ลองทำ e-sar


ตัวอย่าง e-sar จากคณะมนุษยฯ

ปฏิบัติการที่ดี



     สถาบันอุดมศึกษาพึงกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถาบันให้ชัดเจนและสอดคล้องกัน และมีแผนดำเนินการที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้


1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์

1.2 การจัดทำแผนดำเนินงาน

1.3 การติดตามและประเมินแผนดำเนินงาน


ดัชนีที่ 1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์
ปฏิบัติการที่ดี


     สถาบันอุดมศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถาบันไว้ชัดเจนและสอดคล้องกัน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของสถาบัน


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1.3 (02) แผนปฏิบัติการคณะมนุษยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549
1.1.3 (03) รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2548 คณะมนุษยศาสตร์
2. มี (1) + ที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน 1.1.3 (01) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์
3. มี (2) + มีการเผยแพร่ให้บุคลากร และสาธารณชนได้รับทราบ 1.1.3 (04) เว็บไซต์เผยแพร่วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์
1.1.3 (05) ภาพถ่ายบอร์ดประชาสัมพันธ์วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์
1.1.3 (06) เอกสารแนะนำคณะ
1.1.3 (07) จดหมายข่าว
4. มี (3) + บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ทราบ 1.1.3 (08) สัมภาษณ์บุคลากร
5. มี (4) + มีระบบหรือกลไกที่เอื้อให้เกิดการปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 1.1.3 (09) คณะกรรมการประกันคุณภาพคณะมนุษยศาสตร์


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล : รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางรจเรข สายคำ
เบอร์โทรภายใน : 2011
ผลการดำเนินงาน :
คณะมนุษยศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ชัดเจน และสอดคล้องกับภารกิจหลัก มีการประชาสัมพันธ์วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ตามช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการประกันคุณภาพฯ ของคณะที่เป็นกลไกในการเอื้อให้เกิดการปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T : -
โอกาส O : มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้คณะฯ สามารถปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของภาควิชา
จุดอ่อน W : - เนื่องจากคณะฯ มีห้องเรียนภายในคณะฯ น้อยมาก นิสิตส่วนใหญ่ของคณะฯ จึงไม่ได้เรียนที่คณะฯ แต่ต้องไปเรียนตามตึกอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ทำให้การเผยแพร่วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ เป็นไปได้ลำบาก แม้ว่าจะมีการติดไว้ให้เห็นในที่สาธารณะของคณะฯ เว็บไซต์คณะฯ รวมทั้ง แจ้งแก่นิสิตใหม่ในวันปฐมนิเทศ แต่นิสิตก็มักจะจำไม่ได้
จุดแข็ง S : บุคลากรในคณะฯ มีความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับลักษณะของวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ทำให้สามารถเขียนได้อย่างชัดเจนอย่างที่ควรจะเป็น และสะท้อนธรรมชาติวิชาภายในคณะ นอกจากนี้ ก็มีการให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยผ่านทางเว็บไซต์ของคณะ ทำให้สะดวกในการเข้าถึงข้อมูล

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
- จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อการปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์


การประเมินตรวจสอบ (CAR)

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :

    พัฒนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของคณะอย่างต่อเนื่อง เน้นความชัดเจนใน "ศาสตร์" ต่างๆ ภายในคณะในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต ประเภทของ "ศาสตร์" ของคณะมนุษยศาสตร์ขณะนี้อาจจะแบ่งกลุ่มได้เป็น
   1. กลุ่ม "ภาษา" อาจสร้างความชัดเจนได้โดยแบ่งกลุ่มย่อย
   2. กลุ่ม "วัฒนธรรม" (Culture) ในความหมายกว้าง ยังไม่ปรากฎในวิสัยทัศน์ พิจารณาองค์ประกอบของความหมายระหว่าง "วัฒนธรรม" และ "ศิลปวัฒนธรรม" ซึ่งปรากฎอยู่แล้วในวิสัยทัศน์ของคณะให้ชัดเจน
   3. กลุ่ม "ศิลป" ซึ่งมีอยู่แล้วในบางแขนง เช่น ดนตรี และนาฏศิลป์ จะมีแนวทางอย่างไรในการพัฒนาไปสู่ "ศาสตร์" ที่มีความสมบูรณ์ จนอยู่ในระดับที่ต้องพิจารณาหน่วยงานที่รองรับ เพื่อสนองตอบต่อความเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบของนเรศวรต่อไ

คำสำคัญ (Tags): #qa
หมายเลขบันทึก: 62301เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท