ร่างรายงาน[ผู้ต้องหา]03-บทที่2


เนื่องจากการตกเป็นวัตถุแห่งคดี กระบวนการยุติธรรมสมัยนั้นจึงนำโทษลักษณะต่างๆมาใช้กับผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นั้นเจ็บปวดทรมานและยอมรับสารภาพว่าได้กระทำผิดต่างที่ถูกกลาวหา

บทที่ 2

หลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาตามกฎหมายไทย

2.1 แนวความคิดรากฐานเรื่องสิทธิ

 

2.2 ฐานะของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาในประเทศไทย

การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยในสมัยก่อนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการประกันสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญามากนัก  เนื่องจากแนวคิดในการค้นหาความจริงจะมองว่าผู้ต้องหาเป็นเพียงวัตถุแห่งคดี  อีกทั้งผู้ต้องหาก็จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจนกว่าจะเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ศาลว่าตนนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์  และเนื่องจากการตกเป็นวัตถุแห่งคดี  กระบวนการยุติธรรมสมัยนั้นจึงนำโทษลักษณะต่างๆมาใช้กับผู้ต้องหา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นั้นเจ็บปวดทรมานและยอมรับสารภาพว่าได้กระทำผิดต่างที่ถูกกลาวหา  วิธีการเช่นนี้เรียกว่าจารีตนครบาล   เช่น การเฆี่ยนถามคำให้การโจร  ตบปากคู่ความ  จำขื่อผู้ขัดหมาย  จำขื่อผู้ร้ายที่ยังไม่รับ  มัดแช่น้ำตากแดดเร่งสินไหม  ตบปากผู้อุทธรณ์เกินกำหนด  เป็นต้น  รวมทั้งยังมีการประจาน ผู้ถูกกล่าวหาในระหว่างสอบสวนและพิจารณาคดีด้วย  เช่น
- เมื่อมีการกล่าวหาว่าผู้ใดกระทำความผิด  ศาลจะส่งให้ไพล่หลวงนำผ้าขาวไปผูกคอผู้ต้องหามา  นำไปที่ทิม (ห้องแถวหรือศาลาแถวที่ใช้พักและไว้ของ) หรือที่คุมขังชั่วคราวแล้วล่ามโซ่ตีตรวนไว้
- ถ้าจำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหา  และลูกขุน ณ ศาลหลวงเห็นว่าจำเลยมีพิรุธมากให้ตระลาการส่งตัวจำเลยไปจำไว้หน้าคุกฐานผู้ร้ายใจแข็ง
วิธีการตามตัวอย่างต่างๆข้างต้นล้วนแสดงให้เห็นว่ากฎหมายในสมัยนั้นยังไม่ได้คำนึงถึงความว่าสิทธิของผู้ต้องหาเท่าที่ควร  ผู้ถูกกล่าวหาตกเป็นกรรมในการดำเนินกระบวนการพิจารณา  จึงมีสภาพไม่ต่างอะไรกับวัตถุชิ้นหนึ่ง
ต่อมาประเทศไทยประสบกับปัญหาสิทธิสภาพอนาเขต  ผลจากปัญหาดังกล่าวทำให้ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างหนักเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย  สิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆก็ถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบกับชาติตะวันตกซึ่งพัฒนาแนวคิดดังกล่าวล่วงหน้าไปก่อน  เช่น  การเลิกทาส  การให้เสรีภาพทางการค้า  เป็นต้น  แต่ถึงอย่างไรกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นก็ยังมีความล้าหลังป่าเถื่อนรุนแรง  และมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ไม่แน่นอนอยู่เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาคดีความแบบจารีตนครบาล  ดังนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพัฒนากฎหมายวิธีพิจารณาความให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
กระบวนการพิจารณาที่เปลี่ยนแปลงไปพึ่งพาอาศัยพยานหลักฐานมากกว่าแต่ก่อน  และประการสำคัญก็คือการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารในคดีอาญา   รวมถึงมีการบัญญัติสิทธิต่างๆอันมีลักษณะประกันสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาและการบัญญัติข้อจำกัดการใช้อำนาจรัฐทั้งของเจ้าหน้าที่รัฐและศาลไว้ด้วย  ทำให้สภาพความเป็นกรรมในคดีของของผู้ถูกกล่าวหาหมดสิ้นไป   ต่อมาจึงได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  และเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยจึงได้มีการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญ  ซึ่งสิทธิที่รับรองดังกล่าวก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับสภาพทางการเมืองของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย

2.3 การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาที่จะไม่ถูกกระทำในลักษณะประจาน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540)  คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลและควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้  ดังนี้
มาตรา 4 “”
มาตรา 26 “”
มาตรา 30 วรรค 1 “”
และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศและความเป็นอยู่ส่วนตัว  ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 ว่า “”
ดังนั้นกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ปรากฏว่ามีการกระทำที่เป็นการประจานผู้นั้น  ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย  ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 ว่า “” ทั้งนี้เพราะการประจานเป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาดูเสมือนเป็นผู้กระทำผิด  ซึ่งหลักการดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2492) โดยขณะที่กำลังประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2492) อยู่นั้น องค์การสหประชาชาติอยู่ในระหว่างการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและได้จัดทำจนแล้วเสร็จ  ประกาศใช้เมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491  จึงได้มีการนำหลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาบรรจุลงในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย   เป็นผลให้อิทธิพลของแนวคิดเรื่องการสันนิษฐานความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชน ได้สืบทอดต่อมายังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึงทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 62851เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท