วัน แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว +หมวกกันน็อค โลกของฉันกับเธอ


เนื่องในวันแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

ขอกราบขอบพระคุณแพทย์fammed ที่เคารพรักทุกๆท่าน ที่กรุณาต่อลูกศิษย์คนนี้


แรงบันดาลใจ ที่สนใจหลักเวชศาสตร์ครอบครัว

ประสบการณ์ การดูแลสุขภาพช่องปาก คนพิการผู้ป่วยซับซ้อน โรคเรื้อรัง โรคร้าย ต่อเนื่อง

กรณีศึกษา 1 หมวกกันน็อค โลกของฉันกับเธอ




สิบก่วาปีที่แล้ว แผนกฉุกเฉิน จะตามหมอฟัน.... น้อง เป็นโรคลมชัก และมีปัญหาเรื่องสติปัญญา กินข้าว ช่วยตัวเองได้บ้าง ปกติ รับยาที่ โรงพยาบาล มาบ้างไม่มาบ้าง บางทีชักมีเลือดออกจากปากมาก พยาบาลก็จะมาตามไปช่วยดูที่ ERบ้าง บางครั้งได้ admitt

น้องกินยาdilantin เหงือกบวมโตจนปิด occlusal ,inciscal น้องกินได้แต่ของอ่อนๆ ส่งต่อไป รพ.จังหวัด ครอบครัวน้องก็ไม่ไป ไปปรึกษาแพทย์ขอเปลี่ยนยาได้ไหม แพทย์บอกว่า คุมความดันไม่ได้ขนาดนี้ ไม่เปลี่ยนหรอก การเปลี่ยนยาเป็นเรื่องใหญ่มากของแพทย์

ไม่รู้จะทำไง .....บังเอิญ ได้ยินมาว่า การเยี่ยมบ้านเป็นวิธีการที่ดี .......ยังไม่ค่อยเข้าใจการเยี่ยมบ้านคืออะไรต้องไป ทำไม ..............แต่คิดว่า รายนี้ ที่ต้องการการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน ไปเยี่ยมบ้านก่อน

ทีมทันตบุคลากรไปเยี่ยม...กลับมาเล่าสู่กันฟังทั้งน้ำตา

น้องผู้ชาย 17 ปีไม่ใส่เสื้อผ้า ล่ามโซ่ มัดมือไว้ ไว้หน้าห้องน้ำ พื้นเปียกแฉะน้ำเป็นสีดำ มีทั้งร่องรอย ปัสสาวะ อุจจาระ และใส่หมวกกันน็อค .....

ใส่ด้วยความรัก อยู่คนเดียว ไม่มีใครเฝ้า ถ้าชักมา หัวบาดเจ็บจะอันตราย , ไม่มีคนดูแล กลัวเดินออกไปรถชน


เราช่วยเขาอย่างถึงที่สุดตามศักยภาพของเราหรือยัง... พระราชดำรัส ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์พค.2557



หมวกกันน็อค หนึ่งใบ กับคำถามที่ติดอยู่ในใจ ในฐานะ....หมอฟัน........

เป็นแรงบันดาลใจ อีกมุมมองหนึ่งสำหรับชีวิตหมอฟันชุมชน หมวกหนึ่งใบ ชีวิตคนหนึ่งคน ปรับชีวิตการทำงานของหมอฟันเล็กๆหนึ่งคน ไปอีกมากมาย

เรียนรู้ เข้าใจความทุกข์....... เข้าใจคน เข้าใจตน

note

๑.โลกของฉันกับเธอ .....โลกของเราอาจใกล้กันมากขึ้น ด้วยการ “เยี่ยมบ้าน”

๒. โรคกับความทุกข์ สุขภาพกับชีวิต .................สุขภาวะคืออะไร แค่ไหน สำหรับผู้ป่วยรายนี้

๓..ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยด้วยข้อจำกัดต่างๆเช่น ด้านสภาพร่างกายสติปัญญา การเรียนรู้ แต่บางครั้งโดยศักยภาพของครอบครัว ทีมสุขภาพเป็นทีมหนึ่งที่อาจมีบทบาท เรียนรู้กับ ผู้ป่วยและครอบครัว ตั้งเป้าหมายร่วมกัน .....เช่น ถ้าสามารถเรียนรู้ ภาวะเสี่ยงจากโรค การใช้ยา จากอันตรายของสุขภาพช่องปากต่อสุขภาพต่อโรค การดูแลและเฝ้าระวังเบื้องต้น การจัดการเมื่อมีปัญหา หรือหมวกกันน็อค ....ตอนหลังมา พึ่งทราบว่า มีหมวกทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยแบบนี้ ใส่สบายกว่า นอนได้

๔.คนไข้ on Dilantin หรือยาอื่นที่มี รายงาน เหงือกบวมโต ..กลุ่มงานเภสัชฯเฝ้าระวัง ซึ่งปกติดูแลด้านความปลอดภัยและภาวะแทรกซ้อนด้านการใช้ยาอยู่แล้ว หากจ่ายยา ตรวจในสมุดประจำตัว/ประวัติประจำปี มีรายงานการตวจช่องปากไหม หรือเภสัชสามารถตรวจช่องปากอย่างง่ายๆดูว่ามีเหงือกบวมโตไหม มีช่องปากที่สกปรกมากไหม ที่อาจเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคเหงือกมากขึ้นได้

๕.ในข้อตกลงของคลินิกโรคเรื้อรัง ซึ่งพยายามคุยกันเรื่อยๆ ..ช่วย ตรวจคัดกรองเหงือบวมโต หรือ สภาพความจำเป็นเร่งด่วนในการเข้าถึงบริการทันตกรรม เขียวเหลืองส้มแดง ( เหงือกโต บวมมากถือว่าเป็นระดับสีแดง ต้อง ประสาน ส่งต่อให้ได้พบทันตแพทย์ทันที )

หมายเลขบันทึก: 628630เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2017 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เริ่มต้นจาก ๑ ปรับเป็นระบบดูแลที่บ้านได้ทั่วทั้งอำเภอ เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท