ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษาแนวทางการศึกษาเกษตรอินทรีย์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน(ครั้งที่2)


  • </ul>

    วันนี้เราลงพื้นที่ ต.สวนป่าน เป็นครั้งที่สองซึ่งวันนี้โชคดีมากมีอาจารย์จาก ก.ศ.น. มาสอนทำอาหารเพื่อเป็นการฝึกวิชาชีพของคนในหมู่บ้าน ซึ่งอาหารที่ทำในวันนี้มีการฝึกทำสลัดโรลและการทำขิงดอง


    ถ่ายภาพร่วมกับคนในพื้นที่ที่มาฝึกการทำสลัดโรล : ภาพโดยลูกสาวป้าสุนีย์

    ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ให้ความสนใจและร่วมมือกันเป็นอย่างดี อาจารย์ผู้สอนก็สอนได้เข้าใจเป็นอย่างดีพวกเราได้ลงไปทำกับคนในหมู่บ้าน ซึ่งการทำสลัดโรลนั้นผักที่ได้เป็นผักปลอดสารพิษจากไร่ของป้าสุนีย์ เป็นผักที่มาจากการทำเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีเลย และมีรสชาติที่ไม่ขม ปลอดภัยต่อผู้คนที่ได้รับประทานซึ่งวิธีการทำสลัดโรลนั้น มีขั้นตอนการทำที่เข้าใจง่ายดังนี้

    สลัดโรล : ภาพโดยรภัทภร

    อุปกรณ์

    • น้ำสลัด ( เตรียมไว้แล้ว )
    • ผักไฮโดรโปรนิค
    • แครรอท
    • เส้นแก้ว
    • ปูอัด ไส้กรอก หรือทูน่า
    • แป้งปอเปียะญวณ


    สลัดโรลฝีมือของทุกคน : ภาพโดยฐาปนีย์

    น้ำสลัดที่เตรียมไว้ : ภาพโดยรภัทภร

    แผ่นปอเปียะ ปูอัด และผักไฮโดรโปรนิกที่เตรียมไว้ : ภาพโดยรภัทภร

    วิธีการทำ

    • นำแผ่นปอเปียะญวนแช่น้ำ เป็นเวลา 3 วินาที
    • เมือแช่เสร็จแล้วนำมาวางไว้แล้วนำผักไฮโดรโปรนิกมาวางมากน้อยตามที่ต้องการ
    • นำแครอลและปูอัดมาวางซ้อนผัก
    • นำเส้นแก้วมาใส่มากน้อยตามความต้องการ
    • หลังจากวางส่วนประกอบครบแล้วก็ทำการม้วนแป้ง หลังจากนั้นก็นำไปตัดครึ่งและจัดใส่จานเป็นอันเสร็จ

    คนในพื้นที่เรียนรู้การทำสลัดโรล : ภาพโดยฐาปนีย์


    อาจารย์คอยสอนอย่างใกล้ชิด : ภาพโดยฐาปนีย์

    ป้าๆคอยบอกคอยสอนเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการทำงานทุกคนมีความเป็นกันเอง สนุกสนาน เฮฮา และมีแต่เสียงหัวเราะ


    ระหว่างทำสลัดโรล : ภาพโดยฐาปนีย์


    คณะผู้วิจัยได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ : ภาพโดยอัญชญา



    คณะผู้วิจัยได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ : ภาพโดยรภัทภร


    คณะผู้วิจัยได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ : ภาพโดยภาสกร


    หลังจากนั้นมีการสอนการทำขิงดองซึ่งทางเราก็เข้ามามีส่วนร่วมในการทำครั้งนี้อีกด้วย


    คณะผู้วิจัยร่วมถ่ายภาพร่วมกับคนในพื้นที่ที่มาทำขิงดอง : ภาพโดยลูกสาวป้าสุนีย์


    ขิงที่นำมาดองนั้นต้องเป็นขิงที่อ่อนไม่แก่จนเกินไป อาจารย์จาก ก.ศ.น. ก็มาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำขิงดอง มีดังนี้


    คณะผู้วิจัยเข้ามามีส่วนร่วมในการทำขิงดอง : ภาพโดยรภัทภร

    ขั้นตอนวิธีการทำ

    1. นำขิงที่ได้มามาปลอกแล้วหันเป็นแว่นบางๆ
    2. หลังจากนั้นก็ทำการคั้นน้ำมะนาวในจำนวนที่พอเหมาะ
    3. นำขิงที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้ากับเกลือแล้วเอาไปล้างน้ำเปล่า
    4. หลังจากที่เราได้ทั้งขิงแล้วก็น้ำมะนาวแล้วนำน้ำมะนาวมาเทลงบนขิงที่เตรียมไว้ทิ้งไว้สักพัก
    5. ใส่โหลดองใช้น้ำส้มสายชูเคี่ยวกับน้ำตาลทรายแล้วหมักไว้หนึ่งสัปดาห์

    เทน้ำมะนาวลงในขิงดอง : ภาพโดยฐาปนีย์


    การลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้เราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำอาหารเพื่อสร้างอาชีพ จากที่เราไม่เคยทราบขั้นตอนกระบวนการทำมาก่อนทางเราต้องขอขอบพระคุณอาจารย์และกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่มากๆที่ให้เราได้เกิดการเรียนรู้ในครั้งนี้ค่ะ


    ถ่ายภาพร่วมกับคนในพื้นที่ : ภาพโดย ลูกสาวป้าสุนีย์


    คณะผู้วิจัยทุกคนถ่ายภาพร่วมกับป้าสุนีย์ : ภาพโดยลูกสาวป้าสุนีย์



หมายเลขบันทึก: 624341เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2017 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท