แรงจูงใจ : ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเรียนรู้อย่างอิสระ


เป็นที่ยอมรับกันแล้ว่า การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแห่งการเรียนรู้ (the learner is the center of learning) ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเรียนภาษาคือ ตัวนักเรียน เพราะถึงแม้ปัจจัยภายนอก ทั้งผู้สอน สื่อ การจัดการ และสิ่งแวดล้อม จะดีพร้อมเพียงใด แต่ถ้าปัจจัยภายใน ไม่ตอบสนองก็ยากที่จะมีความรู้และทักษะได้ดังต้องการ

 

 

ปัญหาที่ครูในยุคนี้ต้องเผชิญ  ก็คือ.....ทำอย่างไร...จะกระตุ้นปัจจัยภายในได้

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะมีเป้าหมาย

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะมีความมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จ

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะรักเรียน

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะใส่ใจในขณะเรียน

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะขยันทำการบ้าน

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะหมั่นฝึกฝนจนเกิดทักษะ

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะพสกเพียรจนบรรลุศักยภาพ

ทำอย่างไร.....นักเรียนจึงจะใฝ่ฝันและมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ

ฯลฯ

ดังนั้น  ก่อนการจัดการเรียนรู้  ครูผู้สอนมักถามนักเรียนว่า  ต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร  เมื่อนักเรียนแจ้งความประสงค์ว่าจะเรียนอะไรแล้ว  การเรียนจึงดำเนินไปด้วยความกระตือรือร้น  นักเรียนมีการเปิดรับพร้อมที่จะเรียนตลอดเวลา  ครูผู้สอนต้องสร้างความต้องการให้นักเรียนพร้อมที่จะรับตลอดเวลา  บรรยากาศในชั้นเรียนจะเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา 

Motivation is the essence of English teaching as a foreign language. 

แรงจูงใจเป็นหัวใจสำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ  เพราะนักเรียนขาดสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย  ขาดโอกาสจะได้สนทนากับชาวต่างชาติ   ขาดตัวอย่างที่ดีที่กระตุ้นความอยากเรียนภาษาอังกฤษ  และขาดความจำเป็นที่จะบังคับให้...ต้องเก่งภาษาอังกฤษ

Motivation.....เป็นเครื่องมือนำไปสู่เป้าหมาย  ทำให้เกิดพลัง  เกิดความพยายาม  ความตั้งใจ  ความกระตือรือร้น  และความมุ่งมั่นที่จะประสบกับความสำเร็จ

Motivation affects effort, effort affects results , positive lead to an increase in ability.

ดังนั้น...สิ่งที่ครูสอนจะต้องทำ  คือ...สร้างแรงจูงใจให้นักเรียน อยากจะเรียนในสิ่งที่ครูจะสอน

ถ้าเราเพิ่มแรงจูงใจของนักเรียนได้  เราก็ช่วยให้เขาได้เรียนรู้ได้มากขึ้น  และทำให้มีความสามารถที่จะเรียนรู้ต่อไปได้มากยิ่งขึ้น

เราจะสร้างแรงจูงใจได้อย่างไร

ในการเรียนภาษา  ครูผู้สอนสามารถสร้างแรงจูงใจ  ได้ใน 3 ระดับคือ

ระดับที่ 1 สร้างความกระหายใคร่รู้ในสิ่งที่จะเรียน.....เชื่อมโยงการเรียนเข้ากับสิ่งที่นักเรียนชอบ  นำสิ่งที่เขาสนใจ  .....ให้นักเรียนได้เปิดเผยความเป็นตัวตน  ....เช่น  สั่งงานที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน  ให้พูดแสดงความคิดเห็น  ทำแบบสอบถาม  ...ครูเป็นแบบอย่างของการกระตือรือร้น  และเป็นแรงจูงใจสำหรับนักเรียน

ระดับที่  2  ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียน  โดยให้การบ้านที่เขาต้องคิด ต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น  เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ในชั้นเรียนได้ต่อไป......โดยทั่วไปนักเรียนเรียนภาษาต่างประเทศ 4 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์จึงจะเรียนอย่างมีคุณภาพ  input , interaction , and opportunities for meaningful output  เพื่อความก้าวหน้า  เพื่อให้ความรู้และทักษะคงทน  และสร้างความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม  ..ให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียน

ระดับที่ 3  ทำให้นักเรียนผูกพัน  จดจ่ออยู่กับกิจกรรมการเรียน  ความตั้งใจ  ความใส่ใจ  จะช่วยให้นักเรียนจดจำได้  และสามารถเพิ่มเติมความรู้ต่อไปได้เรื่อยๆ  ...ทำกิจกรรมการเรียนน่าสนใจมีชีวิตชีวา จับต้องได้....นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม  นักเรียนได้มีโอกาสสรุป  เรียนรู้ด้วยตนเอง  ให้ข้อมูลย้อนกลับ  ความก้าวหน้าในการเรียนทุกระดับ  ทั้งในการเรียนรู้เนื้อหาคำศัพท์  ไวยากรณ์  และทักษะในการใช้ภาษา  รวมถึงการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ 

Let's bring the heart of teaching into our classroom by contributing more time and effort to generate motivation.

 

หมายเลขบันทึก: 62570เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
มีครูหลายคนที่คิดว่า เข้าใจนักเรียนดีแล้ว จึงมักจะสอนในสิ่งที่คิดว่า นักเรียนรู้เรื่อง ทั้งที่ความเป็นจริง นักเรียนไม่ได้รู้เรื่องด้วยเลย
ทำให้นักเรียนนินทาว่า ครูคนนี้ สอนไม่ดี

ครูหลายท่าน มีหลักการ แนวคิด ทฤาฎีจากตำราการสอนมากมาย แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการสอน
เพราะหลักคิด วิธีการต่างๆ ลอกแบบกันไม่ได้ทั้งหมด ต้องประยุกต์ให้เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน

อย่างแรงจูงใจ 3 ระดับ เคยได้ยินครูที่กาฬสินธุ์เล่าให้ฟังในทำนองนี้ เค้าพยายามออกแบบการสอนทั้ง 3 ระดับ
แต่ไม่สามารถที่จะดึงความสนใจของนักเรียนได้เลย

อย่างในระดับที่ 1 พยายามละลายพฤติกรรมให้นักเรียนเปิดเผยความเป็นตัวตน แต่นักเรียนกลับกลัวครูผู้สอนมากขึ้น

เรื่องการสร้างแรงจูงใจนี้ คงจะเป็นทักษะของครูแต่ละคนจริงๆ
  • ขอบคุณน้องอึ่งอ๊อบมากค่ะ  เข้ามาเยี่ยมบันทึกยามดึกค่ะ

คุณบอน

  • ครูทุกคนนอกจากจะต้องสอน  เตรียมการสอน  และจะต้องหาทฤษฎี  แนวความคิดที่เป็นแบบฉบับของตนเองอยู่เสมอ
  • บางคนก็ปฎิบัติได้บ้าง  ได้หมดเลย  ไม่ได้เลยก็มีคละกันไป
  • แต่ครูทุกคนก็มีความมั่นใจว่า  ได้ทำในสิ่งที่เรียกว่า  พัฒนา  ส่วนผลที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยป้อนเข้า  นักเรียนมีสภาพอย่างไร  มีศักยภาพอย่างไรด้วย
  • ทฤษฎีที่เน้น  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  ย่อมใช้ได้ดีเสมอ  หากรู้จักใช้..และคิดว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้น....ยังดีกว่า...ไม่ได้ทำอะไรเลย

ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท