Happy life ในวัยสูงอายุ (Occupational Adaptation through Occupation based Practice)


เมื่อวันที่ 30 มกราคม และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 ดิฉันและเพื่อนๆ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุและจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สามพราน

ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ เพศหญิง มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน cognitive ระดับ 5 พูดคุยเก่ง ชอบกิจกรรมระบายสี กิจกรรมทายสุภาษิตจากภาพ ไม่ชอบทำงานฝีมือเพราะไม่เคยทำและไม่มั่นใจในการทำและสนใจในกิจกรรมออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยลดอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า และสามารถเดินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง

หลังจากที่กลุ่มของดิฉันแต่ละคนได้ไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุแล้ว จึงมาอภิปรายกันในกลุ่มว่าจะจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปอย่างไรดี เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว กลุ่มของดิฉันจึงได้จัดกิจกรรม ดังนี้

- กิจกรรมฝึกหายใจ mindfulness

- กิจกรรมการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อ

- กิจกรรมรู้จักสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ

- กิจกรรมทำบุหงารำไป

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว จึงให้มีการถามความรู้สึกหลังทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุให้ความร่วมมืออย่างมาก แม้จะเป็นกิจกรรมทำบุหงารำไป ที่จะต้องทำถุงใส่บุหงาด้วยตัวเอง ในตอนแรกผู้สูงอายุ ไม่ค่อยมั่นใจที่จะทำ แต่พอมีการช่วยแนะนำวิธีทำ ผู้สูงอายุก็เริ่มที่จะลงมือทำด้วยตัวเองได้

แนวทางการจัดโปรแกรมการรักษาเพื่อให้เกิด Passion to success with sense of being ได้จริงภายใน 21 วัน

- กิจกรรมการออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นความสนใจของผู้รับบริการ เพราะสามารถช่วยลดอาการชาตามปลายมือและปลายเท้าได้ ให้การออกกำลังกายที่มีการขยับทั้งมือและเท้าแล้วผู้สูงอายุก็สามารถนำไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมอื่นหรือนำไปทำทุกเช้า-เย็น อาจเพิ่มในส่วนวิธีการออกกำลังกายโดยการใช้รูปภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ

- การทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ ให้ผู้สูงอายุได้ลองทำ โดยจะต้องมีคนช่วยแนะนำวิธีในการทำบ้าง จากนั้นค่อยๆลดความช่วยเหลือลงเมื่อผู้สูงอายุมั่นใจที่จะทำแล้ว เพื่อส่งเสริมการทำกิจกรรมยามว่างของผู้สูงอายุ ฝึกการแก้ปัญหาของผู้สูงอายุ และฝึก cognitive อีกด้วย อาจทำคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้

- กิจกรรมระบายสี เนื่องจากผู้สูงอายุชอบระบายสี แต่เป็นสีไม้ อาจเปลี่ยนเป็นสีชนิดอื่นๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ลองฝึกการใช้สีและฝึกการแก้ปัญหา นอกจากทำคนเดียวแล้ว ยังสามารถนำไปปรับให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่มได้อีกด้วย

- กิจกรรมการฝึกหายใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้คลาย และเป็นการจัดการความเครียดอีกด้วย

กิจกรรมที่ดิฉันเลือกจะเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบทำ สนใจ หรือเป็นการท้าทายในตัวผู้สูงอายุ และเมื่อทำกิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเป็นเวลา 21 วันขึ้นไป ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุเกิดกระบวนการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา ทักษะทางสังคม การปรับตัวในชีวิตประจำวัน และสามารถปรับไปใช้กับกิจกรรมอื่นๆได้อีก (Occupational Adaptation through) เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีสุขภาวะอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 624865เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 06:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท