นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ร่วมเสริมพลังที่โรงเรียนหนองพอกวิทยายน : PLC PBL จิตศึกษา


จุดเด่นของโรงเรียน ผู้อำนวยการมีภาวะความเป็นผู้นำ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง - เป็นโรงเรียนประชารัฐ มีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต จอโทรทัศน์ สื่อพร้อมทุกชั้นเรียน - คุณครูแม้จะมีความกังวลใจมากมาย แต่ก็ให้ความร่วมมือ และยอมทดลองเปลี่ยนแปลงทั้งโรงเรียน

บันทึกวันที่ 27 พฤษภาคม 2560

วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ณ โรงเรียนหนองวิทยายน อ.ดอนจาน ได้นัดหมายกับ ครูอ้อ ครูนุ่ม และ ท่าน ผอ.ธีระพงษ์ ว่าจะขอไปเยี่ยมโรงเรียนเพื่อที่จะไปแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่โรงเรียนเปลี่ยนแปลงการสอนทั้งระบบ

โรงเรียนหนองพอกวิทยายน และ โรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ อ.ดอนจาน ทั้งสองโรงเรียนอยู่ใกล้กันและจับมือเป็นพันธมิตรกันในการจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา

เป้าหมายวันนี้

1. ไปเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. ตั้งใจจะชวนเครือข่ายไป ร่วม Empowerment ที่โรงเรียนหนองพอกวิทยายน .. นายอุทัย แก้วกล้า (ประธานสภาพัฒนาการศึกษา) นายสุรเดช เคราะห์ดี (กรรมการศึกษาธิการจังหวัด) ดร.กิตติพร อินทสีดา (อนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด) นายทรงเดช ก้อนวิมล (อนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด) ดร.นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย และคณะศึกษานิเทศ ดร.ปราโมทย์ พลราชม (ผู้อำนวยการโรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์) พร้อมคณะครู ผอ.เกรียงศักดิ์ ดอนไพร (ผู้อำนวยการโรงเรียนสะอาดไชยศรี)พร้อมคณะครู

กิจกรรมในวันนี้

- พอคณะพวกเราลงรถตู้ เพื่่อเข้าห้องประชุม ในวันนี้ ในห้องประชุมก็มี คณะครูและผอ.ร.ร.สะอาดไชยศรี ยกครูทั้งโรงเรียน มาขอเข้าสังเกตการณ์ ประมาณ 5 คน และ คณะจากดงพยุง โดยท่าน ผอ.ปราโมทย์ จำนวน 3 คน
- ท่าน ผอ. แจ้งว่า เยี่ยมชมชั้นเรียน ก่อน แล้วค่อยเข้ามาในห้องประชุม
- โดยภาพรวมคือ พวกเราเดินดูชั้นเรียน การจัดการเรียนการสอน และ มารับฟังการบรรยายสรุป จาก ผอ.โรงเรียน , ครูตัวแทนช่วงชั้น (การออกแบบเหมือนการมาศึกษาดูงานนิด ๆ )

ขอสรุปจากการรับฟังการบรรยาย


ผอ.ธีระพงษ์ : เส้นทางการพัฒนาเกิดขึ้นจากการจุดประกายจากศึกษานิเทศก์ เขตพื้นที่การศึกษา ได้เชิญไปเข้าร่วมกิจกรรรมในโครงการ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่สวนดอนธรรม ประมาณ 3 ครั้ง และ ได้รับแรงหนุนเสริมจากองค์การ Action Aids ให้ไปอบรมหลักสูตร True Leader8 จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.ศรีสะเกษ หลังจากนั้น จึงได้ตัดสินใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน ( จากคำบอกเล่าครู แจ้งว่าท่านมาถามก่อนจะเปลี่ยนไหม เสียงส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยน แต่ท่านขอร้องว่า อีก 2 ปีจะเกษียณอายุราชการ ขอให้คณะครูให้ความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนแปลง ..เมื่อผู้นำแจ้งเป้าหมายชัดเจน ทำให้ครูทั้งโรงเรียน (จำต้อง) ปรับกระบวนทัศน์การเรียนการสอน โดยท่าน เล่าว่ามีกระบวนการพัฒนา ดังนี้

1. พัฒนาครูทุกคนที่จัดโดย สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 ร่วมกับ องค์การ ActionAid ณ สวนดอนธรรม อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ในวันนั้น มีครู ต๋อย จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มาทำกิจกรรม

2. ได้รับการหนุนเสริมจาก องค์การ ActionAid ให้ คณะครูทุกคน ไปศึกษาดูงาน ร.ร.บ้านปะทาย อ.กัณทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ (กระบวนการนี้ เกิดจากการเสนอเพื่อให้ ร.ร.ขับเคลื่อนไปได้จาก ศึกษานิเทศก์ นุชรัตน์ และ กชพร โดยให้เหตุผลว่า โรงเรียนจะเปลี่ยนแปลง ควรให้เขาให้เห็นภาพก่อนว่าจะเปลี่ยนอย่างไร)

3. เข้าร่วมการพัฒนา ร่วมกับ โรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ (บัดดี้การขับเคลื่อน) โดยมีวิทยากรจากบ้านปะทาย (คณะใหญ่มาก) มาช่วยทำความเข้าใจ เกี่ยวกับแผนบูรณาการ PBL จิตศึกษา

กระบวนการทั้ง 1 – 3 ดำเนินการช่วงปิดภาคเรียน


ท่าน ผอ.ธีระพงษ์ อธิบายว่า มีการทำ PLC กันหลายครั้ง กว่าจะได้ตารางสอนออกมาและตกลงกันที่จะทดลองใช้แผนของลำปลายมาศพัฒนาไปก่อน แต่ ครูก็ได้มีการคุยกันในแต่ละช่วงชั้น ในการทำงาน การทำงาน ก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก แต่จะลองทำดู


ความแตกต่าง . คือ . มีชิ้นงานเด็กมากขึ้น และ ชัดเจนว่า มาจากหน่วยการเรียนรู้ใด .


คุณครู นรินทร (ป.1) ท่าน อธิบายเกี่ยวกับการ จัดกิจกรรม น้อยมาก แต่จับประเด็นได้ว่า ท่านใช้แผนจาก ลำปลายมาศ ฯ จัดกิจกรรมไปแล้วประมาณ 10 ครั้ง ก็รู้สึกยังไม่มั่นใจ (การพูดจะตรงกันข้ามกับการปฏิบัติถ้าไม่เห็นชั้นเรียน จะนึกว่า คุณครู ไม่สอนเลยค่ะ ในชั้นเรียนมีชิ้นงานผลงานเด็กเยอะมาก)



วิชา PBL เรื่องประเพณีพื้นบ้าน เด็กๆ อยากเซิ้ง ขบวนบั๊งไง .จัดการค้นหา Youtube และฝึกด้วยตนเอง ทำเองหมด


คุณครูชั้น ป.2 (ขออภัยจดชื่อไม่ทัน) บอกว่าใช้แผนลำปลายมาศ รู้สึกกังวลใจมาก เคยสอนเป็นวิชา (5 วิชา สังคม พลศึกษา วิทยาศาสตร์ การงาน และศิลปะ) เน้นเนื้อหา แต่ตอนนี้ ไม่ให้ยึดแบบเรียน แต่ให้ครู และนักเรียนค้นคว้า จากที่ต่างๆ มาสอน รู้สึกเครียดมากและไม่สบายใจ แต่รู้สึกปลดล็อค เมื่อ ผอ.ร.ร.บอกว่า ไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะไม่ได้หนังสือ ให้ได้กระบวนการก่อน สิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลง ชัดเจนคือ กลุ่มเด็กพิเศษ ประมาณ 3-4 คน ที่ไม่ชอบเรียนหนังสือ ทุกวันตอนบ่าย จะออกไปวิ่งเล่นสนาม แต่หลังจากมีการปรับตารางสอนเป็นแบบ PBL ตอนเช้าที่เป็นวิชาหลักเด็กๆ ก็ทำกิจกรรมกับเพื่อน และ รอคอยที่จะถึงช่วงบ่าย เพราะเขารู้สึกว่ามีอิสระและปลดปล่อย ..และไม่ได้เกิดเฉพาะกลุ่มนี้กลุ่มเดียว แต่เป็นทั้งชั้นเรียน (แต่ครูก็กังวลว่าเด็กจะไม่ได้หนังสือ) คุณครูก็มีการปรับแผน ให้เหมาะกับบริบท ครูอธิบายว่า เช่น งานประเพณี รร.ลปม จะนำมาทั้งประเทศไทย แต่ครูปรับให้เหลือ ในท้องถิ่น เป็นต้น


ครูสุพรรณ (ป.6) ใช้ แผนฯ จาก รร.ลำปลายมาศ และเข้าใจการจัดกิจกรรม โดยเริ่มจาก ให้เด็กเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัว ปัญหา และ เรื่องที่เด็กรู้แล้ว และอยากรู้ (คุณครูสุพรรณอธิบายขั้นตอนการสอนได้ละเอียดดีมาก ขออภัยบันทึกได้ไม่ครบถ้วน)

ครูศักรินทร์ (ม.1-3) ในระยะแรก เด็กๆ มาถามว่า วิชาหนูหายไปไหนหมด ครูต้องมากาง หลักสูตรบูรณาการให้เด็กดูว่า ไม่ได้หายไปไหน อยู่ในวิชา PBL ตอนนี้ เด็กเริ่มเข้าใจแล้ว (ครูนุ่มพูดน้อยมาก แต่คิดว่า คงอยู่ในระยะการปรับตัว ครูนุ่มก็เป็นเรี่ยวแรงสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ร่วมกับ ครูอ้อ (ครอบครัวเดียวกัน) )


ครูเบญจมาศ ทำกิจกรรมจิตศึกษา (ตามความเข้าใจ) เพราะครูบอกว่ายังไม่เคยไปอบรม
แต่ทำความเข้าใจเอง และจากการศึกษาเอกสาร ที่ผอ.รวบรวมให้
เด็กๆ อาจจะยังไม่นิ่ง และ ยังไม่รู้จักการอดทน และรอคอย ..แต่คุณครูสุดยอดค่ะ ทั้งนำเสียง และท่าทาง อีกนิดเดียวค่ะ


ผอ.ธีระพงษ์ ลงมือรวบรวม และ ยัง write CD แจก ผอ.ดงพยุง , ผอ.สะอาดไชยศรี


แบบบันทึก PLC


ไม่เคยทำ แต่ลองบันทึก PLC ทำได้ดีมากค่ะ ผอ.เปรยว่า ได้ยินว่าจะมี logbook อีก ชักจะเริ่มหนักใจ


กลุ่มผู้เข้ามาร่วม Empowerment

นายสุรเดช เคราะห์ดี (กรรมการศึกษาธิการจังหวัด)


นายอุทัย แก้วกล้า (ประธานสภาพัฒนาการศึกษา)


ดร.กิตติพร อินทสีดา (อนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด)


นายทรงเดช ก้อนวิมล (อดีต กศจ. และ ตัวแทนจากองค์กร Action Aids) ศน.นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย ผอ.เกรียงไกร ร.ร.สะอาดไชยศรี


ชื่นชมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวครู และผู้เรียน ยิ่งใหญ่มาก
ศน.อังคณา ภารสวัสดิ์


ผู้บริหารโรงเรียน กล้าที่จะแปลงเป็นเรื่องที่ไม่ได้เจอบ่อย
ศน.นิพพิทา กุลชิต


ครูทนัน คำภา ผู้ที่กำลังจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ร่วมกับ ผอ.โรงเรียนสะอาดไชยศรี



คณะพวกเราได้ช่วยกันสะท้อนและให้กำลังใจ ว่า โรงเรียนมาถูกทางแล้ว ให้พยายามทำต่อไป


จุดเด่นของโรงเรียน

ผู้อำนวยการมีภาวะความเป็นผู้นำ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง - เป็นโรงเรียนประชารัฐ มีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต จอโทรทัศน์ สื่อพร้อมทุกชั้นเรียน - คุณครูแม้จะมีความกังวลใจมากมาย แต่ก็ให้ความร่วมมือ และยอมทดลองเปลี่ยนแปลงทั้งโรงเรียน

หมายเลขบันทึก: 628877เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ ผมชอบที่สุด ตอนที่อาจารย์พบว่า หากไม่ได้ไปดูที่ห้องเรียนของครูนรินทร จะเข้าใจไปในทางตรงกันข้าม ... ทำให้ผมระลึกขึ้นในใจว่า ... การทำงานขับเคลื่อนต่อไป ต้องทำให้รอบครอบ ระมัดระวังแบบนี้ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท