จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๘๘ : อภิชาตศิษย์ (๑๓) หมวกคุณธรรม


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๘๘ : อภิชาตศิษย์ (๑๓) หมวกคุณธรรม

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ระยะเวลาประมาณ ๕สัปดาห์ สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๔ เป็นรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนเน้นกิจกรรม มี student-initiated session (นักศึกษาเป็นคนออกแบบการเรียน เลือกคนสอน/คุม/แสดง และประเมินเอง) สอบแบบ open-book แต่ที่เป็น highlight ของรายวิชานี้ทุกๆปี (สำหรับอาจารย์) คือ Health Promotion Project ที่นักศึกษาจะมีเวลาประมาณ ๒ สัปดาห์ในการออกแบบ ทำ pilot และรายงาน สุดท้ายก็มานำเสนอแก่คณาจารย์และเพื่อนๆตอนสิ้นสุดรายวิชา นักศึกษาจะต้องบูรณาการหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based medicine) เพื่อตั้งคำถามหรือปัญหาทางสุขภาวะ และทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับปัญหานั้นๆขึ้นมา โดยมีการพิจารณาทั้ง methodology, ethic research และการวัดการประเมินที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

แต่ที่บอกว่าเป็น highlight ก็คือ ตอนนำเสนอผลงาน ที่เราบอกนักศึกษาเพียงว่า "ทำยังไงก็ได้ ให้มันน่าสนใจ และคนฟังซื้อ" และผลก็คือการแสดงความสามารถที่ปกติเราจะมองไม่เห็น (คือไม่ได้มองหา) ในตัวนักศึกษาของของเราที่มากกว่าที่เคยคิด เคนจินตนาการเอาไว้มากมาย (hence the word "อภิชาตศิษย์")

ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน และที่น่าสนใจคือไม่เพียงแค่โครงการเดียว แต่มีหลายโครงการที่เมื่อได้ฟังแล้ว ในฐานะอาจารย์ก็อยากจะบันทึกเก็บไว้เป็นหลักฐานว่าเราเคยได้ยิน ได้เห็นอะไรแบบนี้ด้วย

โครงการหมวกคุณธรรม

ในฐานะมหาวิทยาลัยนอกกรุงเทพฯ เราได้พบเห็นยานพาหนะอย่างหนึ่งที่คุ้นตาเป็นอย่างดีคือรถมอเตอร์ไซด์ ใครๆก็มี ใครๆก็ใช้ ใช้ในทุกๆที่ (as the saying, everyday, everywhere and everyone!) และ anomaly ที่เราเห็นจนคุ้นตาก็คือการขับขี่โดยไม่สวมใส่หมวกกันน็อค (safety helmet) ทั้งคนขับและคนนังซ้อนท้าย นักศึกษากลุ่มนี้ได้ทำสำรวจนับอุบัติการณ์พฤติกรรมที่ว่านี้ ก็พบว่าแม้แต่ในกลุ่มนักศึกษาคณะแพทย์เอง ก็มีพฤติกรรมที่ย้อนแย้งกับความปลอดภัย โดยเฉพาะคนนั่งซ้อนท้าย และเหตุผลหนึ่งที่ไม่ใส่ก็คือ เพราะคิดว่าไปแป๊บเดียว หรือไประยะทางสั้นๆ ไม่น่าจะมีอะไร และคนซ้อนก็ไม่ได้มีหมวกกันทุกๆคน จากการสำรวจนำร่องนี้เอง ทางกลุ่มจึงได้ออกแบบโครงการ "หมวกคุณธรรม" ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในเชิงพฤติกรรม

จากทุนตั้งต้นที่คณะฯให้ ๑๕๐๐ บาท นักศึกษาได้ไปหาทุนเพิ่มเติมจากกรรมการหอพัก ในการจัดซื้อหมวกกันน็อคที่ได้มาตรฐาน และตู้เก็บหมวกหนึ่งตู้มาตั้งไว้ที่หอพักนักศึกษา มีหมวกทั้งหมด ๒๐ ใบ กุญแจตู้เก็บไว้ที่ยาม นักศึกษาสามารถมาขอกุญแจเพื่อยืมหมวกจากยามสำหรับทั้งคนขับและคนนั่งซ้อนได้ได้ตลอดเวลา และเมื่อถึงเวลาก็นำมาคืน นี่เป็นการเตรียม hardware

ในส่วนการรณรงค์ นักศึกษาได้จัดทำคลิปวิดีโอลง social network สื่อ Facebook และโปสเตอร์ รณรงค์ในมหาวิทยาลัยในเรื่องความปลอดภัย

ในช่วงเวลาสองสัปดาห์ ผลตอบรับดีมาก มีอาจารย์จากคณะอื่นมาสอบถามถึงโครงการและแสดงความต้องการจะนำไปเผยแพร่ ปริมาณคนซ้อนท้ายที่สวมหมวกมีมากขึ้น และผลด้านความพึงพอใจในการแก้ปัญหาก็ดีขึ้นด้วย มีการวางแผนจะขยายระยะเวลาโครงการนี้ต่อไปแม้ว่าจะจบรายวิชานี้ไปแล้ว เพราะทั้งตู้และหมวกก็ยังคงอยู่ มีคำแนะนำเพิ่มเติมว่าจะต้องทำความสะอาดหมวกอย่างไร และบ่อยแค่ไหน ฯลฯ

นักศึกษานำเสนอโครงการนี้ให้แก่เพื่อนๆในลักษณะรายการ Talk Show ของวู้ดดี้เกิดมาคุย ซึ่งทำให้บรรยากาศการนำเสนอดีมาก สนุก ได้ความรู้ และเกิดผลในทางปฏิบัติจริง

Love it, Love it, Love it
You Make Me Proud

โครงการนี้ supervised โดย อาจารย์ นพ.พิชญานนท์ งามเฉลียว และ อาจารย์แพทย์หญิงนริศา รัตนเลิศ

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, เด็ก

<img src="//cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/210/092/large_20170221094418.jpg" "="">

หมายเลขบันทึก: 624207เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท