นำความรู้หลายเรื่อง มาบูรณาการ เป็นสหวิทยาการ เพื่อเพิ่มจำนวนเยาวชนเกษตรอัจฉริยะ (young smart farmer) จากการใช้โดรนช่วยทำการเกษตรสมัยใหม่


นำความรู้หลายเรื่อง มาบูรณาการ เป็นสหวิทยาการ เพื่อเพิ่มจำนวนเยาวชนเกษตรอัจฉริยะ (young smart farmer)
จากการใช้โดรนช่วยทำการเกษตรสมัยใหม่



ได้รับความรู้จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตร ผู้ประสานราชการกับอำเภอ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อต้นเดือน มกราคม ๒๕๖๐ และจากที่ผู้เขียนพยายามที่จะหาความรู้เพื่อมาพัฒนาสมาชิกสหกรณ์ไทยทุกประเภทให้มีความสุขความเจริญ หลังจากได้ฟังสโลแกนของ ท่านปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ “ เร็ว รุก สุขกับงาน วิชาการนำหน้า” เมื่อเข้ารับพรวันปีใหม่


ได้ความรู้จากวิทยากร จากสถาบัน ปัญญาภิวัฒน์ วิชา “นวัตกรรมการจัดการเกษตร” ทราบว่า ในปัจจุบันการใช้ โดรน พ่นปุ๋ยน้ำ กับ ยา ในการปลูกพืช จะประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดปุ๋ย ยา ที่ใช้ฉีดพ่น กว่าการพ่นโดยคนมากมาย โดยโดรนที่วิทยากร นำภาพมาแสดงสามารถบรรทุกของเหลวเพื่อนำขึ้นฉีดพ่นได้ ประมาณ ๑๐ กิโลกรัม ราคาโดรน ประมาณ ๔ แสนบาท


ผู้เขียนได้ ดาว์นโหลด Free Appication ชื่อ Drone Simulator มาใส่ใน smart phone ส่วนตัว ลองบังคับบินโดรนดู ปรากฏว่า crash เป็นประจำในระยะแรก ต่อ ๆ ไปก็บินได้และลงจอดได้ก่อน แบตเตอรี่หมด


เราสามารถปรับการใช้โดรนดังกล่าวซึ่ง ใช้ฉีดพ่นปุ๋ยเคมีน้ำ และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มาเป็นการพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ และสารอินทรีย์ขับไล่แมลงอื่น ๆ ได้


น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ สารอินทรีย์ขับไล่แมลงอื่น ๆ เราก็ใช้สูตรที่ได้รับการอบรมมาจาก ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ (ผู้เขียนเคยเข้ารับการอบรมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ของอาจารย์ดาบ ๔ วัน ๓ คืน ) ก็จะดีกว่าเพราะกลิ่นยอมรับได้ น้ำหมักชีวภาพที่ใช้จุลินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กลิ่นจะรุนแรงกว่ามาก คิดว่าวัตถุประสงค์น่าจะไว้ไล่คนพร้อมแมลงในคราวเดียวกัน


โดรน ต้องใช้ไฟฟ้า เราก็ใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ บนหลังคาบ้าน ชาร์ตแบตเตอรี่ของโดรนได้ สำหรับแผงโซล่าเซลล์ที่วงบนหลังคาบ้านในประเทศไทย เราต้องเอียงแผงไปทางทิศใต้เพราะประเทศไทยเราอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร จึงจะตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ได้ไฟฟ้ามากเพราะวางถูกทิศทาง ถ้าเป็นแถบเส้นศูนย์สูตรแผงวางราบเลย ใต้เส้นศูนย์สูตร อย่างออสเตรเลียวางเอียงมาทางทิศเหนือ

เครื่องบังคับโดรน เค้ามีมากับโดรนอยู่แล้ว หรือใช้ smart phone บังคับ โดยลง application บังคับโดรนที่แถมมา หรือ ดาว์นโหลดจาก App store ก็มีหลาย app คงต้องเลือกที่เหมาะ หากใช้เป็น smart phone บังคับ ก็จะใช้บังคับได้ไกลกว่า เพราะมีการใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือนำสัญญาณบังคับด้วย

นับเป็นการใช้ smart phone บังคับ โดรน เพื่อลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ตาม road map ไทยแลนด์ ๔.๐ จากที่ คุณลุงนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอนคืนวันศุกร์ ๒๐.๑๕ น.

ไม่มีใครจะบังคับโดรนเหล่านี้ได้ดี เท่ากับลูกหลานของเรา ที่เป็น digital native พวกเค้าชำนาญในการเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เป็นเด็ก พวกเค้าจะเป็น young smart farmer ในอนาคตนั้นเอง ผู้ปกครองที่เป็น digital immigrant จะบังคับสิ่งเหล่านี้ต้องฝึกนาน เด็ก ๆ จะทำได้ดีกว่ารวดเร็วกว่า

เกษตรกรไทยสามารถมีโดรน พ่นน้ำหมัก น้ำส้มควันไม้ และ สารอินทรีย์ขับไล่แมลง ถ้าเป้นเกษตรกรรายใหญ่ช่วยตนเองได้ก็ซื้อเอง ใช้เอง ถ้าเป็นเกษตรรายน้อย รายย่อย ก็สมัครใจเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ประเภทที่มีกิจกรรมให้บริการทางการเกษตรแก่สมาชิกสหกรณ์ ซึ่งก็คือ สหกรณ์ประเภท สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์เครดิตยูเนียน สหกรณ์บริการ จัดหา แล้วแบ่งปันกันใช้โดยให้สหกรณ์เป็นตัวจัดการให้บริการอย่างทั่วถึง ด้วยวิธีการสหกรณ์ ลักษณะ สมาชิกสหกรณ์รวมกันซื้อ แบ่งกันใช้ มีความสุขร่วมกัน

หากสหกรณ์ไม่มีเงินซื้อก็ไปกู้เงินธนาคารสหกรณ์ (cooperative bank) ธนาคารที่ไม่แสวงหากำไร มุ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินในขบวนการสหกรณ์ ที่จะมีขึ้นในไม่ช้า เงินที่เหลือเกินจากสหกรณ์ที่ไม่ใช่ภาคการการเกษตร คือสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ และสหกรณ์ประเภทร้านค้า สหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนียน สหกรณ์ประเภทบริการ นำมาฝากไว้เพื่อแบ่งปันกันแบบไม่แสวงหากำไร

เมื่อสหกรณ์ในภาคเกษตรเหล่านั้น ได้เงินคืนมาจากการจำหน่ายผลผลิต ก็จะนำเงินมาใช้คืนแก่ธนาคารสหกรณ์ หากมีเงินเหลือเกินในธนาคารสหกรณ์ในประเทศไทยมาก ก็แบ่งปันให้ธนาคารสหกรณ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนกู้ยืมต่อไป ตามปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน (self help mutual help)

การนำโดรนมาใช้ในกิจการเกษตรในประเทศไทย ก็จะเป็นการชักชวนให้ ลูกหลานเข้าสู่ อาชีพการเกษตร
เป็นการเพิ่ม เยาวชนเกษตรอัจฉริยะ (young smart farmer) ได้อีกทางหนึ่ง

ได้เวลาที่ผู้เขียน จะต้องไปฝึกหัดบินโดรนใน smart phone ด้วย drone simulator application เพื่อจะจัดหาโดรนตัวจริงมาทำการฝึกหัดบินในอนาคตข้างหน้า เพื่อมิให้บินชนต้นไม้ ต่อไปแล้ว



พีระพงศ์ วาระเสน อรุณประดิษฐ ๑๑๔ เตรียมอุดม ๔๑ KU ๔๐ วัดกำแพงแลง NIDA
๒๒ มกราคม ๒๕๖๐

หมายเลขบันทึก: 621896เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2017 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2017 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเป็นแนวทางที่ดีเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท