ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Core Team R2R จังหวัดยโสธร



ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Core Team R2R จังหวัดยโสธร

------------------------------

ปรากฎการณ์การขับเคลื่อน R2R ที่ยอดเยี่ยมมากนำทีมโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรและเครือข่ายคุณอำนวยทุกพื้นที่อำเภอ (R2R Facilitator) มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อน R2R ในภาพจังหวัด

รองผู้อำนวยการกลุ่มภาระกิจทางการพยาบาลคุณกีรติ คำทองมาร่วมกล่าวต้อนรับและร่วมฟังการประชุมด้วยในช่วงแรก

พี่นิด-คุณฐิรพร อัศววิศรุต ผู้นิเทศ R2R เขต 10 เล่าและนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงทิศทางการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของเขตและกระทรวง รวมถึงเรื่องจริยธรรมทางการวิจัย

----

"เน้นการทำงานที่สอดรับกับนโยบาย "

คณะกรรมการจริยธรรมพิจารณา 4 ครั้งต่อปี ยโสธรมีทีม R2R Fa อำเภออย่างน้อยละ 1 คน

ระบบฐานข้อมูลการส่งผ่าน Fa "เน้นการนำไปใช้ประโยชน์"

พี่เม่น ; ผลงานปี 59 การรับรองทางจริยธรรม(รับรองย้อนหลัง)

เป้าหมาย จริยธรรมการวิจัย ช่วยรับรองผลงาน เรื่องเฉพาะทางให้ผู้เชี่ยวชาญ

อ.เลิงนกทา

- มีการทำงานร่วมกันภาพของ คปสอ. เป็นงานที่ทำมาก่อนและนำมาพัฒนาการทำเป็น R2R

- มีการประสานและแนะนำพื้นที่ 70%

- ส่งขอยกเว้นจริยธรรม (เรื่องที่ไม่ซีเรียสมาก)

อ.ไทยเจริญ

- มีการอบรมขับเคลื่อน R2R

- จัดทำโครงการขับเคลื่อนงานวิจัย R2R อบรมปูพื้นฐานให้ความรู้เลือกประเด็นการวิจัย ทำต่อเนื่อง นำเสนอความก้าวหน้า 2 เดือนต่อครั้ง และคัดเลือกผลงาน

- เป้าหมายทุก รพ.สต.และ ร.พ.เข้าร่วม

- มีคณะกรรมการในการช่วยขับเคลื่อน ลงแรงทุกพื้นที่ -- "R2R สัญจร"

พี่อี๊ด; อยากให้ขับเคลื่อนแบบโยนโจทย์ลงสู่พื้นที่

พี่นัท; ไทยเจริญมีต้นทุนอยู่แล้ว และ Gap คือเรื่องการเขียน ตอนนี้ไปเชื่อมกับงาน สกว. เรื่องการพัฒนาศักยภาพของหมออนามัยในการเป็น Fa ให้ชาวบ้านในการปรับเปลี่ยนสุขภาพ --> บุหรี่ สุรา โรคเรื้อรัง (น่าจะเป็นภาพของจังหวัด การวิจัยระดับยาว)

อ.ทรายมูล

- โรงพยาบาลมีการขยับตัวและมีผลงาน ในส่วนของ สสอ.ยังช้า (Gap อยู่ตรงไหน) มีแผนและมีงบสนับสนุนขับเคลื่อนในภาพของ Cup

- มีเทคนิคการนำความก้าวหน้ามาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน

- ทรายมูลมีอะไรดีๆ ในการมาขับเคลื่อน Capture ออกมา เขียนมา แล้วค่อยปรับเป็นการเขียนเชิงวิชาการ

- ดึงศักยภาพของคนในพื้นที่ออกมา

อ.ค้อวัง

- สสอ.ยังเงียบๆ แต่ก็เริ่มมีแผนในการขับเคลื่อน ผู้บริหารสนับสนุน ในส่วนของโรงพยาบาลมีการขับเคลื่อนชัดเจน

- ค้อวังมีการขับเคลื่อนมาตลอด 4 ปี อสม.ทำ R2R

- ให้หาปัญหาหน้างาน ใช้หลัก 3P (Propose, Process,Performance) โรงพยาบาลขับเคลื่อนทุกหน่วย

- กำหนด Fa ในพื้นที่แบ่งพื้นที่กันติดตาม

- ในส่วนของ สสอ. เสนอขับเคลื่อนเป็นภาพ คปสอ

อ.มหาชนะชัย

- นำร่องมาไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน

- สสจ.มานิเทศมีหัวข้อ R2R อยู่ในส่วนนิเทศ

- ยังขาดการเชื่อมโยงในภาพของ คปสอ.

- เปิดเพลง R2R ทุกวันทุกเช้าและสอดแทรกเรื่อง R2R ในชีวิตประจำวัน

- การสร้างเสริมกำลังใจเป็นรูปธรรม

พี่เม่น; ในแต่ละเดือนที่ประชุม กวป.เสนอแผน R2R คืนข้อมูลให้ผู้บริหาร

อ.คำเขื่อนแก้ว

- มีนโยบายชัดเจน ประกาศ 100% ทีม Fa มาเรียนรู้การขับเคลื่อน

- จุดแข็งขับเคลื่อนภาพ คปสอ.

- นำเรื่องเล่า มาใช้เป็นตัวเดินเรื่อง

- ภาพต่อเนื่องภาพ Cup Meta R2R เรื่องเบาหวาน

อ.ป่าติ้ว

- ใช้ R2R เป็น core competencies ขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี 53

- ขับเคลื่อน 100% มี Fa ในพื้นที่ แทรกทุกกระบวนการทำงาน

- Gap จากงานพัฒนางานคุณภาพนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัย

- ผู้บริหารสนับสนุน

- นโยบายชัดเจน ทาง สสอ.เป็นผู้สนับสนุนในเชิงบริหารจัดการ เชิงระบบ

- มีแผนการทำงานล่วงหน้า และกำหนดทิศทาง

พี่เม่น : "ระบบสุขภาพชุมชน" สมัชชา คือ การทำงานร่วมกันในสามส่วนคือ ภาครัฐ NGO ภาควิชาการ

- สามภาคส่วนมาวิเคราะห์ประเด็นสุขภาพสรุปได้ 3 ประเด็น "อาหารปลอดภัย สารเคมีที่ตกค้าง การจัดการขยะ"

- มีการทำวิจัยร่วมกัน (ตั้งข้อสังเกตว่า นักวิชาการมักจะเป็นผู้นำในการทำวิจัย) --> ผลการวิจัยของอาจารย์ที่นำมาสู่การคืนข้อมูลอาจจะไปเกิดเป็นประเด็นคำถามการวิจัย (ปิ๊งแว้ป)

-----------

คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#ยโสธร
หมายเลขบันทึก: 624533เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2017 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2017 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท