รับน้องโครงการเด็กดีมีที่เรียน ๒๕๖๐



กิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์ โครงการเด็กดีมีที่เรียน มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๗-๙ เมษายน ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก โดยเป็นการรับน้องว่าที่นิสิตใหม่ของโครงการเด็กดีมีที่เรียน เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งมีพี่ๆโครงการเด็กดีเเละชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี มาร่วมสร้างเเละเสริมด้านการปรับตัวเเละเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กิจกรรมในครั้งนี้ มีจำนวนพี่ๆประมาณ ๓๐ คน เเละน้องๆ ประมาณ ๗๐ คนเข้าร่วมกิจกรรม

ในช่วงก่อนค่าย พี่ๆ BAR กันว่า ในค่ายนี้ หลักๆอยากให้เป็นค่ายเรียนรู้ เรื่อง ดังนรี้

  • แผนชีวิตเเละความฝัน โดยมีกิจกรรมรู้จักมหาวิทยาลัย การวางแผนชีวิต การจัดการชีวิต เเละการวางตัวในมหาวิทยาลัยให้มีภูมิคุ้มกัน
  • การสานสัมพันธ์ ระหว่างน้องกับน้องเพื่อเป็นกลไกภายในชั้นปี ให้มีทรรศนคติที่ดีต่อกัน ทำงานร่วมกันได้ เเละสร้างกลไกระหว่างพี่กับน้องให้มีพลังเชื่อมร้อยกันให้ได้มากที่สุด เพราะมันจะเป็นความยั่งยืน(ระยะสั้น) ต่อไปในอนาคต
  • การสร้างทีม ให้เป็นกลไกที่มีศักยภาพของชมรมเพื่อการขับเคลื่อนงานของชมรมต่อไป ทั้งนี้งานของชมรมเป็นงานหลัก ที่นิสิตโครงการเด็กดีมีที่เรียนต้องขับเคลื่อนไปร่วมกัน

นำมาสู่กระบวนการที่เชื่อมร้อยกับจุดประสงค์เเละความคาดหวังที่ AAR ร่วมกันไว้ ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องออกแบบให้ลงตัว(เวลาว่างของพี่ไม่ตรงกัน) โดยมีกิจกรรมแก่น ดังนี้

๑) กิจกรรมแนะนำตัวเเละทำความรู้จักมหาลัยเเละฟังประสบการณ์การชีวิตในมหาลัย กิจกรรมนี้รับผิดชอบโดยพี่พิม อ.ต๋อย ฤทธิไกร เเละพี่อุ้ม 2TH เเละคนอื่นๆ กิจกกรรมนี้แม้ผมไม่ได้อยู่ เเต่ก็ได้รับฟังการสะท้อนผลว่า เด็กมีความรู้เรื่องการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น จุดเด่น คือ การให้รู้จักมหาลัย รู้จักโครงการ เเละรู้จักการใช้ชีวิตในมหาลัยก่อน เพราะนำมาเป็นกิจกรรมแรก จุดด้อย คือ เด็กขาดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันเเละกัน ทำให้อาจน่าเบื่อง่าย เเละบ่นง่ายตามประสาเด็ก Gen Z ข้อจำกัดสำคัญ คือ พี่ไม่ได้มาร่วมในวันนั้นเยอะมาก จึงเป็นผลให้ออกแบบกิจกรรมมาในลักษณะนี้ ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว ทุน คือ เป็นความรู้ที่จะนำไปสู่กระบวนการถัดไปนั่นคือการสร้างละคร

๒) กิจกรรมเล่นละครสะท้อนปัญญา ซึ่งในการเล่นละครนี้ให้นำประเด็นจาก การฟังในภาคช้ามาเป็นเเรงบันดาลใจในการสร้างละคร โดยแบ่งเป็นประเด็นเป็นเรื่อง ได้แก่ ความฝัน ความสุข แผนชีวิต ความรัก เเละมนุษยสัมพันธ์ แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละประด็น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมในภาคค่ำ ลักษณะรอบกองไฟ โดยมีการเชิญพุ่มสลากแบบด้นสด เเละรู้สึกว่าเด็กเล่นแบบตะมุตะมิ มาก เเต่ละเรื่องใช้ระยะเวลาประมาณ ๒๐ นาที ไม่เกิน ๔ ทุ่ม เป็นอันเลิกกิจกรรม จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ เป็นเครื่องมือให้เด้กพูดคุยกันเเละรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เเน่นอนวาเกิดการวิเคราะห์ ระดมสมอง ออกแบบ ร่วมกัน จุดด้อย คือ ประเด็นเป็นปลายปิด เด็กขาดความสร้างสรรค์ ต้องเล่นไปตามประสบการณ์เดิมที่เคยผ่านมาก่อนแบบขาวเเละดำ ทั้งนี้เพราะคำถามของกระบวนการร่วมด้วย ก็มีส่วนให้เป็นปลายปิด ซึ่งมันส่งผลทำให้เกิดความยืดเยื้อในหลายช่วง ทำให้เด็กหลายๆคนที่ดูเริ่มตาปิดไปตามๆกัน ทำให้เราเองพยายามแก้ไขโดยการแทรกสันทนาการ ร้องเพลง เเละบีบเวลาเข้า ทุน คือ ทำให้เด็กได้รู้จักกันเเละกันในระดับหนึ่ง ผ่านการดูละครที่สะท้อนตัวตนจริงของผู้เเสดงร่วมด้วย วิกฤติ คือ เด็กบางสะท้อนว่า น่าเบื่อ เซ็ง มาทำไม ซึ่งเป็นโอกาสในการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ใหม่อีกครั้ง เพราะเราเชื่อว่า กุญแจสำคัญในการเคลื่อนไปจนจบค่ายนั้น ต้องผ่านการละลายพฤติกรรมทุกคนเข้าหากันเเละต้องละลายให้ได้มากที่สุด

๓) จากนั้นเรา DAR กันหนักในช่วงดึกของวันแรก เพราะมีปัญหาเยอะมาก โดยปัญหา ได้แก่ เด็กเบื่อกิจกรรม ไม่สนุกกับกระบวนการ (ฐานใจไปแล้ว) เเละความไม่ชัดเจนกับกิจกรรมหลายกิจกรรมในวันรุ่งขึ้น ซึ่งแก้ไขโดยการสะท้อนผลปัญหาสู่วิธีการจัดการ คือ การออกแบบกระบวนการไปแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เมื่อปัญหา คือ ทัศนคติของเด็กที่ไม่ชอบกระบวนการ เราก็เปลี่ยนใหม่ โดย ให้ทำกิจกรรมทำความรู้จักกันใหม่ เน้นสันทนาการให้มากขึ้น เอาสันทนาการคั่นทุกกิจกรรม เพราะต้องการเสริมฐานใจให้เกิดพลัง ดึงเขาให้อยู่เเละเข้าใจเรา นอกจากนี้ก็ออกแบบเเต่ละกิจกรรม ช่วงเวลา คนรับผิดชอบให้ชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร ให้ทุกๆคนเช้าใจตรงกัน การประชุมนี้ ในฐานะที่เป็นพี่ปี ๒ ก็อยากให้น้องปี ๑ เห็นจากการพาลงมือทำของพี่ปี ๒เเละ ๓ ว่า การ DAR ต้องนำไปสู่การแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด ให้เป็นหลักคิดว่าต้องปฏิบัติแบบนี้จึงจะปรับตัว ปรับกิจกรรมได้อย่าง "พอดี"

๔) กิจกรรมในภาคเช้ามืด เป็นการใส่บาตร ทำบุญ จากนั้น เป็นช่วงกิจกรรมละลายพฤติกรรมเข้าหากัน โดยใช้กิจกรรมดอกไม้ ๕ กลับให้เขารู้จักกันมากยิ่งขึ้น เเละสันทนาการต่อโดยพี่ตาล พี่ต๊ะ พี่ท๊อป พี่นิ่ม พี่พลอย ฯ จากนั้นมีคณะคุณครูวิทยากรลูกเสือมาช่วยสันทนาการให้ด้วย จากการสังเกตทำให้รู้สึกว่า จุดเด่น คือ เด็กเริ่มมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ เเละการพูดคุยกันมากยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่า ทัศนคติต่อค่ายเเละพี่ๆ เป็นไปในทางที่ดีกว่าเดิมมาก จากเกร็งๆ เริ่มมีการหยอกล้อ เเละสนิทกันมากยิ่งขึ้น พอได้เห็นอย่างนี้เเล้วก็รู้สึกสบายใจว่า กระบวนการจะเดินไปได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จุดด้อย คือ อากาศร้อน เด็กนอนน้อย พี่ๆนอนน้อย เเละตื่นเช้า ทำให้ดูเหมือนว่าเด็กสนุกแต่เมื่อพักก็ง่วง ข้อจำกัด คือ มีเวลาในการทำสันทนาการลักษณะให้พูดคุยกันน้อยเกินไป เเละเด็กพักน้อยเกินไป ต้นทุน คือ จากที่ได้ทำกิจกรรมรู้จักกันเเล้วนั้น ทำให้เด็กพูดคุยกันมายิ่งขึ้นในกลุ่ม ทั้งเรื่องที่เรียนเเละเรื่องส่วนตัว

๕) กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ กิจกรรมนี้มีครูชุมชนเเละคณะครูวิทยากร นำทางเพื่อศึกษาป่า ศึกษาธรรมชาติ ณ ป่าโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก โดยก่อนเดินทางเราให้โจทย์น้องๆวาดภาพเเละเขียนคำตอบภายใต้คำถามที่ว่า "ประโยชน์จากป่าดงใหญ่" ให้เด็กมีใจจดจ่อจากการมีโจทย์ให้คิดไปด้วย เดินไปด้วย ระหว่างเส้นทางก็ศึกษาเรื่องต้นไม้ ใบ้ไม้ สมุนไพร รูสัตว์ ไข่มดแดง เเละอื่นๆ จากนั้นไม่นานประมาณ ๓๐ นาที ทุกคนเดินทางมาสรุปสิ่งที่ได้จากป่า ณ ลานพระของโรงเรียนเเล้วมีการเติมเต็มด้วยปราชญ์ชุมชนอีกครั้งนึง จริงๆเเล้วกิจกรรมนี้ "อยากเผยไต๋" ว่า ต้องการเสริมเรื่องความเป็นทีม เเละการรู้จักกันในกลุ่มให้มากยิ่งขึ้น ระหว่างการเดิน เเละระดมสมองหลังการเดิน จุดเด่น คือ เอากิจกรรมฐานกายเเละเหมือนผู้ใหญ่ มาให้เด็ก Gen Z เพราะเขาต้องการแบบนั้น ทั้งนี้ส่วนใหญ่เรามีเเต่กิจกรรมฐานคิดนำ เเต่ครั้งนี้เอาฐานกายนำ เหมาะกับวัยรุ่นเพราะ "มันท้าทาย" จุดด้อย คือ เป็นการเดินแบบแถวเดี่ยว ทำให้เสียงของวิทยากรเเละการรับฟังค่อยข้างยากลำบาก ซึ่งครั้งก็ไปถ้ามี อาจเดินเป็นชุดเเล้วมีกิจกรรมทำระหว่างทางแบบ Nature game จะสนุกมาก ข้อจำกัด คือ ระยะเวลาที่น้อยเเละต้องเดินไปหยุดอธิบายไป ทุนกิจกรรม คือ การปรับฐานทัศนคติของเด็กใหม่ว่า การมาค่ายในครั้งนี้เราได้เรียนรู้หลายๆอย่าง นอกจากจะนั่งเรียนแบบ 1.0 เเล้ว ยังมีการเดินเรียนแบบ 2.0 ที่สนุกเเละท้าทายมากยิ่งขึ้น

๖) กิจกรรมลุยฐาน ผจญภัย ภายใต้จุดประสงค์ที่ว่าเน้นสร้างสัมพันธภาพเชิงสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็น ๕ ฐาน ซึ่งเเต่ละฐานเน้นความสนุก สัมพันธภาพ ความสามัคคี ความเชื่อใจ ความเสียสละ ใช้เวลาฐานละ ๒๐ นาที ใช้เวลาถึงช่วงค่ำของวันที่๒ จากการสังเกตเเละสอบถาม พบว่าเด็กชอบกิจกรรมแบบนี้มาก เด้กสะท้อนว่ามันสนุก เเละท้าทาย โดยจุดเด่นสำคัญ คือ "มันโดนใจวัยรุ่น" ที่ชอบการผจญภัยเเละเลอะเทอะ ทำให้เรารู้ว่ากิจกรรมนี้เป็นต้นทุนสำคัญ ที่ทำให้เด็กเปิดใจมากยิ่งขึ้น จุดด้อยเเละข้อจำกัด คือ ช่วงแรกๆเตรียมตัวช้า เเต่ต่อมาก็เริ่มคล่องตัว การรันเวลาค่อนข้างลำบากเพราะเเต่ละฐานถูกบดบังโดยป่า โอกาส คือ จากกิจกรรมนี้นำไปสู่ความประทับใจของเด็กมาก เพราะสอดคล้องกับความต้องการของวัยรุ่น

๗) กิจกรรมงานวัดในช่วงเย็น เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมใจ ให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการเเละพี่ๆ สืบเนื่องจากกิจกรรมฐานเมื่อช่วงบ่าย โดยพี่ๆจัดซุ้ม จำลองหอประชุมให้ดูเหมือนงานวัด มากที่สุด มีซุ้ม ปาลูกบอล ปาแก้ว รำวง จับสลาก น้ำดื่ม โยนห่วง ภายในงานมีการประกวดร้องเพลงจากตัวเเทนเเต่ละสีด้วย เรียกว่า The Voice Dek-D 60 จากข้อสังเกตพบว่าน้องๆประทับใจเเละสนุกกับกิจกรรม ซึ่งจุดเด่น คือ กิจกรรมนี้สร้างความเป็นกันเองระหว่างอาจารย์ พี่ๆ ต่อน้องๆมากที่สุด ผมเองประทับใจ อ.ต๋อย ที่รับบทบาทเป็นลิงตีฉาบ ในซุ้มปาลูกบอล ทำให้ผมรู้สึกว่าอาจารย์เป็นต้นแบบที่ดีมาก เพราะไม่ถือตัวเลย "ขอบคุณครับ" จุดด้อยเเละข้อจำกัด คือ การจัดงานเป็นครั้งแรกของพี่ๆ จึงใช้เวลามาก เเละหลายอย่างยังคงไม่ลงตัว เเต่ "พี่ๆทุกคนก็เก่งมากครับ" ต้นทุนสำคัญ คือ ความสนิทเเละความคุ้นเคยกันจากกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีพลัง อยากมีส่วนร่วมเเละอยากทำงานด้วย

๘) กิจกรรมจุดเทียนเติมฝัน เป็นกิจกรรมพิธีเทียนที่จัดในหอประชุม โดยให้เด็กนั่งอยู่ตรงกลาง พี่ๆยืนล้อมรอบ ร้องเพลงเเละเเสดงความรู้สึก มันเป็นบรรยากาศที่อบอุ่นเเละเปิดใจพี่ๆให้น้องๆฟัง จากนั้นมีการแฮปปี้เบิร์ดเดย์น้องจากของขวัญสุดพิเศษของแม่ครัว นำโดยพี่เมย์เเละพี่กิ๊ก ผลจากกิจกรรมนี้ จากการสังเกต ทำให้เด็กเข้าใจความรู้สึกของพี่ๆ เเละจากประสบการณ์เดิมที่เคยทำมา ผมเชื่อเหลือเกินว่าทุกถ้อยคำที่พี่ๆทุกคนได้พูดไป มันจะยังคงเป็นภาพที่น้องประทับใจเเละเก็บเอาไว้ในความทรงจำตามการรับรู้ของน้องเเต่ละคนเเน่นอน จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ การเสริมพลังใจในการเข้ามาสู่โครงการเเละจุดประกายความคิดสู่ความเป็นผู้นำโครงการเเละเคลื่อนชมรมต่อไป จุดด้อย คือ การร้องเพลงของพี่ที่เเตรียมตัวมาน้อย เเละผมร้องผิดคีย์ ข้อจำกัด คือ พี่ๆยังไม่คุ้นเเละยังร้องไม่ได้กับเพลงใหม่ อีกทั้งพี่ถือว่ามาน้อยถ้านับจากจำนวนจริงทำให้พลังน้อยกว่าปีที่เเล้วอยู่ เเต่ก็ถือเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนารุ่นน้องปี ๑ ให้ได้เห็นวัฒนธรรมการทำค่ายสร้างสรรค์ที่พี่ได้ทำให้ดูเป็นแบบอย่าง เเละเชื่อมั่นว่า หากเขาได้เป็นผู้นำในสาขาของเขา เขาจะนำกระบวนการที่สร้างสรรค์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความงอกงามทางปัญญาไม่มากก็น้อยในสังคมนั้นๆ

๙) กิจกรรมผู้นำ ๔ ทิศ เพื่อการเข้าใจถึงตัวตนของตนเองเเละผู้อื่นมากยิ่งขึ้น เราใช้กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรม Check in ก่อนเข้ากระบวนการ ด้วยความคาดหวังว่าอยากให้น้องๆ เห็นความเป็นผู้นำในแบบของตนเองมากขึ้น จากเดิมที่มีสมบติของผู้นำในตัวอยู่เเล้ว จากการสังเกต ส่วนใหญ่เด็กจะเป็นหนูมากที่สุด รองลงมาเป็นกระทิง หมี เเละอินทรีย์น้อยที่สุด จุดเด่น คือ เขาไม่เคยเล่นเเล้วได้รู้จักว่าตนเองเป็นผู้นำแบบไหน ข้อดี-ข้อเสียคืออะไร จุดด้อย คือ ใช้เป็นเพียงกิจกรรม Check in ซึ่งไม่ได้ลงลึก ทำแบบรายบุคคล เเต่เพียงสะท้อนภาพรวมเท่านั้น ทำให้รู้กระบวนการเพียงขั้นแรก โอกาส คือ เป็นโจทย์ให้เด็กไปคิดต่อว่าจะปรับตนเองอย่างไร ทั้งนี้ต่อไปทางชมรมควรมีกิจกรรมเสริมความเข้าใจเรื่องนี้สู่การปรับตัวในสังคมที่รวดเร็วแบบนี้มากขึ้นด้วย

๑๑) กิจกรรมอำลาโดย บายศรีสู่ขวัญเเละมอบดอกไม้ เป็นกิจกรรมที่ถือว่าเป็นวัฒนธรรมของโครงการ ที่เสริมด้านจิตวิญญาณ ในความเป็นเด็กดีมีที่เรียน โดยสู่ขวัญแบบพราหมณ์จากนั้น เป็นกิจกรรมพี่ผูกแขนให้น้อง เป็นสื่อแทนคำอวยพร เเละเป็นสื่อแทนความรู้สึกดีๆที่พี่ส่งมอบต่อให้น้อง จากนั้นเป็นกิจกรรมที่เราทำทุกปีอีก คือ มอบดอกไม้จากหัวใจ ส่งมอบถ้อยคำ ความรู้สึกดีๆ ให้แก่กันเเละกัน อาจมีการจับมือ กอด หรือ ไหว้ เเล้วเเต่ความเหมาะสมทางมนุษยสัมพันธ์ต่อกันเเละกัน จุดเด่นของกิจกรรมเหล่านี้ คือ เป็นการเสริมใจ เเละเสริมความคิดที่ดีงาม เป็นต้นทุนทางพลังใจให้มีสายใยโยงใจกัน จุดด้อยเเละข้อจำกัด คือ ไม่ควรใช้เวลายืดเพราะใจจะหลุกกระบวนการจากการเบื่อขึ้นมา เป็นต้น

จากค่ายนี้ ผมเริ่มฝึกใช้หัวใจในการทำกระบวนการ โดยยืดหยุ่นตลอดเวลาเเละพยายามปรับแก้ปัญหาให้ได้ จึงได้เรียนรู้เเละมีความคิดว่า

  • การ DAR จำเป็นมากในค่ายที่ BAR น้อย เเล้วการคุยกันระหว่างทำนี้ ต้องอกแบบให้ชัดตามหลัก 5W1H ให้ปรับกระบวนการภายใต้โจทย์เดิม เเละดูว่ากุญแจสำคัญ คือ การละลายพฤติกรรมของเด็กทำได้มากเเค่ไหน หากยังไม่พอ ให้ทำซ้ำอีกเเต่เปลี่ยนรูปแบบกระบวนการ "ทำซ้ำให้ไม่รู้ว่าทำซ้ำ" เหมือนที่เราออกแบบว่าต้องการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน เราใช้หลายกิจกรรมเพื่ออยากได้ผลซ้ำๆเเต่มากกว่าออกมา โดยเราเปลี่ยนกิจกรรม เเต่ทุกกิจกรรมมันนำไปสู่ความเป็นสัมพันธภาพนั่นเอง
  • การสลับกันขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น ค่ายนี้ผมเองเป็นกระบวนกรที่ค่อยข้างวิชาการ ซึ่งก็ให้ตาลเเละต๊ะ นำเรื่องสันทนาการคั่นเพื่อให้เด้กกลับมาสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งพบว่าหากแยกคนขึ้นเเละแยกโหมดกันดูเหมือนว่าจะคล่องตัว มีส่วนร่วม เเละโอเคมากกว่า เพราะศักยภาพของปี ๑ สามารถทำกระบวนการได้ เเละทำได้ดีเลยทีเดียว "ต่อไป คือ เป็นช่วงขาลงให้เด็กขึ้นแทน"
  • จริงๆเเล้วชมรมควรมีกิจกรรมที่เป็นวัฒนธรรมองค์กร ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชมรมเลย เช่น การบายศรีผลไม้ กิจกรรมแลกดอกไม้ ฐานลุยๆ เเละกิจกรรมจิตตปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในพื้นที่มหาสารคามนี้
  • ทีมงานพี่ๆเริ่มเเข็งขึ้น นั่นหมายความว่า มีความพร้อมมากขึ้นที่จะเคลื่อนงานโครงการ งานชมรม เเละงานอื่นๆอย่างมีพลังมากยิ่งขึ้น "ผู้นำท่ามกลางผู้นำ"

หลังจากจบค่าย ผมเริ่มเห็นแนวทางสำคัญในการเดินต่อของชมรมเเละโครงการ ซึ่งตามทรรศนะเห็นดังนี้

  • แรกเริ่มเรานำเด็กมาเข้ากระบวนการรับน้องสร้างสรรค์ ของโครงการเด็กดีมีที่เรียน เพื่อจูให้เกิดประกายความเป็นผู้นำขึ้น เพื่อสร้างทีมพี่เเละทีมน้อง เป็นทีมเดียวกัน มาทำงานร่วมกัน
  • มีค่ายพัฒนาศัยภาพของเด็ก เเล้วเอาพี่ๆที่ได้จุดประกายเเล้ว มาเป็นพี่เลี้ยงเเละคณะจัดกิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาน้องๆ ให้ทีมพี่เเข็งมากยิ่งขึ้นเเละได้พัฒนาเยาวชนได้พร้อมกันตามเจตนารมณ์
  • มีค่ายต้นกล้าอาสา พาน้องพอเพียง โดยเคลื่อนเรื่อง ปศพพ ไปด้วย โดยเป็นทีมวิทากรขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมด้วย ทั้งนี้ค่ายพัฒนาศัยภาพของเด็กเเละต้นกล้าอาสาจะเป็นลักษณะของค่ายเพื่อการเรียนรู้(Learning Camp) ทั้งหมด
  • ระหว่างเคลื่อนเรื่องเยาวชน ก็ช่วยงานสำนักศึกษาทั่วไปในการจัดงานระดับใหญ่ไปด้วย
  • มีกิจกรรมเสริมพลัง ความรู้ เติมกระบวนการไปด้วย "กิจกรรมเติมพลัง" ด้านการจัดการกิจกรรม ชีวิต การเรียน เเละการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นระบบดูแลเเละส่งเสริมพี่ๆไปด้วย
  • มีกิจกรรมสรุปเเละถอดบทเรียนจากการทำงานที่ได้ลงมือทำเพื่อพัฒนาโครงการ ชมรม เเละสร้างเด็กเยาวชนขึ้นมา

ขอขอบคุณอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ เเละน้องๆทุกคนที่ร่วมสร้างการเรียนรู้ ร่วมกันอย่างมีความหมาย ครับ


หมายเลขบันทึก: 627574เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2017 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2017 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท