ระบบบริหารบุคคลภาครัฐยุคปฏิรูประบบราชการ


ระบบบริหารบุคคลภาครัฐยุคปฏิรูประบบราชการ

       27 ต.ค.48   ผมแว่บจากการประชุมวิชาการชอง สคส. ที่โรงแรมเอเชียไปฟังการเสวนาเรื่องระบบ HRD ของภาครัฐในยุคปฏิรูประบบราชการที่จุฬาฯ   นำเสวนาโดย รศ. ดร. ทศพร  ศิริสัมพันธ์   เลขาธิการ กพร.   และ ผศ. ดร. ทวี  เลิศปัญญาวิทย์   อดีตอธิการบดี มทส.

                         

                               รศ. ดร. ทศพร  ศิริสัมพันธ์

แนวโน้มภาพใหญ่ของการปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคลของราชการก็คือ
     - ปรับสู่ระบบ broad banding & flat organization
     - มีเพียง 3 layers :
          - Band 1   ระดับตำแหน่งผู้บริหาร   แบ่งเป็นขั้นต้นกับขั้นสูง
          - Band 2   ระดับตำแหน่งผู้อำนวยการ   แบ่งเป็นขั้นต้นกับขั้นสูง
          - Band 3   ระดับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน   แบ่งออกเป็น
               - Knowledge workers : มี 5 ระดับคือ (1) ปฏิบัติการ  (2) ชำนาญการ  (3) ชำนาญการพิเศษ  (4) เชี่ยวชาญ  (5) ทรงคุณวุฒิ
               - Skilled workers : มี 4 ระดับคือ (1) ปฏิบัติการ  (2) ชำนาญงาน  (3) อาวุโส  (4) ทักษะพิเศษ
           พวกอาจารย์จะอยู่ใน Band 3 Knowledge workers
     - ในระยะสั้นจะมีการจัดเส้นทางพิเศษของระบบบุคลากร   ทั้งที่เป็น Young Executive และ Senior Executive ที่ความรับผิดชอบสูง  ค่าตอบแทนสูง
     - ในระยะยาว   เพิ่มจำนวนข้าราชการในสายพิเศษให้มากขึ้น
     - ข้าราชการสายพิเศษ   อาจต้องมีการจ้าง head hunter มาหาตัว
     - จะมีการจำแนกข้าราชการเป็น 3 กลุ่ม
          - Talent Group
          - Performer (Hi - Med - Low)
          - Youngster
     - มีระบบ Performance Agreement ทั้งระดับมหาวิทยาลัย,  คณะและอาจารย์
     - มีระบบ Career Development มีแผนพัฒนาลงไปถึงระดับบุคคล
     - ปรับระบบเงินเดือนและระบบจูงใจ
     - มีระบบ early retirement และ succession plan

           ผมมองไม่เหมือนผู้ที่อยู่ในที่ประชุมหลาย ๆ คนที่ตั้งข้อสงสัย  และไม่เห็นดัวยกับรายละเอียดหลาย ๆ อย่าง   ผมมองว่านี่คือโอกาสในการจัดระบบบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมต่อภารกิจการทำงานสร้างสรรค์ในมหาวิทยาลัย

หัวใจของระบบใหม่คือ
     - เปลี่ยนจากเดิมเป็นระบบแห่งความเหมือนไปสู่ระบบแห่งความต่าง   เปิดช่องให้มีการบริหารงานบุคคลได้หลายระบบภายในหน่วยงาน

เดียวกัน   ซึ่งผมเห็นว่าดีมาก   งานภายในมหาวิทยาลัยในต่างหน่วยงานแตกต่างกันมาก   แม้จะมีชื่อเป็นตัวหนังสือเหมือนกัน
     - ต่อไปหน่วยราชการจะต้องแข่งขันกันหาคนดีและเก่งเข้ามาทำงาน   โดยมีแรงจูงใจและการตอบแทนสูง   และความรับผิดชอบ & ผลงานก็ต้องสูงด้วย

            ดร. ทศพร ได้ชี้ให้เห็นโอกาสของจุฬาฯ ชัดเจนว่า   น่าจะเตรียมเปิดหลักสูตรผลิตคนแบบใหม่ที่มี skills จาก multi - disciplinary  เช่นนักจัดการเทคโนโลยี

            ผมมองว่าการที่หน่วยงานจะต้องแข่งขันกันดึงดูงคนดีมาเป็นข้าราชการ/อาจารย์เป็นเรื่องดีต่อประเทศ   และแรงดึงดูดไม่จำเป็นว่าจะต้องเงินเดือนสูงกว่าเสมอไป   ในบางกรณีเงินเดือนต่ำกว่านิดหน่อยแต่โอกาสได้ทำงานที่เขารักหรือท้าทาย   ก็เป็น incentive สำคัญสำหรับคนรักงานวิชาการ/วิจัย

วิจารณ์  พานิช
 27 ต.ค.48


 

หมายเลขบันทึก: 6231เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2005 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท