การบำบัดในผู้ที่มีภาวะ MANIA


ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับอาการของโรคแมเนียกันก่อนดีกว่าค่ะ

อาการ Mania เป็นอย่างไร?

ตอบ >> A.มีอารมณ์คึกคัก แสดงความรู้สึกโดยไม่รั้ง หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (หรือนานเท่าใดก็ได้หากต้องอยู่ในโรงพยาบาล)

B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3 อาการ (หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำคัญ

  • มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่ มีความสามารถ
  • ความต้องการนอนลดลง (เช่น ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว)
  • พูดคุยมากกว่าปกติ หรือต้องการพูดอย่างไม่หยุด
  • ความคิดแล่น คิดมากหลายเรื่องพร้อมๆ กัน หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว
  • วอกแวก (ได้แก่ ถูกดึงความสนใจได้ง่าย แม้สิ่งเร้าภายนอกจะไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่สนใจอยู่ในขณะนั้น)
  • มีกิจกรรมซึ่งมีจุดหมาย เพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การงานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ กระสับกระส่ายมาก
  • หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินแต่มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากติดตามมา (เช่น ใช้จ่ายอย่างไม่ยับยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ หรือลงทุนทำธุรกิจอย่างโง่เขลา)

D. ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทำให้มีความบกพร่องอย่างมากในด้านการงาน หรือกิจกรรมทางสังคมตามปกติ หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือทำให้ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีอาการโรคจิต

E. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่น) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ)

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1105)

สามารถรักษาอาการนี้ได้อย่างไร ?

ตอบ >> โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ยาในการบำบัดรักษา

แล้วมีวิธีการรักษาอื่นอีกไหม?

ตอบ >> มีค่ะ โดยดิฉันได้ทำการศึกษาหาหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ พบว่า มีการใช้โปรแกรมการรักษาที่แบ่งได้หลักๆ 6 โปรแกรมใหญ่ ได้แก่ Cognitive Behavioral Technique (CBT) , Psychoeducation, CBT & Psychoeducation, Psychoeducation and personalized Real-time Intervention for stabilizing mood (PRISM), Family Focused Therapy (FFT) และ Carer focussed interventions โดยผลจากการรวบรวมในหลายๆงานวิจัยพบว่า การใช้ CBT & Psychoeducation มีผลในการลดอาการ mania ในผู้ป่วยจิตสังคมได้อย่างมีนัยสำคัญ *หมายเหตุ : ในงานวิจัยที่ดิฉันได้ศึกษามานั้นไม่ได้กล่าววิจัยในกลุ่มอาการ mania โดยตรง แต่จะเป็นการวิจัยใน อาการทางจิตสังคมอื่นๆ ที่มีภาวะ mania ด้วยว่าสามารถลดอาการของ mania ได้จริงหรือไม่ เช่น Bipolar Disorder, Schizophrenia, ADHD เป็นต้น

แล้วทำได้อย่างไรบ้าง?

ตอบ >>

ในการให้การบำบัดแบบ CBT & Psychoeduucation มีอยู่หลายงานวิจัยซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธีย่อยได้ ฉะนั้นจะขอยกตัวอย่างการให้การบำบัดคือ

  • มีการให้ Psychoeducation เกี่ยวกับ Mania โดยอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิด การทำกิจกรรม การแสดงออกทางกายไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์และความรู้สึก รวมไปถึงการแยกแยะ ตรวจสอบสัญญาณเตือนและการจัดการกับปัญหานั้นๆ
  • มีการฝึกการจัดการการนอนหลับและวางแผนในกิจกรรมที่พึงพอใจ
  • มีการให้ทำ self-instruction หรือการฝึกสอนตนเองโดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการหุนหันพลันแล่น
  • มีการให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเขาสามารถทำได้ดี หรืออาจใช้วิธีสะสมแต้มให้ครบจำนวนที่กำหนด แล้วจึงจะได้ของรางวัล โดยการให้คะแนนอาจทำได้โดยการกำหนดว่า ถ้าสามารถทำงานได้เสร็จโดยไม่แสดงพฤติกรรมอาการ หรือแสดงเพียงเล็กน้อย จึงจะให้ 5 แต้ม เป็นต้น (วิจัยในผู้ที่มีภาวะร่วมใน ADHD)
  • และในท้ายที่สุดจะได้รับการฝึกในการตรวจสอบความคิดของตนเองรวมถึงการคิดแก้ปัญหาต่างๆด้วย

* แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตามงานวิจัยที่ดิฉันได้ศึกษามายังไม่ได้ชี้ให้เห็นชัดถึงการรักษาในอาการ Mania โดยตรง และไม่ได้ทำให้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมจึงช่วยลดอาการ mania ได้จึงควรมีการศึกษาสืบต่อไป (ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://bjp.rcpsych.org/content/early/2017/02/07/bjp.bp.116.195321)

การชี้แนะเพิ่มเติมในการประยุกต์ใช้ทางกิจกรรมบำบัด

  • ควรมีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจ เกิดความเชื่อใจ ก่อให้เกิดความสบายใจในการบำบัดฟื้นฟู โดยใช้ therapeutic use of self and relationship, deep listening และ rapport
  • ในการบำบัดอาการ Mania จำเป็นต้องดูถึงพฤติกรรม อารมณ์ สิ่งที่เขาแสดงออกมาภายใต้บริบทต่างๆ ด้วย เพื่อที่จะได้เลือกตั้งเป้าประสงค์ได้ถูกต้องและวางแผนการรักษาได้เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ
หมายเลขบันทึก: 624863เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท