นายฮูโต๋
สิทธิชัย สิทธิชัย สุขสมกลิ่น

อาณาจักรอยุธยา


สมัยอาณาจักรอยุธยา

สมัยอาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธยา
เป็นอาณาจักรของไทยในอดีต มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึกซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ว่าก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อเรียกว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือ เมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยาเป็นเมืองที่มีความเจริญทางการเมืองการปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครอง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้

ประวัติ
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18แล้ว มีเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ ละโว้, อยุธยา, สุพรรณบุรี, นครปฐม เป็นต้น ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอม และสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทอง เจ้าเมืองอู่ทองซึ่งขณะนั้นเกิดโรคห่าระบาดและขาดแคลนน้ำ จึงทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ พร้อมกันนั้นต้องเป็นเมืองที่มีนำไหลเวียนอยู่ตลอด ครั้งแรกพระองค์ทรงประทับที่ตำบลเวียงเหล็กเพื่อดูชั้นเชิงเป็นเวลากว่า 3 ปี และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[1] ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[2] มีชื่อตามพงศาวดารว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน ด้วยบริเวณนั้นมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก และทิศใต้, แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ ต่อมาพระองค์ทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สายกรุงศรีอยุธยาจึงมีน้ำเป็นปราการธรรมชาติให้ปลอดภัยจากข้าศึก นอกจากนี้ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังห่างจากปากแม่น้ำไม่มาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆอีกหลายเมืองในบริเวณเดียวกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าสู่ภูมิภาคอื่นๆในอาณาจักร รวมทั้งอาณาจักรใกล้เคียงอีกด้วย
การขยายตัวของอาณาจักร
กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธมได้อย่างเด็ดขาดในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร

หลักฐานทางโบราณคดี
หลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดที่สุดว่าพระเจ้าอู่ทองควรจะสืบเชื้อสายมาจากลพบุรี คือ งานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนตันที่มีอิทธิพลของศิลปะลพบุรีอยู่มาก เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะซึ่งมีลักษณะแผนผังของวัดและตัวปรางค์ คล้ายกับปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระพุทธรูปมีพระพักตร์คล้ายกับประติมากรรมขอม และระบบการปกครองก็มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรอย่างเห็นได้ชัด เช่น ระบบเทวราชา
นอกจากนี้บริเวณเมืองอยุธยา ยังมีแม่น้ำป่าสักที่มีไหลผ่านเมืองศรีเทพที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญและแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมกับเมืองที่มีความเจริญซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป เช่น อาณาจักรสุโขทัย หริภุญไชย ล้านนา และเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย จึงสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้คงเคยเจริญภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีมาก่อน
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และจะมีน้ำจากทางเหนือท่วมไหลลงมาท่วมทุกปีซึ่งน้ำจะได้พัดเอาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ลงมาด้วย พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาจึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาคงเป็นเมืองท่าและจุดแวะพักสินค้าด้วย เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงสู่อ่าวไทยไหลผ่าน จึงทำให้ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญจนเริ่มมีความเป็นเมือง สันนิษฐานว่าคงเมืองอยุธยาอาจเจริญขึ้นในช่วงทวารวดีตอนปลายแล้วดังพบหลักฐานทางศิลปกรรมคือเจดีย์วัดขุนใจเมือง ซึ่งมีลักษณะศิลปะและการก่อสร้างแบบศิลปะทวารวดี คือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนองค์สูงใหญ่ เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บริเวณถนนใหญ่ในตัวเกาะอยุธยา
และเมืองอยุธยาในช่วงแรกคงเจริญภายใต้อิทธิพลอำนาจของเมืองลพบุรี โดยอาจเป็นเมืองลูกหลวงดังมีข้อความปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า ?เมืองรามเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้? เมืองรามนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองอโยธยาหรืออยุธยานั่นเอง ต่อมาเมืองลพบุรีได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากอาณาจักรเขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือ พศว.ที่ 16-17 เมืองอยุธยาก็คงต้องได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรด้วยแน่นอน ถึงแม้ว่าใน พศว.ที่ 18 จะมีการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย กษัตริย์และผู้คนบริเวณเมืองลพบุรีก็คงมิได้หายไปไหน จึงอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์จากเมืองลพบุรีอาจย้ายศูนย์กลางเมืองจากลพบุรีมาอยู่บริเวณเมืองอยุธยาในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่าอาจเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยและอยากได้เมืองใหม่ที่มีชัยภูมิที่ดีกว่านี้
กษัตริย์ลพบุรีองค์ที่คิดย้ายนี้ก็อาจเป็นต้นวงศ์พระเจ้าอู่ทอง โดยเมืองที่ย้ายมาระยะแรกกระจายตัวอยู่สองข้างของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่มีอายุก่อน พ.ศ. 1893 เช่น มีการสร้างพระเจ้าพนัญเชิงซึ่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปีพ.ศ. 1867 สามารถวิเคราะห์ได้ว่าวัดที่พระเจ้าพนัญเชิงประดิษฐานอยู่คงเป็นวัดขนาดใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการมีชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณนี้และคงเป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยก่อน ปี พ.ศ. 1893 แต่พื้นที่รอบบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าน้ำ จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ทำให้กษัตริย์พระองค์หนึ่งมีการคิดที่จะสร้างศูนย์กลางของเมืองใหม่ กษัตริย์พระองค์นั้นอาจเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งพระองค์ก็ได้เลือกพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้มาสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วสถาปนาตัวเองในชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาจักรอยุธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หากพิจารณาจากพื้นที่บริเวณที่เป็นเกาะเมืองอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลือกสร้างอาณาจักรอยุธยาที่มีความมั่นคงและใหญ่โต
ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดีเห็นว่า ควรมีการขุดค้นที่บริเวณสองข้างของแม่น้ำทั้ง 3 สายที่ไหลผ่านเมืองอยุธยา และบริเวณพื้นที่จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน เนื่องจากบริเวณนี้มีงานศิลปกรรมคือพระประธานที่วัดพนัญเชิงที่มีอายุการก่อสร้างปี พ.ศ. 1867 ซึ่งเก่ากว่าปีพ.ศ.ที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา เพื่อหาข้อมูลการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเพื่อมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานข้างต้นที่กล่าวมานี้
จึงอาจสรุปได้ว่า กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. 1893 แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 1893 คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวังดังความเห็นของอ.ศรีศักร วัลิโภดม ก็เป็นได้

พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี) อู่ทอง
5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี) อู่ทอง
6 สมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์ 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระอนุชาต่างมารดาพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 - 2077 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (โอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15 ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์) 2091 (42 วัน) อู่ทอง

16 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
18 สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ์) 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย
19 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย
20 สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2153 (5 ปี) สุโขทัย
21 สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2154 (1 ปี) สุโขทัย
22 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2154 - 2171 (17 ปี) สุโขทัย
23 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (8 เดือน) สุโขทัย
24 สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (28 วัน) สุโขทัย
25 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2199 (27 ปี) ปราสาททอง
26 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 - 4 วัน) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
29 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
34 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.1893
พระเจ้าอู่ทอง เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาทรงครองราชย์อยู่นาน 20 ปี

พ.ศ.1912
พระราเมศวร ทรงขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียว สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกกองทัพมาจากเมืองสุพรรณบุรีเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา พระราเมศวรทรงสละราชสมบัติให้ แล้วเสด็จไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม

พ.ศ.1921
พระมหาธรรมราชาที่ 2 กรุงสุโขทัยยอมเป็นประเทศราช ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ.1977
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 พระบิดา ในรัชสมัยนี้ กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก ทรงปรับปรุงการปกครองเป็น " จตุสดมภ์ " ซึ่งแบ่งเป็น เวียง วัง คลัง นา และมีทหารเป็นสมุหกลาโหม มีพลเรือนเป็นสมุหนายก และโปรดฯ ให้มีการถือศักดินาขึ้น

พ.ศ.2015
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จสวรรคต พระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระรามาธิบดีที่ 2

พ.ศ.2022
พระรามาธิบดีที่ 2 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์ขึ้น

พ.ศ.2041
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงทำตำราพิชัยสงครามขึ้นเป็นครั้งแรก

พ.ศ.2059
ไทยเริ่มทำสัญญาให้พวกโปรตุเกส เข้ามาทำการค้าขาย

พ.ศ.2061
ทรงจัดระเบียบการปกครองฝ่ายทหาร และกำหนดให้ชายฉกรรจ์ มีหน้าที่รับราชการตั้งแต่อายุ 18-60 ปี

พ.ศ.2088
ทรงขุดคลองลัด จากปากคลองบางกอกน้อย ถึงปากคลองบางกอกใหญ่ แล้วเรียกคลองบางกอก ซึ่งต่อมากระแสน้ำไหลทางคลองลัดบางกอก กลายเป็นแม่น้ำใหญ่ ตอนหน้าพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ.2091
พระมหาจักรพรรดิ ทรงชนช้างกับพระเจ้าแปร ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระศรีสุริโยทัย กับพระราชบุตรีชนช้างเข้ากันไว้ จึงถูกฟันทิวงคตทั้งสองพระองค์ ในรัชสมัยนี้ ทรงได้ขุดคลองลัดที่บางกรวย สร้างเมืองนนทบุรี เมืองสาครบุรี (สมุทรสาคร) เมืองนครไชยศรี (นครปฐม) เมืองฉะเชิงเทรา เมืองสระบุรี และเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่น เริ่มเข้ามาตั้งบ้านเรือน ในกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ.2112
ไทยเสียกรุงศรีอยุธยา ให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง ในรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช พระเจ้าบุเรงนองทรงราชาภิเษก พระมหาธรรมราชาให้ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเป็นประเทศราช

พ.ศ.2127
พระนเรศวร ทรงประกาศอิสระภาพที่เมืองแครง

พ.ศ.2135
สมเด็จพระนเรศวร ทรงชนช้างกับพระมหาอุปราชา ที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชาเสียที ถูกฟันสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

พ.ศ.2228
พระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นฑูตไปฝรั่งเศส กลับมาพร้อมกับสิเออร์โชมองต์ ได้ทำสัญญาค้าขายกัน

พ.ศ.2230
ไทยกับอังกฤษ เกิดพิพาทกันเรื่องสินค้า สมเด็จพระนารายณ์ประกาศสงครามกับอังกฤษ

พ.ศ.2231
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถูกประหาร พระเพทราชาขับไล่ฝรั่งเศส ออกนอกประเทศ

พ.ศ.2309
ชาวบ้านบางระจัน เข้าต่อสู้สกัดกำลังพม่า แต่ในที่สุดไม่สามารถต้านทานได้ พม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้

พ.ศ.2310
พม่าเข้ากรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อวันอังคารเดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน พ.ศ.2310 เผาพระราชวัง และวัดพระศรีสรรเพชรญ์ เอาไฟสุมองค์พระศรีสรรเพชรญ์ เอาทองคำที่หุ้มไป และกวาดต้อนราษฎร และครอบครัวขุนนางไปพม่า พระเจ้าแผ่นดินสวรรคต พร้อมกับเสียกรุงให้แก่พม่า ในระหว่างนี้แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า สามารถตีแหวกแนวข้าศึกออกมาได้ แล้วได้ก่อตั้งกลุ่มชุมชนขึ้น

ที่มา : https://sites.google.com/site/downfall4kon/smay-xa...

คำสำคัญ (Tags): #อยุธยา
หมายเลขบันทึก: 625742เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2017 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2017 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท