู้เรื่องการดูแลเด็ก พยาบาลก็ได้เรียนรู้เรื่องฟัน ทำให้รู้จักกันมากขึ้น

• ได้ออกชุมชนมากขึ้น มีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชนที่ไม่ใช่เฉพาะสาธารณสุข ได้รู้จัก อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) ครู อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุข) ได้พัฒนาตนเอง ได้รู้จักคนเยอะ ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

• ผอ.วีระชัย ผอ.กองการศึกษา เทศบาลตำบลช่องลม อ.ลานกระบือ กำแพงเพชร มาช้า ไม่ได้ฟังเรื่องความสุขของทุกคน แต่ได้ฟังภาพรวม คือ มีความสุขที่ได้ทำงานเพื่อส่วนรวมและชุมชน (เด็ก เยาวชน ประชาชน) ดีใจที่สำนักทันตฯ แจ้งไปให้มาร่วมงาน เป็นโอกาสดีของท้องถิ่นที่ได้ร่วมงานกับ รพ.สต. (ลานกระบือ) และสาธารณสุขอำเภอ ได้เข้าไปช่วยดูแลเรื่องพัฒนาการเด็ก เรามี ศพด.ในความรับผิดชอบของ รพ.สต.ได้ไปช่วยดูแลประเมินพัฒนาการเด็ก เรื่องฟัน ความสะอาด สอนผู้ปกครอง เมื่อก่อนไม่รู้จัก เมื่อทำงาน ศพด.ทำให้ได้รู้จัก รพ.สต. สสอ. สสจ.(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) ได้เข้าไปช่วยเหลือทุกอย่าง ได้รู้จักพี่นก ที่ศูนย์อนามัย นครสวรรค์ เป็นวิทยากรเรื่องพัฒนาการเด็ก จึงดีใจที่ได้มา จะได้กลับไปบูรณาการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อ

• สิ่งสำคัญคือการทำงานเป็นทีม ได้ทำงานร่วมกันและประสบความสำเร็จร่วมกัน

เริ่มจากความสุขหนึ่งคน สองคน สี่คน พอรวมความสุขของทุกคน ความสุขส่วนตนก็ยังมี จุดร่วมความสุขของกลุ่มก็มีเพิ่ม พลังทวีสุขเสริมกันดีจริง .... เห็นด้วยไหมคะ

^_,^

ความเข้าใจของ “ฉัน” เรื่อง “บูรณาการ”

ลองให้ทุกคนเขียนตามความเข้าใจว่า บูรณาการ เป็นอย่างไร

• บูรณาการ = +

• เอาหลายความคิด หลาย ๆ แนว หลาย ๆ สาขาอาชีพ มาทำบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน

• การทำงานแบบภาคีเครือข่าย เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน เอกชน ชมรมที่มีลักษณะแนวทางเดียวกัน ใช้แหล่งเงินเดียวกัน

• ความร่วมมือร่วมใจ ภาครัฐ เอกชน ประชาชน ร่วมใจกันทำงานใดงานหนึ่ง ในทุกภาคส่วน ช่วยคิดช่วยทำ ช่วยแก้ปัญหา ช่วยสนับสนุน และเป็นกำลังใจร่วมกัน เพื่อให้สำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้

• เอาหลายงานมาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์สูงสุด

• กระบวนการทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

• การมองการจัดการแบบใดแบบหนึ่งอย่างรอบ ๆ ด้าน

• การทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยวิธีการต่าง ๆ .... ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้ผลตอบรับอย่างคุ้มค่า

• ทำงานร่วมกันในหลายงานหลายฝ่ายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้รับการส่งเสริม ...

• การรวมหลาย ๆ อย่างและนำมาประยุกต์เป็นเรื่องเดียวกัน

• ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพเดียวกัน เป้าหมายเดียวกัน

• นำทักษะวิชาการมากกว่า ๑ เรื่อง มาทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมเดียวกัน เพื่อการแก้ปัญหา หรือแสวงหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ผสมผสานให้เข้ากัน เพื่อเข้ากับชีวิตจริง

^_,^

พี่สุรัตน์ ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา ช่วยเคลียร์ความเข้าใจของพวกเราให้แจ่มชัดขึ้น เริ่มจากคำนิยาม

หรือการบูรณาการ เป็นกระบวนการผสมผสานเชื่อมโยงองค์ความรู้ตั้งแต่ ๒ องค์ความรู้ขึ้นไปเข้าด้วยกัน อย่างสอดคล้องเป็นระบบ

ผสมผสานองค์ความรู้ในแต่ละหน่วย เช่น พัฒนาการเด็ก การให้อาหารเด็ก ฯลฯ ความรู้เหล่านี้ ให้เกิดในแค่ ๑ คน หรือในเด็กแต่ละคน

• องค์ความรู้นี้เดิมอยู่ในเจ้าหน้าที่ที่หลากหลาย หน่วยงานที่หลากหลาย

• จำเป็นต้องมองภาพร่วมกัน ต้องแบ่งปัน ให้ทุกหน่วยทราบหน้าที่ภารกิจของแต่ละหน่วย หรือผู้ปกครอง

• ปัจจุบันยังแยกกันทำ ทำอย่างไรจะทำให้เกิดภาพเดียวกัน “ทั้งหมดมันบูรณาการอยู่ที่แม่ หรือ เด็ก”

อีกตัวอย่างที่ง่าย อาหารที่คุ้นชิน เช่น ส้มตำ เป็นการบูรณาการ ระหว่างมะละกอ มะเขือเทศ พริก น้ำปลา (อาจจะปลาร้าด้วย กรณีตำลาว หรือเส้นขนมจีนด้วย กรณีตำซั่ว) มะนาว ถั่วฝักยาวฯ ผ่านวิธีการตำในครก จนได้อาหารแสนอร่อย จากส่วนประกอบหลายอย่าง


โอ๊ยโย๋ !!! เที่ยงพอดี รับประทานอาหารเที่ยงกันก่อนเถอะค่ะ

ช่วงบ่ายพบกันใหม่

สวัสดีนะคะ

^_,^

หมายเลขบันทึก: 629260เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2017 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สูงยาว เข่าดี ตีเจ็บ ;)...

แหม ... ไม่ใช่นักมวยนะคะคุณครูเงา เด็ก ค่ะ เด็กปฐมวัย จร้า ^_,^

เยี่ยมเลยจ้ะ อ้อ

เดี๋ยวเราต่อยอดจากงานนี้ไปทำงาน self care กันเนาะ

ชอบใจกิจกรรมละเอียดมาก

แต่หิวส้มตำ 555

มีซีฟู้ดมาฝากจ้าา คงพอไปได้กะตำหมักหุ่งนะจ๊ะ

จร้าพี่ฝน เข้าใจงานนี้น่าจะต่อยอด selfcare ง่ายขึ้นนะคะ ^_,^

แหม ๆ ไม่น่าเอาส้มตำมาล่อ อ.ขจิต เลยนะคะ อิ อิ

น่ากินมากค่ะ ขอบคุณนะคะคุณมะเดื่อ หิวมื้อดึกเลยเนี่ย ... อันตราย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท