​มจร.ร่วมมือกับ สสส.พัฒนาพระนิสิตด้านการส่งเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ พร้อมเสนอแนะองค์กรต่างๆ ร่วมมืออย่างจริงจัง เพื่อให้พระสงฆ์สุขภาพดีและเป็นแบบอย่างต่อสังคม


มจร.ร่วมมือกับ สสส.พัฒนาพระนิสิตด้านการส่งเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ พร้อมเสนอแนะองค์กรต่างๆ ร่วมมืออย่างจริงจัง เพื่อให้พระสงฆ์สุขภาพดีและเป็นแบบอย่างต่อสังคม



เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง สถานการณ์การสูบบุหรี่พระนิสิตพร้อมข้อเสนอเชิงนโยบาย ณ ห้องประชุม 205 มจร.วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร,ดร. คณะบดีบัญฑิตวิทยาลัย เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้บริหารจากฝ่ายต่างๆ อาทิ พระมหาสุเทพ สุปัณฑิโต,ดร หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.,พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต ,พระสรวิชญ์ อภิปัญโญ,ดร.อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์,พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ,ดร.ผู้จัดการโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ มจร.ปลอดบุหรี่

ผลการศึกษาประชากรกลุ่มตัวอย่าง 11,223 รูป จาก 12 วิทยาเขต โดยใช้การสุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 539 รูป พบว่า พระนิสิตที่ไม่เคยสูบร้อยละ 51.6 เปอร์เซนต์ พระนิสิตที่เคยสูบแต่ปัจจุบันสามารถเลิกได้ร้อยละ 26.7 เปอร์เซนต์ และกลุ่มที่ปัจจุบันยังสูบบุหรี่อยู่ร้อยละ 21.7 เปอร์เซนต์ ทั้งนี้จากผลการศึกษาดังกล่าวได้นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาพระนิสิตให้เป็นแบบอย่างด้านสุขภาพต่อประชาชน และคงไว้ซึ่งศรัทธาต่อพุทธศาสนิกชน ดังนี้

1.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควรออกระเบียบการห้ามสูบบุหรี่และติดประกาศประชาสัมพันธ์ในจุดสำคัญของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลาง ส่วนวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ โดยมีการระบุโทษที่ชัดเจน

2.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ ต้องกำหนดให้สถาบันการศึกษาในสังกัด ติดป้ายห้ามและชี้แจงเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษา พร้อมกำหนดบทลงโทษ

3.มหาเถรสมาคม ควรพัฒนาชุดความรู้เกี่ยวกับการจัดการปัญหาบุหรี่และการละเมิดศีลจากการสูบบุหรี่ เพื่อถวายแก่เจ้าคณะพระสังฆาธิการในการประชุมประจำปีตามระเบียบมหาเถรสมาคมต่อไป

4.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรขอความร่วมมือกับหน่วยงานในกำกับของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเปิดคลินิกรักษาสำหรับพระสงฆ์ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่หรือขอองค์ความรู้สำหรับการเผยแพร่ต่อไป

5.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ควรร่วมมือกับภาคีเครือข่ายผลักดันให้เกิดการจัดการศึกษาวิจัยและประชุมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องจากการวิจัย เกี่ยวกับการจัดการปัญหาบุหรี่ในกลุ่มพระสงฆ์

พร้อมกันนี้ที่ประชุมต่างให้ข้อเสนอแนะอย่างหลากหลาย พร้อมกับตระหนักปัญหาเรื่องนี้ เพราะไม่เพียงแต่ ทำลายสุขภาพของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หมายรวมถึงการทำลายศรัทธาของญาติโยมที่พบเห็น โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อาทิ ควรให้มีการสอดแทรกในรายวิชาต่างๆ มหาวิทยาลัยควรประกาศให้เป็นแนวปฏิบัติชัดเจน พร้อมสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ที่สามารถลดละเลิกได้

ขอบคุณภาพประกอบจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร.






หมายเลขบันทึก: 626312เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2017 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2017 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท