​โครงการติดตามยี่ยมผู้ป่วยหลังได้รับการฟื้นฟูสภาพที่ได้รับประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน fit for work & return to work (RTW) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ


โครงการติดตามยี่ยมผู้ป่วยหลังได้รับการฟื้นฟูสภาพที่ได้รับประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน

fit for work & return to work (RTW) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลการพัฒนาระบบการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ปี 2558 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน มีสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น หากปฎิบัติตามคำแนะนำ อาการเจ็บป่วยก็จะทุเลา สามารถกลับเข้าทำงานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับการทำงาน ช่วยให้สถานประกอบการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพผู้ประกันตน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ทางสถานประกอบการไม่ขาดพนักงานในการทำงาน พนักงานไม่เกิดความเครียด ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งช่วยให้โรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ

แต่จากการศึกษาวิเคราะห์ขอมูล ปัญหาที่พบในการดำเนินการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน พบว่ามีผู้ป่วยบางราย บางกรณีที่ได้รับการส่งต่อทำกายภาพบำบัด ส่งฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ บางรายใช้เวลาในการรักษานาน บางรายขาดการติดต่อ และไม่ได้รับการติดตามผลการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้กลับเข้าทำงานช้า และบางรายกลับเข้าไปทำงานที่ไม่เหมาะสมกับอาการความเจ็บป่วย/การบาดเจ็บ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตน อีกทั้งไม่มีใครย้ำเตือน แนะนำเวลากลับเข้าทำงาน เนื่องจากแพทย์อาจไม่ได้ระบุวันนัดประเมินก่อนกลับเข้าทำงานซ้ำ หรือผู้ป่วยบางรายต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ครบตามที่กำหนดของแผนกอื่นก่อน จึงทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน ดังนั้นหากมีโครงการติดตามยี่ยมผู้ป่วยหลังได้รับการฟื้นฟูสภาพที่ได้รับประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน

fit for work & return to work (RTW) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ที่มีประสิทธิภาพทั้งในโรงพยาบาล และสถานประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม เกิดขั้นตอนแนวทางที่สามารถช่วยติดตามดูแลแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ได้รับการดูแลแบบครบวงจร มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้รับการดูแลใส่ใจสุขภาพอย่างถูกต้องแบบครอบคลุม ก็จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มวัยแรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย ช่วยให้สามารถกลับเข้าทำงานได้อย่างเหมาะสมกับอาการเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของพนักงาน นายจ้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม สถานประกอบการ โรงพยาบาลได้อีกด้วย แม้ในปัจจุบันนี้จะมีการติดตามผลการประเมินหลังการได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน แต่ยังไม่มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจจากแผนกอื่นร่วมกับทีมสหวิชาชีพในสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

อีกทั้งในปี 2558 พบว่าสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบการประเมินก่อนกลับเข้าทำงานแบบบูรณาการ ในจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มทราบว่าโรงพยาบาลสมุทรสาครมีการพัฒนาระบบการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน แต่ยังไม่ทราบขั้นตอนการเตรียมรับการดูแล การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ว่าต้องปรับสภาพลักษณะการทำงานหรือไม่ อย่างไร เมื่อกลับเข้าทำงาน จากข้อมูลและปัญหาดังกล่าว ทำให้ทางกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม เห็นความสำคัญของการติดตามผลการประเมินผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจก่อนกลับเข้าทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ที่ต้องมีการประสานร่วมกันพัฒนาการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการฟื้นฟูสภาพ และต้องกลับเข้าทำงานเมื่อพร้อมที่จะทำงาน โดยมีกระบวนการทำงาน การติดตามผู้ป่วยแบบบูรณาการร่วมทีมสหวิชาชีพ โดยมีการร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐ และภาคเอกชน จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูล ปัญหา ขั้นตอนการดำเนินงาน มาปรับพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการฟื้นฟูสภาพ ที่ได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน ให้เกิดระบบการดูแลผู้ป่วยและพนักงานก่อนกลับเข้าทำงานแบบครบวงจร มีความปลอดภัย สามารถทำงานที่เหมาะสมกับอาการเจ็บป่วย สามารถประสานส่งต่อผู้ป่วยหรือพนักงานที่ต้องประเมินก่อนกลับเข้าทำงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการกำหนดแนวทางการดูแล ขั้นตอนการประเมิน การส่งต่อ เกิดการสร้างเสริม ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และติดตามผู้ป่วย ตามมาตรฐานของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จนผู้ป่วยหรือพนักงานสามารถเข้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อติดตามเยี่ยมผู้รับบริการหลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่ได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
  • เพื่อสร้างมาตรฐานการดูแล ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจและได้รับการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน
  • เพื่อทบทวน ประเมินผล ติดตามผลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  • เพื่อนำผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่/ประชากรเป้าหมาย

ผู้ที่ได้รับการบริการรักษาจาก รพ.ภาครัฐ หรือรพ.ภาคเอกชน จังหวัดสมุทรสาครได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ โดยได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน RTW/ fit for work จำนวน 50 คน

กลยุทธ์/กลวิธี /ขั้นตอนการดำเนินงาน

  • จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการดำเนินการติดตามผลการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานแบบต่อเนื่อง เพื่อเตรียมงาน และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ผลการติดตามเยี่ยมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
  • กิจกรรมประชาสัมพันธ์ โดยประสานติดต่อเครือข่ายพัฒนาระบบการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อประสานติดต่อเข้าเยี่ยมสถานประกอบการอย่างน้อย 10 แห่ง เพื่อดำเนินการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี และติดตามผลการประเมินก่อนกลับเข้าทำงานแบบต่อเนื่อง
  • มีขั้นตอนการให้คำปรึกษา และติดตามผลการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้างานร่วมกับทีมสหวิชาชีพทั้งในและนอกรพ. อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อปี (ติดตามเยี่ยมทุก 3,6,12 เดือนต่อสถานประกอบ 1 แห่งที่ที่เข้าร่วมโครงการ)
  • กิจกรรมเยี่ยม แบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี โดยรวบรวมข้อมูลผู้ที่ได้รับการบริการรักษาจาก รพ.ภาครัฐ หรือรพ.ภาคเอกชน จังหวัดสมุทรสาครได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ผู้รับบริการได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน RTW/ fit for work และติดต่อประสานงานเข้าเยี่ยมผู้ที่ได้กลับเข้าไปทำงานในสถานประกอบการ (เป้าหมายสถานประกอบการ 10 แห่ง หรือผู้รับบริการที่ได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงานจำนวน 50 คน)
  • นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ปรับปรุงพัฒนาแนวทาง พัฒนารูปแบบขั้นตอน เครื่องมือให้เกิดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับทีมสหวิชาชีพอย่างครบวงจร ได้มาตรฐานแบบสากล
  • ติดตามผลการดำเนินงาน การดูแล รักษา ส่งต่อ ฟื้นฟู ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาระบบประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน โดยติดตามผลทุก 3,6,12 เดือนเพื่อดูประสิทธิภาพการกลับเข้าทำงานของผู้ที่ได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน การดูแลแบบต่อเนื่องร่วมกับทีมสหวิชาชีพทั้งภาครัฐและภาคเอกชนแบบบูรณาการร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน

ระหว่าง 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559

งบประมาณ

จากเงิน สปสช. เป็นเงินทั้งสิ้น 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน )

รายละเอียด คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายดังนี้

  • กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการดำเนินการติดตามผลการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานแบบต่อเนื่อง กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ผลการติดตามเยี่ยมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน (สามารถปรับการจัดประชุมได้ตามความเหมาะสม)
  • กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์
  • กิจกรรมเยี่ยม ผู้รับบริการได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน RTW/ fit for work จำนวน 50 คน
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • ค่าอาหารกลางวัน
  • ค่าทำเอกสาร
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดทำกิจกรรม/บอร์ดความรู้ บอร์ดประชาสัมพันธ์/แผ่นพับคำแนะนำ ฯลฯ
  • ค่าทำเอกสาร

จำนวน 20 คน มื้อละ 35 บาท x 2 ครั้ง คิดเป็นเงิน 1,400 บาท

จำนวน 20 คน มื้อละ 70 บาท x 1 ครั้ง คิดเป็นเงิน 1,400 บาท

จำนวน 20 ชุด ชุดละ 40 บาท คิดเป็นเงิน เท่ากับ 800 บาท

- ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท คิดเป็นเงิน 3,600 บาท

คิดเป็นเงิน จำนวน 5,800 บาท

จำนวน 50 ชุด ชุดละ 40 บาท x 10 หน่วยงาน คิดเป็นเงิน 4,000 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยเงินค่าใช้จ่ายกันได้

ตัวชี้วัด

  • เครือข่ายสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 10 แห่ง ทราบแนวทางปฏิบัติ วัตถุประสงค์ การติดตามเยี่ยมประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้างานแบบต่อเนื่อง ให้ความร่วมมือและสามารถดูแลผู้ป่วยหลังกลับเข้าทำงานได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามดูแลหลังการประเมินกลับเข้าทำงาน สามารถปฏิบัติได้ตามที่แพทย์และทีมสหวิชาชีพแนะนำ อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยในการทำงาน มากกว่าร้อยละ 80

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกิดระบบการติดตามเยี่ยมผู้รับบริการหลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่ได้รับการประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน ร่วมกับทีมสหวิชาชีพแบบครบวงจร

๒. เกิดมาตรฐานการดูแล ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจและได้รับการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน

๓. เกิดความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน ในการประสาน ส่งต่อ ติดตาม ประเมินผลร่วมกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

๔. มีการนำผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ปรับปรุง พัฒนาระบบขั้นตอน กระบวนการ แนวทางการฟื้นฟู การส่งต่อผู้ป่วยทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ให้มีการดูแลสุขภาพ การประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนแบบต่อเนื่อง

๕.เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานถูกต้อง ปลอดภัย สามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด

๖. ผู้ป่วยได้รับการประเมินก่อนกลับเข้างาน จากแพทย์เชี่ยวชาญด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์เฉพาะทาง และได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่ทำงาน จนสามารถดูแลตนเอง ทำงานที่เหมาะสมกับอาการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากการทำงาน และมีความปลอดภัย

๗.เกิดการพัฒนางานระบบการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงานแบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับจังหวัด/ระดับประเทศ

๘. ผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างด้าวได้รับการดูแลรักษาแบบเท่าเทียมกัน สามารถเข้าถึงงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับการติดตามการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน ได้รับการส่งเสริม สร้างเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ และได้รับการติดตาม ประเมิน จนมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • นายพิสิษฐ์ เลิศเชาวพัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
  • นางนิศาชล พฤกษ์ภาคภูมิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานอาชีวอนามัย
  • นางวัลย์ลดา เลาหกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน รพ.สมุทรสาคร

โทรศัพท์ 034-427099ต่อ 5205-6 หรือ 086-7531290


............................................ผู้เขียนโครงการ

(นางวัลย์ลดา เลาหกุล)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ


หมายเลขบันทึก: 622484เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท