KM กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน


เป้าหมาย

"กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สามารถจัดการความรู้ ด้านการหัน  เหคดีเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

แผนการจัดการความรู้ กรมพินิจฯ

1. บทสรุปผู้บริหาร                                       จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์  และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  มาตรา 11ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ  เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ   โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ   เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้    ความสามารถ   สร้างวิสัยทัศน์   และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด   ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน  ประกอบกับท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีทำให้ส่วนราชการทุกแห่งจะต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆให้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารองค์กรเพื่อให้สามารถยืนหยัดและก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสม  ทั้งนี้ ในการดำเนินการ    ดังกล่าวจะต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้    ความสามารถของบุคลากรในสังกัดให้พร้อมที่จะเรียนรู้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน

เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมีวิธีการบริหารที่ดี   จึงได้นำการจัดการความรู้(Knowledge Management) ซึ่งเป็นระบบการจัดการที่สามารถกำหนดขึ้น   และนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมมาดำเนินการ โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้จัดวางระบบการจัดการความรู้ และแผนการดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ พัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน   ผู้ต้องหาและ ผู้กระทำผิด ที่ได้จัดทำเป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(Blueprint for Change)ไว้เมื่อปีงบประมาณพ.ศ.2548  ดังรายการต่อไปนี้

1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดการความรู้กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ CKO (Chief Knowledge Officer) พร้อมรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบ

1.      นายสุรินทร์  เสถียรมาศ  เป็น CKO ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้1.1  ให้การสนับสนุนในด้านต่าง    เช่น  ทรัพยากร1.2  ให้คำปรึกษาแนะนำและร่วมประชุมเพื่อการตัดสินใจแก่คณะทำงาน1.3  แต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลให้ปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติม2.      นายอภิชาต  จารุศิริ  เป็น หัวหน้า KM Team 3.      นางจารุวรรณ  รีฮาเซ็น เป็น KM Team4.      นายปรีชา  โสวรรณี เป็น KM Team

5.      นางสาวดวงพร  อุกฤษณ์ เป็น KM Team

6.      นางสาวอรพรรณ  เลาหัตถพงษ์ภูริ เป็น KM Team  7.      นางรัชดาวรรณ  ศิริไพบูลย์ เป็น KM Team  8.      นางสาวศิริประกาย  วรปรีชา เป็น KM Team  9.      นางสาวธันวลัคน์  เชิงดี เป็น KM Team             โดย หัวหน้า KM Team มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

                  1.  จัดทำแผนจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก  และเยาวชนประจำปี 2549         

2.      กำกับ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อ CKO3.      เร่งรัด  ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานพื่อการแก้ไขปรับปรุง4.      ให้คำแนะนำปรึกษาแก่คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง             และ KM Team มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้1.      จัดทำแผนจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  25492.      ดำเนินงานตามแผนและจัดทำรายงานความคืบหน้าของงานในส่วนที่รับผิดชอบ3.      เป็น  แบบอย่างที่ดี  ในเรื่องการจัดการความรู้4.      เป็น  Master  Trainer  ด้านการจัดการความรู้

    5. ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การจัดการความรู้เป็นเป็นไปอย่างมีระบบและส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการประกอบการพิจารณาประเมินบุคคล   

1.2ขอบเขต KM  (KM Focus Area) 
• ขอบเขต KM (KM Focus Area)  ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมดประกอบด้วย
1. ด้านคดีอาญา
2.  ด้านควบคุมดูแลและบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในสถานแรกรับ
3.  ด้านควบคุมดูแลและบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรม
4. ด้านพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม
• ขอบเขต KM (KM Focus Area) ที่จะเลือกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2549 (ได้คะแนนสูงสุด) คือ
         -  ด้านคดีอาญา

       1.3เป้าหมาย KM (Desired State)·       เป้าหมาย KM (Desired State) ทั้งหมด ที่สอดรับกับขอบเขต KM ที่จะเลือกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในงบประมาณประจำปี พ.. 2549  ประกอบด้วย1.      กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนสามารถจัดการความรู้ด้านการหันเหคดีเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยวิธีการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ2.      หน่วยงานในสังกัดสามารถจัดการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนแบบเช้ามาเย็นกลับได้อย่างเหมาะสมกับเด็กและเยาวชนแต่ละราย3.      กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนสามารถจัดการความรู้ด้านการประสานเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันแก้ไขเด็กและเยาวชนกระทำผิดก่อนเข้าสู่กระบวนการ      ยุติธรรม

        ·  เป้าหมาย KM (Desired State) เพียงเป้าหมายเดียว ที่ทีมงานจะเลือกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในงบประมาณประจำปี พ.. 2549  คือ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนสามารถจัดการความรู้ด้านการหันเหคดีเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยวิธีการประชุมกลุ่ม    ครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      1.4ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)         ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)  เพื่อให้ดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM ที่เลือกทำ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์กร  คือ1.      ความรู้ความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในกรมที่เกี่ยวข้อง  2.      การยอมรับและความสนใจของชุมชน สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.      ความสำเร็จของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการจัดการความรู้ของกรม4.      ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ มีการสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้บุคลากรแสดงความ      คิดเห็น5.      มีการสื่อสารที่ชัดเจน เป็นระบบและต่อเนื่อง6.      สร้างแรงจูงใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมและเห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้ 

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 62428เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท