กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม สืบสานภูมิปัญญา : สาขาวิชาสังคมศึกษา มมส


สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ ๒ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรม "เรียนรู้หัตถกรรม สืบสานภูมิปัญญา" ภายใต้โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ณ โรงเรียนบ้านท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อหวังว่าเด็กๆจะเป็นต้นทุนทางสังคมในการร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมเดิมของชุมชนให้คงอยู่ โดยเน้นที่งานหัตกรรม (ทำมือ) ที่เด็กสามารถทำได้เเละนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

วันนี้วันวาเลนไทน์ ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นกิจกรรมบทเรียนแรก คือ การเรียนรู้เรื่องงานใบตอง โดยมีครูชุมชน คือ คุณยายแล ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานหัตถกรรมใบตอง มาช่วยสอนลูกหลาน

กิจกรรมในช่วงเเรก เป็นสันทนาการ ซึ่งใช้เพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียนเเละสร้างบรรยากาศในการการเรียนรู้ กับนักเรียน ซึ่งเป็นเด็กชั้นประถมปีที่ ๔-๖ ความต่างของช่วงวัยเเละความเขินอายเด็กจะมีมาก โดยต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ใช้เกมที่สนุก เหมาะสำหรับเด็กๆ สิ่งที่พบ คือ เด็กสามารถละลายพฤติกรรมเข้ากันได้ไม่มากนัก เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมนั่ง ต้องปรับให้เป็นกิจกรรมเดินเเละวิ่งมากขึ้น เเละจัดเวทีแบบครึ่งวงกลม อาจช่วยได้มากขึ้น


ช่วงที่สอง เป็นกิจกรรมแก่น คือ การสอนเรื่องงานหัตถกรรมใบตอง โดยคุณยายแล เป็นวิทยากรหลัก ส่วนนิสิตเป็นวิทยากรเสริมช่วยให้เด็กทำได้เเละเข้าใจ เพราะความรู้แบบนี้ต้องปฏิบัติเท่านั้นจึงจะเข้าใจ (Tacit Knowledge) กระบวนการ คือ จัดเวทีแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม เเต่ละกลุ่มจะมีพี่คอยช่วยกลุ่มละ ๓ คน ให้คุณยายแล เป็นคนนำ ส่วนทั้ง ๔ กลุ่มตาม โดยทำไปทีละอย่าง แบบค่อยๆไป

สิ่งที่ยายสอน คือ การทำบายศรีปากชาม (ขันหมากเบ็ง) มีส่วนประกอบ ๓ ส่วนสำคัญ คือ ส่วนกรวย(โอ้) ส่วนนิ้วบายศรี เเละส่วนขัน ยายพาทำนิ้วทีละนิ้วก่อน จากนั้นนำเเต่ละนิ้วมาเย็บรวมกัน เป็น ๔ ชุด จากนั้นทำกรวย(โอ้) เเล้วนำทุกส่วนมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างง่ายๆ เเต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกอย่างเลย

ผลคือ เด็กสามารถทำบายศรีปากชามได้ทุกกลุ่ม เเละทำสวยทุกกลุ่ม สามารถนำเสนองานของตนเองได้ เเละสะสามารถสะท้อนบทเรียนจากการปฏิบัติจริงได้ นั่น คือ อธิบายวิธีการ การนำไปใช้ เเละด้านความรู้เกี่ยวกับบายศรีที่ทำอยู่ได้

ช่องสุดท้าย เป็นกิจกรรมการสรุปบทเรียน โดยใช้เครื่องมือวัดผลแบบง่ายๆ ถอดบทเรียนแบบมินิจิตตปัญญา ใช้กระบวนการ Reflection การเรียนรู้ โดยให้เด็กวาดภาพตัวเองลงไปในกระดาษ เเล้วให้ตอบคำถาม ๓ โจทย์ แต่เชื่อมกับ KPA ได้แก่

  • ประทับใจอะไรบ้าง (A : Attitude) ทัศนคติ ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะประทับใจคุณยายที่สละเวลามาสอนพวกเขา ประทับใจพี่ๆน่ารัก มีเกมสนุกๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
  • ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (K : Knowledge) ความรู้ ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะมีความรู้เรื่องการทำบายศรีปากชาม วิธีการทำ องค์ประกอบการนำไปใช้ เเละความสำคัญต่อด้านประเพณี
  • ทำอะไรได้บ้างเเละจะนำไปใช้อย่างไร (P : Process/Skills) ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะสะท้อนว่าสามารถทำบายศรีปากชามได้ อยากทำขาย ฉีกใบตองเป็น ทำนิ้วบายศรีได้ เเละออกแบบบายศรีได้

สุดท้ายนี้ คุณยายแล ท่านบอกว่า "ยายดีใจมากๆ ที่อาจารย์ให้โอกาสยายมาสอนในสิ่งที่อยากให้เด็กยุคใหม่ได้เรียนรู้"

สัปดาห์หน้าเจอกันเด็กๆ เเต่จะเป็นฐานอะไรนั้น .... อุปไว้ก่อน ... อิอิ

หมายเลขบันทึก: 623285เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท